ซีดีจี ประกาศก้อง 4 ทศวรรษแห่งความสำเร็จ พร้อมลั่นกลองรบปรับกระบวนยุทธ์

ซีดีจี ยักษ์ใหญ่ไอซีทีไทย ประกาศความภูมิใจ ใน 4 ทศวรรษแห่งความสำเร็จ ด้วยปัจจัยเกื้อหนุนเพียบ พร้อมเดินหน้าหนุน e-Government มั่นใจโครงการไอซีทีภาครัฐก่อประโยชน์มหาศาลต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

นายนาถ ลิ่วเจริญ ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทซีดีจี ผู้นำในการให้บริการ ICT แบบครบวงจร กล่าวถึง ความสำเร็จของการเป็นผู้นำอุตสาหกรรม ICT ในประเทศไทย ตลอด 40 ปีที่ผ่านมาว่า ในวันนี้กลุ่มบริษัทซีดีจี นับเป็นองค์กรที่เรียกได้ว่า “Maturity Organization” โดยองค์กรที่มีวุฒิภาวะ หมายถึง เป็นองค์กรที่มีความพร้อมทั้งฐานข้อมูลความรู้ (Knowledge-Based ) ที่แข็งแกร่ง พร้อมทั้งบุคลากร (Peopleware) ที่มีความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ในการบริหารโครงการขนาดใหญ่ และมี Team work ที่ดี ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวเหล่านี้ ถือเป็นจุดแข็งของกลุ่มบริษัทซีดีจี สามารถนำพาให้องค์กรลูกค้าประสบผลสำเร็จได้เป็นอย่างดี ส่งผลลัพธ์ ให้กับองค์กรของลูกค้า ใน 3 ประการ ดังนี้คือ
• ประสิทธิภาพ (Efficiency)
• ประสิทธิผล (Effectiveness)
• เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness )

ซีดีจีภูมิใจในส่วนร่วมแห่งความสำเร็จของโครงการ ICT ภาครัฐ
ในช่วง 4 ทศวรรษ ที่ผ่านมา กลุ่มบริษัทซีดีจีประสบความสำเร็จในโครงการ ICT ภาครัฐขนาดใหญ่หลายโครงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นโครงการที่สำคัญต่อการให้บริการประชาชน อาทิ โครงการจัดทำระบบการให้บริการประชาชนทางด้านการทะเบียนและบัตรด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งหน่วยงานภาครัฐที่ให้บริการดังกล่าวนี้ ได้รับรางวัล Computer World Smith Sonian Awards ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 2532 ในฐานะที่เป็นผู้นำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ามาปรับใช้งานจนประสบความสำเร็จอย่างสูง และเกิด-ประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม , โครงการให้บริการด้านทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชนแบบจุดเดียว

เบ็ดเสร็จ ( One Stop Service ) ของกรุงเทพมหานคร, โครงการให้บริการด้านทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชนด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ครอบคลุมพื้นที่ 1,077 สำนักทะเบียน , โครงการให้บริการด้านทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชน ณ สำนักงานเทศบาลต่างๆทั่วประเทศ, โครงการให้บริการด้านทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชนแบบ Smart Card ของกรมการปกครอง

โครงการตรวจสอบลายพิมพ์นิ้วมืออัตโนมัติ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ,โครงการติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมอุปกรณ์และระบบสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ , โครงการระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ของสำนักปลัดกระทรวงคมนาคม , โครงการระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการบริการแบบออนไลน์ ของกรมการขนส่งทางบก, โครงการระบบประมวลผลสำหรับด่านตรวจคนเข้าเมือง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ , โครงการพัฒนาระบบคดีแพ่งและระบบคลังข้อมูล ของกรมบังคับคดี

โครงการจัดทำระบบแผนที่และข้อสนเทศระบบจำหน่ายไฟฟ้า (GIS/AM/FM) ของการไฟฟ้านครหลวง , โครงการจัดทำแผนที่เพื่อการบริหารทรัพยากรธรรมชาติและทรัพย์สินของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่วนงานทำแผนที่ภาพถ่ายออร์โธสี, โครงการสำรวจและปรับปรุงข้อมูลด้านกายภาพเพื่อการวางผังเมือง ของกรมโยธาธิการและผังเมือง, โครงการนำร่องจัดทำระบบค้นคืนข้อมูลที่ดิน เพื่อบริการประชาชนจังหวัดสุพรรณบุรี (E-Land) ของจังหวัดสุพรรณบุรี , โครงการจัดทำแผนที่ และระบบจัดการสาธารณูปโภค (GIS/AM/FM) ของการประปานครหลวง , ระบบบริการ GIS แบบ online ของการไฟฟ้านครหลวง โดยมีการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์เพื่อนำไปให้บริการผ่านทาง Internet ได้แก่ ระบบแผนที่ออนไลน์ ระบบค้นหาตำแหน่งสถานที่ ระบบค้นหาเส้นทางการเดินทาง และระบบการติดตามรถยนต์

กลุ่มบริษัทซีดีจี ประสบผลสำเร็จอย่างสูงในการรุกสู่ตลาดผู้บริโภค(Consumer) อย่างกว้างขวางมากขึ้น โดยมีการจำหน่ายเครื่องนำทางรถยนต์ด้วยดาวเทียม (GPS) ภาษาไทย GARMIN รุ่นต่างๆ ซึ่งปัจจุบันผลิตภัณฑ์ GPS ของ GARMIN ที่เป็นเครื่องนำทางรถยนต์ เป็นที่นิยมอย่างมาก และ GPS นับว่าได้รับการยอมรับมากที่สุดจากผู้บริโภคชาวไทยในขณะนี้

นอกจากนี้ กลุ่มบริษัทฯยังได้ดำเนินการโครงการระบบบริหารกำลังพล กองทัพอากาศ, ระบบคอมพิวเตอร์ตามแผนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กองทัพอากาศ, ระบบจัดเก็บแบบทำเนียบ กองทัพอากาศ ,โครงการเช่าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการใช้งาน บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) , เครื่องพิมพ์ความเร็วสูง สำหรับ Billing บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)

“40 ปีที่ผ่านมา ปัจจัยที่เกื้อหนุนให้กลุ่มบริษัทซีดีจีเราประสบผลสำเร็จ ที่สำคัญก็คือ เรามีบุคลากรที่มีคุณภาพ และซีดีจีเราให้ความสำคัญกับ Peopleware เป็นเรื่องแรก เพราะเราเชื่อว่าการให้บริการภายใต้คุณภาพระดับสูงนั้น ความสำคัญไม่ใช่มีเพียงฐานข้อมูลความรู้ ( Knowledge-Based ) แต่ต้องมี Peopleware ที่มีคุณภาพด้วย พร้อม Teamwork ที่ดี ดังนั้นผมสามารถกล่าวได้อย่างมั่นใจว่า ซีดีจีเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง เพราะเรามีบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ มีความยืดหยุ่น พร้อมที่จะสนองตอบต่อความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี”

ความสำเร็จที่เกิดขึ้นได้
เพราะมี Partners ศักยภาพสูง

นอกจากนี้กลุ่มบริษัทซีดีจี ยังมี Partners ระดับ World Class และมีศูนย์บริการอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้กลุ่มบริษัทฯประสบผลสำเร็จอย่างงดงาม

อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินธุรกิจนั้น กลุ่มบริษัทซีดีจี ไม่ได้มุ่งหวังเพียงผลกำไรเพียงอย่างเดียว แต่กลุ่มบริษัทฯ ได้คืนกำไรให้กับสังคมภายใต้กิจกรรมในรูปแบบของโครงการต่างๆที่เป็นความรับผิดชอบต่อสังคม(Corporate Social Responsibility : CSR ) อาทิ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เบื้องต้น (Com Camp)ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี , โครงการปันน้ำใจให้น้อง, โครงการห้องคอมพ์มือสองแด่น้องผู้ห่างไกล, โครงการ Young CDG Writer Awards , โครงการมะมาประกวดเว็บไซต์สิ่งแวดล้อมกับตาวิเศษและซีดีจีกันดีกว่า, โครงการละครสัญจร รณรงค์ให้เด็กรักการอ่าน

ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทซีดีจี กล่าวว่า ในปี 2550 กลุ่มบริษัทฯมีรายได้ที่ 4,300 ล้านบาท และในปี 2551 นี้ ตั้งเป้าไว้ที่ 5,200 ล้านบาท

นำเสนอ Rejuvenating E-Government
เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

นายนาถ ได้กล่าวถึง การปรับตัว เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศว่า ในฐานะผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ICT มีความปรารถนาอย่างยิ่งที่จะเห็นประเทศไทย ปรับตัวในหลายๆด้าน เพราะโลกทุกวันนี้มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา อีกทั้งสภาวะแวดล้อมโลกก็กำลังเปลี่ยนแปลงทุกขณะ จึงอยากจะให้มี

การปรับตัวในหลายๆด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทย อยู่ในเวทีการแข่งขันระดับสากล จะทำอย่างไรให้มีการใช้ ICT เพื่อพัฒนาประเทศและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

“ผมขอเสนอว่า รัฐบาลจะต้องมุ่งสู่ การเป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) และบริหารจัดการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) การที่ผมกล่าวว่า Rejuvenating ก็เพื่อลดความซ้ำซ้อน และลดช่องว่างระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งในเรื่องนี้ผมเคยเสนอมาแล้ว เมื่อหลายปีที่ผ่านมา และในวันนี้ก็ยังคงยึดมั่นในจุดยืนเดิมที่ว่า e-Government จะช่วยให้หน่วยงานภาครัฐ ให้บริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ ( Efficiency ) และเกิดประสิทธิผล (Effectiveness) ต่อการพัฒนาประเทศชาติได้ในองค์รวมอย่างแน่นอน เพราะ ICTจะช่วยสร้างบรรทัดฐานในการจัดการข้อมูลสารสนเทศร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐทั้งหมด กล่าวคือ ถ้าเรามีความพร้อมในส่วนนี้แล้ว ก็จะช่วยยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจสาขาอื่นๆที่สำคัญๆ ตามมาอย่างแน่นอน และในผลลัพธ์ท้ายที่สุดก็คือ การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ” นายนาถกล่าวและว่า

ในปัจจุบัน โลกธุรกิจมีการควบรวมกิจการ (Merging & Acquisition : M&A ) มากขึ้น ในการที่กลุ่มบริษัทซีดีจีเป็นMaturity Organization นั้น ยิ่งจะต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการปรับ Business Model และรัฐบาลจะต้องลงทุนใน ICT Infrastructure ให้มากขึ้น นอกจากการลงทุนใน Infrastructure ด้านโครงสร้างพื้นฐานในการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ (Mega Projects) เพราะ ICT Infras tructure จะเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างประสิทธิภาพในการพัฒนาประเทศต่อไป

นำเสนอ Corporate Identity
Vision & Mission, Motto ใหม่

ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทซีดีจี ยังกล่าวด้วยว่า ในโอกาสครบรอบ 40 ปี ของกลุ่มบริษัทฯในปี 2551 นี้ กลุ่มบริษัทฯได้ปรับเปลี่ยน สัญลักษณ์ของบริษัท (Corporate Identity) ใหม่ เพื่อเป็นการบอกกล่าวกับสังคมว่า กลุ่มบริษัทฯมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อก้าวสู่อนาคต ลักษณะ Logo เป็น Spiral วงแหวนสามวง ซึ่งเป็นตัวอักษร C D และ G กอดเกี่ยว แต่เคลื่อนไหวอย่างมีพลัง (Dynamic) เหมือนองค์กรที่มุ่งมั่นที่จะก้าวไปข้างหน้า ไม่หยุดนิ่ง ( Move Rapidly Forward )

นอกจากนี้ ยังได้นำเสนอวิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) และคติพจน์ (Motto) ใหม่ ของกลุ่มบริษัทซีดีจี ดังนี้

วิสัยทัศน์ (Vision) :
“ซีดีจีจะเป็นที่หนึ่งในใจของลูกค้า ในการให้คำปรึกษา การนำเสนอโซลูชั่นส์ และบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร”
“To be customers’ first choice in ICT consulting, solutions and services”

พันธกิจ (Mission) :
“เรามีความมุ่งมั่นที่จะส่งมอบโซลูชั่นส์และบริการที่ดีที่สุด โดยทีมงานมืออาชีพ ซึ่งใส่ใจในความสำเร็จของลูกค้า และจะมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมให้ดียิ่งขึ้น ด้วยผลงานของเรา

“We are committed to delivering industry-leading solutions and services by our caring professional teams. We will contribute to the betterment of society through our work”

คติพจน์ (Motto) :
“ซีดีจี ใส่ใจความสำเร็จของคุณ”
“Caring for your Success”