วิสัยทัศน์ด้านการเติบโตของตลาดสารสนเทศ โดยสุภัค ลายเลิศ ผู้บริหารยิบอินซอย

บริษัท ยิบอินซอย จำกัด โดย นายสุภัค ลายเลิศ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส กำกับดูแลด้านโปรเฟสชั่นแนล เซอร์วิส ดูแลกลุ่มลูกค้าในอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ โทรคมนาคม การเงินการธนาคาร การผลิต ภาครัฐ ภาคการศึกษา และธุรกิจเอกชนด้านต่างๆ ได้แสดงวิสัยทัศน์ด้านการเติบโตของตลาดสารสนเทศ ในยุคที่เศรษฐกิจชะลอตัวและแทบจะไร้แสงตะวัน แต่ผู้บริหารแถวหน้าของบริษัท ยินอินซอย ได้วิเคราะห์ให้อย่างชัดเจนถึงความเป็นไปได้ของตลาดระบบการจัดเก็บและบริหารข้อมูลของไทย ไว้อย่างน่าสนใจดังนี้

ตลาดการจัดเก็บและสำรองข้อมูลเติบโตต่อเนื่อง
คุณสุภัค ลายเลิศ กล่าวถึงสถานการณ์ตลาดด้านโซลูชั่นการจัดเก็บและสำรองข้อมูล (สตอเรจ) ในประเทศไทยนั้นดังนี้ “เรายังมีพื้นที่การเติบโตอยู่อีกมาก ปัจจัยได้แก่ กลุ่มองค์กรขนาดใหญ่ ซึ่งคาดการณ์ว่าน่าจะมีการลงทุนซื้อระบบเทคโนโลยีสตอเรจไม่ต่ำกว่าสองพันล้านบาท อันเป็นผลมาจากฤดูกาลของการเปลี่ยนถ่ายเทคโนโลยี รวมทั้งความจำเป็นและความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป ความจำเป็นในการปรับตัวให้สอดรับกับกฎข้อบังคับต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น พ.ร.บ. ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และพ.ร.บ. อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะสร้างความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น และเมื่อนำสองส่วนนี้มารวมเข้าด้วยกัน จะเห็นได้ถึงขนาดของตลาดที่ยังมีพื้นที่ในการขยายตัวอีกมาก ทั้งด้านความต้องการฮาร์ดแวร์และการบริการกำลังเติบโตขึ้นมาพร้อมๆ กับความซับซ้อนของความจำเป็นและความท้าทายขององค์กรที่ต้องการจัดการข้อมูลได้อย่างเหมาะสม จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับบริษัทผู้เป็นที่ปรึกษาในการวางระบบสารสนเทศ เช่น บริษัทยิบอินซอย เนื่องจากจะเอื้อต่อการนำเสนอด้านบริการ และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีแก่ลูกค้าได้ นอกจากนี้ ทิศทางการเติบโตของข้อมูลที่สื่อสารกันอยู่บนเครือข่ายองค์กรนั้นก็ทำให้องค์กรต้องหันมาบริหารจัดการข้อมูลกันอย่างจริงจังด้วยเช่นกัน ทั้งนี้การขยายตัวของแอพพลิเคชั่นและบริการการสื่อสารรูปแบบใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลภาพ วิดิทัศน์ เสียง รวมทั้งเงื่อนไขของการใช้งานภายในองค์กรที่พัฒนามากขึ้นกว่าเดิมทุกวัน การปรับตัวให้สอดคล้องกับกฎข้อบังคับและกฎหมายต่างๆ ส่งผลให้ทุกองค์กรต้องปรับตัวส่วนนโยบายการบริหารจัดการข้อมูลระยะยาว จึงทำให้ตลาดส่วนนี้มีอัตราการเติบโตต่อเนื่อง”

สำคัญที่การเลือกพาร์ตเนอร์ กลยุทธ์เทคโนโลยีล้ำเลิศผนวกบริการมืออาชีพ
ด้วยสายตาของผู้เป็นวิศวกรด้านการวางระบบอย่างคุณสุภัค จึงให้ความสำคัญเรื่องการคัดเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสม และดีที่สุดที่สอดรับกับโจทย์ความต้องการของทางกลุ่มลูกค้าที่บริษัทยิบอินซอยเป็นผู้ดูแลอยู่ เนื่องจากการดูแลลูกค้าในแต่ละโครงการ หรือแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมนั้น บริษัทยิบอินซอย ก็ได้พิจารณาคัดสรรเทคโนโลยี และโครงสร้างของระบบสารสนเทศ ที่แตกต่างกันตามลักษณะความต้องการขององค์กร มิได้ยึด “พิมพ์เขียวฉบับเดียวใช้ทุกโครงการ” นอกจากนี้ คุณสุภัคยังกล่าวถึงการที่บริษัทยิบอินซอย มีความน่าเชื่อถือที่ดีในสายตาของบริษัทเจ้าของเทคโนโลยีชั้นนำอยู่หลายบริษัท จึงเปิดโอกาสให้บริษัทได้ คัดสรร เทคโนโลยีที่เรียกว่า best-of-breed มาให้บริการแก่ลูกค้าในกรณีต่างๆ ได้อย่างลงตัว ในส่วนความเชื่อถือวางใจที่ได้รับจากพาร์ตเนอร์ชั้นนำเหล่านั้น ก็

มาจากทีมงานที่มีคุณภาพ ศักยภาพทางด้านการเงินที่มั่นคง ความสามารถในการรองรับโครงการใหญ่ๆ ที่มั่นใจได้ว่าไม่ทิ้งงานกลางคันให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงทั้งสองฝ่ายนั่นเอง และด้วยความพร้อมด้านศักยภาพของบริษัทยิบอินซอย การคัดเลือกพาร์ตเนอร์ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีจึงเป็นกลยุทธ์สำคัญต่อความสำเร็จ ทั้งต่อบริษัทยิบอินซอยและต่อลูกค้าของบริษัทฯ

บริษัทยิบอินซอยเล็งเห็นความสำคัญของการจัดเก็บและสำรองข้อมูลเป็นยุทธศาสตร์แห่งความสำเร็จของธุรกิจ จึงได้ทำงานร่วมกับเน็ทแอพ และได้รับการแต่งตั้งและวางใจจากบริษัทเน็ทแอพ (หนึ่งในผู้ให้บริการด้านโซลูชั่นการจัดเก็บข้อมูลและยูนิไฟน์สตอเรจแห่งอนาคต) ให้การยอมรับความเชี่ยวชาญด้านการวางระบบสารสนเทศแต่งตั้งให้บริษัทยิบอินซอยเป็นพาร์ตเนอร์ระดับ STAR แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยที่สามารถให้บริการครบวงจร ตั้งแต่การให้คำปรึกษาเรื่องการวางระบบ เลือกเทคโนโลยี จะกระทั่งการติดตั้งและดูแลหลังการติดตั้งระบบ บริษัทเน็ทแอพ มีเทคโนโลยีด้านการสตอเรจที่นำสมัยและใช้งานได้ดีในสถานการณ์ต่างๆ จึงเป็นการลงทุนเพื่อการบริการลูกค้าที่แข็งแกร่งและเป็นรากฐานการขยายธุรกิจที่ยั่งยืน จะเห็นได้ว่า ล่าสุดทางเน็ทแอพก็ได้มีการเปิดตัวศูนย์บริการ NetApp Innovation Center (NIC) ขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางในการทดสอบแอพพลิเคชั่นที่ใช้สำหรับงานธุรกิจ เป็นการสร้างความเชื่อมั่น เสริมความพร้อมในการให้บริการแก่กลุ่มลูกค้าและพันธมิตรทางธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการสร้างความมั่นใจ และเชื่อมั่นในการทำธุรกิจร่วมกับเน็ทแอพ ของยิบอินซอยได้อย่างดี เมื่อบริษัทยิบอินซอยได้รับโจทย์ที่ทางเราต้องตอบลูกค้าก็สามารถที่จะคิดค้นนวัตกรรมเทคโนโลยีที่เหมาะสมแก่ลูกค้าของเราได้ดีที่สุด

นโยบายองค์กรชี้ที่คุณภาพการบริการ
การให้การบริการลูกค้ากลุ่มองค์กรนั้น นอกเหนือจากเทคโนโลยีล้ำเลิศแล้ว ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญพิเศษ ด้านความเข้าใจระบบงานธุรกิจของลูกค้าเป็นอย่างดีเป็นยุทธศาสตร์สู่โครงสร้างระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพแข็งแกร่ง และคุ้มค่าการลงทุน คุณสุภัค กล่าวว่า “บริษัทยิบอินซอย นั้นเป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านการบริการ และสาเหตุที่เรากล้าพูดเช่นนี้เนื่องจาก เป็นนโยบายเชิงกลยุทธ์ของเราที่ต้องพัฒนาบุคคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอที่จะให้ความปรึกษาแก่ลูกค้าของเรา ด้วยวิสัยทัศน์เพื่อการลงทุนที่คุ้มค่าทางสารสนเทศของกลุ่มลูกค้า บริษัทฯ พัฒนาคุณภาพทีมงานต่อเนื่อง ผ่านขั้นตอนการอบรม ทดสอบเชิงเทคนิค จากบริษัทพันธมิตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งจาก ซัน ไมโครซิสเต็มส์ ซึ่งบริษัทฯ เป็นพาร์ตเนอร์ถึงในระดับ SPA Executive Partner (SUN Partner Advantage) ในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอีกด้วย จึงทำให้รองรับการขยายตัวของตลาดไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมโทรคมนาคม การเงินการธนาคาร ต่างหันมาใช้ข้อมูลเชิงวิเคราะห์ และสร้างเป็นโปรโมชั่นแบบคืนกำไรให้ลูกค้า การออกบริการรูปแบบใหม่ที่จะต้องอาศัยความคล่องตัวของระบบเครือข่ายสารสนเทศเป็นตัวขับเคลื่อน เกิดประโยชน์ต่อผู้ประกอบธุรกิจด้วยบริการที่สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ส่วนลูกค้าผู้รับบริการปลายทางก็มีโอกาสเลือกมากขึ้น”

ในปัจจุบันระบบการจัดเก็บข้อมูลเป็นที่ต้องการมาก มีเวนเดอร์ให้บริการค่อนข้างมาก ในราคาที่แข่งขันกันรุนแรง ดังนั้น การลงทุนเรื่องการเก็บข้อมูลนั้นจึงไม่ใช่เรื่องของราคาต่อพื้นที่ในการจัดเก็บ หากแต่เป็นมุมมองที่ผู้บริหารต้องพิจารณาด้านการบริหารข้อมูล การใช้ประโยชน์ได้จากข้อมูลที่เก็บเอาไว้มากมาย การทำสำรองข้อมูล หรือกระทั่งการเรียกคืนข้อมูลเมื่อระบบล่ม คุณสุภัค กล่าวว่า “เทคโนโลยีสตอเรจเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลที่นำมาใช้ในอนาคตนั้น เราจะได้เห็นว่ากลุ่มผู้บริหารองค์กรจะเปลี่ยนวิสัยทัศน์เรื่องระบบเก็บข้อมูลเป็นเชิงบริหาร และเป็นส่วนสำคัญต่อการนำไปใช้เชิงการแข่งขันทางธุรกิจ โดยจะนำมาเป็นปัจจัยทางการบริหารและการลงทุนที่เกิดขึ้น ทั้งเรื่อง

ค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บ เวลาที่ใช้ในการทำสำรอง เรียกคืนข้อมูล การหาข้อมูลที่ต้องการเมื่อเก็บไปแล้ว โดยเรื่องเหล่านี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารเงินลงทุนด้านสารสนเทศในองค์กรและช่วยเสริมประสิทธิภาพในการแข่งขันได้เป็นอย่างดี”

นอกจากนี้ คุณสุภัค ได้กล่าวเสริมถึงอนาคตเทคโนโลยีการจัดเก็บและบริหารข้อมูลว่าจะเปลี่ยนรูปแบบการโอนถ่ายและลักษณะการจัดเก็บให้เป็นแบบเวอร์ช่วลมากขึ้น หรือที่เรียกกันกว้างขวางว่า virtualization เพื่อช่วยในด้านการลงทุนตลอดจนความคล่องตัวในการใช้งานภายในองค์กร ในกรณีฉุกเฉินรวดเร็ว รับการเปลี่ยนแปลงนโยบายธุรกิจขององค์กรได้ด้วย ทั้งนี้ องค์กรธุรกิจโดยมากเมื่อเกิดการลงทุนสารสนเทศมักต้องคำนึงถึง 3 ส่วนหลัก ได้แก่ ความสะดวกคล่องตัวในการบริหารจัดการ, ขนาดของการลงทุน และการใช้พลังงานเพื่อการดำเนินการ “ลูกค้าจะเริ่มหันมามองด้านการลงทุนที่ให้ผลเชิงธุรกิจมากขึ้น ด้วยพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากปัจจัยรอบตัว ดังนั้น ทุกบาทที่ลงไปย่อมต้องสามารถที่สร้างรายได้คืนมา หรือลดรายจ่ายลงไป ซึ่งต้องอาศัยทั้งการเลือกเทคโนโลยีที่ถูกต้อง ผนวกกับความเข้าใจเชี่ยวชาญในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้ตอบโจทย์ได้ลงตัว โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจโทรคมนาคมและกลุ่มการเงินการธนาคารที่เราจะเห็นความเคลื่อนไหวด้านนี้ต่อเนื่อง แม้เศรษฐกิจจะชะลอตัวมาก แต่การลงทุนด้านนี้ ในขณะนี้ ถือว่าเป็นการต่อยอดสร้างความได้เปรียบไว้ เมื่อเศรษฐกิจกระเตื้อง ก็พร้อมที่จะกระโดดเข้าสู่การแข่งขันในทันที”

การนำองค์กรเข้าสู่ทิศทางการจัดเก็บข้อมูลแบบเวอร์ช่วลไลเซชั่นนั้น เป็นการสร้างประสิทธิผลบนจำนวนเซิร์ฟเวอร์ แต่ทำงานได้ในปริมาณที่มากกว่า ด้วยแนวคิดของการแบ่งจำพวกกิจกรรม หรือข้อมูลไว้เก็บตามเซิร์ฟเวอร์ต่างๆ “เสมือน” มีหลายตัว ทั้งๆ ที่เซิร์ฟเวอร์ตัวจริงที่ใช้งานนั้นมีเพียงหนึ่งตัวเท่านั้น ถ้ามองการบริหารทรัพยากรข้อมูลและแอพพลิเคชั่นของบริษัทด้วยแนวคิดนี้แล้ว จะเห็นได้ว่า ประโยชน์ที่ได้รับนั้นมีมากมายดังนี้

1. “ลด” ค่าใช้จ่าย, ลดอัตราการสูญเสียพลังงานสิ้นเปลืองไปกับเซิร์ฟเวอร์หลายๆ ตัว, ลดการใช้พื้นที่ในการจัดวางเซิร์ฟเวอร์, ลดค่าใช้จ่ายด้านบุคคลากร

2. “เพิ่ม” ประสิทธิภาพที่ได้รับจากการใช้งานเซิร์ฟเวอร์ที่ติดตั้งใช้งานให้รองรับการใช้งานได้เต็มขีดความสามารถ แทนที่แนวคิดแบบเดิมที่มีเซิร์ฟเวอร์ซ้ำซ้อนรองรับเฉพาะแอพพลิเคชั่น เป็นการสิ้นเปลือง และใช้งานไม่เต็มประสิทธิภาพ

3. “เพิ่ม” โอกาสในการใช้งานแอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่ยังมีข้อมูลสำคัญๆ วิ่งอยู่ โดยใช้การทำงานแบบเวอร์ช่วล คือ ไม่ต้องตั้งเซิร์ฟเวอร์ใหม่ขึ้นมาให้เฉพาะกิจ

4. “เพิ่ม” ความคล่องตัวรองรับการขยายตัวทางธุรกิจที่นำมาซึ่งการขยายตัวของแอพพลิเคชั่น เมื่อเป็นเวอร์ช่วลเซิร์ฟเวอร์ การบริหารจัดการทรัพยากรแอพพลิเคชั่นแลข้อมูลต่างๆ ก็จะอยู่บนเซิร์ฟเวอร์เพียงตัวเดียวเท่านั้น

5. “ลด” ความยุ่งยากซับซ้อนของการทำแบ็คอัพและกู้คืนข้อมูล ประหยัดเวลาของบุคลากรเรื่องการจัดเก็บแบ็คอัพเทป และเหลือเวลาที่จะใช้ทำงานอย่างอื่นที่เกิดประสิทธิผลแก่ธุรกิจได้มากกว่า