จากผลการสำรวจล่าสุดซึ่งได้รับการสนับสนุนหลักจาก ไอเอฟเอส (IFS) บริษัทผู้พัฒนา Enterprise Application ระดับโลก พบว่า ธุรกิจการผลิตในประเทศไทยที่นำระบบการวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กรโดยรวม (Enterprise Resource Planning : ERP) มาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ จะสามารถส่งเสริมธุรกิจให้ได้รับประโยชน์ในหลายๆทิศทาง อาทิ การปรับปรุงด้านการผลิตให้ดียิ่งขึ้น (83 เปอร์เซ็นต์) การให้บริการแก่ลูกค้าได้ดีขึ้นด้วยการตอบสนองอย่างรวดเร็ว (79 เปอร์เซ็นต์) ความสามารถในการลดต้นทุนด้านการดำเนินงาน (75 เปอร์เซ็นต์) นอกจากนี้ รายงานฉบับนี้ยังแสดงให้เห็นว่า ERP สามารถช่วยสนับสนุนให้ธุรกิจเติบโตขึ้นได้ ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยในแง่ของรายได้ แต่ยังช่วยในส่วนของการขยายพอร์ตการลงทุนหรือการเปิดตลาดใหม่อีกด้วย (63 เปอร์เซ็นต์)
การสำรวจในครั้งนี้ได้มีการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้บริหารระดับสูงผู้มีอำนาจในการตัดสินใจในการทำธุรกิจเป็นจำนวนกว่า 100 บริษัทจากหลายอุตสาหกรรมในประเทศไทย อาทิ อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร อุตสาหกรรมด้านเคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ และอุตสาหกรรมจำพวกอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้ระบบ ERP ในการบริหารงานและเน้นถึงสถานการณ์ที่ท้าทายต่างๆที่ได้ประสบในการดำเนินธุรกิจซึ่งก็แตกต่างกันไปตามแต่ละอุตสาหกรรม
บริษัทในประเทศไทยจำนวนมากตั้งข้อสังเกตว่า อุตสาหกรรมการผลิตที่ผลิตและให้บริการเฉพาะด้าน มักจะถูกจัดให้มีผลการประเมินอยู่ในระดับสูงอยู่แล้ว ซึ่งคิดเป็น 87 เปอร์เซ็นต์ แต่อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจได้แสดงให้เห็นว่าบริษัทจำนวนมากนิยมว่าจ้างบริษัท Enterprise Application หลายบริษัท ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะนำมาตอบสนองความต้องการของบริษัท ซึ่งคิดเป็น 71เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมด นอกจากนี้ยังพบว่า 51 เปอร์เซ็นต์ ของบริษัทเหล่านี้ประสบกับปัญหาความแตกต่างของระบบ Enterprise Application ซึ่งมีทั้งความแตกต่างบางส่วนไปจนถึงแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยปกติบริษัทจะใช้บริการจากหน่วยงานภายนอกหรือใช้โปรแกรม Excel มาช่วยในการบริหารจัดการ แต่ผลที่ตามมาคือการขาดความโปร่งใสและความชัดเจน อีกทั้งข้อมูลจากหลายด้านที่เข้ามา ประกอบกับการดำเนินธุรกิจที่ดี มีความจำเป็นที่จะต้องใช้การตัดสินใจที่เหมาะสม เมื่อถึงเวลาที่ต้องปฏิบัติงานจริง
ระบบปฏิบัติการที่ง่ายต่อการใช้งานและเข้าใจง่ายยังคงเป็นเกณท์การตัดสินใจหลักในการเลือกระบบ ERP ปัจจุบันซอฟต์แวร์สำหรับองค์กรยังคงมีความซับซ้อนและยากต่อการใช้งาน ซึ่งส่งผลกระทบให้ผู้ใช้ไม่สามารถดึงเอาความสามารถหรือศักยภาพสูงสุดของซอฟต์แวร์นั้นๆออกมาใช้งานได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังส่งผลไปถึงบริษัทในภาพรวมที่อาจสูญเสียประโยชน์จากการนำระบบ ERP มาปรับใช้เนื่องจากระบบข้อมูลทางธุรกิจที่สำคัญอาจจะไม่สามารถมองเห็นได้อย่างเต็มที่ ทั้งยังกระทบถึงกระบวนการตัดสินใจและโอกาสที่จะเติบโตของธุรกิจในอนาคต
คุณศรีดาราน อรูมูแกม รองประธาน บริษัทไอเอฟเอส ภูมิภาคอาเซียน กล่าว “ทุกวันนี้ หลายธุรกิจในประเทศไทยเผชิญกับการดำเนินธุรกิจที่มีความท้าทายสูง เพราะการแข่งขันในตลาดสูงขึ้น อีกทั้งการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประกอบกับ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดแรงกดดันในระดับต่างๆบนธุรกิจที่แตกต่างกัน การนำ Enterprise Application มาบูรณาการกับการดำเนินธุรกิจจะสามารถบรรเทาแรงกดดันในจุดนี้ได้ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจอีกด้วย การลงทุนที่เหมาะสมในระบบ ERP ที่ถูกต้องจะสามารถพัฒนาปรับปรุงธุรกิจได้ตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน ไปจนถึงผลจากการดำเนินงานที่ออกมา อีกทั้งยังช่วยให้ธุรกิจดำเนินอยู่ในระดับแนวหน้าในตลาด”
ด้วย IFS Applications™ คุณจะได้รับความคล่องตัวในการจัดการกับการผลิตทั้งหมด โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่า การผลิตโหมดใดที่ต้องใช้ ความต้องการของคุณจะเป็นอะไร หรือในอนาคตธุรกิจควรจะดำเนินไปในทิศทางไหน เพราะโดยองค์ประกอบพื้นฐานของ IFS Applications™ เพียบพร้อมด้วยฟังก์ชันการทำงานของระบบอุตสาหกรรม อีกทั้งยังถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มการใช้งานและการให้ประสิทธิภาพสูงสุดในการผลิตเมื่อถึงเวลาปฏิบัติจริง นอกจากนี้ยังออกแบบมาให้ใช้งานง่ายและสร้างขึ้นมาเพื่อการใช้งานโดยเฉพาะ นอกจากนี้ IFS Applications™ ยังบูรณาการฟังก์ชั่นอื่นๆ สำหรับการค้นหาสำหรับองค์กร การบันทึกข้อมูลจากสื่อต่างๆ รวมถึงการเข้าถึงไฟล์เอกสารต่างๆที่ใช้เป็นประจำอีกด้วยด้วย เช่น Microsoft Word และ Microsoft Excel
“การนำ IFS Applications มาปรับใช้ ถือเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาธุรกิจของเรา เพราะนอกจากจะช่วยปรับปรุงการดำเนินงานแล้ว ยังสามารถช่วยสร้างความมั่นใจว่าแต่ละแผนกจะสามารถทำงานร่วมกันได้ดียิ่งขึ้น สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นนี้จะช่วยเพิ่มการเติบโตและความได้เปรียบทางการแข่งขันในตลาด เพราะเราสามารถที่จะวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงพัฒนาในเรื่องของการตัดสินใจอีกด้วย” คุณจีรศักดิ์ เสงี่ยมกิตติกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเจริญโภคภัณฑ์วิศวกรรม จำกัด กล่าวเพิ่มเติม
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.ifsworld.com/th