กลุ่มซีพี – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 03 Aug 2020 07:22:18 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ตระกูล “เจียรวนนท์” ครองอันดับ 21 มหาเศรษฐีโลก ปี 2020 ทรัพย์สิน 9.8 แสนล้าน https://positioningmag.com/1290703 Mon, 03 Aug 2020 07:09:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1290703 บลูมเบิร์ก จัดอันดับมหาเศรีษฐีโลกปี 2020 อันดับ 1 เป็นของตระกูล “วอร์ตัน” เจ้าของกิจการวอลมาร์ท (Walmart) ส่วนตระกูล “เจียรวนนท์” ครองอันดับที่ 21 ทรัพย์สินรวม 982,400 ล้านบาท

ปี 2020 ถือเป็นปีที่มีความท้าทายในภาคธุรกิจ โดยเฉพาะในสถาการณ์การแพร่ระบาดของโรคไว้รัส COVID-19 ที่กระทบต่อหลายธุรกิจทั่วโลก อย่างไรก็ดี หลายตระกูลมหาเศรษฐีทั่วโลก ต้องมีการปรับตัวกับสถานการณ์ที่กระทบการลงทุนใหม่ กระทบต่อธุรกิจในปัจจุบัน และที่สำคัญกระทบต่อพนักงานในองค์กร

การจัดอันดับมหาเศรษฐีโลก เดือนสิงหาคม ปี 2563 โดยบลูมเบิร์ก ระบุว่าในปีนี้ “วอร์ตัน” เจ้าของกิจการวอลมาร์ท (Walmart) ยังครองแชมป์มหาเศรษฐีโลกมีทรัพย์สิน 215 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 6.8 ล้านล้านบาท ซึ่งถือได้ว่า เป็นตระกูลที่บริหารธุรกิจค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุด มีสาขากว่า 11,000 สาขาทั่วโลก

สำหรับในประเทศไทยก็มีติดโผในอันดับที่ 21 เป็นของตระกูล “เจียรวนนท์” มีทรัพย์สินมูลค่ารวม 30.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 982,400 ล้านบาท ซึ่งเป็นธุรกิจที่เริ่มต้นในประเทศไทย และได้ขยายการลงทุนไปกว่า 22 ประเทศทั่วโลก

โดยล่าสุด ได้ขยายธุรกิจฟาร์มกุ้งไปในประเทศสหรัฐอเมริกา และมีธุรกิจด้านอาหารทั้งในอเมริกาและยุโรป ทำให้รักษาการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เครือซีพี ได้มีธุรกิจที่หลากหลาย อาทิ เกษตร อาหาร ค้าปลีก สื่อสาร และธุรกิจอื่นๆ ในหลายประเทศ โดยมีการนำธงชาติไทยไปติดในทุกสำนักงานที่ไปลงทุน

]]>
1290703
ย้อนรอยผลงาน “แม็คโคร” 5 ปี หลังอยู่ในมือ “เจ้าสัว CP” กำไรเฉลี่ยปีละ 6,178 ล้านบาท https://positioningmag.com/1267742 Tue, 10 Mar 2020 16:25:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1267742 กลายเป็นข่าวร้อนแรงในช่วงสัปดาห์นี้ กลุ่ม CP ชนะการประมูล TESCO สำหรับการเข้าซื้อกิจการเทสโก้ โลตัส ซึ่งมี 3 กลุ่มบริษัทใหญ่จาก 3 ตระกูลที่สนใจ ได้แก่ กลุ่มซีพี ของตระกูลเจียรวนนท์, เซ็นทรัล กรุ๊ป ของตระกูลจิราธิวัฒน์ และทีซีซี กรุ๊ป ของตระกูลสิริวัฒนภักดี

ย้อนผลงาน 5 ปี

โดยก่อนหน้านี้สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานอ้างแหล่งข่าวใกล้ชิดว่า กลุ่ม TCC กรุ๊ปของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี เตรียมใช้สินเชื่อระยะสั้น 2 ปีที่กู้มาจากสถาบันการเงินต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ ประมาณ 10,000 ล้านดอลลาร์ หรือราว 3.14 แสนล้านบาท เข้าซื้อกิจการทั้งในไทยและมาเลเซียของ “เทสโก้” ยักษ์ใหญ่ค้าปลีกสัญชาติอังกฤษ ถือเป็นความภูมิใจคนไทยที่กลับมาเป็นเจ้าของ Tesco Lotus อีกครั้ง

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ พูดถึงการเข้าร่วมแข่งขันซื้อกิจการเทสโก้ โลตัส ในประเทศไทยและมาเลเซียเป็นครั้งแรกว่า ต้องซื้อเพราะเป็นประโยชน์ต่อคนไทย มั่นใจว่าจะทำได้ดีกว่าเดิมเท่าตัว เปรียบธุรกิจเหมือนลูกที่เคยให้คนอื่นไปช่วยเลี้ยง ยืนยันไม่ผูกขาดแน่นอน

ทำให้ต้องย้อนกลับไปดูลูกคนแรก นั่นคือแม็คโคร ที่ CP ได้กลับคืนมาเมื่อ 5 ปีก่อน ว่าทำได้ดีเพียงไร

ย้อนไปในช่วง 5 ปีก่อน มีวลีเด็ดว่า “เราไม่ได้ซื้อแม็คโครในราคาแพงอย่างที่ใครคิด เพราะการซื้อครั้งนี้ เหมือนเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายย่อยจำนวนมากสามารถทำประโยชน์ให้ประเทศชาติ ทำให้สามารถค้าส่งได้ คุณภาพดี ราคาถูก” ซึ่งเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อในวันที่ตัวเองต้องจ่ายเงิน 188,000 ล้านบาทเพื่อครอบครองแม็คโครในไทย จำนวน 57 สาขา และสิทธิ์ในการขยายแม็คโครไปยังต่างประเทศ

คำถามคือ ณ วันนี้แม็คโครในมือ “เจ้าสัวธนินท์” ผ่านมา 5 ปี ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าแล้วหรือยัง?

หากวัดในแง่ผลกำไร 4 ปีกับ 9 เดือนนั้น แม็คโครมีกำไรรวมกันอยู่ที่ประมาณ 26,200 ล้านบาท แต่จะวัดแค่กำไรไม่ได้ ต้องดูมูลค่าสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น ทำให้มูลค่าของบริษัทเพิ่มขึ้นด้วย โดยเฉพาะยุทธศาสตร์การขยายไปต่างประเทศ เมื่อนำจำนวนสาขามาเปรียบเทียบกันจากเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ในช่วงที่ CPALL เข้าซื้อกิจการนั้นมี 57 สาขา แต่ในวันนี้มีถึง 123 สาขาเมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2560 และในปี พ.ศ. 2561 ก็ถูกประมาณการอยู่ที่ 140 สาขา

กำไรที่เติบโตของแม็คโคร หลังกลับมาอยู่กับ CP

ในอดีตก่อนแม็คโครจะมาอยู่ในมือเจ้าสัว CPALL มีกำไรเฉลี่ยประมาณ 3,000 กว่าล้านบาท แต่วันนี้แม็คโครมีกำไรต่อปีสูงถึง 6,178 ล้านบาทเลยทีเดียว เติบโตจนมีขนาดใหญ่ขึ้น 200% จะเห็นว่าแนวคิดของแม็คโครนับตั้งแต่อยู่ภายใต้มือของ “เจ้าสัวธนินท์” ก็คือ แม้จะมีสาขาขนาดใหญ่ดั้งเดิมอยู่แล้ว แต่ก็เลือกที่จะเน้นขายสินค้าเฉพาะทางเฉพาะกลุ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีมาใช้ในแม็คโคร

พอมาดูตัวเลขทางการเงินย้อนหลัง ก็เป็นดังนี้

ปี 2558 ยอดขาย 155,917.19 ล้านบาท กำไร 5,378.48 ล้านบาท
ปี 2559 ยอดขาย 172,790.13 ล้านบาท กำไร 5,412.52 ล้านบาท
ปี 2560 ยอดขาย 186,754.02 ล้านบาท กำไร 6,178.13 ล้านบาท
ปี 2561 ยอดขาย 192,930.09 ล้านบาท กำไร 5,941.99 ล้านบาท
ปี 2562 ยอดขาย 206,180 ล้านบาท เติบโต 9.3% กำไรสุทธิ 6,244.59 ล้านบาท

รวมไปถึงการไม่ได้เป็นห้างค้าส่งแบบ “หลงยุค” เมื่อแม็คโครเปิดช่องทางขายออนไลน์ ทั้งผ่านหน้าเว็บไซต์ตัวเอง จนถึงการมี Makro Application ที่ปัจจุบันมียอดดาวน์โหลดใช้งานมากกว่า 300,000 ราย ดังนั้นถือเป็นการติดปีกให้กับธุรกิจค้าส่งของประเทศไทย เปิดช่องทางให้ SMEs จนมีศักยภาพในการขยายไปต่างประเทศ รวมถึงประเทศอินเดีย

สำหรับการซื้อเทสโก้ โลตัส ก็เป็นอีกกรณีหนึ่งที่จะเป็นการพลิกโฉมไฮเปอร์มาร์ท ที่เอาคนเดิมมาพัฒนา ติดปีกให้สามารถบุกตลาดออนไลน์ ในขณะที่พัฒนาธุรกิจเดิมให้แข็งแกร่ง โดยใช้คนเดิมทำเรื่องเดิมให้ดีขึ้น และเอาคนรุ่นใหม่มาทำเรื่องใหม่ๆ เช่น การทำตลาดออนไลน์ หรือธุรกิจตัวเบา

ทั้งนี้ หากดูความพึงพอใจของพนักงาน จะเทียบได้กับกรณีแม็คโครที่ยังคงมีผู้บริหารและพนักงานชุดเดิม แต่ที่เปลี่ยนแปลงคือแนวคิดในการพัฒนาแบบ “พอใจวันเดียว” ซึ่งเป็นของเจ้าสัว ที่เราต้องจับตาดูกันต่อไปว่า โลตัส จะเป็นได้อย่างแม็คโครหรือไม่

Source

]]>
1267742
กลุ่ม CP ซื้อหุ้น “เทสโก้ โลตัส” ในไทย-มาเลย์มูลค่า 3.38 แสนล้าน กินรวบค้าปลีก ค้าส่ง สะดวกซื้อ https://positioningmag.com/1267496 Mon, 09 Mar 2020 07:36:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1267496 กลุ่ม CP โดย CP All และ CPF เข้าถือหุ้นของบริษัท เทสโก้ สโตร์ส (ประเทศไทย) จํากัด ที่ถือหุ้นหลักในเทสโก้ โลตัส ประเทศไทย โดยที่ CP All เข้าถือ 40% และ CPF 20%

“เครือซีพี” เข้าซื้อกิจการเทสโก้ โลตัส ในประเทศไทย และมาเลเซีย ภายใต้ชื่อกลุ่ม “เทสโก้เอเชีย” คิดเป็นมูลค่าเบื้องต้นประมาณ 10,576 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเท่ากับ 338,445 ล้านบาท คำนวณบนสมมติฐานกรณีกิจการไม่มีหนี้สินและเงินสด (a cash and debt free basis) โดยมูลค่าสิ่งตอบแทนดังกล่าวอาจมีการปรับเปลี่ยนตามเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญาซื้อขายหุ้น

ทั้งนี้ เครือซีพีได้จัดตั้งบริษัท ซี.พี.รีเทล โฮลดิ้ง จำกัด (บริษัทโฮลดิ้ง) ผู้ถือหุ้นทั้งหมดในบริษัท ซี.พี. รีเทล ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ที่จะเข้าทำธุรกรรมการซื้อขายครั้งนี้ โดยบริษัทโฮลดิ้งดังกล่าวจะถือหุ้นโดยเจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง 40%, บมจ.ซีพี ออลล์ (CPALL) 40% และ บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) ถือหุ้น 20%

กลายเป็นข่าวร้อนแรงประจำวันนี้ หลังจากที่ตลาดหุ้นไทยแดงทั้งกระดาน แล้วก็เป็นไปตามคาดหมายกับดีลของเทสโก้ โลตัส วันนี้กลุ่ม CP ได้ประกาศเข้าลงทุนในเทสโก้ โลตัสแล้วเรียบร้อย

โดยที่ “บริษัท ซีพี ออลล์ จํากัด (มหาชน)” หรือ CPALL ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่าได้ลงทุนในสัดส่วนไม่เกิน 40% ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของ “บริษัท เทสโก้ สโตร์ส (ประเทศไทย) จํากัด” ซึ่งถือหุ้นในสัดส่วน 99.99% ในบริษัท เอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จํากัด ผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกภายใต้เครื่องหมายการค้า Tesco Lotus ในประเทศไทย และ Tesco Stores (Malaysia) Sdn. Bhd. (“เทสโก้ประเทศมาเลเซีย”) ซึ่งประกอบธุรกิจค้าปลีกภายใต้เครื่องหมายการค้า Tesco ในประเทศมาเลเซีย

ทั้งนี้ เทสโก้ประเทศไทยและเทสโก้ประเทศมาเลเซีย ต่อไปรวมกันเรียกว่า “กลุ่มเทสโก้เอเชีย”

การลงทุนดังกล่าวของบริษัทจะเป็นการลงทุนโดยอ้อมผ่านนิติบุคคลเฉพาะกิจที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการลงทุน ได้แก่ บริษัท ซี.พี. รีเทล โฮลดิ้ง จํากัด ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดในบริษัท ซี.พี. รีเทล ดีเวลลอปเม้นท์ จํากัด โดยเงินลงทุนของบริษัทในบริษัทโฮลดิ้งเพื่อธุรกรรมการลงทุนในกลุ่มเทสโก้เอเชียมีมูลค่าประมาณ 3,000 ล้านดอลลาร์ (หรือเท่ากับ 95,981ล้านบาท)

ส่วนทางด้าน “บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)” หรือ CPF แจ้งว่า คณะกรรมการบริษัทอนุมัติให้บริษัท ซี.พี. เมอร์แชนไดซิ่ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทถือหุ้นทั้งหมด ลงทุนในสัดส่วนไม่เกิน 20% ของบริษัท เทสโก้ สโตร์ส (ประเทศไทย) จํากัด และ Tesco Stores (Malaysia) Sdn. Bhd.

การลงทุนดังกล่าวของ CPM จะเป็นการลงทุนโดยอ้อมผ่านนิติบุคคลเฉพาะกิจที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการลงทุน ได้แก่ บริษัท ซี.พี. รีเทล โฮลดิ้ง จํากัด ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดในบริษัท ซี.พี. รีเทล ดีเวลลอปเม้นท์ จํากัด โดยเงินลงทุนของ CPM ในบริษัทโฮลดิ้งเพื่อธุรกรรมการลงทุนในกลุ่มเทสโก้เอเชียมีมูลค่าประมาณ 1,500 ล้านดอลลาร์ (หรือเท่ากับประมาณ 47,991 ล้านบาท)

ทั้งนี้ รายการลงทุนดังกล่าวจะเกิดขึ้นเมื่อเงื่อนไขบังคับก่อนตามที่กำหนดไว้สำเร็จครบถ้วน ซึ่งรวมถึงการได้รับมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของ Tesco UK สำหรับการขายหุ้นในกลุ่มเทสโก้เอเชีย สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าอนุญาตให้ทำรายการ (หากต้องมีการขออนุญาต) และได้รับอนุญาตจาก Ministry of Domestic Trade and Consumers Affairs of Malaysia ทำรายการในประเทศมาเลเซีย โดยคาดว่าการเข้าทำรายการน่าจะเสร็จสิ้นภายในสิ้นปี 63 นี้

สำหรับ Tesco Lotus ในประเทศไทย มีร้านค้าในรูปแบบต่างๆ ที่ดำเนินการขายปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป ให้เช่าพื้นที่ในศูนย์การค้า และให้บริการอื่นๆ และได้พัฒนามาเป็นแบรนด์ธุรกิจค้าปลีก ประกอบด้วยร้านค้ารูปแบบไฮเปอร์มาร์เกต 214 สาขา ตลาด โลตัส 179 สาขา และ Tesco Express 1,574 สาขา และให้เช่าพื้นที่ในศูนย์การค้า 191 สาขา (ข้อมูล ณ สิ้นเดือน ส.ค. 62)

ขณะที่ Tesco ในประเทศมาเลเซีย มีร้านค้าในรูปแบบไฮเปอร์มาร์เกตจำนวน 46 สาขา ซูเปอร์มาร์เกตจำนวน 13 สาขา และร้านค้าขนาดเล็กจำนวน 9 สาขา (ข้อมูล ณ สิ้นเดือน ส.ค. 62) ที่ดำเนินการค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป โดยปัจจุบันเทสโก้ประเทศมาเลเซียได้พัฒนามาเป็นหนึ่งในผู้นำในด้านกิจการค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคในประเทศมาเลเซียนอกจากนี้ เทสโก้ประเทศมาเลเซียยังประกอบธุรกิจให้เช่าพื้นที่ในศูนย์การค้าจำนวน 56 สาขา

]]>
1267496
ซีพี เปิด “Harbour” บุฟเฟ่ต์หรูจากไต้หวัน ที่ “ธนินท์” ต้องเข้าคิวรอ https://positioningmag.com/1215466 Wed, 20 Feb 2019 23:07:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1215466 ความเคลื่อนไหวครั้งล่าสุดในการรุกคืบเข้าสู่ธุรกิจร้านอาหารของซีพีเอฟ คือ การร่วมทุนกับ “ไห่หลายกรุ๊ป” กลุ่มธุรกิจอาหารของไต้หวัน จัดตั้งบริษัท ซีพี ไห่หลาย ฮาร์เบอร์ จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียนก้อนแรก 160 ล้านบาท ซีพีเอฟถือหุ้น 51% และไห่หลายกรุ๊ปถือหุ้น 49% เพื่อดำเนินธุรกิจร้านอาหารบุฟเฟ่ต์นานาชาติระดับพรีเมียมในชื่อ “Harbour”

โดยเปิดร้านสาขาแรกในวันนี้ (20 กุมภาพันธ์ 2562) ที่ศูนย์การค้าไอคอนสยาม บนพื้นที่ 2,000 ตารางเมตร สามารถรองรับลูกค้าได้รอบละ 450 ที่นั่ง หรือวันละ 1,000 คน และตั้งเป้ายอดขายในปีแรกไว้ที่ 200 ล้านบาท โดยคาดว่าภายใน 5 ปี จะขยายสาขาในไทยเพิ่มเป็น 5 แห่ง เพื่อทำยอดขายรวมกว่า 1,000 ล้านบาท

สำหรับพิธีเปิดร้าน Harbour สาขาแรกในไทยในวันนี้ ผู้บริหารสูงสุดของทั้งสองกลุ่มคือ ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ และ โหว ซี ฟง ประธานไห่หลายกรุ๊ป มหาเศรษฐีอันดับต้นๆ ของไต้หวัน ได้ร่วมเป็นประธานในการเปิดงาน พร้อมผู้บริหารระดับสูงและแขกวีไอพี เช่น ชฎาทิพ จูตระกูล กรรมการ และ พาสินี ลิ่มอติบูลย์ ประธานบริษัท ไอคอนสยาม จำกัด เข้าร่วมงาน

Mr.Liu Tzu-Ming ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ซีพี ไห่หลาย ฮาร์เบอร์ จำกัด กล่าวว่า ความสำเร็จของร้าน Harbour ที่ผ่านมามีปัจจัยสำคัญอยู่ที่คุณภาพความสดใหม่และราคาสมเหตุสมผล คาดว่าในไทยก็จะได้รับการตอบรับที่ดีเช่นเดียวกัน เนื่องจากปัจจัยดังกล่าวเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคทั้งคนไทยและนักท่องเที่ยวมองหาและให้ความสำคัญ นอกจากนี้จะเน้นความหลากหลายของรายการอาหารที่มีถึง 200 รายการ ในราคา 799 บาทต่อหัว สำหรับมื้อกลางวัน และ 899 บาทต่อหัวสำหรับมือเย็นในช่วง Weekday และ 1,099 บาทต่อหัวในช่วง Weekend 

ในปีที่ผ่านมาไห่หลายกรุ๊ปมีรายได้ทั้งหมด 4,400 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน โดยแบ่งเป็นธุรกิจร้านอาหาร 3,800 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน จากทั้งหมด 42 สาขา ใน 15 แบรนด์ ซึ่ง 50% เป็นรายได้ธุรกิจร้านอาหารมาจากร้าน Harbour ที่มีทั้งหมด 9 สาขา แบ่งเป็น ไต้หวัน 7 สาขา และจีน 2 สาขาในซีอานกับเซี่ยงไฮ้ ส่วนที่เหลือมาจากธุรกิจร้านอาหารอื่นๆ

ไห่หลายกรุ๊ปเริ่มต้นธุรกิจด้วยธุรกิจโรงแรม โดยแยกฝ่ายจัดเลี้ยงของโรงแรมที่ดูแลภัตตาคารฮาร์เบอร์ที่อยู่ในโรงแรมมาจัดตั้งเป็น บริษัท ไห่หลาย ฟู้ดส์ จำกัด และต่อมาในปี 2011 ได้เริ่มขยายภัตตาคารฮาร์เบอร์สาขา 2 เป็นร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ระดับห้าดาวที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวัน

สุขวัฒน์ ด่านเสริมสุข ประธานคณะผู้บริหารธุรกิจอาหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ กล่าวถึงร้าน Harbour ซึ่งเป็นบุฟเฟ่ต์แบรนด์ดังและใหญ่ที่สุดในไต้หวันว่า เป็นร้านที่ได้รับความนิยมอย่างมากเห็นได้จากการจองคิวในแต่ละรอบที่มีลูกค้าถึงกว่า 400 ที่นั่ง ขณะที่ร้านมีการจัดการที่ดีโดยใช้เวลาไม่เกิน 20 นาทีก็สามารถจัดการได้ลงตัวทั้งหมด ซึ่งธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ ก็ยังไปทดลองใช้บริการและยืนรอคิวมาแล้ว โดยทางร้านใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที

อย่างไรก็ตาม การร่วมทุนครั้งนี้จะเป็นผลดีไม่เพียงแต่ซีพีเอฟ แต่ต่อประเทศไทยด้วย เนื่องจากซีพีเอฟจะเป็นผู้จัดหาวัตถุดิบเพื่อป้อนให้กับร้านอาหารที่เปิดในไทย ซึ่งเกือบทั้งหมดมาจากประเทศไทย อีกทั้งยังสร้างงานเพิ่มทักษะอาชีพที่ต้องใช้ในร้านอาหาร เช่น เชฟ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังเป็นโอกาสในการแนะนำอาหารไทยผ่านร้านอาหารของไห่หลายกรุ๊ป ซึ่งมีความเป็นไปได้ในอนาคตที่ทั้งสองฝ่ายจะขยายความร่วมมือในธุรกิจร้านอาหารไปสู่ภูมิภาคอาเซียน.


ข่าวเกี่ยวเนื่อง

ซีพีรุกธุรกิจอาหารเต็มเหนี่ยว ลงขัน “ฮาร์เบอร์ ไต้หวัน” เปิดภัตตาคาร ฮาร์เบอร์ อาหารจีนบุฟเฟ่ต์ เจาะตลาดคนรวยในไอคอนสยาม

]]>
1215466
กลุ่มซีพี-บีทีเอส ยื่นซองชิงสัมปทานรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน https://positioningmag.com/1196918 Mon, 12 Nov 2018 10:29:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1196918 หลังจากที่วันนี้ (12 ..) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ให้ผู้สนใจยื่นข้อเสนอการประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน “ดอนเมืองสุวรรณภูมิอู่ตะเภา” ระยะทาง 220 กมมูลค่า 224,544.36 ล้านบาท 

ปรากฏว่า เวลา 11.11 . กิจการร่วมค้า บีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) ที่เกิดจากการร่วมมือระหว่าง บมจ.บีทีเอสกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ บริษัท ซิโนไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC และบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH ได้เข้ายื่นซองประมูลเป็นกลุ่มแรก

โดยกลุ่ม BSR มาพร้อมเอกสาร 3 กล่องใหญ่ ตามขั้นตอนจะมีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารและรับรองเอกสารก่อนปิดผนึก เพื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาต่อไป

ในช่วงบ่าย เวลา 14.03 . ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) นำทีม ได้เดินทางมายื่นเอกสารการประมูล ในนามกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้งและพันธมิตร ประกอบด้วย เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง (ประเทศไทย) บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (ประเทศไทย) บมจ. .การช่าง (ประเทศไทย) บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (ประเทศไทย) China Railway Construction Corporation Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน)

ทั้งนี้ กำหนดยื่นเอสารวันนี้ มีขึ้นระหว่างเวลา 09.00-15.00 .โดยผู้ยื่นข้อเสนอต้องยื่นหลักประกันซองพร้อมกับซองข้อเสนอมูลค่า 2,000 ล้านบาท

ต้องชำระค่าธรรมเนียมการประเมินข้อเสนอให้แก่ .เป็นจำนวนเงิน 2 ล้านบาท ที่สำนักงานโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ มักกะสัน

และผู้ที่ยื่นเสนอผ่านการประเมินข้อเสนอจะต้องวางหลักประกันสัญญาที่ออกโดยธนาคารให้แก่การรถไฟฯ ในวันที่เข้าทำสัญญาร่วมทุนเป็นมูลค่า 4,500 ล้านบาท เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาร่วมลงทุนของเอกชนคู่สัญญา

สำหรับการคัดเลือกจะมีข้อเสนอ 4 ซอง 1. คุณสมบัติ 2. เทคนิค ซึ่งมี 6 หมวดแต่ละหมวดต้องมีคะแนนไม่ต่ำกว่า 75% และรวมคะแนนทั้งหมดต้องมีไม่น้อยกว่า 80% 3. ด้านการเงิน คัดเลือกผู้ที่ขอรัฐอุดหนุนต่ำที่สุด 4. ข้อเสนอพิเศษ จะเปิดพิจารณาหรือไม่ อยู่ที่การเจรจาต่อรอง.

Source

]]>
1196918