การอ่าน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 27 May 2020 14:23:19 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Self-Help : 3 คำแนะนำการ “บริหารสมอง” เพื่อเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้เร็วขึ้น https://positioningmag.com/1280900 Wed, 27 May 2020 14:18:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1280900 3 คำแนะนำโดย “จิม ควิก” โค้ชพัฒนาสมองให้กับนักวิจัยบริษัท SpaceX ของ “อีลอน มัสก์” เพื่อพัฒนาให้สมองเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้เร็วขึ้น บอกเลยว่าเป็นคำแนะนำง่ายๆ ที่ทุกคนทำได้

“จิม ควิก” เป็นโค้ชสมองให้กับนักวิจัยในบริษัท SpaceX ของ “อีลอน มัสก์” โดยเขาเป็นผู้เชี่ยวชาญเทคนิคการอ่านให้เร็วขึ้นเพื่อพัฒนาความจำและติดสปีดการเรียนรู้ ควิกกล่าวว่า คนเราจะประสบความสำเร็จได้ต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ตลอดเวลา

ยิ่งในยุคที่ทุกอุตสาหกรรมและทุกตลาดงานถูกดิสรัปต์ ควิกมองว่าทุกคนต้องเรียนรู้สิ่งใหม่และทักษะใหม่ไปใช้ในการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด แต่ปัญหาก็คือ คนจำนวนมากไม่ได้ถูกสอนทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องมาจากโรงเรียน และทักษะที่ขาดไปนี้คือสิ่งที่รั้งพวกเขาไว้จนไม่สามารถทำตามความฝันได้สำเร็จ

โดย 3 คำแนะนำพื้นฐานสำคัญเพื่อให้สมองเรียนรู้ได้ดีขึ้นที่ควิกกล่าวถึงมีดังนี้

ปรับวิธีคิด – กำจัด ค.ล.อ. ของคุณ

สำคัญมากที่คุณจะต้องต่อสู้กับ ค.ล.อ. หรือการ “คิดลบอัตโนมัติ” ให้ได้ก่อน เพราะการคิดลบจะทำให้คุณบอกตัวเองตลอดเวลาว่าคุณเรียนรู้สิ่งใหม่ไม่ได้

“ถ้าคุณบอกตัวเองเป็นประจำว่าคุณทำไม่ได้ หรือคุณแก่เกินกว่าจะทำสิ่งนั้น หรือแม้แต่คิดว่า คุณไม่ฉลาดพอที่จะทำมัน สุดท้ายคุณก็จะไม่ลงมือทำ” ควิกกล่าวในหนังสือ Limitless ที่ช่วยสอนเทคนิคการเรียนรู้ของเขา

การกำจัด ค.ล.อ. ออกไป ควิกแนะนำว่า ทันทีที่คุณรู้สึกว่าเสียงในหัวบอกว่าคุณคงทำมันไม่ได้ ให้พูดกับตัวเองว่าคุณทำได้  “อย่าจำกัดตัวเองอยู่ในกรอบที่คุณรู้อยู่แล้วว่าตัวเองทำได้ แต่ให้ขยายความคิดของตัวเองไปสู่สิ่งอื่นๆ ที่อาจจะเป็นไปได้” ควิกกล่าว

ในที่สุด การคิดลบอัตโนมัติจะเริ่มหมดไป และจะรื้อเอากำแพงกั้นการเรียนรู้สิ่งใหม่ออกไปด้วย

บอกตัวเองว่า “คุณทำได้” (Photo: Paola Diaz)

กระตุ้นสมอง – กินอาหารที่มีประโยชน์

สิ่งที่คุณรับประทานมีความสำคัญยิ่ง โดยเฉพาะกับสมอง จุดศูนย์กลางการสั่งงานกล้ามเนื้อและระบบการรับรู้ทั่วร่างกาย เช่น การมองเห็น การได้ยิน ความทรงจำ การพูด และการตัดสินใจ

ดังนั้นเขาจึงแนะนำให้รับประทาน “อาหารสำหรับสมอง” อย่างน้อย 1 มื้อต่อวัน โดยอาหาร 10 อย่างเหล่านี้คือสิ่งที่เขาแนะนำ

1.อะโวคาโด – อาหารที่มีไขมันเชิงเดี่ยว ช่วยคงระดับการหมุนเวียนเลือดที่ดีต่อสุขภาพ
2.บลูเบอร์รี่ – ช่วยปกป้องสมองจากความเครียด และช่วยชะลอวัยสมอง
3.บร็อคโคลี่ – ผักที่อุดมด้วยวิตามินเค สารอาหารที่ช่วยพัฒนาความจำ
4.ไข่ – อุดมด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิดที่จำเป็นต่อสมอง
5.ผักใบเขียว – อุดมด้วยวิตามินอี ช่วยชะลอความแก่ของสมอง
6.แซลมอน ซาร์ดีน คาเวียร์ – มีโอเมก้า-3 และกรดไขมันปริมาณมาก ช่วยชะลอวัยสมองเช่นกัน
7.ขมิ้นชัน – ช่วยลดการอักเสบในร่างกาย เพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ และช่วยให้สมองรับออกซิเจนได้ดีขึ้น
8.วอลนัต – เพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระและวิตามินอี
9.ดาร์กช็อกโกแลต – ในดาร์กช็อกโกแลตมีฟลาโวนอยด์ ซึ่งช่วยเรื่องการจดจำ
10.น้ำ – 80% ของสมองมีน้ำเป็นส่วนประกอบ ดังนั้นการขาดน้ำจะทำให้สมองพร่าเลือน การตอบสนองจะช้าลง โดยมีการศึกษาพบว่า คนที่มีน้ำในร่างกายเพียงพอจะทำแบบทดสอบพลังสมองได้ดีกว่าคนที่ขาดน้ำ

ดื่มน้ำให้เพียงพอคือพื้นฐานสำคัญของสุขภาพสมอง (Photo: Daria Shevtsova)

วิธีฝึกการเรียนรู้ – ใช้พลังแห่งการอ่าน

เพื่อการเรียนรู้ที่ดีขึ้น คุณต้องอ่าน ควิกแนะนำว่าให้ตั้งเป้าหมายการอ่านในแต่ละวัน แม้จะเริ่มต้นตั้งแค่เพียง 10 นาทีต่อวันก็มีประโยชน์ กุญแจสำคัญคือต้องอ่านอย่างสม่ำเสมอ โดยอาจจะตั้งตารางการอ่านไว้บนปฏิทินเพื่อไม่ให้ลืมการอ่านในแต่ละวันไป

เขาบอกว่า ให้ลองเลือกหนังสือที่คุณอยากจะอ่านมาตั้งนานแล้วแต่ก็ผัดวันประกันพรุ่งมาตลอด จากนั้นนำสิ่งกวนใจใดๆ ออกไปให้ห่างตัว ตั้งเวลาที่คุณกำหนด และอาจจะใช้นิ้วหรือที่คั่นหนังสือไล่ไปตามคำที่อ่านเพื่อช่วยให้สายตาจับตัวหนังสือได้ดีขึ้น

“การอ่านคือการออกกำลังกายที่ยอดเยี่ยมสำหรับความคิดของคุณ จำไว้ว่า คุณสามารถดาวน์โหลดประสบการณ์หลายทศวรรษเข้ามาในคราวเดียว เพียงแค่คุณอ่านหนังสือเล่มหนึ่งเท่านั้น” ควิกกล่าว

(หมายเหตุ: CNBC รายงานในภายหลังว่า อีลอน มัสก์ กล่าวว่า แม้ว่าคำแนะนำของจิม ควิกจะมีเหตุผล แต่เขาไม่ได้เป็นโค้ชสมองประจำบริษัท SpaceX หรือ Tesla เพียงแต่เคยเข้ามาบรรยายครั้งเดียวเท่านั้น)

Source

]]>
1280900
ผลสำรวจชี้ คนไทยอ่านหนังสือวันละ 80 นาที หนังสือเล่มไม่ตาย! แต่อ่านผ่านออนไลน์มากขึ้น https://positioningmag.com/1223380 Wed, 03 Apr 2019 13:57:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1223380 ตลกร้ายที่มักจะได้ยินกันบ่อยๆ คือคนไทยมีสถิติการอ่านปีละ 8 บรรทัด แต่จากผลสำรวจการอ่านในปี 2018 ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ และสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (TK park) ยืนยันแล้วไม่เป็นความจริง

ตั้งแต่ปี 2003 เป็นต้นมาทุกๆ 3 ปี จะมีการจัดทำผลสำรวจการอ่านขึ้น สำหรับครั้งล่าสุดในปี 2561 ได้สำรวจช่วงเดือนพฤษภาคมมิถุนายน กลุ่มตัวอย่าง 55,920 ครัวเรือนกระจายทุกจังหวัด อายุ 6 ปีขึ้นไป โดยนับการอ่านหนังสือ หรือบทความทุกประเภททั้งนอกเวลาเรียน นอกเวลาทํางาน และ ช่วงเวลาพัก

นับรวมการอ่านผ่านออนไลน์ ไม่ใช่แค่เว็บไซต์ SMS E-Mail ยังมีโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook Line Instagram Twitter ) ยกเว้นการอ่านข้อความที่เป็นการสนทนา/ติดต่อสื่อสารส่วนบุคคลหรือหน้าที่การงานพบว่า

คนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไปมีอัตราการอ่าน 78.8% หรือจำนวน 49.7 ล้านคนเพิ่มขึ้นจากปี 2558 ซึ่งอยู่ที่ 77.7% แบ่งเป็นผู้ชาย 79.7% และผู้หญิง 77.9% วัยรุ่นอ่านมากที่สุด 92.9% เฉลี่ย 109 นาทีตามด้วยวัยเด็ก 89.7% เฉลี่ย 83 นาที, วัยทำงาน 81.8% เฉลี่ย 77 นาทีและวัยสูงอายุ 52.2% เฉลี่ย 47 นาที

10 จังหวัดอ่านมากสุด

โดยจังหวัดที่มีการอ่านมากที่สุด 10 อันดับได้แก่

  • กรุงเทพมหานคร 92.9%
  • สมุทรปราการ 92.7%
  • ภูเก็ต 91.3%
  • ขอนแก่น 90.5%
  • สระบุรี 90.1%
  • อุบลราชธานี 88.8%
  • แพร่ 87.6%
  • ตรัง 87.2%
  • นนทบุรี 86.6%
  • ปทุมธานี 86.2%

หากแยกเป็นภาพจะพบว่าในกรุงเทพฯ มีคนอ่านมากที่สุดคิดเป็น 92.9%, ภาคกลาง 80.4% ภาคเหนือและภาคอีสาน 75% และภาคใต้ 74.3%

อ่านเฉลี่ย 80 นาทีต่อวัน

ที่น่ายินดีคือคนไทยใช้เวลาในการอ่านเฉลี่ย 80 นาทีต่อวัน เพิ่มขึ้นจากการสำรวจครั้งที่ผ่านมาในปี 2558 ซึ่งอยู่ที่ 66 นาทีต่อวัน ซึ่งจริงๆ แล้วตัวเลขเหล่านี้เพิ่มขึ้นเรื่อยมาตั้งแต่ปี 2554 ที่มีเพียง 35 นาทีต่อวัน

ประเภทของหนังสือที่อ่านมากที่สุดคือโซเชียลมีเดีย/ SMS/อีเมล์ 69.2%, หนังสือพิมพ์ 60.5%, ตํารา/หนังสือ/เอกสาร/ บทความที่ให้ความรู้ต่างๆ/ ความรู้ทั่วไป 48.9%,

วารสาร/เอกสารประเภทอื่นๆที่ออกเป็นประจํา 40.3%, หนังสือ/เอกสาร/บทความเกี่ยวกับคําสอนทางศาสนา 38.1% และนิตยสาร 31.1%

หนังสือเล่มไม่ตาย แต่นิยมอ่านออนไลน์

นอกจากนี้ผลสำรวจยังชี้ให้เห็นว่าหนังสือเล่มยังไม่ตาย!” ในช่วงเวลา 3 ปีนี้แม้ความนิยมการอ่านสื่อออนไลน์จะอยู่ที่ 75.4% เพิ่มขึ้นจากครั้งก่อนหน้าที่มี 54.9% ซึ่งสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการพัฒนาของเทคโนโลยี และค่าอินเทอร์เน็ตที่ถูกลง

โดยพฤติกรรมการอ่านแบ่งเป็นโซเชียลมีเดีย 68.1% เว็บไซต์ 15.2% หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 6.5% แอพพลิเคชั่น 2.5% แอพพลิเคชั่นไม่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต 1.0% อีเมล 0.8% ซีดี/ดีวีดี 0.3% อื่นๆ 7.2%  จากการสังเกตจะเห็นว่าสัดส่วนหนังสือและสื่อออนไลน์มีสัดส่วนที่ใกล้กันมากขึ้น

แต่อัตราการลดลงของการอ่านหนังสือเล่มกลับไม่สูงเท่าไรนัก เพราะจากการสำรวจยังคงมีคนอ่านหนังสือเล่มอยู่ถึง 88% จากครั้งก่อนอยู่ที่ 96.1% โดย 17.4% กลุ่มตัวอย่างบอกว่าซื้อหนังสือเป็นเล่ม ในรอบปีที่ผ่านมาหากแยกลงไปตามภาคจะพบว่า กรุงเทพมหานครมีอัตราการซื้อที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 26.3% ตามด้วยภาคกลาง 17.8% และภาคเหนือ 14.5% เป็นต้น

วันเพ็ญ พูลวงษ์รอง ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ กล่าวว่า

สถิติการอ่านของคนไทย มีการเปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อม และสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไป สำหรับในปีนี้เมื่อเราเข้าสู่ยุคดิจิทัล แน่นอนว่าการอ่านผ่านสื่อออนไลน์ ย่อมส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการอ่าน ทำให้ห้องสมุด ร้านหนังสือ หรือส่วนงานที่เกี่ยวข้อง ย่อมต้องปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงนี้

วันเพ็ญ พูลวงษ์รอง ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ

อย่างไรก็ตามผลสำรวจยังบอกอีกว่ามีจำนวนประชากรไทยที่ไม่อ่านหนังสืออยู่กว่า 21.2% หรือราว 13.7 ล้านคนแบ่งเป็นผู้ชาย 20.3% และผู้หญิง 22.1% ซึ่งในจำนวนนี้ให้เหตุผลว่าชอบดูทีวี 30.3% ไม่ชอบอ่านหนังสือหรือไม่สนใจ 25.2% อ่านไม่ออก 25.0% สายตาไม่ดี 22.1% ไม่มีเวลาอ่าน 20.0%

และเมื่อจำแนกตามช่วงวัยพบว่าเด็กอายุระหว่าง 6-14 ปีมีแนวโน้มการอ่านเพิ่มขึ้น ซึ่งนั่นหมายถึงว่าการรณรงค์ส่งเสริมการอ่านในกลุ่มนี้ค่อนข้างได้ผล เมื่อไปดูในเด็กอายุ 15-24 ปีกลับพบว่าไม่ชอบการอ่านหนังสือถึง 34.9% ขณะที่วัยผู้ใหญ่  25-50 ปีที่ไม่ชอบอ่านหนังสือมีถึง 32.8%

สะท้อนว่าหลังการศึกษาช่วงมัธยมศึกษาตอนต้น จนถึงทำงานและเกษียณอายุคนกลุ่มนี้ ยังขาดนิสัยรักการอ่านและยังแสดงให้เห็นว่า การปลูกฝังเรื่องรักการอ่านในคนไทย อาจจะยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร นับเป็นความท้าทายที่หน่วยงานด้านการส่งเสริมการอ่าน ต้องกลับไปแก้โจทย์ และหาแนวทางในการรณรงค์ส่งเสริมการอ่านกันต่อไป

]]>
1223380