คอนเทนต์ข่าว – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 21 Apr 2020 14:05:12 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 สงครามรีดค่าลิขสิทธิ์! ออสเตรเลียสั่ง Google-Facebook จ่ายค่า “คอนเทนต์” ให้สื่อดั้งเดิม https://positioningmag.com/1274656 Tue, 21 Apr 2020 12:39:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1274656
  • รัฐบาลออสเตรเลียเตรียมออกกฎหมายสั่งการให้ Google และ Facebook จ่ายค่า “ใช้ซ้ำ” คอนเทนต์ให้กับสื่อดั้งเดิมในประเทศ สร้างสมดุลทางการค้า
  • บริษัทสื่อดั้งเดิมกล่าวถึงบริษัทเทคโนโลยีเหล่านี้ว่า มีการนำคอนเทนต์ไปใช้ฟรีมานาน ขณะที่ผู้ผลิตต้นฉบับยากลำบาก โดยเฉพาะในวิกฤต COVID-19 ที่เม็ดเงินโฆษณาลดลง
  • ฟากยักษ์เทคโนโลยีโต้กลับว่าสื่อดั้งเดิมได้ประโยชน์ไปแล้ว เพราะแพลตฟอร์มได้นำผู้ชมไปสู่เว็บไซต์ของสื่อ สร้างรายได้ค่าโฆษณาและการสมัครสมาชิก แต่รัฐออสเตรเลียมองว่า ค่าโฆษณาส่วนใหญ่ตกอยู่กับบริษัทเทคฯ และทั้ง Google และ Facebook มีการทำตลาดแบบผูกขาด
  • ออสเตรเลียไม่ใช่ประเทศแรกที่พยายามเรียกค่าลิขสิทธิ์จากยักษ์เทคโนโลยี แต่ทุกประเทศก่อนหน้านี้ไม่เคยมีใครชนะ
  • “จอช ไฟรเดนเบิร์ก” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของออสเตรเลีย เปิดเผยผ่านทางบทความที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ The Australian Friday ว่า ก่อนหน้านี้รัฐบาลได้เดินหน้าการเจรจาสัญญาความสัมพันธ์ระหว่างแพลตฟอร์มดิจิทัลกับธุรกิจสื่อดั้งเดิม เพื่อสร้างระเบียบปฏิบัติโดยสมัครใจในการ “ปกป้องผู้บริโภค พัฒนาความโปร่งใส และสร้างสมดุลเชิงอำนาจระหว่างสองฝ่าย” แต่ปรากฏว่าไม่เป็นผลเนื่องจาก “ไม่เกิดความก้าวหน้าที่มีประสิทธิภาพ”

    ระเบียบที่ คณะกรรมาธิการแข่งขันทางการค้าออสเตรเลีย (ACCC) พยายามประสานให้สองฝ่ายตกลงกันได้ก่อนหน้านี้ จะเกี่ยวข้องกับการแบ่งปันรายได้ ความโปร่งใสในการใช้อัลกอริทึมจัดลำดับแสดงผล ช่องทางเข้าถึงดาต้าผู้ใช้ วิธีการนำเสนอคอนเทนต์ข่าว และบทลงโทษสำหรับผู้ที่ไม่ปฏิบัติตาม

    เมื่อการเจรจาไม่ก้าวหน้า ทำให้รัฐบาลเลือกที่จะเปลี่ยนมาใช้วิธีออกระเบียบบังคับแทนการใช้ระเบียบแบบสมัครใจ โดยขณะนี้ยังไม่มีรายละเอียดการแบ่งค่าตอบแทนว่าจะเป็นอย่างไร แต่ไฟรเดนเบิร์กย้ำว่า จะมีบทลงโทษสูงหลายพันล้านดอลลาร์ออสเตรเลียสำหรับบริษัทที่หลีกเลี่ยงการจ่ายค่าตอบแทน และคาดว่าจะร่างระเบียบเสร็จสิ้นภายในเดือนกรกฎาคมนี้

    ตัวอย่างการแสดงผลเนื้อความแบบ snippet ของคอนเทนต์ข่าวบน Google Assistant

    “จะยุติธรรมกับทั้งสองฝ่าย หากยักษ์ใหญ่ด้านเสิร์ชเอนจิ้นและโซเชียลมีเดียจ่ายค่าคอนเทนต์ต้นฉบับให้กับธุรกิจสื่อดั้งเดิม เพราะพวกเขาใช้คอนเทนต์เหล่านี้สร้างทราฟฟิกผู้ชมสู่แพลตฟอร์มของตนเอง” ไฟรเดนเบิร์กกล่าว

    “ระเบียบนี้จะรับประกันให้ยักษ์ใหญ่แพลตฟอร์มสื่อทั้งหลายจ่ายค่าคอนเทนต์ และออสเตรเลียต้องการจะเป็นประเทศแรกในโลกที่ทำสำเร็จ” เขากล่าวย้ำ

    โดยฝ่ายสื่อและรัฐบาลมองว่ายักษ์เทคโนโลยีเหล่านี้นำคอนเทนต์ไปใช้ซ้ำและสร้างรายได้ทางอ้อมบนแพลตฟอร์ม เช่น Google News ซึ่งจะแสดงเนื้อความแบบย่อ (snippet) จากคอนเทนต์ต้นฉบับในเว็บไซต์ข่าวไว้บนแพลตฟอร์มของตน

     

    สื่อดั้งเดิมประณามบริษัทเทคฯ ทำนาบนหลังคน

    การตัดสินใจที่เร็วเกินคาดของรัฐบาล เชื่อว่าเป็นผลมาจากการระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้เม็ดเงินโฆษณายิ่งหดหาย กดดันให้รัฐต้องปกป้องธุรกิจสื่อในประเทศ

    “รัฐบาลออสเตรเลียตระหนักได้ว่าระเบียบโดยสมัครใจไม่อาจเกิดขึ้นได้ เมื่ออำนาจการต่อรองไม่เท่าเทียมกัน” มาร์คัส สตอร์ม ประธานสหพันธ์สื่อบันเทิงและศิลปะ กล่าว โดยสหพันธ์นี้เป็นตัวแทนกลุ่มธุรกิจสื่ออาชีพซึ่งเรียกร้องการจัดเก็บค่าคอนเทนต์ดังกล่าวมาตั้งแต่ 3 ปีก่อน

    “บางส่วนของ Google และ Facebook เติบโตขึ้นมาได้จากคอนเทนต์ข่าวที่ปรากฏในแพลตฟอร์ม แต่ผู้สร้างคอนเทนต์ตัวจริงคือธุรกิจสื่อข่าวทั้งหลายกลับต้องตกที่นั่งลำบาก ระหว่างที่ยังเป็นคนผลิตข่าวที่สำคัญยิ่งต่อสาธารณะ” สตอร์มกล่าวเสริม “บริษัทเทคโนโลยีจะต้องเจรจากับบริษัทสื่อด้วยความรับผิดชอบแล้ว และเริ่มจ่ายค่าคอนเทนต์หลังจากที่ใช้ประโยชน์ฟรีๆ มาตลอด”

     

    ใครกันแน่ที่ได้ประโยชน์?

    ฟากบริษัทเทคฯ ไม่นิ่งเฉยต่อความเคลื่อนไหวเหล่านี้ โดยโฆษกของ Google ออกแถลงการณ์ว่า “เรามีการทำงานต่อเนื่องมาหลายปีเพื่อเป็นพันธมิตรกับอุตสาหกรรมข่าว ช่วยให้ธุรกิจของพวกเขาเติบโตผ่านรายได้ค่าโฆษณาและบริการสมัครสมาชิก รวมถึงช่วยเพิ่มยอดผู้ชมจากการสร้างทราฟฟิกให้”

    Google เสริมว่า เมื่อปี 2018 บริษัทนำผู้อ่านชาวออสเตรเลียเข้าสู่เว็บไซต์ของกลุ่มธุรกิจสื่อดั้งเดิมถึงกว่า 2 พันล้านครั้ง และบริษัทมิได้เก็บเงินจากสำนักข่าวเพื่อให้คอนเทนต์ของพวกเขาปรากฏบนเสิร์ชเอนจิ้น ดังนั้นบริษัทสื่อจึงได้ประโยชน์จากทราฟฟิกผ่าน Google

    ACCC ศึกษาตลาดพบว่า ชาวออสเตรเลีย 98% ใช้ Google เป็นเสิร์ชเอนจิ้นหลัก และประชากร 17 ล้านคนจากทั้งหมด 25 ล้านคนในประเทศนี้ใช้ Facebook โดยใช้งานไม่ต่ำกว่าวันละ 30 นาที สะท้อนถึงอิทธิพลของแพลตฟอร์มเหล่านี้ต่อตลาดคอนเทนต์ออนไลน์ (photo : Jenny Evans/Getty Images)

    ด้าน “วิล อีสตัน” กรรมการผู้จัดการ Facebook ประเทศออสเตรเลีย โต้กลับว่าบริษัท “ผิดหวัง” ต่อการตัดสินใจของรัฐ เพราะบริษัทกำลังทำงานอย่างหนักในการเจรจาระเบียบโดยสมัครใจซึ่งเดิมรัฐบาลกำหนดเดดไลน์ข้อตกลงไว้ในเดือนพฤศจิกายนนี้ นอกจากนี้ บริษัทเพิ่งจะออกทุนสนับสนุนมูลค่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐ ให้กับสื่อท้องถิ่นเพื่อช่วยเหลือด้านรายได้ที่ขาดหายไปในช่วงวิกฤตไวรัส COVID-19

    อย่างไรก็ตาม สำนักข่าว Aljazeera รายงานว่า 3 ใน 4 ของมูลค่าทุน 100 ล้านเหรียญดังกล่าวนั้นเป็นเครดิตสำหรับให้สำนักข่าวใช้ทำโฆษณาฟรีบน Facebook ขณะที่อีก 25 ล้านเหรียญนั้นมอบให้กับบริษัทสื่อในทวีปอเมริกาเหนือเท่านั้น ดังนั้น สื่อออสเตรเลียจึงไม่ได้กระแสเงินสดส่วนนี้เลย

    ส่วนรัฐมนตรีไฟรเดนเบิร์กก็กล่าวสวนเช่นกันว่า ACCC ศึกษาตลาดพบว่า ชาวออสเตรเลีย 98% ใช้ Google เป็นเสิร์ชเอนจิ้นหลัก และประชากร 17 ล้านคนจากทั้งหมด 25 ล้านคนในประเทศนี้ใช้ Facebook โดยใช้งานไม่ต่ำกว่าวันละ 30 นาที สะท้อนถึงอิทธิพลของแพลตฟอร์มเหล่านี้ต่อตลาดคอนเทนต์ออนไลน์

    และเมื่อ ACCC เจาะลึกค่าโฆษณาออนไลน์ในออสเตรเลีย พบว่า ทุกๆ 100 เหรียญที่จ่ายไป จะตกเป็นของ Google 47 เหรียญ เป็นของ Facebook 24 เหรียญ ส่วนอีก 29 เหรียญที่เหลือไปแบ่งกันระหว่างผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ โดยมูลค่าตลาดของโฆษณาออนไลน์ในแดนจิงโจ้นั้นสูงถึง 9 พันล้านเหรียญต่อปี เติบโตขึ้นมากกว่า 8 เท่าในรอบ 15 ปี

     

    อียูเคยพยายามมาก่อนแล้ว

    ออสเตรเลียไม่ใช่ประเทศแรกที่พยายามจะจัดสมดุลทางการค้ากับบริษัทเทคฯ ยักษ์ใหญ่ เมื่อปีก่อน สหภาพยุโรป เพิ่งโหวตเห็นด้วยกับทิศทางปฏิรูปเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์ เนื้อหาหลักๆ คือต้องการให้บริษัทเทคฯ เหล่านี้กลั่นกรองเนื้อหาประเภท UGC (User-generated Content) ว่าผิดลิขสิทธิ์หรือไม่ แม้แต่การที่ผู้ใช้เข้ามาเขียนคอมเมนต์ก็ต้องผ่านการกรองก่อน (ซึ่งแปลว่าเราจะนำรูปที่หาได้บนอินเทอร์เน็ตมาทำเป็นมีมตลกๆ ไม่ได้แล้ว)

    จากทิศทางดังกล่าว ทำให้กลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อการแข่งขันทางการค้าอย่างยุติธรรมใน ฝรั่งเศส กดดันให้ Google ต้องเจรจากับสื่อดั้งเดิมเพื่อชำระค่าคอนเทนต์เมื่อมีการนำคอนเทนต์มาใช้ซ้ำบนแพลตฟอร์ม แต่สิ่งที่ Google ทำคือปิดฟังก์ชัน Google News ในฝรั่งเศสไปเลย ซึ่งเป็นการตอบโต้แบบเดียวกับที่ Google ทำใน สเปน เมื่อปี 2014

    แม้แต่ เยอรมนี ก็เคยแพ้บนชั้นศาล โดยเมื่อปีที่แล้วสำนักพิมพ์สัญชาติเยอรมันรวม 200 แห่ง ร่วมกันฟ้องร้อง Google ที่ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป โดยอ้างอิงกฎหมายลิขสิทธิ์ของเยอรมนีซึ่งบังคับใช้ในปี 2013 ฟ้องเรียกค่าลิขสิทธิ์จาก Google มูลค่า 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ แต่สุดท้าย Google ชนะไปด้วยเรื่องทางเทคนิคคือ ศาลพบว่ากฎหมายไม่สามารถบังคับใช้ได้ เพราะประเทศเยอรมนีไม่ได้แจ้งต่อคณะกรรมมาธิการยุโรปทราบว่ามีกฎหมายนี้อยู่

    ต้องติดตามต่อว่าออสเตรเลียจะสามารถตีวงล้อมรีดค่าลิขสิทธิ์จากยักษ์เทคโนโลยีได้จริงหรือไม่!

    Source: TechCrunch, Aljazeera

    ]]>
    1274656
    เปิด 10 เทรนด์ AI ที่ต้องจับตาในปี 2018 https://positioningmag.com/1154658 Sun, 28 Jan 2018 06:36:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1154658 การเข้าสู่โลกใหม่ที่มีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) รอเปิดประตูต้อนรับอยู่นั้นอาจไม่ใช่เรื่องน่าสนุก แต่ถึงวันนี้คงต้องยอมรับว่า ทุกประเทศ โดยเฉพาะประเทศผู้นำ หรือประเทศที่มีศักยภาพต่างยอมทุ่มงบประมาณ และกำลังคนเข้ามาร่วมแข่งขันในการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์กันแล้วทั้งสิ้น 

    โดยในรายงานของแมคคินซีย์ (McKinsey) เกี่ยวกับการลงทุนด้าน AI นั้นพบว่า บริษัทยักษ์ใหญ่เช่น อัลฟาเบ็ท (Alphabet) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิล (Google) มีการลงทุนไปกับ AI ราว 30,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ไป่ตู้ (Baidu) หนึ่งในพี่น้องค้างคาวของจีนก็ลงทุนไปถึง 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปีที่ผ่านมาเช่นกัน ความสำคัญในระดับนี้จึงเป็นที่น่าจับตาว่าเทรนด์ของ AI จะทำให้โลกเปลี่ยนไปอย่างไรบ้างในปี 2018 ซึ่งอาจประกอบด้วย

    1. AI จะกลายเป็นประเด็นพูดคุยทางการเมือง

    เหตุที่กล่าวเช่นนี้เพราะ AI นั้นสามารถสร้างงานใหม่ ๆ ขึ้นได้ก็จริง แต่ก็จะมีพนักงานบางคนที่ตกงานเพราะ AI ด้วยเช่นกัน เช่นกรณีของรถยนต์ไร้คนขับ ที่โกลด์แมน แซคส์ (Goldmen Sachs) คาดการณ์ว่าจะมีพนักงานขับรถตกงานถึง 25,000 คนต่อเดือน

    หรือในกรณีของโกดังอัจฉริยะที่สามารถบริหารงานได้ด้วยคนเพียง 10 – 20 คน นั่นหมายความว่าจะมีแรงงานประมาณหนึ่งล้านคนในสหรัฐอเมริกาที่ไม่มีรายได้ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่ากังวลสำหรับตลาดที่ AI มาถึงแล้วอย่างสหรัฐอเมริกา เพราะถึงแม้ประธานาธิบดีคนใหม่อย่างโดนัลด์ ทรัมป์ จะจำกัดการให้วีซ่าแก่พลเมืองของประเทศอื่นด้วยมองว่าเข้ามาแย่งงานคนอเมริกันทำแล้วก็ตาม แต่ตลาดแรงงานของสหรัฐอเมริกาก็ใช่ว่าจะปรับตัวให้มีคุณสมบัติมากพอที่จะขึ้นมาทำงานกับ AI ได้แต่อย่างใด

    2. ระบบโลจิสติกส์จะถูกเปลี่ยนโฉมหน้าไปตลอดกาล

    ในสหรัฐอเมริกามีบริษัทอย่าง คีว่า ซิสเต็มส์ (Kiva Systems) หรือปัจจุบันที่ใช้ชื่อว่าแอมะซอน โรโบติกส์ (Amazon Robotics) ซึ่งเป็นบริษัทที่นำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ร่วมกับหุ่นยนต์เพื่อปลดล็อกปัญหาเดิม ๆ ของวงการโลจิสติกส์แล้ว และเทคโนโลยีนี้จะทำให้โกดังในอนาคตมีสภาพแตกต่างไปจากปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง เพราะการนำหุ่นยนต์เข้ามาใช้จะทำให้สามารถทำงานติดต่อกันทุกวันตลอด 24 ชั่วโมงได้ และบางทีอาจไม่ต้องใช้แสงสว่างในการแพ็กของอีกต่อไป เนื่องจากหุ่นยนต์สามารถทำงานได้โดยไม่ต้องใช้แสงนั่นเอง

    3. อุตสาหกรรมรถยนต์จะมุ่งสู่การผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง

    การผลิตรถยนต์ขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง (Self-Driving Car) จะกลายเป็นกระแสหลักที่ทุกค่ายรถต่างต้องมุ่งไป ไม่ว่าจะพอใจหรือไม่ก็ตาม โดยมีเทสล่า (Tesla) บริษัทของอีลอน มัสก์เป็นผู้นำเทรนด์ ซึ่งคนที่ตามหลังมา ได้แก่ ออดี้ (Audi) ที่มีแผนจะเปิดตัวรถยนต์อัจฉริยะของตนเองในปี 2018 ส่วนรถยนต์ยี่ห้อคาดิลแล็ค (Cadillac) และวอลโว่ (Volvo) ก็เผยว่ากำลังพัฒนาเทคโนโลยีการขับเคลื่อนด้วยตัวเองนี้อยู่เช่นกัน

    4. ความต้องการนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลจะแซงหน้าวิศวกร

    ไอบีเอ็ม (IBM) ออกมาคาดการณ์ว่า ความต้องการพนักงานในตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล หรือ Data Scientist จะเพิ่มขึ้นเป็น 2.7 ล้านคนในปี 2020 เนื่องจากการใช้งาน AI ที่สูงขึ้น อีกทั้งยังพบว่า การประมวลผลข้อมูลเพื่อนำมาใช้งานจะเป็นสิ่งที่บริษัททุกขนาดไม่ว่าจะองค์กรเล็กหรือใหญ่จำเป็นต้องทำ จึงทำให้ตำแหน่ง Data Scientist กลายเป็นตำแหน่งที่มีความจำเป็นต่อธุรกิจในอนาคต

    5. รูปแบบการโค้ชพนักงานจะเปลี่ยนไป

    เหตุที่กล่าวเช่นนั้น เพราะจะมีเทคโนโลยีแมชชีนเลิร์นนิ่งจะเข้ามาช่วยสอนงานพนักงานแทน ยกตัวอย่างเช่น Gong หรือ Chorus เครื่องมือบันทึกเสียงสนทนาของพนักงานขาย ซึ่งจากนั้นระบบสามารถนำมาวิเคราะห์และสอนวิธีพูดกับลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมได้ โดยมีการคาดการณ์กันว่า AI ที่จะมาซัพพอร์ตพนักงานระดับบนนั้นจะเริ่มเห็นได้มากขึ้นในปี 2018 นี้

    6. คอนเทนต์ข่าวจะสร้างโดยใช้ AI

    ปัจจุบัน ผู้ผลิตสื่ออย่าง ยูเอสเอทูเดย์ (USA Today) ซีบีเอส (CBS) เอพี (Associated Press) หรือ Hearst ต่างก็นำ AI มาใช้ในการผลิตคอนเทนต์แล้ว ตัวอย่างที่ดีคงเป็น Wibbitz ซึ่งเป็น AI ที่ช่วยเปลี่ยนคอนเทนต์แบบเขียนให้กลายเป็นคอนเทนต์ในรูปแบบวิดีโอได้ในเวลาไม่กี่นาที และในปี 2018 จะเป็นปีที่ผู้อ่านอาจจะได้เห็นการปรับใช้ AI มาเขียนข่าว หรือผลิตคอนเทนต์วิดีโอได้มากขึ้น

    7. AI จะจับมือกับบล็อกเชนทำให้เกิดความโปร่งใสตามมา

    บริษัทชื่อพรีเสิร์ช (Presearch) เป็นบริษัทหนึ่งที่ตั้งเป้าจะใช้บล็อกเชนและ AI สร้างความโปร่งใสให้กับวงการเสิร์ชมากขึ้น โดยทางพรีเสิร์ชมองว่า ทุกวันนี้ กูเกิล (Google) ครองส่วนแบ่งตลาดเสิร์ชเอนจินไว้มากกว่า 80% แต่มีน้อยคนที่จะเข้าใจว่า อัลกอริธึมของกูเกิลนั้นเลือกคอนเทนต์อย่างไรให้ผู้บริโภคแต่ละคนได้รับชมกัน ด้านพรีเสิร์ชจึงเข้ามาแก้ปัญหานี้ ด้วยการใช้บล็อกเชนเป็นตัวสร้างความโปร่งใส และวางแผนว่าจะให้เงินดิจิตอลเป็นการตอบแทนให้กับผู้ที่ยอมให้บริษัทเช่าใช้พลังของคอมพิวเตอร์ในการเสิร์ชครั้งนี้ด้วย

    8. ผู้บริโภคยุคใหม่จะคุ้นเคยกับ AI ผ่านระบบการสั่งการด้วยเสียง

    ในปี 2018 จะเป็นปีที่ผู้บริโภครู้สึกสบายใจมากขึ้นที่จะพูดกับผู้ช่วยดิจิตอลซึ่งเป็น AI ของตนเอง ไม่ว่าจะพูดกันผ่านลำโพง, สมาร์ทโฟน หรือแม้กระทั่งทีวี ซึ่งประเทศที่เห็นเทรนด์นี้ก่อนใครน่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา เนื่องจากมียอดขายลำโพงอัจฉริยะในปีที่แล้วกว่า 20 ล้านเครื่อง (เฉพาะแอมะซอนอย่างเดียว)

    9. จะเกิดการจับมือกันขององค์กรด้านเทคโนโลยี-การทหาร

    ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ DARPA หน่วยงานด้านวิจัยระดับสูงเพื่อการทหารของสหรัฐอเมริกาในตอนนี้ได้จับมือกับบอสตัน ไดนามิกส์ เพื่อออกแบบหุ่นยนต์ที่นำ AI เข้ามารวมอยู่ด้วย 

    10. AI จะถูกนำมาใช้ต่อกรกับโรคระบาดมากขึ้น

    เทคโนโลยีอย่างบล็อกเชน เมื่อรวมเข้ากับ AI ซึ่งอาจฝังอยู่ในชิปขนาดเล็กอาจถูกนำไปใช้ในการวิเคราะห์โมเลกุล หรือใช้ในการรักษาโรค นอกจากนี้ ยังอาจมีการใช้แมชชีนเลิร์นนิ่งเพื่อค้นหายารักษาอาการป่วยตัวใหม่ หรือกระบวนการรักษาอาการป่วยแบบใหม่ เพื่อให้คนไข้หายป่วยได้เร็วขึ้น และประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น

    เรียบเรียงจาก 

    https://www.msn.com/en-us/news/technology/10-artificial-intelligence-trends-to-watch-in-2018/ar-AAuU7Ub?li=AA4Zoy&ocid=spartanntp

    https://www.cnbc.com/2017/05/22/goldman-sachs-analysis-of-autonomous-vehicle-job-loss.html

    สนับสนุนข่าวโดย : mgronline.com/cyberbiz/detail/9610000006439

    ]]>
    1154658