สำนักข่าวบีบีซี ได้รายงานว่า นิสสัน และฮอนด้ากำลังเจรจาความเป็นไปได้ในการควบรวมกิจการ ที่จะดำเนินงานภายใต้รูปแบบ ‘บริษัทโฮลดิ้ง’ ซึ่งจะมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจในเร็วๆ นี้ และยังระบุว่า ทั้งสองบริษัทยังมีวางแผนจะนำ ‘มิตซูบิชิ มอเตอร์’ (Mitsubishi Motors) ที่นิสสันเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด ด้วยสัดส่วนการถือหุ้น 24% เข้ามาอยู่ภายใต้บริษัทโฮลดิ้งนี้ด้วย
อย่างไรก็ตามทั้งฮอนด้า และนิสสัน ไม่ได้ ‘ยืนยัน’ หรือ ‘ปฏิเสธ’ ต่อกระแสข่าวดังกล่าว โดยฮอนด้าเผยว่า “เมื่อเดือนมีนาคมของปีนี้ ทั้งสองบริษัทมีการสำรวจความเป็นไปได้ต่าง ๆ สำหรับความร่วมมือในอนาคต โดยใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของกันและกัน หากมีการอัปเดตใด ๆ จะแจ้งในเวลาที่เหมาะสม”
การควบรวมกิจการที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างผู้ผลิตรถยนต์อันดับสองและอันดับสามของญี่ปุ่น อาจมีความซับซ้อนด้วยเหตุผลหลายประการ เนื่องจากข้อตกลงใดๆ ก็ตามที่จะออกมาต้องอยู่ภายใต้การตรวจสอบอย่างเข้มข้นของรัฐบาลญี่ปุ่น เนื่องจากการควบรวมกิจการอาจนำไปสู่การเลิกจ้างพนักงานจำนวนมาก
ด้านสำนักข่าวนิกเคอิ รายงานว่า หลังจากข่าวนี้แพร่สะพัดออกไป ทำให้ราคาหุ้นของนิสสันพุ่งสูงขึ้นกว่า 20% และหุ้นของมิตซูบิชิ มอเตอร์พุ่งขึ้น 13% ขณะที่ที่หุ้นของฮอนด้าปรับตัวลดลงราว 2%
นอกจากนี้ยังระบุอีกว่า ในปี 2023 นิสสันและฮอนด้ามียอดขายทั่วโลกรวมกัน 7.4 ล้านคัน โดยทั้งค่ายกำลังสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดให้กับรถยนต์อีวีที่มีราคาถูกกว่า โดยเฉพาะจากสัญชาติจีน อาทิ บีวายดี (BYD) ซึ่งมีรายได้ประจำไตรมาสพุ่งสูงแซงหน้า เทสลา (Tesla) เป็นครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
ก่อนจะมีข่าวการควบรวมกิจการแพร่สะพัดออกมา ทางนิสสันและฮอนด้า ได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ หรือ MOU เมื่อเดือนมีนาคม 2024 โดยทั้งสองบริษัทจะเริ่มศึกษาความเป็นไปได้ของความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ในด้านของยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า และการเคลื่อนที่อัจฉริยะ ซึ่งขอบเขตของการศึกษาความเป็นไปได้ จะประกอบไปด้วย แพลตฟอร์มและ ซอฟต์แวร์ของยานยนต์ ส่วนประกอบหลักที่เกี่ยวข้องกับรถอีวี และผลิตภัณฑ์เสริม อื่นๆ
อ้างอิง
https://www.bbc.com/news/articles/cr56r74214eo
https://asia.nikkei.com/Business/Automobiles/Honda-and-Nissan-to-begin-merger-talks-amid-EV-competition
]]>Nikkei Asia รายงานกระแสข่าวโดยไม่ได้อ้างอิงแหล่งข่าวว่า ยอดขายของ Mitsubishi Motors ในจีนชะลอตัวลงมาพักใหญ่หลังจากชาวจีนหันไปนิยมรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์แบรนด์จีนมากขึ้น และไม่ได้มีเพียง Mitsubishi Motors เท่านั้นที่ประสบปัญหา แต่รถยนต์แบรนด์ญี่ปุ่นอื่นๆ ก็กำลังเผชิญปัญหาแบบเดียวกันในจีน
โรงงานของ Mitsubishi Motors ในจีนเป็นการร่วมทุนกับ Guangzhou Automobile Group (GAC) ลงทุนฝั่งละ 50% ตัวโรงงานตั้งอยู่ในมณฑลหูหนาน และมีข่าวการหยุดดำเนินการผลิตเพิ่มมาตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยโรงงานนี้เป็นโรงงานเดียวที่ Mitsubishi Motors มีในประเทศจีน
สำนักข่าว Nikkei Asia รายงานต่อไปว่า หลังฝั่งญี่ปุ่นถอนหุ้นออกไป คาดว่า GAC ที่ยังถือครองโรงงานแห่งนี้ จะเปลี่ยนโรงงานมาผลิตรถยนต์อีวีของบริษัท และจะพยายามรักษาการจ้างงานไว้ให้ได้มากที่สุด
สถานการณ์ของ Mitsubishi Motors แย่ลงอย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่ปี 2022 บริษัทมีการจำหน่ายรถยนต์ในจีนได้เพียง 38,550 คัน ต่ำลง 60% เมื่อเทียบกับปี 2021
ในช่วงปลายปีที่แล้ว บริษัทพยายามต่อสู้ในตลาดด้วยการส่งรถเอสยูวีรุ่น ‘Outlander’ ซึ่งเป็นรถยนต์ไฮบริดลงสนามแข่งขัน แต่ปรากฏว่าไม่ได้รับผลตอบรับที่ดี จนนำมาสู่การถอนโรงงานออกจากจีน
หลังจากนี้ คาดว่าบริษัทจะหันมาทุ่มทรัพยากรทั้งหมดกับตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียแทน เพราะภูมิภาคนี้ถือเป็นภูมิภาคทำเงินให้กับ Mitsubishi Motors ได้ถึง 1 ใน 3 ของยอดรวมบริษัท
จากข้อมูลของ สมาคมผู้ผลิตรถยนต์แห่งประเทศจีน ยอดขายรถอีวีในจีนเมื่อปี 2022 ขายได้ถึง 5.36 ล้านคัน พุ่งทะยานขึ้น 80% จากปีก่อนหน้า และคิดเป็นสัดส่วน 20% ของยอดขายรถยนต์ใหม่ทั้งหมดในจีนเมื่อปีก่อน ทั้งนี้ Mitsubishi Motors ไม่ได้ถือสิทธิบัตรการพัฒนารถอีวีในประเทศจีน เนื่องจากจะทับซ้อนตลาดกับ GAC
ปัจจุบันการแข่งขันในตลาดรถยนต์จีน แบรนด์ต่างชาติจะต้องแข่งกับแบรนด์ท้องถิ่น MarkLines บริษัทวิจัย ประเมินว่า ในจำนวนรถยนต์ที่ขายได้ในจีน 23.56 ล้านคันเมื่อปี 2022 มีถึง 50.7% ที่เป็นแบรนด์จีนเอง สัดส่วนนี้เพิ่มขึ้นเร็วมาก จากปี 2021 รถจีนยังมีสัดส่วนในตลาดที่ 45.5%
ส่วนรถยนต์แบรนด์ญี่ปุ่นก็กำลังถูกตีตลาด เมื่อปี 2022 รถญี่ปุ่นมีสัดส่วนในจีน 18.3% เทียบกับปี 2021 ที่เคยมีสัดส่วน 21.1%
มาโกโตะ อุชิดะ ประธานและซีอีโอของ Nissan Motor เคยพูดถึงสถานการณ์ในจีนไว้ว่า “เรามาถึงจุดที่ไม่สามารถทำกำไรได้ เพราะการแข่งขันลดราคาที่สาหัสในตลาด” เขากล่าว “เรากำลังพิจารณาตัวเลือกที่มี ซึ่งรวมถึงการพิจารณากลยุทธ์ในจีนกันใหม่ เช่น การเข้าร่วมทุนกับบริษัทอื่น”
Mitsubishi Motors เริ่มการส่งออกรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไปยังประเทศจีนตั้งแต่ทศวรรษ 1970s และเริ่มเข้าไปลงทุนในประเทศตั้งแต่ปี 2006 ส่วนการตั้งบริษัทร่วมทุน GAC Mitsubishi Motors เริ่มต้นในปี 2012 โรงงานแห่งนี้เคยผลิตและจำหน่ายรถยนต์ได้สูงสุด 140,000 คันเมื่อปี 2018
สำหรับประเทศไทย GAC ก็เริ่มเข้ามาทำตลาดครั้งแรกในเดือนกันยายนนี้เอง โดยส่งรถคอมแพ็คครอสโอเวอร์ AION Y Plus เข้ามาชิมลางในราคาเริ่มต้น 1,069,900 บาท และมีแผนจะมาตั้งฐานการผลิตรถยนต์ใน จ.ระยอง เพื่อใช้ส่งออกไปในภูมิภาคนี้ด้วย
]]>ดังนั้นแบรนด์ต้องไม่รอช้า ต้องเปลี่ยนตัวเอง ฉีกตัวเองออกจากกรอบเดิมๆ เพื่อเขาให้ถึงผู้บริโภคในรูปแบบที่ผู้บริโภคยินดี และทำให้รู้สึกว่าแบรนด์มีอะไรที่น่าสนใจ และดึงดูดมากพอที่จะทำให้พวกเขามาใส่ใจ
ยิ่งแบรนด์ที่เป็นระดับผู้นำด้วยแล้วต้องยิ่งแสดงบทบาทของผู้นำการเปลี่ยนแปลงให้เห็น แบบนี้นอกจากรักษากลุ่มแฟนคลับเดิมแต่ยังมีโอกาสเพิ่มเติมฐานแฟนใหม่ๆ ได้อีกด้วย
เหมือนเช่นที่เมอร์เซเดส–เบนซ์ (Mercedez-Benz) เปลี่ยนรูปแบบการทำตลาดให้เห็น โดยชูกลยุทธ์เรื่องการยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางหรือ Customer Centric มาประมาณ 2-3 ปีก่อนหน้านี้ในต่างประเทศ และนำมาใช้อย่างจริงจังในเมืองไทย ซึ่งแต่ละประเทศให้ผลตอบรับดีเกินคาด วัดได้ชัดเจนจากยอดขายรถที่เพิ่มขึ้น
ก่อนหน้าที่จะใช้กลยุทธ์ในการยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง เมอร์เซเดส–เบนซ์มีระดับยอดขายรถยนต์ในไทยคงที่อยู่ที่ 5,000-6,000 คันต่อปี ส่วนหนึ่งเพราะยังไม่มีกลุ่มสินค้าหรือกลุ่มรถยนต์ใหม่ ๆ รวมถึงรูปแบบการทำตลาดก็เป็นแบบเดิม ใช้บิลล์บอร์ด ทีวี โชว์ภาพรถ เหมือนที่คนส่วนใหญ่ทำกัน ซึ่งไม่ดึงดูดลูกค้าแล้ว
แต่ในปี 2017 ที่ผ่านมา ยอดขายเมอร์เซเดส–เบนซ์เพิ่มขึ้นเป็น 14,484 คัน เติบโต 23% ซึ่งถือว่าสูงมาก และยังสร้างการเติบโตทุกกลุ่มสินค้าที่ทำตลาดเพิ่ม โดยเฉพาะกลุ่ม SUV (สัดส่วนยอดขาย 25%) เน้นกลุ่มครอบครัว แต่ก็ครอบคลุมกลุ่มลูกค้าหลากหลาย และกลุ่มดรีมคาร์ (เพอร์ฟอร์แมนซ์คาร์ เช่น AMG ซึ่งเป็นซับแบรนด์ สัดส่วนยอดขาย 15%) ที่เหลือ ได้แก่ กลุ่มคอมแพ็กคาร์ (25%) กลุ่มลักซ์ชัวรี่ (35%)
มร.ฟรังค์ ชไตน์อัคเคอร์ รองประธานบริหาร ฝ่ายขายและการตลาด บริษัท เมอร์เซเดส–เบนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ปี 2017 นับเป็นปีประวัติศาสตร์ของเมอร์เซเดส–เบนซ์ทั่วโลก ที่ทำยอดจำหน่ายรถสูงถึง 2,289,344 คัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าคิดเป็น 9.9% (2559: 2,083,888 คัน)
เฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีการส่งมอบรถให้ลูกค้า 875,250 คัน ซึ่งถือเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นถึง 19.2% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
ก่อนที่กลยุทธ์ Customer Centric จะเข้ามาชุบแบรนด์ให้มีความสดใหม่และเพิ่มยอดขายได้ระดับนี้ เพอร์เซ็ปต์ชั่นของผู้บริโภคไทย (หรืออาจจะรวมถึงอีกหลายที่ในโลก) มองภาพ เมอร์เซเดส–เบนซ์ เป็นแบรนด์รถที่ “แก่” “ลุง” “รถแม่”
แต่ด้วยกลยุทธ์และกิจกรรมการตลาดที่เข้ามาสร้างความแปลกใหม่ เน้นเข้าถึง “ไลฟ์สไตล์” ทำให้ภาพของแบรนด์เปลี่ยนไปจากเดิม แถมอายุเฉลี่ยของกลุ่มผู้ซื้อก็เด็กลง เช่น กลุ่มดรีมคาร์ SUV ก็เป็นที่ตอบรับของวัย 25-30 ปี เป็นต้น
กลยุทธ์การยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง จะโฟกัสใน 3 เรื่องหลัก
ปัจจุบันเมอร์เซเดส–เบนซ์แบ่งประเภทรถยนต์และกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน จากรถในกลุ่มซีดาน (Contemporary Luxury Sedan) อย่าง C-Class E-Class และ S-Class ซึ่งเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมมาโดยตลอด
ปัจจุบันยังมีรถในกลุ่มอื่นๆ ได้แก่ กลุ่ม Compact Car ที่มีกลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่มคนมิลเลนเนียล ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
รถกลุ่ม SUV สำหรับครอบครัว และมีผลิตภัณฑ์เจาะกลุ่ม Niche Market ที่ชื่นชอบความสปอร์ต เร้าใจอย่าง แบรนด์ Mercedes-AMG ที่จัดเป็นกลุ่มดรีมคาร์
รวมถึงมีการเปิดตัว “EQ – Electric Intelligence by Mercedes-Benz” แบรนด์เทคโนโลยีภายใต้แบรนด์เมอร์เซเดส–เบนซ์ เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าที่มองหายนตรกรรมที่โดดเด่นในเรื่องเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม ผลตอบรับโดยในปี 2017 มียอดขายรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด 40% จากยอดขายรวมของเมอร์เซเดส–เบนซ์ ในประเทศไทย
เพื่อให้แบรนด์สามารถเชื่อมต่อกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้ถูกจุด และสร้างโอกาสในการขยายฐานลูกค้าได้มากขึ้น เมอร์เซเดส–เบนซ์ นำสองกลยุทธ์มาเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์แคมเปญการตลาด คือ กลยุทธ์ “Best Customer Experience” ที่ผสานแนวทางด้านการตลาดการขายและการบริการหลังการขายเข้าไว้ด้วยกัน
แคมเปญที่โดดเด่นและได้กระแสตอบรับที่ดีจากลูกค้าเป็นจำนวนมาก คือ การเปิดตัว “Mercedes me BAR” ช็อกโกแลตบาร์แห่งแรกของเมืองไทย และ “Mercedes me Box” สไตลิช ลีฟวิ่ง สเปซ ที่สยามดิสคัฟเวอรี่ ซึ่งเป็นประสบการณ์ใหม่ในการเชื่อมแบรนด์กับกลุ่มเป้าหมาย โดยเปิดช่วงปลายปี 2016
ระยะเวลา 4 เดือนที่เปิดให้บริการ มีผู้สนใจเข้ามารับประทานอาหารและเยี่ยมชมร้านกว่า 20,000 คน มีการติดแฮชแท็กและเช็กอินผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียทั้งในเฟซบุ๊กและอินสตาแกรมอีกกว่า 5,000 ครั้ง
และในปี 2017 มีการเปิดตัวโกลบอลแพลตฟอร์มเพื่อผู้หญิงที่เปิดตัวในหลายประเทศในชื่อ She’s Mercedes ในไทยเพื่อขยายแนวคิดการให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลางผ่านกลุ่มลูกค้าผู้หญิงที่ประสบความสำเร็จที่มาแชร์เรื่องราวความสำเร็จที่เป็นแรงบันดาลใจ ที่สร้างความสนใจให้กับผู้บริโภคได้แม้กระทั่งในกลุ่มผู้ชาย
“วิธีการคือ ทำอะไรสิ่งที่ทำให้คนรู้สึกอยากมีส่วนร่วม อยากเป็นส่วนหนึ่ง แล้วเชื่อมโยงกับเขา แล้วเขาจะอินกับแบรนด์ไปเอง”
ตอนเริ่มทำ “Mercedes me BAR” และ “Mercedes me Box” ถือเป็นความท้าทายในการทำสิ่งใหม่ให้กับแบรนด์ที่ไม่มีการติดแบรนด์ ในวันแรกให้คนเข้ามาก่อนด้วยคอนเทนต์ในกิจกรรมที่ทำขึ้น ดึงอินฟลูเอนเซอร์มาใช้กระตุ้นให้คนที่ติดตามตามมาดูมาค้นพบคอนเทนต์มาเห็นด้วยตัวเองว่าเป็นใคร แบรนด์ไหน ทำอะไร เพื่ออะไร
แต่ด้วยช่วงเวลาที่ไม่เหมาะกับการรื่นเริงในตอนนั้น เบนซ์ก็พลิกทำให้กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของซีเอสอาร์ โดยนำเงินที่คนจ่ายค่าอาหารซึ่งใช้วัตดุดิบจากโครงการในการผลิตร่วมกับการคัดสรรของดีจากทั่วโลกมาให้บริการมอบให้กับมูลนิธิพระดาบส
“ช่วง 2 เดือนแรกไม่มีแบรนดิ้งเลยใน Me BAR มีแค่โลโก้เล็ก ๆ ตอนจบมีรถมาจอดโชว์ คนก็อ๋อเบนซ์ทำ เราก็วัดผลจากรีชและเอ็นเกจเมนต์ในโซเชียลมีเดีย แรก ๆ จากอินฟลูเอนเซอร์เป็นตัวจุดประกายแต่พอโครงการเดินไปสักระยะก็จะเป็นการขยายออกไปออแกนิก”
me BAR และ me Box ดูเผิน ๆ อาจจะไม่เชื่อมโยงอะไรกับแบรนด์ แต่แท้จริงแล้วแฝงคอนเซ็ปต์ The Best or Nothing ของแบรนด์ไว้ชัดเจน ในการสร้าง Best Experience ให้กับลูกค้า
ที่สำคัญคือผลลัพธ์ที่ดีเกินคาด ในการเข้าหากลุ่มลูกค้าใหม่ กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เมอร์เซเดส–เบนซ์ต้องการเพื่อต่อยอดแบรนด์ได้ไปต่อ และให้แบรนด์เด็กลงได้ด้วย
ส่วนแคมเปญอื่น ๆ เน้นกลยุทธ์ตลาดยุคใหม่เพื่อหวังดูดให้คนรุ่นใหม่เข้ามาเป็นแฟนของแบรนด์มากขึ้นต่อเนื่อง
แคมเปญการตลาด DEFINE TOMORROW ที่ต้องการสร้างการรับรู้ถึงสมรรถนะของรถยนต์เมอร์เซเดส–เบนซ์ ที่ใช้เทคโนโลยี EQ ที่หันมาใช้ อินฟลูเอนเซอร์ ชมพู่–อารยา มาเป็นคนถ่ายทอดเรื่องราว
โกลบอลแคมเปญ Grow up. ที่ถูกนำมาต่อยอดในประเทศไทยเพื่อสร้างประสบการณ์ และความใกล้ชิดให้เกิดขึ้นกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ผ่านสองกิจกรรมภายใต้โปรเจกต์ #GrowupLikeThis คือ “GLA Car Paint x Alex Face” ที่เมอร์เซเดส–เบนซ์จับมือกับ “อเล็กซ์ เฟส” (Alex Face) ศิลปินกราฟิตี้ชื่อดังของเมืองไทยสร้างสรรค์ผลงาน “GLA Millennials’Voices’Edition” ด้วยการเพนต์ลายกราฟิตี้ลงบน Mercedes-Benz GLA 250 AMG Dynamic แล้วให้ 5 ช่างภาพหนุ่มรุ่นใหม่ที่หลงใหลในการถ่ายภาพและมีสไตล์ ถ่ายทอดเรื่องราวเล่าเรื่องผ่านเลนส์ในมุมของตัวเอง ฯลฯ
การสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ถือเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญ ที่เมอร์เซเดส–เบนซ์มุ่งเน้นจนส่งผลให้สมาชิกในสังคมออนไลน์ของเมอร์เซเดส–เบนซ์ทั่วโลก มีค่าเฉลี่ยอายุที่น้อยลง พร้อมสร้างให้มีกลุ่มเป้าหมายใหม่เกิดขึ้นจนได้รับการยอมรับในวงกว้าง
ในเมืองไทย เมอร์เซเดส–เบนซ์ เคยสร้างปรากฏการณ์ในการสร้าง Engagement บนช่องทางออนไลน์ ด้วยการถ่ายทอดสดการเปิดตัวรถยนต์ Mercedes-AMG C 43 4MATIC Coupé รุ่นประกอบในประเทศผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในไทยที่นำเสนอการเปิดตัวรถยนต์ในรูปแบบของ Live streaming ผ่านทุกช่องทางของเมอร์เซเดส–เบนซ์ ประเทศไทย ทั้ง Mercedes-Benz Thailand Website, YouTube และ Facebook (Mercedes-Benz Thailand)
ฉะนั้น ณ วันนี้ ด้วยผลสำเร็จของกลยุทธ์การยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ทำให้ถ้าพูดถึง เมอร์เซเดส–เบนซ์ แล้วใครยังมองว่าแบรนด์นี้ดูเก่า หรือ แก่ เห็นทีจะต้องเปิดใจมองกันให่อีกครั้ง เพราะโดยบริษัทเอง บอกได้เลยว่า มั่นใจกับสิ่งที่ทำมานี้อย่างเต็มที่และพร้อมจะสานต่อแนวคิด The Best ต่อเนื่องในปี 2018 นี้พร้อมเป้าหมายที่รักษาตำแหน่งผู้นำอันดับหนึ่งตลาดรถหรูอย่างต่อเนื่อง.
]]>ข้อมูลจากค่ายรถเบอร์สองของสหรัฐฯ ระบุว่า การเลิกจ้างดังกล่าวจะเริ่มมีผลในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนตุลาคม
“ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบชั่วคราวเหล่านี้ จะได้รับเงิน 75 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ หากพวกเขามีอายุงานมากกว่า 1 ปี” ฝ่ายสื่อสารแรงงานและการผลิตของฟอร์ด ระบุ
ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบเหล่านี้จะยังได้กลับมาทำงานตามเดิมด้วย เมื่อผ่านช่วงเลิกจ้างชั่วคราวไป ทั้งที่โรงงานประกอบรถยนต์ในมิชิแกนและที่อื่นๆ
ก่อนหน้านี้ฟอร์ดเคยเปิดเผยมาแล้วถึงแผนจะปรับเครื่องมือในโรงงานไว้ทำรถยนต์เอสยูวี Bronco แต่ไม่เคยระบุถึงกำหนดการณ์ที่ชัดเจน
Ford Bronco รุ่นใหม่จะดำเนินการผลิตที่โรงงานเหล่านั้นในปี 2020 ส่วนรถปิคอัพรุ่น Ranger นั้นคาดว่าจะเข้าสู่กระบวนการผลิตที่โรงงานเหล่านั้นในช่วงปลายปีนี้
การประกาศข่าวนี้มีขึ้นในช่วงที่รถเล็กซึ่งสร้างขึ้นในโรงงานเดียวกันอย่างรุ่น Focus มียอดขายที่แผ่วลง.
]]>โดยสมาร์ทโฟนรุ่นดังกล่าวเป็นผลงานการจับมือกันของแลนด์โรเวอร์ ร่วมกับบูลลิต กรุ๊ป (Bullitt Group) ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนชื่อดังจากสหราชอาณาจักร ซึ่งมาพร้อมระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์และราคาขายที่ตั้งไว้ที่ประมาณ 800 เหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ….บาท ซึ่งถือว่าถูกกว่าไอโฟน เท็น ของแอปเปิล () เสียอีก
จุดเด่นของสมาร์ทโฟนรุ่นนี้ คือ การดึงคอนเซ็ปต์ของรถยนต์แลนด์ โรเวอร์ รุ่นดิสคัฟเวอรี ซึ่งเป็นรถ SUV มาเป็นต้นแบบ โดยแลนด์ โรเวอร์ มองว่า ปัจจุบันมีกลุ่มผู้ใช้สมาร์ทโฟนที่ชอบกิจกรรมเอาต์ดอร์เพิ่มขึ้น แต่ยังไม่มีสมาร์ทโฟนที่ผลิตขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์คนกลุ่มนี้ได้ดีพอ แลนด์ โรเวอร์ เลยผลิตสมาร์ทโฟนดังกล่าวขึ้นมาเองเสียเลย
กิจกรรมเอาต์ดอร์ที่ว่านั้น ยกตัวอย่างเช่น การเดินป่า, การปีนเขา, การขี่จักรยาน หรือการเดินทางไปในที่ ๆ มีอากาศหนาวมาก ๆ ซึ่งแลนด์ โรเวอร์ นำเสนอว่า ถ้าเป็นสมาร์ทโฟนทั่วไป เครื่องบางรุ่นอาจหยุดการทำงานได้ หรือกรณีไปเดินป่า ถ้าทำตกโคลน จะกลายเป็นว่า ทริปนั้น ๆ ไม่มีสมาร์ทโฟนใช้อีกเลย
แต่สมาร์ทโฟนของแลนด์ โรเวอร์ เครื่องนี้ ตกโคลนก็ยังทำงานต่อได้ รวมถึงมีเครื่องไม้เครื่องมือที่คนรักกิจกรรมเอาต์ดอร์ต้องการมากมาย เช่น เข็มทิศ, ไฟขอความช่วยเหลือ, แผนที่แบบ Topographical พร้อมฟีเจอร์ด้าน Augmented Reality, จีพีเอส ส่วนหน้าจอนั้น แม้จะใส่ถุงมือ หรือมือเปียก ก็สามารถกดสั่งการต่าง ๆ ได้เช่นกัน
นอกจากนั้น แลนด์ โรเวอร์ ยังระบุว่า สมาร์ทโฟนเครื่องนี้ผ่านการทดสอบการตกจากที่สูง 1.8 เมตร, การตกน้ำหรือตกทะเล, การสั่นสะเทือน, พื้นที่ที่มีความชื้นสูงแล้วด้วย
ส่วนแบตเตอรีนั้น แลนด์ โรเวอร์ เอ็กพลอร์ บรรจุมาก้อนใหญ่ที่ 4000 mAh โดยหากใช้ในการทำงานปกติ จะอยู่ได้นานสองวัน แต่ถ้าหากใช้งานเต็มที่ตลอดเวลา ก็จะอยู่ได้หนึ่งวันเต็ม ๆ อย่างไรก็ตาม มีอุปกรณ์ให้ซื้อเพิ่มได้ถ้าต้องการแบตเตอรีที่ยาวนานขึ้น
การเปิดตัวสมาร์ทโฟนดังกล่าวถูกมองว่าจะเป็นทางเลือกใหม่ ๆ ให้กับตลาดสมาร์ทโฟนที่ปัจจุบันเริ่มอิ่มตัว และแต่ละค่ายเริ่มมีการเติบโตด้านยอดขายที่ช้าลง แต่เป้าหมายของแลนด์ โรเวอร์ อาจไม่ได้อยู่ที่ยอดขาย แต่อาจเป็นการสร้างประสบการณ์ด้านความทนทานที่เป็นจุดขายของรถ SUV ลงในสมาร์ทโฟน เพื่อดึงดูดผู้บริโภคอีกทางหนึ่ง ส่วนสมาร์ทโฟนที่ผลิตขึ้นมาก็ยังสามารถใช้ในการเชื่อมต่อกับรถยนต์ของตัวเองได้อีกต่อ
สมาร์ทโฟนรุ่นนี้จะจัดแสดงในงาน Mobile World Congress จากนั้น จะย้ายไปแสดงต่อที่งานเจนีวา มอเตอร์ โชว์ ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-18 มีนาคมนี้ด้วย.
]]>