จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 28 May 2021 05:12:41 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 นักวิทย์เยอรมนีรู้ทางแก้ปัญหา “ลิ่มเลือดอุดตัน” หลังฉีดวัคซีนแอสตร้าฯ และ J&J https://positioningmag.com/1334271 Fri, 28 May 2021 04:59:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1334271 กลุ่มนักวิทยาศาสตร์เยอรมนี อ้างว่าพบต้นตอของภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่เกิดขึ้นน้อยมาก อันเกี่ยวข้องกับวัคซีน COVID-19 ของแอสตร้าเซนเนก้ากับจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ระบุสามารถปรับแก้วัคซีนเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าวได้

งานวิจัยที่นำโดยศาสตราจารย์โรล์ฟ มาร์สชาเลค จากมหาวิทยาลัยเกอเธ่ ในแฟรงก์เฟิร์ต เยอรมนี ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันพุธที่ 26 พ.ค. ชี้ว่าปัญหาอยู่ที่ เทคโนโลยีใช้อะดิโนไวรัสเป็นตัวนำพา (Adenovirus Vector) ที่วัคซีนทั้งสองตัวเลือกใช้ โดยวัคซีนไวรัสเวคเตอร์จะใช้ไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคอื่นๆ มาดัดแปลงเป็นพาหะนำคำสั่งที่สำคัญเข้าสู่นิวเคลียสของเซลล์ในร่างกายผู้ได้รับวัคซีน เพื่อผลิตโปรตีนหนาม (spike protein) และกระตุ้นการตอบสนองภูมิคุ้มกันในร่างกาย

ศาสตราจารย์มาร์สชาเลค และคณะทำงานของพวกเขาเชื่อว่าบางส่วนของโปรตีนหนามหลุดออกจากกัน และส่งผลให้โปรตีนเหล่านั้นเกิดการกลายพันธุ์ จากนั้นโปรตีนดังกล่าวก็จะเข้าสู่ร่างกายและก่อให้เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน ซึ่งในเอกสารให้คำจำกัดความว่า “Vaccine-Induced Covid-19 Mimicry” syndrome

และผลการศึกษานี้บ่งชี้ว่าพวกผู้ผลิตวัคซีนสามารถแก้ไขด้วยการนำวัคซีนไปปรับแต่งสารพันธุกรรม เพื่อป้องกันไม่ให้สไปค์โปรตีนแตกตัวโดยไม่ตั้งใจเมื่อเข้าสู่เซลล์ร่างกาย และเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว

“ด้วยข้อมูลที่เรามีอยู่ในมือ เราสามารถบอกบริษัทต่างๆ ถึงแนวทางการเปลี่ยนแปลงลำดับพันธุกรรม รหัสของสไปค์โปรตีน ในแนวทางที่ป้องกันเกิดปฏิกิริยาที่ไม่ตั้งใจ” มาร์สชาเลคกล่าว

vaccine Johnson
Photo : Shutterstock

พวกนักวิจัยบ่งชี้ต่อว่าวัคซีนที่ใช้เทคโนโลยี mRNA ทั้งหมด รวมถึงที่พัฒนาโดยไฟเซอร์/ไบโอเอ็นเทค และโมเดอร์นา “น่าจะเป็นตัวแทนของผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัย” เพราะใช้เทคโนโลยีต่างออกไป โดย mRNA ไม่ได้ใช้ไวรัสอ่อนแอ หรือไวรัสเชื้อตายใส่เข้าไปในเซลล์ แต่วัคซีน mRNA เป็นการสอนพวกมันให้เรียนรู้ถึงการสร้างโปรตีนโดยที่ไม่ได้เข้าไปในนิวเคลียสของเซลล์

เอกสารนี้ถูกเผยแพร่ก่อนตีพิมพ์บนเว็บไซต์ Research Square แต่การศึกษาดังกล่าวที่ยังไม่ได้รับการตรวจสอบทบทวนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ

ช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา วัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้า และจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน มีความเกี่ยวข้องกับอาการลิ่มเลือดอุดตันที่เกิดขึ้นน้อยมากๆ แต่รุนแรง และในบางรายถึงขั้นเสียชีวิต

ผู้เสียชีวิตรายแรกในอียูที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน เกิดขึ้นในเบลเยีม เมื่อช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเป็นผู้หญิงวัย 37 ปี ส่งผลให้ประเทศแห่งระงับใช้วัคซีนกับบุคคลอายุต่ำกว่า 41 ปี

ส่วนวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้า พบผู้มีอาการลิ่มเลือดอุดตันหลังฉีดแล้วมากกว่า 140 รายในเขตเศรษฐกิจยุโรป ขณะที่ในสหราชอาณาจักรพบ 300 ราย ในนั้นเสียชีวิต 56 คน

Astrazeneca vaccine
Photo : Shutterstock

หลายประเทศทั่วโลกระงับใช้วีคซีนของแอสตร้าเซนเนก้า และจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ส่วนประเทศอื่นๆ จำกัดการใช้เฉพาะกับผู้สูงอายุ

อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็วๆ นี้ก็พบประเด็นปัญหาในวัคซีนเทคโนโลยี mRNA เช่นกัน โดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐฯ (ซีดีซี) แถลงในช่วงกลางเดือนว่า กำลังสืบสวนรายงานเกี่ยวกับประเด็นการอักเสบของหัวใจในคนหนุ่มสาว ส่วนใหญ่เกิดกับเพศชายที่ได้รับวัคซีนของโมเดอร์นา และไฟเซอร์

นอกจากนี้แล้วยังมีรายงานโรคฮีโมฟีเลีย (Hemophilia) หรือ “โรคเลือดออกง่ายหยุดยาก” 3 เคส ในบรรดาผู้รับวัคซีนของไฟเซอร์ และไบโอเอ็นเทคในฝรั่งเศส

คนที่มีอาการฮีโมฟีเลีย จะมีโปรตีนตัวหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือดหายไป หรือมีไม่เพียงพอ เฉพาะฉะนั้นผู้ป่วยฮีโมฟีเลียจึงมีเลือดออกเป็นระยะเวลานานกว่าคนปกติ หลังจากถูกของมีคมบาดหรือมีเลือดออกภายใน การมีเลือดออกภายในมักเกิดขึ้นในข้อต่อและกล้ามเนื้อ แต่อาจเกิดขึ้นได้ที่สมองหรืออวัยวะอื่นๆ

Source

]]>
1334271
Johnson & Johnson ทุ่ม 3.2 หมื่นล้านบาท พัฒนาวัคซีน COVID-19 หวังใช้ได้จริงต้นปี 2021 https://positioningmag.com/1270974 Tue, 31 Mar 2020 09:04:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1270974 บริษัทผู้ผลิตยายักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ Johnson & Johnson (J&J) ประกาศทุ่มงบวิจัยกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3.2 หมื่นล้านบาท) ร่วมมือกับหน่วยวิจัยและพัฒนาทางการแพทย์ขั้นสูง หรือ BARDA พัฒนาวัคซีนจำนวน 1 พันล้านโดสเพื่อรักษาผู้ป่วย COVID-19

โดย J&J คาดว่าจะสามารถเริ่มทดลองวัคซีนดังกล่าวได้ในช่วงกันยายนปีนี้ เเละหวังว่าจะได้รับอนุมัติจากรัฐบาลสหรัฐฯ เริ่มส่งมอบให้ใช้ได้ในกรณีฉุกเฉินในช่วงต้นปี 2021 ซึ่งนับว่าเร็วเมื่อเทียบกับการพัฒนาวัคซีนรักษาโรคอื่นๆ ที่ต้องใช้เวลาอย่างน้อยราว 18 เดือนขี้นไป

Alex Gorsky ประธานเเละซีอีโอของ J&J ระบุว่า “โลกกำลังเผชิญกับวิกฤตด้านสาธารณสุข เราจะมุ่งมั่นพัฒนาวัคซีนเพื่อรักษาโรค ให้เข้าถึงได้ทั่วโลกโดยเร็วที่สุด”

วัคซีนต้าน COVID-19 ที่ได้รับการคัดเลือกของ Johnson & Johnson

หลังเริ่มมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ุใหม่  J&J ได้เริ่มวิจัยและทดลองหลากหลายวัคซีนที่มีศักยภาพในการต้านไวรัสนี้ตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยทีมวิจัยจากบริษัท แจนเซ่น ฟาร์มาซูติกา ได้ร่วมมือกันกับ Beth Israel Deaconess Medical Center หน่วยงานในสังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เพื่อคิดค้นและทดลองวัคซีนมากมายโดยใช้เทคโนโลยี AdVac® ของแจนแซ่น

จากการดำเนินงานครั้งนี้ J&J ได้รับคัดเลือกให้เป็นวัคซีนตัวแรกที่จะถูกใช้ในการป้องกัน COVID-19 (โดยมีตัวสำรองอีก 2 รายการ) ซึ่งจะเริ่มต้นเข้าสู่กระบวนการผลิตขั้นตอนแรกต่อไป

สำหรับโครงการวัคซีน COVID-19 ได้ใช้เทคโนโลยี AdVac (R) และ PER.C6(R) ของแจนแซ่น ซึ่งมีความสามารถในการพัฒนาตัวเลือกของวัคซีนใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ทั้งยังยกระดับการผลิตวัคซีนที่ได้รับการคัดเลือกไปพร้อมกัน เทคโนโลยีเดียวกันนี้เคยถูกนำไปใช้พัฒนาและผลิตวัคซีนป้องกันอีโบลาของบริษัท และสร้างวัคซีนที่จะถูกนำไปคัดเลือกเพื่อต้านเชื้อซิกา อาร์เอสวี และ เอชไอวี ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาทางคลินิกเฟสสองหรือเฟสสาม

นอกจากความพยายามในการพัฒนาวัคซีนแล้ว BARDA และ J&J ยังได้ขยายความร่วมมือ เพื่อเร่งการดำเนินงานของแจนเซ่นในการตรวจคัดกรองคลังสารเคมีที่เก็บไว้ (compound libraries) ซึ่งรวมถึงสารเคมีจากบริษัทเวชภัณฑ์อื่น ๆ ด้วย โดย J&J และ BARDA จะให้เงินทุนสนับสนุนในส่วนของความร่วมมือครั้งนี้ ความพยายามในการคัดกรองยาต้านไวรัสนี้เกิดขึ้นด้วยความร่วมมือกับสถาบันเพื่อการวิจัยทางการแพทย์ Rega (KU Leuven/University of Leuven) ในประเทศเบลเยียม

ทั้งนี้ ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีน การรักษา หรือยารักษา COVID-19 ใด ๆ ที่ได้รับการอนุมัติ โดยไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ เริ่มเเพร่ระบาดในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีนเมื่อช่วงปลายปี 2019 ที่ผ่านมา ก่อนจะเเพร่ระบาดไปยังประเทศต่างๆ ล่าสุดขณะนี้คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 34,000 คนทั่วโลก โดยสหรัฐอเมริกากำลังเป็นประเทศที่มีการยืนยันยอดผู้ติดเชื้อ COVID-19 มากที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่มหานครนิวยอร์ก ขณะเดียวกันมีรายงานว่าเหล่าโรงพยาบาลต่างๆ กำลังประสบปัญหาขาดเเคลนอุปกรณ์ทางการเเพทย์ที่ใช้ในการรักษาโรคนี้

 

ที่มา : Reuters , jnj.com

 

]]>
1270974
“ไทลีนอล” กรณีศึกษาสุดคลาสสิก https://positioningmag.com/11331 Wed, 05 Nov 2008 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=11331

วิกฤตที่ถาโถมเข้าสู่องค์กร ไม่ใช่แค่ผลจากการละเลยของบริษัทเองเท่านั้น บ่อยครั้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ใช่ความผิดที่บริษัทได้ก่อขึ้น แต่พวกเขาก็ต้องหาทางออกอย่างรวดเร็ว เพราะไม่ว่าข้อเท็จจริงเป็นเช่นไร ผลเสียก็ตกอยู่กับบริษัทอยู่ดี

หนึ่งในกรณีศึกษาคลาสสิกเกี่ยวกับการจัดการวิกฤตที่เกิดขึ้นต้องยกให้กับ “จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน” และแนวทางที่บริษัทรับมือกับปัญหาไทลีนอลเป็นพิษ

ก่อนเกิดเหตุวิกฤต ไทลีนอลเป็นสินค้าที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในอเมริกา มีจำนวนลูกค้าทั่วประเทศมากกว่า 100 ล้านเหรียญดอลลาร์ โดยเฉพาะใน 3 ไตรมาสแรกของปี 1982 ซึ่งเป็นช่วงก่อนเกิดวิกฤต กำไรของไทลีนอลคิดเป็น 19% ของบริษัท จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน และมีอัตราการเติบโตในแง่ของกำไรไม่ต่ำกว่า 33% ต่อปี

ขณะที่ในตลาดยาแก้ปวดนั้น ไทลีนอล ถือเป็นผู้นำอย่างเบ็ดเสร็จด้วยส่วนแบ่ง 37% เอาชนะคู่แข่งสำคัญอย่าง Anacin, Bayer, Bufferin และ Excedrin ได้อย่างไม่ยากเย็น

แต่ในช่วงฤดูใบไม่ร่วงของปี 1982 กลับมีเหตุการณ์ที่สั่นคลอนความเติบโตของไทลีนอลอย่างไม่น่าเป็นไปได้ เมื่อมีข่าวออกมาว่าพบคนตายทั้งหมด 7 คนทางฝั่งตะวันตกของชิคาโก โดยสาเหตุการตายของแต่ละคนระบุว่าเกิดจากการทานยาแก้ปวดประเภทแคปซูลของไทลีนอลที่มีไซยาไนด์เป็นส่วนผสม ซึ่งต่อมาจึงสืบรู้ได้ว่าเกิดจากการกลั่นแกล้งของผู้ประสงค์ร้าย

ข่าวของเหตุการณ์นี้แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว และก่อให้เกิดความตื่นตระหนกทั่วประเทศ โดยที่ไม่ต้องมีใครเตือน จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน บริษัทแม่ของ McNeil Consumer Products Company ซึ่งทำตลาดไทลีนอล ต้องออกมาอธิบายให้โลกได้รับรู้ว่าทำไมผลิตภัณฑ์ซึ่งเคยเป็นที่ไว้วางใจกลับคร่าชีวิตของผู้คนอย่างกะทันหัน

โรเบิร์ต แอนดรูว์ส ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์ของจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ในขณะนั้นได้เล่าย้อนให้ฟังว่าบริษัทมีวิธีการในการตอบสนองอย่างไรในวันแรกของวิกฤต

“เราได้รับโทรศัพท์จากผู้สื่อข่าวคนหนึ่งในชิคาโก เขาบอกเราว่าทางเจ้าหน้าที่ชันสูตรศพเพิ่งจัดแถลงข่าวโดยระบุว่ามีคนตายจากยาไทลีนอลที่เป็นพิษ และทางผู้สื่อข่าวต้องการความคิดเห็นจากทางเรา นั่นเป็นครั้งแรกที่ผมได้รับรู้ว่าเกิดเรื่องไม่ดีขึ้นกับบริษัท ผมจึงตอบเขาไปว่ายังไม่ทรายรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้”

เมื่อวางโทรศัพท์ แอนดรูว์สตระหนักได้ทันทีถึงอิทธิพลและความรวดเร็วของสื่อมวลชน ที่ทราบเรื่องราวต่างๆ ก่อนองค์กรเสียอีก
เจมส์ เบอร์ก ประธานของจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน รับมือกับหนังสือพิมพ์ที่ลงข่าวในแง่ลบเกี่ยวกับบริษัทฯในวันรุ่งขึ้นด้วยการฟอร์มทีมกลยุทธ์ที่มีสมาชิกทั้งหมด 6 คน รวมทั้งตัวเขาเอง เพื่อตอบคำถามแรกกับสื่อมวลชนและประชาชนให้ได้ว่า “เราจะปกป้องประชาชนได้อย่างไร” และ “เราจะรักษาสินค้าตัวนี้ต่อไปได้อย่างไร”

การกระทำที่แสดงให้เห็นถึงจุดมุ่งหมายในการปกป้องประชาชนของบริษัท คือ การออกเตือนผู้บริโภคทั่วประเทศผ่านทางสื่อไม่ให้บริโภคสินค้าทุกประเภทของไทลีนอล และอย่ากลับมาใช้สินค้าจนกว่าจะได้รับการยืนยันว่าสินค้าปลอดภัยผ่านการโฆษณาในทุกๆ ช่องทาง ขณะเดียวกัน จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ก็หยุดกระบวนการผลิต และการโฆษณาสินค้าที่มุ่งให้เกิดการซื้อเป็นหลัก พร้อมๆ กับเรียกเก็บสินค้าไทลีนอลประเภทแคปซูลออกจากชั้นวางในชิคาโกและบริเวณโดยรอบ

หลังจากตรวจพบยาที่มีสิ่งเจือปนอีกจำนวน 2 ขวด ไทลีนอลก็ตระหนักถึงอันตรายของสินค้านี้ส่งผลในวงกว้างมากกว่าที่คิด และจึงสั่งเก็บทุกแคปซูลที่เหลือ

แม้โอกาสที่จะพบไซยาไนด์ในยามีเพียงน้อยนิด แต่การที่จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน เรียกเก็บสินค้าทั่วประเทศเพราะพวกเขาต้องการแสดงให้เห็นว่าไม่อยากเสี่ยงต่อความปลอดภัยของสาธารณชน ถึงแม้ว่าจะสร้างความเสียหายให้กับบริษัทหลายล้านดอลลาร์ก็ตาม และในท้ายที่สุดประชาชนก็จะมองว่าไทลีนอลเป็น “เหยื่อของการกระทำจากผู้มุ่งร้าย”

มากกว่านั้น จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ยังใช้สื่อ ทั้งการประชาสัมพันธ์และโฆษณา ในการสื่อสารแนวทางการแก้ปัญหาในช่วงวิกฤต และจัดตั้งสายด่วนผู้บริโภค 1-800 ในช่วงสัปดาห์แรกของวิกฤต เพื่อสามารถตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับความปลอดภัยของไทลีนอลให้กับผู้บริโภคได้อย่างทันท่วงที รวมทั้งการเปิดสายฟรี โดยเป็นเทปบันทึกเสียงการอัพเดตกระบวนการแก้ไขปัญหาที่ไทลีนอลได้ทำในแต่ละวัน

เมื่อจำเป็นต้องแถลงข่าวสำคัญๆ พวกเขาเลือกจัดงานที่สำนักงานใหญ่ของบริษัท โดยใช้ทีมงานภายในเตรียมอุปกรณ์สำหรับถ่ายทอดสดผ่านดาวเทียมไปยังนิวยอร์ก ซึ่งเท่ากับว่าการแถลงข่าวไม่ใช่แค่เรื่องระหว่างบริษัทกับสื่อมวลชนเท่านั้น แต่รวมถึงประชาชนด้วย ซึ่งจากนั้นไม่นานข่าวที่ออกมาเกี่ยวกับเจมส์ เบอร์ก และบริษัท เริ่มออกมาในแง่บวกมากขึ้น

ถึงแม้จะได้ใจสื่อมวลชนด้วยการรายงานข่าวในทางที่ดี แต่สำหรับประชาชนนั้น การกระทำแค่นี้ดูไม่เพียงพอที่จะเรียกความเชื่อมั่นของผู้บริโภคให้กลับคืนมาเหมือนตอนก่อนเกิดวิกฤตได้ บริษัทจึงตัดสินใจเล่นเกมจิตวิทยากับผู้บริโภคด้วยการออกบรรจุภัณฑ์ใหม่ ที่มีการปิดผนึกอย่างแน่นหนาถึง 3 ชั้น พร้อมการส่งเสริมการขายอย่างหนักทั้งลด แลก แจก แถมสารพัด

บทเรียนจากวิกฤตครั้งนี้ ส่งผลให้ไทลีนอลต้องใช้เวลามากถึง 7 ปีในการกู้ชื่อเสียงแบรนด์คืนมาอีกครั้งก่อนกลายเป็นยาแก้ปวดที่ได้รับความนิยมสูงสุดในอเมริกา

]]>
11331