ตระกูลจิราธิวัฒน์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 03 Apr 2020 12:57:07 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ทำเนียบ 10 อันดับ “มหาเศรษฐีไทย” ประจำปี 2563 จัดอันดับโดย Forbes https://positioningmag.com/1271504 Fri, 03 Apr 2020 05:32:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1271504 Forbes เปิดโผ “มหาเศรษฐี” ที่รวยที่สุด 10 อันดับแรกของไทยประจำปี 2563 พร้อมบทวิเคราะห์ภาพรวมความมั่งคั่งของเศรษฐีไทยปีนี้ มีเศรษฐี 38 คนจาก 50 คนที่ได้รับผลกระทบจากไวรัส COVID-19 และทำให้มูลค่าทรัพย์สินสุทธิลดลง

10 อันดับ “มหาเศรษฐี” ไทย ปี 2563 โดย Forbes

อันดับ 1 พี่น้องเจียรวนนท์ (อันดับคงที่)
แหล่งที่มา: เครือเจริญโภคภัณฑ์
มูลค่าทรัพย์สิน: 2.73 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (มูลค่าทรัพย์สินลดลง)

อันดับ 2 เฉลิม อยู่วิทยา (ขึ้นจากอันดับ 3)
แหล่งที่มา: กระทิงแดง
มูลค่าทรัพย์สิน: 2.02 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (มูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้น)

อันดับ 3 เจริญ สิริวัฒนภักดี (ขึ้นจากอันดับ 4)
แหล่งที่มา: ไทยเบฟเวอเรจ
มูลค่าทรัพย์สิน: 1.05 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (มูลค่าทรัพย์สินลดลง)

อันดับ 4 ตระกูลจิราธิวัฒน์ (ลงจากอันดับ 2) 
แหล่งที่มา: กลุ่มเซ็นทรัล
มูลค่าทรัพย์สิน: 9.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ (มูลค่าทรัพย์สินลดลง)

อันดับ 5 สารัชถ์ รัตนาวะดี (อันดับคงที่)
แหล่งที่มา: กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์
มูลค่าทรัพย์สิน: 6.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ (มูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้น)

อันดับ 6 อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา (อันดับคงที่)
แหล่งที่มา: คิง เพาเวอร์
มูลค่าทรัพย์สิน: 3.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ (มูลค่าทรัพย์สินลดลง)

อันดับ 7 ประจักษ์ ตั้งคารวคุณ (ขึ้นจากอันดับ 15)
แหล่งที่มา: TOA
มูลค่าทรัพย์สิน: 3.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ (มูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้น)

อันดับ 8 ตระกูลโอสถานุเคราะห์ (อันดับคงที่)
แหล่งที่มา: โอสถสภา
มูลค่าทรัพย์สิน: 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ (มูลค่าทรัพย์สินคงที่)

อันดับ 9 วานิช ไชยวรรณ (อันดับคงที่)
แหล่งที่มา: ไทยประกันชีวิต
มูลค่าทรัพย์สิน: 2.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ (มูลค่าทรัพย์สินลดลง)

อันดับ 10 ชูชาติ เพ็ชรอำไพ-ดาวนภา เพชรอำไพ (ขึ้นจากอันดับ 11)
แหล่งที่มา: เมืองไทย ลิสซิ่ง
มูลค่าทรัพย์สิน: 2.65 พันล้านเหรียญสหรัฐ (มูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้น)

ทั้งนี้ มีเศรษฐีสองรายที่หลุดจาก 10 อันดับแรกไปในปีนี้คือ “นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ” มูลค่าทรัพย์สินลดลงเหลือ 2.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้อยู่ในอันดับ 11 และ “สมโภชน์ อาหุนัย” มูลค่าทรัพย์สินลดลงเหลือ 1.75 พันล้านเหรียญสหรัฐ อยู่ในอันดับ 18

 

เศรษฐีทรัพย์สินหดระนาวหลังตลาดหุ้นร่วง

ปี 2563 นี้ บุคคลร่ำรวยที่สุด 50 อันดับของไทยมีทรัพย์สินรวมกันลดลงถึง 2.8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นการลดลงถึงร้อยละ 18 เหลือเพียง 1.32 แสนล้านเหรียญ

สาเหจุเกิดจากเศรษฐกิจไทยที่พึ่งพาการส่งออกและการท่องเที่ยว ชะลอตัวจากสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ ตั้งแต่ปีก่อน เมื่อเผชิญโรคระบาดไวรัส COVID-19 ทำให้ปัญหาหนักหนาขึ้นอีก และเป็นปัจจัยลบส่งให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยทรุดหนัก ลดลงไปแล้วเกือบ 1 ใน 3 เทียบกับเดือนเมษายน 2562 มหาเศรษฐี 38 คนจาก 50 คนแรกจึงมีทรัพย์สินสุทธิลดลง โดยในจำนวนนี้มี 6 คนที่ความมั่งคั่งลดลงกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

ด้านความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในหมู่เศรษฐีไทย พี่น้องตระกูลเจียรวนนท์ แห่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ ยังครองตำแหน่งอันดับหนึ่ง แม้ว่าทรัพย์สินของพวกเขาจะลดลง 2.2 พันล้านเหรียญ ไปอยู่ที่ 2.73 หมื่นล้านเหรียญ และเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ได้เข้าซื้อกิจการของเทสโก้ในไทยและมาเลเซียมูลค่า 1.06 หมื่นล้านเหรียญได้สำเร็จ

กลุ่ม CP เข้าซื้อกิจการเทสโก้ในไทยและมาเลเซียเป็นผลสำเร็จ (อ่านรายละเอียดที่นี่)

เฉลิม อยู่วิทยา เจ้าของแบรนด์เครื่องดื่มชูกำลัง Red Bull ร่วมกับตระกูลของเขา มาในอันดับที่ 2 เขาเป็นหนึ่งในแปดผู้มีรายชื่อในทำเนียบที่มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นสวนทางเศรษฐกิจ โดยมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 1.99 หมื่นล้านเหรียญเมื่อปีก่อน เป็น 2.02 หมื่นล้านเหรียญในปีนี้

เจริญ สิริวัฒนภักดี จากเครือไทยเบฟเวอเรจ ขยับขึ้นมาในอันดับที่ 3 ด้วยทรัพย์สิน 1.05 หมื่นล้านเหรียญ อย่างไรก็ดี ทรัพย์สินสุทธิของเขาลดลงจาก 1.62 หมื่นล้านเหรียญในปีที่ผ่านมา

ตระกูลจิราธิวัฒน์ หล่นจากอันดับ 2 มาอยู่ในอันดับ 4 ในปีนี้ ด้วยความมั่งคั่งที่ลดลงกว่าครึ่งไปอยู่ที่ 9.5 พันล้านเหรียญ พวกเขาเพิ่งนำบริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยนับเป็นการเสนอขายหุ้นไอพีโอครั้งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย แต่ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวและนักช้อปที่ลดลงอย่างมาก ทำให้ราคาหุ้นของเซ็นทรัล รีเทล ต่ำกว่าราคาไอพีโอถึงร้อยละ 27 โดยตกลงต่อเนื่องตั้งแต่เข้าการซื้อขาย

ทศ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร เซ็นทรัล รีเทล

ผู้ที่มีทรัพย์สินลดฮวบอีกคนคือ อาลก โลเฮีย (อันดับ 26) มหาเศรษฐีชาวอินเดียโดยกำเนิด เจ้าพ่อธุรกิจปิโตรเคมีผู้ที่ง่วนอยู่กับการเข้าซื้อกิจการมากมาย ทรัพย์สินสุทธิของเขาลดลงจาก 2.52 พันล้านเหรียญในปีที่แล้ว มาอยู่ที่ 1.09 พันล้านเหรียญ เมื่อราคาหุ้นบริษัทอินโดรามา เวนเจอร์ส ของเขาดิ่งลงถึงร้อยละ 57  ในช่วง 11 เดือนผ่านมา

 

นักธุรกิจภาคพลังงานไทยยังแข็งแกร่ง

แม้ว่าราคาพลังงานทั่วโลกจะประสบภาวะตกต่ำครั้งรุนแรง มหาเศรษฐีจากวงการพลังงานของไทย 3 ใน 4 คนกลับมีทรัพย์สินงอกเงย ทั้งนี้เป็นผลจากการที่พวกเขาพุ่งความสนใจไปที่ก๊าซธรรมชาติและพลังงานทดแทน

ในจำนวนนี้ มีสารัชถ์ รัตนาวะดี ผู้ที่ทำเงินเพิ่มขึ้นมากที่สุด ด้วยทรัพย์สินสุทธิ 6.8 พันล้านเหรียญพุ่งขึ้น 1.6 พันล้านเหรียญ ขณะที่บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ ของเขาเปิดโรงพลังงานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงเพิ่มเติม ตลอดจนเข้าดำเนินการโครงการใหม่ ๆ อาทิ ท่าเรือและถนน

ฮาราลด์ ลิงค์ (อันดับที่ 12 ทรัพย์สิน 2.3 พันล้านเหรียญ) หัวเรือใหญ่รุ่นที่สามของบี.กริม มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 ขณะที่บี.กริม เพาเวอร์เพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าอีกร้อยละ 40 และกำไรของบริษัทกระโดดขึ้นร้อยละ 34 ในปีที่ผ่านมา

ภาคพลังงานที่คึกคักได้พา วิระชัย ทรงเมตตา (อันดับ 40 ทรัพย์สิน 585 ล้านเหรียญ) เข้าทำเนียบเศรษฐีเป็นครั้งแรกหลังจาก บริษัท แอ๊บโซลูท คลีน เอ็นเนอร์จี้ ผู้ผลิตพลังไฟฟ้าชีวมวล ซึ่งเป็นธุรกิจของครอบครัว เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว

นายแพทย์กำพล พลัสสินทร์ (อันดับ 38 ทรัพย์สิน 610 ล้านเหรียญ) ผู้ก่อตั้งเครือโรงพยาบาลจุฬารัตน์ ที่เป็นบริษัทมหาชน กลับเข้าสู่ทำเนียบหลังจากห่างหายไปสามปี อันเป็นผลจากการที่บริษัทเปิดโรงพยาบาลใหม่อีกสองแห่ง ช่วยหนุนราคาหุ้นบริษัทให้ทะยานขึ้น

ปีนี้ Forbes กำหนดทรัพย์สินสุทธิขั้นต่ำสำหรับผู้ที่จะมีรายชื่ออยู่ในทำเนียบที่ 460 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจาก 565 ล้านเหรียญ ในปี 2019

 

]]>
1271504
“ZEN” ธุรกิจร้านอาหารของ “จิราธิวัฒน์” ในวันที่ต้องติดนามสกุล “มหาชน” https://positioningmag.com/1212661 Thu, 07 Feb 2019 00:57:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1212661 ZEN ถือเป็นแบรนด์เริ่มต้นในการบุกเบิกธุรกิจร้านอาหารของสุทธิเดช จิราธิวัฒน์ หนึ่งในทายาทตระกูลจิราธิวัฒน์ ที่ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 28 ปีที่แล้ว โดยใช้เงินส่วนตัวเปิดร้านอาหารญี่ปุ่นเป็นรายแรกๆ ของเมืองไทย

ต่อมา เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป ได้แตกขยายพอร์ตโฟลิโอแบรนด์ร้านอาหาร เพื่อสร้างความหลากหลายของเซ็กเมนต์ ให้ครบตั้งแต่สตรีทฟู้ดจนถึงร้านหรู ร้านอาหารญี่ปุ่นและไทย พัฒนาสู่การเป็นผู้ให้บริการร้านอาหาร (Food Service) จับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายรายได้น้อยจนถึงรายได้สูง

เมื่อแตกขยายไปถึง 12 แบรนด์ 255 สาขา Zen จึงต้องมองหาเงินทุนเพื่อนำไปต่อยอดขยาย สาขา สร้างอาณาจักรธุรกิจอาหาร จึงระดมเงินในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ล่าสุดได้เคาะราคาขาย IPO ที่ 13 บาทต่อหุ้น เข้าซื้อขายวันแรก 20 กุมภาพันธ์นี้

เชื่อว่าจะได้เงินจาการระดมทุนราว 1,000 ล้านบาท โดยมีวัตถุประสงค์การใช้เงิน 3 ส่วน คือ 1.ขยายธุรกิจซึ่งรวมถึงการขยายสาขาและการปรับปรุงร้าน 2.คืนเงินกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์ และ 3.ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน

เป้าหมายการติดนามสกุลมหาชน ต้องใช้เวลาเตรียมตัวไม่ต่ำกว่า 3 ปี ทั้งสรรคนนท์และจอมขวัญ จิราธิวัฒน์ลูกชายและลูกสาวที่รับไม้ต่อจากผู้เป็นพ่อสุทธิเดช จิราธิวัฒน์ แต่สุดท้ายแล้วธุรกิจก็ต้องการมือเก๋ามาช่วยเดินเกม

เมื่อต้นปี 2018 ทั้งคู่เลยตัดสินใจตั้งให้บุญยง ตันสกุลอดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซิงเกอร์ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) เข้าดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซึ่งบุญยง ตันสกุลมีประสบการณ์ในการบริหารธุรกิจ เคยกู้สถานการณ์ซิงเกอร์ที่อยู่ในภาวะขาดทุนหมื่นล้านให้พลิกกลับมามีกำไร

นอกจากนี้ประสบการณ์การทำตลาด เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคระดับฐานรากยังสอดคล้องกับแนวทางของเครือเซ็นที่กำลังต้องการขยายธุรกิจให้ครอบคลุมมากขึ้น โดยเฉพาะการเจาะสตรีทฟู้ด

บุญยง กล่าวกับ Positioning ว่า

การทำธุรกิจอาหารความได้เปรียบคือ แบรนด์ในพอร์ตโฟลิโอ (Portfolio) ที่หลากหลาย และต้องเป็นแบรนด์ที่คนรู้จักและยอมรับ

เขียงแบรนด์ใหม่ชิงเค้กสตรีทฟู้ด

ปลายปี 2018 เครือเซ็นตัดสินใจลุยสตรีทฟู้ดอยางจริงจัง เพราะธุรกิจเดิมอยู่ในกลุ่มร้านอาหารบริการเต็มรูปแบบ (Full Service Restaurant) มูลค่า 176,360.5 ล้านบาท อันดับ 3 ในภาพรวมธุรกิจอาหารของเมืองไทย ที่สำคัญยังเป็นพื้นที่ “Red Ocean” การแข่งขันรุนแรง

แต่สำหรับร้านอาหารข้างทางและรถเข็น (Kiosk and Street Stalls) มีสัดส่วนมากที่สุดด้วยมูลค่าตลาดถึง 272,641.4 ล้านบาท ที่ยังคงเป็น “Blue Ocean” เพราะถึงจะมีร้านค้าที่มากมาย แต่ด้วยราคาที่ไม่ได้แพงมาก ผู้บริโภคจึงไม่ต้องใช้เวลาคิด และยังต้องกินทุกวันอยู่แล้วอีกด้วย

จึงเป็นที่มาของการเปิดแบรนด์เขียง ซึ่งเป็นชื่อที่เข้าใจได้ สื่อถึงการขายอาหารที่คนไทยนิยมสั่ง ในร้านอาหารตามสั่ง เริ่มต้นขาย 20 เมนู เช่น ข้าวผัดกะเพราหนักเครื่อง ก๋วยเตี๋ยวคั่วไก่ เป็นต้น ราคา 50-65 บาท

เจาะกลุ่มลูกค้าวัยเริ่มต้นทำงาน ครอบครัว นักเรียนนักศึกษา นักเดินทาง ที่ต้องการรับประทานอาหารพร้อมเสิร์ฟเร่งด่วนสบายๆ และมีคุณภาพ ตั้งเป้ามีค่าใช้จ่ายต่อคนต่อครั้ง 80-100 บาท โดยได้เปิดสาขาแรกที่สถานีบริการน้ำมัน ปตท. เจษฎาบดินทร์ จ.นนทบุรี

บุญยงอธิบายว่า ราคาอาหารของเขียนจะแพงกว่า 10-20 บาท แต่เชื่อว่าจะสามารถขายได้ เพราะถ้าดูจากร้านสะดวกซื้อที่ขายอาหารรับประทานทั้งแบบแช่แข็งและแช่เย็น ผู้บริโภคก็ยังซื้อ เพราะต้องการความสะดวก ร้านสะดวกซื้อเองก็ยังมีการเพิ่มโซนทำสดในร้านขึ้นมาอีก และราคาไม่ได้ต่างจากเขียง แต่ก็ยังขายได้

ภายในปีนี้วางแผนขยายทั้งหมด 40 สาขา ทั้งทำเองและแฟรนไชส์ มองทำเลสถานีบริการน้ำมันและหน้าร้านสะดวกซื้อก่อน หลังจากนั้นค่อยไปที่อาคารสำนักงาน โดยเริ่มที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล

ขยายแบรนด์ร้านญี่ปุ่นด้วยมูชะ

ขณะเดียวกันได้มีการเปิดอีกหนึ่งแบรนด์ใหม่มูชะ เป็นร้านอาหารญี่ปุ่นแนวใหม่ คอนเซ็ปต์ ร้านข้าวสไตล์ญี่ปุ่น ใช้ข้าวญี่ปุ่นแท้และมีเมนูให้เลือกเกือบ 50 เมนู ที่สำคัญมีจุดขายพิเศษ คือ เติมข้าวได้ไม่อั้น ปรุงสด หน้าล้น และไม่คิดค่าบริการ 

ราคาเริ่มต้น 95 บาท เช่น ข้าวหน้าไก่ ข้าวหน้าไข่ข้นเบคอนปูอัด ข้าวแกงกะหรี่คอหมูย่างไข่ข้น รวมทั้งมีเมนูญี่ปุ่นอื่นๆ ด้วย เช่น สลัดเบคอนกรอบ อุด้งต้มยำไก่ทอด มุฉะชิสซี่ เน้นจับกลุ่มนักเรียน นักศึกษา วัยเริ่มต้นทำงาน กลุ่มครอบครัว คนรุ่นใหม่ที่นิยมรับประทานอาหารญี่ปุ่น และเป็นอาหารญี่ปุ่นสไตล์ควิกมีลจานด่วน

ล่าสุด มูชะ เปิดให้บริการ 4 สาขา ในห้างบิ๊กซี นครปฐม ห้างแหลมทอง บางแสน เมเจอร์รัชโยธิน และแปซิฟิค พาร์ค ศรีราชา ซึ่งหลังจากนี้จะเร่งขยายสาขาในสถานีบริการน้ำมัน

ไมโครฟอร์แมตขยายง่ายคืนทุนเร็ว

ทั้ง 2 แบรนด์นี้จะเข้ามาตอบโจทย์เรื่องการขยายร้านให้เข้าไปใกล้ผู้บริโภค ก่อนหน้านี้เครือเซ็นจะเน้นเปิดร้านในศูนย์การค้า แต่ปัจจุบันผู้บริโภคมาน้อยลงและจะมีทราฟฟิกเยอะเฉพาะวันศุกร์เสาร์และอาทิตย์เท่านั้น ส่วนวันธรรมดาคนก็ไปใช้ชีวิตในสถานที่ใกล้ที่พักเช่น คอมมูนิตี้มอลล์หรือร้านสแตนด์อโลน เน้นความสะดวกเป็นเส้นทางกลับบ้าน

เมื่อผู้บริโภคไปศูนย์การค้าเฉพาะวันหยุด จึงต้องกระจายโอกาสคนอยู่ที่ไหนเยอะก็ต้องไปหา ธุรกิจอาหารวันนี้ไม่สามารถรอให้ลูกค้าเดินมาหาในร้าน แต่ต้องเดินไปหาลูกค้าที่บ้านเอง เข้าไปถึงได้เร็วที่สุด

รูปแบบใหม่นี้เรียกว่าไมโครฟอร์แมตคือร้านอาหารที่มีพื้นที่ร้านขนาดเล็ก (ขนาดพื้นที่ประมาณ 100 ตารางเมตร) เมนูอาหารไม่ซับซ้อน เงินลงทุนไม่สูง (ประมาณ 1.5-3.5 ล้านบาทต่อสาขา) ก่อนหน้านี้ต้องใช้พื้นที่ 180-200 ตารางเมตร เงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 6 ล้านบาท

โดยฟอร์แมตลักษณะนี้ ช่วยให้การลงทุนน้อยลงและลดระยะเวลาคืนทุนจาก 1.5-2 ปี เหลือ 1.1.5 ปีเท่านั้น

จับมือเวิร์คพอยท์สร้างแบรนด์ปลาร้า

ก่อนหน้านี้ชลากรณ์ ปัญญาโฉม” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานดิจิทัลทีวี บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) เคยให้สัมภาษณ์กับ Positioning ไว้ว่า ได้จับมือกับกลุ่มเซ็นคอร์ปอเรชั่นกรุ๊ปทำตลาดสินค้าต่างๆ ผ่านทางสื่อในมือทั้งทีวีและออนไลน์

บุญยงอธิบายต่อว่า ที่จับมือกับเวิร์คพอยท์เพราะต้องการสร้างแบรนด์สินค้าอาหารพร้อมปรุง (Ready-to-Cook) เช่น หมี่มั่ว และผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทาน (Ready-to-Eat) เช่น น้ำจิ้มแจ่ว น้ำจิ้มไก่ แจ่วบอง (น้ำพริกปลาร้า) และน้ำปลาร้า รวมกันประมาณ 10 SKU ซึ่งเดิมขายอยู่หน้าร้าน โอกาสซื้อจึงมีแค่หน้าร้านเท่านั้น

โดยเวิร์คพอยท์จะทำหน้าที่โปรโปรโมตสินค้า และการตลาด ส่วนเครือเซ็นทำจัดการและจัดส่ง เมื่อมีคำสังซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ รายได้จะแบ่งกันจากกำไร 50:50

ที่ต้องเป็นเวิร์คพอยท์นอกจากติด Top 5 ด้านเรตติ้ง ยังมีกลุ่มนักแสดงในสังกัด เช่น หม่ำ เท่ง โหน่ง ซึ่งตรงคาแร็กเตอร์ของสินค้าที่จะใช้สื่อสารได้เป็นอย่างดี โดยปีนี้ยังได้วางแผนขยายสินค้ากลุ่มนี้เพิ่มเติม เช่น วัตถุดิบในการทำส้มตำ หรือซอสอาหารญี่ปุ่นเป็นต้น โดยรายได้ในส่วนนี้ยังไม่ถึง 1% แต่ภายใน 2-3 ปีจากนี้อยากเพิ่มให้ถึง 5%”.

]]>
1212661
ผ่า “โมเดล” ค้าปลีกเซ็นทรัล จากโรบินสันถึงท็อปส์พลาซ่า กินรวบทุกตลาด จังหวัดใหญ่ กลาง เล็ก https://positioningmag.com/1154610 Fri, 26 Jan 2018 14:05:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1154610 “กลุ่มเซ็นทรัล” ของ “ตระกูลจิราธิวัฒน์” ถือว่าเป็นยักษ์ใหญ่ค้าปลีกของเมืองไทย ที่ดำเนินธุรกิจมานาน 7 ทศวรรษ มีรายได้ต่อปีกว่า 3 แสนล้านบาท ท่ามกลางโลกออนไลน์เข้ามามีบทบาทต่อธุรกิจค้าปลีกมากขึ้น ขาช้อปปิ้งเปลี่ยนพฤติกรรมหันไปซื้อสินค้าผ่านออนไลน์ อีคอมเมิร์ซ แต่การขยายสาขาแบบ Physical เป็นอาคารยังมีให้เห็น เพียงแต่ที่ผ่านมา “ปรับจิ๊กซอว์” กันใหม่ วางบทบาทให้ 3 บริษัทหัวหอก ได้แก่ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN, บริษัท โรบินสัน จำกัด (มหาชน) และบริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด ขยายศูนย์การค้า ห้างในโมเดลต่างๆ ลุยหัวเมืองใหญ่ หัวเมืองรองกันอย่างชัดเจนมากขึ้น  

“CPN” เป็นเรือธงในการลุยโปรเจกต์ใหญ่หลายพันล้าน เน้นเจาะทำเลทอง จังหวัดที่เศรษฐกิจมีขนาดใหญ่ ประชากรมั่งคั่ง หรือหากไปจังหวัดย่อม ก็จะต้องกวาดรัศมีการช้อปปิ้ง (catchment area) ที่มีศักยภาพมากพอ ปัจจุบันซีพีเอ็นมีศูนย์การค้าในพอร์ตโฟลิโอ 32 แห่ง พื้นที่กว่า 1.7 ล้านตารางเมตร (ตร.ม.) กระจายอยู่ทั่วไทย ภายใต้ 3 แบรนด์หลัก ได้แก่ เซ็นทรัลเวิลด์ จับตลาดย่านใจกลางเศรษฐกิจ (CBD) เซ็นทรัลพลาซา จับตลาดที่มีกำลังซื้อสูงในเขตเมืองใหญ่ จังหวัดสำคัญ และเซ็นทรัลเฟสติวัล กินรวบตลาดเมืองท่องเที่ยว

โดยศูนย์การค้าเหล่านี้จะมีร้านเด็ด แบรนด์ดังเปิดให้บริการครบถ้วน มีเอ็นเตอร์เทนเมนต์อย่างโรงหนังให้บริการ มีห้างสรรพสินค้าอยู่ภายในศูนย์ เป็นต้น เรียกว่าจะไปช้อป ชิม ชิลล์ ใช้ชีวิตแบบไหน มีตอบโจทย์ครบ

ส่วน โรบินสัน” บทบาทที่ผ่านมาคือการเป็น “ห้างสรรพสินค้า” และเป็นหนึ่งใน Anchor หลักของกลุ่มเซ็นทรัล แต่ 7 ปีก่อนผุดโมเดล “ศูนย์การค้าไลฟ์สไตล์มอลล์” เพื่อเจาะทำเลทองที่เป็น “เมืองรอง” มากขึ้น โดยปลายปี 2560 เปิดสาขาเพิ่มเป็นแห่งที่ 20 ในจังหวัดกำแพงเพชร

การลุยโมเดลไลฟ์สไตล์มอลล์ เน้นเจาะจังหวัด หรือตลาดที่มีขนาดเล็ก การแข่งขันต่ำ กลายเป็น “จิ๊กซอว์” เติมเต็มการขยายของ “ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ดีพาร์ทเมนท์สโตร์” ด้วย ซึ่งวาง Positioning เจาะผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายในกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่มีกำลังซื้อสูง รวมถึงนักท่องเที่ยว แต่ที่ผ่านมาห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลไม่ได้ขยายสาขามากนัก มีเพียงการปรับปรุงสาขาให้ดีขึ้นเท่านั้น ปัจจุบันห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลมีสาขาประมาณ 20 แห่ง ในกทม. 13 แห่ง และต่างจังหวัด 7 แห่ง

นอกจากไลฟ์สไตล์มอลล์ของโรบินสัน จะเปิดหนึ่งในโมเดลสำคัญของการกวาดลูกค้าแล้ว รูปแบบของสาขาที่เล็กหลากไซส์ ตั้งแต่ Size L ขนาดพื้นที่ 37,000 ตร.ม. Size M พื้นที่ 35,000 ตร.ม. และ Compact Size พื้นที่ 28,000 – 30,000 ตร.ม.

ขณะที่ “เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล” จากที่ขยาย “ซูเปอร์มาร์เก็ต” แบรนด์ “ท็อปส์” ล่าสุด ก็ต้องแตกตัวออกลุยเดี่ยวด้วย “โมเดลศูนย์การค้า” แบรนด์ “ท็อปส์ พลาซ่า” สาขาแรกประเดิมเมืองชาละวัน พิจิตร ปลายปี 2560 ห่างกันเดือนเดียว ก็โหมโรงสาขา 2 “จังหวัดพะเยา” ต่อทันที เป็นการติดเครื่องธุรกิจร้อนแรงพอตัว

อลิสเตอร์ เทย์เลอร์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บ.เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด

“มร.อลิสเตอร์ เทยเลอร์” กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด บอกว่า ท็อปส์ พลาซ่า พะเยา” ยังคงคอนเซ็ปต์เป็นศูนย์การค้าที่รวมทุกความต้องการของคนในพื้นที่มาไว้ด้วยกัน

บรรยากาศท็อปส์ พลาซ่า พะเยา เปิดให้บริการวันแรก
บรรยากาศท็อปส์ พลาซ่า พะเยา เปิดให้บริการวันแรก

ปกติการขยายสาขาของท็อปส์จะเน้นขายสินค้า Grocery และหมวดอาหารเป็นหลัก แต่โมเดลใหม่นะมีทั้งพื้นที่เช่าเพื่อให้แบรนด์แม่เหล็กดังๆ มาเปิดให้บริการ โดยจุดขายของท็อปส์พลาซ่า พะเยา ที่ตอบโจทย์คนท้องถิ่น มีดังนี้

  • โครงการตั้งอยู่บนพื้นที่ 37 ไร่ แบ่งเป็นโซน พลาซ่า 16,500 ตร.ม. โซนท็อปส์ ซูเปอร์สโตร์ 5,500 ตร.ม.
  • การอกแบบศูนย์การค้ามีบรรยากาศล้านนาร่วมสมัย
  • มีการร้านค้ากว่า 190 ร้าน และมีร้านแม่เหล็กมากมาย เช่น Fit by Supersports, B2S, Power Buy, Mr.DIY, โรงภาพยนตร์ SF 3 โรง, KFC, MK, Pizza Hut, Amazon, Bingsu Café และผึ้งน้อย เบเกอรี่ชื่อดังจากเชียงใหม่ เป็นต้น
  • มีโซน “พะเยาดีไลท์” รวมเมนูจานเด็ดจากทั่วทุกภาค กว่า 20 ร้าน
  • ลานกิจกรรมทั้งภายในและภายนอกอาคาร พื้นที่รวมกว่า 4,000 ตร.ม.
  • มีศูนย์บริการประชาชน One Stop Service บริการทำบัตรประชาชนและทะเบียนราษฏร์ ติดต่อกองทุนประกันสังคม, รับ-ส่ง พัสดุ, ลงทะเบียนผู้ว่างงาน นายจ้าง และแรงงานต่างด้าว, รับเรื่องราวร้องทุกข์ และลงบันทึกประจำวัน เป็นต้น
  • พื้นที่จอดรถยนต์และจักรยานยนต์กว่า 1,400 คัน
  • จ้างงานกว่า 1,000 อัตรา
ลานม่วนใจ๋ สนามเด็กเล่นขนาดใหญ่

จะเห็นว่าบริการที่มีในห้างนั้น เรียกว่า “ดึง” ประชากรชาวพะเยาให้เข้ามาทำทุกอย่างภายในศูนย์การค้า ตั้งแต่ไลฟ์สไตล์ กิน ดื่ม ช้อปปิ้ง ไปจนถึงทำธุรกรรมต่างๆ

อย่างไรก็ตาม การที่เซ็นทรัลลุยโมเดลใหม่ เจาะเมืองหลัก เมืองรอง ทำให้สามารถกินรวบทุกตลาด กวาดทุกกำลังซื้อทั่วประเทศ เสริมความแกร่งให้กับบริษัทยิ่งขึ้นในฐาน “ผู้นำห้างค้าปลีก”.

]]>
1154610