ตระกูลมหากิจศิริ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 20 Jun 2022 04:59:39 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “มหากิจศิริ” ผนึกพันธมิตรญี่ปุ่นขึ้นคอนโดฯ “125 สาทร” วางเป้าดึงลูกค้าต่างชาติ 20-30% https://positioningmag.com/1388720 Tue, 14 Jun 2022 08:47:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1388720 ตระกูล “มหากิจศิริ” จับมือพันธมิตรญี่ปุ่น KRD และ TCC ขึ้นโครงการคอนโดฯ ลักชัวรี “125 สาทร” จับตลาดคนทำงานออฟฟิศและ Expat ต่างชาติ หวังยอดขาย 3,000 ล้านบาทภายในสิ้นปีนี้ ด้านข้อพิพาทกับลูกบ้าน “THE MET” ยืนยัน EIA ผ่านการรับรองแล้ว แม้มีการร้องเรียนต่อเนื่องที่ศาลปกครองกลาง

“อุษณา มหากิจศิริ” รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TTA เปิดเผยความร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อพัฒนาโครงการ “125 สาทร” คอนโดมิเนียมหรูมูลค่าโครงการกว่า 8,000 ล้านบาท บนเนื้อที่ 3 ไร่ ริมถนนสาทร ติดกับสถานทูตสิงคโปร์ ระยะ 500 เมตรจากสถานี BTS ช่องนนทรี

โดยโครงการเป็นการร่วมทุนกับ บริษัท คันเดน เรียลตี้ แอนด์ ดีเวลลอปเมนท์ (KRD) บริษัทอสังหาริมทรัพย์ในเครือธุรกิจพลังงานรายใหญ่ของญี่ปุ่น และ บริษัท โทเร คอนสตรัคชั่น จำกัด (TCC) บริษัทด้านการก่อสร้างและอสังหาฯ จากญี่ปุ่นเช่นกัน การร่วมทุนครั้งนี้ TTA ถือหุ้น 60% บริษัท KRD ถือหุ้น 30% และ TCC ถือหุ้น 10%

(จากซ้าย) อุษณา มหากิจศิริ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TTA และ โทชิฮิโระ อิเคะอุจิ ผู้จัดการแผนกพัฒนาธุรกิจระหว่างประเทศ บริษัท คันเดน เรียลตี้ แอนด์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (KRD)

125 สาทร เป็นคอนโดฯ ระดับลักชัวรีบนที่ดินหน้ากว้าง 97 เมตร ออกแบบแบ่งเป็น 2 อาคาร จำนวนห้องชุดรวม 755 ยูนิต ห้องชุดพื้นที่ใช้สอยเริ่มต้น 28.5 ตร.ม. ราคาเฉลี่ย 250,000 บาทต่อตร.ม. เริ่ม 5.9 ล้านบาทต่อยูนิต

อุษณากล่าวว่า ย่านสาทรถือเป็นย่านที่มีดีมานด์สูงแต่มีซัพพลายไม่มาก เนื่องจากเป็นแหล่งออฟฟิศ มีคนทำงานประจำในพื้นที่ทั้งชาวไทยและต่างชาติกว่า 260,000 คน และในอนาคตจะมีเมกะโปรเจ็กต์ในย่านใกล้เคียงเกิดขึ้น เช่น วันแบงค็อก (หัวมุมแยกวิทยุ พระราม 4-สาทร), ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค (หัวมุมแยกพระราม 4-สีลม) ซึ่งจะทำให้ความเจริญยิ่งมากขึ้น และมีความต้องการที่พักอาศัยสูงขึ้น

125 สาทร
ภาพตัวอย่างสระว่ายน้ำความยาว 50 เมตร

ขณะที่ราคาของ 125 สาทร บริษัทเชื่อว่าเป็นราคาแข่งขันได้ในคอนโดฯ ระดับเดียวกัน เนื่องจากราคาเริ่มต้นไม่ถึง 6 ล้านบาท ซึ่งหาได้ยากแล้วในย่านนี้

Positioning สำรวจคอนโดฯ ใกล้เคียงที่ยังอยู่ระหว่างขาย เช่น ศุภาลัย ไอคอน สาทร ราคาเริ่มที่ 9 ล้านบาท (ห้องชุดขนาด 42 ตร.ม.) เทตต์ 12 สาทร ราคาเริ่มที่ 9 ล้านบาท (ห้องชุดขนาด 40 ตร.ม.) อนิล สาทร 12 ราคาจะเริ่มที่ 11 ล้านบาท (ห้องชุดขนาด 45 ตร.ม.) เดอะ รีเซิร์ฟ สาทร ราคาเริ่ม 12.9 ล้านบาท (ห้องชุดขนาด 50 ตร.ม.) เห็นได้ว่าการเลือกพัฒนาห้องชุดเริ่มต้นขนาดเล็ก ทำให้คนทำงานออฟฟิศมีโอกาสเอื้อมถึงคอนโดฯ ย่านสาทรได้มากขึ้น

 

เน้น Expat ญี่ปุ่น-ยุโรป

ภัทร์กร วงศ์สวรรค์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กล่าวต่อว่า พื้นที่สำนักงาน 1 ใน 4 ของกรุงเทพฯ อยู่ในย่านสาทร-สีลม ทำให้บริษัทตั้งใจดึงดูดเรียลดีมานด์กลุ่มคนทำงานออฟฟิศ

125 สาทร
ห้องตัวอย่างห้องชุดแบบ 2 ห้องนอน

สำหรับกำลังซื้อต่างชาติจะเน้น Expat ที่เป็นเรียลดีมานด์มากกว่านักลงทุนจากต่างประเทศ คาดหวังว่าจะได้ยอดขายจากต่างชาติราว 20-30% โดยการมีพันธมิตรเป็นบริษัทญี่ปุ่นจะช่วยผลักดันตลาดได้ครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งเชื่อว่าจะเป็นกลุ่มยุโรป ทั้งจากออฟฟิศและสถานทูตที่รายล้อมสาทร

โครงการ 125 สาทรจะเริ่มเปิดขายอย่างเป็นทางการ 18-19 มิถุนายนนี้ ภัทร์กรกล่าวว่า บริษัทคาดหวังเป้ายอดขาย 3,000 ล้านบาทภายในสิ้นปี และจะเริ่มการก่อสร้างปลายปี 2565 คาดว่าจะแล้วเสร็จปลายปี 2569

 

ข้อพิพาทกับ THE MET ยังอยู่ในศาลปกครอง

โครงการ 125 สาทรนั้นยังมีประเด็นที่ต้องจับตา เนื่องจากที่ดินโครงการตั้งอยู่ด้านหน้าคอนโดมิเนียม THE MET คอนโดฯ สูง 66 ชั้น ที่สร้างเสร็จเมื่อปี 2552 พัฒนาโดย Hotel Properties Limited Group กลุ่มทุนสิงคโปร์ แต่เดิมที่ดินด้านหน้าคอนโดฯ มีแผนจะก่อสร้างเป็นโรงแรมและคาดว่าจะพัฒนาให้เป็นตึกเตี้ยที่ไม่บังวิวคอนโดฯ แต่สุดท้ายเจ้าของที่ดินไม่ไปต่อ และมีการซื้อขายเปลี่ยนมือมาสู่กลุ่มมหากิจศิริ

125 สาทร THE MET
125 สาทรจะขึ้นด้านหน้าตึก THE MET ทำให้เกิดข้อพิพาทขึ้น

แม้บริษัทจะออกแบบให้ 125 สาทรแยกออกเป็น 2 อาคาร เพื่อให้มีช่องวิว แดด สายลมผ่านตรงกลางได้ แต่ลูกบ้าน THE MET ยังมีความกังวลใจ ทำให้มีการคัดค้านตั้งแต่ในชั้นการรับฟังความคิดเห็นเพื่อจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) แต่สุดท้าย EIA ก็ผ่านการรับรองแล้วตั้งแต่เดือนสิงหาคมปี 2564

อย่างไรก็ตาม ล่าสุดเจ้าของร่วมโครงการ THE MET ได้รวมตัวแต่งตั้งทนายเพื่อยื่นฟ้องคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านอาคาร การจัดสรรที่ดิน และบริการชุมชน กรุงเทพมหานคร (คชก. กทม.) รวมถึงหน่วยงานรัฐหลายแห่ง โดยยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลางเพื่อให้ตรวจสอบความโปร่งใสในการอนุมัติ EIA

ข้อแย้งของฝั่ง THE MET มองว่า รายงาน EIA ฉบับนี้มีการสำรวจความเห็นชุมชน 400 คนโดยรอบ และมีผู้ตอบแบบสอบถาม 60% ที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการ 125 สาทร แต่รายงานกลับได้รับอนุมัติ ทำให้ยื่นฟ้องกับศาลปกครองกลางเพื่อขอตรวจสอบความโปร่งใส ทั้งนี้ ศาลปกครองกลางได้รับคำฟ้องแล้ว (อ้างอิงที่มา: โพสต์ทูเดย์)

ด้านภัทร์กรตอบคำถามผู้สื่อข่าวถึงประเด็นนี้ว่า บริษัทได้ดำเนินการทำรายงาน EIA ตามขั้นตอน และพยายามออกแบบโครงการให้มีผลกระทบลูกบ้าน THE MET ให้น้อยที่สุด เชื่อมั่นว่าจะสามารถก่อสร้างได้ตามปกติเพราะโครงการทำตามกฎหมาย มีการเว้นระยะห่างระหว่างอาคาร มีทางเข้า-ออกที่เป็นกรรมสิทธิ์

]]>
1388720
สีสันธุรกิจ “มหากิจศิริ” ในยุค ‘เฉลิมชัย’ https://positioningmag.com/1220156 Sun, 17 Mar 2019 08:57:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1220156 ตระกูลมหากิจศิริเข้ามาสร้างสีสันให้กับธุรกิจอีกครั้ง กับการซื้อแฟรนไชส์ทาโก้ เบลล์ ร้านอาหารเม็กซิกัน จากค่ายยัมส์ นับเป็นแฟรนไชส์แบรนด์สอง ต่อเนื่องจากที่เคยซื้อแฟรนไชส์พิซซ่า ฮัท” มาแล้วก่อนหน้านี้ นับเป็นการแตกพอร์ตเข้าส่ธุรกิจอาหารอย่างเต็มตัว หลังจากเคยทำแต่อุตสาหกรรมหนักมาตลอด

ก่อนหน้านี้ตระกูล มหากิจศิริ ติดอันดับความมั่งคั่งลำดับที่ 22 มูลค่าทรัพย์สิน 1.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ จาก 50 อันดับมหาเศรษฐีไทยประจำปี 2018 จัดอันดับโดยฟอร์บส์

ความร่ำรวยของ มหากิจศิริ เกาะกลุ่มกันมากับตระกูล กาญจนพาสน์ เจ้าของบีทีเอส และตระกูล วิจิตรพงศ์พันธุ์ เจ้าของพฤกษา

มหากิจศิริเป็นตระกูลเก่าแก่ที่ดำเนินธุรกิจในไทยมานานกว่า 100 ปี เป็นเจ้าของกิจการเดินเรือขนส่งและโลจิสติกส์ ภายใต้ชื่อ บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ ทีทีเอ

แต่ ภาพจำ ที่ทำให้คนส่วนใหญ่รู้จักตระกูลนี้คือ รับจ้างผลิตให้กับเนสกาแฟ และมีลูกชายคนเดียวที่โด่งดังจากวงการเซเลบที่เข้ามาสานต่อกิจการครอบครัวอย่างเต็มตัวในเวลาต่อมา

ในวัยที่ชีวิตเริ่มต้นที่เลขเฉลิมชัย มหากิจศิริ กับการดูแลพอร์ตธุรกิจแสนล้าน เขาเป็นเจเนอเรชั่นที่ 2 ที่เข้ามาฉีกแนวธุรกิจครอบครัว จาก อุตสาหกรรมหนัก มาสู่ อาหาร ท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านของยุคสมัย กับความเบ่งบานของเทคโนโลยีที่ก่อให้เกิดกระแสไลฟ์สไตล์ท่วมท้น

ทีทีเอเป็นบริษัทโฮลดิ้งคอมปะนีที่เน้นการลงทุนเชิงกลยุทธ์ ปัจจุบันบริษัทขยายกิ่งก้านธุรกิจครอบคลุมใน 9 อุตสาหกรรมหลักคือ ขนส่งทางเรือ พลังงาน โครงสร้างพื้นฐาน อสังหาริมทรัพย์ เกษตร อาหาร บันเทิง สินค้าอุปโภคบริโภค และอีคอมเมิร์ซ โดยถ้าไล่เลียงแบรนด์แต่ละกลุ่มธุรกิจ ไม่มีอะไรเกินธุรกิจอาหาร ที่ลงทุนนำเข้าแบรนด์ดังสารพัดชาติ ยาวเป็นหางว่าว

เฉลิมชัยเคยบอกว่า ธุรกิจอาหารเป็นเรื่องของการบริหารจัดการ เป็นเรื่องของฝีมือล้วนๆ ไม่ได้อิงกับปัจจัยภายนอกมากเท่ากับธุรกิจเดินเรือหรือธุรกิจถ่านหิน การหันมาเน้นของกินมากขึ้นถึงจะยังไม่ได้สร้างรายได้อู้ฟู่เหมือนอุตสาหกรรมหนัก แต่ก็ช่วยลดความเสี่ยงในธุรกิจและสร้างรายได้แน่นอนระยะยาว

หลายขวบปีมานี้เราจึงได้เห็นธุรกิจอาหารนานาชาติสารพัดร้านขนมนมเนยและเครื่องดื่มแบรนด์ดังภายใต้พอร์ตมหากิจศิริเปิดตัวกันเป็นว่าเล่นเกินสิบนิ้วมือ มีแบรนด์อะไรกันบ้างมาดูกัน

  1. Muteki ร้านอาหารญี่ปุ่น
  2. Cinnabon ร้านเบเกอรี่
  3. Pie face ร้านเบเกอรี่ประเภทเค้ก
  4. Ihop ร้านเบเกอรี่ ประเภท แพนเค้ก วาฟเฟิล
  5. ปิแอร์ เฮอร์เม ปารีส ร้านขนมคุกกี้มาการอง
  6. คริสปี้ ครีม ร้านขนมโดนัท
  7. Mugendi ร้านอาหารญี่ปุ่น
  8. Bulgogibrothers ร้านอาหารเกาหลี
  9. Kyushu jangara ร้านอาหารญี่ปุ่น ประเภทราเมน
  10. Jumba juice ร้านเครื่องดื่ม น้ำผักผลไม้
  11. Maison de la truffe ร้านอาหารฝรั่งเศส
  12. Coffee gallery ร้านอาหารและกาแฟ
  13. แฟรนไชส์พิซซ่าฮัท
  14. แฟรนไชส์ทาโกเบลล์ อาหารจานด่วนสไตล์เม็กซิกัน

และดูแนวโน้มว่าเฉลิมชัยคงไม่หยุดเพียงเท่านี้แบบเดียวกับโฆษณาดีแทค สัญญาว่าจะไม่หยุดเพราะถ้าคิดหยุดเมื่อไหร่มีแววได้จอดเมื่อนั้น

โลกมาถึงจุดเปลี่ยนและทีทีเอก็ต้องเปลี่ยนตัวเองเพื่อกอดคอไปกับโลก ต้องยอมรับว่าสไตล์เฉพาะตัวของเฉลิมชัยทำให้ผู้คนสามารถเข้าถึงวิธีคิดของคนรวยได้มากขึ้น เขาเก็บเกี่ยวทุกประสบการณ์ชีวิตและเอามาต่อยอดทันทีเมื่อมีโอกาส

เฉลิมชัยปรากฏตัวครั้งแรกในละครดังค่ายเอ็กแซ็กท์ด้วยเหตุผลที่ว่า ยังไม่อยากอาศัยบารมีพ่อหากิน โลกของความบันเทิงทำให้เขาได้ปลดปล่อยตัวเอง และเมื่อกระแสเกาหลีมาแรงเขาก็เปิดบริษัทจัดคอนเสิร์ตศิลปินดังเกาหลีและคิดอยากมีหนังเป็นของตัวเองเพียงเพราะว่าได้ดูอยู่ทุกวัน

ผมเป็นคนชอบทำอะไรใหม่ๆ คิดอะไรแปลกๆ ที่คนอื่นไม่ค่อยทำกัน

เขาเคยบอกเอาไว้

เฉลิมชัยแจ้งเกิดในฐานะดาราเซเลบแต่เนื้อแท้เขาคือนักธุรกิจโดยสายเลือด จากการปลูกฝังแบบแมนๆ ของผู้เป็นพ่อ ประยุทธ มหากิจศิริ ที่เปิดโอกาสให้คิดเอง ทำเอง ตัดสินใจเอง และกล้าเจ็บเอง ถึงจุดหนึ่งเฉลิมชัยบอกว่า เขาถอดแบบความกล้าได้กล้าเสียมาจากคุณพ่อ และเมื่อรวมเข้ากับความอินดี้ของตัวเอง การเติบโตของทีทีเอในยุคของเฉลิมชัย จึงมีสีสันธุรกิจที่ละลานตาอยู่ไม่น้อย ไม่ต่างอะไรกับขนมมาการอง

เฉลิมชัยเป็นผู้ชายสายกินตัวยง การแตกตัวธุรกิจอาหารราวกับอมีบาก็มาจากที่เขาช่างกินนี่แหละ ถึงแม้ว่าร้านอาหารหลายแห่งของเขาจะแพงหูฉี่แต่เขากลับมีนิสัยติดดินและมีรสนิยมชอบกินข้าวแกงด้วยเหตุผลง่ายๆ ว่า ได้กินหลายอย่าง วันไหนได้ราดกับข้าว 4 อย่าง เป็นได้กินอิ่ม นอนหลับและฝันดี

เขาบอกว่าอาหารริมทางคือวิถีที่คนเราโตกันมาแบบนี้ คนไทยโตมากับข้าวราดแกงและมันเป็นชีวิตจริงตอนเด็กๆ เลิกเรียนมา มีอะไรขายข้างถนนก็กินก่อน เพราะมันจับต้องได้ง่าย

การขยันนำเข้าร้านอาหารแบรนด์ดังที่แข็งแรงและโตเต็มวัยแล้ว ก็เป็นส่วนหนึ่งของสีสันการลงทุนในแบรนด์ที่เข้าถึงง่าย จับต้องได้ และเป็นหน่วยธุรกิจที่จะสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้บริษัทแม่ทีทีเอ.

]]> 1220156 เศรษฐียุค 4.0 ต้องมีธุรกิจร้านอาหารในพอร์ต “มหากิจศิริ” จากเรือเดินทะเลสู่ พิซซ่าฮัท https://positioningmag.com/1176289 Thu, 28 Jun 2018 04:42:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1176289 เพื่อลดความเสี่ยงในธุรกิจเดินเรือดั้งเดิม บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) (ทีทีเอ – TTA) ตระกูลมหากิจศิริ หนึ่งในกลุ่มตระกูลเศรษฐีซึ่งเป็นที่รู้จักของไทย เลือกที่จะเข้ามาลงทุนในธุรกิจอาหาร

ทีทีเอ จึงมาพร้อมแผนการขยายงานและการลงทุนแบรนด์ใหม่อย่างต่อเนื่อง เป็นการยืนยันหนักแน่นอีกรายว่า ธุรกิจร้านอาหารเป็นธุรกิจที่ขาดไม่ได้ในพอร์ตตระกูลเศรษฐี

ยิ่งถ้ามาในรูปแบบแฟรนไชส์ มีแบรนด์ มีสูตรสำเร็จ แค่มีเงินลงทุนและพร้อมขยายสาขา โอกาสเติบโตก็ไม่ใช่เรื่องยาก

เพราะหลังจากที่ตระกูลมหากิจศิริ ในนามบริษัท พีเอชแคปปิตอล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกและถือหุ้นโดย ทีทีเอ เริ่มเข้ามาลงทุนในธุรกิจร้านอาหาร โดยให้ทีทีเอ จัดตั้งบริษัท พีเอชแคปปิตอล จำกัด แล้วถือหุ้น 70% เพื่อเข้าซื้อกิจการพิซซ่าฮัทในประเทศไทย จากบริษัท ยัมเรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2560 ได้สิทธิ์บริหารจัดการกิจการร้านพิซซ่าฮัท ทุกสาขาในประเทศไทยนับตั้งแต่นั้นมาพิซซ่าฮัทก็แทบจะเติบโตติดท็อปในหมวดธุรกิจอาหาร

ถึงขนาดทำให้ผู้บริหารจากตระกูลมหากิจศิริ เลือกช็อปแบรนด์ร้านอาหารแบรนด์ต่อไป อย่าง ทาโก้เบลล์ อาหารสไตล์เม็กซิกัน ซึ่งเจรจารับสิทธิ์ โดยตรงจากยัมส์ฯต่างประเทศ มาเปิดทาโก้เบลล์ปีนี้อย่างน้อย 1 – 2 สาขา คาดว่าลงทุนประมาณ 20 ล้านบาท เข้ามาทำตลาดในไทยต่อเร็ว ๆ นี้

เฉลิมชัย มหากิจศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) บอกว่า เป้าหมายของ ทีทีเอ คือเพิ่มรายได้จากธุรกิจอาหารเป็น 20% ภายในช่วง 2 – 3 ปีนี้ จากปัจจุบันไม่ถึง 10%  โดยนโยบายหลักคือ การซื้อสิทธิ์หรือไลเซ่นส์แบรนด์อาหารต่างๆทั้งในไทยและต่างประเทศ รวมไปถึงการลงทุนร่วมกันกับเจ้าของแบรนด์เดิม โดยที่ไม่เน้นการพัฒนาแบรนด์เองเพราะต้องใช้เวลาในการพัฒนานาน

การขยายธุรกิจอาหารมากขึ้น ต้องการลดความเสี่ยงเพราะธุรกิจหลักที่เป็นเดินเรือ หลายปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ ไม่ว่าจะเป็น ค่าน้ำมัน ค่าระวางเรือ ปริมาณลูกค้า ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีช่วงวงจรขึ้นลงสลับกันไป  ทีทีเอ จะเป็นเหมือนโฮลดิ้งคอมปานีในการลงทุนธุรกิจใหม่ๆที่น่าสนใจต่อเนื่อง

“การซื้อสินทรัพย์ในกิจการพิซซ่าฮัทในประเทศไทยจากยัมฯ ส่งผลให้ทีทีเอ สามารถกระจายความหลากหลายไปสู่ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มซึ่งมีการเติบโตและมีความมั่นคง” อุษณา มหากิจศิริ กรรมการบริษัท พีเอชแคปปิตอล จำกัด เจ้าของแฟรนไชส์พิซซ่าฮัท ประเทศไทย กล่าว

ทิศทางของพิซซ่าฮัทในปีนี้ จะยังคงใช้กลยุทธ์เดิม คือการเพิ่มจำนวนสาขาใหม่ โดยตั้งเป้าเปิดเพิ่มภายในปี 2561 นี้ อีกประมาณ 20 สาขา รวมถึงสิ้นปีนี้ คาดว่าพิซซ่าฮัทจะมีจำนวนสาขาเพิ่มเป็น 128 สาขาทั่วประเทศ

สาขาปัจจุบัน (มิถุนายน 2561) มีสาขาทั้งสิ้น121 สาขา แบ่งเป็น กรุงเทพฯ และปริมณฑล 79 สาขา และต่างจังหวัด 42 สาขา

พร้อมตั้งเป้าภายใน 3 ปี (2560-2563) พิซซ่าฮัทจะมีสาขาเพิ่มเป็น 200 สาขา ซึ่งคาดว่าบริษัทจะต้องใช้งบลงทุนในส่วนนี้รวมประมาณ 1,000 ล้านบาท

วรวรรณ เพียรลิขิตวงศ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท พีเอช แคปปิตอล จำกัด เปิดเผยว่า  ตลาดรวมพิซซ่าปีนี้คาดว่าจะมีมูลค่าตลาดรวม 10,000 ล้านบาท เพิ่มจากปีที่แล้วที่มี 8,000 ล้านบาท  และยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก

เพื่อสร้างการรับรู้ และเข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่มากขึ้น บริษัท จะใช้งบ 500 ล้านบาท รีแบรนด์ดิ้งและปรับกลยุทธ์ของพิซซ่าฮัทในไทย เพื่อให้เป็นไปตามโกลบอล ทยอยปรับโฉมในร้านเก่า ทั้งปรับโลโก้ การสร้างบรรยากาศในร้าน ให้ดูสดใส   ปรับคอนเซ็ปท์เป็นร้านไฟน์นิ่งแคชวล(Fining Casual) จากเดิมเป็นฟูลเซอร์วิส (Full Service)

รวมถึงการเพิ่มเมนูใหม่ให้ถี่ขึ้น ให้น้ำหนักกับการขายผ่าน ออนไลน์และบริการเดลิเวอรี่  เปิดตัวเว็บไซต์ www.pizzahut.co.thโฉมใหม่ เพราะเป้าหมายปลายทางคือการกระตุ้นความถี่ในการบริโภค ซึ่งพิซซ่าฮัทจาก 2 เดือนครั้ง เพิ่มเป็น 3 สัปดาห์ต่อครั้ง.

]]>
1176289
“มหากิจศิริ” ปรับพอร์ต เตรียมเงิน 7 พันล้าน ซื้อธุรกิจเครื่องดื่ม-อาหาร-ขนส่ง https://positioningmag.com/1136628 Thu, 17 Aug 2017 22:55:04 +0000 http://positioningmag.com/?p=1136628 “กึ้ง-เฉลิมชัย มหากิจศิริ” ปรับกลยุทธ์ลงทุน “โทรีเซนไทย” ลดความเสี่ยงธุรกิจเดินเรือ เตรียมเงินสด 7 พันล้าน ทุ่มซื้อกิจการ ธุรกิจเครื่องดื่ม-อาหาร-ขนส่ง รวมทั้ง“สตาร์ทอัป” อีก 300 ล้าน

ธุรกิจอาหาร เครื่องดื่ม ขนส่ง กำลังเป็นเป้าหมายหลักของ “กึ้ง -เฉลิมชัย มหากิจศิริ” กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TTA หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ได้กระโดดเข้าลงทุนธุรกิจอาหาร ด้วยการซื้อไลเซ่นส์ ร้าน “พิซซ่า ฮัท” ทั้งหมดในไทย มาจาก ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

การซื้อสิทธิ์แฟรนไชส์ในครั้งนั้น บริษัทฯ ได้ลงทุนไปประมาณ 300-500 ล้านบาท และได้วางแผนจะขยายสาขาพิซซ่าฮัทเพิ่มให้ได้อีกอย่างน้อย 100 สาขา ภายในปี 2563 และจะเน้นกระจายสาขาใหม่ไปยังต่างจังหวัดให้มากขึ้น

ล่าสุด ยังได้ประกาศปรับยุทธศาสตร์ ปรับพอร์ตลงทุน โดยลดน้ำหนักธุรกิจเดินเรือ หันมาลงทุนธุรกิจอาหาร เครื่องดื่ม ขนส่ง แทนที่ธุรกิจเดินเรือ

“กึ้ง เฉลิมชัย” กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TTA ได้เปิดเผยถึงแผนธุรกิจในครึ่งหลังของปี 2560 ว่า บริษัทคาดการณ์ว่า ผลประกอบการปีนี้จะพลิกกลับมามีกำไรได้ สาเหตุมาจากการที่ค่าระวางเรือได้มีปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดขึ้นมาอยู่ที่ 8,614 เหรียญสหรัฐต่อวัน ทำให้ครึ่งปีแรกบริษัทฯ มีกำไรแล้ว 301.93 ล้านบาท หลังจากที่ก่อนหน้านี้บริษัทฯ ประสบปัญหาขาดทุนต่อเนื่อง 2 ปีติดต่อกัน

แต่ถึงแม้ค่าระวางเรือจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจนปีนี้มีอัตราเพิ่มขึ้นเท่าตัว หลังจากที่ตกต่ำอย่างมากในปีที่แล้ว แต่ก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงเรื่องความผันผวนของค่าระวางเรือและราคาน้ำมัน และราคาการแข่งขันในตลาดโลก

ด้วยเหตุนี้ บริษัทฯ ได้ปรับกลยุทธ์ ปรับพอร์ตการลงทุนใหม่ ลดสัดส่วนรายได้ธุรกิจหลักที่มาจากการเดินเรือ และการให้บริการวิศวกรรมใต้น้ำลงเหลือเพียง 40% จากเดิม 60% และเพิ่มรายได้ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม จากเดิม 15% เป็น 30% ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมการเกษตรและปุ๋ย อยู่ที่ 20% เท่าเดิม และธุรกิจอื่นๆ อีก 15% โดยจะเห็นผลภายในปี 2563

ขณะนี้บริษัทได้มีการเข้าเจรจาเพื่อลงทุนซื้อกิจการอยู่หลายรายการ โดยจะเน้นหนักไปในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มเป็นหลัก ตลอดจนถึงธุรกิจโลจิสติกส์ละที่เกี่ยวกับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เช่น น้ำประปา โรงไฟฟ้า เป็นต้น แต่ยังไม่สามารถสรุปความชัดเจนได้ โดยจะใช้เงินลงทุนจากเงินสดหมุนเวียนในบริษัทฯ ที่มีอยู่ในมือกว่า 7,600 ล้านบาท

ในการลงทุนธุรกิจ จะใช้หลักนโยบายการลงทุน ในทุกธุรกิจจะต้องมีผลตอบแทน (IRR) เป็นตัวเลขอย่างน้อย 2 หลักขึ้นไป

นอกเหนือจากนี้ ยังกันเงินลงทุน 300 ล้านบาท เพื่อลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัป โดยระหว่างนี้อยู่ในช่วงของการศึกษาว่า เทรนด์อุตสาหกรรมไหนในกลุ่มสตาร์ทอัป ที่จะมีโอกาสเติบโต โดยไม่จำกัดประเภทของธุรกิจที่จะเข้าไปลงทุน

ต้องจับตามองกันต่อว่า ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม รายไหนจะเป็นคิวต่อไปที่ถูกหมายตา เพราะแน่ๆ มหากิจศิริ เป็นอีก 1 ในตระกูลที่พร้อมแล้วสำหรับธุรกิจนี้


ที่มา : manager.co.th/ibizchannel/

]]>
1136628
คนรวยหลายหน้า แห่ขายพิซซ่า เสี่ยแฟรงค์ฟู้ดแลนด์ชิมลางครั้งแรก พิซซ่าสไตล์โอปป้า https://positioningmag.com/1118029 Thu, 02 Mar 2017 16:48:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=1118029 ตลาดพิซซ่าไทยหอมหวนจริงๆ หลังจากตระกูลมหากิจศิริเพิ่งได้สิทธิ์ มาสเตอร์แฟรนไชส์พิซซ่า ฮัทจากยัมฯ มาได้หมาดๆ และที่ตามมาติดๆ เป็นคิวของฟู้ดแลนด์ของแฟรงค์ – สมศักดิ์ ตีระพัฒนกุล ที่ไปคว้าเอาแฟรนไชส์มิสเตอร์ พิซซ่า (Mr.Pizza) สัญญาติเกาหลีมาลงขันร่วมเปิดสาขาในไทย

โดยฟู้ดแลนด์ได้จัดตั้งบริษัท มิสเตอร์พิซซ่า (ไทยแลนด์) จำกัด ฟู้ดแลนด์ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ถือหุ้น 75% และทางเกาหลีอีก 25% ด้วยทุนจดทะเบียน 35 ล้านบาท

อธิพล ตีระสงกรานต์ ผู้ช่วยรองประธาน บริษัท ฟู้ดแลนด์ ซุปเปอร์มาร์เก็ต จำกัด ทายาทรุ่นที่ 2 เล่าว่า ทางมิสเตอร์ พิซซ่า มีสาขาในเกาหลีถึง 400 สาขาเมื่อตลาดเริ่มแน่นจึงต้องการขยายออกนอกประเทศและมองว่าประเทศไทยมีโอกาสสูงแม้การแข่งขันจะรุนแรงก็เชื่อว่าด้วยเป็นพิซซ่าสไตล์เกาหลีจะสร้างความแตกต่างจากแบรนด์อื่นได้

จากการประเมินสภาพการแข่งขันตลาดพิซซ่าของไทยเวลานี้ มีมูลค่า 6,000 – 7,000 ล้านบาท ผู้เล่นส่วนใหญ่จะเน้นตลาดแมส และแข่งกันด้วยราคา และยังมีแบรนด์พิซซ่าเฮาส์ทั่วไปที่ไม่มีสาขา เป็นอิตาเลียนโดยเชฟที่ออกมาเปิดเอง จะมีราคาจะสูง ฟู้ดแลนด์จึงวางโพสิชั่นให้มิสเตอร์ พิซซ่าระดับพรีเมียม โดยอยู่กึ่งกลางระหว่างแมสพิซซ่าเฮาส์ จับกลุ่มเป้าหมายระดับบีขึ้นไป ราคาสูงกว่าพิซซ่าแมสราว 30% แต่ขนาดของพิซซ่าจะใหญ่กว่า 1-1.5 นิ้ว และใช้ความเป็นพิซซ่าเกาหลีมาสร้างความแตกต่างจากแบรนด์อื่นที่เป็นพิซซ่าสไตล์อเมริกัน

ตลาดพิซซ่าในไทยมีการแข่งขันสูง การที่เราจะเข้ามาต้องวางจุดยืนที่แตกต่างไปเลยไม่งั้นก็สู้ไม่ได้ มองเห็นโอกาสในกลุ่มพรีเมียมเติบโต และวัฒนธรรมเกาหลียังคงเป็นที่นิยมในไทย จึงใช้ความเป็นเกาหลีเป็นจุดเด่น ที่ร้านก็จะมีเชฟคนเกาหลีที่เป็นโอปป้าของแบรนด์ประจำร้านอยู่ 1 คนทุกสาขา

อธิพล บอกถึงแนวคิด

กลยุทธ์ในช่วงแรกมิสเตอร์พิซซ่า จะใช้โปรโมชั่นมาช่วยสร้างการรับรู้ วางงบการตลาด 2-2.5% ของยอดขาย ด้วยการแจกคูปองส่วนลด 20% สำหรับกลุ่มผู้หญิงในวันจันทร์ เพราะในประเทศเกาหลีผู้หญิงจะนิยมทานพิซซ่ามากกว่า 80% แต่ในประเทศไทยผู้หญิงจะกลัวอ้วน ไม่ค่อยทานเยอะ สัดส่วนการทานน่าจะอยู่ที่ 50% แต่ด้วยความที่ไม่นิยมทานคนเดียว จะต้องชวนเพื่อน มากับแฟน หรือครอบครัว การทำโปรผู้หญิงก็สร้างความแตกต่างในตลาดด้วย

5 ปี 50 สาขา

ในช่วงแรกมิสเตอร์พิซซ่าทานในร้าน ยังไม่มีบริการเดลิเวอรี่จนกว่าจะมีสาขามากเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ของแบรนด์ แต่จะใช้จุดเด่นที่เปิดบริการ 24 ชั่วโมงที่สาขาเดอะ สตรีท รัชดา ทำให้มีรายได้เพิ่มในตอนกลางคืน 30% เมื่อขยายสาขาครอบคลุมทั่วทั้งกรุงเทพฯ แล้วจึงมีแผนทำเดลิเวอรี่

หลังจากทดลองเปิดสาขาสาขาเดอะ สตรีท รัชดา มาตั้งแต่กลางปีที่แล้ว แผนต่อจากนี้ มีการขยายเพิ่มอีก 3 สาขา ได้แก่ เทอมินัล 21 โคราช, เดอะ พรอมานาด และซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์ ตั้งเป้าสิ้นปีเปิดให้ครบ 5 สาขา

ภายใน 5 ปีตั้งเป้าขยายให้ครบ 50 สาขา ใช้งบลงทุนเฉลี่ย 12-15 ล้านบาท/สาขา มี 2 รูปแบบ 40% เป็นร้านแบบฟูลเซอร์วิส นั่งทานในร้าน ใช้เนื้อที่ 180-200 ตารางเมตร และ 60% เป็นรูปแบบคีออส เนื้อที่ราว 15-20 ตารางเมตร

ทำเลที่จะไปเน้นไปกับศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ จะไม่เน้นปิดไปพร้อมกับฟู้ดแลนด์ เพราะทราฟิกของฟู้ดแลนด์เฉลี่ย 2,000 คน/สาขาเท่านั้น เมื่อเทียบกับในห้างอื่นๆ ทราฟิกเป็นหมื่น เป็นแสน และกลุ่มลูกค้าของฟู้ดแลนด์จะค่อนข้างมีอายุ อาจจะไม่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของมิสเตอร์ พิซซ่าที่อายุ 20-35 ปี ถ้าจะเปิดสนใจเป็นคีออสที่ซื้อกลับบ้านมากกว่า

เตรียมเปิดบริษัทกลางดูแลธุรกิจอาหาร

นอกจากมิสเตอร์ พิซซ่าที่เข้ามาเติมพอร์ตร้านอาหารของฟู้ดแลนด์แล้ว ยังมีธุรกิจร้านอาหารในเครืออย่างถูกและดี และทิม โฮ วัน ร้านติ่มซำจากฮ่องกง ได้ซื้อแฟรนไชส์มาเปิดที่ไทยได้ 2 ปีแล้ว และในปีนี้เตรียมนำเข้าอีก 2 แบรนด์ ระดับมิชลินสตาร์ ร้านราเมน Thuta และฮอคเกอร์แชน

ฟู้ดแลนด์เตรียมเปิดบริษัทใหม่เป็นบริษัทกลางที่จะลงทุนและบริหารธุรกิจร้านอาหารโดยเฉพาะที่เป็นแบรนด์นำเข้า จะดูแลในการเช่าที่หรือบริหารครัวกลางทำให้การจัดการง่ายขึ้น

ครัวกลางของมิสเตอร์ พิซซ่าได้เช่าครัวกลางของโกดิล็อกซ์ เบคช้อปอยู่ที่ถนนบางนาตราด เป็นบริษัทเบเกอรี่ที่ทำแป้งอยู่แล้ว ในอนาคตถ้ามีการขยายสาขามากขึ้นอาจจะทำการเทกโอเวอร์บริษัทนี้แล้วลงทุนทำครัวกลาง

การที่ฟู้ดแลนด์มาลุยร้านอาหารมากขึ้น นอกจากเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกันแล้ว และร้านอาหารมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ร้านอาหารเป็นเหมือนโชว์เคสในการบอกถึงคุณภาพของวัตถุดิบที่ใช้ในร้านมาจากฟู้ดแลนด์ ในร้านถูกและดีใช้วัตถุดิบจากฟู้ดแลนด์ 99% ส่วนมิสเตอร์ พิซซ่าใช้วัตถุดิบจากฟู้ดแลนด์ 90%

]]>
1118029
ยัมฯ ตัดขายแฟรนไชส์ “พิซซ่าฮัท” ให้ “ตระกูลมหากิจศิริ” https://positioningmag.com/1117900 Wed, 01 Mar 2017 11:35:45 +0000 http://positioningmag.com/?p=1117900 พิซซ่า ฮัท ได้เวลาเปลี่ยนมืออีกครั้ง เมื่อบริษัทยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล บรรลุข้อตกลงในการแต่งตั้ง บริษัท พีเอช แคปปิตอล จำกัด (PHCapital) เป็นแฟรนไชส์ซีผู้ให้บริการร้านพิซซ่า ฮัท ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ มีอายุสัญญา 20 ปี

พีเอช แคปปิตอล นั้นเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท พีเอ็ม แคปปิตอล จำกัด ด้วยสัดส่วน 70% และ 30% ทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 60 ล้านบาท ซึ่งทั้ง 2 บริษัทอยู่ภายใต้การบริหารและการลงทุนของตระกูลมหากิจศิริ ซึ่งมี อุษณา มหากิจศิริ ลูกสาวคนสุดท้องของตระกูล เป็นผู้ดูแล

พีเอช แคปปิตอล จะเริ่มเข้าบริหารร้านพิซซ่า ฮัท ภายใต้การดูแลของยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 92 สาขาทั่วประเทศ ภายในไตรมาสที่ 2 ของ ปี 2560

ตามข้อตกลง พีเอช แคปปิตอล ได้เข้าซื้อทรัพย์สินทั้งหมดของพิซซ่าฮัท จากยัมฯ ซึ่งประกอบไปด้วย สาขาพิซซ่าฮัท 92 สาขา รวมทั้งทีมผู้พนักงาน 100 คน และพนักงานสาขาอีก 5,000 – 6,000 คนของยัมฯ จะโอนย้ายมาอยู่ในบริษัทพีเอช แคปปิตอล และต้องจ่ายค่าแฟรนไชส์ก้อนแรก จากนั้นในแต่ละปีจะต้องจ่ายส่วนแบ่งจากรายได้เป็นค่าแฟรนไชส์เป็นประจำทุกปี

ตามข้อตกลง นอกจากพีเอช แคปปิตอล จะทยอยรีโนเวตสาขาเดิมทุกแห่งให้ทันสมัยขึ้นแล้ว ยังเตรียมสาขาเพิ่ม 100 แห่งภายใน 4 ปี เพื่อเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะในต่างจังหวัด เพราะสาขาพิซซ่า ฮัท 80 – 90% จะอยู่ที่กรุงเทพฯ เป็นหลัก

ทั้งนี้ รูปแบบสาขาของพิซซ่า ฮัท จะถูกปรับเปลี่ยนใหม่ จากเดิมที่เป็นรูปแบบ “ไดน์นิ่ง” แบบ FULL SERVICE มีพนักงานมารับออเดอร์และเสิร์ฟ มาอยู่ในรูปแบบใหม่ ที่เรียกว่า แคทช่วล เซอร์วิส เน้นความรวดเร็วมากขึ้น โดยจะมีทั้งบริการส่งถึงบ้าน และทานในร้าน

ตระกูลได้มองหาโอกาสการลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ ซึ่งธุรกิจอาหาร เป็นหนึ่งในธุรกิจที่เราให้ความสำคัญ พิซซ่า ฮัทเอง เป็นแบรนด์ยอดนิยมติดอันดับโลก มีสาขาแล้วเกือบ 100 สาขา เราไม่ต้องมานับหนึ่งใหม่ ตลาดพิซซ่ารวมเวลานี้ 5,000 – 6,000 ล้านบาท โอกาสขยายของธุรกิจพิซซ่ายังมีอีกมาก โดยเฉพาะลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ เช่นในต่างจังหวัดอีกมาก

อุษณา มหากิจศิริ กรรมการ บริษัท พีเอช แคปปิตอล จำกัด บอกถึงสาเหตุของการลงทุน

ในขณะที่ ยัม เรสเทอรองตส์ จะให้การสนับสนุนในเรื่องการสร้างแบรนด์ และโนว์ฮาวใหม่ๆ ที่จะนำมาใช้ในธุรกิจ

“การที่ยัมฯ เปลี่ยนมาอยู่ในรูปแบบแฟรนไชส์ จะช่วยให้การขยายสาขาได้เร็วยิ่งขึ้นกว่าที่ยัมฯ ลงทุนเอง เพราะต่อให้เรามีสินค้าดีแค่ไหน แต่ถ้าลูกค้าเข้าถึงไม่ได้ โอกาสในการขายก็ไม่มี ซึ่งทางพีเอช แคปปิตอล มีทั้งเงินทุน และประสบการณ์ รวมทั้งแนวคิดในการทำธุรกิจที่จะช่วยให้การขยายสาขาพิซซ่าฮัทในไทย” วรวรรณ เพียรลิขิตวงศ์ ผู้จัดการทั่วไป พิซซ่า ฮัท บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว

จะว่าไปแล้ว การหวนกลับมาใช้ระบบขายแฟรนไชส์ของยัมฯ ไม่ใช่ครั้งแรก เพราะในอดีตช่วงที่เข้ามาทำตลาดในไทยใหม่ๆ เมื่อครั้งแรก 30 กว่าปีที่แล้ว ยัมฯ ก็เคยขายแฟรนไชส์พิซซ่า ฮัท ให้กับกลุ่มไมเนอร์เป็นผู้ลงทุน และต่อมาในปี 2543 ยัมฯ ได้ยกเลิกแฟรนไชส์หันมาลงทุนเอง ทำให้กลุ่มไมเนอร์จึงหันมาเปิดแบรนด์ เดอะพิซซ่า และได้กลายเป็นคู่แข่งคนสำคัญของพิซซ่า ฮัท ที่ครองอันดับ 1 ในตลาด

การหวนกลับมาใช้ระบบขายแฟรนไชส์ เป็นนโยบายในการดำเนินธุรกิจของยัมฯ เพราะไม่ใช่แค่พิซซ่า ฮัทเท่านั้น ก่อนหน้านี้ ยัมฯได้ประกาศขายแฟรนไชส์กิจการ “เคเอฟซี” ที่เหลืออยู่ 224 สาขาที่เหลือ ให้กับผู้กับผู้สนใจลงทุนเพื่อผันบทบาทสู่การเป็นผู้สนับสนุนแฟรนไชส์ 100% ตามนโยบายบริษัทแม่

พีเอช แคปปิตอล เดินเกมธุรกิจอาหาร

นอกจากจะมีธุรกิจเดินเรือ ปุ๋ย ขนส่ง ซึ่งเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ของตระกูลมหากิจศิริแล้ว ช่วงหลังยังได้หันมาสนใจลงทุนธุรกิจอาหารเพิ่มขึ้น จากเดิมทีมีเนสท์เล่ ที่เป็นพันธมิตรมากว่า 40 ปี ยังได้นำแบรนด์ ร้านอาหารจากต่างประเทศมาเปิดสาขาในไทย เช่น มาการอง Pierre Hermé (ปิแอร์ แอร์เม่) และ Maison de la Truffe (เมซอง เดอ ลา ทรูฟ) จากฝรั่งเศส และ ร้านโดนัท Krispy Kreme ล่าสุดคือ การซื้อแฟรนไชส์ พิซซ่า ฮัท ที่ถือเป็นการลงทุนในธุรกิจอาหารครั้งใหญ่ของตระกูล และในปีนี้ ยังมีการขยายแบรนด์ร้านอาหารใหม่เข้ามาเพิ่มด้วย

“ธุรกิจอาหารเป็นธุรกิจที่มีอนาคต และทำไปได้เรื่อย ไม่ต้องโดน disrupt เหมือนกับหลายๆ อุตสาหกรรมที่ต้องเผชิญอยู่ในเวลานี้” อุษณา กล่าว

]]>
1117900