ตระกูลเจียรวนนท์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 09 Jul 2021 01:23:32 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “ตระกูลเจียรวนนท์” รวยสุดในไทยปี 64 มีทรัพย์สินเพิ่มเฉียด “แสนล้านบาท” https://positioningmag.com/1341441 Thu, 08 Jul 2021 14:53:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1341441 ฟอร์บส์จัดอันดับอภิมหาเศรษฐีไทย ชู “พี่น้องเจียรวนนท์” รวยสุดในไทยปี 64 และมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น 2.9 พันล้านดอลลาร์ เป็น 3.02 หมื่นล้านดอลลาร์

ฟอร์บส์ เอเชีย เผยรายงานจัดอันดับ 50 อภิมหาเศรษฐีไทยปี 2564 ชู “พี่น้องเจียรวนนท์” รวยสุดในไทย มีมูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้น 2.9 พันล้านดอลลาร์ เป็น 3.02 หมื่นล้านดอลลาร์ ตามมาด้วยอันดับ 2 คือเจ้าของแบรนด์เครื่องดื่มชูกำลัง “กระทิงแดง” และอันดับ 3 “เจริญ สิริวัฒนภักดี” มูลค่าทรัพย์สิน 1.27 หมื่นล้านดอลลาร์

นิตยสารฟอร์บส์ ดอทคอม เผยการจัดอันดับ 50 อภิมหาเศรษฐีไทย ประจำปี 2564 โดยในกลุ่มท็อป 10 จัดให้พี่น้องตระกูลเจียรวนนท์ แห่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ อยู่อันดับ 1 มีมูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้น 2.9 พันล้านดอลลาร์ เป็น 3.02 หมื่นล้านดอลลาร์

ตามมาด้วย เฉลิม อยู่วิทยา ซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์เครื่องดื่มชูกำลังระดับโลกอย่างกระทิงแดง ร่วมกับตระกูลของเขา โดยเป็นผู้ที่มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมากที่สุดในปีนี้ รวมมูลค่าสุทธิ 2.45 หมื่นล้านดอลลาร์

อันดับ 3 เจริญ สิริวัฒนภักดี มูลค่าทรัพย์สิน 1.27 หมื่นล้านดอลลาร์

อันดับ 4 ตระกูลจิราธิวัฒน์ มูลค่าทรัพย์สินอยู่ที่ 1.16 หมื่นล้านดอลลาร์

อันดับ 5 สารัชถ์ รัตนาวะดี มหาเศรษฐีด้านพลังงาน เป็นอีกหนึ่งรายที่มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นเกือบ 1 ใน 3 เป็น 8.9 พันล้านดอลลาร์ ล่าสุดในเดือน เม.ย.ได้นำบริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นคำเสนอซื้อหุ้นบริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ที่ราคา 1.7 หมื่นล้านดอลลาร์

อันดับ 6 ตระกูลโอสถานุเคราะห์ มูลค่าทรัพย์สิน 3.5 พันล้านดอลลาร์ อันดับ 7 สมโภชน์ อาหุนัย มูลค่าทรัพย์สิน 3.3 พันล้านดอลลาร์

อันดับ 8 ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ มูลค่าทรัพย์สิน 3.25 พันล้านดอลลาร์

อันดับ 9 ประจักษ์ ตั้งคารวคุณ มูลค่าทรัพย์สิน 3.2 พันล้านดอลลาร์

อันดับ 10 ชูชาติ เพ็ชรอำไพ และดาวนภา เพชรอำไพ มูลค่าทรัพย์สิน 3 พันล้านดอลลาร์

Source

]]>
1341441
CP รวยกว่า Samsung! “เจียรวนนท์” ขึ้นแท่น Top 3 ตระกูลรวยที่สุดในเอเชีย https://positioningmag.com/1308773 Wed, 02 Dec 2020 14:55:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1308773 บลูมเบิร์กเปิดทำเนียบ Top 20 ตระกูลรวยที่สุดในเอเชีย แชมป์อันดับ 1 เป็นของตระกูลอัมบานี เจ้าของบริษัทน้ำมัน บริษัทโทรคมนาคม และบริษัทค้าปลีกยักษ์ใหญ่ในอินเดีย ความน่าตื่นเต้นของตารางปีนี้อยู่ที่เจียรวนนท์จากประเทศไทยสามารถครองเก้าอี้อันดับ 3 ได้สำเร็จ แซงหน้าตระกูลลี เจ้าของซัมซุงจากเกาหลีใต้ไปได้แบบชัดเจน

นอกจากเจียรวนนท์ ตระกูลเศรษฐีของไทยอย่างอยู่วิทยาและจิราธิวัตน์ก็ติดโผในตารางเช่นกัน โดยเจ้าพ่อทีซีพีกรุ๊ปนั่งเก้าอี้อันดับ 6 ขณะที่ครอบครัวเซ็นทรัลกรุ๊ปรั้งอันดับที่ 20 ในทำเนียบตระกูลที่ร่ำรวยที่สุดในเอเชีย

ในภาพรวม ครอบครัวมหาเศรษฐีเอเชียทั้ง 20 ตระกูลสามารถครองความมั่งคั่งรวมกว่า 4.63 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 13 ล้านล้านบาท แถมตระกูลที่รวยที่สุดยังมีความมั่งคั่งมากขึ้นไปอีก เทียบแล้วมีทรัพย์สินมูลค่ามากเป็น 2 เท่าของตระกูลอันดับ 2 และหากเทียบกับตระกูลอันดับ 5 แชมป์จะมีความรวยมากกว่า 3 เท่าตัวเลยทีเดียว

รวยแล้วยิ่งรวยอีก

อันดับ 1 ที่สำนักข่าวบลูมเบิร์กยกย่องว่าเป็นตระกูลที่ร่ำรวยที่สุดคือตระกูลอัมบานี ของอินเดีย มูลค่าทรัพย์สินคือ 7.6 หมื่นล้านดอลลาร์ ตามประวัติธีรุไภย อัมบานีเคยอพยพจากอินเดียไปทำงานเป็นเสมียนตั้งแต่อายุ 17 ปี ก่อนจะกลับมาเริ่มตั้งบริษัท Reliance Retail ใน .. 2500

45 ปีผ่านไป ธีรุไภยเสียชีวิตโดยไม่มีพินัยกรรม ลูกชายคือมูเกซได้ควบคุมกิจการของตระกูลทั้งโรงกลั่นน้ำมันขนาดใหญ่สุดของโลก บริษัทโทรคมนาคมที่มีสมาชิกรายเดือนกว่า 307 ล้านคน คิดเป็น 23% ของประชากรประเทศอินเดีย และบริษัทค้าปลีกรายใหญ่ที่สุดในอินเดียด้วยจำนวนสาขาไม่น้อยกว่า 10,901 แห่งใน 6,700 เมืองทั่วประเทศ เกร็ดน่ารู้ของตระกูลคือศิลปินดัง Beyonce และ Chris Martin แห่งวง Coldplay เคยร่วมแสดงในงานแต่งงานของสมาชิกหลายคนในครอบครัวอัมบานี

ตระกูลที่ร่ำรวยเป็นอันดับ 2 คือตระกูลกว็อก แห่งฮ่องกง เจ้าของ Sun Hung Kai Properties มูลค่าทรัยพ์สิน 3.3 หมื่นล้านดอลลาร์ บลูมเบิร์กเล่าว่ากว็อกตักเส็งจดทะเบียนบริษัทใน พ.. 2515 จนวันนี้บริษัทเติบโตเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่สุดของฮ่องกง ล่าสุด Thomas Kwok เพิ่งกลับมาเข้าร่วมธุรกิจของครอบครัวในปีนี้ หลังจากพ้นโทษจำคุกในข้อหาติดสินบน

อันดับ 3 คือตระกูลเจียรวนนท์แห่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ สถิติความมั่งคั่ง 3.17 หมื่นล้านดอลลาร์ ทุกอย่างเริ่มจากเจีย เอ็กชอคุณพ่อของธนินท์ เจียรวนนท์ได้อพยพจากภาคใต้ของจีนมาตั้งต้นชีวิตใหม่ในประเทศไทย จนกระทั่งเริ่มธุรกิจค้าขายเมล็ดพันธุ์พืชกับพี่ชายใน .. 2464 ผ่านไปหลายสิบปีกิจการขยายออกไปทั้งการค้าปลีก อาหาร และโทรคมนาคม ประเด็นน่าสนใจของบริษัทในปีนี้คือแผนขยายไปตั้งฟาร์มกุ้งที่สหรัฐฯ

ซัมซุงนั่งที่ 5

อันดับ 4 คือตระกูลฮาร์โตโนของอินโดนีเซีย สถิติความมั่งคั่งคือ 3.13 หมื่นล้านดอลลาร์ ตระกูลนี้ร่ำรวยจากธุรกิจบุหรี่ Djarum ซึ่งเป็นรายใหญ่ที่สุดในประเทศ และการขยายไปสู่ธุรกิจธนาคาร Bank Central Asia ขณะที่อันดับ 5 คือตระกูลลีแห่งเกาหลีใต้ เจ้าของ Samsung ซึ่งมีทรัพย์สินรวม 2.66 หมื่นล้านดอลลาร์ จุดเริ่มต้นของความร่ำรวยมาจากลี บยองชอลที่เริ่มต้นกิจการ Samsung ในรูปของบริษัทส่งออกสินค้า ผัก และปลาใน พ.. 2481 จากนั้นจึงมีการขยายเข้าสู่ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ด้วยการตั้งบริษัท Samsung Electronics ใน พ.. 2512 จนกลายเป็นผู้ผลิตสมาร์ทโฟนและชิพความจำรายใหญ่สุดของโลก

สำหรับตระกูลอยู่วิทยานั่งอันดับ 6 ของตาราง เจ้าของทีซีพีกรุ๊ปถูกระบุว่ามีทรัพย์สินมูลค่า 2.42 หมื่นล้านดอลลาร์ หลังจากที่เฉลียว อยู่วิทยาก่อตั้งบริษัทยา T.C. Pharmaceutical เมื่อ .. 2499 บริษัทได้ขยายกิจการไปสู่สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าเด่นคือเครื่องดื่มบำรุงกำลังกระทิงแดงรวมถึงอีกหลายแบรนด์ที่อยู่ภายใต้ทีซีพีกรุ๊ป

ภาพ : centralretail

ส่วนตระกูลจิราธิวัฒน์ครอบครัวธุรกิจเซ็นทรัลกรุ๊ปถูกจัดเป็นอันดับที่ 20 สถิติความมั่งคั่ง 1.29 หมื่นล้านดอลลาร์ วันนี้หนึ่งในกลุ่มบริษัทใหญ่ที่สุดของไทยมีบริษัทลูกกว่า 50 บริษัท ความมั่งคั่งของตระกูลไม่ได้รับผลกระทบใดจากวิกฤตที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ถูกวางเพลิงเมื่อ 10 ปีที่แล้วในระหว่างการชุมนุมต่อต้านรัฐบาล

ผู้สนใจสามารถติดตามตาราง 20 อันดับตระกูลร่ำรวยที่สุดในเอเชียได้เพิ่มเติมจากที่มา.


ที่มาhttps://www.bloomberg.com/features/2020-asia-richest-families/

]]>
1308773
ทำเนียบ 10 อันดับ “มหาเศรษฐีไทย” ประจำปี 2563 จัดอันดับโดย Forbes https://positioningmag.com/1271504 Fri, 03 Apr 2020 05:32:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1271504 Forbes เปิดโผ “มหาเศรษฐี” ที่รวยที่สุด 10 อันดับแรกของไทยประจำปี 2563 พร้อมบทวิเคราะห์ภาพรวมความมั่งคั่งของเศรษฐีไทยปีนี้ มีเศรษฐี 38 คนจาก 50 คนที่ได้รับผลกระทบจากไวรัส COVID-19 และทำให้มูลค่าทรัพย์สินสุทธิลดลง

10 อันดับ “มหาเศรษฐี” ไทย ปี 2563 โดย Forbes

อันดับ 1 พี่น้องเจียรวนนท์ (อันดับคงที่)
แหล่งที่มา: เครือเจริญโภคภัณฑ์
มูลค่าทรัพย์สิน: 2.73 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (มูลค่าทรัพย์สินลดลง)

อันดับ 2 เฉลิม อยู่วิทยา (ขึ้นจากอันดับ 3)
แหล่งที่มา: กระทิงแดง
มูลค่าทรัพย์สิน: 2.02 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (มูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้น)

อันดับ 3 เจริญ สิริวัฒนภักดี (ขึ้นจากอันดับ 4)
แหล่งที่มา: ไทยเบฟเวอเรจ
มูลค่าทรัพย์สิน: 1.05 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (มูลค่าทรัพย์สินลดลง)

อันดับ 4 ตระกูลจิราธิวัฒน์ (ลงจากอันดับ 2) 
แหล่งที่มา: กลุ่มเซ็นทรัล
มูลค่าทรัพย์สิน: 9.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ (มูลค่าทรัพย์สินลดลง)

อันดับ 5 สารัชถ์ รัตนาวะดี (อันดับคงที่)
แหล่งที่มา: กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์
มูลค่าทรัพย์สิน: 6.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ (มูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้น)

อันดับ 6 อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา (อันดับคงที่)
แหล่งที่มา: คิง เพาเวอร์
มูลค่าทรัพย์สิน: 3.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ (มูลค่าทรัพย์สินลดลง)

อันดับ 7 ประจักษ์ ตั้งคารวคุณ (ขึ้นจากอันดับ 15)
แหล่งที่มา: TOA
มูลค่าทรัพย์สิน: 3.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ (มูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้น)

อันดับ 8 ตระกูลโอสถานุเคราะห์ (อันดับคงที่)
แหล่งที่มา: โอสถสภา
มูลค่าทรัพย์สิน: 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ (มูลค่าทรัพย์สินคงที่)

อันดับ 9 วานิช ไชยวรรณ (อันดับคงที่)
แหล่งที่มา: ไทยประกันชีวิต
มูลค่าทรัพย์สิน: 2.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ (มูลค่าทรัพย์สินลดลง)

อันดับ 10 ชูชาติ เพ็ชรอำไพ-ดาวนภา เพชรอำไพ (ขึ้นจากอันดับ 11)
แหล่งที่มา: เมืองไทย ลิสซิ่ง
มูลค่าทรัพย์สิน: 2.65 พันล้านเหรียญสหรัฐ (มูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้น)

ทั้งนี้ มีเศรษฐีสองรายที่หลุดจาก 10 อันดับแรกไปในปีนี้คือ “นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ” มูลค่าทรัพย์สินลดลงเหลือ 2.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้อยู่ในอันดับ 11 และ “สมโภชน์ อาหุนัย” มูลค่าทรัพย์สินลดลงเหลือ 1.75 พันล้านเหรียญสหรัฐ อยู่ในอันดับ 18

 

เศรษฐีทรัพย์สินหดระนาวหลังตลาดหุ้นร่วง

ปี 2563 นี้ บุคคลร่ำรวยที่สุด 50 อันดับของไทยมีทรัพย์สินรวมกันลดลงถึง 2.8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นการลดลงถึงร้อยละ 18 เหลือเพียง 1.32 แสนล้านเหรียญ

สาเหจุเกิดจากเศรษฐกิจไทยที่พึ่งพาการส่งออกและการท่องเที่ยว ชะลอตัวจากสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ ตั้งแต่ปีก่อน เมื่อเผชิญโรคระบาดไวรัส COVID-19 ทำให้ปัญหาหนักหนาขึ้นอีก และเป็นปัจจัยลบส่งให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยทรุดหนัก ลดลงไปแล้วเกือบ 1 ใน 3 เทียบกับเดือนเมษายน 2562 มหาเศรษฐี 38 คนจาก 50 คนแรกจึงมีทรัพย์สินสุทธิลดลง โดยในจำนวนนี้มี 6 คนที่ความมั่งคั่งลดลงกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

ด้านความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในหมู่เศรษฐีไทย พี่น้องตระกูลเจียรวนนท์ แห่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ ยังครองตำแหน่งอันดับหนึ่ง แม้ว่าทรัพย์สินของพวกเขาจะลดลง 2.2 พันล้านเหรียญ ไปอยู่ที่ 2.73 หมื่นล้านเหรียญ และเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ได้เข้าซื้อกิจการของเทสโก้ในไทยและมาเลเซียมูลค่า 1.06 หมื่นล้านเหรียญได้สำเร็จ

กลุ่ม CP เข้าซื้อกิจการเทสโก้ในไทยและมาเลเซียเป็นผลสำเร็จ (อ่านรายละเอียดที่นี่)

เฉลิม อยู่วิทยา เจ้าของแบรนด์เครื่องดื่มชูกำลัง Red Bull ร่วมกับตระกูลของเขา มาในอันดับที่ 2 เขาเป็นหนึ่งในแปดผู้มีรายชื่อในทำเนียบที่มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นสวนทางเศรษฐกิจ โดยมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 1.99 หมื่นล้านเหรียญเมื่อปีก่อน เป็น 2.02 หมื่นล้านเหรียญในปีนี้

เจริญ สิริวัฒนภักดี จากเครือไทยเบฟเวอเรจ ขยับขึ้นมาในอันดับที่ 3 ด้วยทรัพย์สิน 1.05 หมื่นล้านเหรียญ อย่างไรก็ดี ทรัพย์สินสุทธิของเขาลดลงจาก 1.62 หมื่นล้านเหรียญในปีที่ผ่านมา

ตระกูลจิราธิวัฒน์ หล่นจากอันดับ 2 มาอยู่ในอันดับ 4 ในปีนี้ ด้วยความมั่งคั่งที่ลดลงกว่าครึ่งไปอยู่ที่ 9.5 พันล้านเหรียญ พวกเขาเพิ่งนำบริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยนับเป็นการเสนอขายหุ้นไอพีโอครั้งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย แต่ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวและนักช้อปที่ลดลงอย่างมาก ทำให้ราคาหุ้นของเซ็นทรัล รีเทล ต่ำกว่าราคาไอพีโอถึงร้อยละ 27 โดยตกลงต่อเนื่องตั้งแต่เข้าการซื้อขาย

ทศ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร เซ็นทรัล รีเทล

ผู้ที่มีทรัพย์สินลดฮวบอีกคนคือ อาลก โลเฮีย (อันดับ 26) มหาเศรษฐีชาวอินเดียโดยกำเนิด เจ้าพ่อธุรกิจปิโตรเคมีผู้ที่ง่วนอยู่กับการเข้าซื้อกิจการมากมาย ทรัพย์สินสุทธิของเขาลดลงจาก 2.52 พันล้านเหรียญในปีที่แล้ว มาอยู่ที่ 1.09 พันล้านเหรียญ เมื่อราคาหุ้นบริษัทอินโดรามา เวนเจอร์ส ของเขาดิ่งลงถึงร้อยละ 57  ในช่วง 11 เดือนผ่านมา

 

นักธุรกิจภาคพลังงานไทยยังแข็งแกร่ง

แม้ว่าราคาพลังงานทั่วโลกจะประสบภาวะตกต่ำครั้งรุนแรง มหาเศรษฐีจากวงการพลังงานของไทย 3 ใน 4 คนกลับมีทรัพย์สินงอกเงย ทั้งนี้เป็นผลจากการที่พวกเขาพุ่งความสนใจไปที่ก๊าซธรรมชาติและพลังงานทดแทน

ในจำนวนนี้ มีสารัชถ์ รัตนาวะดี ผู้ที่ทำเงินเพิ่มขึ้นมากที่สุด ด้วยทรัพย์สินสุทธิ 6.8 พันล้านเหรียญพุ่งขึ้น 1.6 พันล้านเหรียญ ขณะที่บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ ของเขาเปิดโรงพลังงานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงเพิ่มเติม ตลอดจนเข้าดำเนินการโครงการใหม่ ๆ อาทิ ท่าเรือและถนน

ฮาราลด์ ลิงค์ (อันดับที่ 12 ทรัพย์สิน 2.3 พันล้านเหรียญ) หัวเรือใหญ่รุ่นที่สามของบี.กริม มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 ขณะที่บี.กริม เพาเวอร์เพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าอีกร้อยละ 40 และกำไรของบริษัทกระโดดขึ้นร้อยละ 34 ในปีที่ผ่านมา

ภาคพลังงานที่คึกคักได้พา วิระชัย ทรงเมตตา (อันดับ 40 ทรัพย์สิน 585 ล้านเหรียญ) เข้าทำเนียบเศรษฐีเป็นครั้งแรกหลังจาก บริษัท แอ๊บโซลูท คลีน เอ็นเนอร์จี้ ผู้ผลิตพลังไฟฟ้าชีวมวล ซึ่งเป็นธุรกิจของครอบครัว เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว

นายแพทย์กำพล พลัสสินทร์ (อันดับ 38 ทรัพย์สิน 610 ล้านเหรียญ) ผู้ก่อตั้งเครือโรงพยาบาลจุฬารัตน์ ที่เป็นบริษัทมหาชน กลับเข้าสู่ทำเนียบหลังจากห่างหายไปสามปี อันเป็นผลจากการที่บริษัทเปิดโรงพยาบาลใหม่อีกสองแห่ง ช่วยหนุนราคาหุ้นบริษัทให้ทะยานขึ้น

ปีนี้ Forbes กำหนดทรัพย์สินสุทธิขั้นต่ำสำหรับผู้ที่จะมีรายชื่ออยู่ในทำเนียบที่ 460 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจาก 565 ล้านเหรียญ ในปี 2019

 

]]>
1271504
50 อภิมหาเศรษฐีไทย ปี 2562 รวยสะดุด 4 อันดับแรกทรัพย์สินลด เจียรวนนท์ รั้งแชมป์รวยสุด 9.41 แสนล้าน https://positioningmag.com/1228954 Thu, 09 May 2019 03:56:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1228954 จากการเปิดเผย นิตยสาร Forbes ประเทศไทย ได้จัดอันดับ 50 มหาเศรษฐีไทย ที่ร่ำรวยที่สุด ประจำปี 2562 โดยพบว่า หลังจากผ่านความมั่งคั่งในปีที่ผ่าน กลุ่มบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดของไทยเผชิญจุดสะดุดในปี 2562 เนื่องจากครึ่งหนึ่งของผู้ที่ติดทำเนียบ 50 บุคคลร่ำรวยที่สุดในประเทศไทยมีทรัพย์สินลดลง รวมถึงมหาเศรษฐี 4 อันดับแรก

รวมความไม่แน่นอนก่อนการเลือกตั้งเดือนมีนาคมของไทย มีส่วนบั่นทอนบรรยากาศความเชื่อมั่น ฉุดค่าเงินบาท และดึงดัชนีตลาดหุ้นไทยร่วงลง 7% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิโดยรวมของมหาเศรษฐีในทำเนียบปรับตัวลงเล็กน้อยไปอยู่ที่ 1.605 แสนล้านเหรียญ (ประมาณ 5.14 ล้านล้านบาท) จากเมื่อปีที่แล้วที่ 1.62 แสนล้านเหรียญ

พี่น้องตระกูลเจียรวนนท์ แห่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ยังคงครองแชมป์  ด้วยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 2.95 หมื่นล้านเหรียญ (9.41 แสนล้านบาท) ลดลงเล็กน้อยจาก 3 หมื่นล้านเหรียญเมื่อปีที่แล้ว

หลังดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จากัด (มหาชน) (ซีพีเอฟ) มานาน 25 ปี ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสแห่งซีพี ประกาศลงจากตำแหน่งซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทเรือธงของกลุ่มเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา แต่ธนินท์ยังคงนั่งเก้าอี้ประธานกรรมการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินการเครือข่ายร้าน 7-Eleven ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

อันดับ 2 เป็นของ ตระกูลจิราธิวัฒน์ แห่งกลุ่มเซ็นทรัล ที่มีทรัพย์สินสุทธิ 2.1 หมื่นล้านเหรียญ (6.70 แสนล้านบาท) แทบไม่เปลี่ยนแปลงจากปีที่แล้วที่ 2.12 หมื่นล้านเหรียญ

ด้าน เฉลิม อยู่วิทยา แห่งกระทิงแดงยังคงอยู่ในอันดับที่ 3 แม้ความมั่งคั่งลดลงมาอยู่ที่ 1.99 หมื่นล้านเหรียญ (6.35 แสนล้านบาท) จาก 2.1 หมื่นล้านเหรียญในปีก่อนหน้า

เจริญ สิริวัฒนภักดี แห่งกลุ่มไทยเบฟเวอเรจ ครองอันดับ 4 ด้วยทรัพย์สินมูลค่า 1.62 หมื่นล้านเหรียญ (5.17 แสนล้านบาท) ลดลง 1.2 พันล้านเหรียญ จาก 1.74 หมื่นล้านเหรียญ ในปี 2561

อย่างไรก็ตาม 1 ใน 3 ของมหาเศรษฐีที่มีรายชื่อปรากฏอยู่ในทำเนียบปีนี้ มีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา โดยผู้ที่มั่งคั่งเพิ่มขึ้นมากที่สุดในปีนี้คือ สารัชถ์ รัตนาวะดี นักธุรกิจใหญ่ด้านพลังงาน ซึ่งทรัพย์สินทะยานขึ้น 1.8 พันล้านเหรียญ (5.74 หมื่นล้านบาท) ไปอยู่ที่ 5.2 พันล้านเหรียญ (1.66 แสนล้านบาท) ส่งผลให้เขาคว้าตาแหน่งท็อป 5 มาได้เป็นครั้งแรก หุ้นของเขาในบริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จากัด (มหาชน) (GULF) พุ่งขึ้น 57% ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา เนื่องจากโครงการโรงไฟฟ้าใหม่เริ่มดำเนินการแล้ว และรายได้ของบริษัทเมื่อปี 2561 เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า ไปอยู่ที่ 628 ล้านเหรียญ (2.02 หมื่นล้านบาท)

มหาเศรษฐีที่ร่ำรวยขึ้นมาอย่างโดดเด่นอีกรายคือ ตระกูลโอสถานุเคราะห์ (อันดับ 8, 3 พันล้านเหรียญ) มีทรัพย์สินสุทธิเพิ่มขึ้นจาก 2.3 พันล้านเหรียญเมื่อปีที่แล้ว หลังจากได้นำเอาบริษัท โอสถสภา ผู้ผลิตเครื่องดื่มชูกำลังอายุ 128 ปี เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อเดือนตุลาคม 2561 ภายใต้การบริหารของ เพชร โอสถานุเคราะห์ นักสะสมงานศิลปะตัวยงและอดีตนักร้องเพลงป๊อป บริษัทโอสถสภาก่อตั้งขึ้นโดยปู่ทวดของเขา ที่เริ่มต้นจากร้านขายยาสมุนไพรเล็กๆ

สำหรับในปีนี้ มีมหาเศรษฐีหน้าใหม่อีก 4 ราย ได้แก่ ชัยวัฒน์ แต้ไพสิฐพงษ์ (อันดับ 23, 1.8 พันล้านเหรียญ) ประธานเครือเบทาโกร บริษัทอาหารและอุตสาหกรรมเกษตร อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา (อันดับ 6, 4.7 พันล้านเหรียญ) วัย 33 ปี ซึ่งอายุน้อยที่สุดในทำเนียบ ได้สืบทอดตำแหน่งต่อจากบิดาผู้ล่วงลับ วิชัย ศรีวัฒนประภา ขึ้นเป็นซีอีโอ คิง เพาเวอร์ บริษัทยักษ์ใหญ่ผู้ดาเนินธุรกิจร้านค้าปลอดอากร

ด้าน ชาติศิริ โสภณพนิช (อันดับ 29, 1.1 พันล้านเหรียญ) กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ ปรากฏชื่อในทำเนียบเป็นครั้งแรก หลังจากที่ ชาตรี โสภณพนิช ผู้เป็นพ่อเสียชีวิตในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

ส่วนตระกูลมาลีนนท์ (อันดับ 47, 600 ล้านเหรียญ) แห่งบริษัทสื่อ บีอีซีเวิลด์ ก้าวเข้ามาเป็นหน้าใหม่ในทำเนียบเช่นกัน

ในบรรดา 4 มหาเศรษฐีที่กลับเข้าสู่ทำเนียบอีกครั้งรวมถึง ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ (อันดับ 45, 640 ล้านเหรียญ) หวนคืนตำแหน่งหลังหยุดชะงักไป 5 ปี ทีพีไอ โพลีน บริษัทผลิตซีเมนต์และคอนกรีตของเขา กลับมาทำกำไรได้ 45 ล้านเหรียญในปี 2561 ซึ่งช่วยดันให้หุ้นบริษัทปรับขึ้น 14% เมื่อปีที่แล้วมูลค่าทรัพย์สินขั้นต่ำในการจัดอันดับปีนี้อยู่ที่ 565 ล้านเหรียญ ลดลงจาก 600 ล้านเหรียญเมื่อปีที่แล้ว.

]]>
1228954
50 มหาเศรษฐีไทย ตระกูลเจียรวนนท์ รั้งแชมป์ 9.37 แสนล้านบาท https://positioningmag.com/1168248 Thu, 03 May 2018 06:10:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1168248 นิตยสาร ฟอร์บส์ ได้ประกาศรายชื่อ 50 มหาเศรษฐีไทย ประจำปี 2561 ถือเป็นกลุ่มบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดของไทย มีทรัพย์สินรวมกันทะยานขึ้นเป็นกว่า 1.62 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (5.06 ล้านล้านบาท) เพิ่มขึ้นหนึ่งในสามจากปีที่แล้ว

โดยผู้ที่ติดทำเนียบ 50 บุคคลร่ำรวยที่สุดในประเทศไทย มีถึงสองในสามที่มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น เฉพาะสี่อันดับแรกมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นรวมกันเกือบ2.5 หมื่นล้านเหรียญ(7.81 แสนล้านบาท)

อันดับแรก เป็นของพี่น้องตระกูลเจียรวนนท์ แห่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ ที่ยังครองอันดับ 1 ต่อเนื่อง ด้วยมูลค่าทรัพย์สิน 3.0 หมื่นล้านเหรียญ (9.37 แสนล้านบาท) ด้วยแรงหนุนจากราคาหุ้นของบริษัทในเครือ อย่าง บมจ.ซีพี ออลล์ ซึ่งเป็นบริษัทบริหารร้านค้าสะดวกซื้อ 7-Eleven ที่ได้อานิสงส์จากบรรยากาศการบริโภคที่สดใส และบริษัทประกันภัย Ping An ที่ได้อานิสงส์จากการลงทุนในธุรกิจฟินเทค

อันดับที่สอง ตระกูลจิราธิวัฒน์ แห่งกลุ่มเซ็นทรัล มาพร้อมทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นแตะ 2.12 หมื่นล้านเหรียญ (6.62 แสนล้านบาท) จาก 1.53 หมื่นล้านเหรียญ ในปีที่ผ่านมา

อันดับ 3 เฉลิม อยู่วิทยา แห่งกระทิงแดง มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น8.5 พันล้านเหรียญ เป็น 2.1 หมื่นล้านเหรียญ (6.56 แสนล้านบาท)

อันดับ 4 เจริญ สิริวัฒนภักดี แห่งกลุ่มไทยเบฟเวอเรจ มีทรัพย์สินเพิ่มจากปีที่ผ่านมา 2 พันล้านเหรียญ รวมเป็นมูลค่าทรัพย์สิน 1.74 หมื่นล้านเหรียญ (5.43 แสนล้านบาท)

*** Aloke Lohia อินโดรามารวยพุ่ง

Aloke Lohia (อันดับ 9) เป็นมหาเศรษฐีอีกหนึ่งท่านที่มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมาก  ทรัพย์สินของเขาทะยานแตะ 3.3 พันล้านเหรียญ (1.03แสนล้านบาท) พุ่งขึ้นถึงร้อยละ 89การบรรลุข้อตกลงที่สำคัญนับตั้งแต่ปี 2557ของเขาทำให้ บมจ.อินโดรามา เวนเจอร์สเข้าเป็นเจ้าของกิจการ 16 แห่งทั่วโลก ซึ่งรวมถึงกิจการในยุโรปและอเมริกาเหนือในปี 2560 บริษัทรายงานตัวเลขรายได้ 8.4 พันล้านเหรียญเติบโตอย่างก้าวกระโดดถึงร้อยละ 17

*** กัลฟ์-ทีโอเอ ติดอันดับมหาเศรษฐีใหม่

สิ่งสะท้อนความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้นคือปีนี้มีถึง 32 อันดับที่มีทรัพย์สินระดับพันล้านเหรียญขึ้นไป เพิ่มจากปี 2560 สี่อันดับ

โดยสองในนี้เป็นมหาเศรษฐีใหม่ที่เพิ่งเข้าอันดับเป็นครั้งแรกหลังพาบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ได้แก่ สารัชถ์ รัตนาวะดี (อันดับ 7) ซีอีโอแห่ง บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ ซึ่งเข้าตลาดเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ทำให้เขากลายเป็นมหาเศรษฐีหน้าใหม่ที่ร่ำรวยที่สุดด้วยทรัพย์สินมูลค่า 3.4 พันล้านเหรียญ (1.06แสนล้านบาท) และอีกหนึ่งคือประจักษ์ ตั้งคารวคุณ เจ้าของสีทีโอเอ (อันดับ 14)เข้าทำเนียบมาเป็นปีแรกด้วยทรัพย์สินสุทธิ 2.1 พันล้านเหรียญ(6.56 หมื่นล้านบาท)

***บิวตี้-ดู เดย์ ดรีมรวยด้วยความงาม

อีกสองมหาเศรษฐีหน้าใหม่ประจำทำเนียบมาจากธุรกิจความสวยความงามที่กำลังเฟื่องฟู ได้แก่ นพ.สุวินและธัญญาภรณ์ ไกรภูเบศ (อันดับ 40) แห่งบิวตี้ คอมมูนิตี้ โดยทั้งคู่มีทรัพย์สินรวมกัน 715 ล้านเหรียญ (2.23หมื่นล้านบาท) และสราวุฒิ พรพัฒนารักษ์ (อันดับ 45) กับมูลค่าทรัพย์สิน 675 ล้านเหรียญ (2.11 หมื่นล้านบาท) ดู เดย์ ดรีม ของเขาทำรายได้อย่างงามจากกระแสคลั่งไคล้ผิวขาว

***สมพรจึงรุ่งเรืองกิจ กลับมาติดอันดับ

ในบรรดามหาเศรษฐีนี 9 คนที่เข้าสู่ทำเนียบในปีนี้สองคนเป็นผู้ที่กลับเข้าสู่อันดับอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งรวมถึง สมพร จึงรุ่งเรืองกิจ (อันดับ 28) ประธานกลุ่มบริษัทไทยซัมมิท ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ด้วยทรัพย์สิน 1.3 พันล้านเหรียญ (4.06หมื่นล้านบาท)

ด้าน Nishita Shah Federbush (อันดับ 32, 1.06 พันล้านเหรียญ) ทายาทธุรกิจขนส่งทางทะเลผู้กุมบังเหียนจีพี กรุ๊ป เป็นหนึ่งในมหาเศรษฐีนีที่โดดเด่นด้วยมูลค่าทรัพย์สินของตระกูลมีมูลค่าเกิน1 พันล้านเหรียญเป็นครั้งแรกโดยส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นจากการเข้าถือหุ้นร้อยละ 51 ในบมจ. เมก้า ไลฟ์ไซแอ็นซ์ บริษัทยาและผลิตภัณฑ์บำรุงสุขภาพที่ Kirit พ่อของเธอเป็นผู้ก่อตั้งในปี 2525

จากการกำหนดทรัพย์สินสุทธิขั้นต่ำของผู้ที่ได้รับการจัดอันดับที่ 600 ล้านเหรียญ ทำให้มีมหาเศรษฐีเจ็ดคนหลุดจากทำเนียบ 50 อภิมหาเศรษฐีไทยไปในปีนี้ รวมทั้งภวัฒน์ วิทูรปกรณ์ บมจ.อีสเทิร์นโพลีเมอร์ของเขาทำรายได้และผลกำไรลดลงจากอุปสงค์ที่อ่อนแรงและราคาวัตถุดิบที่ถีบตัวสูงขึ้น

การจัดอันดับในทำเนียบฯ ใช้ข้อมูลทางการเงินและการถือครองหุ้นที่ได้รับจากครอบครัวและผู้ที่ได้รับการจัดอันดับข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์ นักวิเคราะห์ และหน่วยงานกำกับดูแล รวมถึงทรัพย์สินของครอบครัวและทรัพย์สินที่ถือครองโดยสมาชิกครอบครัวในหลายรุ่น ทั้งนี้มูลค่าทรัพย์สินในบริษัทมหาชนคำนวณจากราคาหุ้น และอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 20เมษายน ส่วนทรัพย์สินในบริษัทที่ถือครองส่วนตัวประเมินค่าโดยเปรียบเทียบกับบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเดียวกันที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

]]>
1168248