ตลาดความสวยความงาม – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 20 Aug 2020 11:37:49 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ใส่แมสก์เป็นเหตุ! ตลาดความงามแข่งดุ โปรกระหน่ำลด 70% สาวชะลอสวยตามสภาพเศรษฐกิจ https://positioningmag.com/1293483 Thu, 20 Aug 2020 10:44:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1293483 “คิสออฟบิวตี้” บริษัทเจ้าของแบรนด์ เช่น Malissa Kiss, MoonA House มองสถานการณ์ “ตลาดความงาม” ปีนี้ หลังเผชิญ COVID-19 ทำให้กำลังซื้อหด ผู้บริโภคลดค่าใช้จ่ายความงาม 20-30% แบรนด์ต่างแห่จัดโปรฯ ลดสูงสุด 70% และลดราคานานขึ้น ทำให้บริษัทต้องดันสินค้าสุขอนามัย-ความสะอาดช่วยเสริมทัพ บุกแพลตฟอร์มออนไลน์ ระยะยาวต้องการเจาะตลาด CLMV ซึ่งมีประชากรหนุ่มสาวจำนวนมาก

“กิตติพนธ์ นามพิชญ์ธนสิน” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คิสออฟบิวตี้ จำกัด เปิดเผยว่า สถานการณ์ตลาดผลิตภัณฑ์ความงามหลังเผชิญโรคระบาด COVID-19 ทำให้กำลังซื้อตกลงไปมาก เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจซบเซา ประกอบกับชีวิตประจำวันของผู้บริโภคมีการใส่หน้ากากอนามัยปิดใบหน้า ทำให้ลูกค้ามีการตัดค่าใช้จ่ายด้านความงามลงประมาณ 20-30%

โดยอ้างอิงข้อมูลคาดการณ์จาก Euromonitor พบว่าตลาดสกินแคร์ที่เติบโต 7.28% เมื่อปี 2562 ปีนี้น่าจะไม่เติบโตเลย และตลาดน้ำหอมซึ่งเติบโต 6.01% เมื่อปีก่อน ปีนี้เชื่อว่าจะหดตัว -8.3% สะท้อนชัดว่าอุตสาหกรรมความงามที่เคยเติบโตได้ดี ปีนี้จะท้าทายมาก

จากปัจจัยลบดังกล่าว กิตติพนธ์กล่าวว่า ทำให้ตลาดเกิด “สงครามราคา” แบรนด์ต่างๆ แข่งกันจัดโปรโมชันลดราคาไปถึงสูงสุด 70% จากปกติจะลดกันมากที่สุด 50% และยังจัดโปรฯ ยาวนานกว่าปกติ อาจทำแคมเปญยาว 6 สัปดาห์ จากปกติจะทำแคมเปญ 4 สัปดาห์ ทำให้แทบจะเป็นการลดราคาตลอดเวลา

 

ความชอบ+โอกาส กำเนิดคิสออฟบิวตี้

สำหรับคิสออฟบิวตี้ เป็นบริษัทที่ก่อตั้งเมื่อปี 2556 เริ่มต้นด้วยแบรนด์ Malissa Kiss เป็นแบรนด์แรก เริ่มทำตลาดแบบโซเชียลคอมเมิร์ซ ก่อนจะบุกเจาะตลาดออฟไลน์ ส่งสินค้าขายในโมเดิร์นเทรด จนปัจจุบันมีทั้งหมด 9 แบรนด์ในเครือ ได้แก่ Malissa Kiss, MoonA House (มุนอา เฮาส์), 2Some1 (ทูซัมวัน), Skinoxy, Daeng Gi Meo Ri (แทงกีโมรี), Yuma, Juliet Cole, Claryna และ Winkel ทั้งหมดเป็นแบรนด์ของบริษัทยกเว้น Daeng Gi Meo Ri ที่นำเข้าจากเกาหลีใต้

ตัวอย่างสินค้าของคิสออฟบิวตี้ : (จากซ้ายบนวนตามเข็มนาฬิกา) โลชั่นทาตัว Malissa Kiss, โลชั่นน้ำหอมแบบซอง 2Some1, ครีมบำรุงผิวหน้า MoonA House และ เครื่องทำความสะอาดผิวหน้า Claryna

“ฐิติพรรณ ภัควัฒน์ธเนศ” ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท คิสออฟบิวตี้ จำกัด และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท กล่าวว่าจุดเริ่มต้นมาจากความชอบสินค้าความสวยความงามและเห็นโอกาส จึงเริ่มผลิตขายเอง เริ่มแรกเป็นสินค้า Sleeping Mask ขายผ่าน Facebook กับ Instagram

ด้วยพื้นฐานของทั้งกิตติพนธ์กับฐิติพรรณที่ทำงานในฝ่ายเทรดดิ้งของบริษัทใหญ่ในอุตสาหกรรมอาหาร ทำให้มีความรู้ความเข้าใจและช่องทางส่งสินค้าสู่โมเดิร์นเทรดได้ในเวลาต่อมา

“กิตติพนธ์ นามพิชญ์ธนสิน” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ “ฐิติพรรณ ภัควัฒน์ธเนศ” ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท คิสออฟบิวตี้ จำกัด

ปัจจุบันภาพรวมของแบรนด์ของคิสออฟบิวตี้คือจะเน้นคอนเซ็ปต์สินค้า “มีคุณภาพในราคาเข้าถึงได้” ปัจจุบันราคาสินค้าอยู่ในช่วง 19-1,290 บาท ครอบคลุมผลิตภัณฑ์กลุ่มสกินแคร์สำหรับผิวกายและผิวหน้า กลุ่มเครื่องสำอาง กลุ่มเส้นผม กลุ่มน้ำหอม จนถึงบิวตี้เทคที่เพิ่งเปิดตัวคือเครื่องล้างหน้าอัตโนมัติ Claryna

นอกจากนี้ เมื่อปี 2562 มีการทำสินค้าหน้ากากป้องกันฝุ่น PM 2.5 แบรนด์ Yuma และล่าสุดปีนี้แตกไลน์ไปในกลุ่มของใช้ในครัวเรือนคือฟองน้ำนาโนลบคราบแบรนด์ Winkel เป็นสินค้าแรกที่เริ่มเข้าไปบุกตลาด FMCG

โดยสินค้ากลุ่มครีมบำรุงผิวและมาส์กหน้า บริษัทมีโรงงานผลิตเองที่บางปูและกิ่งแก้ว จ.สมุทรปราการ กำลังผลิตสูงสุด 3 ล้านชิ้นต่อเดือน นอกจากผลิตให้กับแบรนด์แล้ว ยังมีบริษัทย่อยสำหรับรับทำ OEM ให้แบรนด์อื่นด้วย

 

ลดเป้าเติบโต ขายเจลล้างมือช่วยดันยอด

กิตติพนธ์กล่าวต่อว่า จากสงครามราคาที่เกิดขึ้น คิสออฟบิวตี้ก็มีการจัดโปรโมชันเป็นระยะเช่นกัน แต่เนื่องจากเป็นแบรนด์ที่ราคาเข้าถึงได้อยู่แล้ว ทำให้ลดราคาลงไปมากได้ยาก รวมถึงบริษัทยังพึ่งพิงช่องทางออฟไลน์ เช่น วัตสัน เซเว่นอีเลฟเว่น เป็นหลักถึง 90% ของยอดขาย ทำให้ช่วงที่มีการล็อกดาวน์ปิดห้างสรรพสินค้า บริษัทต้องชะลอเปิดตัวสินค้าใหม่ทั้งหมด จนมีรายได้ลดลงมากในช่วงไตรมาสที่ 2

ดังนั้น ปีนี้บริษัทจึงลดเป้าเติบโตลงเหลือ 14% หวังรายได้แตะ 302 ล้านบาท (ต้นปีวางเป้าเติบโตไว้ 60%) ถือเป็นการเติบโตที่ต่ำที่สุดตั้งแต่เปิดบริษัทมา

สินค้าไลน์ใหม่ของบริษัท : ฟองน้ำนาโน Winkel และ เจลล้างมือแอลกอฮอล์ Yuma

บางบริษัทอาจจะวิกฤตถึงขั้นติดลบ แต่กิตติพนธ์มองว่าบริษัทยังโตได้แม้จะน้อยลง เพราะสินค้าเรือธงของบริษัทเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์บำรุงผิว โลชั่นทาตัว โลชั่นน้ำหอม ซึ่งได้รับผลกระทบจากการใส่มาส์กของผู้บริโภคน้อยกว่าเครื่องสำอาง และบริษัทยังเร่งปรับตัว นำแบรนด์ Yuma ไปผลิตเจลล้างมือแอลกอฮอล์ ผ้าเช็ดทำความสะอาดแบบเปียก เพิ่มจากการผลิตหน้ากากผ้าที่มีอยู่เดิม เพื่อตอบรับความต้องการผู้บริโภค

รวมไปถึงการเปิดตัวฟองน้ำนาโนขัดคราบอเนกประสงค์ตรา Winkel หันไปบุกตลาด FMCG กลุ่มผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดในบ้านมาช่วยเติมรายได้

 

บุกหนักออนไลน์ เล็งตลาด CLMV

ด้านการเติบโตระยะยาว กิตติพนธ์กล่าวว่าบริษัทจะเน้นการทำตลาดออนไลน์สูงขึ้น เพราะยุคก่อนหน้านี้ช่องทางที่แบรนด์สายบิวตี้จะโตแรงต้องเข้าไปขายในโมเดิร์นเทรด แต่จากสถานการณ์ COVID-19 ทำให้พฤติกรรมคนเปลี่ยน ลูกค้าชินกับการสั่งซื้อทางออนไลน์มากขึ้น แม้จะไปดูสินค้าในร้านออฟไลน์ แต่อาจจะสั่งซื้อผ่านออนไลน์แทนเพราะได้ราคาถูกกว่า ดังนั้น มองว่าสัดส่วนการขายออนไลน์ 10% ในปัจจุบัน จะเพิ่มเป็น 50% ภายในปี 2568

นอกจากนี้ บริษัทยังเล็งขยายตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันมีการส่งออก 10% ของรายได้ ส่งออกไปยัง 4 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม จีน ฟิลิปปินส์ และไต้หวัน ต้องการเพิ่มสัดส่วนเป็น 30% ภายใน 3 ปี

มีตลาดที่มุ่งเน้นคือกลุ่มประเทศ CLMV ประเดิมด้วยประเทศเวียดนามที่เปิดตลาดแล้ว ต่อไปจะส่งเข้ากัมพูชา เมียนมา และลาวด้วย โดยเป็นการขายผ่านตัวแทนจัดจำหน่าย จะใช้แบรนด์ MoonA House เป็นเรือธงในการเจาะตลาดต่างประเทศ เพราะสินค้าเป็นสกินแคร์สำหรับผิวหน้าแบบซอง ราคาจะหยิบจับเข้าถึงง่าย

ฐิติพรรณกล่าวเสริมว่า ผลิตภัณฑ์ของบริษัทส่วนใหญ่จะเจาะลูกค้าตั้งแต่วัยมัธยม วัยมหาวิทยาลัย จนถึงคนทำงานหนุ่มสาว แต่กลุ่มประชากรไทยกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัย แม้ว่าบริษัทจะมีแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่ม Aging แต่ผลิตภัณฑ์เดิมก็ต้องหาทางเติบโตต่อ จึงต้องการเจาะประเทศ CLMV ที่ประชากรส่วนใหญ่ยังเป็นวัยหนุ่มสาว และชื่อเสียงสินค้าไทยยังแข็งแรงว่าเป็นของดีมีคุณภาพ

]]>
1293483
เปิดเทรนด์ความงาม 2020 สาวไทย “ไม่ทำสวยเพื่อแฟน แต่อยากดูดีในโซเชียล” https://positioningmag.com/1261566 Wed, 22 Jan 2020 15:41:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1261566 ภาพรวมตลาด ‘หัตถการความงาม’ หรือธุรกิจความงามที่ไม่ต้องผ่าตัดของไทยในปี 2019 มีมูลค่าตลาดแตะ 5,200 ล้านบาท เติบโตประมาณ 9-10% ต่อเนื่องตลอดทุกปี สะท้อนให้เห็นว่า ความสวยความงามกับผู้หญิงเป็นของคู่กัน แม้ในภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยดีนัก แต่ก็สามารถเจียดเงินเพื่อทำสวยได้

เภสัชกรหญิงกิตติวรรณ รัตนจันทร์ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท เมิร์ซ เอสเธติกส์ ไทยแลนด์

“ในทุก ๆ เลเวลก็มีความต้องการ ทั้งคนฐานะปานกลางหรือรวย แต่ในสภาวะเศรษฐกิจอย่างนี้ เขาก็ไม่ใช่ใช้เงินไม่คิด แต่มีความวิเคราะห์ในการใช้เงินมากขึ้น ไม่ได้แปลว่าไม่ทำ แต่อาจจะดูส่วนลดต่าง ๆ อีกทั้งยังหาข้อมูลประกอบให้มากสุด เพราะต้องการความปลอดภัย” เภสัชกรหญิงกิตติวรรณ รัตนจันทร์ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท เมิร์ซ เอสเธติกส์ ไทยแลนด์ กล่าว

ตลาดหัตถการความงามเริ่มบูมเมื่อ 15 ปีก่อน เพราะเทรนด์เกาหลี แต่เทรนด์การเสริมสวยในปัจจุบันไม่ใช่สวยแบบ ‘พิมพ์นิยม’ หรือสวยแบบดารา แต่ผู้หญิงยุคนี้ต้องการสวยในแบบที่เป็น ‘ตัวเอง’ (Individual Beauty) หรือ The best version of me นอกจากนี้ แนวโน้มการทำสวยก็เริ่มเด็กลง อดีตจะเริ่มเมื่ออายุประมาณ 30 เพราะเริ่มเห็นริ้วรอย แต่ปัจจุบันอายุ 18-20 ปีก็เริ่มเข้ามาปรับรูปหน้า เพื่อให้คงความเด็กตลอดไป

“ผู้หญิงไม่ได้ทำสวยเพื่อแฟน แต่ทำสวยเพื่อตัวเอง เพราะอยากดูดีในโซเชียล ทำเพื่อสร้างความมั่นใจ อย่างกลุ่มอายุ 30-45 ปี ทำสวยแล้วมีโอกาสได้งาน ความรัก รู้สึกมั่นใจในตัวเองมากขึ้น ส่วนกลุ่มอายุ 45-60 ปี ทำสวยแล้วเกิดความภาคภูมิใจในตัวเอง”

จากความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งลูกค้าเดิมที่ใช้บริการต่อเนื่อง อีกทั้งยังมีลูกค้าใหม่ที่เด็กลง ส่งผลให้คลินิกความงามมีมากกว่า 1,500 แห่งทั่วประเทศ (ไม่นับจำนวนสาขา) ส่วนตลาดหัตถการความงามมีมูลค่า 5,200 ล้านบาท เติบโตต่อเนื่อง 9-10% และหากแบ่งประเภทหัตถการต่าง ๆ พบว่าเดอร์มัล ฟิลเลอร์ (การฉีดสารเติมเต็มฟิลเลอร์) มีการเติบโต 9% โบทูไลนุม ท็อกซิน หรือการฉีดโบท็อกลดเลือนริ้วรอยโต 7% และเครื่องยกกระชับต่าง ๆ (ยกกระชับหน้า V shape X shape) โต 9%

“คอสส่วนใหญ่อยู่ที่ 5,000-15,000 บาท ทำทุก ๆ 4-6 เดือน แต่ เทรนด์คือ สวยให้ครบ ดังนั้นลูกค้าไม่ได้ทำแค่อย่างเดียว แต่ทำทุกอย่างเลยไปคลินิกทุกเดือน อย่างเทรนด์ตอนนี้ คือ การทำให้รูขุมขนเล็ก หน้าใส ไม่ต้องแต่งหน้า พร้อมฉีดฟิลเลอร์ปรับโครงหน้า แต่ตอนนี้ไม่ใช่วีเชป แต่เป็น X เชป คือไม่ใช่แค่หน้าเรียว แต่ทำให้คอดูยาวสูง”

นอกจากนี้ตลาด ผู้ชาย (ไม่ใช่ LGBTQ) ก็เป็นโอกาสใหม่ที่หลายคนมองข้าม โดยภาพรวมทั่วโลกมีการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ ถือเป็นเป็นบลูโอเชียน โดยเฉพาะผู้ชายวัยทำงาน อายุ 30 ปีขึ้นไปเริ่มใช้บริการเพราะอยากดูเด็ก โดยคาดว่าในปี 3-5 ปี กลุ่มผู้ชายที่ใช้บริการจะเริ่มมีอายุน้อยลงเหมือนกลุ่มผู้หญิง

สำหรับ เมิร์ซฯ เป็นผู้ผลิตสินค้าเวชภัณฑ์สัญชาติเยอรมันเบอร์ 3 ของโลก มียอดขายกว่า 20,000 ล้านบาท โดยได้เข้ามาทำตลาดในไทยแล้วประมาณ 5 ปี โดยไทยเป็นหนึ่งในประเทศยุทธศาสตร์ เพราะสร้างยอดขายเติบโตเป็นลำดับที่ 3 ในเอเชียแปซิฟิก รองจากฟิลิปปินส์ เกาหลี ปีที่ผ่านมาเมิร์ซฯ มีรายได้กว่า 500 ล้านบาท เติบโตกว่า 20-25% ต่อปี ปัจจุบันมีพาร์ตเนอร์คลินิกกว่า 900 แห่ง

ทั้งนี้ เมิร์ซฯ ตั้งเป้าทำรายได้ 1,000 ล้านบาทในอีก 3 ปี รวมทั้งชิงส่วนแบ่งตลาดเป็น 20% เพื่อก้าวขึ้นเป็น 1 ใน 3 ของผู้นำตลาดสินค้าหัตถการความงาม จากปัจจุบันอยู่ท็อป 5 ซึ่งปัจจุบันมีผู้เล่นในตลาด 8-9 แบรนด์ จากสหรัฐฯ สวีเดน เกาหลีใต้ และจีน โดยเมิร์ซฯ ยังคงเน้นเจาะตลาดพรีเมียม

“ตลาดที่เติบโตมากขึ้น ส่งผลต่อการแข่งขันเช่นกัน แต่เราจับตลาดพรีเมียม ด้วยจำนวนคู่แข่งที่น้อย ส่งผลให้การแข่งขันยังไม่สูงมาก อีกทั้งผู้บริโภคก็มีกำลังซื้อ สภาวะเศรษฐกิจไม่มีผล”

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่จะส่งผลกระทบต่อการเติบโตของตลาด มองว่าเป็นนวัตกรรมที่เป็นโฮมยูส หรือใช้งานได้เองที่บ้าน แต่ปัจจุบันยังไม่มีนวัตกรรมไหนที่ได้ผลตามที่โฆษณา ดังนั้นตลาดหัตถการความงามยังคงสามารถเติบโตได้ต่อเนื่อง

 

]]>
1261566
คนไทยขอสวยไว้ก่อน! ตลาดความงามทะลุ 5.7 หมื่นล้าน โต 3.8%  https://positioningmag.com/1167025 Mon, 23 Apr 2018 09:58:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1167025 ตลาดความงามของไทยยังคงเติบโตเพิ่มขึ้นทุกปี ถึงแม้ว่าภาพรวมของสินค้า FMCG หรือสินค้าอุปโภคและบริโภคจะเติบโตติดลบ 0.4% ในรอบ 10 ปี แต่ไม่มีผลต่อตลาดสินค้าความงามและเครื่องสำอาง ที่บริษัท กันตาร์ เวิร์ลดพาแนล (ไทยแลนด์ได้ประเมินไว้ว่าตลาดเครื่องสำอางและความงามไทย ปี 2017 มีมูลค่า 57,000 ล้านบาท 

3 ผลิตภัณฑ์ที่ผลักดันตลาดเมคอัพ เติบโต

ส่วนใหญ่เป็นสินค้าต้องใช้เป็นประจำ

  • ลิปสติก เติบโต 32%
  • ดินสอเขียนคิ้ว เติบโต 39%
  • รองพื้น เติบโต 3%

ยอดผู้ซื้อเดิม 74% ผู้ซื้อใหม่ 4%

ทั้งนี้เป็นการเติบโตของผู้ซื้อปัจจุบัน 74% ผู้ซื้อใหม่ 4% โดยยังคงเป็นเขตหัวเมืองเป็นหลัก ซึ่งการเติบโตมาจากการตอบสนองด้านอารมณ์ ที่สามารถเพิ่มความั่นใจให้ตัวเอง

สินค้ากลุ่มเมคอัพของไทย ยังมีช่องว่างให้เติบโตเมื่อเทียบกับเกาหลี

  • เกาหลี สินค้าความงามเข้าถึงผู้ใช้ 85%
  • ไทย : สินค้าความงามเข้าถึงผู้ใช้ 48%

คนไทยแต่งหน้า 2.5 สเต็ป

คนไทยยังแต่งหน้า 2.5 สเต็ปเท่านั้น ในขณะที่จีน 3 สเต็ป และเกาหลีไปถึง 7 สเต็ปแล้วมีความซับซ้อนกว่าคนไทย.

]]>
1167025
เครื่องสำอางของผู้หญิงมุสลิม https://positioningmag.com/1158730 Sun, 25 Feb 2018 10:00:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1158730 บทความโดย : อิษณาติ วุฒิธนากุล

ไม่กี่อาทิตย์ที่ผ่านมา ถูกเชิญไปพูดในงาน Beyond Beauty ของทาง Impact Exhibition Management เลยอยากเอาข้อมูลหลายๆอย่างที่ไปพูดในงานวันนั้นมาแชร์ให้ฟังกันครับ ว่าตอนนี้จริงๆ แล้วตลาดความสวยความงามแถบบ้านเราหรือเอเชียมีความน่าสนใจหลายๆ อย่างเลยครับ

หลายท่านคงทราบนะครับว่าอัตราการเติบโตของตลาดสินค้าอุปโภค หรือที่เราเรียกว่าตลาด FMCG ไม่ค่อยดีมาสักพักแล้ว ไม่ใช่แค่ในไทยเรา แต่หลายๆประเทศในแถบนี้ด้วยก็เช่นกัน (อาจจะมียกเว้นบางประเทศเช่น อินโดนีเซีย) แต่ทราบกันมั้ยครับว่าอัตราการเติบโตของกลุ่ม Personal care หรือ กลุ่มผลิตภัณฑ์ความสวยความงามโตสวนตลาดมาตลอดนะครับ ปี 2017 ภาพรวมตลาด FMCG ของไทยโตติดลบที่ -0.4% (เติบโตต่ำสุดในรอบสิบปีนะครับ) ในขณะที่ Personal Care เติบโตได้ถึง 2.7% ถ้าย้อนไปดู Q2 ปีที่แล้วตลาดความสวยความงามเดียวกันนี้ เวียดนามโต 6.9%, มาเลเซียโต 7.4% และอินโดนีเซียโตถึง 14% ด้วยกันเป็นการเติบโตที่สวนทางกับภาพรวมตลาดอย่างชัดเจน ซึ่งยิ่งถ้าเทียบกับฝั่งยุโรปจะยิ่งเห็นได้ชัด เพราะตลาดความสวยความงามที่นั่นโตต่ำกว่าภาพรวมตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคนะครับ

ถ้าพูดถึงระดับความพัฒนาของตลาดนี้แล้ว แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บ้านเรายังตามหลัง จีน ไต้หวัน เกาหลี ญี่ปุ่น หรือยุโรปอยู่พอสมควร ถึงแม้จะเป็นแบบนั้นแต่แบรนด์แถบบ้านเราหลังๆ มานี้มีความน่าสนใจมากนะครับ บาง Local แบรนด์ทำได้ดีกว่าบริษัทอินเตอร์ใหญ่ๆ ด้วยซ้ำไป ถ้าดูในไทยเราเองหลายท่านคงคุ้นชินกับสบู่เบนเนท หรือสบู่อิงอร เราเรียกสบู่แนวนี้ว่า Herbal Soap ทราบกันมั้ยครับว่าสบู่ Herbal Soap ที่มีแบรนด์ไทยเป็นผู้บุกเบิก Segment นี้สามารถเติบโตได้ดีมาก สวนทางกับตลาดสบู่ก้อนที่อยู่ในขาลง เรียกว่าทำได้ดีมากจนแบรนด์อินเตอร์บางแบรนด์ต้องออกผสิตภัณฑ์แนว Herbal ตามด้วยซ้ำไป

วันนี้เลยอยากเปลี่ยนบรรยากาศแทนที่จะพูดถึงแบรนด์ที่มาจากประเทศที่พัฒนากว่าเรา ซึ่งหลายๆ ท่านคงเคยพอผ่านหูผ่านตามาบ้างแล้ว มาพูดถึงประเทศเพื่อนบ้านที่คนไทยทั่วไปยังไม่ให้ความสนใจสักเท่าไหร่ กับแบรนด์ที่เชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่ไม่น่าจะเคยได้ยินมาก่อน – Wardah จากประเทศอินโดนีเซียครับ

ทราบกันมั้ยครับว่า Wardah เป็น Local Brand ที่พึ่งเกิดมาในช่วงปี 1995 แต่สามารถเอาชนะแบรนด์อย่าง Fair&Lovely ซึ่งมาจากบริษัทอินเตอร์ยักษ์ใหญ่ที่คนทั่วโลกรู้จักได้โดยในปี 2016 ส่วนแบ่งทางการตลาดของ Wardah อยู่ที่ราวๆ 30% ซึ่งถือว่าเยอะมากสำหรับ Local Brandในตลาดความสวยความงาม จริงอยู่นะครับว่ามี Local Brandในหลายๆ ประเทศที่ทำได้ดีจนสามารถชนะแบรนด์อินเตอร์ได้

แต่แบรนด์ส่วนใหญ่พวกนั้นในแถบบ้านเราจะอยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ไม่ใช่ในกลุ่มสินค้าความสวยความงามที่ผู้บริโภคทั่วไปยังเชื่อถือเทคโนโลยีที่มาจากประเทศที่พัฒนาแล้วมากกว่า การที่ Local Brand หนึ่งสามารถครอบครองส่วนแบ่งทางการตลาดถึง 30% ในตลาดนี้ถือว่าเยอะมากนะครับ โดยปัจจุบันสินค้าของแบรนด์นี้มีขายในกว่า 22,000 ร้านค้าทั่วอินโดนีเซียและมาเลเซีย และกำลังเข้าไปเปิดตลาดในประเทศบังกลาเทศเพิ่มอีกต่างหาก คำถามคือแล้วแบรนด์นี้ประสบความสำเร็จขนาดนี้ได้อย่างไร เราสามารถเรียนรู้อะไรจากแบรนด์นี้ได้บ้าง?

ไม่ว่าชาติไหน เชื้อสายไหน หรือศาสนาไหน ผมเชื่อนะครับว่าไม่มีผู้หญิงคนไหนไม่อยากสวยไม่อยากดูดี แต่สำหรับผู้หญิงชาวอินโดนีเซียหรือผู้หญิงชาวมุสลิมที่วัฒนธรรมที่ผ่านมาอาจไม่ได้เกื้อหนุนให้แต่งหน้าแต่งตัวมากนัก และยังมีหลักศาสนาที่ค่อนข้างเคร่งว่าต้องกินต้องใช้ข้าวของต่างๆ ที่ถูกกับหลักศาสนาเท่านั้น การแต่งตัวการเลือกผลิตภันฑ์ให้ถูกต้องคงไม่ใช่เรืองง่าย (Paint Point) แล้วถ้าวันหนึ่งมีแบรนด์หนึ่งพูดกับคุณว่า คุณแต่งตัวได้ คุณสวยได้จริงๆ คุณควรจะสวยได้ตามที่ใจต้องการ (Empowerment) ที่สำคัญคุณสามารถทำแบบนั้นได้โดยไม่ต้องผิดหลักศาสนาใดๆ ทั้งนั้น คิดว่าแบรนด์ๆ นั้นจะได้ใจผู้บริโภคมั้ยครับ? ถ้าผมถามว่าหากให้คิดถึงแบรนด์เครื่องสำอางดูแลผิวสำหรับผู้หญิงชาวมุสลิม ผู้อ่านทุกท่านจะคิดถึงแบรนด์อะไรกันครับ?ผมค่อนค้างเชื่อว่าชาวไทยส่วนใหญ่อย่างเราคงตอบกันไม่ค่อยได้ แต่วันนี้ถ้าถามผู้หญิงชาวอินโดนีเซียคำตอบแรกๆ คือ Wardah ครับ

ถ้าถามว่า Wardah ประสบความสำเร็จขนาดนี้ได้อย่างไร จริงๆ คำตอบมันง่ายมากนะครับ เพราะก็คือการที่แบรนด์นี้มีความเข้าใจผู้บริโภคยุคมิลเลนเนียลในบ้านตัวเองเป็นอย่างดี และยังสามารถสื่อสารทำ communication ต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ “ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและดูแลผิวฮาลาล โดยสื่อสารผ่านผู้หญิงชาวอินโดนีเซียรุ่นใหม่ที่สวมฮิญาบตามหลักศาสนา” ดูไม่ได้ยากไม่ได้ซับซ้อนแต่ทำไมถึงไม่มีแบรนด์ไหนพยายามทำก่อนหน้านี้? หรือทำได้ดีขนาดนี้ครับ?

Wardah เป็นแบรนด์แรกที่สามารถเชื่อมโยงและสื่อสารการสวมใส่ฮิญาบเข้ากับ active, trendy and hip lifestyle และยังเป็นแบรนด์แรกในอินโดนีเซียที่ทำให้ Local Brand กับความเป็นมุสลิมดูและรู้สึกทันสมัยและมีคุณค่า/ราคา (ราคาขายเฉลี่ยของWardah แพงกว่าแบรนด์อย่าง Citra กับอีกหลายแบรนด์นะครับ)

ณ ปัจจุบัน Wardah มีจำนวนฐานลูกค้า (Penetration) อยู่ที่ราวๆ 30% ของประชากรทั้งประเทศ อย่าลืมนะครับว่าอินโดนีเซียมีประชากรประมาณ 260 ล้านคน ซึ่งแปลว่าตอนนี้แบรนด์นี้มีลูกค้าเกือบ 80 ล้านคน ซึ่งมากกว่าจำนวนประชากรที่ประเทศไทยทั้งประเทศอีกนะครับ….

มีการคาดการณ์ว่าตลาดเครื่องสำอางและดูแลผิวฮาลาลจะมีมูลค่าถึงห้าหมื่นสี่พันล้านดอลลาร์ในปี 2022 โดยทาง Salman Subakat ผู้อำนวยการตลาดของ Wardah ได้กล่าวว่าเอเชียจะเป็นศูนย์กลางของของโลกแฟชั่นอิสลาม น่าสนใจนะครับว่าจะมีแบรนด์ไทยเราแบรนด์ไหนบ้างที่จะเข้าไปเล่นในตลาดตรงนี้ อย่าลืมนะครับว่าตลาดใหญ่ในโลกนี้ไม่ได้มีเพียงประเทศจีนที่หลายๆ แบรนด์มุ่งไปเท่านั้น

จริงๆ ที่ไทยเองเรามีภาคใต้นะครับที่มีประชากรเป็นชาวมุสลิมค่อนข้างเยอะ ที่น่าเสียดายคือตลาดมุสลิมของบ้านเรามักจะถูกแบรนด์ใหญ่ๆหลายแบรนด์ละเลย หรือมองข้ามไป ทั้งๆ ที่ตลาดนี้สามารถเป็นตลาดทดลองผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำมาใช้เจาะตลาดประเทศมุสลิมหรือแถบตะวันออกกลางได้ จริงๆ แล้วถ้าเราอยู่นิ่งไปเรื่อยๆ…ไม่แน่นะครับวันนึงเราอาจจะได้เห็นผลิตภัณฑ์ของ Wardah ในบ้านเราก็เป็นได้นะครับ.

]]>
1158730