ตลาดภาพยนตร์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 26 May 2021 14:11:56 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Amazon ประกาศเข้าซื้อ MGM สตูดิโอหนังเจ้าของชุดภาพยนตร์ “เจมส์ บอนด์” https://positioningmag.com/1333879 Wed, 26 May 2021 06:54:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1333879 Amazon ประกาศดีลมูลค่า 8.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2.66 แสนล้านบาท) เข้าซื้อกิจการสตูดิโอหนัง MGM แห่งฮอลลีวูด เจ้าของชุดภาพยนตร์ในตำนาน “เจมส์ บอนด์เตรียมปั้นเป็นจุดขายดึงลูกค้าเข้าแพลตฟอร์ม Amazon Prime

สำนักข่าว CNBC รายงานดีลระหว่างสองบริษัทว่า Amazon ประกาศดีลมูลค่า 8.5 พันล้านเหรียญเพื่อซื้อกิจการ MGM Studios (Metro-Glodwyn-Mayer Studios Inc.) หนึ่งในสตูดิโอภาพยนตร์ที่เก่าแก่ที่สุด ก่อตั้งเมื่อปี 1924 และมีภาพยนตร์เป็นที่รู้จักมากที่สุดของโลก เป็นภาพจำจากอินโทรสิงโตคำรามก่อนฉายภาพยนตร์

Amazon มองว่า การเข้าซื้อครั้งนี้จะได้ประโยชน์สูงสุดจากแคตตาล็อกหนังกว่า 4,000 เรื่อง และรายการทีวี/ซีรีส์อีกกว่า 17,000 รายการที่ MGM สั่งสมมา และทางบริษัทเตรียมพร้อมจะร่วมงานกับทีมงานที่มีศักยภาพของ MGM เพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ เมื่อเดือนธันวาคม 2020 บริษัท MGM ได้รับการประเมินมูลค่าบริษัทไว้ที่ 5.5 พันล้านเหรียญ (ประมาณ 1.72 แสนล้านบาท) สะท้อนให้เห็นว่า Amazon พร้อมจะจ่ายเกินราคาตลาดเพื่อเข้าเทกโอเวอร์กิจการที่จะสร้างแต้มต่อด้านคอนเทนต์ให้กับ Amazon Prime เพื่อแข่งขันกับแพลตฟอร์มอื่นที่กำลังร้อนแรง เช่น Netflix, Disney+

ความน่าสนใจของ MGM คือกรุภาพยนตร์ในอดีตที่ถือว่าเป็นตำนานของวงการ ไม่ว่าจะเป็นชุดภาพยนตร์ “เจมส์ บอนด์” สายลับ 007 ชื่อดัง, ภาพยนตร์คลาสสิก Gone With the Wind หรือ The Wizard of Oz ไปจนถึงหนังและซีรีส์ฮิตในยุคใหม่ เช่น Fargo หรือ The Handmaid’s Tale และรายการโชว์ชื่อดัง เช่น The Voice, Shark Tank เป็นต้น ทั้งหมดนี้สามารถเป็นแรงส่งให้ Amazon Prime สตรีมมิ่งแพลตฟอร์มของ Amazon ยิ่งแข็งแกร่งมากขึ้น

หลังจาก Amazon เข้าซื้อ MGM ด้วยเม็ดเงิน 8.5 พันล้านเหรียญ ถือว่าเป็นการเทกโอเวอร์ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของบริษัทนี้ รองจากที่ Amazon เคยเข้าซื้อบริษัท Whole Foods เมื่อปี 2017 ด้วยเม็ดเงิน 1.37 หมื่นล้านเหรียญ

สำหรับประเทศไทย Amazon Prime เข้ามาทำตลาดตั้งแต่ปี 2016 แล้ว ค่าบริการปัจจุบันอยู่ที่ 199 บาทต่อเดือน ดูพร้อมกันได้ 3 จอ แต่อาจจะยังไม่ดังเปรี้ยงเท่าแพลตฟอร์มอื่นเพราะซับไตเติลภาษาไทยยังไม่ครบทุกเรื่อง

[*หมายเหตุ : บทความนี้มีการแก้ไขเวลา 21.00 น. ของวันที่ 26 พ.ค. 2021 เพื่ออัปเดตการเข้าซื้อกิจการสำเร็จระหว่าง Amazon กับ MGM จากก่อนหน้านี้เป็นการคาดการณ์ความสำเร็จและมูลค่าดีล]

Source

Source

]]>
1333879
ฟ้าหลังฝน GDH วางเกม “ทำหนังสลับซีรีส์” สู่โกอินเตอร์ หวัง “บุพเพฯ 2” ดึงคนไทยหวนดูหนังโรง https://positioningmag.com/1298788 Mon, 28 Sep 2020 10:43:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1298788 อุตสาหกรรมหนังไทยเหมือนโดนเคราะห์ซ้ำกรรมซัด เมื่อต้องเจอ COVID-19 ทำให้กระเเสหนังไทยยิ่งซบเซาลงไปอีก เจออุปสรรคทั้งต้องเลื่อนฉายในโรงภาพยนตร์ ยกเลิกการถ่ายทำ รวมถึงเงินทุนที่ค่อยๆ หมดไป

เเม้หลังคลายล็อกดาวน์เเล้ว ผู้คนจะกลับมาใช้ชีวิตปกติ เริ่มกลับมาดูหนังในโรงกันมากขึ้นหลังจากที่โหยหามานาน เเต่การฟื้นตัวของทั้งวงการในยามนี้ ก็ถือว่ายากลำบากมากทีเดียว

เมื่อพูดถึงค่ายหนังที่ครองใจชาวไทย ส่งหนังทำเงินเข้าฉายเป็นประจำ หนึ่งในนั้นต้องมี GDH รวมอยู่ด้วยอย่างเเน่นอน โดยปีที่ผ่านมาได้ส่งหนัง 3 เรื่อง ติดท็อปทำรายได้สูงสุดของปี 2019 ทิ้งห่างหนังไทยเรื่องอื่นไปหลายเท่า

ดังนั้น ทิศทาง กลยุทธ์เเละการปรับตัวของ GDH ในช่วงต่อไปนี้ จึงมีผลต่ออุตฯหนังไทย เเละมีความน่าสนใจไม่น้อย

ตลาดหนังไทย…เหนื่อยหนัก

ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ อุตสาหกรรมหนังในไทยทำรายได้ไปแค่ 580 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีที่ผ่านมา มีรายได้ถึงกว่า 3,000 ล้านบาท ในจำนวน 580 ล้านบาทนี้ เป็นรายได้จากหนังไทยเพียง 120 ล้านบาท ซึ่งไม่มีหนังเรื่องไหนเลยที่มีรายได้เเตะ 50 ล้านบาท” 

จินา โอสถศิลป์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด หรือ GDH ให้สัมภาษณ์กับ Positioning พร้อมเล่าย้อนกลับไปถึงช่วงระบาดหนักว่า ตามปกติบริษัทจะทำหนังออกมาสู่ตลาดปีละ 2-3 เรื่อง โดยปีก่อนมีหนังฉาย 3 เรื่อง ส่วนปีนี้ตั้งใจทำหนัง 2 เรื่อง และละคร 1 เรื่อง แต่พอเจอสถานการณ์ COVID-19 ทำให้เเผนธุรกิจเเละไทม์ไลน์ต่าง ๆ ที่วางไว้ต้องเปลี่ยนไป

จินา โอสถศิลป์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร GDH

ในปี 2019 หนังของ GDH อย่างตุ๊ดซี่ส์ & เดอะเฟคเป็นหนังไทยที่ทำเงินสูงสุด ด้วยรายได้ 141 ล้านบาท รองลงมาคือเรื่อง “Friend Zone ระวังสิ้นสุดทางเพื่อนอยู่ที่ 134 ล้านบาท และฮาวทูทิ้งทิ้งอย่างไรไม่ให้เหลือเธอมีรายได้ที่ 57 ล้านบาท

ภาพรวม “หนังไทยตลอดปี 2019 ไม่ค่อยสดใสนัก มีออกฉายราว 40 เรื่อง ทำรายได้รวมทั้งหมดประมาณ 711 ล้านบาท ลดลง 14% เฉลี่ยต่อเรื่องทำรายได้เพียง 15 ล้านบาทเท่านั้น จากปี 2018 อยู่ที่ 18-19 ล้านบาท เเละที่น่าตกใจคือ มีหนังไทยกว่า 17 เรื่องที่ทำรายได้น้อยกว่า 1 ล้านบาทยิ่งพอมาเจอวิกฤต COVID-19 ไปอีกในปีนี้อาการยิ่งสาหัส

อย่างไรก็ตาม ผู้บริหาร GDH มองว่ายังมีความหวังโดยปี 2020 บริษัทจะฉายหนังเพียงเรื่องเดียวในช่วงปลายปี วันที่ 3 .. นี้ คือ  อ้ายคนหล่อลวง” นำทีมนักเเสดงชื่อดังอย่าง ณเดชน์ คูกิมิยะ, ใบเฟิร์น พิมพ์ชนก และ แบงค์ ธิติ ฯลฯ

แน่นอนว่าปีนี้คงไม่ได้เท่ากับปีที่แล้ว แต่คาดหวังกับ อ้ายคนหล่อลวงไว้สูงเหมือนกัน โดยตั้งเป้ารายได้ไว้ที่ 80 ล้านบาท

ขณะที่บรรยากาศของคนดูหนัง หลังวิกฤต COVID-19 นั้นยังมีความกังวลอยู่บ้าง โดยช่วงตั้งเเต่เดือนส.ค.เป็นต้นมา ก็เริ่มมีหนังต่างประเทศเข้ามา อย่าง TENET, Peninsula เเละมู่หลาน ก็เริ่มมีตัวเลขให้เห็นบ้าง เเต่ภาพรวมยังถือว่า “อาการหนัก” โดยจบปีนี้คาดว่าภาพรวมอุตสาหกรรมหนังไทยน่าจะมีรายได้ราว 1,000 ล้านบาทเท่านั้น

“เราหวังว่า ปี 2021 อุตสาหกรรมหนังในไทยจะกลับมาคึกคักแน่นอน และจะมีหนังไทยไม่ต่ำกว่า 45-50 เรื่องเข้าฉาย” 

บรรยากาศของโรงหนังในไทย เมื่อช่วงที่มีมาตรการป้องกัน COVID-19

ฉลาดเกมส์โกง…ช่วยชีวิต

“โชคดีจริงๆ ที่มีละครฉลาดเกมส์โกงมาช่วย เพราะในช่วงที่ผ่านมาไม่มีหนังฉาย ถ่ายทำไม่ได้ แต่ยังคงมีรายจ่ายต่าง ๆ ไม่งั้น GDH คงเครียดกว่านี้” 

จินา เล่าต่อว่า ละครเรื่อง “ฉลาดเกมส์โกง” ได้รายได้จาก ช่องONE และ WeTV รวมถึงสามารถขายในต่างประเทศทั้งจีน และประเทศอื่นๆ รวมได้มาทั้งหมด ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 60 ล้านบาท) 

นอกจากนี้ ยังมีรายได้จากการจัดจำหน่ายภาพยนตร์ ซีรีส์ทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศ การฉายในโรงภาพยนตร์
และการฉายบนเเอปพลิเคชันเเละเเพลตฟอร์ม OTT ต่างๆ เช่น WeTV, Netflix, LINE TV, AIS Play, True ID ฯลฯ และช่องทางโทรทัศน์ต่างๆ

“ต้องยกเครดิตให้ WeTV ที่จุดประกายเราให้เราทำละครต่อยอดความสำเร็จจากหนังทำให้เรามีเงินล่วงหน้าได้” 

“คาดว่าปีนี้รายได้รวมของ GDH จะอยู่ที่ 345 ล้านบาท ถือว่าไม่ขาดทุน เเต่จะมีกำไรไม่เท่าปีก่อน เพราะเราได้ฉายหนังเเค่เรื่องเดียว เเละละครอีก 1 เรื่อง เทียบกับปีก่อนเรามีหนังทำเงินถึง 3 เรื่อง ดังนั้นถ้าทำได้สามร้อยกว่าล้านก็ถือว่าโชคดีมากแล้ว”

ทั้งนี้ GDH ด้วยรายได้รวมอยู่ที่ 471.29 ล้านบาท ในปี 2019 เติบโตจากปี 2018 ประมาณ 12% โดยการทำหนังเรื่องหนึ่งของ GDH มีต้นทุนราว 45-50 ล้านบาท แบ่งเป็นทุนสร้าง 20-30 ล้าน ส่วนที่เหลือคืองบสำหรับทำการตลาด

เเผนต่อไป GDH : ทำหนังสลับซีรีส์ ต่อยอด OTT โกอินเตอร์ 

เเม้ความสำเร็จของละครละครเรื่อง “ฉลาดเกมส์โกง” จะช่วยอุ้มบริษัทไว้ได้ในช่วงวิกฤต เเต่ GDH ยังคงยืนหยัดที่จะทำหนัง “ยังไงหัวใจของ GDH ก็คือทำหนัง เเละเราจะทำหนังต่อไป” 

โดยทิศทางต่อไปของ GDH จะเน้นการ “ผสม” มากขึ้น อาจจะทำเป็นละครหรือซีรีส์สลับกัน เเละมีหลักเป็นการทำหนัง เพราะ “การทำหนังยังไปได้ไกลกว่า” ยกตัวอย่างหนังเรื่องฉลาดเกมส์โกง ที่สามารถทำ Box Office ในจีนได้ถึง 1,200 ล้านบาท หรือหนังเรื่อง Friend Zone ก็ทำรายได้ดีเช่นกัน 

“ต่อไปนี้ถ้ามีดีลกับจีนอีก เราจะไม่ขายขาดเเบบฉลาดเกมส์โกงเเล้ว เพราะเรารู้ตลาดเเล้วว่าทำเงินได้ ก็คงจะเป็นข้อตกลงที่เป็นดีลร่วมกันมากกว่า” 

นอกจากนี้ สิ่งสำคัญคือการ “ต่อยอดคอนเทนต์” เพราะหากทำหนังดี หนังทำเงินได้ขึ้นมาเเล้ว ก็สามารถไปอยู่ต่อในเเพลตฟอร์ม OTT เจ้าต่างๆ ได้อีกช่องทาง เเละวนกลับมาสร้างเป็นสะครเเละซีรีส์ได้อีก “การได้ไปฉายบนเเพลตฟอร์ม OTT คือการปูทางที่หนังของ GDH จะออกสู่สายตาชาวต่างชาติมากขึ้น ซึ่งเป็นทิศทางของเราที่ต้องการโกอินเตอร์ ขยายไปทั้งเอเชีย ยุโรปเเละตลาดอเมริกา”  

ขณะที่กระเส “ซีรีส์วาย” ที่กำลังฮอตฮิตในปัจจุบันเเละมีผู้ผลิตคอนเทนต์หลายเจ้ากระโจนเข้าตลาดนี้ GDH มองว่าจะยังคงเป็นเทรนด์ไปอีกสักระยะ เเละจะไม่หายไปง่ายๆ ด้วยการมีฐานเเฟนคลับที่เหนียวเเน่น มีกลุ่มผู้ชมชัดเจนเเละกำลังขยายไปหลายช่วงวัย มีกำลังซื้อสูง ซึ่งบริษัทในเครือของ GDH อย่าง “นาดาว บางกอก” ก็มีการลุยตลาดนี้ต่อไป โดยในส่วนของ GDH นั้นยังไม่ไม่เเผนที่จะทำหนังหรือซีรีส์เเนวนี้ในช่วงนี้ เเต่เเย้มว่า “มีโอกาสที่จะทำในอนาคต” 

“บุพเพฯ 2” หวังสูง…ดึงคนไทยดูหนังโรง 

สำหรับโปรเจกต์ ปี 2021 ของ GDH จะมีอยู่ 4 เรื่องด้วยกัน เริ่มจาก…

1.“โกสต์แล็บ…ฉีกกฎทดลองผี” จากผู้กำกับกอล์ฟ ปวีณ ที่ได้ ต่อ ธนภพ, ไอซ์ พาริส มารับบทนำ ซึ่งตามเดิมต้องถ่ายทำและฉายในปีนี้ เเต่ต้องเลื่อนเพราะสถานการณ์ COVID-19

2. “ร่างทรง” หนังสยองขวัญที่ร่วมทุนกับค่ายหนังเกาหลี  Showbox Crop ฝีมือผู้กำกับ “โต้ง บรรจง” ที่ได้ผู้กำกับชื่อดังอย่าง “นา ฮงจิน” มาร่วมเป็นโปรดิวเซอร์ด้วย

3. “W” หนังที่ร่วมทุนกับ นาดาว บางกอกบริษัทในเครือของ GDH นับเป็นหนังเรื่องเเรกของนาดาวฯ โดยมีปิง เกรียงไกร เป็นผู้กำกับ และ ย้ง ทรงยศ เป็นโปรดิวเซอร์

4. “บุพเพสันนิวาส 2” โปรเจกต์ใหญ่ที่สุดของปี ที่ร่วมทุนกับบรอดคาซท์ ไทยเทเลวิชั่น ได้ปิง อดิสรณ์ ผู้กำกับเดียวกับรถไฟฟ้ามาหานะเธอ มากำกับให้ พร้อมนักแสดงนำคู่ขวัญจากจอทีวีอย่าง “โป๊ป-เบลล่า” ซึ่งคาดว่าจะออกฉายในช่วงปลายปี 2021

บุพเพสันนิวาส 2 เราใช้เงินลงทุนไปกว่า 80 ล้านบาท เเละตั้งเป้ารายได้ไว้สูงถึง 200 ล้านบาท เรื่องราวจะต่างกับละครทีวี เพราะจะเล่าไปข้างหน้า อารมณ์คล้ายกับการเล่าเรื่องในหนังพี่มากพระโขนง ขึ้นอยู่กับคนทำหนังว่าจะหยิบจับมุมไหนมาต่อยอด เรื่องนี้ก็ถือว่าตั้งความหวังไว้สูง ลงทุนมาก คิดว่าคนน่าจะกลับมาดูหนังกันเเล้ว ก็คิดว่าจะตั้งเป้ารายได้ไว้ที่ 200 ล้านบาท” 

จากโปรเจกต์หนังใหม่ทั้ง 4 เรื่องนี้ ซีอีโอของ GDH คาดว่าบริษัทจะรายได้สูงเกิน 500 ล้านบาท เพราะมีจำนวนหนังที่มากกว่าปกติ บวกกับยังมีรายได้จากนำคอนเทนต์ไปฉายกับแพลตฟอร์ม OTT เเละค่าลิขสิทธิ์ต่างๆ ด้วย

Key Success : ไม่หยุดนิ่ง นำไปต่อยอดได้ 

เเม้วิกฤต COVID-19 จะหนักหนาเอาการ เเต่ไม่ใช่วิกฤตรุนเเรงที่สุดของ GDH โดยจินาเล่าย้อนไปถึงสมัย
“น้ำท่วมใหญ่ ปี 2011” ที่ครั้งนั้น ภาพยนตร์เรื่อง “ท็อป ซีเคร็ต วัยรุ่นพันล้าน” เข้าฉาย หนังโปรโมตไปหมดแล้ว คนไม่ไปดูหนังในโรง เพราะคนต้องกลับไปดูเเลบ้านตัวเอง ออฟฟิศของบริษัทเองก็ยังต้องทำกระสอบทรายกั้นน้ำกัน วิกฤตครั้งนั้นจึงถือว่าเเรงที่สุด

โดยครั้งนี้ หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นอีก อย่างกรณี “โรคระบาดระบาดรอบ 2” ผู้บริหาร GDH มองว่า คนทำหนังคงต้องฉายที่โรงก่อน ต้องใช้วิธี ‘รัดเข็มขัด’ เพราะถ้าเกิดขึ้นจริงก็คงถ่ายหนังไม่ได้อีก รายได้หายเเต่รายได้เท่าเดิม การเอาหนังที่ตั้งใจจะฉายในโรงหนัง ไปฉายออนไลน์ ก็ต้องเจออุปสรรคหลายอย่าง

เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป เสน่ห์ของการดูหนังในโรงคือการได้ดูจากจอใหญ่ๆ เสียงดีๆ มีบรรยากาศไปเที่ยวกับเพื่อน ไปเดต แต่ว่าเด็กสมัยนี้ดูในมือถือ ดูไปอาจจะทำสิ่งอื่นไปด้วย

“สิ่งที่ทำให้เรายังอยู่ได้ คือ การไม่อยู่กับที่ ต้องก้าวไปข้างหน้า สร้างสรรค์คอนเทนต์ที่ดี เพราะถ้าของมันดี ยังไงคนก็ดู โดยสิ่งที่เราต้องพัฒนาต่อไปคือ การต่อยอด เพราะถ้าเราทำแบบเดิม คนก็ดูจะน้อยลง ต้องทำในวิถีทางใหม่ กล้าลอง กล้าทำ ต้องออกไปโกอินเตอร์ให้ได้…” 

อุตสาหกรรม “หนังไทย” จะกลับมาฟื้นได้หรือไม่…ปีหน้าต้องลุ้นกัน

 

]]>
1298788
หนังไทยไม่ “ตลก” ก็ “ผี” ถึงไม่ไปไหนสักที! “ซีเจ เมเจอร์“ พลิกมุมสร้างหนัง ต้องเน้น “อารมณ์และคน” ถึงจะเกิด วางแผนปีนี้ทำ 3 เรื่อง อยากได้เรื่องละ 100 ล้าน https://positioningmag.com/1226739 Fri, 26 Apr 2019 00:00:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1226739 นอกจากเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์” จะเป็นเจ้าของโรงภาพยนตร์ 11 แบรนด์ ครองส่วนแบ่งตลาด 70% โดยมีโรงภาพยนตร์มากกว่า 160 สาขา 771 โรง และกว่า 176,435 ที่นั่งทั่วประเทศ ภายใต้ธุรกิจที่มีรายได้ในปี 2018 จำนวน 10,671.30 ล้านบาท กำไร 1,283.59 ล้านบาท ยังมีค่ายที่ทำหน้าที่ในการผลิตภาพยนตร์เพื่อป้อนให้กับโรงภาพยนตร์ในเครือ ทั้ง เอ็ม เทอร์ตี้ไนน์, เอ็ม ทาเลนต์ทรานส์ฟอร์เมชั่นฟิล์ม และล่าสุดคือ ซีเจ เมเจอร์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์

ซีเจ เมเจอร์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ก่อตั้งต้นปี 2016 โดยรวมทุ่นกับซีเจ อีแอนด์เอ็ม บริษัทผู้ผลิตภาพยนตร์และจัดจำหน่ายภาพยนตร์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเกาหลี ในวันที่แถลงข่าวเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ซีเจ เมเจอร์ ได้ระบุว่า เรื่องแรกที่จะทำชื่อมิส แกรนนี่ (Miss Granny)” ฉายช่วงปลายปีนี้ เป็นการรีโปรดักชั่นจากเวอร์ชั่นที่ประสบความสำเร็จในประเทศเกาหลี พร้อมกับตั้งเป้าสร้างอีก 10 เรื่องภายใน 3 ปี

แต่ที่สุดแล้วมีเพียงเรื่องเดียวที่ได้ฉายออกมาคือ มิสแกรนนี่ ที่ได้นำมาทำใหม่ภายใต้ชื่อ “20 ใหม่ ยูเทิร์นวัย หัวใจรีเทิร์นมี ใหม่ดาวิกา โฮร์เน่, ก้อง – สหรัถ สังคปรีชา และ เจเจกฤษณภูมิ พิบูลสงคราม แสดงนำ เข้าฉายอย่างเป็นทางการในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2016

ซีเจเมเจอร์คาดหวังว่าเรื่องนี้จะต้องทำรายได้เป็นกอบเป็นกำอย่างแน่นอน เพราะมิส แกรนนี่ต้นฉบับในประเทศเกาหลีใต้ ประสบความสำเร็จด้วยรายได้รวมกว่า 51.7 ล้านเหรียฐสหรัฐ หรือราว 1.66 พันล้านบาท จากต้นทุนสร้างราว 3.1 ล้านเหรียฐสหรัฐ แต่ปรากฏว่าแม้จะมีนักแสดงระดับแม่เหล็ก หากเข้าโรงจริงๆ สัปดาห์แรกทำรายได้ราว 8 ล้านบาท ค่อนข้างน้อยผิดคาด

โยนู ชเว กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีเจ เมเจอร์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ กล่าวว่า

ยอมรับว่าเมื่อเทียบอีก 7 เวอร์ชั่น ฉายใน 6 ประเทศ ที่สร้างขึ้นจากต้นฉบับเดียวกัน เรื่อง 20 ใหม่ ไม่ประสบความสำเร็จมากเท่าที่คาดหวังไว้ โดยความผิดพลาดอาจมาจากการเข้าฉายยังไม่ใช่ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งตามสถิติภาพยนตร์ไทยประสบความสำเร็จค่อนข้างยาก ถือเป็นบทเรียนสำหรับเรา ที่ต้องเรียนรู้แล้วนำกลับมาปรับปรุงใหม่

อย่างไรก็ตามโยนูยังเชื่อว่า ตลาดภาพยนตร์ของไทยยังมีโอกาศอีกมาก เพราะเมื่อดูจากข้อมูล Box office ในปี 2017 จะพบว่า ภาพรวมตลาดภาพยนตร์ 6 ประเทศในอาเซียนรวมไทย มีมูลค่า 3.83 หมื่นล้านบาท

ในขณะที่เกาหลีใต้มีมูลค่า 4.91 หมื่นล้านบาท และเมื่อเทียบสัดส่วนประชากรไทยมี 65 ล้านคน เกาหลีมี 52 ล้านคน ชี้ให้เห็นว่ายังมีการเติบโตได้อีกมาก

ย้อนกลับไปเมื่อ 6 ปีก่อน ในปี 2011 Box office ของอินโดนีเซียมีมูลค่า 2.6 พันล้านบาท น้อยกว่าครึ่งกับเมืองไทยที่มีมูลค่า 4.9 พันล้านบาท หากเวลาผ่านในจนถึงปี 2017 กลับพบว่า ของอินโดนีเซียเติบโตทะลุหลักหมื่นล้านบาท ของไทยมีอยู่ราว 4.4 พันล้านบาท ลดน้อยลงเรื่อยๆ

สาเหตุสำคัญที่ทำให้อุตสาหกรรมลดน้อยลงไปเรื่อยๆ ไม่ใช่ว่าผู้บริโภคไม่เข้าโรงไปดูภาพยนตร์ แต่เป็นเพราะภาพยนตร์ไทยไม่มีความน่าสนใจและดึงดูดคนไทยให้เข้าดูได้มากพอ เมื่อเทียบกับเกาหลีคนจะดูภาพยนตร์เกาหลีและภาพยนตร์ฮอลลีวูด 50:50 แต่ของไทยมีราว 20% ที่ดูภาพยนตร์ไทย

ที่เป็นอย่างนั้นเพราะคนไทยมองว่าการไปดูภาพยนตร์ไทยนั้นไม่คุ้มค่า” เมื่อเทียบภาพยนตร์ฮอลลีวูดที่มาการลงทุน บท นักแสดง และโปรดักชั่นถือว่าห่างชั้นกันอย่างมาก ที่สำคัญภาพยนตร์ไทยยังไม่หลากหลาย ไม่ทำภาพยนตร์ตลกก็ภาพยนตร์ผีซึ่งเป็นแนวที่คนชอบดูจึงมีการผลิตซ้ำๆ ทำให้คนดูผิดหวังมากขึ้นเรื่อยๆ

กลายเป็นว่าเมื่อภาพยนตร์ไม่ประสบความสำเร็จ รายได้ไม่เยอะ แต่ละปีมีภาพยนตร์ไทยทำรายได้ทะลุ 1 ร้อยล้าน เฉลี่ยปีละ 3 เรื่อง ที่เหลือห่างกันค่อนข้างมาก หลักล้านต้นๆ ค่ายภาพยนตร์จึงก็ไม่ค่อยทำแนวแปลกๆ จำนวนภาพยนตร์ไทยที่ออกมาในแต่ละปีจึงลดลงเรื่อยๆ จากจำนวน 66 เรื่องในปี 2012 เหลือ 42 เรื่องในปี 2018

โยนู บอกว่า สิ่งที่จะทำให้ภาพยนตร์ไทยกลับมาคึกคัก จะต้องมีผู้เล่นใหม่ๆ เข้ามาสู่ตลาด ซึ่งจะช่วยความความสดใหม่ โดบวิธีที่ซีเจ เมเจอร์จะทำ คือ เน้นผลิตภาพยนตร์ที่สามารถเข้าถึงผู้คนได้เป็นอย่างดี ผ่านการเล่นกับอารมณ์ของคนดูเหมือนกับซีรีส์เกาหลี ทั้งสร้างแรงบันดาลใจและความสนุกสนานน่าตื่นเต้น

โดยหลังจากทิ้งช่วงมาตั้งแต่ปลายปี 2016 ในปีนี้ซีเจเมเจอร์เตรียมทำภาพยนตร์ 3 เรื่อง ได้แก่ “Love Battle รัก 2 ปียินดีคืนเงินแนวโรแมนติกคอมเมดี้ กำหนดฉาย 20 มิถุนายน, “That March” แนวโรแมนติกดราม่า เข้าฉายเดือนกันยายน และ “Classic Again” ดัดแปลงมาจากภาพยนตร์เกาหลี

แต่ละเรื่องใช้งบลงทุน 25 ล้านบาท และงบโปรโมตอีก 25 ล้านบาท รวมงบลงทุนทั้งหมด 100 ล้านบาท ตั้งเป้ารายได้เรื่องละ 100 ล้านบาท โดย 70% มาจากการฉายในโรง ที่เหลือมาจากฉายในต่างประเทศและแพลตฟอร์ม OTT นอกจากนี้ยังมีภาพยนตร์อีก 3 เรื่องกำลังถ่ายทำอยู่

“ความท้าทายในตลาดไทยคือ การที่คนไทยมีพฤติกรรม ความสนใจที่หลากหลาย และมีกิจกรรมน่าดึงดูดใจจำนวนมาก แต่เชื่อว่าด้วย Know-how ที่มีซึ่งมาจากการผลิตภาพยนตร์กว่า 500 เรื่อง แต่ละปีมีเรื่องใหม่ 20 เรื่อง ยังมองตลาดไทยเป็นเรื่องบวกอยู่”

หลังจากนี้ซีเจ เมเจอร์ตั้งเป้าสร้างภาพยนตร์เพิ่มปีละ 1-2 เรื่อง โดยในที่สุดตั้งใจที่จะทำภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นออกไปฉายยังต่างประเทศ ทั้ง จีน ตุรกี เวียดนาม อินโดนีเซีย และอเมริกา.

]]>
1226739
อาลีบาบา อาวุธลับจีนดูดกลืนเศรษฐกิจอเมริกันด้วยกลยุทธ์ Mission Impossible https://positioningmag.com/1184486 Tue, 21 Aug 2018 23:00:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1184486 อาลีบาบา (Alibaba) ถือว่าเป็นบริษัทที่ทุ่มงบมหาศาลกับการเลือกลงทุนในธุรกิจสาขาต่างๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นธุรกิจการค้า คลาวด์คอมพิวติ้ง เทคโนโลยี สื่อ และแม้แต่เรื่องของบันเทิง ด้วยเป้าหมายที่จะทำกำไรมหาศาล และที่ต้องการมากกว่านั้นคือ การสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้แข็งแกร่ง ติดปาก และคุ้นหูผู้บริโภคถึงขนาดซึมลึกเข้าไปในระดับวิถีชีวิต รวมทั้งแทรกอยู่ในวัฒนธรรมของผู้บริโภคในระยะยาว

เป้าหมายใหญ่ขนาดนี้ กลยุทธ์ด้านธุรกิจอย่างเดียวไม่พอ แต่ต้องขับเคลื่อนทุกอย่างไปพร้อมๆ กันในหลายมิติ ซึ่งสิ่งที่เป็นไม้เด็ดให้อาลีบาบาก็คือแพลตฟอร์มต่างๆ ที่อาลีบาบาสร้างขึ้นอย่างแข็งแกร่ง โดยแต่ละแพลตฟอร์มถูกนำมาใช้ผ่านความเชี่ยวชาญในระบบอินเทอร์เน็ตที่เป็นต้นกำเนิดพื้นฐานของธุรกิจอย่างเต็มกำลัง ภายใต้เทคโนโลยีที่พัฒนาและเชื่อมต่อกันได้ง่ายขึ้น

แพลตฟอร์มเหล่านี้ไม่เพียงสร้างรายได้ให้กับอาลีบาบา แต่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการที่อาลีบาบาใช้สร้างระบบการเผยแพร่ภาพยนตร์ และผลงานบันเทิงต่างๆ เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคที่เป็นคนจีนมากที่สุด อาทิ การให้บริการขายตั๋วออนไลน์ผ่าน Taopiaopiao (เถาเพี่ยวเพี่ยว) การโปรโมตผ่าน Taobao (เถาเป่า) ที่เป็นมาร์เก็ตเพลสสำคัญ รวมถึง Youku (เปรียบเหมือนยูทูบของจีน) แพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่ง และการให้บริการชำระเงินผ่านแอปพลิเคชั่น Alipay

การสร้างโอกาสให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์และอีคอมเมิร์ซทำงานร่วมกันอย่างลื่นไหล เป็นกลยุทธ์ที่เข้ามาช่วยให้โรงภาพยนตร์มีช่องทางทำรายได้เพิ่มขึ้นนอกจากการจำหน่ายตั๋วผ่านตู้อัตโนมัติที่หน้าโรง

โมเดลของอาลีบาบาไม่ใช่สิ่งใหม่ เพราะจริงๆ แล้วเป็นการเดินตามรอยบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ อย่าง แอปเปิล (Apple) และแอมะซอน (Amazon) ที่หันมาให้ความสำคัญกับธุรกิจบันเทิงอย่างภาพยนตร์มากขึ้นเรื่อยๆ และเพียงแต่พยายามทำมันให้ดีกว่ารวมทั้งการยึดความเป็นเจ้าตลาดอย่างน้อยก็ในประเทศจีนไว้ก่อน

ทำไมต้องพุ่งเป้าไปที่ตลาดภาพยนตร์

ทั้งนี้เพราะตลาดภาพยนตร์เป็นตลาดที่เข้าถึงคนได้ทุกเพศทุกวัย และอาลีบาบายังเชื่อว่า อย่างไรภาพยนตร์ยังเป็นธุรกิจที่จะตอบโจทย์การพักผ่อนและคลายเครียดของมนุษย์ เหมือนที่บริษัทเริ่มลงทุนสร้างอาลีบาบาพิกเจอร์ส (Alibaba Pictures) ที่เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2014

ตัว แจ็ค หม่า (Jack Ma) เอง ก็ให้ความสำคัญกับอาลีบาบาพิกเจอร์ส โดยเคยร่วมแสดงในภาพยนตร์ที่ลงทุนสร้างเองร่วมกับดาราบู๊แถวหน้าของจีน เช่น ดอนนี่เยน (Donnie Yen) แจ็คกี้วู (Wu Jing) โจวซื่อหมิง (Zou Shiming) และดาราคนสำคัญที่คนไทยรู้จักดีและแจ็ค หม่าเลือกให้แสดงด้วยตัวเอง อย่าง จา พนม ส่วนตัวแจ็ค หม่า เล่นเรื่องนี้แบบไม่รับค่าตัว

ในปีนั้นก็ได้เชิญนักแสดงบางส่วนไปร่วมปรากฏตัวในงานวันคนโสดของจีน หรือวันช้อปปิ้งออนไลน์โลกที่อาลีบาบาพยายามปั้นให้ดังระดับโลกในวันที่ 11 เดือน 11 (พฤศจิกายน) หรือ 11.11 เหมือนที่แอมะซอนมี ไพรม์เดย์แบล็กฟรายเดย์ แล้วก็ไซเบอร์มันเดย์โดยปรากฏบนเวทีถ่ายทอดสดการรายงานผลยอดขายของ 11.11 ซึ่งนอกจากจะเชิญนักร้อง นักแสดงจากจีนมาร่วมงาน ก็ยังมีการเชิญดาราฮอลลีวูดที่กำลังมีผลงาน รวมทั้งเซเลบริตี้ที่เป็นเจ้าของสินค้า มาร่วมปรากฏตัวในงานด้วย เช่น เดวิดและวิตอเรีย เบ็คแฮม ที่มีการขยายสาขาร้านวิคตอเรีย เบ็คแฮม เข้าไปในตลาดจีน

เรียกว่า ไม่เพียงเป็นผู้ให้กำเนิดอาลีบาบา แต่พร้อมจะผลักดันธุรกิจใหม่ในเครือให้เกิดทั้งในฐานะผู้สร้าง ผู้ผลิต ผู้ลงทุน แถมพร้อมเป็นนักแสดงอีกให้ด้วย ทั้งหมดนี้คือการแสดงให้เห็นถึงภาวะผู้นำของแจ็ค หม่า ที่พร้อมจะทำทุกอย่างมากกว่า โดยไม่จำเป็นว่าทุกเรื่องที่ทำจะต้องดีที่สุด เพียงแต่กระตุ้นให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในฐานะผู้นำซึ่งเป็นเรื่องสำคัญกว่า

อาลีบาบาพิกเจอร์สไม่ได้เล็งแค่ตลาดจีน เพราะล่าสุดภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ภาคต่ออย่าง Mission Impossible: Rogue Nation และ Star Trek: Beyond ที่เป็นที่รู้จักและฉายไปทั่วโลกมาแล้วในภาคแรกๆ อาลีบาบาก็เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมทุนสร้างภาพยนตร์ดังกล่าวกับสตูดิโอในฮอลลีวูดเรียบร้อยโรงเรียนจีนแล้ว

แล้วขณะที่งานของคนฮอลลีวูดจบแค่การผลิตภาพยนตร์ แต่ธุรกิจของอาลีบาบาทำครบวงจร เพราะทำหน้าที่เป็นผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์ในจีนผ่านช่องทางออนไลน์ และได้จับมือเป็นพันธมิตรกับ Amblin Partners ของผู้กำกับชื่อดัง Steven Spielberg

การทุ่มเทขนาดนี้ เพราะอาลีบาบาเห็นโอกาสสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ในธุรกิจภาพยนตร์นั่นเอง

สำหรับการร่วมมือระหว่างอาลีบาบาพิกเจอร์สกับพาราเมาท์พิกเจอร์สในภาพยนตร์เรื่อง Mission: Impossible – Fallout ที่นำแสดงโดย ทอมครูซ นั้น อาลีบาบาจึงรับหน้าที่ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกสตาร์ทอย่างสวยงามตอนเข้าฉายในจีน โดยทำรายได้ในสัปดาห์แรกได้มากถึง 153 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่รายได้จากการเข้าฉายช่วงสัปดาห์แรกในแถบอเมริกาทำเงินได้แค่ 61.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนรายได้ทั่วโลกจาก 36 ประเทศทำเงินได้แค่ 94.6 ล้านเหรียญสหรัฐ

รายได้ที่สูงในตลาดจีน ไม่ใช่เพราะจำนวนประชากรเพียงอย่างเดียว แต่ทั้งหมดเกิดขึ้นภายใต้อีโคซิสเต็มของอาลีบาบา ที่มีช่องทางและข้อมูลในการเข้าถึงผู้บริโภคที่มีอยู่ในมือจำนวนมากได้โดยตรง

ขณะเดียวกันก็ต้องยอมรับว่า จีนเป็นตลาดที่มีการเติบโตของอุตสาหกรรมภาพยนตร์สูงที่สุดในโลก ณ ตอนนี้ โดยคาดว่าจะมีขนาดใหญ่และแซงหน้าอเมริกาภายในปี 2020 ดังนั้นแม้ธุรกิจบันเทิงของอาลีบาบาจะขาดทุนในระยะเริ่มต้นก็ไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวล เพราะหากย้อนมองธุรกิจอีคอมเมิร์ซก็เป็นไปในลักษณะเดียวกัน คือโอกาสเติบโตใหญ่กว่าการขาดทุนในช่วงเริ่มต้นในช่วงต้นที่เทียบกันแล้วมีขนาดต่างกับโอกาสกำไรในอนาคตหลายเท่า

ส่วนหนึ่งของวิธีคิดแบบนี้อาจจะเป็นสไตล์ของแจ็ค หม่า ซึ่งมีแนวคิดว่า ผู้นำที่ดี ควรมีสายตาที่กว้างไกล ต้องพยายามมองไปข้างหน้า และต้องตัดสินใจทำอะไรให้ล้ำหน้ากว่าคู่แข่งอย่างน้อยหนึ่งก้าวเสมอ เหมือนเช่นกลยุทธ์ที่ทำให้อาลีบาบาชนะคู่แข่งมาแล้วในตลาดอีคอมเมิร์ซและเป็นโมเดลที่นำไปใช้ทั่วโลก รวมถึงการลงทุนในลาซาด้าในไทยที่แม้ทุกวันนี้ยังไม่ทำกำไร แต่ใครๆ ก็มองออกแล้วว่าธุรกิจนี้จะเติบโตและสร้างกำไรได้มากแค่ไหนในอนาคตอันใกล้

จากอีคอมเมิร์ซ อาลีบาบาก็กำลังใช้กลยุทธ์เดียวกันนี้กับอุตสาหกรรมบันเทิง นั่นคือการสร้างอีโคซิเต็มที่เจาะจงไปถึงไลฟ์สไตล์และรสนิยมของผู้บริโภคโดยเฉพาะ ด้วยความเชื่อที่ล้ำลึกกว่าการทำธุรกิจทั่วไปว่า ซอฟต์คัลเจอร์ (Soft Culture) นี่แหละที่จะซึมลึกและทำให้แบรนด์ผูกพันกับผู้บริโภคได้ดีที่สุด

เพราะฉะนั้น หลังจากอาลีบาบากลายเป็น Digital Company ที่มีอีคอมเมิร์ซแพลตฟอร์มในสังกัดแซงหน้าแอมะซอนจากอเมริกาไปเรียบร้อยแล้ว อีกไม่นานบริษัทสร้างหนังของอาลีบาบาก็คงจะแซงหน้าบริษัทสร้างหนังในฮอลลีวูดสักวันหนึ่งได้เหมือนกัน

Mission Impossible โดย แจ็ค หม่า “พ่อมดแห่งวงการอีคอมเมิร์ซจากจีน” จะทำสำเร็จเมื่อไรต้องติดตามดูกันไว้ งานนี้น่าจะใช้เวลาไม่นานหรอก.

Source

]]>
1184486