ตลาดหลักทรัพย์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 20 Sep 2024 05:52:28 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เปิดเส้นทาง 11 ปี ‘โอ้กะจู๋’ ขายผักจนได้ดี OR มาซื้อหุ้น พร้อมสยายปีกเข้าตลาดหลักทรัพย์ https://positioningmag.com/1491105 Fri, 20 Sep 2024 03:51:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1491105 จากข้อมูลของ Databridge Market Research เผยว่า ตลาดอาหารสุขภาพทั่วโลกมีมูลค่ากว่า 8.8 แสนล้านเหรียญฯ ในปี 2566 และมีการคาดการณ์ว่าจะโตเป็น 1.82 ล้านล้านดอลลาร์ ในปี 2574

รวมถึง ข้อมูลจากงานวิจัยของ IMARC Group (2023) พบว่า แนวโน้มตลาดอาหารอนาคต หรืออาหารจากพืชทั่วโลกจะมีอัตราการเติบโต 12.11% ในช่วงปี 2566-2571 ซึ่งสอดคล้องกับเทรนด์อาหารในปัจจุบัน ที่ผู้คนทั่วโลกหันมาใส่ใจและบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพกันมากขึ้น 

และหากจะพูดถึงร้านอาหารสุขภาพในไทย ‘โอ้กะจู๋’ จากบริษัท ปลูกผักเพราะรักแม่ เป็นหนึ่งในแบรนด์ที่หลายคนนึกถึง เพราะด้วยชื่อแบรนด์ที่แปลก และมีสาขาเยอะ ทำให้หาทานได้ง่าย และเป็นแบรนด์ที่ค่อนข้างมาแรงแห่งยุคแบรนด์หนึ่งเลยทีเดียว

ที่มาที่ไปของโอ้กะจู๋ เริ่มต้นจาก “อู๋-ชลากร เอกชัยพัฒนกุล” กับ “โจ้-จิรายุทธ ภูวพูนพล” สองเพื่อนซี้ชาวเชียงใหม่ที่มีพื้นฐานครบครัวเป็นเกษตรกรและมีความสนใจในเรื่องการปลูกผักแบบผสมผสานเกษตรสมัยใหม่กับวิธีการเกษตรแบบดั้งเดิม จากการที่ได้ไปทัศนศึกษาที่คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในสมัยที่ยังเรียนอยู่ชั้นมัธยมปลาย จนเกิดแรงบันดาลใจที่จะลงทุนทำธุรกิจเกี่ยวกับการเกษตรร่วมกัน  

กระทั่งเรียนจบจากรั้วมหาวิทยาลัย ความสนใจและความฝันยังไม่จางหาย ผนวกกับเจอปัญหาเวลาไปซื้อผักที่ตลาดแล้วอยากได้ผักปลอดสารพิษมาทำทานในครอบครัว ซึ่งในสมัยนั้นผู้ผลิตผักปลอดสารในเชียงใหม่นั้นมีน้อยมาก ทำให้ทั้งคู่จับมือมาธุรกิจฟาร์มผักออแกนิกส์กันในปี 2553 บนพื้นที่เพาะปลูกของครอบครัวที่มีขนาด 1 ไร่เศษ ก่อนขยับขยายนำผักที่มีเยอะจนกินจนแจกไม่หมดไปส่งขายในตลาด 

ขายผักจนได้ดี อัพสเกลเปิดร้านอาหาร

แม้รายได้จากการปลูกผักส่งขายจะไม่ได้แย่ แต่ก็ประสบปัญหาคนไม่ค่อยซื้อ เพราะผักที่นำไปขายนั้นมีเศษดินเศษหญ้าที่คนที่รับซื้อบอกว่าดูแลยาก ทำให้ทั้งคู่กลับมาคิดหาทางออก ก่อนที่ในปี 2556 ได้ตกลงปลงใจเปิดเป็นร้านเล็กๆ ขึ้นมาในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้ชื่อว่า ‘โอ้กะจู๋’ ที่ผวนคำมาจาก อู๋กับโจ้ ที่เป็นชื่อของทั้งคู่นั่นเอง แม้ชื่ออาจจะดูทะลึ่งตึงตัง แต่ก็ทำให้คนทั่วไปจดจำได้อย่างดี พร้อมกับจัดตั้งบริษัท ปลูกผักเพราะรักแม่ จำกัด ขึ้น และก็ได้ “ต้อง-วรเดช สุชัยบุญศิริ” เข้ามาเป็นกำลังเสริมในการทำธุรกิจ 

ซึ่งผลตอบรับที่ได้จากการเปิดร้านนั้นดีมาก จนขยายสาขาเพิ่มเป็นสาขาที่ 2 ในตัวเมืองเชียงใหม่ ย่านนิ่มซิตี้เดลี่ ทำให้ได้รับความนิยมขึ้นไปอีก จนมีลูกค้าจากต่างจังหวัด โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวกรุงเทพฯ มาใช้บริการบ่อย เกิดเป็นเสียงเรียกร้องให้ โอ้กะจู๋ มาตั้งรกรากเปิดสาขาที่กรุงเทพฯ บ้าง ทำให้ในปี 2560 โอ้กะจู๋ สาขาสยามสแควร์วัน ได้ถือกำเนิดขึ้นเป็นสาขาที่ 3 นั่นเอง

และในปี 2561 – 2563 เวลาเพียง 3 ปี โอ้กะจู๋ มีสาขาเพิ่มรวมเป็น 13 สาขา ทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงการเปิดร้านในรูปแบบ Delivery เป็นครั้งแรก เนื่องจากเป็นช่วงโควิด-19 ที่มีมาตรการไม่ให้ลูกค้านั่งทานอาหารในร้าน ทำให้โอ้กะจู๋สามารถผ่านวิกฤตในครั้งนั้นมาได้ด้วยดี

จุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ OR มาซื้อหุ้น

จนในปี 2564 ถือเป็นจุดเปลี่ยนและโอกาสครั้งใหญ่ของโอ้กะจู๋ เพราะ OR หรือ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) ได้เข้ามาลงทุนเป็นผู้ถือหุ้นในโอ้กะจู๋กว่า 20% เพราะ OR เองก็ต้องการกระจายความเสี่ยงจากธุรกิจน้ำมัน ในการลงทุนกับธุรกิจค้าปลีก และไลฟ์สไตล์มากขึ้น 

การได้เข้าไปอยู่ในครอบครัว OR ก็ทำให้โอ้กะจู๋ได้ขยายกิจการเข้าไปเปิดร้านใน PTT Station และมีจำนวนสาขาทั้งหมด 16 สาขา ก่อนที่ในปี 2565 โอ้กะจู๋ได้ขยายธุรกิจโดยการพัฒนาสินค้าเพื่อนำเข้าไปจัดจำหน่ายใน Cafe Amazon อีก 7 สาขา รวมเป็น 23 สาขา 

และในปี 2566 ขยายร้านไปยังภาคตะวันออกในพัทยา ชลบุรี และระยอง ทำให้มีสาขาในประเทศรวมกันทั้งหมด 33 สาขา พร้อมตั้งเป้าขยายสาขาไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามจังหวัดและหัวเมืองที่สำคัญ ภายในปี 2567 และตั้งเป้าให้โอ้กะจู๋มีสาขาครบ 67 สาขา ครอบคลุมทั่วประเทศภายในปี 2571 

และหากมาดูรายได้รวมและกำไรสุทธิของบริษัทคร่าวๆ 5 ปีย้อนหลัง โดย

  • ปี 2562 รายได้ 643,046,569 บาท มีกำไรสุทธิ 79,831,262 บาท
  • ปี 2563 รายได้ 836,802,908 บาท มีกำไรสุทธิ 33,088,223 บาท
  • ปี 2564 รายได้ 803,016,024 บาท มีกำไรสุทธิ -83,379,787 บาท
  • ปี 2565 รายได้ 1,214,905,550 บาท มีกำไรสุทธิ 38,317,764 บาท
  • ปี 2566 รายได้ 1,716,847,079 บาท มีกำไรสุทธิ 140,647,983 บาท

ปัจจุบันรายได้หลักมาจากธุรกิจร้านโอ้กะจู๋กว่า 98% โดยมียอดใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อครั้งอยู่ที่ 450 บาท โดยเป็นรายได้ที่มาจากฐานสมาชิกของร้านกว่า 25% จากปี 2566 ที่มีฐานสมาชิก 20% เฉลี่ยยอดใช้จ่ายต่อคนต่อปีอยู่ที่ 13,000 บาท 

สำหรับผลการดำเนินงานงวด 6 เดือนแรกปี 2567 บริษัทฯ มีรายได้รวม 1,110.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 42.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้ 778.0 ล้านบาท ขณะที่มีกำไรสุทธิ 102.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 38.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้ 73.9 ล้านบาท 

นอกจากนั้น โอ้กะจู๋ ยังมีการแตกแบรนด์ออกมาเพิ่มอีก 2 แบรนด์ในปีนี้ คือ Ohkajhu Wrap & Roll ธุรกิจอาหารพร้อมทาน (Grab&Go) ที่มีอยู่ด้วยกัน 1 สาขาถ้วน และ Oh! Juice ธุรกิจน้ำผักผลไม้เพื่อสุขภาพ ที่มีถึง 6 สาขา เรียกได้ว่าบริษัทฯ มีอัตราการขยายตัวของธุรกิจค่อนข้างไว

ตลาดเชนร้านสลัดในไทยก็ร้อนระอุไม่แพ้ตลาดอื่นๆ เพราะด้วยเทรนด์ดูแลสุขภาพ คนไทยนิยมทานอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้น ทำให้แบรนด์สลัดเป็นที่นิยม โดยที่มีผู้เล่นใหญ่อีก 2 รายด้วยกัน อย่าง โจนส์สลัด (บริษัท โจนส์สลัด จำกัด) ที่ก่อตั้งเมื่อปี 2556 ปัจจุบันมี 34 สาขา และมีการแตกแบรนด์เพิ่ม 2 แบรนด์คือ ผงสลัดชงดื่ม และ สมุนตุ๋น ร้านก๋วยเตี๋ยวเนื้อตุ๋น ที่มีอยู่ด้วยกัน 1 สาขา และ สลัด แฟคตอรี่ (บริษัท กรีน ฟู้ด แฟคทอรี่ จำกัด) ที่ก่อตั้งเมื่อปี 2556 ปัจจุบันมีสาขาอยู่ 38 สาขาในพื้นที่กรุงเทพฯ รวมถึงมีการแตกไลน์แบรนด์ ชาดา เครื่องดื่มสมุนไพรจากใบเชียงดา มาเพิ่มเติม

สยายปีกเข้าตลาดฯ รองรับการเติบโต

จุดแข็งของโอ้กะจู๋ คือการคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย รวมถึงการพัฒนาสูตรอาหาร และเครื่องดื่ม โดยร่วมกับฝ่ายการตลาดที่ศึกษาพฤติกรรม ความต้องการ และกระแสนิยมของผู้บริโภค ทำให้บริษัทฯ สามารถออกเมนูใหม่ๆ ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่หลากหลาย และแตกต่างจากอาหารเพื่อสุขภาพทั่วไป และแม้จะส่งผลให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ทั้งการเติบโตของยอดขายจากสาขาเดิม และยอดขายจากสาขาที่เปิดเพิ่มเติม 

แต่บริษัทฯ ก็ยังมีความต้องการในการขยายขีดจำกัดในการเติบโต ทำให้ล่าสุด ประกาศตัวว่ากำลังจะ IPO หรือพาบริษัท ปลูกผักเพราะรักแม่ จำกัด เข้าตลาดหลักทรัพย์ กลายเป็นบริษัทมหาชน กำหนดราคาเสนอขายหุ้นสามัญแก่ประชาชนทั่วไปที่ราคา 6.70 บาทต่อหุ้น คิดเป็นอัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิ (P/E) 24.13 เท่า

ซึ่งเมื่อพิจารณาผลกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ในช่วง 12 เดือนย้อนหลัง ราคา 6.70 บาทต่อหุ้น ก็ถือเป็นราคาที่เหมาะสมที่สะท้อนพื้นฐานและศักยภาพการเติบโตของบริษัทฯ โดยเตรียมเปิดให้นักลงทุนจองซื้อหุ้น IPO ในวันที่ 23 – 25 กันยายน 2567 โดยคาดว่าจะนำหุ้นเข้าจดทะเบียนและซื้อขายวันแรกในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ภายในเดือนตุลาคมนี้ 

โดยภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในครั้งนี้ บริษัทฯ จะนำเงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้น IPO ไปใช้ขยายสาขา สร้างครัวกลางแห่งใหม่ เพิ่มศักยภาพการดำเนินธุรกิจ และต่อยอดการเป็นพันธมิตรกับ OR ก็ได้ส่งบริษัทลูกอย่าง บริษัท มอดูลัส เวนเจอร์ จำกัด (Modulus) มาทำสัญญาซื้อขายหุ้น เพื่อรักษาสัดส่วนการถือหุ้นที่ 20% เอาไว้ และคาดว่า ผู้บริโภคอาจจะได้เห็นความร่วมมือในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ หรือเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่เหมาะสม และตรงกับกลุ่มเป้าหมายเพื่อวางจำหน่ายในร้าน Café Amazon ต่อไปในอนาคต

]]>
1491105
สหรัฐฯ เริ่มกระบวนการเพิกถอน 3 บริษัทเทเลคอมจีน พ้นจากตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก https://positioningmag.com/1312769 Sun, 03 Jan 2021 14:55:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1312769 ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กเริ่มกระบวนการเพิกถอน 3 บริษัทโทรคมนาคมของจีน พ้นจากการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ในขณะที่พวกเขาหาทางปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐบาลประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่ห้ามลงทุนในบริษัทจีนที่มีความเกี่ยวข้องกับกองทัพพญามังกร

ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างสองชาติเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่ที่สุดของโลก ดำดิ่งสู่ขั้นต่ำสุด สืบเนื่องจากประเด็นพิพาทต่างๆ นานา ไล่ตั้งแต่การค้า, ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ และฮ่องกง ไปจนถึงซินเจียง

การซื้อขายหุ้นของไชน่า เทเลคอมมิวนิเคชันส์, ไชน่า โมบายล์ คอมมิวนิเคชันส์ และไชน่า ยูนิคอม (ฮ่องกง) ลิมิเต็ด จะสิ้นสุดลงในสัปดาห์หน้า จากการเปิดเผยของตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก

อย่างไรก็ตาม ด้วยทั้งสามบริษัทมีรายได้จากการกิจการในจีน และมีการดำเนินงานไม่มากนักในสหรัฐฯ รวมถึงหุ้นของทั้งสามบริษัทยังซื้อขายไม่มากนักในตลาดนิวยอร์ก เมื่อเทียบกับในตลาดฮ่องกง ดังนั้น การถอดหุ้นครั้งนี้จึงเป็นการเคลื่อนไหวในเชิงสัญลักษณ์ ท่ามกลางความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ กับจีน

เมื่อเดือนพฤศจิกายน ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ลงนามในคำสั่งพิเศษห้ามชาวอเมริกาลงทุนในบริษัทต่างๆ ของจีน ที่พวกเขามองว่าเป็นผู้จัดหาหรือเป็นผู้สนับสนุนอุปกรณ์ด้านความมั่นคงของกองทัพจีน ความเคลื่อนไหวที่เรียกเสียงประณามอย่างดุเดือดจากปักกิ่ง

ในคำสั่งดังกล่าวระบุชื่อ 31 บริษัท ที่ทางสหรัฐฯ ระบุว่าจีนใช้แสวงหาประโยชน์อย่างไม่ถูกต้องจากเงินลงทุนของสหรัฐฯ โดยนำไปเป็นทุนด้านการทหารและหน่วยข่าวกรอง ในนั้นรวมถึงพัฒนา และประจำการอาวุธทำลายล้างต่างๆ นานา

คำสั่งดังกล่าวเป็นหนึ่งในหลายๆ คำสั่งพิเศษ และมาตรการทางกฎระเบียบต่างๆ นานาที่มีเป้าหมายเล่นงานเศรษฐกิจจีนและความพยายามแผ่อิทธิพลด้านการทหารของปักกิ่ง ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา

ทั้งนี้คำสั่งของทรัมป์ ห้ามบริษัทต่างๆ ของสหรัฐฯ และพลเมืองอเมริกา จากการเข้าถึงหุ้นใดๆ ใน 31 บริษัทดังกล่าว ซึ่งรวมไปถึงบริษัท ฮิควิชัน บริษัทกล้องวงจรปิดชั้นนำ และไชน่าเรลเวย์ คอนสตรัคชัน รัฐวิสาหกิจด้านรถไฟความเร็วสูงของจีน

โรเบิร์ต โอไบเอน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติ กล่าวในตอนนั้นว่า คำสั่งนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้ชาวอเมริกัน ให้เงินทุนอุดหนุนโดยไม่รู้ตัวแก่บริษัทต่างๆ ของจีน ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก ซึ่งกลายเป็นการสนับสนุนปักกิ่ง ในการปรับปรุงกองทัพและหน่วยข่าวกรองทั้งหลาย

Source

]]>
1312769
ปิดดีล 3.38 แสนล้าน “ซีพี ออลล์” แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ซื้อ “เทสโก้ โลตัส” เสร็จสมบูรณ์แล้ว  https://positioningmag.com/1311169 Fri, 18 Dec 2020 14:27:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1311169 บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ “CPALL” แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) อ้างถึงสารสนเทศที่บริษัทได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2563 เกี่ยวกับการลงทุนในบริษัท เทสโก้ สโตร์ส (ประเทศไทย) จำกัด และ Tesco Stores (Malaysia) Sdn. Bhd. (ธุรกรรมการลงทุนในกลุ่มเทสโก้เอเชีย)

โดยการลงทุนดังกล่าว เป็นการลงทุนโดยอ้อมผ่านนิติบุคคลเฉพาะกิจที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการลงทุน ได้แก่ บริษัท ซี.พี.รีเทล โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดในบริษัท ซี.พี.รีเทล ดีเวลลอปเม้นต์ จำกัดนั้น ในวันที่ 18 ธ.ค. 2563 ธุรกรรมการลงทุนในกลุ่มเทสโก้เอเชียได้ “เสร็จสมบูรณ์แล้ว” 

ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการแข่งขันทางการค้าของมาเลเซีย ได้ประกาศผลอนุมัติควบรวมเทสโก้ โลตัส ในมาเลเซีย และมีเงื่อนไขสอดคล้องกับคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) ในประเทศไทย

อ่านรายละเอียด : บอร์ดแข่งขันทางการค้ามาเลย์ อนุมัติให้ CP ควบรวมกิจการ “เทสโก้ โลตัส” ในมาเลเซีย

โดยทาง กขค. ได้เผยแพร่คำวินิจฉัยกลางยาวกว่า 25 หน้า หลังมีมติ 4 ต่อ 3 ให้ “กลุ่มซีพี” ควบรวมธุรกิจ “เทสโก้ โลตัส” ซึ่งกรรมการเสียงข้างมากระบุว่าเป็นการส่งเสริมธุรกิจ สร้างรายได้ให้อยู่ในประเทศ ส่วนกรรมการเสียงข้างน้อยยืนยันว่าเป็นการผูกขาดเเละครอบงำเศรษฐกิจ

อ่านฉบับเต็ม : ผลคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า กรณีซีพีควบรวมธุรกิจเทสโก้ โลตัส 

ด้าน “เทสโก้ อังกฤษ” แจ้งข่าวดีกับ “ผู้ถือหุ้น” ที่จะได้รับเงินปันผลกว่า 2 แสนล้านบาท แถมตั้งกองทุนบำนาญของบริษัทให้พนักงาน พร้อมปักหลักกลยุทธ์ธุรกิจต่อไปใน “ยุโรป” เท่านั้น

]]>
1311169
หุ้นไทยปิดกระดานซื้อขายสิ้นปี 62 บวกจากปีก่อนแค่ 1.02% มูลค่า 2.9 หมื่นล้าน https://positioningmag.com/1258998 Mon, 30 Dec 2019 16:00:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1258998 หุ้นไทย ปิดตลาดซื้อขายวันสุดท้ายปี 2562 ปิดที่ระดับ 1,579.84 จุด เพิ่มขึ้น 1.62 จุด (+0.10%) มูลค่าการซื้อขาย 29,564.50 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนแค่ 1.02% จากระดับปิด 1,563.88 จุดเมื่อสิ้นปี 2561

นักวิเคราะห์ฯ คาดแม้จะมีแรงซื้อจาก LTF และ RMF เข้ามาบ้างแต่ไม่มีนัยยะสำคัญ เพราะวอลุ่มการซื้อขายค่อนข้างเบาบางในช่วงเข้าสู่วันหยุดเทศกาลปีใหม่

ตลาดหุ้นไทยปิดทำการซื้อขายหลักทรัพย์วันสุดท้ายของปี 2562 ที่ 1,579.84 จุด หรือคิดเป็น 1.02% หากเทียบกับดัชนีปิดตลาดซื้อขายหุ้นเมื่อปี 2561 ที่ 1,563.88 จุด โดยในปีนี้ดัชนี ปรับตัวขึ้นสูงสุดเมื่อวันที่ 01 ก.ค. โดยขึ้นไปอยู่ที่ 1,740.91 จุด ขณะที่ปรับตัวลดลงต่ำสุดเมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 2562 ลงไปอยู่ที่ 1,548.65 จุด

ด้านบริษัทจดทะเบียนใหม่เข้าซื้อขายหุ้นสามัญแก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรกหรือ IPO โดยแบ่งเป็นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือ SET จำนวน 13 บริษัท มูลค่าระดมทุน 68,712.57 ล้านบาท และ มูลค่าหลักทรัพย์กว่า 344,269.49 ล้านบาท

ขณะที่ในตลาดหุ้น mai บริษัทจดทะเบียนใหม่เข้าซื้อขายหุ้นสามัญแก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรกหรือ IPO จำนวน 17 บริษัท มูลค่าระดมทุน 4,981.30 ล้านบาท และ มูลค่าหลักทรัพย์กว่า 18,590.72 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาภาพรวมการซื้อขายแยกตามกลุ่มนักลงทุน ตั้งแต่ 1 ม.ค. – 30 ธ.ค. 2562 กลับพบว่าสถาบันในประเทศ ซื้อสุทธิกว่า 52,006.73 ล้านบาท และ บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ ซื้อสุทธิกว่า 14,873.14 ล้านบาท ขณะเดียวกัน นักลงทุนต่างประเทศกลับขายสุทธิกว่า -45,244.85 ล้านบาท และ นักลงทุนทั่วไปในประเทศขายสุทธิกว่า -21,635.02 ล้านบาท

หลักทรัพย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงวันนี้ เพิ่มขึ้น 640 หลักทรัพย์ ลดลง 661 หลักทรัพย์ และไม่เปลี่ยนแปลง 550 หลักทรัพย์

ขณะที่หลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 5 หลักทรัพย์ ได้แก่

  • CPALL ปิดที่ 72.25 บาท ลดลง 2.25 บาท มูลค่าการซื้อขาย 2,013.37 ล้านบาท
  • BBL ปิดที่ 160.00 บาท เพิ่มขึ้น 0.50 บาท มูลค่าการซื้อขาย 1,635.97 ล้านบาท
  • PTT ปิดที่ 44.00 บาท ลดลง 0.25 บาท มูลค่าการซื้อขาย 1,494.06 ล้านบาท
  • SCB ปิดที่ 122.00 บาท เพิ่มขึ้น 2.50 บาท มูลค่าการซื้อขาย 964.14 ล้านบาท
  • GPSC ปิดที่ 85.75 บาท เพิ่มขึ้น 1.00 บาท มูลค่าการซื้อขาย 897.05 ล้านบาท

สุนทร ทองทิพย์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กสิกรไทย กล่าวว่า แนวโน้มการลงทุนปี 2563 อาจจะยังต้องเผชิญความเสี่ยงเชิงนโยบายของไทย หรือ policy risk อยู่ แต่อาจทยอยปรับตัวลดลง ไม่ว่าจะเป็นมาตรการ LTV ที่คาดว่าจะผ่อนคลายลง หลังประกาศใช้ครบ 1 ปีในเดือน เม.ย. ขณะเดียวกันมองว่าธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ แบงก์ชาติ จะมีแนวโน้มจะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 1 ครั้ง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

สำหรับกำไร บริษัทจดทะเบียนปี 2562 มองว่ามีความเสี่ยงเติบโตได้ต่ำกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ โดยคาดว่า EPS ปี 2562 จะอยู่ที่ 93.00 บาท/หุ้นเท่านั้น จากเดิมคาดว่าจะอยู่ที่ 110.00 บาท/หุ้น โดยมีสาเหตุมาจากสงครามการค้าที่ส่งผลกระทบต่อกำไรของกลุ่ม global play เช่น ปิโตรเคมี ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และพลังงาน ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น กลุ่มธนาคารได้รับผลกระทบจากภาวะการก่อตัวของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) และกลุ่มรับเหมาก่อสร้างได้รับผลกระทบจากการที่ผู้รับเหมาก่อสร้างในต่างประเทศเข้ามาแข่งขันมากขึ้น

นอกจากนี้แนวโน้มกำไร บจ. ปี 2563 ประเมินว่าจะปรับตัวดีขึ้นกว่าปี 2562 โดยคาดว่า EPS จะอยู่ที่ 103.60 บาท/หุ้น เนื่องจากเริ่มเห็นสัญญาณเชิงบวกของเศรษฐกิจโลก เช่น ราคาน้ำมันดิบที่ปรับขึ้นยืนเหนือ 60 เหรียญ/บาร์เรล และ การจ้างงานของสหรัฐที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น ฯลฯ ซึ่งจะส่งผลดีต่อกำไรของหุ้นในกลุ่ม global play

ขณะที่นายธนเดช รังษีธนานนท์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.อาร์เอชบี (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ตลาดหุ้นไทยส่วนใหญ่ยังแกว่งตัวในแดนบวก โดยเฉพาะการซื้อขายในภาคบ่าย ซึ่งมองว่าอาจจะยังมีแรงหนุนจากแรงซื้อของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เข้ามา แต่กระนั้นก็ยังไม่ถือว่ามีนัยสำคัญ เพราะมูลค่าการซื้อขายในวันนี้ค่อนข้างเบาบาง จากการที่เข้าสู่ช่วงวันหยุดยาวเทศกาลปีใหม่ ซึ่งนักลงทุนต่างหยุดพักกันลงทุนไปมากแล้ว ส่วนตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียวันนี้ส่วนใหญ่เคลื่อนไหวในแดนบวก

ทั้งนี้ประเมินตลาดหุ้นไทยในช่วงเปิดทำการหลังเทศกาลปีใหม่ มองว่าดัชนีเคลื่อนไหวในลักษณะแกว่งตัว และการซื้อขายยังไม่คึกคักมากนักในช่วง 2 วันที่เปิดทำการหลังเทศกาลปีใหม่ อย่างไรก็ตามมองว่ายังมีปัจจัยหนุนจากทิศทางของราคาน้ำมันที่ปรับขึ้นจะช่วยผลักดันหุ้นกลุ่มพลังงาน และคาดการณ์การลงนามข้อตกลงทางการค้าระหว่างสหรัฐและจีนในเฟสแรก ยังเป็นปัจจัยที่ต้องติดตามในช่วงเดือน ม.ค.ที่จะถึงนี้ พร้อมทั้งติดตามการทยอยประกาศผลการดำเนินงานปี 62 ของบริษัทจดทะเบียนที่จะเริ่มทยอยออกมาบ้าง

Source

]]>
1258998
ยื้อไม่ไหว! บางกอกโพสต์ ประกาศขายโรงพิมพ์-สำนักงาน นำเงินชำระหนี้ https://positioningmag.com/1257237 Mon, 16 Dec 2019 11:01:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1257237 ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ยังต้องดิ้นรนหนัก ล่าสุด “บางกอกโพสต์” ประกาศขายโรงพิมพ์ อาคารสำนักงานเเละเครื่องจักร เพื่อนำเงินมาชำระหนี้และทำให้บริษัทมีเงินทุนหมุนเวียนต่อไป หลังประสบภาวะขาดทุนติดต่อกันหลายปี

วันนี้ (16 ธ.ค.) นายสุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร บริษัท บางกอก โพสต์ (POST) แจ้งมติคณะกรรมการบริษัท วันที่ 13 ธ.ค. 2562 อนุมัติให้ขาย ศูนย์การพิมพ์และจัดจำหน่าย บางนา ซึ่งประกอบด้วยที่ดิน สิ่งปลูกสร้างเครื่องจักรอุปกรณ์ และขายอาคารสำนักงาน (คลองเตย) และให้เช่าพื้นที่อาคารสำนักงานคลองเตย ด้วยอัตราค่าเช่าที่เหมาะสม กำหนดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น เพื่ออนุมัติทำรายการ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563

ศูนย์การพิมพ์ฯ บางนา มีมูลค่ารวม 424.3- 509.5 ล้านบาท ประกอบด้วย

  • ที่ดิน 261.2 ล้านบาท
  • อาคารสิ่งปลูกสร้างและสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ 107.3 ล้านบาท
  • เครื่องจักรและอุปกรณ์ 55.8 ล้านบาท (มูลค่าบังคับขาย – แยกชิ้นส่วน) หรือ 141.0 ล้านบาท (มูลค่าตลาดตามสภาพการใช้ประโยชน์ปัจจุบันอาคาร

สำนักงาน (คลองเตย) มูลค่ารวม 1,175.0 ล้านบาท ประกอบด้วย

  • ที่ดิน 859.2 ล้านบาท
  • อาคารสิ่งปลูกสร้างและสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ 315.8 ล้านบาท

คิดเป็นมูลค่าการจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 1,599.3 – 1,684.5 ล้านบาท โดยอ้างอิงตามราคาประเมิน

คาดจำหน่ายทรัพย์สินได้ในระยะเวลา 1 ปี หลังจากขายได้แล้วจะเจรจากับผู้ซื้อเพื่อขอ “เช่า” พื้นที่อาคารสำนักงานคลองเตยในราคาที่เหมาะสมต่อไป โดยอาจเสนอขายให้กับผู้ลงทุนทั่วไปที่ไม่เกี่ยวข้องกับบริษัท หรือผู้ลงทุนที่เกี่ยวโยงกับบริษัทก็ได้ ซึ่งหลังขายทรัพย์สินโรงพิมพ์และอาคารสำนักงานแล้ว ยังประกอบธุรกิจเช่นเดิมได้

สำหรับมติดังกล่าวเกิดขึ้นหลังบริษัทขาดสภาพคล่อง เเละขาดทุนติดต่อกันมาหลายปี จากปัจจัยต่างๆ ทั้งพฤติกรรมการบริโภคสื่อเปลี่ยนไป คนไม่นิยมอ่านสื่อสิ่งพิมพ์ มีสื่อออนไลน์ทางเลือก เเละสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้งบโฆษณาสื่อซึ่งเป็นรายได้หลักของสิ่งพิมพ์ลดลง

ดังนั้นการประกาศขายทรัพย์สินทั้ง 2 รายการใหญ่ของ POST จะทำให้บริษัทมีกระแสเงินสดเพิ่มมากขึ้นทันที เเละสามารถนำไป “จ่ายหนี้” ได้ เเละส่วนที่เหลือก็จะได้นำไปเป็นเงินทุนหมุนเวียนทำธุรกิจต่อไป

ทั้งนี้ ในปี 2561 ที่ผ่านมาบริษัทมีรายได้รวม 1,230 ล้านบาท ขาดทุนจากการดำเนินงาน 168 ล้านบาท หนี้สินรวมของบริษัทในไตรมาส 2 ของปีนี้อยู่ที่ 1,325 ล้านบาท

นอกจากนี้ ในระหว่างการดำเนินการจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ บริษัทยังมีความจำเป็นต้องขอรับความช่วยเหลือทางการเงินเพิ่มเติมจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ซึ่งคาดว่าจะเป็นจำนวนเงินสูงสุดไม่เกิน 200 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยคงที่ 5.25% ต่อปี

โดยเป็นที่ทราบกันว่า เมื่อช่วงเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา POST ได้ประกาศปิดหนังสือพิมพ์ 2 ฉบับในเครืออย่าง “โพสต์ทูเดย์” หนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวันอายุ 17 ปี และฟรีก็อปปี้ M2F อายุ 7 ปี เพื่อลดค่าใช้จ่ายเเละเลิกจ้างพนักงานราว 200 คน เเละหันไปเป็นสื่อดิจิทัลเต็มตัว โดยเหลือพนักงานในกองบรรณาธิการไว้เหลือเพียง 20 คน

เเละในเดือน ก.ย. 2561 POST ได้หยุดพิมพ์นิตยสาร Student Weekly หรือ S Weekly ที่มีอายุเกือบ 50 ปี (ก่อตั้งเมื่อ 30 มิ.ย. 2512)

ย้อนไปเมื่อช่วงปลายปี 2560 สื่อใหญ่อีกเจ้าอย่าง “เนชั่น” ก็อนุมัติขายทรัพย์สินจำนวน 5 รายการ ทั้งมหาวิทยาลัยเนชั่น-ช่อง NOW 26 และที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง มูลค่ารวมกว่า 1,403.61 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงโครงสร้างธุรกิจกิจ และเดินหน้าธุรกิจหลัก (อ่านรายละเอียด ที่นี่)

ที่มา : set.or.th

]]>
1257237
“ไฮสปีดปักกิ่ง-เซี่ยงไฮ้” เตรียมเข้าตลาดฯ หลังฟันกำไรอื้อซ่ากว่า 4 หมื่นล้านบาท https://positioningmag.com/1251309 Tue, 29 Oct 2019 08:09:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1251309 Photo : Xinhua

บริษัทผู้ประกอบการเครือข่ายรถไฟความเร็วสูงจีนสายปักกิ่งเซี่ยงไฮ้ ได้ยื่นคำร้องเปิดขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์อย่างเป็นทางการ หลังจากที่ทำกำไรในเส้นทางปักกิ่งเซี่ยงไฮ้ ถึง 9,500 ล้านหยวน หรือราว 1,400 ล้านเหรียญสหรัฐ

บริษัท Beijing-Shanghai High Speed Railway ผู้ประกอบการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ ความยาว 1,300 กิโลเมตร มีกำไรสุทธิ 9,500 ล้านหยวน หรือราวกว่า 40,000 ล้านบาท ระหว่างช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ โดยมีสัดส่วนกำไรประมาณ 38% ของรายได้ในช่วงเวลาดังกล่าว และนับเป็นการทำกำไรของกิจการที่สูงยิ่งกว่า Apple Inc ผู้ผลิต iPhone และบริษัทกุ้ยโจว เหมาไถ (Kweichow Moutai) แบรนด์เหล้าขาวจีนชื่อก้องโลก

จากเอกสารแนบประกอบคำร้องขอเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นระบุว่าบริษัทรถไฟความเร็วสูงจีนรายนี้ มีกำไรสุทธิทั้งปี เท่ากับ 10,200 ล้านหยวน หรือราว 43,860 ล้านบาทในปี 2018 คิดเป็นสัดส่วนเพิ่มขึ้นกว่า 13% จากปี 2017 และต้องการเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ เพื่อระดมทุนซื้อโครงการรถไฟอื่นๆ ในมณฑลอันฮุย

ตามแผนฯ แจงอีกว่า China State Railway Group ซึ่งถือหุ้น 50% ในกิจการไฮสปีดผ่านหน่วยการลงทุนของตน ต้องการที่จะใช้กำไรส่วนหนึ่งไปช่วยพยุงเส้นทางที่มีกำไรน้อยกว่า

เส้นทางรถไฟความเร็วสูงปักกิ่ง-เซี่ยงไฮ้ มีขบวนรถไฟอัตราความเร็วถึง 350 กิโลเมตร/ชั่วโมง ย่นเวลาเดินทางระหว่างสองเมืองเหลือเพียง 4 ชั่วโมงครึ่ง โดยราคาตั๋วรถไฟ ได้แก่ ตั๋วโดยสารตู้ขบวนรถชั้นหนึ่งแบบเที่ยวเดียว เท่ากับ 933 หยวน หรือราว 4,000 บาท ซึ่งพอๆ กับราคาตั๋วเครื่องบิน ส่วนตั๋วโดยสารที่นั่งมาตรฐานทั่วไป เท่ากับ 553 หยวน หรือประมาณ 2,377 บาท (*คำนวณจากอัตราแลกเปลี่ยน 1 หยวน เท่ากับ 4.3 บาท)

ในปี 2018 มีผู้โดยสารเส้นทางรถไฟไฮสปีดสายปักกิ่ง-เซี่ยงไฮ้ เท่ากับ 192 ล้านคน หรือราว 6% ของกลุ่มผู้โดยสารโดยเส้นทางรถไฟความเร็วสูงทั่วประเทศจีน และนับจากต้นปีนี้มา อัตราผู้ใช้บริการ (occupancy rate) โดยเฉลี่ย เท่ากับ 80%

แม้เส้นทางเรือธงของเครือข่ายไฮสปีดจีนประสบความสำเร็จงดงาม บริษัทไชน่า เรลเวย์ (China Railway) ก็มียอดขาดทุนสุทธิ เท่ากับ 205 ล้านหยวน หรือราว 881.5 ล้านบาทในช่วงครึ่งแรกของปีนี้(2019) และหนี้สินบานเบอะ 5.29 ล้านล้านหยวน

ณ ปลายเดือนก.ย. บริษัท Beijing-Shanghai High Speed Railway Co ซึ่งมีพนักงานเพียง 67 คน มีสินทรัพย์ 187,000 ล้านหยวน และหนี้สิน 27,000 ล้านหยวน

Source

]]>
1251309
ดราม่าเป็นเหตุ “เถ้าแก่น้อย” หุ้นร่วงจาก 11.80 บาท เหลือ 10.10 บาท เจอตลาดหลักทรัพย์ขึ้น T1 ใช้บัญชีเติมเงินซื้อเท่านั้น https://positioningmag.com/1244711 Sun, 01 Sep 2019 07:57:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1244711 หลังจากวันที่ 25 สิงหาคมที่ผ่านมา “เถ้าแก่น้อย” เจอดราม่ากรณีจัดกิจกรรม “Taokaenoi Exclusive ล่องเรือ กับ F4” พ่วงวันเกิดภรรยา ส่งผลให้หุ้นที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ภายใต้ชื่อ “TKN” ร่วงจาก 11.80 บาท เหลือ 10.10 บาทในสัปดาห์เดียวตลาดหลักทรัพย์ต้องขึ้นเครื่องหมาย T1 ใช้บัญชีเติมเงินซื้อเท่านั้น

เมื่อเย็นวันศุกร์ที่ 30 .ที่ผ่านมา ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ประกาศให้หลักทรัพย์ของบริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชนหรือ TKN เป็นหลักทรัพย์ที่เข้าข่ายมาตรการกำกับการซื้อขาย ระดับ 1 (T1) Cash Balance ตั้งแต่วันที่ .ถึง 11 .. 2562 โดยสมาชิก (บริษัทหลักทรัพย์ต้องดำเนินการให้ลูกค้าซื้อหลักทรัพย์ด้วยบัญชี Cash Balance หรือบัญชีเติมเงินเท่านั้น 

โดยลูกค้าต้องวางเงินสดไว้ล่วงหน้ากับสมาชิกเต็มจำนวนก่อนซื้อหลักทรัพย์ ห้ามคำนวณวงเงินซื้อขาย โดยใช้หลักทรัพย์เป็นหลักประกันในการคำนวณเป็นวงเงินซื้อขายหลักทรัพย์ในทุกประเภทบัญชี และห้าม Net settlement หักกลบราคาค่าซื้อกับราคาค่าขายหลักทรัพย์เดียวกันในวันเดียวกัน (โดยซื้อและขายหลักทรัพย์เดียวกันในวันเดียวกัน ค่าขายคืนเป็นวงเงินในวันทำการถัดไป)

ด้านราคาหลักทรัพย์ TKN เมื่อวันที่ 30 .ที่ผ่านมา ปิดตลาดอยู่ที่ 10.10 บาท ต่ำกว่า 20 สตางค์ หรือ 1.94% จากราคาเปิดตลาด 10.30 บาท โดยพบว่าในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ราคาหุ้นสูงสุดที่ 11.80 บาท เมื่อวันที่ 23 .ที่ผ่านมา ก่อนที่ราคาจะร่วงลงในวันที่ 26 .เหลือ 10.90 บาท, 27 .เหลือ 10.40 บาท, 28 .. เหลือ 10.30 บาท และวันที่ 30 .เหลือ 10.10 บาท กระทั่งตลาดหลักทรัพย์ขึ้นเครื่องหมาย T1 ดังกล่าว

อนึ่ง ผลประกอบการเถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง ไตรมาส 2/2562 พบว่ามีรายได้รวม 2,599.08 ล้านบาท กำไรสุทธิ 179.74 ล้านบาท ย้อนกลับไปที่งบการเงินปี 2561 มีรายได้รวม 5,697.41 ล้านบาท กำไรสุทธิ 459.18 ล้านบาท, งบการเงินปี 2560 มีรายได้รวม 5,283.13 ล้านบาท กำไรสุทธิ 608.44 ล้านบาทงบการเงินปี 2559 มีรายได้รวม 4,729.39 ล้านบาท กำไรสุทธิ 781.85 ล้านบาท และงบการเงินปี 2558 มีรายได้รวม 3,515.27 ล้านบาท กำไรสุทธิ 396.95 ล้านบาท

สำหรับเถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง เป็นผู้ผลิตสาหร่ายทะเลทอดกรอบตราเถ้าแก่น้อย มีนายอิทธิพัทธ์ พีระเดชาพันธ์ หรือ ต๊อบ อายุ 34 ปี เป็นผู้ก่อตั้ง ก่อนหน้านี้เพิ่งเจอกระแสดรามาจากกิจกรรม “Taokaenoi Exclusive ล่องเรือ กับ F4” ใช้กิจกรรมทางการตลาดจัดงานวันเกิดให้ภรรยาตัวเองอย่างไม่เหมาะสม จนแฟนคลับบอยคอตสินค้า บริษัทฯ ตัดสินใจจัดกิจกรรมอีกรอบแก่ผู้โชคดี โดยยกเลิกระบบ Top Spender และยกเลิกการเชิญแขก VIP.

Source

]]>
1244711