ทีวีช้อปปิ้ง – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 21 Aug 2019 03:08:05 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “ทีวีโฮมช้อปปิ้ง” ครึ่งปีหลังยอดร่วง! ผลพวง 7 ช่องทีวีดิจิทัล “ลาจอ” หันพึ่งทีวีดาวเทียม-ออนไลน์ https://positioningmag.com/1243198 Tue, 20 Aug 2019 12:50:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1243198 สื่อทีวีดิจิทัล ถือเป็นหนึ่งในช่องทางนำเสนอสินค้าของธุรกิจโฮมช้อปปิ้งและไดเร็คเซล การปิดฉากทีวีดิจิทัล 7 ช่อง จึงสะเทือนตลาดทีวีโฮมช้อปปิ้งครึ่งปีหลังอยู่ในอาการติดลบ

ธุรกิจ “ทีวีโฮมช้อปปิ้ง” รายการแนะนำสินค้า มีการนำเสนอ 2 รูปแบบ คือ “โฮม ช้อปปิ้ง” เป็นช่องรายการ 24 ชั่วโมง ทั้งช่องทีวีดาวเทียมและช่องทางออนไลน์ ส่วน “ทีวี ช้อปปิ้ง” คือ การเช่าเวลาหรือซื้อเวลาโฆษณาทางสถานีทีวี เพื่อออกอากาศรายการแนะนำสินค้าเป็นช่วงๆ ปัจจุบัน “ทีวีดิจิทัล” ถือเป็นหนึ่งในช่องทางหลังรายการแนะนำสินค้าของธุรกิจไดเร็คเซล

ครึ่งปีหลังทีวีโฮมช้อปปิ้งยอดร่วง

สมาคมทีวีโฮมช้อปปิ้ง (ประเทศไทย) ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก “ทรูซีเล็คท์-ช้อปแชนแนล-โอช้อปปิ้ง-ทีวีดีช้อป-ไฮช้อปปิ้ง-ทีวีไดเร็ค” รายงานธุรกิจทีวีโฮมช้อปปิ้ง 6 เดือนแรก ปี 2562 มีมูลค่า 7,351 ล้านบาท เติบโต 12.11% จากช่วงเดียวกันปีก่อน

ขณะที่แนวโน้มครึ่งปีหลังคาดตลาด “ติดลบ” 5.62% หรือมีมูลค่า 6,983 ล้านบาท จากปัจจัยเศรษฐกิจชะลอตัวส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อผู้บริโภคและปัจจัยผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลคืนช่องยุติออกอากาศ 7 ช่อง ทำให้ช่องทางนำเสนอรายการของทีวีช้อปปิ้งหายไป

แต่หากย้อนไปช่วง 5 ปีนี้ ธุรกิจทีวีโฮม ช้อปปิ้ง เติบโตมาต่อเนื่อง ปี 2558 มีมูลค่า 8,444 ล้านบาท เติบโต 17.5% ปี 2559 มูลค่า 9,840 ล้านบาท เติบโต 14.2% ปี 2560 มูลค่า 11,670 ล้านบาท เติบโต 15.7% ปี 2561 มูลค่า 13,820 ล้านบาท เติบโต 15.5%

ทรงพล ชัญมาตรกิจ นายกสมาคมทีวีโฮมช้อปปิ้ง (ประเทศไทย) กล่าวว่าการเติบโตของธุรกิจทีวีโฮมช้อปปิ้ง ช่วงที่ผ่านมามีปัจจัยจากมีผู้ประกอบการรายใหม่เข้าสู่ตลาด โดยเฉพาะเจ้าของช่องทีวีดิจิทัล ช่อง 8 (อาร์เอส) เวิร์คพอยท์ทีวี โมโน อมรินทร์ทีวี และผู้ประกอบการทีวีช่องอื่นๆ ที่เริ่มเข้ามาทำธุรกิจนี้

ทรงพล ชัญมาตรกิจ

ขณะเดียวกันกลุ่มผู้ประกอบการโฮมช้อปปิ้งเอง ก็ได้เข้ามาเช่าเวลาและซื้อเวลาออกอากาศรายการแนะนำสินค้าในช่องทีวิดิจิทัลด้วยเช่นกัน เนื่องจากเป็นสื่อที่เข้าถึงครัวเรือนไทยทั่วประเทศ ผู้ชมกลุ่มหลักอายุ 35 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายเดียวกับธุรกิจทีวีโฮมช้อปปิ้ง ดังนั้นการยุติออกอากาศทีวีดิจิทัล 7 ช่อง ซึ่งมีรายการทีวีโฮมช้อปปิ้งออกอากาศอยู่ด้วย จึงส่งผลกระทบต่อภาพรวมตลาดครึ่งปีหลัง ให้อยู่ในภาวะ “ติดลบ” และทำให้ยอดขายทั้งปีของภาพรวมธุรกิจทีวีโฮมช้อปปิ้ง ปี 2562 อยู่ที่ 14,334 ล้านบาท เติบโต 11% ต่ำสุดในรอบ 5 ปี

การทำธุรกิจยุคนี้ คาดเดาตลาดได้ยาก ธุรกิจทีวีโฮมช้อปปิ้งไตรมาสแรกปีนี้ ยังเติบโตได้ดี พอไตรมาส 2 กสทช. เปิดให้ทีวีดิจิทัลคืนช่อง ตลาดเริ่มชะลอตัว และครึ่งปีหลังถึงกับติดลบ

เช่าเวลาช่องใหม่-ทีวีดาวเทียม-รุกออนไลน์

ในภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อชะลอตัวทำให้อุตสาหกรรมโฆษณาถดถอยเช่นกัน ปัจจุบันเม็ดเงินโฆษณาทีวีมาจาก เอเยนซีที่ดูแลลูกค้ากลุ่มอินเตอร์เนชั่นแนลแบรนด์ มีสัดส่วนราว 60% ลูกค้าซื้อตรงกับสถานีทีวี 30% และกลุ่มทีวีโฮมช้อปปิ้ง 10%

พบว่าเม็ดเงินโฆษณาจากเอเยนซี่ผ่านทีวีลดลง เพราะหันไปใช้สื่อออนไลน์มากขึ้น ดังนั้นธุรกิจโฮมช้อปปิ้งจึงมีโอกาสไปเช่าเวลาและซื้อเวลาโฆษณาในช่องทีวีดิจิทัลที่ยังเหลืออยู่ รวมทั้งหันไปขยายช่องทางทำตลาดผ่านช่องทีวีดาวเทียม ซึ่งในปีที่ผ่านมามีสัดส่วนการรับชมอยู่ที่ 53.26% รวมทั้งช่องทางออนไลน์ เว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย และมาร์เก็ตเพลสต่างๆ

ปัจจุบันธุรกิจโฮมช้อปปิ้งในไทย มีสัดส่วนเพียง 0.1% ของมูลค่าค้าปลีกไทย ขณะที่เกาหลีอยู่ที่ 5% นั่นเท่ากับโอกาสเติบโตได้อีกมาก.

]]>
1243198
“โฮมช้อปปิ้ง” ยังเกลื่อนจอ เมื่อ “ทีวีดิจิทัล” ต้องดิ้นรนหารายได้ในยุคโฆษณาถดถอย https://positioningmag.com/1242802 Sun, 18 Aug 2019 23:05:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1242802 มีคำถามว่าเมื่อทีวีดิจิทัล” 7 ช่องคืนใบอนุญาตลาจอไปแล้ว อีก 15 ช่องที่เหลือจะมีทิศทางอย่างไร ทั้งโอกาสหารายได้จากโฆษณาและจำนวนผู้ชมย้ายช่อง

การยุติออกอากาศทีวีดิจิทัลทั้ง 7 ช่อง ซึ่งเริ่ม 3 ช่องแรกไปแล้ว เมื่อวันที่ 16 ส.ค. 2562 คือ Spring 26, Spring News และ Bright TV ขณะที่อีก 4 ช่อง ที่ประกอบไปด้วย Voice TV, MCOT Family, CH 3 Family และ CH 3 SD จะทยอย “จอดำ” ในเดือน ก.ย. – ต.ค. นี้

สำหรับ 7 ช่องทีวีดิจิทัล มีส่วนแบ่งการตลาดผู้ชมราว 8% และเม็ดเงินโฆษณารวมกันเฉลี่ยเดือนละ 120 ล้านบาท หรือปีละ 1,400 ล้านบาท หลังจากทั้ง 7 ช่องลาจอ ผู้ชมและเม็ดเงินโฆษณาจะไหลไปยังแพลตฟอร์มออนไลน์และทีวีดิจิทัลที่มีฐานผู้ชมใกล้เคียงกันแทน ซึ่งเป็นเม็ดเงินไม่มากนักและไม่ได้มีผลต่อ 15 ช่องที่เหลือ

ทีวีโฮมช้อปปิ้งหนุนรายได้

ดร.กมลมาลย์ แจ้งล้อม นักวิเคราะห์อาวุโส Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) วิเคราะห์การคืนใบอนุญาตของ 7 ช่อง “ระยะสั้น” จะส่งผลบวกต่อภาพรวมอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัล “เล็กน้อย” เนื่องจากรายได้จากการโฆษณาของทีวีดิจิทัลทั้ง 7 ช่องในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา มีสัดส่วนเฉลี่ยต่ำกว่า 5% ของมูลค่าโฆษณาทางทีวีทั้งหมด ขณะที่ผู้ประกอบการที่เหลืออยู่ยังคงต้องเผชิญกับแรงกดดันต่อเนื่อง จากรายได้โฆษณาที่ลดลง

ยิ่งไปกว่านั้นภาวะเศรษฐกิจภายในและภายนอกประเทศที่ผันผวนในปีนี้ รวมถึงการปรับราคาโฆษณาทีวีสูงขึ้นกว่า 4% ส่งผลให้ภาคธุรกิจและเจ้าของผลิตภัณฑ์ชะลอการลงเม็ดเงินโฆษณาออกไป โดย “นีลเส็น” รายงานการใช้เม็ดเงินในการโฆษณาทีวีครึ่งปีแรกนี้ ลดลง 1% มาอยู่ที่ราว 3.3 หมื่นล้านบาท

ในระยะกลาง อีไอซี ประเมินว่า ผู้ประกอบการ “ทีวีดิจิทัล” ที่เหลืออยู่สามารถสร้างรายได้และผลกำไรที่ดีขึ้นจากเม็ดเงินโฆษณาจากกลุ่มทีวีโฮมช้อปปิ้ง ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและการปรับกลยุทธ์ของกลุ่มธุรกิจทีวีโฮมช้อปปิ้ง เช่น TV Direct, Sanook Shopping, O Shopping ที่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการลงโฆษณาจากแบบช่วงเวลาเป็นการโฆษณาขายสินค้าตลอดทั้งวัน ส่งผลให้เม็ดเงินโฆษณาของธุรกิจทีวีโฮมช้อปปิ้ง ปรับตัวสูงขึ้นกว่า 2,500 ล้านบาทต่อปี เม็ดเงินเหล่านี้ได้กลายเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของช่องทีวีดิจิทัล

รวมถึงจำนวนผู้ประกอบการทีวีโฮมช้อปปิ้ง “หน้าใหม่” ที่เข้ามาแข่งขันทำตลาดมากส่งผลให้เม็ดเงินโฆษณาสื่อทีวีมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง

ทีวีดิจิทัลส่วนใหญ่ต่างมีแผนปรับกลยุทธ์ซื้อคอนเทนต์ใหม่ๆ จากผู้ผลิตทั้งในและต่างประเทศเพื่อชิงเรตติ้งผู้ชมและเม็ดเงินโฆษณาเพิ่มขึ้นราว 30% คิดเป็นเงินลงทุนกว่า 8,000 ล้านบาทในปีนี้ แทนการผลิตคอนเทนต์เองที่มีต้นทุนสูงกว่า ทำให้มีรายจ่ายลดลงและมีกำไรดีขึ้น รวมทั้งมีการปรับสัดส่วนโครงสร้างธุรกิจ โดยขยายช่องทางการรับชมผ่านสื่อออนไลน์มากขึ้นสอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจะเป็นอีกช่องทางในการสร้างรายได้และต่อยอดในการทำธุรกิจในอนาคต

“ทีวีไดเร็ค” พึ่งช่อง 3 หลังสปริงนิวส์จอดำ

“ทีวีไดเร็ค” ถือเป็นหนึ่งในผู้เล่นรายใหญ่ของธุรกิจทีวีโฮมช้อปปิ้ง ที่ผ่านมาเช่าเวลาออกอากาศรายการทาง “ทีวีดิจิทัล” โดยเฉพาะช่องสปริงนิวส์ 19 ที่ยุติออกอากาศ คืนใบอนุญาตไปแล้ว ทำให้ครึ่งปีหลัง “ทีวีไดเร็ค” ต้องปรับตัวหาช่องทางออกอากาศรายการเพิ่มเติม

ทรงพล ชัญมาตรกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีวี ไดเร็ค จำกัด (มหาชน) หรือ TVD กล่าวว่าได้เจรจาซื้อเวลาโฆษณาจากทีวีดิจิทัล ช่อง 33 หรือ ช่อง 3 ทั้งช่วงเช้า กลางวัน เย็น และค่ำ ในรายการต่างๆ เช่น ข่าวเช้า ข่าวเที่ยง ละครเย็น ฯลฯ เพื่อเพิ่มยอดขายจากการออกอากาศรายการแนะนำสินค้า หรือ โฮมช้อปปิ้ง และเตรียมเริ่มออกอากาศโฮมช้อปปิ้งช่องใหม่ทางทรูวิชั่นส์ ช่อง 54 ในเดือน ต.ค. นี้

ช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ทีวีไดเร็ค ได้รับผลกระทบจากยอดขายสินค้าผ่านโฮมช้อปปิ้ง ทางช่อง สปริงนิวส์ 19 ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เนื่องจากสปริงนิวส์ ขอคืนช่องและยุติออกอากาศในวันที่ 16 ส.ค. ที่ผ่านมา ส่งผลให้เรตติ้งผู้ชมเริ่มลดลงอย่างมากตั้งแต่ไตรมาส 2 ที่แจ้งคืนช่องก่อนยุติออกอากาศ

โฮมช้อปปิ้งแชมป์ใช้งบโฆษณา

ตัวเลขเม็ดเงินโฆษณา 7 เดือนแรก (ม.ค. – ก.ค. 2562) ธุรกิจโฮมช้อปปิ้ง ยังเป็นแชมป์ใช้งบโฆษณารวม 4 รายใหญ่ มูลค่า 3,735 ล้านบาท เบอร์หนึ่ง คือ Shop 1781 ของ อาร์เอส ทางช่อง 8 มูลค่า 1,508 ล้านบาท ตามด้วย “ทีวีไดเร็ค” ที่กระจายอยู่หลายช่องทีวีดิจิทัล รวมมูลค่าใช้งบโฆษณา 904 ล้านบาท ส่วน Sanook Shopping (สนุก ช้อปปิ้ง) มูลค่า 717 ล้านบาท ตามด้วย O Shopping (โอ ช้อปปิ้ง) มูลค่า 606 ล้านบาท  จากข้อมูลของ นีลเส็น ยังพบว่าเดือน ก.ค. ปรากฏชื่อธุรกิจไดเร็คเซล แบรนด์เล็กๆ ใช้งบโฆษณาอีกมูลค่ากว่า 65 ล้านบาท

ภวัต เรืองเดชวรชัย ผู้อำนวยการธุรกิจสายงานการวางแผนและกลยุทธ์สื่อโฆษณา บริษัท มีเดีย อิเทลลิเจนซ์ จำกัด หรือ MI และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มีเดีย อินไซต์ จำกัด วิเคราะห์ว่า แม้มีทีวีดิจิทัลออกจากตลาด 7 ช่อง กลุ่มที่เหลืออยู่อีก 15 ช่องก็ยังต้องเหนื่อยต่อไป เพราะอุตสาหกรรมโฆษณาทีวี ยังอยู่ในภาวะ “ทรงตัว”  และมีแนวโน้มถดถอย ปี 2563 คาดว่าอุตสาหกรรมโฆษณา “ติดลบ” 2.83%

สื่อทีวีเองก็มีแนวโน้มลดลงจากปี 2561 ที่มีมูลค่า 47,785 ล้านบาท ปี 2562 คาดการณ์มูลค่าอยู่ที่ 47,300 ล้านบาท และปี 2563 งบโฆษณามูลค่าอยู่ที่ 40,500 ล้านบาท การเติบโตอยู่ใน 2 สื่อหลัก คือ สื่อออนไลน์และสื่อนอกบ้าน (OOH)

วันนี้แหล่งรายได้สำคัญนอกจากเม็ดเงินโฆษณา ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ที่กลุ่มเรตติ้งท็อป 5 ครองสัดส่วน 70 – 80% นำโดย ช่อง 7 และช่อง 3 จึงพบว่า “หลายช่อง” ต้องพึ่งพารายได้จากโฆษณาและการเช่าเวลาของรายการประเภทโฮมช้อปปิ้ง ซึ่งสื่อทีวี ถือว่าตอบโจทย์การเข้าถึงครัวเรือนไทยทั่วประเทศ ยังเป็นช่องทางนำเสนอคอนเทนต์ประเภทแนะนำสินค้าได้ดีกว่าสื่อรูปแบบอื่น

ปัจจุบันมีความชัดเจนว่า บิสสิเนส โมเดล ของ “อาร์เอส” ที่ใช้ช่อง 8 และไทยรัฐทีวี เป็นสื่อทำรายการโฮมช้อปปิ้ง ให้กับธุรกิจ MPC สามารถพลิกธุรกิจจากสื่อทีวีสู่ธุรกิจพาณิชย์ที่สร้างรายได้และกำไรให้กับอาร์เอส ต่างจากทีวีดิจิทัลช่องอื่นๆ ที่ต้องเผชิญภาวะขาดทุนมาต่อเนื่อง และกลายเป็นโมเดลให้หลายช่องเริ่มหันมาทำธุรกิจโฮมช้อปปิ้งเอง แทนการปล่อยเช่าเวลา

การ “ลาจอ” ของ 7 ช่องทีวีดิจิทัล ต้องบอกว่าไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัลมากนักและรูปแบบการหารายได้ก็ยังต้องพึ่งพารายการโฮมช้อปปิ้งอยู่ต่อไป.

]]>
1242802
โฆษณา ก.ค. “ติดลบ” ต่ำสุดในรอบปี “ทีวีช้อปปิ้ง” แข่งสาดงบยึดท็อปเท็นแบรนด์ https://positioningmag.com/1242144 Tue, 13 Aug 2019 09:55:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1242144 เม็ดเงินโฆษณาเดือน .. 2562 เริ่มเห็นสัญญาณกระเตื้อง หากเปรียบเทียบในรอบปีนี้ แม้ยังติดลบแต่ถือว่าต่ำสุดในรอบปี ขณะที่สื่อดั้งเดิมส่วนใหญ่ยังคงลดลง และแบรนด์ทีวีช้อปปิ้งยังคงใช้จ่ายเงินในอันดับท็อปเท็น

บริษัทนีลเส็น (ประเทศไทย) รายงานการใช้งบโฆษณาผ่านสื่อเดือน ก.ค. 2562 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน มีมูลค่า 9,143 ล้านบาท ติดลบ 0.42% ถือเป็นอัตราการลดลงน้อยที่สุดในรอบปีนี้ เพราะหากดูตัวเลขเดือน ม.ค. มูลค่า 7,240 ล้านบาท ติดลบ 2.20% เดือน ก.พ. มูลค่า 7,603 ล้านบาท ติดลบ 1.17% เดือน มี.ค. มูลค่า 9,267 ล้านบาท ติดลบ 1.68% เดือน เม.ย. มูลค่า 8,543 ล้านบาท ติดลบ 1.58% เดือน พ.ค. มูลค่า 8,789 ล้านบาท ติดลบ 2.11% และเดือน มิ.ย. มูลค่า 9,044 ล้านบาท ติดลบ 5.38%

โฆษณา ก.ค. สื่อดั้งเดิมยังอ่วม

ตัวเลขงบโฆษณา ก.ค. 2562 สื่อส่วนใหญ่ยังอยู่ในสถานการณ์ “ติดลบ” โดยเฉพาะกลุ่มสื่อดั้งเดิม (traditional media) เริ่มจาก ทีวี มูลค่า 5,774 ล้านบาท ลดลง 3.33% เคเบิลและทีวีดาวเทียม มูลค่า 193 ล้านบาท ลดลง 3.50% วิทยุ มูลค่า 412 ล้านบาท ลดลง 1.44% หนังสือพิมพ์ มูลค่า 400 ล้านบาท ลดลง 27.67% นิตยสาร มูลค่า 76 ล้านบาท ลดลง 24.75% สื่อนอกบ้าน มูลค่า 588 ล้านบาท ลดลง 0.34%

ส่วนสื่อที่ “เติบโต” ในเดือน ก.ค. นี้ คือ สื่อโรงภาพยนตร์ มูลค่า 979 ล้านบาท เติบโต 55.89% สื่อเคลื่อนที่ มูลค่า 504 ล้านบาท เติบโต 1.20% สื่อในห้างฯ มูลค่า 99 ล้านบาท เติบโต 8.79% และสื่อดิจิทัล 118 ล้านบาท ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการเก็บด้วยเทคโนโลยี Crawler ของนีลเส็น เริ่มเดือน พ.ค. 2562 จึงยังไม่มีตัวเลขเปรียบเทียบ

สำหรับเม็ดเงินโฆษณา 7 เดือน (ม.ค. – ก.ค.) มีมูลค่า 59,861 ล้านบาท ติดลบ 1.74% โดยสื่อดั้งเดิมส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในภาวะ “ติดลบ” เริ่มจาก “ทีวี” มีมูลค่า 38,864 ล้านบาท ติดลบ 0.97% เคเบิล/ทีวีดาวเทียม มูลค่า 1,269 ล้านบาท ติดลบ 11.88% วิทยุ มูลค่า 2,587 ล้านบาท ติดลบ 3.36% หนังสือพิมพ์ มูลค่า 2,788 ล้านบาท ติดลบ 19.33% นิตยสาร มูลค่า 594 ล้านบาท ติดลบ 21.22%

ส่วนสื่อโฆษณาที่ “เติบโต” ประกอบด้วย สื่อในโรงภาพยนตร์ มูลค่า 4,660 ล้านบาท เติบโต 4.39% สื่อนอกบ้าน มูลค่า 3,961 ล้านบาท เติบโต 0.99% สื่อเคลื่อนที่ มูลค่า 3,651 ล้านบาท เติบโต 5.37% สื่อในร้านค้า มูลค่า 612 ล้านบาท เติบโต 1.16% และสื่อดิจิทัล มูลค่า 422 ล้านบาท


ท็อปเท็นแบรนด์สาดงบตัวเลข “บวก” ทุกราย

สำหรับกลุ่ม “ท็อปเท็น” แบรนด์ที่ใช้งบโฆษณาสูงสุดเดือน ก.ค. 2562 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน พบว่า “ทุกแบรนด์” ที่ติด 10 อันดับแรก ใช้งบเพิ่มทุกราย

นำโดย ทีวีไดเร็ค มูลค่า 155 ล้านบาท จาก 126 ล้านบาท ธนาคารออมสิน มูลค่า 110 ล้านบาท จาก 105 ล้านบาท การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) มูลค่า 94 ล้านบาท จาก 44 ล้านบาท โค้ก มูลค่า 91 ล้านบาท จาก 85 ล้านบาท บาท สนุก ช้อปปิ้ง มูลค่า 79 ล้านบาท (ไม่มีมูลค่าเปรียบเทียบกับปีก่อน)

โอ ช้อปปิ้ง มูลค่า 77 ล้านบาท จาก 9 ล้านบาท เป๊ปซี่ มูลค่า 77 ล้านบาท จาก 19 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์ซักผ้าดาวน์นี่ มูลค่า 67 ล้านบาท จาก 54 ล้านบาท ทิพยประกันชีวิต มูลค่า 65 ล้านบาทจาก 2.6 ล้านบาท ไดเร็คเซล มูลค่า 65 ล้านบาท จาก 8.6 ล้านบาท

หากดูตัวเลขการใช้งบโฆษณาของกลุ่ม 10 อันดับแบรนด์ ยังไม่เปลี่ยนแปลงจากก่อนหน้านี้ ที่ธุรกิจ “ไดเร็คเซล” เป็นแบรนด์ที่ใช้เงินสูงสุด เนื่องจากมีการโฆษณาและจัดรายการผ่านช่องทีวีดิจิทัล รูปแบบ “ทีวีช้อปปิ้ง” ของผู้ประกอบการหลายแบรนด์ รวมทั้งผู้เล่นรายใหม่ที่เข้าสู่ตลาด


FMCG ยังครองแชมป์ฝั่งองค์กร

ฝั่งที่ “ท็อปเทน” องค์กรที่ใช้งบโฆษณาสูงสุด เดือน ก.ค. 2562 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ส่วนใหญ่ธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค (FMCG) ที่มีสินค้าในพอร์ตโฟลิโอหลายแบรนด์ จะครองตลาดนี้

เบอร์หนึ่งตลอดกาล คือ ยูนิลีเวอร์ (ไทย) เดือน ก.ค. 2562 ใช้งบมูลค่า 259 ล้านบาท ลดลงจาก 325 ล้านบาท ตามมาด้วย พีแอนด์จี มูลค่า 252 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 213 ล้านบาท ลอรีอัล มูลค่า 187 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 134 ล้านบาท โตโยต้า มอเตอร์ มูลค่า 166 ล้านบาท ลดลงจาก 194 ล้านบาท ทีวีไดเร็ค มูลค่า 155 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 126 ล้านบาท

ธุรกิจไดเร็คเซล รายใหม่ มูลค่า 150 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 10 ล้านบาท เป๊ปซี่ มูลค่า 142 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 30 ล้านบาท เนสท์เล่ (ไทย) มูลค่า 142 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 38 ล้านบาท ตรีเพชรอีซูซุ มูลค่า 128 ล้านบาท ลดลงจาก 118 ล้านบาท และ ไบเออร์สดอร์ฟ มูลค่า 112 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 121 ล้านบาท.


หมายเหตุจากนีลเส็น

นีลเส็น ชี้แจงว่าข้อมูลเม็ดเงินโฆษณา ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2562 เป็นต้นไป ได้เปลี่ยนวิธีการเก็บข้อมูลในสื่อ Internet จากการเก็บในรูปแบบ manual ทีใช้พนักงานเก็บข้อมูลจำนวน 50 website +10 mobile web มาเป็นการใช้เทคโนโลยี Crawler เพื่อจัดเก็บข้อมูลโฆษณาบนเว็บไซต์ จำนวนทั้งหมด 200 เว็บไซต์ ซึ่งจะใช้ชื่อสื่อใหมนี้ว่า ‘Digital’ ซึ่งเป็นสื่อในรูปแบบ Text, Flash, HTML5, Image, Skin, Video และ in banner video ทั้งโฆษณาจาก Direct, Indirect programmatic และนำมาคำนวณตาม Rate card กลาง จากวิธีการคำนวณของทีมนีลเส็น Global

สำหรับภาพรวมการใช้งบโฆษณาผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตทั้งหมด ให้อ้างอิงข้อมูลจาก DAAT

สื่อกลางแจ้ง (outdoor) และสื่อเคลื่อนที่ (transit) : มีการรวมข้อมูลจาก JCDecaux สำหรับข้อมูลจากสื่อในสนามบินตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2560 และข้อมูลของสื่อ outdoor และ transit จาก JCDecaux ได้ถูกรวมเข้าไว้ในรายงานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2560

นีลเส็นได้มีการเพิ่มพื้นที่การเก็บข้อมูลสื่อกลางแจ้ง (outdoor) เช่น สื่อเคลื่อนที่ (transit) ป้ายบิลบอร์ด ป้ายโฆษณาบนทางเท้า สื่อในสนามบิน และอื่นๆ ตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2559 เป็นต้นมา

สื่อในห้าง : นีลเส็นได้มีการเพิ่มข้อมูล สื่อวิทยุในห้าง Big C และ 7 Eleven เข้ามาในฐานข้อมูล ตั้งแต่เดือนมกราคม 2559

ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2558 ข้อมูลของสื่อในห้าง Tesco Lotus และ Big C ไม่ได้รวมอยู่ในฐานข้อมูลของนีลเส็น

ตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2559 เป็นต้นมา ได้มีการเพิ่มสื่อที่บริหารจัดการโดยบริษัท Plan B เข้ามาในฐานข้อมูลของสื่อกลางแจ้ง สื่อเคลื่อนที่ และสื่อในห้างฯ

]]>
1242144
เวิร์คพอยท์ พึ่ง “ทีวีช้อปปิ้ง” กู้รายได้ หลังรายการใหม่ไม่ปัง https://positioningmag.com/1209932 Wed, 23 Jan 2019 23:07:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1209932 สถานการณ์ช่วงนี้ของ “เวิร์คพอยท์” ต้องเจอโจทย์ยากขึ้นทุกที เมื่อยังไม่มีรายการวาไรตี้ใหม่ๆ สร้างกระแสความนิยมและเรตติ้งได้ ทำให้เวิร์คพอยท์ต้องหันมาพึ่งพารายการ “โฮมช้อปปิ้ง” ที่หวังเป็นช่องทางสร้างรายได้ใหม่ให้กับช่อง 

ล่าสุด เวิร์คพอยท์ได้เปิดตัวรายการ Hello Shops ในวันที่ 14 ธันวาคม 2561 ที่ผ่านมา โดยเป็นรายการจำหน่ายสินค้าโฮมช้อปปิ้ง ครอบคลุมสินค้า 5 ประเภท คือ เครื่องครัว เครื่องใช้ไฟฟ้า ไลฟ์สไตล์และการท่องเที่ยว แฟชั่น สุขภาพและความงาม เพื่อเจาะกลุ่มเพศหญิง ซึ่งเป็นแม่บ้าน โดยออกอากาศ 4 ช่วงเวลา ช่วงละ 10 นาที และช่วงเวลาหลังเที่ยงคืน

ปรากฏว่าผังรายการใหม่ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 เวิร์คพอยท์ได้เพิ่มช่วงเวลา Hello Shops อีก 4 ช่วงเวลาในระหว่างวัน ตั้งแต่ช่วงสาย บ่าย เย็น และดึก ช่วงเวลาละ 10 นาที รวมทั้ง 8 ช่วงต่อวัน รวมทั้งหมด 80 นาทีต่อวัน ซึ่งถือว่าให้เวลากับรายการนี้เยอะมาก

สำหรับรายการ Hello Shops เป็นความร่วมมือกับบริษัท นาโนนีเซีย ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเวิร์คพอยท์เอง โดยตั้งเป้ารายได้จากการขายสินค้าผ่านทีวีช้อปปิ้งในปี 2562 ทั้งปีอยู่ที่ประมาณ 365 ล้านบาท

ผลประกอบการของเวิร์คพอยท์ใน 3 ไตรมาสของปี 2561 ที่แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ นั้น มีรายงานไว้ว่า มีรายได้จากธุรกิจทีวีช้อปปิ้งอยู่ที่ 105 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นรายได้จากสินค้าภายใต้แบรนด์ Let Me Beauty ที่ขายสินค้าควบคู่กับรายการ “Let Me In ศัลยกรรมพลิกชีวิต” ซึ่งเป็นสินค้าที่จำหน่ายโดยบริษัท นาโนนีเซียเช่นกัน

ส่วนผลประกอบการเฉพาะไตรมาส 3/2561 นั้น เวิร์คพอยท์มีรายได้รวมอยู่ที่ 1,007.11 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2560 ที่มีรายได้รวมอยู่ที่ 1,166.51 ล้านบาท หรือ 14%

สาเหตุสำคัญที่ทำให้รายได้และกำไรลดลงนั้น เกิดจากรายได้ธุรกิจทีวี และช่องทางทีวีออนไลน์ ซึ่งเป็นรายได้จากค่าโฆษณาและให้เช่าเวลาลดลง จึงมีรายได้ส่วนนี้อยู่ที่ 769.78 ล้านบาท ลดลง 26% หรือคิดเป็นวงเงิน 266.69 ล้านบาท เมื่อเทียบกับรายได้ไตรมาส 3/2560 ที่มีรายได้ธุรกิจทีวีรวม 1,036.47 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม การเข้าสู่ธุรกิจทีวีช้อปปิ้งถือว่า “ท้าทาย” ไม่น้อยเลย เพราะเป็นธุรกิจที่ต้องลงทุนสต๊อกสินค้าจำนวนมาก ซึ่งบริษัท นาโนนีเซีย เป็นบริษัทที่เวิร์คพอยท์ถือหุ้นใหญ่ถึง 100% ยังเป็นบริษัทใหม่ ที่ยังไม่มีประสบการณ์ในธุรกิจนี้มาก

โดยทีวีดิจิทัลก็ให้น้ำหนักกับธุรกิจทีวีช้อปปิ้ง ไม่ว่าจะเป็นช่อง 8 ของ เฮียฮ้อ-สุรชัย เชษฐ์โชติศักดิ์ ที่ทำรายได้เป็นกอบเป็นกำจากธุรกิจทีวีช้อปปิ้ง โดยไม่ต้องพึ่งพารายได้จากทีวี แต่ใช้ทีวีเป็นตัวช่วยโปรโมตสินค้า และสปริงนิวส์ ที่ถูกทีวีไดเร็ค Take over ไปแล้ว ในขณะที่รายการขายสินค้าทีวีช้อปปิ้งแทรกซึมเข้าไปในทุกช่วง ในทุกช่องทีวีดิจิทัลแล้ว

เป้าลด Cost การผลิตรายการลงกว่า 200 ล้านบาทปีนี้

นักวิเคราะห์หลักทรัพย์รายหนึ่ง ระบุว่า เวิร์คพอยท์นอกจากหาทางเพิ่มรายได้จากธุรกิจทีวี ช้อปปิ้งแล้ว ก็ยังมีแผนลดต้นทุนในการผลิตรายการลงด้วย โดยลดงบลงทุนเหลือ 650 ล้านบาท ลดลงจากปี 2561 ที่ใช้งบส่วนนี้ไปทั้งหมดประมาณ 800 ล้านบาท

ที่ผ่านมา เวิร์คพอยท์เป็นช่องที่มีความโดดเด่น ในด้านความเป็นครีเอทีฟทีวี นำเสนอรายการวาไรตี้หลากหลาย ทั้งจากรายการที่คิดขึ้นเอง และรายการที่ซื้อลิขสิทธิ์มาผลิต ทำให้ต้นทุนการผลิตรายการสูง แม้ต้นทุนสูงแต่งานคุณภาพ ก็ได้รับผลตอบรับที่ดีกลับมาไปในแง่ความนิยม และเรตติ้งของแต่ละรายการและเรตติ้งช่องโดยรวม

แต่ในปีที่ผ่านมา เมื่อยังไม่มีรายการใหม่ติดตลาด และการดันรายการใหม่ๆ ก็ดูเหมือนเป็นไปได้ยากขึ้นเรื่อยๆ เวิร์คพอยท์จึงเลือกใช้วิธีลดต้นทุน

นักวิเคราะห์มองว่า การลดต้นทุน เป็นกลยุทธ์ที่ดีในช่วงที่สถานการณ์รายได้มีแนวโน้มลดลง แต่ในทางกลับกัน การลดต้นทุนการผลิตรายการ อาจจะมีผลกระทบต่อคุณภาพของแต่ละรายการที่ผลิตและออกอากาศด้วย และที่สำคัญอาจจะกระทบต่อความนิยมเรตติ้งรายการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับรายได้จากค่าโฆษณา

หวัง 4 รายการใหม่ ชูโรงด้วย Earth Quake “ตา-ปัญญา” ต้องลุยเอง

สำหรับรายการวาไรตี้ของเวิร์คพอยท์ ที่ตั้งความหวังไว้สูงในปีนี้ ประกอบด้วย รายการ “Super Boy Thailand” รายการค้นหาชายหนุ่มที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี, รายการ “10 Fight 10 หรือ 10 สู้ 10” ซุปตาร์ท้าชก ที่ได้ “เจ เจตริน” มาเป็นคีย์แมนสำคัญในรายการ, รายการ “The Rapper ซีซัน 2” และรายการ “Earth Quake เกมแผ่นดินไหว” ที่มีปัญญา นิรันดร์กุล เป็นพิธีกรเอง

ปัจจุบัน “ตา-ปัญญา” ผู้ถือหุ้นใหญ่และผู้ก่อตั้งเวิร์คพอยท์ ทำหน้าที่เป็นพิธีกรรายการ “ปริศนาฟ้าแลบ” เพียงรายการเดียว จึงมีการคาดการณ์กันว่า รายการ “เกมแผ่นดินไหว” น่าจะมาแทนรายการ “ปริศนาฟ้าแลบ” ที่อาจจะต้องถึงเวลา Refresh รายการใหม่ เพราะออกอากาศมายาวนานกว่า 4 ปีแล้ว

ขณะเดียวกันเรตติ้งของเวิร์คพอยท์เฉลี่ยทั้งปี 2561 อยู่ที่ 0.810 อยู่ในอันดับ 4 ลดลงจาก 1.001 ที่อยู่ในอันดับ 3 ในปี 2560 เนื่องจากยังไม่มีรายการได้รับความนิยมสูงเท่ากับ The Mask Singer ซึ่งช่วยดันเรตติ้งให้ช่องทั้งปี 2560 ซึ่งปี 2560 ถือเป็นปีทองของเวิร์คพอยท์ ในฐานะช่องวาไรตี้และครีเอทีฟที่ประสบความสำเร็จสูงสุด

ส่วนเรตติ้งในปี 2562 เรตติ้งของเวิร์คพอยท์ประจำสัปดาห์ 14-20 ม.ค. ได้เรตติ้งเฉลี่ยอยู่ที่ 0.802 ยังอยู่ในอันดับ 4

รายการที่ได้รับความนิยมสูงสุดของเวิร์คพอยท์ในขณะนี้ คือ กลุ่มรายการตระกูลไมค์ ตั้งแต่ ไมค์ทองคำ ไมค์ทองคำเด็ก ไมค์หมดหนี้ ส่วนรายการช่วงไพรม์ไทม์คือ I can see your voice และ กลุ่มรายการ The Mask Singer.


ข่าวเกี่ยวเนื่อง

]]>
1209932