ทุเรียน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 23 Jan 2024 04:56:31 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ไทยยังครองแชมป์ส่งออกทุเรียนไปยังจีนในปี 2023 แต่สัดส่วนเริ่มลดลง ขณะที่เวียดนามเริ่มตีตื้นขึ้นมาแล้ว https://positioningmag.com/1459749 Mon, 22 Jan 2024 15:27:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1459749 ไทยยังครองแชมป์ส่งออกทุเรียนไปยังจีนในปี 2023 แต่สัดส่วนเริ่มลดลงเหลือแค่ราวๆ 67.8% เท่านั้น ขณะที่เวียดนามเริ่มตีตื้นขึ้นมาแล้วอยู่ที่ราวๆ 31.82% โดยปริมาณความต้องการทุเรียนของชาวจีนยังเติบโตขึ้น เมื่อเทียบกับปี 2022 ที่ผ่านมา

South China Morning Post รายงานข่าวโดยอ้างอิงข้อมูลจากศุลกากรของประเทศจีนในปี 2023 นั้นไทยยังคงครองแชมป์ส่งออกทุเรียนไปยังประเทศจีน อย่างไรก็ดีสัดส่วนดังกล่าวที่ไทยครองแชมป์เริ่มลดลง หลังจากที่แดนมังกรเริ่มนำเข้าทุเรียนจากประเทศเวียดนามเพิ่มมากขึ้น

ในปี 2023 นั้นจีนนำเข้าทุเรียนจากประเทศไทยมากถึง 929 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2022 ซึ่งอยู่ที่ 784 ตัน โดยไทยยังครองสัดส่วนส่งออกทุเรียนมากถึง 67.98% ในปีที่ผ่านมา โดยผู้นำเข้าทุเรียนจากไทยรายหนึ่งได้กล่าวว่าปริมาณความต้องการทุเรียนของจีนนั้นถือว่าอยู่ในระดับ ‘เท่าไหร่ก็ไม่พอ’

ทางด้านของประเทศเวียดนามนั้นจีนได้นำเข้าทุเรียนมากถึง 493.1 ตัน ครองสัดส่วน 31.82% เพิ่มขึ้นจากปี 2022 ที่ส่งออกเพียงแค่ 40 ตันเท่านั้น ซึ่งสัดส่วนไม่ถึง 5% ด้วยซ้ำ

องค์การอาหารของสหประชาชาติ (FAO) ได้รายงานว่าเวียดนามมีสัดส่วนในการส่งออกผลไม้มากถึง 5% ของประมาณทั่วโลก ซึ่งคิดเป็นน้ำหนักมากถึง 40,880 ตัน ในปี 2022 ที่ผ่านมา โดยปีก่อนหน้านี้สัดส่วนของเวียดนามในการส่งออกผลไม้นั้นต่ำกว่า 1% ด้วยซ้ำ

รายงานของ HSBC เมื่อช่วงเดือนกันยายนได้วิเคราะห์ว่า ปัจจัยความต้องการของชาวจีนนั้นมาจากมุมมองของผู้บริโภคชาวจีนนั้นไม่ได้มองว่าทุเรียนเป็นเพียงผลไม้ แต่ยังเป็นของขวัญที่อวดความมั่งคั่งของผู้ให้ด้วย นอกจากนี้การมอบทุเรียนให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของของขวัญตามธรรมเนียมที่มอบให้กับเพื่อนหรือญาติด้วย

ทำให้ปริมาณทุเรียนในตลาดโลกนั้นราวๆ 90% ได้ส่งเข้าไปยังประเทศจีน นอกจากนี้ในรายงานของ HSBC ยังได้ชี้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับไทยที่มีการนำเข้าสินค้า ซึ่งในปี 2022 ที่ผ่านมาอาเซียนได้ส่งออกสินค้าไปยังจีนเป็นอันดับ 1 ด้วย

ไม่ใช่แค่ไทยและเวียดนามเท่านั้น แต่จีนยังได้นำเข้าทุเรียนจากฟิลิปปินส์เพิ่มมากขึ้น โดยล่าสุดอยู่ที่ 3.8 ตัน คิดเป็นสัดส่วนแค่ 0.2% เท่านั้น อย่างไรก็ดีเนื่องด้วยโครงสร้างพื้นฐานของฟิลิปปินส์ที่ไม่ดีเท่าไหร่นัก เมื่อเทียบกับไทยและเวียดนาม ทำให้ค่าขนส่งนั้นถือว่าแพง เมื่อเทียบกับ 2 ประเทศผู้ส่งออกทุเรียนข้างต้น และจีนยังเตรียมนำเข้าทุเรียนจากมาเลเซียเพิ่มขึ้นด้วย

ขณะเดียวกันจีนเองก็เริ่มที่จะปลูกทุเรียนและบริโภคในประเทศมากขึ้น โดยปี 2023 ที่ผ่านมาจีนผลิตทุเรียนได้ราวๆ 250 ตัน โดยสัดส่วน 50 ตันมาจากเกาะไห่หนาน ซึ่งมีสภาวะภูมิอากาศคล้ายกับอาเซียน และจีนต้องการผลิตให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นด้วย

]]>
1459749
HSBC เผย จีนต้องการทุเรียนเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่าเทียบกับปีที่ผ่านมา มองว่าคนซื้อผลไม้ชนิดนี้ได้ต้องรวยจริง https://positioningmag.com/1444250 Thu, 14 Sep 2023 05:47:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1444250 สถาบันการเงินอย่าง HSBC ได้รายงานถึงความต้องการทุเรียนของชาวจีนซึ่งล่าสุดมากถึง 4 เท่าเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากผลไม้ชนิดนี้แสดงให้เห็นถึงความมั่งคั่งของผู้ซื้อ แม้ว่าหลายคนเองจะไม่ชอบผลไม้ชนิดนี้ โดยเฉพาะกลิ่นของมันก็ตาม

CNBC รายงานข่าว โดยอ้างอิงรายงานจาก HSBC ว่า ความต้องการของทุเรียน ผลไม้อีกหนึ่งชนิดที่ประเทศไทยส่งออกมากที่สุดนั้นเพิ่มมากขึ้นถึง 4 เท่าเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา จากความบ้าคลั่งในผลไม้ของชาวจีน รวมถึงเป็นเครื่องบ่งบอกฐานะของตัวเอง

ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จีนได้นำเข้าทุเรียนมากถึง 6,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 214,215 ล้านบาท และจีนเองเป็นประเทศที่ต้องการทุเรียนมากถึง 91% ของความต้องการทั้งหมด โดยจุดเริ่มต้นที่จีนนำเข้าผลไม้ชนิดอย่างหนักหน่วงต้องย้อนไปถึงปี 2017

ประเทศไทยถือเป็นประเทศส่งออกทุเรียนประเทศหลักของปริมาณทุเรียนในท้องตลาด ซึ่งมีสัดส่วนมากกว่า 89% ทางด้านประเทศอื่นที่ส่งออกทุเรียนเช่นเดียวกับไทย ได้แก่ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน กัมพูชา ลาว พม่า สิงคโปร์ หรือแม้แต่เวียดนาม แต่มีจำนวนน้อยมาก

ปัจจัยความต้องการของชาวจีนนั้นมาจากมุมมองของผู้บริโภคชาวจีนนั้นไม่ได้มองว่าทุเรียนเป็นเพียงผลไม้ แต่ยังเป็นของขวัญที่อวดความมั่งคั่งของผู้ให้ด้วย นอกจากนี้การมอบทุเรียนให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของของขวัญตามธรรมเนียมที่มอบให้กับเพื่อนหรือญาติด้วย

ขณะเดียวกันราคาของทุเรียนที่ขายในประเทศจีนนั้นเฉลี่ยมากถึง 10 ดอลลาร์สหรัฐต่อกิโลกรัม หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 357 บาทต่อกิโลกรัมซึ่งมีราคาแพงกว่าในหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรวมถึงในไทย ที่มีทุเรียนขายในหลากหลายราคา ขึ้นกับคุณภาพ

โดยประเทศไทยเอง ความต้องการทุเรียนที่สูง ทำให้เกษตรกรไทยหลายรายได้เปลี่ยนการปลูกพืชชนิดอื่นมาเป็นการปลูกทุเรียนแทน เนื่องจากราคาที่สูง

ซึ่งแปลว่าชาวจีนที่สามารถซื้อทุเรียนได้จริงๆ นั้นจะต้องมีความมั่งคั่งพอสมควร

นอกจากนี้ในรายงานของ HSBC ยังได้ชี้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับไทยที่มีการนำเข้าสินค้า ซึ่งในปี 2022 ที่ผ่านมาอาเซียนได้ส่งออกสินค้าไปยังจีนเป็นอันดับ 1

Aris Dacanay นักเศรษฐศาสตร์ของ HSBC ยังมองว่าความต้องการของทุเรียนยังเป็นโอกาสของประเทศอื่นในอาเซียนที่จะส่งออกผลไม้ชนิดนี้ เนื่องจากความต้องการผลไม้ชนิดนี้จำนวนมหาศาล และเขามองว่าและนี่เป็นโอกาสของหลายประเทศที่จะท้าทายไทยในการส่งออกผลไม้ชนิดนี้ด้วย

]]>
1444250
ช่วยเกษตรกร! “โลตัส” รับซื้อ “ทุเรียน” 3 ล้านกิโลกรัม พร้อมเปิดพื้นที่หน้าสาขาให้รายเล็กวางขาย https://positioningmag.com/1384178 Tue, 10 May 2022 04:00:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1384178

“โลตัส” ร่วมมือกับ “กรมการค้าภายใน” ช่วยสนับสนุนเกษตรกรทุเรียน ปีนี้รับซื้อทุเรียนเพิ่ม 10 เท่าจากปีก่อน รวมกว่า 3 ล้านกิโลกรัม เพื่อวางขายในไฮเปอร์มาร์เก็ต และยังเปิดพื้นที่ด้านหน้า “โลตัส โก เฟรช” 500 แห่ง ให้เจ้าของธุรกิจรายเล็กวางขาย พร้อมจัดอบรมปั้น ‘เถ้าแก่ทุเรียน’

สถานการณ์ตลาด “ทุเรียน” ไทยปี 2565 อยู่ในภาวะน่าห่วง เมื่อตลาดรับซื้อหลักอย่างประเทศจีนออกนโยบาย Zero-Covid ที่กระทบต่อการส่งออกทุเรียนของเกษตรกรไทย

ในทางกลับกัน สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดการณ์ว่า ปีนี้ทุเรียนไทยจะออกผลผลิตรวมกว่า 1.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 20% และจะออกมากที่สุดช่วงเดือนพฤษภาคมกว่า 3.5 แสนตัน ทำให้ความหวังของทุเรียนไทยอยู่ที่ตลาดภายในประเทศที่จะช่วยกันสร้างดีมานด์เพื่อไม่ให้ราคาทุเรียนตกต่ำ

หนึ่งในค้าปลีกช่องทางจำหน่ายรายใหญ่อย่าง “โลตัส” จึงเร่งช่วยแก้ปัญหานี้ “สมพงษ์ รุ่งนิรัติศัย” ประธานคณะผู้บริหาร ธุรกิจโลตัส ประเทศไทย เปิดเผยว่า ปีนี้โลตัสมีนโยบายรับซื้อทุเรียนจากเกษตรกรเพิ่มขึ้น 10 เท่าจากปีก่อน รวมกว่า 3 ล้านกิโลกรัม รับซื้อจากเกษตรกรกว่า 1,200 ราย เพื่อนำมาจำหน่ายผ่านไฮเปอร์มาร์เก็ต 236 สาขาทั่วประเทศและช่องทางออนไลน์ของโลตัส

เป้าหมายของโลตัสต้องการช่วยชาวสวนทุเรียนให้ยังคงมีรายได้ที่เป็นธรรมและมั่นคง และให้ลูกค้าโลตัสเข้าถึงทุเรียนคุณภาพดีๆ ได้ในราคาสมเหตุสมผล โดยการันตีคุณภาพทุเรียนโลตัส “อร่อย หวาน มัน ไม่ต้องลุ้น” หากไม่พอใจยินดีเปลี่ยนหรือคืนเงินทันที เนื่องจากโลตัสมีวิธีการควบคุมคุณภาพทุเรียน ได้แก่

  •  คัดเลือกจากแหล่งทุเรียนที่ดีที่สุด มีผู้เชี่ยวชาญในการตัดในช่วงเวลาที่เหมาะสม
  •  การขนส่งไปสาขาใช้รถควบคุมอุณหภูมิ ทำให้สินค้าสดใหม่
  •  มีการอบรมพนักงานให้เป็น ‘มิสเตอร์และมิสทุเรียน’ เซียนทุเรียนที่คอยให้บริการลูกค้า คัดทุเรียนให้ได้ระดับความสุกที่ลูกค้าต้องการ บริการปอกทุเรียน เพิ่มความสะดวกสบาย

นอกจากนี้ โลตัสได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายทุเรียน มีการประเดิมนำร่องไปแล้วที่โลตัส สาขารามอินทรา จัดมินิคอนเสิร์ตจาก “ทอม อิศรา” และมีการจัดบุฟเฟ่ต์ทุเรียนและผลไม้ไทย ราคา 399 บาทต่อคน เมื่อวันที่ 30 เม.ย. – 2 พ.ค. ที่ผ่านมา ส่วนจะมีกิจกรรมอื่นๆ ในสาขาใดอีกต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิด

ไม่เพียงแต่ทุเรียนเท่านั้น การรับซื้อผลไม้ตามฤดูกาลจากเกษตรกรเป็นนโยบายตลอดทั้งปีของโลตัส โดยจะมีการรับซื้อรวม 18 ล้านกิโลกรัมตลอดปีนี้ จะมีทั้งมังคุด เงาะ มะม่วง ลำไย ลองกอง ลิ้นจี่ ฯลฯ เข้ามาวางจำหน่าย เพื่อช่วยสนับสนุนเกษตรกรไทยให้มีช่องทางขายมากขึ้น


ปั้น ‘เถ้าแก่ทุเรียน’ พร้อมให้ทำเลทองหน้าโลตัส โก เฟรช

อีกหนึ่งโครงการที่โลตัสเปิดโอกาสให้กับผู้ที่สนใจเป็นพ่อค้าแม่ค้าทุเรียนได้เริ่มธุรกิจเป็นของตนเอง คือโครงการ “Let’s DO RIAN” ที่ร่วมมือกับ “เครือเจริญโภคภัณฑ์” จัดอบรมปั้นเถ้าแก่ทุเรียน ให้ขายทุเรียนได้ในต้นทุนต่ำ ให้ความรู้ตั้งแต่การคัดเลือกทุเรียน ดูเนื้อทุเรียน วิธีการปอกและจัดเก็บ จนถึงด้านเทคนิคการขาย และดูแลหลังการขาย รวมถึงเปิดพื้นที่ทำเลทองด้านหน้า “โลตัส โก เฟรช” 500 แห่ง พร้อมอุปกรณ์การขาย ให้เถ้าแก่ทุเรียนได้มีพื้นที่ขายที่มีศักยภาพ

ภาพรวมของโลตัสในตลาด “ทุเรียน” ปีนี้จะเห็นได้ว่าเป็นการขับเคลื่อนอย่างเต็มที่เพื่อช่วยหาช่องทางระบายผลผลิตในราคาสมเหตุสมผลกับการคัดเลือกและควบคุมคุณภาพตลอดกระบวนการ และยังสร้างช่องทางอาชีพเพิ่มเติมสำหรับ SMEs ที่อยากเป็นเจ้าของธุรกิจขายทุเรียนแต่อาจยังไม่มีความรู้ ขณะเดียวกันก็ยังคัดเลือกคุณภาพสินค้าที่ดีที่สุดให้กับผู้ซื้อ ไม่ต้องกังวลเรื่องทุเรียนอ่อน เพราะโลตัสคัดสรรความอร่อยโดยตรงจากสวนมาให้

เชื่อว่าทุเรียนในฐานะราชาผลไม้ไทยที่ใครๆ ก็ชื่นชอบจะยังเป็นที่ต้องการสูงในประเทศไทย โดยเฉพาะปีนี้ที่ต้องการแรงสนับสนุนจากผู้บริโภคชาวไทยมากกว่าที่เคย เพื่อให้เกษตรกรทุเรียนของเรายืนหยัดได้ต่อไป

]]>
1384178
อานิสงส์จาก “ตลาดจีน” ดันผลผลิต “ทุเรียนไทย” พุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง https://positioningmag.com/1287380 Sat, 11 Jul 2020 17:34:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1287380 สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทยเปิดเผยว่าผลผลิตไม้ผลของภาคใต้เติบโตขึ้นเกือบ 6% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยทุเรียนมีผลผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง 22% และจีนยังคงเป็นผู้นำเข้าทุเรียนรายใหญ่ของไทย

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สังกัดกระทรวงฯ ระบุว่าผลการสำรวจ 14 จังหวัดทางภาคใต้ของไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2020 ชี้ว่าภาคใต้ได้ผลิตไม้ผลเศรษฐกิจ 844,003 ตัน เพิ่มขึ้น 5.93% เมื่อเทียบกับผลผลิตของปีก่อน ซึ่งอยู่ที่ 796,751 ตัน

อัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานฯ เผยว่าทุเรียนมีผลผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุดอยู่ที่ 588,337 ตัน คิดเป็น 22.03% เมื่อเทียบปีต่อปี แต่ผลไม้บางชนิดมีผลผลิตลดลง เช่น เงาะอยู่ที่ 50,280 ตัน ลองกองอยู่ที่ 52,178 ตัน และมังคุดอยู่ที่ 153,208 ตัน

ทุเรียนมีผลผลิตเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดเพราะราคาตลาดขยับตัวขึ้น ทำให้เกษตรกรหันไปปลูกทุเรียนมากขึ้น ขณะที่ผลไม้ชนิดอื่นมีพื้นที่เพาะปลูกลดลงและได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง อัญชนากล่าว

สำนักงานฯ เสริมว่าตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 จีนยังคงเป็นผู้ซื้อทุเรียนรายใหญ่ของไทย โดยไทยส่งออกทุเรียนไปจีนคิดเป็นมูลค่า 567 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 17.76 หมื่นล้านบาท) เพิ่มขึ้น 78% เมื่อเทียบปีต่อปีในด้านมูลค่า

]]>
1287380
“ทุเรียน” พระเอกเปิดตัว “เจดี เซ็นทรัล” นำร่องส่งออกสินค้าไทยเจาะตลาดจีน มั่นใจโกยยอดขายทุบสถิติ “อาลีบาบา” ได้สบายหายห่วง https://positioningmag.com/1168147 Wed, 02 May 2018 13:01:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1168147 สาวิตรี รินวงษ์

ทุเรียนทำให้เกิดแจ็ค หม่าเอฟเฟกต์ ทุบสถิติขายราชาผลไม้ใน 1 นาที ได้ตั้ง 130,000 ลูก (รวมทุกสายพันธุ์) คราวนี้ถึงคิวเจดี ดอทคอมบ้าง มาช้าแต่ก็ยังดีกว่าไม่มา มาทั้งทีนอกจากจัดหนักรับออเดอร์ ทุเรียนจากไทยไม่อั้น ยังปล่อยวาทะเด็ดในการทำตลาดทุเรียนด้วย 

และทุเรียนยังเป็นสินค้าของสด (Fresh food) ที่เป็นไฮไลต์ “ตัวแรก จากบริษัทร่วมทุนเจดี เซ็นทรัลของเจดี ดอทคอม และกลุ่มเซ็นทรัล จะนำสินค้าไปขายและทำตลาดในประเทศจีน ผ่านมาร์เก็ตเพลสเจดี ดอทคอมเพราะล่าสุดบริษัท Beijing Jingdong Century Trade ในเครือเจดี ดอทคอมได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับบริษัท ควีน โฟรเซ่น ฟรุต จำกัด 1 ใน 3 ผู้นำเข้าและส่งออกผลไม้รายใหญ่ของไทย เพื่อสั่งซื้อ ทุเรียนและผลไม้อื่นๆ ไปขายแบบไม่อั้นและไม่มีสะดุด เพราะมีสินค้าในสต๊อกเพียงพอขายทั้งปี จากปลายปี 2560 ทั้งคู่เริ่มค้าขายทุเรียนแช่แข็ง (ปอกเปลือกขายเป็นพูไปแล้วราว 100 ตู้คอนเทนเนอร์ หรือราว 2,500 ตัน พบผลตอบรับจากตลาดและผู้บริโภคดีมาก มีเท่าไหร่ก็ขายหมดเกลี้ยง

เราเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยสักระยะแล้ว ส่วนการนำทุเรียนไปขายในจีนก่อนหรือหลังอาลีบาบา ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ และไม่ใช่เราสู้อาลีบาบาไม่ได้ แต่เราต้องการโฟกัสเรื่องให้บริการลูกค้ามากกว่า แต่ถ้าจะเน้นปริมาณ ศักยภาพของเราสามารถขายได้มากกว่าที่คู่แข่งทำแน่นอนเย่ เว่ย (Ye Wei) ประธานกรรมการบริษัท เจดี เฟรช (JD Fresh) กล่าวและขายความจุดแข็งในการขายทุเรียนของบริษัท คือการส่งสินค้าถึงมือผู้บริโภคภายใน 3 ชั่วโมง เทียบกับคู่แข่งที่ยังใช้เวลานานกว่า 2-3 วัน นั่นหมายความว่าผู้บริโภคคลิกปลายนิ้วซื้อสินค้าปุ๊บ ตั้งตารอแป๊บเดียว ก็ได้กินทุเรียนสมใจอยากแล้ว สปีดที่เร็วกว่าทำให้การค้าขายทำยอดได้มากกว่าโดยปริยาย 

3 ปีที่ผ่านมา ทุเรียนผลสด (ทั้งลูกแช่แข็งส่งออกจากไทยบูมมาก! เพราะต้องยอมรับว่าคนจีนชื่นชอบผลไม้ไทยสุดๆ ทำให้ประเมินว่าโอกาสโกยเงินจากผู้บริโภคชาวจีนยังมีอีกมาก โดยคาดการณ์ 5 ปีข้างหน้าทุเรียนจะโตได้อีก 100 เท่า เพราะแค่บริษัทขายทุเรียนไป 3-4 เดือน พบว่ายอดขายโต 1 เท่าตัวแล้ว ส่วนปี 2560 ยอดขายโตราว 4 เท่าตัว 

ทุเรียนสดแช่แข็งที่ส่งไปทำตลาดในจีนมีสัดส่วนน้อยไม่ถึง 2% เมื่อเทียบกับทุเรียนสดเป็นลูกที่นำเข้าไปขาย แต่แนวโน้วตลาดมองว่าจะโตขึ้นอีกทุกๆ ปี 

เพราะดีมานด์สูง ทำให้การแข่งขันทำตลาดทุเรียนในจีนผ่านช่องทางออนไลน์เดือด! โดยเจดี ดอทคอม และอาลีบาบา จะจัดโปรโมชั่นซื้อ 1 แถม 1 ซื้อ 4 แถม 2 มาสู้กันเพื่อดึงลูกค้า (Traffic) ให้เข้ามาจับจ่ายใช้จ่ายในมาร์เก็ตเพลส กระตุ้นยอดขายกันถี่ยิบ แบบไม่มีใครยอมใคร

นอกจากทุเรียน ยังมีผลไม้อื่นๆ ที่เตรียมส่งออกไปยังตลาดจีน ได้แก่ มังคุด ลำไย มะพร้าว เป็นต้น ทุกอย่างที่เป็นผลไม้ไทยคนจีนชอบหมด! และหลังจากส่งออกของสดหมวดผลไม้แล้วเจดี เซ็นทรัลเตรียมส่งออกข้าว” บุกแดนมังกรเพิ่มด้วย เพราะเป้าหมายของการเป็นพาร์ตเนอร์กับกลุ่มเซ็นทรัล และเข้ามา MOU ซื้อสินค้าจากไทย บริษัทต้องการเพิ่มสัดส่วนทางการค้าระหว่างไทยจีน มาขายบนแพลตฟอร์มเจดี ดอทคอมให้ได้ 25% เมื่อเทียบมูลค่าการค้า ทั้งหมดระหว่าง 2 ประเทศ 

ด้านกาญจนา แย้มพราย ประธานกรรมการ บริษัท ควีน โฟรเซ่น ฟรุต จำกัด กล่าวว่า จีนมีความต้องการทุเรียนจากไทยสูงขึ้นทุกปี ทั้งผลสด ผลสดแช่แข็ง ทุเรียนแปรรูป ทำให้ปีที่ผ่านมาบริษัทลงทุนราว 700-800 ล้านบาท

เพื่อขยายการผลิตทุเรียนสดแช่แข็ง และล่าสุดเตรียมลงทุนอีก 700-800 ล้านบาท สร้างโรงงานทุเรียนแปรรูปและทุเรียนแช่แข็ง ประเภทต่างๆ เช่น ไอศกรีมทุเรียน ทุเรียนสติก ลาซานญ่าทุเรียน ทาร์ตทุเรียน  

ทั้งนี้ โรงงานดังกล่าวสามารถรับซื้อวัตถุดิบทุเรียนได้ 200 ตันต่อวัน ต่ำกว่ากำลังการผลิตเต็มที่รับได้ 400-500 ตันต่อวัน เนื่องจาก 3 ปีที่ผ่านมา ทุเรียนสดแช่แข็งส่งออกไปจีนบูมมากๆ จนทำให้ค่อนข้างขาดแคลนวัตถุดิบ และราคาทุเรียนหน้าสวนก็ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องเฉลี่ย 10% 

ความต้องการทุเรียนมีสูงมาก ทำให้สินค้าที่ผลิตสู่ตลาดจีน ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องเช่นกัน อย่างทุเรียนแช่แข็งปีก่อนเราขาย 270 บาท เพิ่มเป็น 380 บาท หรือเฉลี่ยเพิ่ม 40-50% ต่อปี”  

สำหรับทุเรียนยอดฮิตในหมู่ชาวจีนเติบโตไม่ต่ำกว่า 20% ส่วนสายพันธุ์ที่ถูกใจอันดับ 1 คือพวงมณี แต่ปริมาณในตลาดมีน้อย ตามด้วยหมอนทอง นอกจากทุเรียนป๊อปปูลาร์ มังคุด มะพร้าว ก็โตแรงไม่แพ้กันด้วย เรียกว่าถ้าแปะยี่ห้อผลไม้ไทยใครๆ ก็อยากกินแน่นอน 

การร่วมมือกับเจดี ทำให้บริษัทได้วอลุ่มยอดขายมากขึ้น ส่วนเจดีก็จะได้ทุเรียนไว้ขายตลอดทั้งปี จากที่ผ่านมามีช่วงขาดแคลนทุเรียนบ้าง

นอกจากร่วมมือกับเจดี บริษัทเตรียมร่วมทุนกับ “SunMoon Distribution & Trading” ในเครือของอาลีบาบา และ Xing Ye Yaun(XYY) ในสัดส่วนการถือหุ้นราว 33% เท่ากัน เพื่อสร้างแบรนด์สินค้าทุเรียนไปจำหน่ายในตลาดจีนเพิ่มด้วย จะทำให้บริษัทมีสินค้าขายผ่านทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ เนื่องจาก XYY เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าที่มีเครือข่ายร้านค้าปลีกกว่า 680 แห่งทั่วประเทศ ได้แก่ Walmart, Carefour, CenturyMart Tesco และอีก 8 แบรนด์ค้าปลีก 

เราขายทุเรียนให้กับทั้งอาลีบาบา และจดี ดอทคอม ซึ่งการส่งออกทุเรียนไปจีนของบริษัทคิดเป็นสัดส่วน 80% จากที่ส่งออกราว 30 ประเทศทั่วโลก

อย่างไรก็ตาม ในปี 2561 บริษัทตั้งเป้าส่งออกทุเรียนผลสดแช่แข็งไปยังตลาดจีน 3,000 ตู้คอนเทนเนอร์ ส่วนทุเรียนแช่แข็งประมาณ 400 ตู้คอนเทนเนอร์ เพิ่มจากปีก่อนเท่าตัว ขณะที่ภาพรวมการส่งออกทุเรียนของไทย เฉพาะวันที่

21-27 เม..ที่ผ่านมา มีมากถึง 3,000 ตู้คอนเทนเนอร์ เติบโตสูงขึ้นต่อเนื่อง และแนวโน้มส่งออกทุเรียนยังโตต่อเนื่อง ทำให้บริษัทวางแผนไปลงทุนสร้างศูนย์ตรวจสอบคุณภาพและศูนย์กระจายสินค้า (DC) ที่จังหวัดจันทบุรี เนื้อที่่ 34 ไร่ และที่ชุมพร 10 ไร่ รองรับการเติบโตด้วย  

สำหรับ ควีน โฟรเซ่น ฟรุต เป็น 1 ใน 3 ผู้ผลิตทุเรียนแช่แข็งรายใหญ่ในประเทศไทย และมีการนำเข้าส่งออกผลไม้มานานกว่า 20 ปี ที่ผ่านมาสินค้าส่งออกหลักเป็นมะขามหวาน และบริษัทมีโรงงานผลิตสินค้าที่จังหวัดเพชรบูรณ์ 2 แห่ง

โดยรายได้บริษัทส่วนใหญ่มาจากการนำเข้า แต่หลังจากขายทุเรียนให้ 2 ยักษ์ใหญ่จีน ทำให้ยอดส่งออกรวมมากกว่านำเข้า อีกทั้งกำไรดีกว่าด้วย.

]]>
1168147
ศึก “ทุเรียน” “เทสโก้ โลตัส-เซ็นทรัล ขนทุเรียนตรงจากสวน จัดบุพเฟ่ต์ หน้าห้างฯ รับ “แจ็ค หม่า” เอฟเฟกต์ทุเรียนขายถล่มทลาย https://positioningmag.com/1167734 Sun, 29 Apr 2018 12:11:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1167734 ยังคงเป็นแจ็ค หม่าเอฟเฟกต์! กับประเด็นขนทุเรียนไทยไปขายในจีนจนทุบสถิติ แค่นาทีเดียวถูกเหมาหมดทุกพันธุ์จำนวน 130,000 ลูก!

เพราะเป็นหน้าขายทุเรียนพอดิบพอดี และเพื่อการันตีว่าผลไม้ไทยยังมีเพียงพอให้บริโภคในประเทศ ยังไม่ถูกพี่ใหญ่แดนมังกรเหมาไปขายหมดเทสโก้ โลตัสจึงจัดแคมเปญบุฟเฟ่ต์สันนิวาส ตลาดโบราณบุฟเฟ่ต์ผลไม้ราคา 399 บาท เป็นครั้งแรก! เพื่อเอาใจสาวกผู้คลั่งไคล้ทุเรียนและผลไม้อื่นๆ ตั้งแต่วันที่ 26-29 เมษายนนี้ มีให้บริการเพียงสาขาเดียวที่ลานหน้าห้างเทสโก้ โลตัส เอ็กซ์ตร้า พระราม 4

ไฮไลต์ของแคมเปญดังกล่าว คือจ่ายราคาเดียว จะได้เต็มอิ่มกับทุเรียน 4 สายพันธุ์ ทั้ง หมอนทอง พวงมณี ก้านยาว ชะนีไข่ ซึ่งทางเทสโก้ โลตัสขนมารองรับความต้องการผู้บริโภคถึงวันละ 2,500 กิโลกรัม (กก.)

นอกจากราชาผลไม้แล้ว ยังมีผลไม้ขึ้นชื่อของไทยอีกสารพัด ทั้งเงาะโรงเรียน สละพันธุ์ยอดนิยม มะม่วงน้ำดอกไม้ สับปะรด แตงโม แคนตาลูป มะพร้าว ชมพู่ เรียกว่ายกของดีจากสวนมาป้อนลูกค้าถึงที่เลยทีเดียว

แต่ยังไม่หมด เพราะมะม่วง เป็นอีกผลไม้ท็อปฮิตในหน้าร้อน จึงมีการจัดเวิร์คช็อปทำเมนูยอดฮิต มะม่วงน้ำปลาหวาน พร้อมด้วยข้าวเหนียวมูน ให้กับผู้สนใจด้วย อิ่มแล้ว ได้ฝึกปรือฝีไม้ลายมือไว้เผื่อไปทำกินที่บ้านได้ด้วย

สำหรับบุฟเฟ่ต์สันนิวาส ตลาดโบราณที่เปิดให้บริการสาขาพระราม 4 จะมีวันละ 5 รอบ ๆ ละ 1 ชั่วโมง รายละเอียดดังนี้ รอบที่ 1 เวลา 12.00 – 13.00 ., รอบที่ 2 เวลา  14.30 – 15.30 ., รอบที่ 3 เวลา 16.00 – 17.00 ., รอบที่ 4 เวลา 17.30 – 18.30 . และรอบที่ 5 เวลา 19.00 – 20.00 . งานนี้คนกินจุต้องเช็กเวลาดีๆ จะได้เตรียมท้องให้พร้อม!

เพราะเป็นไฮซีซั่นของผลไม้ จะจัดแคมเปญการตลาดจับกลุ่มเป้าหมายคนเมืองอย่างเดียวไม่ได้ จึงร่วมกับกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ลงนามบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู) รับซื้อผลไม้ฤดูกาลจากเกษตรกรโดยตรง และเพิ่มช่องทางการจำหน่ายกระจายผลผลิตผ่านสาขาของเทสโก้ โลตัส กว่า 1,950 สาขา ทั่วประเทศ รวมถึงช่องทางออนไลน์ด้วย เรียกว่าหาซื้อได้ทั้งช้อปหน้าร้าน และไปคลิปสั่งซื้อด้วยปลายนิ้ว

ปีนี้ เทสโก้ โลตัส รับซื้อผลไม้ในฤดูกาลโดยตรงจากเกษตรปริมาณทั้งสิ้น 7.1 ล้าน กกเพิ่มขึ้น 50% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนตลาดทั้งปีที่แล้วมีการรับซื้อผลิตผลทางการเกษตรโดยตรงจากเกษตรกรจำนวนกว่า 200,000 ตัน หรือราว 200 ล้าน กกเพื่อจำหน่ายให้กับลูกค้าทั่วประเทศสลิลลา สีหพันธุ์ รองประธานกรรมการฝ่ายกิจการบรรษัท เทสโก้ โลตัส กล่าว

อย่างไรก็ตาม การโฟกัสทำตลาดผลไม้ในไฮซีซั่น ถือเป็นส่วนหนึ่งของการโกยยอดขายให้เทสโก้ เพราะสินค้าดังกล่าว เป็นหนึ่งในโปรดักต์เรือธงของหมวดอาหารสด ที่กำลังโตวันโตคืน อีกทั้งเป็นสินค้าที่สามารถสร้างประสบการณ์การข้อปปิ้ง ชิม ในห้างค้าปลีกได้แตกต่างจากคู่แข่งนั่นเอง

ส่วนค่ายเซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ร่วมมือกับท็อปส์ จับมือกับกระทรวงพาณิชย์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดเทศกาลบุฟเฟ่ต์ทุเรียนด้วยเช่นกัน แถมยังระบุว่าเป็น “ต้นตำรับ” ของการจัดเทศกาลในลักษณะนี้ เพราะรู้ว่ากำลังเป็นกระแส แถมมีคู่แข่งเพิ่มขึ้น

งานมีขึ้นตั้งแต่วันที่ 18 – 23 พ.ค. 61 ด้านหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ บุฟเฟ่ต์ทุเรียน 6 ชนิด หมอนทอง, หมอนทองป่าขะ, ทุเรียนหมอนทองป่าละอู, ชะนี, ทุเรียนก้านยาว และพวงมณี และผลไม้ชนิดอื่นๆ รวมทั้งของหวาน จากเกษตรกร 50 จังหวัดกว่า 100 ร้านค้า

บัตรราคา 359 บาท มี 5 รอบ ๆ ละ 1 ชั่วโมง  13.00 – 14.00 น. / 14.30 – 15.30 น. / 16.00 – 17.00 น. /  17.30 – 18.30 น. / 19.00 – 20.00 น.

จองบัตรตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคมเป็นต้นไป ที่เว็บไซต์ และแอปพลิเคชั่น วีแชท รองรับลูกค้าชาวจีน

]]>
1167734
ทุเรียน Effect เบื้องหลังปรากฏการณ์ “ทุเรียนไทย” นักการตลาดต้องรู้ https://positioningmag.com/1167419 Wed, 25 Apr 2018 12:30:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1167419 กว่าจะสรุปกันได้ว่า ตกลงแจ็ค หม่า ช่วยขายทุเรียนไทยไปได้กี่ลูกกันแน่ จากนาทีละ 8 พันลูก เป็น 8 หมื่นลูกสำหรับหมอนทอง และท้ายที่สุดจบที่ 130,000 ลูกสำหรับทุเรียนไทยทุกพันธุ์รวมกัน

จะว่าไปเรื่องนี้เป็นแค่เศษเสี้ยวกระจิดริด ที่อาลีบาบารู้จักเลือกหาวิธีมาสร้างความตื่นเต้นให้คนไทย

เป็น “เมจิกโชว์” ที่แท้จริงแล้ว อาจจะไม่ใช่เรื่องตื่นเต้นในความรู้สึกของแจ็ค หม่า เสียด้วยซ้ำ เพราะไม่ว่าจะด้วยจำนวนเงินจากยอดขายทุเรียนทุกลูกรวมกัน ระบบการค้าออนไลน์ที่รวบรวมยอดขายได้จากผู้ซื้อที่เข้าถึงระบบได้อย่างรวดเร็ว หรือความสามารถในการจัดหาและจัดส่งสินค้าจากผู้ขายไปสู่ผู้ซื้อตามเวลาที่กำหนด

ทุกอย่างเกิดขึ้นได้ทันทีบนโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งที่ “อาลีบาบา” มีอยู่แล้วอย่างครอบคลุม เพียงแค่หยิบ “บิ๊กดาต้า” ที่มีมาเลือกใช้ให้ถูก เพราะทุเรียนไทยดังอยู่แล้ว ใครเคยซื้อเคยกินทุเรียนออนไลน์ ก็ยิ่งตรงโฆษณาถึงผู้บริโภคได้เลย เร็วยิ่งกว่าโซเชียลมีเดียอย่างเฟซบุ๊กเสียด้วยซ้ำ เพียงเท่านี้ก็สร้างปรากฏการณ์ไปยังกลุ่มเป้าหมายคนซื้อได้ทันที

ดังนั้น เพื่อให้รู้แน่ว่าใครบ้างที่จะได้ผลดี หรือผลกระทบจากเครือข่ายอาลีบาบาที่จะเข้ามาเต็มตัว และเป็นแกนหลักของระบบการค้าออนไลน์ของไทยในอนาคต ลองมาเคลียร์ภาพความจริงจากการขายทุเรียนออนไลน์ของแจ็ค หม่า กันดู

ทุเรียน 130,000 ลูกที่แจ็ค หม่า ขายได้ คิดเป็นเท่าไรของทุเรียนไทย

ที่มา: คณะกรรมการบริหารและการจัดการไม้ผล, สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2560.

ในปี 2560 ที่ผ่านมา ไทยมีกำลังการผลิตทุเรียน 620,986 ตัน (ณ 26 ก.ค. 2560) ถ้าเฉลี่ยว่าทุเรียน 1 ลูกน้ำหนัก 4 กิโลกรัม ก็จะมีทุเรียนรวมประมาณ 155 ล้านลูก จำนวนที่แจ็ค หม่า ขายให้ไทย คิดเป็น 0.08% ของผลผลิตทุเรียนทั้งหมดของไทย

มูลค่าทุเรียนไทยในปี 2560 คิดจากราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ย 77.53 บาทต่อกิโลกรัม รวมมูลค่าแล้วประมาณ 48,000 ล้านบาท แต่แจ็ค หม่า ขายทุเรียนไทยลูกละ 995 บาท (199 หยวน คูณอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยหยวนละ 5 บาท) จำนวน 130,000 รวมเป็นเงินประมาณ 129 ล้านบาท คิดเป็น 0.27% ของมูลค่าทุเรียนทั้งหมดของไทย ราคาทุเรียนที่แจ็ค หม่า ขาย คิดแล้วสูงกว่าราคาที่เกษตรกรไทยขายได้ 3 เท่า

ประเด็นสำคัญของเรื่องไม่ได้อยู่ที่แจ็ค หม่า ขายทุเรียนไทยได้เท่าไร

แต่สิ่งที่นักการตลาดควรมองให้ออกมากกว่าคือ ทำไมแจ็ค หม่า เลือกขาย “ทุเรียน” โชว์ เป็นสินค้าตัวแรกหลังการเซ็นสัญญาความร่วมมือกับรัฐบาลไทย แล้วจะทำให้รู้ว่า ทุเรียน คือ ความฉลาดเลือกของอาลีบาบา ที่ยิ่งกว่ายิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว

เริ่มจากทุเรียนได้ชื่อว่าเป็น “ราชาผลไม้” ไม่ได้มีแค่ในประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย หรือแม้แต่กัมพูชา เวียดนาม ก็มีเริ่มมีการปลูกทุเรียน แต่ทุเรียนไทยได้ชื่อว่ามีรสชาติดี เป็นที่ต้องการ เพราะได้รับการปรับปรุงและพัฒนามานาน รวมทั้งรัฐบาลไทยก็มีโครงการให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง แม้กระทั่งการหามาตรการควบคุมที่จะทำให้ทุเรียนที่ออกสู่ตลาด เป็นทุเรียนที่มีคุณภาพเหมาะกับการรับประทาน เพื่อป้องกันปัญหาผู้ซื้อผู้ขายไปจนถึงชื่อเสียงของราชาผลไม้ไทยอย่างทุเรียน

แหล่งผลิตสำคัญของทุเรียนไทย มีมากใน 5 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี ระยอง ชุมพร ยะลา และนครศรีธรรมราช 2 ใน 5 จังหวัดที่ผลิตทุเรียนคุณภาพ โดยเฉพาะพันธุ์หมอนทองที่ดีและมีชื่อเสียงมากคือจังหวัดจันทบุรี และระยอง ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ที่รัฐบาลกำหนดขึ้น และแจ็ค หม่า เข้ามารับทำโครงการด้านดิจิทัลในครั้งนี้มูลค่า 11,000 ล้านบาท

เกษตรกรไทยเป็นกระดูกสันหลังของชาติที่รัฐบาลให้ความสำคัญ ส่งเสริม พัฒนา รวมทั้งคอยอุ้มชูดูแล การจัดทำโครงการที่ให้ประโยชน์ถึงตัวเกษตรกรโดยตรง ไม่เพียงแค่รัฐบาลเท่านั้นที่ปลาบปลื้ม แต่นักการเมืองไม่ว่าพรรคไหน รัฐบาลใด ย่อมพร้อมที่จะมาสานต่อโครงการที่เข้าถึงกลุ่มฐานเสียงสำคัญของประเทศอย่างแน่นอน

เหตุผลสุดท้าย บังเอิญเหลือเกินว่า จังหวะที่มีการเซ็นสัญญาความร่วมมือ เป็นช่วงใกล้หน้าผลผลิตทุเรียนเริ่มทยอยออกสู่ตลาด ซึ่งมีทั้งผู้บริโภคไทยและผู้บริโภคในตลาดต่างประเทศเฝ้ารอ

ด้วยเหตุผลเพียงไม่กี่ข้อนี้ ก็ทำให้สปอตไลต์ดวงโตรวมตัวกันส่องให้โปรเจกต์ขายทุเรียนของแจ็ค หม่า เฉิดฉายเป็นที่จับตา ชนิดที่เป็นข่าวยาวกันเป็นอาทิตย์ตามสื่อต่าง ๆ ดังที่เป็นอยู่นี้

ถึงขั้นที่ว่า แม้จะมีข่าวสาว ๆ BNK48 เข้าพบนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อวาน (24 เมษายน 2560) จนมีโมเมนต์น่ารักมากมาย แต่ข่าวทุเรียนก็ยังสามารถยึดพื้นที่ในสื่อไว้ได้

ทำไมแจ็ค หม่า มั่นใจว่า ถ้าเป็นทุเรียนไทย รับรองขายดี

ทุเรียนไทย เป็นผลไม้ขึ้นชื่อที่มีภาพลักษณ์เชิงบวกในแง่ของประเทศแหล่งกำเนิดสินค้า ซึ่งส่วนหนึ่งต้องให้เครดิตรัฐบาลที่ส่งเสริมและผลักดันให้เป็นที่รู้จักในตลาดโลกมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงในประเทศจีน ฮ่องกง และไต้หวัน ซึ่งต่างก็ชื่นชอบทุเรียนจากไทย

ดังนั้น ในสายตาชาวจีน ถ้าเป็น ทุเรียน แล้วบอกว่ามาจากประเทศไทย จะได้รับการตอบรับทันที ทำให้อาลีบาลา สามารถใช้กลยุทธ์ราคาสูงได้ ยิ่งเล่นกลยุทธ์ราคาเดียวแบบการันตีที่มาและคุณภาพเช่นนี้ ทำให้ผู้ซื้อที่มีการรับรู้เชิงบวกต่อสินค้าอยู่แล้ว พร้อมจะคลิกสั่งซื้อในทันที

ส่วนเรื่องช่องทางจำหน่ายผ่านระบบโลจิสติกส์ของอาลีบาบา ก็วางใจหายห่วง ยิ่งลูกค้าจีนส่วนใหญ่มีประสบการณ์จากการสั่งซื้อสินค้ามาแล้วไม่ว่าเด็กเล็กหรือสูงวัยก็กดสั่งซื้อจากมือถือได้แล้ว

การขายทุเรียนรอบนี้ สำหรับตลาดจีน เพียงแค่พูดว่า ทุเรียน (ที่ย้ำหนัก ๆ ไปเลยว่า) จากประเทศไทย ยอดขายก็พุ่งกระฉูด โดยไม่ต้องอาศัยแฟลชเซลเสียด้วยซ้ำ เพราะอิทธิพลของภาพลักษณ์ของประเทศแหล่งกำเนิดทุเรียนที่ดีที่สุด ต้อง ประเทศไทย เท่านั้น ความตั้งใจซื้อและการประเมินราคาของผู้บริโภคจีนต่อราคาขายที่อาลีบาบาจำหน่าย จึงแทบไม่มีผลต่อการตัดสินใจมากเท่ากับเมื่อผู้ซื้อจีนได้ยินคำว่า “ทุเรียนจากเมืองไทย”

โปรดักต์อย่างทุเรียน ประเทศไหนก็ต้องมี

ทุเรียนคือตัวอย่างสินค้าที่คนไทยต้องมองให้ออกว่า ถ้าต้องการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ และหา “โปรดักต์แชมเปี้ยน” ตัวใหม่ขายผ่านออนไลน์กับอาลีบาบา ที่ให้ผู้บริโภคจากจีนหรือจากทั่วโลกรุมซื้อได้ขนาดนี้ จะต้องทำเช่นไร เพื่อให้คำว่า เมดอินไทยแลนด์ หรือ โปรดักต์ออฟไทยแลนด์ ที่แปะไปกับสินค้าเหล่านั้น เกิดภาพลักษณ์เชิงบวกต่อผู้บริโภคให้ได้ เพื่อจะส่งผลต่อความต้องการของผู้บริโภคที่ทวีความเข้มข้นยิ่งขึ้น

ที่สำคัญ อย่าให้เกิดความรู้สึกแบบตรงกันข้าม ที่สร้างความลังเลให้กับผู้บริโภคว่า ถ้าเป็นสินค้าจากไทย ไม่แน่ใจว่าจะดีจริงหรือเปล่า เพราะนั่นจะเท่ากับทำลายความยั่งยืนทางการตลาดของพวกเรากันเอง และถ้าทำได้ไม่ว่าจะค้าขายผ่านแพลตฟอร์มไหน สินค้าไทยก็จะเป็นที่หนึ่งในใจตลอดกาล

เหมือนที่ทุเรียนต้องจากประเทศไทย ข้าวหอมมะลิของไทยต้องดีที่สุด อยากดูซากุระ ดอยสูงเมืองไทยแม้จะมีให้ดูแก้ขัด แต่สักครั้งในชีวิตต้องไปดูที่ญี่ปุ่น ทั้งที่เกาหลี จีน อเมริกา ก็มีซากุระ หรือจะดูทิวลิปต้องที่เนเธอร์แลนด์ ทั้งที่จีน ยุโรปตะวันออก รัสเซีย หรือที่ไหน ๆ แม้แต่แถวเมืองนนท์ เมืองไทยก็มีสวนทิวลิปให้ชมเหมือน ๆ กัน

ถึงตรงนี้ คงจะพอเห็นแล้วว่า คำว่า นักการตลาด ซึ่งอาจจะดูเหมือนจำกัดแค่กลุ่มคนเฉพาะอาชีพ แต่แท้จริงแล้วคนไทยทุกคน มีสิทธิ์เป็นนักการตลาดที่จะช่วยสร้างโปรดักต์ออฟไทยแลนด์ให้ผงาดในตลาดโลกด้วยกันทุกคน และนั่นคือการปกป้องเศรษฐกิจของประเทศโดยทางอ้อมที่ยั่งยืนอีกด้วย เพราะโปรดักต์จากแหล่งประเทศต้นกำเนิดที่ดี ไม่มีทางที่ใครจะมายึดไปไหนได้

ราคาทุเรียนหมอนทองที่เกษตรกรขายได้

ที่มา : คณะกรรมการบริหารและการจัดการไม้ผล, สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2560.

]]>
1167419
ทุเรียนฟีเวอร์ ! นครชัยแอร์ เผย ยอดจัดส่งกว่า 1,000 ครั้ง ใน 1 เดือน https://positioningmag.com/1130504 Sat, 24 Jun 2017 08:55:21 +0000 http://positioningmag.com/?p=1130504 หลังจากที่ นครชัยแอร์ประกาศเปิดให้บริการ “ยินดีต้อนรับทุเรียนร่วมเดินทางไปกับรถโดยสารของเรา” เพื่อสร้างทางเลือกให้ลูกค้า โดยมีอุปกรณแพ็กทุเรียน และจัดเซตราคาพิเศษ ปรากฏว่า ตลอดระยะเวลา 1 เดือนที่ผ่านมา ผลตอบรับจากลูกค้าดีเกินคาด ประชาชนนิยมมาใช้บริการจัดส่ง โดยจัดเป็นสัมภาระในการเดินทาง หรือการจัดส่งแบบพัสดุด่วน

นางเครือวัลย์ วงศ์รักมิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท นครชัยแอร์ จำกัด สถิติ 3 จังหวัด ที่มีการจัดส่งทุเรียน รวมทั้งผลไม้อื่นๆ นับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม – 21 มิถุนายน2560 พบว่า

  • อันดับ 1 จังหวัดระยอง มีจำหน่ายเซตบรรจุภัณฑ์ที่สูงถึง 642 กล่อง
  • อันดับสอง กรุงเทพฯ 287 กล่อง
  • อันดับสาม จังหวัดศรีสะเกษ 107 กล่อง

เมื่อแบ่งตามขนาดกล่อง อาทิ 15, 20 และ 25 กิโลกรัม มาพร้อมอุปกรณ์แพ็ก (ถุงพลาสติก+เทปใส) โดยที่กล่องขนาดใหญ่ 25 กิโลกรัม ซึ่งสามารถบรรจุทุเรียน 2-3 ลูกเล็ก หรือทุเรียน 1-2 ลูกใหญ่ ได้รับความนิยมสูง

และจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเห็นได้ว่า จังหวัดระยองเป็นเมืองแห่งผลไม้ที่มีประชาชนให้ความนิยมมาใช้บริการจัดส่งทุเรียนสูงสุด ถึงแม้ว่าบริการจัดส่งทุเรียนจะเปิดให้บริการได้เดือนกว่าแล้ว แต่ความต้องการของผู้จัดส่งทุเรียน ยังคงสูง ทำให้โรงงานที่ผลิตกล่องโฟม และถุงพลาสติกต้องจัดส่งเพิ่มเป็น 2 เท่าจากยอดสั่งปกติ

]]>
1130504