สถาบันการเงินอย่าง HSBC ได้รายงานถึงความต้องการทุเรียนของชาวจีนซึ่งล่าสุดมากถึง 4 เท่าเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากผลไม้ชนิดนี้แสดงให้เห็นถึงความมั่งคั่งของผู้ซื้อ แม้ว่าหลายคนเองจะไม่ชอบผลไม้ชนิดนี้ โดยเฉพาะกลิ่นของมันก็ตาม
CNBC รายงานข่าว โดยอ้างอิงรายงานจาก HSBC ว่า ความต้องการของทุเรียน ผลไม้อีกหนึ่งชนิดที่ประเทศไทยส่งออกมากที่สุดนั้นเพิ่มมากขึ้นถึง 4 เท่าเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา จากความบ้าคลั่งในผลไม้ของชาวจีน รวมถึงเป็นเครื่องบ่งบอกฐานะของตัวเอง
ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จีนได้นำเข้าทุเรียนมากถึง 6,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 214,215 ล้านบาท และจีนเองเป็นประเทศที่ต้องการทุเรียนมากถึง 91% ของความต้องการทั้งหมด โดยจุดเริ่มต้นที่จีนนำเข้าผลไม้ชนิดอย่างหนักหน่วงต้องย้อนไปถึงปี 2017
ประเทศไทยถือเป็นประเทศส่งออกทุเรียนประเทศหลักของปริมาณทุเรียนในท้องตลาด ซึ่งมีสัดส่วนมากกว่า 89% ทางด้านประเทศอื่นที่ส่งออกทุเรียนเช่นเดียวกับไทย ได้แก่ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน กัมพูชา ลาว พม่า สิงคโปร์ หรือแม้แต่เวียดนาม แต่มีจำนวนน้อยมาก
ปัจจัยความต้องการของชาวจีนนั้นมาจากมุมมองของผู้บริโภคชาวจีนนั้นไม่ได้มองว่าทุเรียนเป็นเพียงผลไม้ แต่ยังเป็นของขวัญที่อวดความมั่งคั่งของผู้ให้ด้วย นอกจากนี้การมอบทุเรียนให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของของขวัญตามธรรมเนียมที่มอบให้กับเพื่อนหรือญาติด้วย
ขณะเดียวกันราคาของทุเรียนที่ขายในประเทศจีนนั้นเฉลี่ยมากถึง 10 ดอลลาร์สหรัฐต่อกิโลกรัม หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 357 บาทต่อกิโลกรัมซึ่งมีราคาแพงกว่าในหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรวมถึงในไทย ที่มีทุเรียนขายในหลากหลายราคา ขึ้นกับคุณภาพ
โดยประเทศไทยเอง ความต้องการทุเรียนที่สูง ทำให้เกษตรกรไทยหลายรายได้เปลี่ยนการปลูกพืชชนิดอื่นมาเป็นการปลูกทุเรียนแทน เนื่องจากราคาที่สูง
ซึ่งแปลว่าชาวจีนที่สามารถซื้อทุเรียนได้จริงๆ นั้นจะต้องมีความมั่งคั่งพอสมควร
นอกจากนี้ในรายงานของ HSBC ยังได้ชี้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับไทยที่มีการนำเข้าสินค้า ซึ่งในปี 2022 ที่ผ่านมาอาเซียนได้ส่งออกสินค้าไปยังจีนเป็นอันดับ 1
Aris Dacanay นักเศรษฐศาสตร์ของ HSBC ยังมองว่าความต้องการของทุเรียนยังเป็นโอกาสของประเทศอื่นในอาเซียนที่จะส่งออกผลไม้ชนิดนี้ เนื่องจากความต้องการผลไม้ชนิดนี้จำนวนมหาศาล และเขามองว่าและนี่เป็นโอกาสของหลายประเทศที่จะท้าทายไทยในการส่งออกผลไม้ชนิดนี้ด้วย