นักการตลาด – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 09 Feb 2023 11:40:40 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เปิดมุมมอง 3 ผู้บริหารการตลาดเมืองไทยกับ 6 ข้อที่ ‘นักมาร์เก็ตติ้งยุคใหม่’ ต้องปรับตัวหากอยากอยู่รอด! https://positioningmag.com/1418578 Thu, 09 Feb 2023 10:45:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1418578 นักการตลาดถือเป็นตัวแทนของแบรนด์ที่ใช้เชื่อมต่อผู้บริโภค แต่เพราะการมาของ COVID-19 ทำให้สิ่งต่าง ๆ เปลี่ยนไป โดยเฉพาะพฤติกรรมผู้บริโภคและเทคโนโลยี ดังนั้น องค์กรและเหล่านักการตลาด โดยเฉพาะในระดับ ผู้บริหาร จะต้องปรับตัวอย่างไรนั้น ทาง ไรส์ (RISE) สถาบันเร่งสปีดนวัตกรรมองค์กร ก็ได้จัดงานเสวนา “Transformative Marketing Trends to Watch in 2023 by MTX” เพื่อเป็นแนวทางให้นักการตลาดได้ปรับตัวในยุค Post Covid

ภายในงานได้ 3 ผู้บริหารด้านการตลาดจากองค์กรชั้นนำของประเทศ มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์การตลอดช่วงเวลาที่เคยทำงาน ได้แก่

  • สุธีรพันธุ์ สักรวัตร ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด ของบริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน)
  • กิตติพงษ์ วีระเตชะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มด้านการตลาดและนวัตกรรม ของเครือกลุ่มบริษัท เดนท์สุฯ อินเตอร์เนชั่นแนล
  • สุทิพา ปัญญามหาทรัพย์ Chief PC & HCC Business Officer ของบริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน)

ต้องเร็วไม่ต้องเพอร์เฟกต์

ไม่ต้องสมบูรณ์แบบ ขอแค่ต้องเร็ว เนื่องจากความรู้เรื่องการตลาดในโลกปัจจุบันมีอยู่อย่างมหาศาล ทำให้นักการตลาดหลายคนประสบปัญหากับขั้นตอนและกระบวนการเลือกหยิบใช้ความรู้เหล่านี้ ส่งผลให้ ลงมือช้าไป และไม่สอดคล้องกับโลกของการตลาดยุคปัจจุบัน ดังนั้น การตลาดในยุคนี้ต้องทำงานให้เร็ว ไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์แบบ

ดังนั้น จะเห็นว่าการเผยแพร่แคมเปญในยุคก่อนหน้านี้ที่ต้องใช้เวลาหลักปีในการทำให้สำเร็จ แต่ในยุคปัจจุบันกลับใช้เวลาเพียงหลักอาทิตย์หรือแค่หลักวันเท่านั้น การเปลี่ยนแปลงนี้สะท้อนให้เห็นวิถีการทำงานของนักการตลาดยุคใหม่ที่ต้องให้ความสำคัญกับการตอบโจทย์ผู้บริโภคให้ทันต่อความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วด้วยความเข้าใจผู้บริโภคอย่างลึกซึ้ง

ลูกค้าคือศูนย์กลาง

องค์กรยุคใหม่ต้องให้ผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง องค์กรยุคปัจจุบันต้องปรับเปลี่ยนตัวเองสู่การมีลูกค้าเป็นศูนย์กลางในการกำหนดทิศทางที่จะเดินไปข้างหน้า รวมถึงมองพฤติกรรมลูกค้าเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการเลือกสร้างผลิตภัณฑ์ใด ๆ ขึ้นมา โดยไม่จำกัดความถนัดไว้เพียงอุตสาหกรรมเดิมที่ตนอยู่เหมือนก่อนหน้านี้ สำหรับนักการตลาดที่หน้าที่หลักคือการสร้างความต้องการ (Demand) ให้เกิดขึ้นในกลุ่มลูกค้า จึงต้องเรียนรู้เพื่อเข้าใจวิธีคิดและพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป และปรับกลยุทธ์รวมถึงกิจกรรมทางการตลาดให้เท่าทันกับสิ่งเหล่านี้

กิตติพงษ์ วีระเตชะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มด้านการตลาดและนวัตกรรม ของเครือกลุ่มบริษัท เดนท์สุฯ อินเตอร์เนชั่นแนล

ทรานส์ฟอร์มต้องทำและเริ่มได้จากสิ่งเล็ก ๆ

จะเริ่มทรานส์ฟอร์มควรเริ่มจากเล็ก ๆ โดย สุธีรพันธุ์ สักรวัตร ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด ของบริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) ได้ยกตัวอย่างการทรานส์ฟอร์มองค์กรของ SCB ว่า “เนื่องจากการเป็นองค์กรใหญ่ก็เหมือนเรือใหญ่ ไม่มีทางที่จะหันหัวเรือได้เร็วเหมือนเรือเล็ก ดังนั้น จึงต้องส่งเรือเล็ก ๆ ที่เลี้ยวง่ายออกไปหาน่านน้ำใหม่ ๆ”

ดังนั้น การทรานส์ฟอร์มสามารถเริ่มต้นทำจากจุดเล็ก ๆ ได้ อย่างเช่น SCB ที่ใช้วิธีการแยกแบรนด์ย่อยออกมาเพื่อทดลองโอกาสใหม่ ๆ ไม่ต้องกลัวว่าจะล้มเหลว เพราะการล้มเหลวจะทำให้ได้เรียนรู้เพื่อนำไปต่อยอดสร้างอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (New S-Curve) ที่จะมาตอบโจทย์ในการขยายและสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้กับบริษัท

“ไม่ว่าจะอยู่ในองค์กรไหนให้รีบทรานส์ฟอร์มก่อนที่จะตายหรือจะสายเกินแก้ เราเลือกได้ว่าจะทรานส์ฟอร์มในวันที่เรายังมีกำลังหรือจะทำในตอนที่ขัดสน มันไม่มีทางไหนที่เท่กว่ากัน อย่างแบงก์เลือกทำในวันที่เรามีกำไรเป็นหมื่นล้าน หรือทีวีบางช่องที่มาทรานส์ฟอร์มในวันที่โดนดิสรัปต์ไปแล้ว ซึ่งลำบากแล้วเพราะไม่มีเงิน”

เก็บข้อมูลง่าย แต่จะใช้มันยาก

ในอดีตกว่าจะรู้อินไซต์ผู้บริโภคต้องใช้เงินมหาศาล แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีต่าง ๆ สามารถให้นักการตลาดและแบรนด์เก็บข้อมูลผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพแถมบางเครื่องมือยังฟรีขอแค่มีเวลา แต่การที่มีข้อมูลเยอะแต่ไม่ได้แปลว่ามันจะถูกต้อง ดังนั้น ต้องรู้จักเลือกใช้ข้อมูลต้องรู้จักวิเคราะห์ ว่าจะหยิบเอาอะไรมาใช้อย่างไร

ดังนั้น นักการตลาดจึงต้องอาศัยทั้งศิลปะในการทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภค ความคิดสร้างสรรค์ในการสื่อสารให้ผู้บริโภคเห็นถึง Value หรือคุณค่าของสินค้าและบริการ ต้องเห็นมิติทางสังคมที่อยู่เบื้องหลังสิ่งเหล่านี้ รวมถึงทักษะในการเข้าใจโมเดลธุรกิจของตนเอง และถอดเอารูปแบบการปฏิสัมพันธ์ของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์ (Customer Journey) มาปรับกลยุทธ์และแผนการทำงานที่เหมาะสมต่อสถานการณ์ได้

“เมื่อก่อนมันยากที่จะหาข้อมูล แต่ตอนนี้มันมีเยอะจนไม่รู้จะเอาตรงไหนมาใช้ และนี่คือสิ่งที่ยากว่าจะนำมาวิเคราะห์อย่างไร เพราะต้องอาศัยประสบการณ์ นี่จึงเป็นสิ่งที่พารานอยด์ที่สุดของนักการตลาดยุคนี้” สุทิพา ปัญญามหาทรัพย์ Chief PC & HCC Business Officer บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) กล่าว

นักการตลาดห้ามหยุดปรับตัว

เนื่องจากนักการตลาดซึ่งถือเป็นสายงานที่อยู่ส่วนหน้าของการเปลี่ยนแปลง จึงต้องมีความพร้อมรับมือการทรานส์ฟอร์มที่จะเกิดขึ้นอยู่เสมอ ดังนั้น นักการตลาดต้องพร้อมเรียนรู้และปรับตัวเสมอ ดังนั้น จะเห็นว่าบทบาทของนักการตลาดเปลี่ยนไป จากอดีตที่มีบทบาทตั้งแต่การสร้างผลิตภัณฑ์ (Product) ก่อนที่จะปรับบทบาทสู่ผู้ทำหน้าที่กระตุ้นให้เกิดการซื้อขายผ่านการเล่าเรื่อง (Storytelling) หรือการทำให้แบรนด์มีตัวตนในสายตาของผู้บริโภค

จนปัจจุบันจะปรับมาสู่การเป็นผู้มอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้บริโภค (Consumer Experience) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ต่างเรียกร้องทักษะการทำงานที่แตกต่างกันไป หน้าที่ของนักการตลาดจึงเป็นการวิ่งไล่ตามความคาดหวังของผู้บริโภคให้ทัน และปรับทักษะของตัวเองให้พร้อมต่อเป้าหมายนี้อยู่เสมอ

“เมื่อก่อนเลือกรับคนที่จบคณะนิเทศน์ฯ , อักษรฯ มาทำการตลาด แต่ปัจจุบันเลือกคนจบ Data Scientist มาทำ เพราะตอนนี้ไม่ใช่แค่ศิลปะแต่ต้องมาทางวิทยาศาสตร์ด้วย ดังนั้น ยุคนี้ต้องทำใจ ต้องรีสกิล อัพสกิล จากศาสตร์การสื่อสารไม่พอ ต้องมีศาสตร์เฉพาะทาง” สุทิพา กล่าว

สุทิพา ปัญญามหาทรัพย์ Chief PC & HCC Business Officer บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) กล่าว

รายได้ตัวชี้วัดสำคัญสุด

ในยุคที่เศรษฐกิจทั่วโลกอยู่ในภาวะถดถอย ทั้งจากการระบาดของ COVID-19, ภาวะสงคราม, เงินเฟ้อ ส่งผลให้ รายได้ของบริษัทคือตัววัดผลที่สำคัญที่สุด ดังนั้น เป้าหมายสำคัญของงานด้านการตลาดคือการสร้างรายได้ให้กับบริษัท จนปัจจุบัน รายได้และผลกำไรกลายเป็นจุดวัดความสำเร็จ ที่เหนือกว่าแค่เพียงยอดผู้ติดตามหรือจำนวนผู้มีส่วนร่วมกับแบรนด์ที่เพิ่มขึ้น มาตรวัดทางการตลาดของโลกยุคนี้จึงเกี่ยวข้องกับเป้าหมายทางธุรกิจมากขึ้นกว่าเดิม

“บทบาทของนักการตลาดตอนนี้เปลี่ยนไป โดยพื้นฐานของนักการตลาด คือ มีหัวการขายและต้องปรับเปลี่ยนไปตามผู้บริโภค แต่สิ่งที่ต่างในปัจจุบันคือ นักการตลาดรุ่นใหม่มีเวลาเตรียมตัวน้อยมาก เพราะสิ่งสำคัญในปัจจุบันคือ ความเร็วและกำไร” กิตติพงษ์ วีระเตชะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มด้านการตลาดและนวัตกรรม ของเครือกลุ่มบริษัท เดนท์สุฯ อินเตอร์เนชั่นแนล ย้ำ

]]>
1418578
ประเมินทิศทาง ‘เม็ดเงินโฆษณา’ พร้อมอัปเดต ‘5 เทรนด์ดิจิทัล’ ที่ยังมีอิมแพ็คในปี 2022 https://positioningmag.com/1370810 Wed, 19 Jan 2022 08:21:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1370810 หากพูดถึงภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปีที่ผ่านมา (2021) GDP คาดว่าจะเติบโตประมาณ 0.8-1.2% แม้ว่าช่วงไตรมาสสุดท้ายจะเจอกับ ‘โอมิครอน’ ก็ตาม  อย่างไรก็ตาม แม้ภาพรวมเศรษฐกิจจะเติบโตบ้าง แต่ภาพรวมอุตสาหกรรมสื่อเองกลับติดลบ -0.5% มาปี 2022 นี้ ปัทมวรรณ สถาพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มายด์แชร์ (Mindshare) ประเทศไทย ก็ได้ออกมาคาดการณ์ถึงภาพรวมอุตสาหกรรมในปีนี้ว่าจะมีปัจจัยบวกปัจจัยลบอย่างไร และนักการตลาดต้องปรับตัวอย่างไรบ้าง

2021 ติดลบแต่ 2022 จะ +6.4%

แม้ภาพรวมเศรษฐกิจปี 2021 จะไม่ได้เติบโตมากนัก เพราะในส่วนของการท่องเที่ยวยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ โดยภาพรวม นักท่องเที่ยวระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคมมีเพียง 106,117 คน แต่จากโครงการภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์ในช่วงปลายปีคาดว่าจะทำให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งปีอยู่ที่ประมาณ 2-4 แสนคน ขณะที่ความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Sentiment) มีแนวโน้มดีขึ้นโดยจบปีที่ 46.2 ต่ำสุดที่ 39.6 ในช่วงเดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นช่วง COVID-19 กำลังระบาดหนัก

ปัทมวรรณ สถาพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มายด์แชร์ (Mindshare) ประเทศไทย

ในส่วนของภาพรวม Media ปี 2021 มีการใช้เม็ดเงิน 105,528 ล้านบาท ติดลบ -0.5% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่าน อย่างไรก็ตาม การคาดการณ์ ภาพรวมเศรษฐกิจในปี 2022 คาดว่า GDP จะเติบโต +3.9% โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวประมาณ 5 ล้านคน ส่วนความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ประมาณ 50+ และเมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น แน่นอนว่าย่อมส่งผลต่อตลาด Media โดยคาดว่าภาพรวม Ad Spending จะมีเม็ดเงิน 112,250 ล้านบาท เติบโต +6.4% โดยแบ่งได้ ดังนี้

  • TV (64,000 ล้านบาท) +3%
  • Online (26,150 ล้านบาท) +2% 
  • Outdoor (6,200 ล้านบาท) +1.9%
  • In-store (700 ล้านบาท) +3.9%
  • วิทยุ (3,600 ล้านบาท) +11.7%
  • หนังสือพิมพ์ (2,700 ล้านบาท) +8.6%
  • แมกกาซีน (700 ล้านบาท) +20.5%
  • โรงหนัง (4,200 ล้านบาท)+23.3%
  • Transit (4,000 ล้านบาท) +10.8%

แม้จะเห็นว่าทุกสื่อกลับมาเติบโตหมด แต่หากเทียบกับปี 2019 หรือก่อนเกิด COVID-19 สื่อทุกอย่างยังติดลบทุกสื่อ ทั้งนี้ ในเม็ดเงินโฆษณาของ TV กลยุทธ์ TV Commerce เป็นกลยุทธ์ของการช่วยให้สื่อทีวีโตต่อไปได้ นอกจากนี้ การที่คนใช้งาน OTT (บริการสื่อผ่านอินเทอร์เน็ต) ผ่านสมาร์ททีวีจะเริ่มมีการทำโฆษณาที่ตรงใจผู้บริโภคมากขึ้น ส่วน Transit, Outdoor จะเติบโตจากการเปิดประเทศ เริ่มใช้ชีวิตนอกบ้านได้มากขึ้น

5 มุมดิจิทัลที่ยังสำคัญในปี 2022

ปัจจุบัน 82% ของประชากรไทยเข้าถึงอินเทอร์เน็ต, 74% อยู่บนโซเชียลมีเดีย, ค่าเฉลี่ยการใช้อินเทอร์เน็ตอยู่ที่ 9 ชั่วโมง 38 นาที แม้การเติบโตจะชะลอตัวลงแต่ดิจิทัลได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของผู้บริโภคไปแล้ว ดังนั้น ไปดู 5 มิติในมุมดิจิทัลที่ควรรู้ก่อนวางแผนทำแคมเปญการตลาด

  1. Search ยังเป็นเครื่องมือสำคัญ เพราะผู้บริโภคอยากได้อะไรก็ค้นหาสิ่งนั้น ดังนั้น นักการตลาดต้องกลับมาดูในส่วนของการ Search Engine Optimization (SEO), Search Engine Marketing (SEM) ว่าจะทำอย่างไรให้สินค้าและบริการของของแบรนด์เป็นอันดับแรก ๆ ที่คนเห็น
  2. Online Video คนไทยยังชอบวิดีโอไม่ว่าจะอยู่บนแพลตฟอร์มไหน ซึ่งปัจจุบันแพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่งก็ได้รับความนิยมมากไม่ว่าจะเป็นแบบ SVOD (Subscription Video On Demand) รูปแบบวิดีโอที่เสียเงินสมัครสมาชิก, AVOD (Advertising Video On Demand) รูปแบบวิดีโอที่มีโฆษณามาคั่น และ TVOD (Transactional Video On Demand) รูปแบบวิดีโอที่มีการจ่ายต่อการรับชม เลือกให้มีการโฆษณาเฉพาะครั้ง ซึ่งทุกแพลตฟอร์มถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการเข้าถึงผู้บริโภคได้
  3. Influencers ยังเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่สำคัญ สามารถช่วยให้ลูกค้ามีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ได้ แถมยังมีความน่าเชื่อถืออีกด้วย
  4. Commerce ยังคงเติบโตต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น Social Commerce, Live Commerce แต่จากนี้จะยิ่งง่าย, สะดวกทั้งการจัดส่ง การชำระเงิน ดังนั้น ร้านค้าหรือแบรนด์ควรจะทำ Omnichannel เพื่อเข้าถึงผู้บริโภคทั้งออนไลน์และออฟไลน์
  5. Gaming แม้เม็ดเงินโฆษณาในไทยจะยังน้อยเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ อย่างเช่น จีน แต่ไม่ได้แปลว่าคนไทยเล่นเกมน้อย แถมยังใช้เวลาพอ ๆ กับการใช้โซเชียลมีเดียหรือมากกว่า แถมผู้หญิงยังเล่นมากกว่าผู้ชาย ซึ่งอนาคต Gaming เองจะเป็นมิติเดียวกับ Metaverse ดังนั้น Gaming จึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่น่าสนใจ

สิ่งแวดล้อมและความไม่แน่นอน Topic ที่ผู้บริโภคให้ความสนใจ

นอกจากนี้ อีกหนึ่งเรื่องที่ผู้บริโภคในปี 2022 สนใจคือ เรื่องสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะอุทกภัย ภัยแล้ง มีผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันทำให้เรื่องการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นที่เข้าใจในวงกว้างขึ้น และอีกหนึ่งบริบทที่สำคัญกับผู้บริโภคคือการมีมุมมองต่อ ความไม่แน่นอนของอนาคต ซึ่งเป็นตัวผลักดันที่ทำให้ผู้บริโภคประเมินรูปแบบชีวิตและการใช้ชีวิตใหม่ ดังนั้น แบรนด์หรือธุรกิจที่สามารถช่วยสร้างความเชื่อมั่น หรือความสะดวกสบายให้กับพวกเขาได้ก็จะเป็นข้อได้เปรียบทางธุรกิจ

“นักการตลาดต้องคิดให้ได้ว่าแต่ละกลุ่มควรใช้เงินเท่าไหร่ เป้าหมายผู้บริโภคเราอยู่ที่ไหน และมารวบขมวดเป็นการวางแผนสื่อของเราเพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้น แต่การใช้เม็ดเงินสำหรับแบรนด์หรือธุรกิจไม่จำเป็นต้องใช้เยอะให้ดูความคุ้มค่า และควรบาลานซ์ระหว่างการขายและสร้างอะแวร์เนส เพราะการกลับมานั้นยากกว่า

]]>
1370810
GroupM แนะ 6 แนวทาง นักการตลาดฝ่าวิกฤต COVID-19 รอบใหม่ https://positioningmag.com/1315869 Thu, 28 Jan 2021 14:50:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1315869 จากช่วงกลางเดือนธันวาคม 2563 ที่เกิดการแพร่ระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ในหลายจังหวัด แม้รอบนี้จะยังไม่ถูกล็อกดาวน์ และหยุดกิจกรรมต่างๆ ทางเศรษฐกิจ แต่ยังส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมไทยในวงกว้าง แม้จะมีบทเรียนมาแล้วจากปี 2563 แต่แบรนด์และนักการตลาดยังจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ รวมถึงวางแผนที่ต้องปรับตามสถานการณ์อย่างเหมาะสมจากความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นใหม่ในปีนี้

กรุ๊ปเอ็ม ประเทศไทย (GroupM) กลุ่มเอเยนซี่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านบริหารจัดการการลงทุนด้านสื่อในเครือ ดับบลิวพีพี (WPP) จับมือกับเอเยนซี่ในเครือได้แก่ มายด์แชร์ มีเดียคอม เวฟเมคเกอร์ ได้ทำการสรุปคำแนะนำสำคัญดังนี้

1. เร่งขยายช่องทางจัดจำหน่ายออนไลน์ให้เหมาะสมกับธุรกิจ

บทเรียนจากปีที่แล้ว ผู้บริโภคไม่สามารถออกไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ รวมถึงกังวลเรื่องความปลอดภัยจึงหันไปพึ่งพาการซื้อของออนไลน์แทน โดยพบว่าในช่วงการแพร่ระบาดนั้น ผู้บริโภคกว่า 89% ใช้เวลาไปกับการการซื้อของออนไลน์มากขึ้น (GroupM Consumer Eyes) อีกทั้งเพื่อความอยู่รอด หลายอุตสาหกรรมต่างปรับตัวสร้างช่องทางจำหน่ายบนตลาดออนไลน์ของตัวเอง ส่งผลให้อุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซในภาพรวมปี 2020 สูงขึ้นถึง 35% (FOCAL 2020 – eCommerce Outlooks)

การกลับมาของ COVID-19 ระลอกใหม่นี้ ผู้บริโภคไทยมีความคุ้นเคยกับการซื้อของผ่านทางออนไลน์อยู่แล้ว จึงเป็นโอกาสสำหรับแบรนด์ ที่เคยสร้างอีโคซิสเท็มในการจำหน่ายทางออนไลน์ให้ตัวเองไปแล้วได้ลงทุนเพิ่มขึ้น เพื่อต่อยอดการสร้างโอกาสในการขายอย่างมีประสิทธิภาพในสถานการณ์นี้

ซึ่งตอนนี้นักการตลาดไม่ควรมองแค่แพลตฟอร์มการขายเดียว แต่ยังต้องเข้าถึงแพลตฟอร์มใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ลักษณะการขายของที่เหมาะสมกับสินค้าของตัวเอง รวมถึงหาพาร์ตเนอร์ที่สามารถขยายช่องทางการเข้าถึงลูกค้าใหม่ๆ ได้ เพิ่มเติมจากแต่เดิมที่อาจใช้เว็บไซต์ และการขายผ่านทาง Online Marketplace ไปยังช่องทางอื่นๆ เช่น Social Commerce การร่วมมือกับ Influencer เพื่อสร้างยอดขาย ตลอดจนการมองหาช่องทางใหม่ๆ หรือแอปพลิเคชันใหม่ๆ ที่ผู้บริโภคใช้ในการจับจ่ายใช้สอย ซื้อสินค้า เฉพาะหมวดหมู่

2. เพิ่มการลงทุนในช่องทางที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างจำเพาะเจาะจง

ในวันนี้คอนเทนต์ที่ผู้บริโภคติดตามไม่ได้จำกัดแค่ทางสื่อโซเชียลหรือเว็บไซต์ และผู้บริโภคมีพฤติกรรมการข้ามไปมาระหว่างแพลตฟอร์มมากขึ้น และรวดเร็วขึ้น การวางแผนซื้อสื่อทีละแพลตฟอร์มด้วยวิธีเดิม ไม่สามารถตอบสนองการเข้าถึงผู้บริโภคและสร้างความน่าสนใจได้อย่างทันเวลา

ต่อจากนี้แบรนด์และนักการตลาดต้องสามารถเข้าถึง Touchpoint ต่างๆ ได้ตลอดเวลา และสื่อสารให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น เพื่อให้การลงทุนทางการตลาดมีประสิทธิภาพสูงสุด อย่างเช่น การใช้เทคโนโลยีอย่าง Programmatic ที่มี AI วิเคราะห์ข้อมูลและยิงโฆษณาให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจเดียวกันในแพลตฟอร์มที่ต่างกัน ซึ่งให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าและคุ้มค่ากว่าการลงทุนแบบแยกทีละแพลตฟอร์ม

3. เตรียมตัวสู้การแข่งขันในยุค Data Driven

ธุรกิจต่างๆ มีบทเรียนจากการแพร่ระบาดครั้งที่แล้ว และหันไปพึ่งแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น ทำให้เกิดการแข่งขันอย่างดุเดือดเพื่อแยกลูกค้ากันในแต่ละแพลตฟอร์ม พื้นฐานของการตลาดแบบ Data Driven ที่แข่งกันว่าใครใช้ Data เก่งกว่ากัน และไม่ได้จำกัดอยู่ที่การยิงโฆษณา แต่เป็นการทำ Promotion การใช้ Performance Marketing และการทำ Personalisation รวมไปถึงการทำ CRM ที่มีประสิทธิภาพเพื่อสร้างโอกาสเพิ่มยอดขาย

สิ่งสำคัญของแบรนด์และนักการตลาดคือการหาพาร์ตเนอร์ที่มีความสามารถในการช่วยแปลง Data ให้กลายเป็นความรู้ที่สามารถสร้างข้อได้เปรียบในการวางแผนกลยุทธ์การขาย เพราะสามารถเลือกทำกลยุทธ์ได้หลายแบบ ทั้งในเรื่องของ ราคา การจัด Promotion การหาลูกค้าเพิ่มจากแพตลฟอร์มใหม่ อีกทั้งแบรนด์ใหญ่ ๆ ยังสามารถสร้างข้อได้เปรียบจากการใช้สื่อที่มี Outcome Guaranteed

4. ต้องไม่หยุดสร้าง Brand Awareness

แม้การแข่งเรื่องโปรโมชัน ราคา จะรุนแรงขึ้น แต่แบรนด์ใหญ่ต้องไม่ลดการลงทุนสื่อเพื่อสร้างการจดจำ ซึ่งเป็นโอกาสในการเข้าถึงผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเพิ่มความมั่นใจและเชื่อใจในระยะยาว อีกทั้งเป็นการลดโอกาสในการถูกคู่แข่งแย่งผู้บริโภคไปในการแข่งขันเรื่องราคา และโปรโมชันที่เข้มข้นขึ้น

สำหรับแบรนด์หน้าใหม่ ช่วงนี้เป็นโอกาสอันดีที่จะการเข้าถึงผู้บริโภคที่อยู่บ้านและมีเวลารับสื่อมากขึ้น โดยเฉพาะสื่อ Offline อย่างโทรทัศน์ หรือการเลือกใช้ Influencer Marketing เพื่อสร้างการจดจำ รวมถึงมีโอกาสสร้างยอดขายมากขึ้นตามไปด้วย

Beautiful asian woman blogger is showing how to make up and use cosmetics. In front of the camera to recording vlog video live streaming at home.Business online influencer on social media concept.

5. ตามติดสถานการณ์ แบบ Realtime จากภาครัฐ

เมื่อเทียบกับการแพร่ระบาดในระลอกแรก มาตราการต่างๆ จากภาครัฐในเวลานี้มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วกว่าเดิม รวมถึงพื้นฐานความเข้าใจต่อการใช้เทคโนโลยีของผู้บริโภคก็เพิ่มสูงขึ้นจากปีที่แล้ว และพร้อมเข้ารวมกับมาตรการช่วยเหลือของรัฐอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างเช่น เราชนะ หรือ คนละครึ่ง ที่ผู้บริโภคเข้าถึงการใช้สิทธิ์ได้อย่างรวดเร็ว เมื่อเทียบกับมาตรการอื่นๆ ในปี 2563

นักการตลาดต้องทำงานแบบ Agile ที่ต้องมีความรวดเร็ว และปรับตัวให้เข้าถึงโอกาสที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่อาจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

6. เตรียมแผนไว้รองรับเหตุกาณ์ไม่คาดฝันเสมอ

ต้องมีแผนสำรองในการรับมือกับสิ่งที่ไม่อาจคาดเดาได้ โดยจำเป็นมีแผน 2 3 หรือ 4 เผื่อไว้ ทีมงานต้องมีความยืดหยุ่น สามารถเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าได้ รวมถึงทำงานร่วมกันเพื่อให้แผนสำรองที่เตรียมไว้สามารถทำงานได้ทันทีเมื่อจำเป็น ซึ่งจะทำให้จัดการกับความเปลี่ยนแปลงได้ดีกว่าการมีแผนเดียวและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็นรายครั้งไป

]]>
1315869
ทำตลาดยุคดิจิทัล ต้องก้าวให้พ้น “กับดัก” ไลก์ เมนต์ แชร์ https://positioningmag.com/1209458 Mon, 21 Jan 2019 14:14:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1209458 Thanatkit

WE ARE SOCIAL เผยผลสำรวจการใช้สื่อออนไลน์ที่แสดงให้เห็นว่า คนไทยเสพติดโลกออกไลน์มากน้อยแค่ไหน ทั้งตัวเลขการใช้งานอินเทอร์เน็ตต่อวัน ที่ 9 ชั่วโมง 38 นาทีต่อวัน หรือโซเชียลเน็ตเวิร์์กที่ชาวไทยใช้งานสูงถึง 3 ชั่วโมง 10 นาทีต่อวัน

ถึงแม้จะมีผู้ใช้งานมากมายแต่ก็ไม่ได้หมายความว่า แบรนด์จะสามารถใช้ช่องทางโซเชียลเน็ตเวิร์กสื่อสารกับผู้บริโภคในยุคนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ เพราะทุก โอกาส ย่อมมาพร้อมกับ ความท้าทาย ที่เลี่ยงไม่ได้

4 ความท้าทายที่ต้องเจอ

ความท้าทายที่ว่าอย่างแรกเลย คือ ผู้บริโภค คนไม่ได้มีแอคเคาต์โซเชียลมีเดียแค่ 1 แอคเคาต์ แต่เฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 5.5 แอคเคาต์ ในทางทฤษฎีอาจบอกได้ว่าจำนวนที่มากขึ้น จะทำให้แบรนด์สามารถเข้าถึงพวกเขาได้มากขึ้น แต่ความเป็นจริงช่องทางที่หลากหลาย กลับทำให้ความสนใจถูกกระจายไปด้วย

2. สิ่งที่แบรนด์กำลังต่อสู้อยู่ในตอนนี้ไม่ได้สู่กับแบรนด์ด้วยกัน แต่อยู่น่านน้ำเดียวกับคอนเทนต์ที่ถูกโพสต์ขึ้นจากคนใกล้ตัว ทั้งเพื่อน ญาติ หรือคนที่ทำงาน จากข้อมูลทั่วโลกพบ อัตราการดูวิดีโอบนเฟซบุ๊ก 8,000 ล้านครั้งต่อวัน คนดูวิดีโอบนยูทูบ 1,000 ชั่วโมงต่อวัน และมีการอัพโหลดรูปภาพบนอินสตาแกรม 95 ล้านรูป

3. การแสดงความเห็นที่ขัดแย้งกันมากขึ้น จากเดิมอาจเป็นเรื่องการเมือง ข้าราชการ ตอนนี้มาจากทุกคน มีการถกเถียงมากขึ้นจนอาจทำให้เกิดความแตกแยกในที่สุด

4. พอผู้บริโภคใช้งานโซเชียลมีเดียเยอะขึ้น แบรนด์ก็แห่ไปทำโฆษณาในช่องทางนี้หมดเลย แต่กลายเป็นว่า คอนเทนต์ที่มาจากแบรนด์คล้ายกันไปหมดเลย โดยเฉลี่ยแล้วแต่ละแบรนด์อัพคอนเทนต์ปีละ 1,300 คอนเทนต์ หรือเฉลี่ย 3.5 คอนเทนต์ต่อวัน

นายไมค์ เคอร์ลีย์ (ซ้าย) นายอาสา ผิวขำ (ขวา)

ไมค์ เคอร์ลีย์ กรรมการผู้จัดการโซเชียล แอนด์ อินโนเวชั่น เฟลชแมน ฮิลลาร์ด และ อาสา ผิวขำ ผู้อำนวยการบริหารสายงานโซเชียล แอนด์ อินโนเวชั่น เฟลชแมน ฮิลลาร์ด ประเทศไทย ร่วมกันบอกว่า

จากการทำวิจัยของเฟลชแมนฮิลลาร์ด เพื่อวิเคราะห์การใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กของแบรนด์ระดับโลก 50 แบรนด์ พบว่า มีแบรนด์เพียงแค่ 2% เท่านั้นที่สามารถสื่อสารผ่านช่องทางนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและโดดเด่น

ซึ่งไม่ได้หมายความว่าอีก 98% ทำคอนเทนต์ไม่มีประสิทธิภาพ เพียงแต่ไม่โดดเด่นจนผู้บริโภคจำได้อย่างแน่ชัดเท่านั้นเอง อีกอย่าง 2% ที่ว่านี้ก็ไม่ได้จะปังเสมอไป ขึ้นอยู่กันคอนเทนต์นั้นๆ ด้วย

นักการตลาดกำลังติดกับดัก

ทั้งคู่อธิบายว่า เหตุที่มีเพียง 2% เท่านั้นก็เพราะนักการตลาดกำลังติดกับดักโซเชียลมีเดียอยู่

จงระวังคำว่า ดิสรัปชั่น นักการตลาดมองว่าตัวแทนคือผู้นำเทรนด์ ที่ไม่มีวันถูกดิสรัปชั่นแน่ๆ หารู้ไม่สิ่งที่กำลังทำอยู่ในวันนี้คือการดิสรัปชั่นตัวเองทั้งนั้น เพราะยังไม่ก้าวพ้นกับดัก

3 ข้อที่ดึงนักการตลาดให้ติดกับดัก ได้แก่

1. ทุกปลายปีจะมีเทรนด์และเทคโนโลยีถูกรายงานออกมา ว่าอันไหนที่กำลังจะเด่นในปีนั้นๆ Augmented Reality (AR), Virtual Reality (VR), Chatbot และ Big Data นักการตลาดก็มักจะหยิบออกมาใช้งานทันที โดยลืมไปว่า นำเทคโนโลยีไปใช้ทำอะไร เพื่ออะไร

เช่น Chatbot นำไปใช้เพื่อตอบคำถามผู้บริโภค หรือนำไปใช้ขายสินค้า 2 อย่างนี้ไม่เหมือนกัน เพราะการวางคำตอบจะต้องเป็นคนละแบบ

2. Me too Syndrome หลายครั้งที่แบรนด์เห็นการทำไวรัลแล้วประสบความสำเร็จ ก็แห่กันไปทำ โดยลืมไปว่า ไวรัล คือการบอกต่อโดยผู้บริโภคเองอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่ใช่ถูกจุดติดโดยแบรนด์ที่จ้างให้ผลิตคอนเทนต์ แล้วใช้เงินปั๊มบูสต์จนเกิดเป็นไวรัล

หรือแบรนด์คู่แข่งมีแอคเคาต์โซเชียลมีเดียหลายแพลตฟอร์มก็ไปทำตาม แต่ความเป็นจริงไม่ใช่ทุกช่องทางที่จะตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย ช่องทางเยอะแล้วคิดว่าจะเข้าหาผู้บริโภคได้เยอะก็จริง แต่ก็มาพร้อมความเสี่ยงหากเกิดปัญหา ในแพลตฟอร์มที่เหลือก็จะโดนไปด้วย กระจายดราม่าเป็นไฟลามทุ่งโดยที่ควบคุมอะไรไม่ได้เลย

แบรนด์ควรทำให้น้อย เพื่อคิดถึงผลลัพธ์ มากกว่าการมีเยอะๆ

3. อย่าใช้ตัวเลขที่แพลตฟอร์มบอกเป็นดัชนีชี้วัดความสำเร็จของแคมเปญการตลาด เพราะตัวเลขไลก์ แชร์ คอมเมนต์ และยอดวิว ไม่ได้การันตียอดขาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกธุรกิจต้องการมากที่สุด แต่ตัวเลขที่เกิดขึ้นต้องนำมาวิเคราะห์ว่าตอบโจทย์แบรนด์หรือไม่

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการติดกับดัก คือ การใช้เงินที่มากเกินความจำเป็นทั้งจ่ายค่าโฆษณา ค่าบูสต์โพสต์ และหลงไปกับยอดคอมเมนต์ ยอดแชร์ อยากได้ยอดการรับชมวิดีโอโอคลิป 1 ล้านวิว เป็นต้น โดยลืมว่าคอมเมนต์เหล่านั้นไม่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ เช่น ขายกาแฟแต่คนชมคลิปสวย

ข้อเสียที่มาจากข้อดีของดิจิทัล คือ ข้อดีสามารถวัดผลได้ทันที แต่ข้อเสียการยึดติดกับตัวเลขที่เกิดขึ้น เพราะวัดผลได้ง่าย มองแค่การ Analytic หรือตัวเลข โดยไม่มอง Analysis ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก

3 คำถามปูทางกลยุทธ์ชนะโซเชียลมีเดีย

อย่างไรก็ตาม หากนักการตลาดต้องการหลุดพ้นจากกับดักต้องตอบคำถาม 3 ข้อให้ได้

1. ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กอย่างไร ใช้เป็นโทรโข่งที่แบรนด์พูดอย่างเดียว หรือใช้เป็นโทรศัพท์ทำหน้าที่ตอบคำถามผู้บริโภคด้วย แต่หลายครั้งแบรนด์วางบทบาทเป็นโทรศัพท์ เมื่อผู้บริโภคมาคอมเมนต์สอบถามข้อมูล กลับไม่เคยตอบสนองใดๆ เลย จากผลสำรวจพบมีเพียง 10% เท่านั้นที่ตอบคำถามผู้บริโภค

2. ใช้ศาสตร์และศิลป์เพิ่มพลังในการทำตลาดบนโซเชียล นั้นคือการนำข้อมูล (Data) และข้อมูลเชิงลึก (Insight) ประกอบ เพื่อนำไปสู่วิธีการวิเคราะห์ เพื่อที่แบรนด์จะได้ข้อมูลที่ถูกต้อง นำมาพัฒนากลยุทธ์และสร้างสรรค์แนวทางการสื่อสารได้ถูกต้อง

3. มองหาผลลัพธ์ของแคมเปญ (Performance) หรือวัตถุประสงค์ (Objective) ที่กว้างขึ้น นอกเหนือจากดัชนีชี้วัดต่างๆ เช่น ยอดวิว ยอดแชร์ ของแคมเปญ เป็นการวัดความสำเร็จและผลการลงทุนบนสื่อออนไลน์ แต่แท้จริงแล้ว ความท้าทายของแบรนด์อยู่ที่ว่า จะทำอย่างไรเพื่อตอบวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ให้ดีที่สุด

ยิ่งกว่านั้น 2 Keyword ที่ขาดไม่ได้คือความกล้าแบรนด์ต้องกล้าพูดในสิ่งที่ตัวเองคิด แล้วนำเสนอไปยังผู้บริโภค เพื่อฉีกกฎ กรอบเดิมๆ เพื่อสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง และ 2. ให้ Commitment หรือคำมั่นสัญญากับผู้บริโภค

แบรนด์ที่อยู่รอดได้ต้องมีแง่มุมกล้าที่จะแตกต่าง และมี Commitment กับผู้บริโภคด้วยใจ

3 เทรนด์ห้ามตกขบวนโซเชียลมีเดีย

ท้ายนี้เทรนด์เป็นสิ่งที่นักการตลาดและแบรนด์ต้องเกาะติดอย่างใกล้ชิด เพื่อให้รู้ว่าผู้บริโภคกำลังไปทางไหน เสพสื่อแพลตฟอร์มไหนมาแรง โดยไมค์และอาสามอง 3 เทรนด์จะมีอิทธิพลต่อการทำตลาดในโลกโซเชียลมีเดียในอนาคต ได้แก่

1. Voice Search หรือ การค้นหาด้วยเสียง ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรม amazon alexa และ Google assistant เป็นต้น เพราะเทรนด์โลกมาแล้วไม่ช้าคงมาถึงไทย

2. Virtual Influencer ผู้ทรงอิทธิพลเสมือนจริงบนโลกออนไลน์ ที่จะเข้ามาอีกหนึ่งทางเลือกแข่งกับ Influencer ที่เป็นมนุษย์จริงๆ ซึ่งในโลกมี “Miquela Sousa” เป็น Virtual Instagram ด้านแฟชั่นคนแรกของโลก มีผู้ติดตามหลักล้านคน

ส่วนใหญ่เมืองไทยยังไม่ถึงกับเป็น Virtual เต็ม 100% แต่เพจดังก็มีความคล้ายกับ Virtual Influencer เช่น อีเจี๊ยบเลียบด่วน หรือ Jaytherabbit เป็นต้น

3. เทรนด์วิดีโอบน YouTube เพราะแต่ละวันมีคนเสพคอนเทนต์วิดีโอผ่านแพลตฟอร์มดังกล่าวมากถึง 50% หรือราว 17 ล้านคนต่อวัน จากจำนวนผู้ใช้งานโซเซียลมีเดียทั้งสิ้น 35-36 ล้านคนต่อวัน

อย่างไรก็ตาม หากนักการตลาดสลัดตัวเองออกจากกับดักตัวเองได้ จะช่วยเพิ่มโอกาสในการคิดฉีกกรอบการทำตลาดแบบเดิมๆ ทำให้แคมเปญมีประสิทธิภาพมากขึ้น และก้าวพ้นจากตัวเลขต่างๆ ที่เกิดขึ้นเพราะในชีวิตจริงมีอะไรมากกว่าตัวเลขเหล่านั้นอีกเยอะ.

]]>
1209458
5 อินไซต์การตลาด 5.0 ยุคที่ต้องสร้างประสบการณ์ไร้รอยต่อ https://positioningmag.com/1205907 Mon, 31 Dec 2018 06:58:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1205907 ต้องยอมรับว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้นักการตลาดต้องเรียนรู้ให้ไว เพื่อรับมือให้ทัน

ถ้าย้อนเวลากลับไปจะพบว่า วันนี้การตลาดได้เข้าสู่ยุคที่ 5.0 แล้ว โดยยุค 1.0 คนส่วนใหญ่รับรู้ผ่านหนังสื่อพิมพ์และนิตยสาร ถัดมา 2.0 เริ่มไม่อยากอ่านเอง จึงให้ความสนใจกับวิทยุและโทรทัศน์ ยุค 3.0 เกิดขึ้นมาพร้อมกับการก่อตัวของยุคดิจิทัล จึงสนใจรับรู้ผ่านคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต หลังจากนั้นยุค 4.0 เริ่มให้ความสนใจกับสิ่งที่อยู่ในมือ ทั้งโทรศัพย์มือถือและโซเชียลมีเดีย

หลายคนยังเข้าใจว่า วันนี้พฤติกรรมของคนส่วนใหญ่ยังอยู่ในยุค 4.0 แต่แท้จริงแล้วปี 2018 เริ่มเห็นทิศทางเข้าสู่ยุค 5.0 ซึ่งเป็นยุคของการใช้สื่อและแพลตฟอร์มหลากหลาย (Omni-Channel) เพื่อสร้างประสบการณ์ไร้รอยต่อ (Customer Experience)

และนี่คือ 5 อินไซต์การตลาด 5.0 กรุงศรี ออโต้ได้เผย 5 อินไซต์ของคนซื้อรถที่จะเป็นหัวใจในการมัดใจลูกค้า และเป็นเทรนด์การตลาดสินเชื่อยานยนต์ที่น่าจับตา ซึ่งยังสามารถนำไปปรับกับผู้บริโภคกลุ่มอื่นๆ ได้เช่นกัน

1. ฉันมีภาพลักษณ์

ด้วยราคาหลักแสนไปจนถึงหลักล้าน หลายคนจึงมองว่าการตัดสินใจซื้อรถยนต์สักหนึ่งคัน ผู้บริโภคต้องใช้เหตุผลเป็นหลัก และอาจลืมไปว่ารถส่วนตัวไม่ได้เป็นแค่ยานพาหนะที่ช่วยให้เดินทางสะดวกสบายขึ้นเท่านั้น แต่ดีไซน์และรูปแบบของรถยังช่วยเสริมภาพลักษณ์ และสะท้อนตัวตนของผู้ขับขี่ได้ด้วย

เช่นดียวกัน ผู้ใช้บริการสินเชื่อยานยนต์ก็ไม่ได้มองหาแค่ แผนการผ่อนชำระที่ตอบโจทย์เท่านั้น แต่ยังมองหาบริการที่ช่วยลดความกังวล และเสริมความมั่นใจว่า สามารถครอบครองรถในฝันที่เข้ากับภาพลักษณ์ของตนเองได้

2. ฉันเลือกเอง

ยุคการตลาด 5.0 ถือเป็นยุคที่ผู้บริโภค มีอำนาจในการตัดสินใจมากขึ้นอย่างชัดเจน เพราะพวกเขาสามารถเข้าถึงข้อมูลมากมายได้ทุกที่ทุกเวลา และหลายครั้งก็ตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าก่อนจะได้เห็นของจริงด้วยซ้ำ

จากการสำรวจของ Bain & Company พบว่า ผู้บริโภคกว่า 60% หาข้อมูลเกี่ยวกับรถบนแพลตฟอร์มออนไลน์ และตัดสินใจเลือกแบรนด์ รุ่น ราคา ก่อนแวะไปโชว์รูม และแน่นอนว่า พวกเขาก็มีแนวโน้มที่จะเลือกผลิตภัณฑ์สินเชื่อยานยนต์ก่อนด้วยเช่นกัน

ดังนั้น บริการด้านสินเชื่อยานยนต์จึงต้องเข้าไปอยู่ในไลฟ์สไตล์ดิจิทัลของลูกค้า รวมถึงให้คำแนะนำที่เหมาะสม และให้ลูกค้าได้เลือกสิ่งที่เหมาะสมที่สุดด้วยตนเอง

3. ฉันจะไม่ทน

ในยุคที่สมาธิของผู้บริโภคลดเหลือเพียง 8.25 วินาที ระยะเวลาในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าต่างๆ จึงยิ่งหดสั้นลงตามไปด้วย ด้วยเหตุนี้ การเน้นให้ข้อมูลดอกเบี้ยและแผนการผ่อนชำระหลังลูกค้าตัดสินใจซื้อรถแล้วจึงอาจไม่เพียงพอ และเสี่ยงต่อการที่ลูกค้าจะเปลี่ยนใจไปเลือกแบรนด์อื่นได้

หากจะมัดใจลูกค้าในยุคการตลาด 5.0 ผู้ให้บริการสินเชื่อยานยนต์ต้องสร้างความผูกพันกับผู้บริโภคตั้งแต่ก่อนเริ่มกระบวนการซื้อรถ รวมถึงสร้างการจดจำ เพื่อให้พวกเขานึกถึงแบรนด์ทุกครั้งที่กำลังมองหารถคันใหม่

4. ฉันมีหลายร่าง

ด้วยโอกาสทางธุรกิจที่เปิดกว้างและไลฟ์สไตล์ที่หลากหลาย ผู้บริโภคในยุคการตลาด 5.0 จึงมีโจทย์ในชีวิตได้มากกว่าหนึ่ง นั่นหมายความว่าเกณฑ์การแบ่งกลุ่มลูกค้าแบบเดิมอาจไม่สามารถเข้าถึงตัวตนแท้จริงของลูกค้าได้อีกต่อไป

ตัวอย่างเช่น สาวออฟฟิศอาจไม่ได้ต้องการใช้สินเชื่อเพื่อคนมีรถ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องในชีวิตประจำวันเสมอไป แต่อาจกำลังมองหาเงินทุนเพื่อขยายกิจการส่วนตัว ดังนั้น คำถามสำคัญที่ผู้ให้บริการสินเชื่อยานยนต์ต้องตอบให้ได้ก็คือ จะหาข้อมูลจากแหล่งใดเพื่อรู้จักลูกค้าให้ชัด และจะนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้อย่างไร เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบรับกับมิติการใช้ชีวิตที่หลากหลายขึ้นได้

5. ไม่ว่าทางไหน ฉันต้องได้มา

แม้ผู้บริโภคในยุคการตลาด 5.0 จะเสพข้อมูลข่าวสารผ่านโซเชียลมีเดียเป็นหลัก แต่ช่องทางออฟไลน์ยังมีความจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประสบการณ์การซื้อรถ ลูกค้าอาจเริ่มจากการหาข้อมูล อ่านรีวิว เปรียบเทียบราคา และหาข้อมูลสินเชื่อผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์

แต่พวกเขาก็ยังคงต้องเดินเข้าโชว์รูมเพื่อทดลองขับ และพูดคุยกับที่ปรึกษาทางการเงินก่อนยื่นเอกสาร ผู้ให้บริการสินเชื่อยานยนต์จึงต้องมีบริการครอบคลุมทั้งช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ รวมทั้งเชื่อมข้อมูลระหว่างกัน เพื่อให้สามารถมอบประสบการณ์ไร้รอยต่อให้กับลูกค้าได้อย่างแท้จริง

ทีนี้เมื่อได้อินไซต์มาแล้ว ก็ขึ้นอยู่กับว่าแบรนด์จะนำไปปรับใช้ได้มากน้อยแค่ไหน แม้ว่าข้อมูลทั้งหมดอาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ทำ แต่อย่างน้อยการเข้าใจผู้บริโภค ก็ทำให้เราก้าวนำคู่แข่งไปหนึ่งก้าวแล้ว.

]]>
1205907
เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า…ต่อให้แบรนด์ใหญ่แค่ไหนก็ต้องว่ากันตามกติกา https://positioningmag.com/1162478 Tue, 20 Mar 2018 12:16:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1162478 ข่าวเด่นประเด็นร้อนที่น่าสนใจต้นปี 2018 ของหลายแบรนด์ดังระดับโลก สอนให้เรารู้ว่า โอกาสสำหรับแบรนด์ มีทั้งดีและร้าย อยู่ที่ว่าแบรนด์จะแอคชั่นและตอบรับกับโอกาสที่เข้ามานั้นได้ดีเพียงใด เรื่องบางเรื่องไม่น่าเป็นเรื่องก็กลายเป็นเรื่อง เพียงเพราะทอดเวลาทิ้งไว้โดยใช่เหตุ ไปดูเลยว่าโอกาสดีและร้ายของแบรนด์ดังที่เป็นประเด็นต้นปีนี้มีอะไรให้นักการตลาดเรียนรู้เป็นบทเรียนกันบ้าง 

Crocs งานเข้าเหตุเพราะยื่นจดสิทธิบัตรช้า

Crocs รองเท้าสุดเก๋ที่โดดเด่นด้วยการออกแบบเพื่อสุขภาพและเป็นที่นิยมไปทั่วโลก มีดีไซน์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่ Crocs เองก็มั่นใจว่า ใครเห็นดีไซน์รองเท้ายางหัวโต ๆ มีรูกลม ๆ ก็ต้องรู้ว่าเป็นรองเท้า Crocs และเป็นดีไซน์ที่มีแบรนด์คู่แข่งหลายรายพยายามทำให้เหมือนเพื่อแย่งชิงพื้นที่ในตลาด

แต่ตอนนี้งานเข้าเสียแล้ว เพราะจากการขอสิทธิบัตรในปี 2004 Crocs ถูกคู่แข่งจากฝรั่งเศสแย้งว่า ดีไซน์นี้เปิดตัวตั้งแต่ปี 2002 ซึ่งตามกฎของสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญา ต้องขอยื่นจดสิทธิบัตรภายใน 12 เดือนนับจากเปิดตัว

ผลจากการยื่นขอจดสิทธิบัตรช้าในครั้งนี้ ทำให้ Crocs ถูกยกเลิกสิทธิบัตรในที่สุด จนต้องฟ้องต่อศาล EU ซึ่งศาลยืนยันตามคำพิพากษาเดิม ส่วน Crocs มีเวลา 2 เดือนว่าจะยื่นอุทธรณ์หรือไม่

ครั้งนี้ Crocs คงรู้แล้วว่าไม่ว่าจะเลือกทางไหน ก็ต้องตัดสินใจให้ไว้กว่าเดิม เพราะบางทีการทำอะไรช้า ๆ ก็ไม่ใช่จะได้พร้าเล่มงามไปเสียหมดเหมือนเช่นเรื่องที่เกิดขึ้นนี้

Amazon Japan ถูกตรวจสอบกรณีละเมิดกฎหมายต่อต้านการผูกขาด

อาจจะไม่ใช่ข่าวดีนัก สำหรับ Amazon Japan เมื่อเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่อต้านการผูกขาดญี่ปุ่น (Japan Fair Trade Commission)  สืบสวนกรณีบีบให้ซัพพลายเออร์จ่ายเงิน หลังจาก Kyodo สำนักข่าวท้องถิ่นของญี่ปุ่นรายงานว่า Amazon Japan ละเมิดกฎหมายต่อต้านการผูกขาด

อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ Amazon Japan ได้รับการตรวจสอบในเรื่องนี้ เพราะเมื่อปี 2016 สำนักงานคณะกรรมการการค้าระหว่างประเทศของญี่ปุ่น รุดเข้าตรวจสอบเพราะสงสัยว่า ทางบริษัทบีบบังคับให้ซัพพลายเออร์แบ่งเบาภาระต้นทุนของบริษัท เพื่อชดเชยส่วนลดสินค้าที่แอมะซอนให้กับลูกค้าด้วยการขายราคาที่ต่ำกว่าเว็บไซด์อื่นๆ

NIKE ใช้วิดีโอเกมสร้าง User Experience ในจีน ขายรองเท้า NIKE EPIC REACT

Nike เปิดโอกาสให้แฟน ๆ ชาวจีนลองเข้าไปสู่โลกเสมือนจริงด้วยการใส่รองเท้า NIKE Epic React กระโดดขึ้นสายพานออกวิ่ง ผ่านกำแพงเมืองจีน ภูเขาไฟฟูจิโดย ใช้จอยสติกเป็นตัวบังคับเหมือนเล่นเกมในระยะเวลา 3 นาที โดยใช้เกมเป็นกลไกลให้ผู้เล่นพยายามเก็บแต้มให้ได้มากที่สุด ในการเล่นเกมที่ชื่อว่า ‘Reactland’ แต่เป้าหมายที่แท้จริงคือ การให้คนเล่นได้มีโอกาสสัมผัสกับประสบการณ์จากการสวมใส่รองเท้าไนกี้ แล้วช่วยให้ผู้ซื้อเลือกคู่เทรนเนอร์และสร้างอวาตาร์ของตนเอง

โปรเจกต์นี้สร้างโดย Wieden + Kennedy Shanghai ใครสนใจสามารถลองไปหาเล่นได้ที่เซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง กวางโจว และเฉิงตู

เกมของไนกี้รอบนี้ลงตัวทั้งเรื่องการสร้างประสบการณ์ผู้ใช้การใช้งานดิจิทัลการใช้เครื่องมืออย่างวิดีโอเกมเพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่ยิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัวเลย

Burger King ออกแคมเปญรวยน้ำใจเพื่อเฉลิมฉลองวัน Samaritan Day

Burger King แบรนด์ที่เกาะกระแสได้ดีเสมอไม่ว่า ทั้งแง่ร้ายแง่ดี แต่ก็เลือกเอามาย้ำภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้ลงตัวทุกครั้ง ต้นปีนี้ก็เล่นกับเทศกาล วัน Samaritan Day หรือวันพลเมืองดี วันที่ 13 มีนาคม จัดออกแคมเปญรวยน้ำใจเพื่อเฉลิมฉลองวัน Samaritan Day ด้วยการเซ็ตฉากจัดทำโฆษณาที่แสดงเหตุการณ์ว่า มีรถคันหนึ่งเกิดเพลิงลุกไหม้ แล้วรอดูว่าใครจะเข้ามาช่วยเหลือ คนผู้นั้นจะได้รับเซอร์ไพรส์เป็นสิ่งตอบแทน

โฆษณาชุดนี้เป็นไอเดียของเอเจนซี่โฆษณาที่ชื่อว่า David Miami ถ่ายทำแถวทางด่วนใน Vasquez Canyon รัฐแคลิฟอร์เนีย ครั้งนี้นอกจากได้ค้นหาคนที่มีน้ำใจในสังคม Burger King ก็ถือโอกาสส่งเสริมให้ทำความดีระหว่างกัน แล้วยังเป็นการแอบย้ำว่า เบอร์เกอร์ของ Burger King นั้นยังใช้การย่างบนเตาไฟอีกด้วย

Time’s up ขบวนการต่อต้านการคุกคามทางเพศ จากฮอลลีวูดสู่ผู้บริหารหญิงในที่ทำงาน

นับตั้งแต่เกิดปรากฏการณ์ของ ไวน์สไตน์เอฟเฟกต์กับ #MeToo เมื่อปีก่อน ส่งผลให้นักแสดงหญิงชื่อดังของฮอลลีวูดร่วมพลังเครือข่ายตั้งกลุ่ม Time’s Up ร่วมกันแสดงพลังหญิง เพื่อต่อสู้ทางกฎหมายกรณีถูกลวนลามหรือล่วงละเมิดทางเพศจนนำไปสู่การเคลื่อนไหวทั่วโลก อย่างเช่น Jennifer Aniston, Meryl Streep และ Reese Witherspoon เป็นหนึ่งในนักแสดงที่ได้บริจาคเงินถึง 500,000 เหรียญ และมีการเคลื่อนไหวอย่างจริงจัง ล่าสุดผู้บริหารหญิงเกือบ 200 คนในสหรัฐฯ เผยแพร่จดหมายเปิดผนึก ประกาศสนับสนุนผู้หญิงในองค์กร ที่ถูกลวนลามหรือล่วงละเมิดทางเพศ และมุ่งมั่นผลักดันนโยบายสร้างวัฒนธรรมใหม่และสร้างความเท่าเทียม และยังมีกองทุนเพื่อต่อสู้ทางกฎหมายกรณีถูกลวนลามหรือล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงาน ผู้บริหารชื่อดัง ที่มีส่วนร่วมในครั้งนี้คือ Andrea Diquez จาก Saatchi & Saatchi NY และ Nathalie Fagnan หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการของ Publicis Worldwide ซึ่งลงนามจดหมายปิดผนึกเป็นลายลักษณ์อักษรและยื่นคำร้อง ถือเป็น Social Movement อันทรงพลังและต่อต้านการคุกคามทางเพศอย่างจริงจังว่าไม่ควรเป็นเรื่องที่ถูกเพิกเฉยอีกต่อไป.

]]>
1162478
เรื่องน่ารู้ ! ถุงพลาสติก “Céline” ราคา 1.8 หมื่นบาทในมือชมพู่-อารยา https://positioningmag.com/1160236 Tue, 06 Mar 2018 23:15:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1160236 ถุงพลาสติกแบรนด์แฟชั่น “Céline” ราคาเกิน 18,000 บาทที่ชมพู่อารยาหิ้วจนเป็นข่าวดังนั้นไม่ได้เป็นประเด็นเรื่องราคาอย่างเดียว แต่เรื่องนี้เป็นการรณรงค์ให้นำถุงพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ และเกี่ยวข้องกับกระแสแบนพลาสติกที่กำลังร้อนแรงในหลายอุตสาหกรรมโลกตะวันตกโดยตรง 

ไม่เพียงถุงพลาสติก ล่าสุดหลายเมืองในสหรัฐฯ และยุโรปประกาศรณรงค์งดถ้วยหลอดช้อนพลาสติกใช้แล้วทิ้ง ขณะที่เริ่มมีการแจ้งเกิดซูเปอร์มาร์เก็ตไร้พลาสติกแห่งแรกของโลก ทั้งหมดนี้สะท้อนว่าพลาสติกกำลังเป็นประเด็นร้อนที่นักการตลาดโลกกำลังจับตาเป็นพิเศษในปีนี้

*** ถุงพลาสติกขึ้นรันเวย์

ต้นเดือนมีนาคมเป็นช่วงที่งาน Paris Fashion Week AuAutumn/Winter 2018 จัดขึ้นที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส ดาราดังอย่างชมพู่ อารยา เอ ฮาร์เก็ต ไม่พลาดร่วมงานพร้อมกับโพสต์ภาพลง IG ของตัวเองต่อเนื่อง ประเด็นร้อนเกิดขึ้นเมื่อมีการตั้งข้อสังเกตว่าแม่ชมถือถุงพลาสติกใสตีตรา “Céline” แบรนด์แฟชั่นดังที่โชว์ถุงนี้บนรันเวย์ และตั้งราคาไม่ธรรมดาคือ 592 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1.8 หมื่นบาท

ภาพจาก : https://www.instagram.com/chomismaterialgirl/

ผลคือโลกออนไลน์ไทยกล่าวขานแต่เพียงประเด็นราคา ที่สูงลิ่วสวนทางกับภาพการเป็นถุงพลาสติกใส่ข้าวแกงหรือก๋วยเตี๋ยวลุยสวนในตลาดนัด แต่ในเวทีโลก สื่อออนไลน์หลายสำนักชี้ว่านี่คือสัญญาณที่ตอกย้ำว่าถุงพลาสติกช้อปปิ้งกำลังเป็นไอเท็มล่าสุดที่โลกแฟชั่นกำลังยึดเป็นศูนย์กลาง เนื่องจากไม่เพียง Céline วันนี้ Burberry และ Balenciaga ก็ชวนถุงพลาสติกขึ้นรันเวย์เช่นกัน

เว็บไซต์ refinery29.com วิเคราะห์ว่าการหยิบยื่นถุงพลาสติกให้นางแบบถือบนรันเวย์แฟชั่นโชว์ เป็นการกระตุ้นชั้นดีให้ผู้ชมอยากรู้อยากเห็น เพราะไม่ใช่เรื่องธรรมดาแน่นอนที่ถุงพลาสติกซึ่งร้านค้าใช้ใส่สินค้าจะถูกดันขึ้นสู่สายตาชาวโลกแบบพร้อมใจหลายแบรนด์เหมือนนัดกัน แถมยังเป็นเรื่องแปลกมากที่แบรนด์แฟชั่นจะทำให้เราผู้บริโภคต้องจ่ายเงินหมื่นเพื่อซื้อถุงพลาสติก

คำตอบของเรื่องนี้คือแบรนด์แฟชั่นระดับโลกกำลังกระตุ้นให้ผู้ซื้อเดินไปบนถนนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและนำถุงพลาสติกนี้กลับมาใช้ซ้ำ แม้เรื่องนี้จะไม่มีการประกาศชัดเจน และเสี่ยงกับภาพแบรนด์เพราะสินค้าที่นำเสนอนั้นตรงกันข้ามกับป้ายแบรนด์ที่หรูหราราคาแพง

นอกจาก Céline ก่อนหน้านี้แบรนด์อย่าง Raf Simons ออกแบบถุงโปร่งใสสำหรับร้าน Voo ในเบอร์ลินด้วยราคาขายปลีก 158.79 เหรียญ ล่าสุดคือคอลเลกชั่นฤดูใบไม้ผลิ 2018 จาก Céline, Burberry และ Balenciaga ที่มีถุงพลาสติกอยู่บนรันเวย์ โดย Céline ซึ่งเป็นข่าวเพราะชมพู่นั้นราคา 592 เหรียญ ขณะที่ Balenciaga ราคาแพงกว่าถึง 1,159 เหรียญ

ความหมายที่ซ่อนอยู่ของการที่แบรนด์ลุกขึ้นมาติดแบรนด์และกำหนดราคาถุงเหล่านี้ เป็นเหมือนสิ่งเตือนใจผู้บริโภคที่ใช้ถุงพลาสติกว่าอย่าทิ้ง และควรนำกลับมาใช้ใหม่ ดังนั้นในแง่ของธุรกิจแฟชั่น การนำถุงพลาสติกขึ้นรันเวย์ไม่ใช่เรื่องเสียหาย แถมยังกำไรด้วยหากมีใครเจียดสตางค์มาซื้อไปใช้งาน

*** แบนถุงหลอดช้อนถ้วยพลาสติก

ประเด็นของ Céline ถือว่ารับกับกระแสรณรงค์ลดการเกิดขยะจากพลาสติกที่กำลังร้อนแรงในโลกตะวันตก ซึ่งไม่เพียงถุง แต่หลายเมืองชายฝั่งทะเลในสหรัฐอเมริกาและยุโรปพร้อมใจออกกฎห้ามหรือจำกัดการใช้หลอดพลาสติก รวมถึงอุปกรณ์ช้อนส้อมมีดถ้วยพลาสติกที่มักกลายเป็นขยะริมชายหาด

เมืองที่มีการแบนอุปกรณ์พลาสติกใช้แล้วทิ้งคือ Malibu, Davis และ San Luis Obispo ในแคลิฟอร์เนีย ยังมี Miami Beach และ Fort Myers ในฟลอริดา โดยคาดว่าจะมีการออกกฎหมายที่มีเป้าหมายเพื่อลดการใช้หลอดพลาสติก กระตุ้นให้ประชาชนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ก่อนขยายไปยังโครงการขนาดใหญ่ขึ้น โดยเมืองชายฝั่งอื่นในสหรัฐฯ อาจออกมาตรการคล้ายกันในอนาคต

สิ่งที่เราเห็นได้ชัดคือสหรัฐอเมริกากำลังเอาจริงเรื่องปัญหาพลาสติก ยังไม่นับแบรนด์อย่าง Evian, Coke และ McDonald’s รวมถึงแบรนด์อื่นที่พร้อมใจประกาศเป้ารีไซเคิล 100% ซึ่งไม่เพียงแดนลุงแซม สก็อตแลนด์ก็วางแผนกำจัดหลอดพลาสติกออกหมดประเทศในปี 2019 หรือปีหน้า

บ้านใกล้เรือนเคียงเราอย่างไต้หวัน ก็เตรียมการเพื่อประกาศห้ามใช้หลอด ถ้วย หรือถุงช้อปปิ้งที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งเช่นกัน คาดว่าจะประกาศได้ปี 2030

*** กำเนิดซูเปอร์มาร์เก็ตไร้พลาสติกแห่งแรกของโลก

28 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เนเธอร์แลนด์เพิ่งเปิดตัวซูเปอร์มาร์เก็ตพันธุ์ใหม่ที่ปลอดพลาสติก โดยจำกัดเป็นโซนในร้าน Ekoplaza ซึ่งจะจัดเรียงสินค้าทุกประเภทที่ไม่มีส่วนประกอบของพลาสติกแฝงในบรรจุภัณฑ์ ทั้งของชำ ขนมขบเคี้ยว และของที่ระลึกอื่นที่ใช้บรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติหรือกระดาษ เชื่อว่าการจัดโซนนี้เป็นจุดสำคัญในการต่อสู้กับมลภาวะพลาสติกทั่วโลก

สินค้าที่ปราศจากพลาสติกในโซนนี้มีมากกว่า 700 รายการ ทั้งเนื้อสัตว์ ซอส ธัญพืช โยเกิร์ต และช็อกโกแลต จุดนี้ Erik Does หัวหน้าผู้บริหารของ Ekoplaza ยืนยันว่าพันธกิจนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่เคล็ดลับทางการตลาด แต่เป็นสิ่งที่ Ekoplaza ให้ความสำคัญมาหลายปีแล้ว

มีความเป็นไปได้สูงที่โซนปลอดพลาสติกในซูเปอร์มาร์เก็ตอาจจะขยายตัวสู่ประเทศอื่นในอนาคต โดยเฉพาะวันนี้ที่ Frans Timmermans รองประธานคณะกรรมาธิการยุโรปซึ่งเป็นผู้บริหารของสหภาพยุโรปเคยกล่าวกับสื่อว่า หากมนุษย์เราไม่ทำคิดแก้ปัญหาเรื่องพลาสติกล้นโลก อีก 50 ปีข้างหน้า โลกเราจะมีพลาสติกมากกว่าปลาในมหาสมุทร

อีกสิ่งที่เราสามารถสรุปได้คือ ธุรกิจผลิตหลอดดูดน้ำ, ขวดพลาสติก, ถ้วยกาแฟ และฝาปิดจากพลาสติกจะต้องปรับตัว  เพราะทั้งหมดนี้คือรายการสินค้าที่อียูจะแบนทั้งกระบุง.

ที่มา

]]>
1160236
อัปเดตล่าสุด! รวมทุกข้อที่ CMO ต้องรู้เรื่อง Video Marketing ปี 2018 https://positioningmag.com/1156472 Sun, 11 Feb 2018 23:15:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1156472 เปิดประเด็นทุกเรื่องที่มืออาชีพด้านการตลาดต้องรู้หากต้องการทำการตลาดด้วยวิดีโอ หรือ Video Marketing ปีนี้ เจาะทั้งประเด็นทำไมและอย่างไร เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบส่วนผสมสำคัญขึ้นมาเริ่มต้นหรือสานต่อได้อย่างทรงพลังที่สุด 

Allen Martinez โปรดิวเซอร์และครีเอทีฟไดเร็กเตอร์ ผู้ก่อตั้งเอเจนซี่ Noble Digital ให้ข้อมูลล่าสุดในวงการ Video Marketing ว่า จากเดิมที่นักการตลาดออนไลน์ต้องใช้ข้อความหรือลงโฆษณาบน AdWords ปี 2018 จะเป็นปีที่ Video Marketing มีอิทธิพลในฐานะเครื่องมือการตลาดออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพ เหตุผลเพราะวิดีโอได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นทุกวัน ดังนั้นใครที่ต้องการทำแคมเปญออนไลน์ Video Marketing ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่อาจละเลยได้

รูปแบบ Video Marketing ที่จะฮอตฮิตในปีนี้ Martinez มองว่ามี 3 แบบ ซึ่งนักการตลาดควรใส่ใจเพื่อเลือกรูปแบบที่เหมาะสม อันจะทำให้เกิดเป็นเครื่องมือแคมเปญที่แข็งแกร่ง และเหมาะกับกลยุทธ์เนื้อหาวิดีโอของแบรนด์นั้นที่สุด

Live Video :

วิดีโอสดทั้งบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook Live และ Periscope ของ Twitter วันนี้วิดีโอสดกลายเป็นเนื้อหาที่แพร่หลายมากขึ้นทุกที สถิติล่าสุดแสดงให้เห็นว่า ผู้บริโภคใช้เวลาดูวิดีโอสดเป็นเวลานานกว่าวิดีโอที่บันทึกไว้ล่วงหน้า 3 เท่าตัว ซึ่งทำให้แบรนด์มีโอกาสมากที่จะส่งสารหรือข้อความออกไป

Virtual Reality Video :

วิดีโอเทคโนโลยีเสมือนจริงคือ 1 ในแนวโน้มใหม่ล่าสุดในวงการ Video Marketing และถูกมองว่ามีศักยภาพในการเป็นรูปแบบสุดฮิตในอนาคต เนื่องจากหลายยักษ์ใหญ่สนับสนุนเต็มที่ เช่น Facebook ที่เพิ่งเปิดตัวชุดหูฟัง VR รุ่นใหม่ซึ่งคาดว่าจะจัดจำหน่ายได้ภายในปีนี้ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดดิจิทัลคาดการณ์ว่าจุดเปลี่ยนในวงการ VR กำลังมาถึง เพราะผู้บริโภคทั่วโลกจะขานรับแนวโน้มวิดีโอที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วนี้

360 Video :

วิดีโอ 360 องศาหรือวิดีโอที่ถูกถ่ายด้วยกล้อง Omnidirectional สำหรับการเก็บภาพรอบทิศทางนั้นเริ่มต้นในปี 2014 แต่ช่วงปีที่แล้ว นักการตลาดเพิ่งเริ่มเข้าใจถึงศักยภาพที่ของวิดีโอรูปแบบนี้ เนื่องจากกรณีศึกษาล่าสุดที่ดำเนินการโดย Magnifyre และ Google พบว่าผู้ชมจะมีส่วนร่วมกับวิดีโอ 360 องศามากกว่าเมื่อเทียบกับวิดีโอทั่วไป ดังนั้น โลกจึงเฝ้าดูวงการวิดีโอ 360 องศาที่อาจจะระเบิดในปีนี้ และนักการตลาดอีกจำนวนไม่น้อยที่จะดึงเทคโนโลยีมาช่วยให้ผู้ชมรู้สึกดื่มด่ำกับโฆษณามากขึ้น

Video Funnel :

ไม่ใช่ Channel แต่เป็น Funnel รูปแบบสถานีวิดีโอนี้มีหลักการทำงานเหมือนที่แคมเปญการตลาดด้วยอีเมล สามารถส่งข้อมูลน่าสนใจให้ทุกคนที่คลิกเลือกเข้าร่วมได้เป็นระยะ แบรนด์สามารถใช้สถานีวิดีโอนี้เพื่อกระตุ้นยอดผู้ชมแบบต่อเนื่อง ทั้งการส่งให้ผู้ชมรู้ว่ามีวิดีโอใหม่ และการเชิญชวนให้ผู้ชมคลิกดูวิดีโอย้อนหลัง แพลตฟอร์มใหญ่อย่าง Facebook และค่ายอื่นพร้อมใจเปิดทางช่วยให้แบรนด์สามารถสร้างกลุ่มผู้ชม โดยอิงตามพฤติกรรม รวมถึงการ Retarget ตามข้อมูลอื่นได้ตลอดเวลา

สิ่งที่จะเห็นชัดในปีนี้ คือ 2018 จะเป็นปีที่ผู้เล่นขนาดเล็กในโลกธุรกิจออนไลน์ สามารถเข้าสู่วงการวิดีโอและครองตำแหน่งแถวหน้าได้ไม่ยาก 

ตัวอย่างที่โดดเด่นในช่วงปีที่ผ่านมา คือกรณีของ Dollar Shave Club บริการสมาชิกจัดส่งมีดโกนหนวดคุณภาพดีราคาต่ำกว่าท้องตลาดซึ่งลงทุนในแคมเปญวิดีโอจนโดงดังเป็นพลุแตก จากบทสัมภาษณ์ใน New York Times ผู้ก่อตั้ง Dollar Shave Club ระบุว่า ได้รับคำสั่งซื้อใหม่ 12,000 รายการในช่วง 48 ชั่วโมงแรกของการเปิดตัววิดีโอ

แม้ว่าผู้ก่อตั้ง Dollar Shave Club อย่าง Michael Dubin จะให้สัมภาษณ์กับสื่อว่าใช้จ่ายงบโฆษณาเพียง 4,500 เหรียญในแคมเปญวิดีโอ แต่ความจริงคือ Dubin เป็นทั้งนักแสดงและโปรดิวเซอร์ (ด้วยความช่วยเหลือจากกลุ่มเพื่อน) ทำให้เขาสามารถรักษางบประมาณได้ จุดนี้มีการประเมินว่า แบรนด์เล็กอาจต้องประมาณว่า วิดีโอจะมีต้นทุนราว 32,000 เหรียญ หรือประมาณหลักแสนบาท หากแบรนด์จ่ายเงินให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตวิดีโอมืออาชีพ ซึ่งผลที่ได้รับอาจคุ้มค่าและน่าตื่นใจตามไปด้วย

คำพูดนี้ไม่เกินจริง เพราะสถิติ Video Marketing ล่าสุดตอกย้ำว่าทุกแบรนด์ควรรุกการตลาดด้วยวิดีโออย่างจริงจัง เช่นสถิติล่าสุดของบริษัทวิจัย Wyzowl ที่สำรวจผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดและผู้บริโภค 570 รายช่วงเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ผลปรากฏว่า:

  • 81 เปอร์เซ็นต์ของธุรกิจใช้วิดีโอเป็นเครื่องมือทางการตลาดในขณะนี้ (เพิ่มขึ้นจาก 63 เปอร์เซ็นต์ในปี 2017)
  • 85 เปอร์เซ็นต์ของธุรกิจถือว่าวิดีโอเป็นส่วนสำคัญของกลยุทธ์การตลาดของบริษัท (เพิ่มขึ้นจาก 82 เปอร์เซ็นต์ในปี 2017)
  • 95 เปอร์เซ็นต์ของชาวออนไลน์ ได้ดูวิดีโออธิบายเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการ
  • 81 เปอร์เซ็นต์ของชาวออนไลน์ บอกว่าเชื่อมั่นในการซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการ เพราะการดูวิดีโอของแบรนด์
  • ในกรณีที่วิดีโอและข้อความแสดงอยู่ในเพจเดียวกัน กลุ่มตัวอย่าง 72 เปอร์เซ็นต์บอกว่าเลือกดูวิดีโอเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการ

สถิตินี้ถือว่า Video Marketing มีโอกาสประสบความสำเร็จสุดขีด เหตุผลแรกคือ เพราะวิดีโอสามารถเล่าเรื่องราวได้เร็วมาก แถมยังเข้ากับวัฒนธรรมความนิยมในการชมทั้งภาพยนตร์และทีวี 

เหตุผลที่สองคือ วิดีโอช่วยให้แบรนด์สามารถเชื่อมต่อกับอารมณ์ความรู้สึกของผู้ชมได้ ผู้ชมจึงเชื่อมต่อกับแบรนด์ได้อย่างมีความหมาย แบรนด์สามารถสร้างวิดีโอที่มีเจตนาเฉพาะเจาะจงไปยังกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้ได้รับปฏิกิริยาตอบสนองตามที่หวังไว้ภายในเวลาไม่กี่วินาที

ถามว่าวิธีพัฒนากลยุทธ์ Video Marketing ของแบรนด์ควรเริ่มจากที่ไหน คำตอบคือจงเข้าใจลูกค้าก่อน

1. เข้าใจผู้ใช้ :

เรื่องนี้ต้องดูทั้งข้อมูลส่วนตัวและพฤติกรรมการออนไลน์ของผู้บริโภค เพราะหากแบรนด์ต้องการใช้ประโยชน์จากการเชื่อมต่อกับผู้บริโภคผ่านวิดีโอ แบรนด์ต้องมั่นใจก่อนว่ากำลังสร้างข้อความที่ถูกต้องสำหรับผู้ชมกลุ่มเป้าหมาย ทางที่ดี ควรศึกษาข้อมูลเชิงลึกของผู้บริโภคก่อนเปิดตัววิดีโอใดก็ตาม เพราะวิดีโอแก้ไขยาก แตกต่างจากข้อความที่สามารถแก้ไขได้ง่ายดายหากไม่ดึงดูดความสนใจ

2. สร้างเป้าหมาย :

ไม่เพียงเป้าหมาย แต่ยังมี KPI สำหรับแคมเปญ เพื่อใช้กลยุทธ์ Video Marketing สามารถวัดผลได้ ซึ่งจะทำให้แบรนด์สามารถเรียนรู้สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับผู้ชมของตัวเอง

3. เลือกรูปแบบประเภทวิดีโอให้เหมาะสม :

แพลตฟอร์มทั้ง YouTube, Facebook, Pinterest, LinkedIn, Twitter, Snapchat และสื่อสังคมอื่นล้วนมีจุดเด่นจุดด้อยไม่เหมือนกัน แบรนด์จึงควรต้องวิจัยเพื่อเรียนรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายของบริษัทอยู่ที่ใดบ้าง ซึ่งจะทำให้เลือกแพลตฟอร์มได้เหมาะสมกับวิดีโอของแบรนด์มากที่สุด

Twitter และ Facebook โดดเด่นเรื่องการช่วยให้ผู้ชมแบ่งปันเนื้อหาได้ง่ายขึ้น แต่มักเป็นวิดีโอขนาดสั้น วิดีโอสด หรือวิดีโอที่แบรนด์ต้องการจ่ายเงินเพื่อโปรโมต ดังนั้นวิดีโอยาวมักจะเหมาะกับ YouTube หรือเว็บไซต์สื่อ ซึ่งต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนตัดสินใจเลือก

4. สร้างวิดีโอที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่า :

วิดีโอที่ดีควรทำให้ผู้ชมจดจำในทันที ดังนั้นวิดีโอของแบรนด์ควรจะส่งสัญญาณให้กับผู้ชมทราบว่าวิดีโอนี้เป็นของใคร และอย่าลืมใช้เทคนิคเพื่อให้ผู้ชมเห็นวิดีโอนี้ได้บ่อยและชัดเจน

บางแบรนด์อาจลังเลว่าจะสร้างวิดีโอด้วยทีมงานที่มีในบริษัท หรือจะว่าจ้างเอเจนซี่มืออาชีพ การสำรวจพบว่าส่วนใหญ่การจ้างจะทำให้วิดีโอเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายขึ้น แต่ต้องยอมรับว่าค่าใช้จ่ายก็จะมากขึ้นตามไปด้วย

ทั้งหมดทั้งมวล ทีมเทคนิคและทีมงานสร้างสรรค์ของแบรนด์ ควรจะสื่อสารกันอย่างชัดเจนและบ่อยครั้ง เพื่อให้ Video Marketing ประสบความสำเร็จมากที่สุด

อีกสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม คือจดจำไว้เลยว่าวิดีโอไม่จำเป็นต้องยุ่งยากซับซ้อน เพราะร้อยทั้งร้อย แคมเปญวิดีโอที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกล้วนเรียบง่าย ซึ่งพลังของแคมเปญที่แฝงอยู่ในความเรียบง่ายนี่เองที่ทำให้แคมเปญประสบความสำเร็จ 

ดังนั้นแบรนด์ที่ฉลาด จะเน้นเรื่องการกำหนดกลุ่มเป้าหมายผู้ชมให้ชัด มากกว่าการสร้างวิดีโอที่เยอะหรือซับซ้อนดูยาก.

ที่มาmarketingland.com/everything-cmo-needs-know-video-marketing-2018-233070

]]>
1156472
เมื่อ Native Ad ครองตลาด-โฆษณาล็อกเป้าหมายต้องเข้าถึงอารมณ์ เปิดเทรนด์โฆษณาดิจิทัล ปี 2018 ที่นักการตลาดไม่ควรพลาด https://positioningmag.com/1155702 Mon, 05 Feb 2018 08:17:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1155702 2017 ปีที่สื่อถูก disrupt

ซี เย็น อ็อง รองประธานฝ่ายการตลาด Spotify Asia ได้สรุปถึง สภาพของธุรกิจสื่อในปี 2017 ถือว่าเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในวงการโฆษณาสำหรับทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และแพลตฟอร์มต่างๆ

การปรับตัวจากสื่อสิ่งพิมพ์สู่พื้นที่ดิจิทัลเรียกได้ว่าเกือบจะเสร็จสมบูรณ์แล้ว ทั้งยังมี “การคาดการณ์กันว่างบประมาณโฆษณาของสื่อสิ่งพิมพ์ ยังมีแนวโน้ม “ตกลง” ครั้งใหญ่อีกในปีนี้ ด้านโฆษณาโทรทัศน์เองก็มีการปรับย้ายไปสู่พื้นที่ดิจิทัลในทิศทางเดียวกันเช่นกัน จากการมาของ แอปวิดีโออย่าง Hulu หรือแพลตฟอร์มที่สามารถเข้าถึงผู้ชมจำนวนมากได้ เช่น Facebook YouTube หรือ Snapchat

เว็บไซต์ที่ไม่สามารถนำเสนอประสบการณ์ที่แตกต่างได้ มีโอกาสสูงมากที่เสียทั้งผู้บริโภคและผู้ลงโฆษณาไปให้กับแพลตฟอร์มที่ใหญ่กว่า

ขณะเดียวกัน สื่อวิทยุก็ถูกมองว่ายังอยู่ในขั้นเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้ แต่คาดว่าจะย้ายไปสู่แพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับการฟังเพลงในที่สุด ดังนั้นเมื่อเทคโนโลยียังคงพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง แบรนด์และนักการตลาดจึงจำเป็นจะต้องปรับวิธีการสื่อสารเรื่องราวต่างๆ ให้มีความเกี่ยวข้องกับลูกค้าและอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เป็นที่มาของ 4 เทรนด์การตลาดสำคัญที่ควรให้ความสนใจในปี 2018 และแม้ว่าเทรนด์เหล่านี้อาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับใครหลายๆ คน แต่อย่างน้อยก็เป็นเรื่องไม่เสียหายในการนำเทรนด์ต่อไปนี้มาพิจารณาระหว่างที่ทำแผนการตลาดสำหรับปี 2018

1. ผลิตโฆษณาที่สร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Add)

โฆษณาดิจิทัล ยังเพิ่มความน่าสนใจได้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ที่มักจะไปขัดจังหวะการดูคอนเทนต์โปรดของผู้บริโภค แทนที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประสบการณ์การรับชมและรับฟัง ซึ่ง Facebook และ Google กำลังประสบความสำเร็จ จากการต่อยอดประสบการณ์การรับชมโฆษณาของผู้บริโภค สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับนักการตลาด

โดยแพลตฟอร์มเหล่านี้นำเสนอ ที่สามารถคาดเดาความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างแม่นยำกว่าตัวผู้บริโภคเองเสียอีก แม้ว่าวิธีการดั้งเดิมอย่างการใช้คุกกี้เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ซื้อเพื่อการเข้าถึงผู้บริโภคอย่างเที่ยงตรง อาจถูกมองว่ามีประสิทธิภาพดีกว่าการทำการตลาดแบบสุ่มอย่างไร้ข้อมูล

แต่เมื่อแพลตฟอร์มที่กักเก็บข้อมูลจำนวนมหาศาลไว้เหล่านี้ สามารถตีความช่วงเวลาสำคัญๆ บริบทที่หลากหลาย รวมถึงสัญญาณต่างๆ ที่บ่งบอกถึงความสนใจของผู้ใช้ได้ดียิ่งขึ้น ก็หมายถึงความสามารถในการขับเคลื่อนและเสาะหาคุณค่าในสายตาผู้บริโภคได้อย่างถูกต้องแม่นยำกว่าเดิมเช่นกัน

2. ปูทางสู่ Native Advertising และ Sponsored Content

Business Insider ของอังกฤษ กล่าวว่า การโฆษณาแบบ Native Advertising (โฆษณาแนวเดียวกับเนื้อหาของเว็บจะขับเคลื่อนรายได้จากการโฆษณาได้กว่า 74% ภายในปี 2021

โดย Native Advertising ถูกมองว่าส่งผลดีในแง่ของความยืดหยุ่นที่ทำให้โฆษณาไปถึงทุกช่องทางที่แพลตฟอร์มเข้าถึง รวมไปถึงคุณภาพของโฆษณาที่ดี และเมื่อโฆษณาถูกวางให้เข้ากับรูปแบบและฟังก์ชันของแพลตฟอร์ม ก็จะสร้างการเปิดรับและการมีส่วนร่วมให้กับโฆษณานั้นๆ ได้มากยิ่งขึ้น

งานวิจัยและที่มาต่างๆ ระบุว่า “…การโฆษณาแบบ Native Advertising มียอดการรับชมพอๆ กับคอนเทนต์ที่ไม่ได้ทำเพื่อจุดประสงค์เชิงพาณิชย์…” ซึ่งเป็นจุดสำคัญที่แบรนด์ต่างๆ ควรนำมาพิจารณา เนื่องจากผู้ใช้ในปัจจุบันอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยคอนเทนต์จำนวนมหาศาล โดยนอกจากจะลดการก้าวล้ำพื้นที่ส่วนตัว ทั้งยังน่ารำคาญน้อยกว่าแล้ว Native Advertising ยังสร้างคอนเทนต์ที่ช่วยเติมเต็มประสบการณ์โดยรวมของผู้ใช้ได้อีกด้วย

ข้อมูลจากรายงานของ BI Intelligence อ้างว่า :

  • การโฆษณาแบบ Native-Display Advertisement ซึ่งรวมไปถึง Social Native และ Native Advertisement ที่ปรากฏบนฟีดของเว็บไซต์ จะสร้างรายได้ให้กับการโฆษณาแบบ Native Advertisement ทั้งหมดจากปี 2016 – 2021
  • Sponsored Content จะเป็นรูปแบบการโฆษณาแบบ Native ที่เติบโตเร็วที่สุดใน 5 ปีหลังจากนี้

3. การทำโฆษณาสำหรับแต่ละบุคคล จะต้องไปให้ไกลกว่าการ “ล็อกเป้าหมาย”

มาร์ค พริทชาร์ด ของ P&G เคยกล่าวถึงเรื่องนี้โดยละเอียด เกี่ยวกับปัญหาที่นักการตลาดพบในการลงโฆษณาแบบอัตโนมัติที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Programmatic Ad Placement) โดยที่การเข้าใจว่าควรลงโฆษณา ที่ไหน และ เมื่อไร นั้นมีความสำคัญพอๆ กับการเข้าใจว่าควรลงโฆษณา อะไร และ เพื่อใคร

ยกตัวอย่างเช่น คุณไม่ควรขอให้ผู้ใช้กดเข้าไปดูโฆษณาหากว่าพวกเขากำลังขับรถ หรือพุ่งเป้าไปที่ “คนรักการออกกำลัง” และขอให้กรอกข้อมูลในแบบฟอร์ม ในขณะที่พวกเขากำลังออกกำลังกายอย่างเข้มข้น

ดังนั้น การเข้าใจบริบทและอารมณ์ของผู้บริโภคจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งการที่จะทำความเข้าใจสิ่งเหล่านี้ มีความเป็นไปได้มากขึ้นหากข้อมูลทุกอย่างถูกเชื่อมโยงเข้าไว้ด้วยกัน โดย IHS ระบุว่า จำนวนอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ที่ถูกเชื่อมต่อไว้ด้วยกัน จะพุ่งสูงขึ้นถึง 30.7 พันล้านเครื่อง ภายในปี 2020

4. รับฟังเพลงและสื่อรูปแบบเสียงดิจิทัลกำลังมาแรง

เมื่อผู้คนหันมาบริโภคสื่อบนอุปกรณ์ต่างๆ มากขึ้น ภูมิทัศน์ทางการตลาดก็ปรับตัวไปสู่การทำการตลาดตามบุคคล (People-based Marketing)

งานวิจัยของ Nielsen ระบุว่า ผู้คนรับฟังเพลงและสื่อรูปแบบเสียงในขณะที่กำลังทำกิจกรรมที่ไม่ต้องรับชมสื่ออื่นๆ ด้วยสายตากว่า 79% ไม่ว่าจะเป็นการวิ่งออกกำลังบนลู่หลังเลิกงาน หรือการโชว์อินเนอร์ความเป็นดาราร็อกระหว่างอาบน้ำ ปัจจุบัน สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างแรกคือความสามารถในการเข้าถึงคอนเทนต์ต่างๆ มากกว่าการเป็นเจ้าของคอนเทนต์นั้นๆ อย่าง Spotify ที่ผู้ใช้ฟังเพลงผ่านแพลตฟอร์มของตัวเองกว่า 148 นาทีต่อวัน

นักการตลาดที่เชี่ยวชาญจะสามารถปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงในหมู่ผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่การโฆษณาด้วยเสียงจะถูกพัฒนาผ่านประสบการณ์บนแพลตฟอร์ม ที่แตกต่างจากการรับฟังสื่อวิทยุแบบดั้งเดิม.

]]>
1155702
เปิด to-do list 7 สิ่งที่นักการตลาดต้องทำปี 2018 https://positioningmag.com/1151961 Wed, 27 Dec 2017 16:33:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1151961 ปี 2017 ถือเป็นปีที่มีการเปลี่ยนแปลงในวงการการตลาดสูงมาก ทุกธุรกิจต้องพยายามปรับตัวเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในสมรภูมิดุเดือด สำหรับปี 2018 ที่กำลังจะมาถึง ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าทีมการตลาดของทุกแบรนด์ ควรใส่ใจกับสิ่งเหล่านี้

1. ปิดช่องว่าง

ช่องว่างที่ว่านี้คือความแตกต่างระหว่างสิ่งที่แบรนด์ให้คำมั่นสัญญาไว้ กับสิ่งที่แบรนด์ทำได้จริง 

ธุรกิจดิจิทัล เช่น Amazon และ Tesla นั้นชัดเจนเรื่องการโฟกัสที่สิ่งที่ลูกค้าต้องการเป็นหลัก เรื่องนี้ Nigel Vaz ซีอีโอของเอเจนซี่ชื่อ Publicis.Sapient อธิบายว่าหลายบริษัทไม่เป็นแบบนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นจริง คือรอยแยกที่เห็นชัด กลายเป็นช่องว่างที่ทำให้บริษัทที่เน้นลูกค้าเป็นหลักแซงหน้าบริษัทกลุ่มหลังมากขึ้นทุกที

ความบูมของเทคโนโลยีดิจิตอลและดาต้า ทำให้โลกการตลาดเปลี่ยนแปลงไป วันนี้ซีอีโอกำลังทยอยทบทวนธุรกิจดั้งเดิมของตัวเองอีกครั้ง ตัวอย่างเช่น McDonald’s ที่ว่าจ้างเอเจนซี่ Publicis.Sapient และ Capgemini เพื่อเปลี่ยนประสบการณ์ร้านอาหารทั้งหมดนี้ทำให้เม็ดเงินลงทุนของธุรกิจถูกส่งไปอัดฉีดแผนการปรับปรุงประสบการณ์ที่แบรนด์จะมอบให้ลูกค้า เป็นไปตามที่บริการที่ปรึกษาอย่าง Forrester คาดการณ์ว่าเม็ดเงินในวงการโฆษณาจะราบเรียบในปี 2018 เพราะธุรกิจจะหันไปลงทุนด้านเทคโนโลยีแทน

2. เปิดกว้างและหลากหลาย

รายงาน Credit Suisse ปี 2015 พบว่า บริษัทที่มีผู้บริหารหญิงนั่งเก้าอี้กุมอำนาจในการตัดสินใจ จะมีผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นสูงกว่าบริษัทที่มีแต่ผู้บริหารชาย แนวโน้มการเชิดชูผู้หญิงยังเกิดขึ้นต่อเนื่องในปี 2017 ที่ผ่านมา แม้ว่าการสำรวจของ Deloitte พบว่าปี 2017 จะมีผู้หญิงได้นั่งเก้าอี้บริหารเพียง 15 เปอร์เซ็นต์ จากการสำรวจใน 64 ประเทศกลุ่มตัวอย่าง

สิ่งที่แบรนด์ในตลาดโลกมองคือการแสดงตัวว่าแบรนด์ได้ให้โอกาสที่เท่าเทียม หลากหลาย และไม่ปิดกั้นใด แน่นอนว่าความหลากหลายไม่ได้หมายความเฉพาะความเท่าเทียมกันระหว่างชายและหญิง แต่รวมถึงอายุ ความสามารถ เพศทางเลือก และเชื้อชาติด้วย แบรนด์ที่สามารถสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อดึงบุคลากรมากความสามารถได้หลากหลาย จะได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างออกไป

3. เริ่มหากลยุทธ์เสียง

แทนที่จะพิมพ์ วันนี้โลกกำลังหมุนสู่ยุคการสั่งการด้วยเสียงแล้ว ดังนั้นแม้เทคโนโลยีสั่งการด้วยเสียงอาจจะไม่แพร่หลายวงกว้างในปี 2018 แต่จงอย่านอนใจ ทางที่ดีควรเริ่มต้นทำแผนพัฒนากลยุทธ์ด้านนี้ไว้แต่เนิ่นก่อนจะสายไป

กลยุทธ์ที่แบรนด์ควรมองคือการหาทางแทรกตัวเข้าไปในบริการเหล่านี้ เนื่องจากมีโอกาสสูงที่เทคโนโลยีสั่งการด้วยเสียงจะมีอิทธิพลคลุมทั้งโลก เห็นได้ชัดจากการสำรวจล่าสุดที่พบว่ากว่า 37% ของชาวอังกฤษผู้ใช้สมาร์ทโฟนนั้นใช้เสียงสั่งการเครื่องอย่างน้อย 1 ครั้งต่อเดือน โดยเอเจนซี่อย่าง J Walter Thompson (JWT) และ Mindshare ยังพบว่า 63% ของกลุ่มนี้ใช้เสียงค้นหาข้อมูลออนไลน์

Jeremy Pounder ผู้อำนวยการ Mindshare Futures บอกว่าในอนาคต จากที่เคยมุ่งทำ SEO หรือ search engine optimization แบรนด์จะต้องหันมาทำ “Algorithm Optimization” แทน การเพิ่มประสิทธิภาพอัลกอริทึมนี้จะต้องรวมเครื่องมือทุกด้านที่ชาวออนไลน์ใช้ค้นหาข้อมูล ทั้งเสียง ภาพ รวมถึงวิดีโอ

4. ได้หมดทุกอุปกรณ์

จงตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้คนสามารถพบหรือรับบริการจากแบรนด์ได้แบบเดียวกันบนทุกอุปกรณ์ เหตุผลเพราะวิธีการที่ผู้คนจะซื้อสินค้าในปี 2018 จะไม่ได้ไปที่เว็บไซต์เท่านั้น แต่จะสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบอื่น เช่นบนโซเชียลหรือบนแอปพลิเคชันรับส่งข้อความ

ข้อมูลจากบริษัทด้านการตลาด Criteo ชี้ว่าประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ของธุรกรรมซื้อสินค้าออนไลน์ปัจจุบันนี้เกิดขึ้นในอุปกรณ์หลากหลาย ทั้งแท็บเล็ต โทรศัพท์มือถือ หรือคอมพิวเตอร์พีซี จุดนี้ Jonathan Opdyke หัวหน้าเจ้าหน้าที่ยุทธศาสตร์ของ Criteo จุดประเด็นว่าสิ่งที่จะช่วยให้ผลตอบแทนจากการลงทุนด้านการตลาดเห็นได้ชัดในยุคนี้ คือความสามารถในการติดตามว่าผู้คนจะย้ายจากอุปกรณ์ใดไปอุปกรณ์ใด

Amazon

5. ปรับกลยุทธ์โฆษณาบน Amazon หรือ Alibaba ให้เหมาะ

Amazon กลายเป็นแพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่อันดับสาม เมื่อประเมินจากงบใช้จ่ายโฆษณาในสหรัฐฯและยุโรป แสดงว่า Amazon คือเบอร์ 3 ที่ตามหลัง Facebook และ Google โดยโฆษณาบน Amazon ทั้งมีทั้งแบบลิสต์สปอนเซอร์และวิดีโอ รวมทั้งโฆษณาที่นำผู้คนไปยังไซต์อีคอมเมิร์ซของแบรนด์

ข้อนี้อาจเห็นชัดในแบรนด์ที่ต้องการบุกตลาดสหรัฐฯ และยุโรป เพราะบริษัทผู้ให้บริการ เช่นแบรนด์โทรคมนาคม จะสามารถซื้อโฆษณาโดยอิงจากข้อมูลของ Amazon ได้ ขณะเดียวกัน Amazon ก็มีแผนปรับปรุงบริการวิดีโอโฆษณา ซึ่งอาจทำให้ Amazon แข่งขันกับ YouTube ได้โดยตรงมากขึ้น

สำหรับตลาดเอเชีย Alibaba กำลังขยายจากจีนสู่ตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ข้อมูลจาก eMarketer ระบุว่า Alibaba ได้รับเงินโฆษณาบนอุปกรณ์มือถือประมาณ 1.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐในปี 2016 ถือเป็นตัวเลขที่ไม่ธรรมดา

6. กำจัดภาพลวงตา

ปี 2017 นักการตลาดจำนวนไม่น้อยมีหน้าที่จัดการกับโฆษณาที่เข้าข่ายฉ้อโกง โฆษณาโดยที่ถูกบอทคลิกไม่ใช่คนคลิก รวมถึงโฆษณาปลอมโดเมนนั้นถือเป็นสิ่งที่ผู้เผยแพร่โฆษณาหรือ Publisher ต้องร่วมมือจัดการให้สิ้นซาก

ในฐานะนักการตลาดออนไลน์ ปี 2018 คือปีที่นักการตลาดต้องรู้เท่าทันภาวะเสียเปรียบจากการลงโฆษณาออนไลน์ การสำรวจโดยสมาคมผู้โฆษณาแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ที่เผยแพร่ในเดือนธันวาคมพบว่า 78% ของนักการตลาดอาวุโสอเมริกัน กังวลว่าโฆษณาของตัวเองจะปรากฏข้างเนื้อหาไม่เหมาะสม เนื่องจากระบบหาตำแหน่งอัตโนมัติ ขณะเดียวกันก็ต้องระวังภัยลวง เช่นในโลกอีคอมเมิร์ซที่มีปัญหาโฆษณาสินค้าปลอมปะปนอยู่

7. ทำ content แบบนอกกรอบ

วันนี้หลายแบรนด์รู้แล้วว่าสามารถดึงดูดลูกค้าได้หลายวิธีโดยไม่ต้องพึ่งโฆษณา เพราะวันนี้ผู้บริโภคไม่ได้สนใจโฆษณาเท่าไรนัก และทุกคนต้องการชมรายการหรืออ่านข้อความโดยไม่ถูกโฆษณารบกวน

วันนี้มีผู้บริโภคมากกว่า 225 ล้านคนที่ติดตั้งโปรแกรมปิดกั้นโฆษณาบนคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟนของตัวเอง ดังนั้นการโฆษณาด้วยเนื้อหาน่าสนใจจึงเป็นสิ่งสำคัญที่นักการตลาดทุกคนต้องทำในปี 2018 

ที่มาhttps://www.cnbc.com/2017/12/25/marketers-heres-your-2018-to-do-list.html

]]>
1151961