บัตรเครดิต – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sat, 15 Jun 2024 03:58:49 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 UOB เผย “โอนย้ายลูกค้า Citi เป็นไปด้วยดี มองปัญหาการจ่ายเงินเกิดจากพฤติกรรมลูกค้าคนละแบบ แต่แก้ปัญหาแล้ว” https://positioningmag.com/1478242 Fri, 14 Jun 2024 14:30:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1478242 ในช่วงที่ผ่านมาลูกค้าของ Citi ที่ได้โอนย้ายมาเป็นลูกค้า UOB ประสบปัญหาไม่ว่าจะเป็นทั้งการไม่สามารถติดต่อกับ Call Center ได้ หรือแม้แต่ปัญหาระบบการกระจายยอดชำระอัตโนมัติ ซึ่งล่าสุดสถาบันการเงินรายนี้ได้กล่าวว่าปัญหาดังกล่าวได้กำลังทยอยแก้ปัญหาอยู่

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย (UOB) ได้ชี้แจงเรื่องราว รวมถึงการแก้ไขปัญหา หลังจากไม่กี่วันที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้ทางธนาคารเร่งให้ทางธนาคารแก้ไขปัญหาการถ่ายโอนบัญชีลูกค้าจากซิตี้แบงก์ (Citi) มายังธนาคาร และกำชับให้ธนาคารเร่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมาจาก UOB ได้ซื้อธุรกิจรายย่อยของซิตี้แบงก์ในประเทศไทย ประกอบไปด้วยกลุ่มลูกค้าสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกันและมีหลักประกัน ธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง และธุรกิจเงินฝากรายย่อย ในปี 2022 และยังรวมถึงประเทศอื่นไม่ว่าจะเป็น มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม

Positioning รวบรวมประเด็นสำคัญจากผู้บริหารของ UOB หลังจากมีการย้ายลูกค้าจากเดิมที่อยู่ Citi มายังระบบของ UOB ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนเมษายนเป็นต้นมา

การย้ายระบบเป็นไปได้ด้วยดี

ตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ได้กล่าวว่า ธนาคารได้ดำเนินการโอนย้ายบัญชีลูกค้าจากซิตี้แบงก์ ประเทศไทย จำนวนกว่า 1.2 ล้านราย มายังระบบของธนาคารยูโอบี โดยเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ 21 เมษายน ที่ผ่านมาและในขั้นตอนการโอนย้ายมีความปลอดภัยที่ดี

เขายังชี้ว่าการย้ายลูกค้าจากแพลตฟอร์มหนึ่งมาอีกแพลตฟอร์มหนึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่ และมีความขลุกขลั่กหลายเรื่อง

ในขณะที่ วีระอนงค์ จิระนคร ภู่ตระกูล กรรมการผู้จัดการ Retail & Brand ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ได้กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่า การโอนย้ายสำเร็จทั้งลูกค้ารายย่อยรวมถึงลูกค้า Wealth ซึ่งทางธนาคารรับทราบว่าทุกการเปลี่ยนแปลง ลูกค้าไม่ได้รับความสะดวกสบาย ทางธนาคารขออภัยในความไม่สะดวก

ปัญหาเรื่อง Call Center

กรรมการผู้จัดการ Retail & Brand ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ได้กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่า UOB ได้เพิ่มจำนวน Call Center มากถึง 1,000 คน (จากเดิม 500 คน) และเรื่องดังกล่าวมีการเตรียมพร้อมหลายเดือนแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการฝึกพนักงาน เป็นต้น

แต่เนื่องจากปริมาณการโทรเข้ามาของลูกค้าในเดือนเมษายน และพฤษภาคม นั้นเพิ่มขึ้น 2.5 เท่า แม้จะเพิ่มพนักงานแล้วเท่าตัว แต่ก็ยังไม่เพียงพอ เธอได้ให้รายละเอียดเป็นเพราะว่าระยะเวลาการพูดคุยเฉลี่ยของลูกค้านั้นเพิ่มมากขึ้นเฉลี่ยต่อลูกค้า 1 รายอยู่ที่ 700 วินาที ซึ่งปกติแล้วจะอยู่ที่ 350 วินาที เนื่องจากลูกค้าต้องการให้ช่วยสมัคร บริการ UOB TMRW ซึ่งลูกค้ามากกว่า 90% ของ Citi ได้สมัครบริการ UOB TMRW แล้ว

นอกจากนี้ปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้น เธอได้กล่าวว่าได้แบ่งกลุ่มของ Call Center ให้แยกรับปัญหาในเรื่องต่างๆ เช่น การสมัคร UOB TMRW การรับปัญหาเรื่อง Statement ซึ่งลูกค้าบางคนไม่ได้เก็บไว้ รวมถึงปัญหาเรื่องระบบการ กระจายยอดชำระอัตโนมัติ (Payment Apportionment)

(จากซ้าย) วีระอนงค์ จิระนคร ภู่ตระกูล กรรมการผู้จัดการ Retail & Brand / ตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ / ยุทธชัย เตยะราชกุล กรรมการผู้จัดการ บุคคลธนกิจ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย / ภาพจาก UOB Thailand

เปิดบริการในหลายช่องทาง

วีระอนงค์ ยังได้กล่าวว่า ปัญหาของ Call Center ในช่วงแรกนั้นได้แก้ปัญหาโดยการฝึกพนักงาน Call Center เพิ่มเติม และยังมีการนำพนักงานที่เกี่ยวข้องในส่วนต่างๆ มาช่วยในเรื่องนี้ด้วย ขณะเดียวกันทาง UOB ได้เปิดช่องทางในการสื่อสารเพิ่มมากขึ้น ทั้งมีการส่งอีเมล หรือเปิดรับปัญหาจาก Social Network ต่างๆ สามารถส่งข้อความเข้ามาได้ และยังรวมถึงการให้บริการของสาขาได้มีการขยายเวลาทำการในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ดีพอสมควร

ในเดือนเมษายน กรรมการผู้จัดการ Retail & Brand ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ได้กล่าวว่าธนาคารได้รับคำแนะนำจากธนาคารแห่งประเทศไทย และมีการรายงานกลับไปเป็นระยะๆ และทุกสัปดาห์มีการประชุมร่วมกันด้วย และปัญหาที่เกิดขึ้นเธอซาบซึ้งธนาคารแห่งประเทศไทยในเรื่องของการแก้ไขปัญหาลูกค้า

สำหรับการแก้ปัญหาระยะสั้น วีระอนงค์ ได้กล่าวว่า หากลูกค้าโทรเข้ามาที่ UOB จะต้องรับสายได้ สามารถมีการส่ง Statement ได้ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาปัญหาดังกล่าวมีแนวโน้มที่ลดลงแล้วแต่เธอยังจับตามองอยู่ และพยายามทำให้ลูกค้าสบายใจมากขึ้น

ในส่วนการแก้ปัญหาระยะกลางคือปรับปรุงกระบวนการ โดยเฉพาะเรื่องของระบบการจ่ายเงิน เพราะพฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยนไป เลยต้องรีบแก้ไข ทำให้ดีมากกว่านี้ และยังรวมถึงก็สิทธิประโยชน์ให้กับลูกค้า ตอบโจทย์ลูกค้า มีแคมเปญต่างๆ ไม่หยุดทำแคมเปญ

เธอยังมองว่า ที่ผ่านมาธนาคารได้เน้นสื่อสารเรื่องการโอนย้ายลูกค้าเลยทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าสิทธิประโยชน์หายไป แต่หลังจากนี้ธนาคารจะสื่อสารเพิ่มมากขึ้น

ผู้บริหารของ UOB Thailand ชี้ว่าปริมาณการโทรเข้ามาของลูกค้าลดลง เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า / ข้อมูลจาก UOB Thailand

ปัญหาเรื่องของระบบการกระจายยอดชำระอัตโนมัติ

ยุทธชัย เตยะราชกุล กรรมการผู้จัดการ บุคคลธนกิจ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ได้กล่าวถึงปัญหาของระบบ Payment Apportionment ซึ่งทำให้ลูกค้าหลายรายเกิดความไม่พอใจ นั้นเขามองว่าปัญหาดังกล่าวเกิดจากพฤติกรรมลูกค้าของ Citi และ UOB ที่แตกต่างกัน

เขาได้กล่าวถึงพฤติกรรมลูกค้า UOB คือจะจ่ายครั้งเดียวจบ แต่สำหรับลูกค้า Citi กลับเลือกจ่ายทีละบัตรเครดิต ซึ่งบางบัตรนั้นลูกค้าจ่ายเต็ม บางบัตรเครดิตลูกค้าจ่ายขั้นต่ำ ในการแก้ปัญหาตอนนี้คือทางธนาคารกำลังพัฒนาระบบให้เลือกจ่ายได้ตามปกติ

ซึ่งปัญหาดังกล่าว กรรมการผู้จัดการ บุคคลธนกิจ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย มองว่าส่งผลทำให้การพูดคุยกับ Call Center ยาวนานมากขึ้น

ตอนนี้เวฟดอกเบี้ยให้หมด จะไม่เกิด Late Charge และถ้าขึ้นในเครดิตบูโร จะช่วยอัปเดต ลูกค้าที่กระทบนั้นหลักพันราย ตอนนี้แทบไม่เหลือแล้ว และตอนนี้ทยอยปรับประวัติลูกค้าแล้ว และดูแลลูกค้าเป็นอย่างดี จากปัญหาการกระจายยอด

ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้น เขาได้กล่าวว่าจะแก้ปัญหาให้ โดยธนาคารจะดำเนินการยกเลิก Payment Apportionment ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันสรุปยอดบัญชีวันที่ 24 มิถุนายน เป็นต้นไป สำหรับการใช้งานบัตรเครดิต

กรรมการผู้จัดการ บุคคลธนกิจ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ยังกล่าวว่า สำหรับลูกค้าที่สมัครบัตรเครดิตใบใหม่ของ UOB อาจมีความล่าช้าไปบ้าง ซึ่งตอนนี้ทางธนาคารกำลังปรับปรุงระบบให้ดีมากขึ้น นอกจากนี้เขายังกล่าวถึงยอดใช้จ่ายบัตรเครดิตในเดือนเดือนพฤษภาคมมีลดลงบ้าง แต่เดือนมิถุนายนนั้นยอดการใช้จ่ายได้กลับมาปกติแล้ว

]]>
1478242
Krungsri Consumer เตรียมส่งโปรโมชันผ่อน 0% นาน 3 เดือนสำหรับการใช้จ่ายในญี่ปุ่น คาดยอดใช้จ่ายผ่านบัตรที่แดนอาทิตย์อุทัยโต 50% ในปีนี้ https://positioningmag.com/1468749 Tue, 02 Apr 2024 13:41:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1468749 กรุงศรี คอนซูมเมอร์ (Krungsri Consumer) เปิดเผยถึงผลประกอบการในปี 2023 ที่ยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันบริษัทได้เตรียมส่งโปรโมชั่นจูงใจให้ลูกค้าสำหรับการจับจ่ายในประเทศญี่ปุ่น โดยบริษัทตั้งเป้ายอดการใช้จ่ายบัตรในประเทศญี่ปุ่นจะเติบโตมากถึง 50% ในปีนี้

อธิศ รุจิรวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เจเนอรัล คาร์ด เซอร์วิสเซส จำกัด ได้กล่าวถึงยอดการใช้จ่ายบัตรรวมถึงยอดสินเชื่อส่วนบุคคลในปี 2023 ที่ผ่านมา โดยบริษัทมียอดบัตรเครดิตใหม่ 339,000 บัตร ยอดใช้จ่ายบัตร 365,000 ล้านบาท (เติบโต 10%) สินเชื่อใหม่ 92,000 ล้านบาท (เติบโต 6%) และสินเชื่อคงค้าง 148,400 ล้านบาท (เติบโต 3%)

สำหรับหมวดใช้จ่ายที่เติบโตสูงในปี 2023 ที่ผ่านมาได้แก่ ตัวแทนท่องเที่ยว สายการบิน โรงแรมและรถเช่า ตามลำดับ ซึ่งอธิศได้ชี้ถึงการเดินทางได้กลับมาอีกครั้ง ผู้คนเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้น

แต่ถ้าหากเทียบยอดค่าใช้จ่ายสูงที่สุดในปีที่ผ่านมา ได้แก่ ประกันภัย ปั๊มน้ำมัน การซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ และตกแต่งบ้าน โดยเขาชี้ถึงคนไทยได้ซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ซึ่งในอดีตไม่เคยมีหมวดหมู่นี้ติดอันดับต้นๆ ด้วยซ้ำ แสดงให้เห็นว่าไลฟ์สไตล์คนไทยเปลี่ยนไป

กลยุทธ์ในปี 2024 นั้น กรรมการผู้จัดการ บริษัท เจเนอรัล คาร์ด เซอร์วิสเซส จำกัด ยังได้กล่าวว่าบริษัทจะเน้นการขยายพันธมิตรให้มากกว่านี้ ขณะเดียวกันก็จะเจาะกลุ่มวัยรุ่นมากขึ้น โดยเขาชี้ว่าเพื่อที่จะรีเฟรชพอร์ตโฟลิโอของบริษัทด้วย ไม่ให้มีลูกค้าในช่วงอายุใดอายุหนึ่งมีสัดส่วนมากเกินไป

เขายังกล่าวว่าในปีนี้จะมีการเน้นในส่วนของ Flagship Product มากขึ้น ซึ่งคาดว่าในปีนี้จะมีการปรับปรุงบัตรและเปิดตัวบัตรใหม่ซึ่งคาดว่าจะอยู่ในช่วงครึ่งปีหลัง นอกจากนี้ยังรวมถึงกลยุทธ์ในการทำงานแบบประสานพลังในเครือกรุงศรีด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเงินฝาก ประกัน หรือแม้แต่เรื่องของการบริหารความมั่งคั่งให้กับลูกค้าบัตรเครดิต

บริษัทตั้งเป้ายอดใช้จ่ายผ่านบัตร 393,000 ล้านบาท ยอดสินเชื่อใหม่ 100,000 ล้านบาท ยอดสินเชื่อคงค้าง 151,000 ล้านบาท

อธิศ รุจิรวัฒน์ – กรรมการผู้จัดการ บริษัท เจเนอรัล คาร์ด เซอร์วิสเซส จำกัด / ภาพจากบริษัท

ลูกค้ากรุงศรีฯ เที่ยวญี่ปุ่นเยอะ เตรียมจับมือพันธมิตรเพิ่ม

สมหวัง โตรักตระกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท บัตรกรุงศรีอยุธยา จำกัด ได้กล่าวถึงข้อมูลยอดใช้จ่ายผ่านบัตรของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ในปี 2023 นั้น สัดส่วนยอดใช้จ่ายผ่านบัตรในต่างประเทศ ญี่ปุ่นเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมของลูกค้าของบริษัท และมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง สอดคล้องกับผลสำรวจที่ Visa ได้ทำไว้ว่าญี่ปุ่นถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวอันดับ 1 ของคนไทยอยากไปเที่ยว

กรรมการผู้จัดการ บริษัท บัตรกรุงศรีอยุธยา จำกัด กล่าวว่า ปัจจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของประเทศญี่ปุ่น ในฐานะบริษัทในเครือกรุงศรี หนึ่งในเครือของมิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป (MUFG) บริษัทจึงเตรียมต่อยอดแคมเปญ “เรื่องญี่ปุ่น ต้องกรุงศรี” ที่ได้เปิดตัวไปเมื่อปี 2023 ที่ผ่านมา

บริษัทยังเปิดเผยข้อมูลลูกค้าของบัตรเครดิตในเครือกรุงศรีในปี 2023 ได้ใช้จ่ายในประเทศญี่ปุ่นมากถึง 2,200 ล้านบาท โดยลูกค้ากลุ่ม Gen X และ Gen Y นั้นมีสัดส่วนมากถึง 80% ซึ่งมียอดเฉลี่ยต่อคน 32,000 บาท เติบโต 10% เมื่อเทียบกับปี 2022

แต่ถ้าหากเรียงตามยอดใช้จ่ายในประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ ห้างสรรพสินค้า โรงแรมหรือที่พัก สินค้าแฟชั่นเครื่องแต่งกาย เครื่องสำอางสินค้าเบ็ดเตล็ด และ สนามบินและสินค้าปลอดภาษี ตามลำดับ

สมหวัง โตรักตระกูล – กรรมการผู้จัดการ บริษัท บัตรกรุงศรีอยุธยา จำกัด / ภาพจากบริษัท

ชู 4 แนวทางหลักขับเคลื่อนแคมเปญ

เพื่อต่อยอดกับแคมเปญดังกล่าว สมหวังยังกล่าวว่าบริษัทนั้นจะตั้งเป้าสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้าในญี่ปุ่นมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการจับมือกับพันธมิตรในประเทศญี่ปุ่นและไทยเพิ่มมากขึ้น 600 แบรนด์ หรือแม้แต่การใช้เครือข่ายของ MUFG ในประเทศญี่ปุ่นเพื่อเพิ่มพันธมิตรในญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้น โดยแนวทางในการขับเคลื่อน “เรื่องญี่ปุ่น ต้องกรุงศรี” ได้แก่

  • ขยายความร่วมมือโดยเพิ่มจำนวนพันธมิตร เพิ่มสิทธิประโยชน์ เสริมหมวดหมู่ใหม่ๆ เพื่อคนรักญี่ปุ่น
  • นำเสนอทางเลือกในการชำระเงินที่หลากหลาย อำนวยความสะดวกให้ลูกค้า เช่น Tap & Go
  • เสริมประสบการณ์ให้หลากหลาย ครบทุกเรื่องญี่ปุ่น ทั้งในและต่างประเทศ เช่น เพิ่มสิทธิประโยชน์ด้านร้านอาหาร การช้อปปิ้ง และบริการ งานอีเวนต์ที่เกี่ยวข้องกับญี่ปุ่น
  • ใช้ข้อมูลและนวัตกรรม เพื่อที่จะเสริมประสิทธิภาพการตลาด

เตรียมส่งโปรโมชั่นผ่อน 0% นาน 3 เดือน หรือใช้บัตร Krungsri Boarding Card ก็ได้

สมหวังยังเปิดเผยเพิ่มเติมว่าบริษัทเตรียมส่งโปรโมชั่นผ่อน 0% นาน 3 เดือน โดยลูกค้าสามารถเลือกผ่อนชำระรายการที่เป็นสกุลเงินเยนหรือร้านค้าในประเทศญี่ปุ่นได้ผ่านทางแอปพลิเคชั่น UCHOOSE ได้ ซึ่งเขาคาดว่าโปรโมชั่นดังกล่าวน่าจะออกมาได้ในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้

นอกจากนี้สมหวังยังได้ชี้ถึงอีกทางเลือกของคนที่ชอบเที่ยวคือ Krungsri Boarding Card จากธนาคารกรุงศรีฯ ซึ่งเป็นบัตร VISA Prepaid Card ที่มีกระเป๋าเงิน e-Wallet ซึ่งสามารถใช้ 16 สกุลเงินต่างประเทศ และสกุลเงินบาทได้นั้น สมหวังได้ชูจุดเด่นที่ลูกค้าสามารถตั้งซื้อเรทค่าเงินได้ผ่านทาง Krungsri Mobile App

สมหวังได้กล่าวว่า บริษัทตั้งเป้ายอดใช้จ่ายผ่านบัตรที่ญี่ปุ่น 2,950 ล้านบาทในปีนี้ ซึ่งเติบโต 50% เทียบกับปี 2023 ที่ผ่านมา จากสิทธิประโยชน์ที่ครบ และเครือข่ายพันธมิตรที่แข็งแกร่ง จะช่วยให้กรุงศรี คอนซูมเมอร์ เป็นผู้นำธุรกิจในเซกเมนต์ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวญี่ปุ่นได้

อธิป ศิลป์พจีการ – ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหารธุรกิจกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ บริษัท อยุธยา แคปปิตอล เซอร์วิสเซส จำกัด / ภาพจากบริษัท

ต้องปรับตัวให้เข้ากับนโยบายแบงก์ชาติ

อธิป ศิลป์พจีการ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหารธุรกิจกรุงศรี เฟิร์สช้อยส์ บริษัท อยุธยา แคปปิตอล เซอร์วิสเซส จำกัด ในส่วนของนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ได้ให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ เพื่อที่จะแก้ปัญหาหนี้ในครัวเรือนที่มีระดับสูงอยู่ในเวลานี้ อธิปได้กล่าวว่าทางกรุงศรีฯ​ ได้มีนโยบายดังกล่าวมานานแล้ว แค่ต้องปรับตัวให้เข้ากับนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยเท่านั้น

หลังจากนี้ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ เตรียมจะเริ่มการสื่อสารกับลูกค้าในกลุ่มผ่านทุกช่องทางตามกำหนดการของ ธปท. เพื่อแจ้งสถานะว่าลูกค้าเหล่านี้อยู่ในกลุ่มลูกหนี้เป็นหนี้เรื้อรังนั้นจะสามารถเลือกที่จะปิดหนี้ผ่านโครงการสินเชื่อพิเศษที่อัตราดอกเบี้ย 15% ต่อปีได้

อย่างไรก็ดีเขาชี้ว่าลูกค้าที่เป็นกลุ่มลูกหนี้เป็นหนี้เรื้อรังนั้นคาดว่ามีไม่ถึง 10% ที่จะเข้าร่วมโครงการดังกล่าว เนื่องจากลูกค้าต้องการวงเงินสำรองเพื่อใช้จ่ายยามฉุกเฉิน ยกเว้นว่าลูกหนี้คนดังกล่าวนั้นต้องการที่จะยกเลิกบริการสินเชื่อไปเลย

กังวลเรื่องการปรับอัตราชำระบัตรเครดิตขั้นต่ำ

กรรมการผู้จัดการ บริษัท เจเนอรัล คาร์ด เซอร์วิสเซส จำกัด ได้กล่าวถึงนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ได้ออกนโยบายไม่ว่าจะเป็นทั้งเรื่องของการเพิ่มอัตราชำระบัตรเครดิตขั้นต่ำจาก 5% เป็น 8% เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมานั้น เขากังวลว่ามาตรการดังกล่าวดูเหมือนว่าตัวเลขอาจไม่สูง แต่ถ้ามองในมุมของลูกค้าเขากังวลว่าจะกระทบต่อภาระในการชำระหนี้

อธิศ ได้กล่าวว่า อัตราส่วนคงค้างของสินเชื่อของลูกหนี้ที่มีค่างวดค้างชำระเกินกว่า 90 วันของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ อยู่ที่ระดับ 1.14% สำหรับบัตรเครดิต และ 2.5%

เขากล่าวถึงตัวเลขในเดือนกุมภาพันธ์เริ่มเห็นสัญญาณของการผิดนัดชำระหนี้บ้างแล้ว โดยเฉพาะกลุ่มรากหญ้าที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ขณะที่คนมีเงินก็จะไม่มีปัญหาในเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด เขายังกล่าวเสริมว่ากรณีดังกล่าวเปรียบได้กับการขอให้คนที่ยังไม่ฟื้นตัวดีมากพอจ่ายเงินมากขึ้น

อธิศ ยังกล่าวว่าหลังจากในส่วนของมาตรการให้ชำระบัตรเครดิตขั้นต่ำ 8% ออกมา 6 เดือนแล้วจะมีการประเมินผลอีกที และจะนำประเด็นดังกล่าวไปพูดคุยกับทางธนาคารแห่งประเทศไทยในภายหลัง ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาได้มีการพูดคุยกันเป็นระยะๆ ในเรื่องดังกล่าว

]]>
1468749
UOB จับมือ 5 พาร์ตเนอร์ เปิดตัวบัตรเครดิต Co brand ย้ำสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น ตั้งเป้าปี 67 ยอดใช้จ่ายโต 10% https://positioningmag.com/1456483 Wed, 20 Dec 2023 05:12:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1456483 ยูโอบี จับมือ 5 พาร์ตเนอร์ เปิดตัวบัตรเครดิต Co brand ไม่ว่าจะเป็น Makro, Grab, Lazada, Mercedes หรือแม้แต่การบินไทย โดยยืนยันว่าสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้นจากเดิม ไม่ลดลง ขณะเดียวกันคาดว่าในปี 2567 จะมียอดใช้จ่ายบัตรของลูกค้าเพิ่มขึ้นถึง 10%

ยูโอบี (UOB) ได้จับมือ 5 พาร์ตเนอร์ เปิดตัวบัตรเครดิต Co brand ไม่ว่าจะเป็น Makro, Grab, Lazada, Mercedes หรือแม้แต่การบินไทย โดยได้ยืนยันถึงสิทธิประโยชน์ของผู้ถือบัตรเพิ่มมากขึ้น ไม่ได้ลดลง และตั้งเป้าว่าภายในปี 2567 นั้นยอดใช้จ่ายบัตรของลูกค้าจะเติบโตได้ถึง 10%

หลังการเข้าซื้อกิจการธุรกิจลูกค้ารายย่อยของ Citi สำเร็จในปี 2565 ที่ผ่านมา ทำให้ธนาคารมีจำนวนลูกค้ารายย่อยเกือบ 8 ล้านรายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้ธนาคารมีฐานลูกค้ารายย่อยใหญ่เป็นอันดับ 6 ของประเทศไทย หรือแม้แต่ฐานลูกค้าบัตรเครดิตที่เติบโตมากขึ้นกว่าเดิมกลายเป็น 1 ใน 3 ของผู้เล่นรายใหญ่

ภาพบัตรเครดิตใหม่ ของ 5 พาร์ตเนอร์หลังอยู่ภายใต้ชายคาของ UOB

สำหรับแบรนด์ที่ได้เปิดตัวบัตรเครดิต Co brand และสิทธิประโยชน์ที่เพิ่มเติม ได้แก่

  • Grab โดยสิทธิประโยชน์ที่เพิ่มจากเดิมคือ เพิ่ม Code ทุกวันศุกร์ รับคะแนน 3 เท่าในกลุ่มแฟชั่น ดีพาร์ตเมนต์สโตร์ หรือกลุ่ม Healthcare ถ้าหากผู้สมัครบัตรใหม่ยังได้สิทธิ์ Grab Unlimited 1 ปีเพิ่มด้วย
  • Lazada สิทธิประโยชน์ที่เพิ่มจากเดิมคือมีการแจก Code ของ Lazada มากกว่าเท่าตัว เมื่อเทียบกับของเดิม
  • Makro สิทธิประโยชน์ที่เพิ่มจากเดิมคือ ได้แต้ม 2 เท่าถ้าหากซื้อสินค้าใน Makro ในวันที่ 16 ของเดือน
  • การบินไทย สิทธิประโยชน์จะมีการเปิดตัวในช่วงไตรมาส 1 ของปี 2567
  • Mercedes สิทธิประโยชน์จะมีการเปิดตัวในช่วงไตรมาส 1 ของปี 2567

สุพรทิพย์ พงศาชำนาญกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ Head of Card Business ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า UOB รู้สึกตื่นเต้นกับความร่วมมือครั้งนี้มาก เพราะจะทำให้ธนาคารมอบบริการทางการเงินที่หลากหลายเพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์และความสนใจของลูกค้าที่แตกต่างกัน

เธอยังกล่าวเสริมว่า ความร่วมมือครั้งนี้ช่วยให้ UOB มอบบริการด้านการเงินที่ไม่ได้จำกัดเฉพาะแต่ในประเทศไทยเพียงอย่างเดียว แต่ครอบคลุมถึงภูมิภาคอาเซียน และนี่เป็นสิ่งทำให้ธนาคารยูโอบีมีความโดดเด่นและแตกต่าง

นอกจากนี้การเปิดตัวบัตร Co brand ทั้ง 5 นี้ แสดงถึงความมุ่งมั่นของธนาคาร ในการทำให้ธนาคารเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของลูกค้า บัตรแต่ละใบได้รับการออกแบบเพื่อมอบสิทธิประโยชน์ให้ตรงใจกลุ่มลูกค้าที่มีไลฟ์สไตล์แตกต่างกัน 

สิทธิประโยชน์บัตรเครดิตที่เพิ่มขึ้นของ UOB กับ 5 พันธมิตร

ไม่เพียงเท่านี้ UOB ยังมีการออกแบบบัตรเครดิตใหม่ โดยเสนอความเป็นแต่ละแบรนด์ เช่น Grab แสดงถึงเรื่องของความไม่จำกัด (Unlimited) บัตร Royal Orchid ของการบินไทยที่มีความเรียบแต่หรู ทางด้านบัตรของ Lazada ที่เป็นแนวตั้งนั้นมองเรื่องความแตกต่าง ขณะที่ Mercedes แสดงถึงแบรนด์แบบเรียบหรู เป็นต้น

ทาง UOB ยังกล่าวถึงการมอบสิทธิประโยชน์ที่เพิ่มมากขึ้นสำหรับลูกค้าผู้ถือบัตร ไม่ว่าจะเป็นการจองตั๋วคอนเสิร์ตของ Taylor Swift ในช่วงที่ผ่านมา หรือแม้แต่การจองตั๋วคอนเสิร์ตของ Ed Sheran ในประเทศไทยที่ได้สิทธิพิเศษกับผู้ถือบัตรของ UOB ก่อนใคร

ผู้บริหารของ UOB ยังกล่าวว่า “ตั้งแต่ลูกค้ารู้ว่า Citi จะมาอยู่กับ UOB ลูกค้ามีความกังวลถึงสิทธิประโยชน์อย่างมาก แต่ธนาคารได้ต่อยอดสิทธิประโยชน์จากเดิม เช่น แต้มสะสมไม่หมดอายุ มีแคมเปญพิเศษให้โดยตลอด โดยคนที่ถือบัตรเดิมของ Citi ได้สิทธิประโยชน์ใหม่เช่นกัน และจะมีการส่งบัตรเครดิตใบใหม่ให้ในช่วงต้นปี 2567”

]]>
1456483
ปิดฉาก 5 ปี บัตร SCB M “เดอะมอลล์” ควงพาร์ทเนอร์บัวหลวง เปิดบัตรโคแบรนด์ Bangkok Bank M Visa https://positioningmag.com/1450236 Wed, 01 Nov 2023 06:45:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1450236 บัตร SCB M เป็นบัตรโคแบรนด์ระหว่างเดอะมอลล์ และไทยพาณิชย์ เตรียมปิดฉากยกเลิกการใช้บริการในวันที่ 31 ม.ค. 67 นับเป็นเวลา 5 ปีครึ่งที่ได้ให้บริการ มีจำนวนบัตรทั้งสิ้น 400,000-600,000 ใบ แต่ถ้าลูกค้ายังมีพันธะในการผ่อนสินค้าผ่านบัตร ก็ยังผ่อนได้จนกว่าจะหมดโปรแกรม ส่วนพอยท์ที่สะสมไว้ก็ยังอยู่กับทางเดอะมอลล์ ไม่ได้หายไปไหน

กลุ่มเดอะมอลล์ก็ไม่รอช้า ได้เปิดตัวบัตรโคแบรนด์กับพันธมิตรใหม่ก็คือ “ธนาคารกรุงเทพ” มาพร้อมบัตร Bangkok Bank M Visa จะเริ่มคิกออฟให้บริการในวันที่ 1 ธ.ค. 66 ตรงกับวันที่เปิดโครงการ EMSPHERE พอดิบพอดี

ถ้าถามว่าทำไมเดอะมอลล์ถึงเลือกเปลี่ยนพันธมิตร…

แอ๊ว – ศุภลักษณ์ อัมพุช ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด ได้ให้เหตุผลว่า

“การเปลี่ยนพันธมิตรโคแบรนด์ ไม่ใช่แค่เรื่องบัตรเครดิตอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องสนับสนุนโครงการต่างๆ ของเดอะมอลล์ด้วย ธนาคารกรุงเทพเป็นแบงก์แรกที่ปล่อยสินเชื่อให้ตอนสร้างเอ็มโพเรียม จนตอนนี้เติบโตปีละ 30% การจับมือครั้งนี้มองยาว 10 ปี ทำโคแบรนด์การ์ดร่วมกัน ลงทุนร่วมกัน เป็นครอบครัวเดียวกัน 

ตอนนี้แอ๊วไม่ได้สร้างช้อปปิ้งเซ็นเตอร์ แต่กำลังสร้างย่าน.. ย่านที่มีทุกอย่างมองหา ย่านที่มี 3 ห้างอยู่ในที่เดียว ตอนนี้แค่ย่านสยามคงไม่พอแล้ว ต่อไปจะมีอีกย่าน Bangkok Mall ด้วย” 

ปัจจุบันเดอะมอลล์ กรุ๊ป มีสมาชิก M card ทั้งสิ้น 5.3 ล้านราย และลูกค้ากว่า 50 % ชำระผ่าน Digital Payment อาทิ บัตรเครดิต บัตรเดบิต QR Code เป็นต้น

หลังจากที่ได้ทำบัตร SCB M เดอะมอลล์ให้ความสำคัญกับบัตรโคแบรนด์มากขึ้น เพราะลูกค้ามีลอยัลตี้สูง และมียอดการใช้จ่ายมากกว่าบัตรเครดิตอื่นๆ ถึง 4.5 เท่า ซึ่งยอดเฉลี่ยปกติราวๆ 3,000 บาท

ในขณะที่ทางธนาคารกรุงเทพมีฐานลูกค้าบัตรเครดิตจำนวน 2 ล้านใบ และมีการทำบัตรโคแบรนด์กับพันธมิตรหลายราย เช่น สายการบิน, โรงพยาบาล และออโต้เซอร์วิส ครั้งนี้ถือเป็นการจับมือกับฝั่งค้าปลีกครั้งแรก มีสัญญาร่วมกัน 10 ปี

ในการเปิดให้บริการผลิตภัณฑ์ทางการเงินครอบคลุมทั้งบัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรพรีเพด (Prepaid Card), กิ๊ฟท์การ์ด (Gift Card) และบัตรกดเงินสด (Revolving Card) โดยที่บัตรเดบิต Bangkok Bank M Visa มีให้เลือกทั้งแบบบัตรชิปการ์ด และบัตรดิจิทัลที่ใช้ผ่านโมบายแบงกิ้ง หรือจะเลือกสมัครทั้ง 2 แบบไว้ใช้คู่กันก็ได้

บัตรเครดิต Bangkok Bank M Visa จะแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ประกอบด้วย

  • บัตรเครดิต Bangkok Bank M Live Visa Platinum สำหรับผู้มีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป
  • บัตรเครดิต Bangkok Bank M Luxe Visa Signature สำหรับผู้มีรายได้ 300,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป
  • บัตรเครดิต Bangkok Bank M Legend Visa Infinite สำหรับลูกค้าที่ได้รับการเรียนเชิญให้สมัครเท่านั้น

ในช่วงแรกได้เปิดตัวบัตรเครดิต และบัตรเดบิต Bangkok Bank M Visa ซึ่งสามารถสมัครได้ในวันที่ 1 ธันวาคม 2566 และผลิตภัณฑ์อื่นๆ จะทยอยเปิดให้บริการในปี 2567

โดยที่สิทธิ์พิเศษของบัตรนี้ ไม่แตกต่างจากบัตรเดิมเท่าไหร่นัก ใครที่เป็นนักช้อปของเครือเดอะมอลล์จะคุ้นเคยอย่างดี เช่น ส่วนลดสูงสุด 10% รับคะแนน M Point สูงสุด 4 เท่า ใช้คะแนน 2 เท่าของยอดซื้อลดเพิ่มอีก 25% ผ่อน 0% ทุกชิ้นทั้งห้าง นานสูงสุด 10 เดือน เมื่อใช้จ่ายในห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้าเดอะมอลล์, เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์, เอ็มโพเรียม, เอ็มควอเทียร์, เอ็มสเฟียร์, สยามพารากอน, Monline.com และ Gourmetmarketthailand.com

แต่ความพิเศษของบัตร Bangkok Bank M Visa ที่เพิ่งบรรจุเข้ามาเพิ่มเติมก็คือ “คอนเสิร์ต” มีสิทธิพิเศษที่ลูกค้าสามารถสะสมยอดซื้อเพื่อแลกดูคอนเสิร์ตได้อย่างน้อย 3 ครั้ง/ปี เป็นคอนเสิร์ตในประเทศหลากหลายรูปแบบ

วรลักษณ์ ตุลาภรณ์ แม่ทัพใหญ่ทางด้านการตลาด ของเดอะมอลล์ กรุ๊ป ได้อธิบายว่า ธนาคารกรุงเทพชอบสนับสนุนเรื่องศิลปะ และบันเทิงอยู่แล้ว ประกอบกับเห็นไลฟ์สไตล์ของคนที่ชอบช้อปปิ้ง ส่วนใหญ่จะชอบความสนุกสนาน ความบันเทิง ชอบดูคอนเสิร์ต สิทธิพิเศษใหม่นี้จะเป็นการให้ลูกค้าสะสมยอดซื้อเพื่อแลกการชมคอนเสิร์ตได้ จะมีคอนเสิร์ตเพื่อตอบโจทย์คนทุกเจนเนอเรชั่น

บัตร Bangkok Bank M Visa จะเริ่มเปิดให้สมัครตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2566 เป็นต้นไป ได้ตั้งเป้ายอดบัตรเครดิต และบัตรเดบิต จำนวน 1.5 ล้านใบภายใน 5 ปีแรก

]]>
1450236
ผู้ว่าแบงก์ชาติบราซิล มอง “อนาคตมนุษย์จะทำธุรกรรมผ่านแอปพลิเคชัน แทนที่การใช้เงินสด หรือบัตรเครดิต” https://positioningmag.com/1448988 Mon, 23 Oct 2023 06:28:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1448988 ผู้ว่าธนาคารกลางของบราซิล ได้กล่าวว่า อนาคตมนุษย์จะทำธุรกรรมผ่านแอปพลิเคชัน แทนที่การใช้เงินสด หรือบัตรเครดิต และมองว่าแพลตฟอร์มเหล่านี้ทำหน้าที่ได้ไวกว่า ง่ายกว่า และยังสามารถเพิ่มความสามารถใหม่ ๆ เพิ่มได้ด้วย

Roberto Campos Neto ผู้ว่าธนาคารกลางของบราซิล ได้กล่าวว่า แพลตฟอร์มสกุลเงินดิจิทัล เช่น แอปพลิเคชันชำระเงิน จะเข้ามาแทนที่บัตรเครดิตและเครื่องมือทางการเงินแบบเดิม ๆ ในที่สุด และมองว่าแพลตฟอร์มต่าง ๆ เหล่านี้จะทำหน้าที่ได้ไวกว่า และง่ายกว่า

ผู้ว่าธนาคารกลางของบราซิลได้กล่าวในงานที่จัดขึ้นโดย Americas Society/Council of the America ในเมืองไมอามีว่า บัตรเดรดิตในอนาคตจะเป็นเงินที่สามารถตั้งโปรแกรมได้ ซึ่งจะไม่ต้องการบัตรเครดิตอีกต่อไป และเขายังมองว่าในอนาคตเราไม่ต้องจ่ายเงินให้กับบริษัทบัตรเครดิตตามจำนวนที่คุณจ่ายเงินในวันนี้ เพราะจะสามารถทำธุรกรรมดังกล่าวได้ง่ายและไวมากกว่า

นอกจากนี้ผู้ว่าธนาคารกลางของบราซิลยังมองว่า ควรจะมีกระเป๋าเงินออฟไลน์ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถโอนเงินจำนวนเล็กน้อยได้ถ้าหากอยู่บนพื้นที่ที่ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์มือถือ แต่กลับกลายเป็นว่าธนาคารไม่ได้ทำสิ่งนั้นไม่ได้ไวตามที่เขาคาดหวังด้วยซ้ำ

ในปี 2020 ธนาคารกลางของบราซิลเองได้เปิดตัว Pix ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันสำหรับชำระเงิน และมีผู้ใช้งานในประเทศบราซิลมากกว่า 110 ล้านคนในช่วงที่ผ่านมา โดยในไตรมาส 1 ของปี 2023 นี้ Pix มีจำนวนธุรกรรมมากกว่า 8,000 ล้านรายการ และเคยมีสถิติทำธุรกรรมมากสุด 163 ล้านธุรกรรมภายใน 1 วัน

ความนิยมของ Pix ในบราซิลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากความสะดวกในการใช้งานและความได้เปรียบเหนือบัตรเครดิตสำหรับทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการ

หลังจากนี้ธนาคารกลางบราซิลเตรียมเพิ่มความสามารถในการผ่อนจ่ายชำระ ซึ่งเหมือนกับบริการของบัตรเครดิต ซึ่ง Roberto มองว่า Pix นั้นเป็นแอปพลิเคชันสำหรับชำระเงินที่สามารถเขียนโปรแกรมเพิ่มได้ ดังนั้นโอกาสของแอปฯ ตัวนี้มีไม่สิ้นสุด

ผู้ว่าธนาคารกลางของบราซิลยังได้กล่าวว่า เขาอยากเห็นอุตสาหกรรมการชำระเงินดิจิทัลก้าวหน้าด้วยกระเป๋าเงินแบบออฟไลน์ กระเป๋าเงินดิจิทัล และความสามารถในการเข้าถึง Pix ด้วยขั้นตอนการใช้งานที่ลดลง และสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปหลังจากนี้คือการยกระดับการศึกษาทางการเงิน

]]>
1448988
“พิทยา​ วรปัญญาสกุล” แม่ทัพ KTC คนใหม่ พร้อมทีมผู้บริหารหญิงล้วน กับภารกิจกำไรหมื่นล้าน https://positioningmag.com/1448781 Thu, 19 Oct 2023 09:04:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1448781 KTC จัดทัพองค์กรครั้งใหญ่ หลังจากที่ “ระเฑียร​ ศรีมงคล​” CEO ที่อยู่กับองค์กรยาวนานถึง 11 ปี ถึงคราวเกษียณอายุ พร้อมกับได้ส่งไม้ต่อให้กับ “พิทยา​ วรปัญญาสกุล” นั่งแท่น CEO คนใหม่ โดยมีผลในวันที่ 1 ม.ค. 2567 ทั้งนี้ยังคงมีภารกิจสำคัญกับเป้าหมายกำไรหมื่นล้านภายใน 5 ปี

CEO คู่บุญของ KTC

ถ้าพูดถึงชื่อ “ระเฑียร​ ศรีมงคล” ขึ้นชื่อว่าเป็น CEO คู่บุญของ ​KTC หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ที่อยู่กับบริษัทมายาวนาน 11 ปี เตรียมปิดฉากอำลาตำแหน่งในวันที่ 31 ธ.ค. 2566 หลังจากที่ต่ออายุเกษียณอายุมาแล้วถึง 2 รอบ

ระเฑียรได้เข้ารับตำแหน่ง CEO ของ KTC เมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2555 ในตอนนั้นสถานการณ์ของบริษัทเรียกได้ว่าย้ำแย่สุดๆ มีผลการดำเนินงานขาดทุนกว่าพันล้าน แต่พ่อมดระเฑียรสามารถเสกผลกำไรภายในปีแรกตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งได้ แม้จะเริ่มที่หลักร้อยล้าน แต่ก็ค่อยๆ ไต่เป็นระดับพันล้านได้ในปีต่อๆ มา

ktc

ระเฑียรจบการศึกษาหลากหลายสาขา เช่น แพทยศาสตรบัณฑิต (ศิริราช) มหาวิทยาลัยมหิดล, บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปริญญาโทรัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา พร้อมกับมีประสบการณ์ทำงานหลากหลาย ตั้งแต่การเป็นหมอรักษาโรคทั่วไป เข้าสู่วงการธนาคารและผ่านหน้าที่หลากหลาย เช่น Chief Dealer ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, กรรมการรองผู้จัดการ บงล. เอกธนา, เข้าร่วมงานกับธนาคารนครหลวงไทย ที่กลายธนาคารธนชาตหลังรวบกิจการ ซึ่งเป็นแบงก์ล่าสุดก่อนออกมาร่วมงานกับ KTC และเคยเป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจ เช่น บริษัท ทีโอที ประธานการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นต้น

นับเป็น CEO ที่มีความผสมผสานอย่างหลากหลาย จากประสบการณ์และการสั่งสมความรู้ทุกมิติ ตั้งแต่การเรียนหมอ เคยใช้วิชาชีพในการรักษาผู้คน การเรียนบริหารธุรกิจ เป็นผู้บริหารสถาบันการเงิน รวมไปถึงความสนใจวิชาโหราศาสตร์ พยากรณ์ศาสตร์ ที่มาจากความชอบ และอ่านหนังสือทุกประเภท รวมไปถึงหนังสือพระ

เปิดใจการคัดเลือก CEO ใหม่

หลังจากเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา มติบอร์ดบริหารได้แต่งตั้ง “พิทยา​ วรปัญญาสกุล” ขึ้นแท่น CEO คนใหม่อย่างเป็นทางการ และในขณะเดียวกันระเฑียรก็ได้เปิดใจครั้งแรกที่ทริปขอบคุณสื่อมวลชนที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในปีนี้เดินทางไปยังประเทศสาธารณรัฐทูร์เคีย (ตุรกี) ภายใต้ธีม “The Story Continues…The Next Journey Begins” เป็นการส่งไม้ต่อถึงกลุ่มผู้บริหารรุ่นใหม่ ภายใต้ DNA เดิม

ระเฑียรกล่าวเปิดว่า “ใครที่จะขึ้นมาเป็น CEO ต่อจะต้องไม่เปลี่ยนแปลง ต้องมีกำไรต่อ มีเป้าหมายมีกำไรหมื่นล้านภายใน 4-5 ปี สถานการณ์ที่เกิดขึ้นมีความท้าทายรอบด้าน กระบวนการที่จะคัดเลือก CEO จึงสำคัญ หลายคนให้ความแข็งแกร่งด้าน Hard Skills แต่ที่ KTC มีสกิลในการปรับตัวสูง Hard Skills จึงไม่สำคัญ สิ่งที่สำคัญคือ ผู้นำต้องมี Leadership OS (The Operating System) ก็เลยมาดูว่าใครที่มีความเป็นผู้นำ สามารถสร้าง Leadership OS ใน KTC ได้ ก็เลยเลือกพิทยาที่มีคุณสมบัติพร้อม”

ktc

ระเฑียรขยายความถึง Leadership OS มีใจความสำคัญ 3 อย่าง ได้แก่

  1. สร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นกับคน ห่วงใยผู้ที่เกี่ยวข้อง พาร์ตเนอร์ ลูกค้า มีความอบอุ่นใจ ลูกน้องสามารถแสดงความเห็นที่แตกต่างได้ ชัดเจน ไม่ปลิ้นปล้อนกลับไปกลับมา และแฟร์ คนที่ทำมากต้องได้มากกว่าคนที่ทำน้อย
  2. มีความชัดเจนในการดำเนินการ มีความคิด การตัดสินใจที่เฉียบขาด
  3. มีทิศทางการทำงานที่ต่อเนื่อง ทำสิ่งที่ทำมาแล้ว และส่งต่อเนื่องในอนาคตได้ มีการสร้างแรงจูงใจที่ดี สร้างสิ่งแวดล้อมให้อยากทำงาน มีความมั่นใจในงานที่ตัวเองทำ และมีคอนเนกชั่นที่ดี

พิทยาเป็นลูกหม้อร่วมงานในสายงานการตลาดกับ KTC มายาวนานถึง 26 ปี และมีบทบาทสำคัญในการร่วมผลักดันองค์กรเคทีซีให้เติบโตอย่างยั่งยืน ปัจจุบันพิทยาดำรงตำแหน่งรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส กลุ่มงาน การตลาดและสื่อสารองค์กร (Chief Marketing & Communications Officer) ดูแลสายงาน การตลาดบัตรเครดิต การตลาดดิจิทัล และช่องทางออนไลน์ รวมทั้งสื่อสารการตลาดและประชาสัมพันธ์องค์กร ก่อนหน้านี้เป็นกรรมการและกรรมการตรวจสอบ บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นธุรกิจจัดการกองทุน

ความท้าทาย กับเป้าหมายกำไรหมื่นล้าน

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา KTC สร้างผลประกอบการ New High อย่างต่อเนื่อง ยกเว้นช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่ทุกธุรกิจต่างหยุดชะงัก เมื่อเศรษฐกิจกลับมาเดินหน้า ระเฑียรได้เคยวางเป้าหมายใหญ่ไว้ว่า KTC จะต้องมีกำไรหมื่นล้านให้ได้ภายในปี 2570 หรือราวๆ ภายใน 4-5 ปี

เมื่อพิทยาเข้ามารับช่วงต่อ ก็ต้องเจอกับโจทย์ยากนี้เช่นกัน เพียงแต่พิทยาได้เปิดใจว่า “จะพยายามทำให้ได้เร็วที่สุด” โดยที่ไม่กดดันตัวเอง และทีมงานจนเกินไป

พิทยา เล่าถึงแผนธุรกิจในปี 2567 ว่า ยังมองเห็นโอกาสในการเติบโตของธุรกิจสินเชื่อทั้ง 3 ธุรกิจ คือธุรกิจบัตรเครดิต, สินเชื่อบุคคล และสินเชื่อเคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน เพราะเชื่อว่ายังมีผู้บริโภคที่ต้องการสินเชื่ออยู่อีกมาก โดยจะเน้นขยายฐานสมาชิกไปยังผู้ที่มีความต้องการสินเชื่อเป็นหลัก และไม่ชักจูงให้สมาชิกมีภาระหนี้ที่เกินความจำเป็น สอดคล้องกับแนวทางการให้สินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ (Responsible Lending) ของธนาคารแห่งประเทศไทย

ktc

“การนำพาธุรกิจเคทีซีต่อจากนี้จะตั้งอยู่บน 3 องค์ประกอบคือ คน-กระบวนการ-เทคโนโลยี เริ่มจาก คน ซึ่งเป็นฟันเฟืองสำคัญที่เราดูแลและให้ความสำคัญมาตลอด ในปีหน้าจะมุ่งพัฒนาและส่งเสริมความเป็นผู้นำของผู้บริหารรุ่นใหม่ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น พร้อมทั้งพัฒนาผู้บริหารระดับกลาง โดยเน้นการสร้างความเป็นผู้นำเพื่อจะร่วมกันขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ สำหรับกระบวนการจะให้ความสำคัญกับการออกแบบและปรับกระบวนการทำงานให้กระชับรวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน โดยยึดสมาชิกเป็นศูนย์กลาง มีความเข้าใจความต้องการของสมาชิกและกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเพื่อทำการตลาด พร้อมทั้งปรับปรุงผลิตภัณฑ์ และบริการของเคทีซี

ส่วนเรื่องเทคโนโลยีนั้น เคทีซียังคงให้ความสำคัญกับการใช้งานคลาวด์ (Cloud Computing) ในโครงสร้างระบบทางด้านไอที รวมถึงการประมวลผลและจัดเก็บข้อมูล ซึ่งจะมีการใช้งานมากยิ่งขึ้น และจะส่งผลดีในเรื่องความปลอดภัย ความเสถียร ยืดหยุ่น คล่องตัว รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพในด้านต้นทุนการดำเนินงานและคุณภาพการให้บริการ  นอกจากนี้ เคทีซียังเล็งเห็นโอกาสในการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาเพิ่มศักยภาพขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงวิธีการที่ปัจจุบันเคทีซีได้ใช้  AI อยู่แล้วให้ใช้งานได้ดีขึ้น หรือการเริ่มศึกษาทดลองและใช้ Generative AI ในกระบวนการทำงานต่างๆ ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างประสบการณ์ที่ดีต่อสมาชิก หรือเพื่อปรับปรุงคุณภาพของพอร์ตสินเชื่อ”

ธุรกิจบัตรเครดิต

สำหรับแผนในปี 2567 ธุรกิจบัตรเครดิต ปัจจุบันมีจำนวนบัตร 2.6 ล้านใบ จากลูกค้า 2.2 ล้านราย ยอดแอคทีฟ 90% ตั้งเป้ามีสมาชิกบัตรใหม่เพิ่มขึ้น 230,000 ใบ และมียอดใช้จ่ายผ่านบัตรฯ เติบโต 15% จากปี 2566 โดยในปี 2567 จะเป็นปีที่ให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยสำหรับสมาชิกในทุกขั้นตอนของการใช้บริการบัตรเครดิตเคทีซี ด้วยการพัฒนาแอปฯ “KTC Mobile” ต่อเนื่อง รวมทั้งต่อยอดผลิตภัณฑ์บัตรเครดิต “เคทีซี ดิจิทัล” (KTC DIGITAL CREDIT CARD) ให้ตอบโจทย์การใช้งานออนไลน์มากขึ้น ด้วยการพัฒนาช่องทางสมัครบัตรออนไลน์ E-Application เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้ารุ่นใหม่ที่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่บนออนไลน์

ktc

เน้นทำการตลาดในกลุ่มผู้มีรายได้ต่อเดือน 50,000 บาทขึ้นไป ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าที่ทำให้การใช้จ่ายโดยรวมเติบโตได้ดี อีกทั้งจะเดินหน้าสร้างคุณค่าร่วม (Co-creating value) กับพันธมิตรหลากหลายธุรกิจ ทั่วประเทศกว่า 2 พันราย เพื่อมอบสิทธิประโยชน์ให้กับสมาชิกบัตร

ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล

สินเชื่อส่วนบุคคลยังเป็นธุรกิจที่เน้นการเติบโตทางธุรกิจควบคู่ไปกับการบริหารพอร์ตสินเชื่อคุณภาพ โดยในปี 2567 ตั้งเป้าเติบโต 5% จำนวนสมาชิกบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” เพิ่มขึ้น 100,000 ราย ด้วยแผนกลยุทธ์หลัก 2 เรื่อง คือ 1. สรรหาสมาชิกใหม่ที่มีคุณภาพ เน้นการรับสมัครผ่านช่องทางสมัครสินเชื่อออนไลน์ E-Application เพื่อให้สมาชิกทำรายการได้ด้วยตนเอง และรู้ผลอนุมัติแบบเรียลไทม์ พร้อมรับเงินโอนเข้าบัญชีทันที รวมทั้งจะพัฒนากระบวนการรับสมัครผ่านเว็บไซต์ของเคทีซีและของพาร์ตเนอร์

ktc

2. สร้างประสบการณ์ที่ดีในการใช้บัตรกดเงินสดให้กับสมาชิก “เคทีซี พราว” กว่า 700,000 ราย ไม่ว่าจะเป็นการ “รูด โอน กด ผ่อน” โดยจะเพิ่มฟังก์ชันการเบิกถอนและใช้วงเงินผ่านแอปฯ “KTC Mobile” ให้รองรับการโอนเงินไปยังบัญชีพร้อมเพย์ เพิ่มเติมจากการโอนเงินเข้าบัญชีได้หลากหลายธนาคารในปัจจุบัน รวมทั้งจะยังคงจัดแคมเปญ “เคลียร์หนี้เกลี้ยง” ที่โดนใจสมาชิกมาตลอด 10 กว่าปี เพื่อส่งเสริมและตอบแทนให้ผู้ที่ใช้สินเชื่ออย่างมีวินัย ได้รับสิทธิ์ลุ้นเคลียร์หนี้กับเคทีซี

ธุรกิจเคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน

สำหรับธุรกิจสินเชื่อ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” ยังคงเน้นการขยายตัวของพอร์ตสินเชื่อต่อเนื่อง โดยตั้งเป้ายอดอนุมัติสินเชื่อใหม่ปี 2567 ที่ 6,000 ล้านบาท ด้วย 3 กลยุทธ์หลัก คือ 1. เน้นสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี ด้วยคอนเทนต์ที่เน้นความบันเทิง เข้าถึงง่ายผ่านช่องทางออนไลน์และโซเชียล มีเดีย เสริมด้วยโฆษณาออฟไลน์ และสื่อตามพื้นที่สาขาของธนาคารกรุงไทยทั่วประเทศ

ktc

2. ผนึกกำลังกับธนาคารกรุงไทยในการขยายฐานลูกค้า ผ่านสาขาธนาคารกว่า 900 แห่งเป็นหลัก เสริมด้วยแพลตฟอร์มออนไลน์ของธนาคาร อย่าง NEXT ถุงเงินและเป๋าตัง โดย “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” เป็นผลิตภัณฑ์สินเชื่อเดียวของธนาคารกรุงไทย ที่สามารถทำรายการอนุมัติได้แบบเรียลไทม์ พร้อมรับเงินทันที  3. ตอกย้ำและเสริมความแกร่งให้กับจุดแข็งผลิตภัณฑ์ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน ในฐานะผู้บริการรายเดียวที่ให้วงเงินใหญ่สูงสุด 1 ล้านบาท อนุมัติสินเชื่อภายใน 1 ชั่วโมง พร้อมรับเงินทันที และยังขยายฐานไปยังผลิตภัณฑ์ใหม่ “สินเชื่อทะเบียนรถบิ๊กไบค์ เคทีซี พี่เบิ้ม” พร้อมบัตรกดเงินสด เคทีซี พี่เบิ้ม อีกด้วย

ในส่วนของ MAAI by KTC ในปี 2567 มีแผนจะขยายจำนวนพันธมิตรธุรกิจขนาดกลางและใหญ่อีกไม่ต่ำกว่า 20 ราย ซึ่งจะเป็นการเพิ่มจำนวนสมาชิก MAAI ประมาณ 2 ล้านราย โดยพันธมิตรเป้าหมายของแพลตฟอร์ม MAAI จะอยู่ในกลุ่มธุรกิจที่เน้นสร้างความถี่ในการกลับมาซื้อสินค้าหรือใช้บริการซ้ำ แพลตฟอร์ม MAAI ยังมีการนำเสนอโมเดลการให้บริการที่หลากหลาย ซึ่งจะช่วยพันธมิตรร้านค้าบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM) ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

สำหรับผลประกอบการของเคทีซี แจ้งงบการเงินรวมของบริษัทฯ และบริษัทย่อยในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา กำไรสุทธิ 5,534 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.2% โดยกำไรสุทธิไตรมาส 3/2566 เท่ากับ 1,857 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.7% พอร์ตสินเชื่อรวมขยายตัว 10% อยู่ที่ 106,701 ล้านบาท จากปัจจัยสนับสนุนของการบริโภคภาคเอกชน

มีสัดส่วนของลูกหนี้บัตรเครดิตเทียบกับอุตสาหกรรมอยู่ที่ 14.9% และมีส่วนแบ่งตลาดของปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเท่ากับ 12.1% ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปี 2565 ในขณะที่สัดส่วนของลูกหนี้สินเชื่อบุคคล (ไม่รวมสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน) อยู่ที่ 6.2% เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรม

มีฐานสมาชิกรวม 3,331,065 บัญชี แบ่งเป็นพอร์ตสมาชิกบัตรเครดิต 2,616,269 บัตร เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้บัตรเครดิตและดอกเบี้ยค้างรับรวม 69,225 ล้านบาท ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรรวม 9 เดือนเท่ากับ 192,270 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.7% NPL บัตรเครดิตอยู่ที่ 1.3% พอร์ตสมาชิกสินเชื่อบุคคลเคทีซี 714,796 บัญชี เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้บัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” และดอกเบี้ยค้างรับ  30,246 ล้านบาท

เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” เท่ากับ 2,058 ล้านบาท NPL สินเชื่อบุคคลอยู่ที่ 3.1% ยอดสินเชื่อลูกหนี้ใหม่ (New Booking) ของ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” ในไตรมาส 3/2566 เท่ากับ 794 ล้านบาท และรอบเก้าเดือนของปี 2566 มีมูลค่า 1,929 ล้านบาท สำหรับสินเชื่อลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อมีมูลค่า 3,369 ล้านบาท โดยมียอดปล่อยสินเชื่อใหม่ของรถขนาดใหญ่ที่ใช้ในอุตสาหกรรม (Commercial Loan) ในรอบ 9 เดือนของปี 2566 ที่ 1,446 ล้านบาท

]]>
1448781
บัตรเครดิต เซ็นทรัล เดอะวัน จับมือ CPN เพิ่มสิทธิประโยชน์บัตร ตั้งเป้ายอดใช้จ่ายผ่านบัตรที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเติบโต 30% https://positioningmag.com/1440633 Fri, 11 Aug 2023 02:25:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1440633 เจเนอรัล คาร์ด เซอร์วิสเซส (GCS) จับมือเซ็นทรัลพัฒนา (CPN) เพิ่มสิทธิบัตรเครดิต เซ็นทรัล เดอะวัน โดยเน้นเจาะลูกค้ากลุ่มวัยรุ่น โดยมอบสิทธิประโยชน์ผ่านความร่วมมือกับกลุ่มเซ็นทรัลพัฒนา โดยคาดว่ายอดใช้จ่ายจะเติบโตในปี 2023 ได้มากถึง 30%

อธิศ รุจิรวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เจเนอรัล คาร์ด เซอร์วิสเซส จำกัด ซึ่งเป็นผู้ให้บริการบัตรเครดิต เซ็นทรัล เดอะวัน ได้กล่าวถึงส่วนแบ่งการตลาดของบัตรบัตรเครดิต เซ็นทรัล เดอะวัน ว่าในปี 2019 มีส่วนแบ่งทางการตลาด 3.5% และเติบโตจนมีส่วนแบ่ง 4.8% ของตลาดในปี 2022

สำหรับผลประกอบการในปี 2022 ที่ผ่านมานั้นมี หนี้คงค้างทั้งสิ้น 25,500 ล้านบาท เติบโต 13% ต่อปี ขณะที่มีการเปิดบัตรใหม่ 84,000 ใบ เติบโต 61% ยอดใช้จ่ายผ่านบัตร 97,000 ล้านบาท เติบโต 27%

ขณะที่ครึ่งปีแรกของปี 2023 นี้มีหนี้คงค้างทั้งสิ้น 25,000 ล้านบาท เติบโต 11% ขณะที่มีการเปิดบัตรใหม่ 52,000 ใบ เติบโต 35% ยอดใช้จ่ายต่อบัตร 52,000 ล้านบาท เติบโต 19% ซึ่งตัวเลขดังกล่าวเทียบกับปี 2022

ในปี 2020 ซึ่งเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 อธิศชี้ว่าบริษัทได้ปรับกลยุทธ์เจาะลูกค้ากลุ่มพรีเมี่ยม เช่น บัตรเซ็นทรัล เดอะวัน สีดำ แต่ปัจจุบันได้กลับมาโฟกัสลูกค้าทั่วไปซึ่งเป็นบัตรเซ็นทรัล เดอะวัน สีแดง นอกจากนี้ยังพบว่าลูกค้าของบัตรมีอายุโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 50 ปี ทำให้ต้องปรับกลยุทธ์ในการดึงลูกค้ากลุ่มวัยรุ่นเข้ามาเพิ่ม

การสำรวจของบริษัทพบว่าวัยรุ่นที่เป็นกลุ่มที่ต้องการเจาะตลาดส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอยู่กับศูนย์การค้า ทำให้บริษัทซึ่งมีกลยุทธ์ในการขยายพันธมิตร ได้จับมือกับเซ็นทรัลพัฒนา (CPN) ในการขยายความร่วมมือดังกล่าวนั้นยังทำให้ลูกค้าบัตรเซ็นทรัล เดอะวัน ที่ต้องการผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่นๆ นอกจากบัตรเครดิต ก็ยังสามารถใช้บริการทางการเงินของของธนาคารกรุงศรีอยุธยาได้ เช่น สินเชื่อ ฯลฯ

ปัจจุบันทาง GCS ให้ความสำคัญในเรื่องหลัก ไม่ว่าจะเป็น Digital Payment เช่น ในกรณีที่ลูกค้าลืมบัตร สามารถใช้ QR จ่ายได้ผ่านแอป U Choose แถมยังได้คะแนนสะสมของเซ็นทรัล เดอะวันด้วย เหมือนกับการรูดบัตรปกติ ขณะที่เรื่องความร่วมมือกับพาร์ตเนอร์นั้นก็ได้ขยายความร่วมมือมายัง CPN เพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์มากขึ้นด้วย

สิทธิประโยชน์ของบัตรเครดิต เซ็นทรัล เดอะวัน (เงื่อนไขการรับสิทธิ์ขึ้นอยู่กับประเภทหน้าบัตร) เช่น

  • รับคะแนน The 1 สูงสุด 4 เท่า (โดยไม่จำกัดยอดใช้จ่าย) + รับส่วนลด สูงสุด 10% (ไม่มีขั้นต่ำ)
  • VIP Lounge บริการห้องพักรับรองพิเศษ
  • Reserved Parking Area ที่จอดรถสำรองพิเศษ
  • บริการต่ออายุคะแนน The 1 Card โดยอัตโนมัติ
  • บริการที่จอดรถโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ผู้บริหารสูงสุดของ GCS ยังชี้ว่า ถ้าทำบัตรเครดิตให้แข็งแรง มีสิทธิประโยชน์ กลุ่มคนรุ่นใหม่จะเข้ามาเลือกบัตรเครดิตเอง ซึ่งล่าสุดตอนนี้ผลตอบรับบัตรเซ็นทรัล เดอะวันถือว่าค่อนข้างดี และมองว่าคนรุ่นใหม่ จะเพิ่มสัดส่วนของฐานลูกค้า และอัปเกรดตัวบัตรเครดิตขึ้นไปตามอายุและรายได้

อธิศยังหวังว่าจะทำให้ผู้ถือบัตรบัตรเครดิต เซ็นทรัล เดอะวัน ใช้จ่ายในศูนย์การค้าเซ็นทรัลมากขึ้น 30% ภายในสิ้นปีนี้ คิดเป็นเม็ดเงิน 6,000 ล้านบาท และหวังว่าการเพิ่มสิทธิประโยชน์จะยิ่งทำให้ลูกค้ามาใช้บัตรเครดิตนี้เป็นบัตรแรก

]]>
1440633
KTC จัดทัพองค์กร รับ CEO ใหม่ปี 67 พร้อมเป้าหมายกำไรหมื่นล้านภายใน 3 ปี! https://positioningmag.com/1416828 Sun, 29 Jan 2023 06:59:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1416828 KTC หรือบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เตรียมจัดทัพองค์กรครั้งใหญ่ กรุยทางเพื่อต้อนรับ CEO คนใหม่ในปี 2567 เตรียมบุคลากรให้มากขึ้นตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป พร้อมกับเป้าหมายกำไรหมื่นล้านภายใน 3 ปี โดยมี 3 หัวหอก บัตรเครดิต, สินเชื่อส่วนบุคคล และเคทีซี พี่เบิ้ม

ปีแห่งการจัดทัพใหญ่

KTC เตรียมปรับใหญ่ปี 2566 สู่รากฐานองค์กรที่แข็งแกร่ง “A Transition to the New Foundation” พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและเท่าทันความคาดหวังของลูกค้า ตอกย้ำความเป็น Trusted Organization ตั้งเป้าปี 2566 ทำกำไรนิวไฮต่อเนื่องดันพอร์ตสินเชื่อรวมเติบโต 15% เกินแสนล้านบาท ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเติบโต 10% พอร์ตสินเชื่อบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” โต 7% ยอดอนุมัติสินเชื่อ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” เพิ่ม 9,100 ล้านบาท สินเชื่อกรุงไทยธุรกิจลีสซิ่งเพิ่ม 3,000 ล้านบาท และ NPL อยู่ในอัตราที่ต่ำกว่าปี 2022 พร้อมขับเคลื่อนธุรกิจอย่างรับผิดชอบเพื่อความยั่งยืนด้วยความมุ่งมั่นในการพัฒนาให้ดีขึ้นทั้งในมิติของเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม

ระเฑียร ศรีมงคล  ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเคทีซี หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า

“ในปี 2566 จะเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของเคทีซีทั้งโครงสร้างองค์กร กลยุทธ์ กระบวนการ เทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อขับเคลื่อนเคทีซีไปสู่รากฐานองค์กรที่แข็งแกร่ง ภายใต้แนวคิด “A Transition to the New Foundation” โดยเฉพาะการพัฒนา Mindset ของคนในองค์กรให้มีดีเอ็นเอเดียวกัน ถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ที่เราพยายามดูแลและพัฒนามาตลอดตั้งแต่เข้ามาร่วมงานกับเคทีซี โดยนอกจาก 3 ค่านิยมองค์กรหลัก (Core Value) ที่คนเคทีซียึดถือเป็นแนวทางในการทำงานอันได้แก่ 1.กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง 2.ทำให้ง่าย ไม่ซับซ้อน และ 3.ทำสิ่งที่มีความหมาย และเป็นประโยชน์ จากนี้เราจะมุ่งสร้างวัฒนธรรมองค์กรแห่งความไว้วางใจ (Trusted Organization) ภายในองค์กรให้แกร่งยิ่งขึ้น เพื่อส่งต่อความไว้วางใจนี้ไปสู่สมาชิก องค์กร ผู้ถือหุ้นและสังคม”

ในปี 2566 เคทีซีจะเริ่มปรับเปลี่ยนเพื่อเตรียมองค์กรให้เป็นโครงสร้างแบบแนวราบ (FlatOrganization) และมีหน่วยงานใหม่ๆ เพิ่มขึ้น อีกทั้งจะบูรณาการไอที (Information Technology) เข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนกลยุทธ์องค์กรสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมทั้ง 3 มิติ คือ

  • Enterprise Architecture การจัดการโครงสร้างให้สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งด้านธุรกิจ ด้านไอที และระบบปฏิบัติการ
  • Enterprise Skill Assets ส่งเสริมให้คนเคทีซีได้พัฒนาทักษะสำคัญด้านต่างๆ ที่สร้างความก้าวหน้าในหน้าที่การงานและเป็นประโยชน์กับองค์กร
  • Enterprise Data Assets การบริหารจัดการข้อมูลที่ครอบคลุมทั้งกระบวนการ ตั้งแต่การวางแผน การจัดเก็บ การเข้าถึงข้อมูลไปจนถึงการทำลายข้อมูล เน้นความปลอดภัย ถูกต้องและโปร่งใส เพื่อให้เคทีซีมีฐานข้อมูลคุณภาพ สนับสนุนการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ

สำหรับการดำเนินธุรกิจของเคทีซีจากนี้จะแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มธุรกิจหลัก (Existing) ได้แก่ ธุรกิจบัตรเครดิตและธุรกิจสินเชื่อไม่มีหลักประกันที่มีพอร์ตสินเชื่อในระดับหมื่นล้านบาทขึ้นไป กลุ่มธุรกิจใหม่ที่คาดว่าจะสร้างรายได้แบบก้าวกระโดด (New SCurve) ได้แก่ สินเชื่อรถแลกเงิน เคทีซี พี่เบิ้ม และสินเชื่อกรุงไทยธุรกิจ ลีสซิ่ง และกลุ่มโมเดลธุรกิจที่อยู่ในระหว่างการบ่มเพาะ (Incubator) เช่น MAAI – Loyalty Platform เป็นต้น

บัตรเครดิต 

ธุรกิจบัตรเครดิตยังเป็นธุรกิจหลักที่เคทีซีให้ความสำคัญมาตลอด โดยสถานการณ์ตอนนี้เกือบทุกหมวดใช้จ่ายมีการเติบโตสูงกว่าปี 2019 ซึ่งเป็นปีก่อนที่จะมีการแพร่ระบาดรุนแรงของโควิด-19 สำหรับแผนกลยุทธ์การตลาดบัตรเครดิตในปี 2566 จะเน้นแนวคิด Less is MORE หรือการทำสิ่งที่สำคัญเพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด โดยปรับกระบวนการทำงานในทีมการตลาดให้กระชับคล่องตัวมากขึ้นบน 5 แกนสำคัญ คือ

1) การบริหารพอร์ตลูกค้าให้มีคุณภาพมากที่สุด ด้วยการสร้างสรรค์โปรแกรมการตลาดเพื่อให้ลูกค้าใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง และการนำระบบออโตเมชั่น (Automation) เข้ามาใช้ในกระบวนการของการบริหารความสัมพันธ์กับสมาชิกบัตร

2) การเน้นขยายฐานลูกค้ากลุ่มรายได้ต่อเดือนตั้งแต่ 50,000-200,000 บาทขึ้นไป ด้วยสิทธิพิเศษด้านไลฟ์สไตล์ที่ตรงใจ

3) จัดโปรแกรมกระตุ้นการใช้จ่ายที่ตอบโจทย์ฐานสมาชิกบัตรเคทีซี เน้น 3 หมวดใช้จ่ายหลัก คือ หมวดร้านอาหารและร้านอาหารในโรงแรม (Dining& Hotel Dining) หมวดช้อปปิ้งออนไลน์ และหมวดท่องเที่ยว นอกจากนี้เคทีซียังคงเดินหน้าความร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจอื่นๆ ที่มีเป้าหมายทางธุรกิจเดียวกัน ในการทำกิจกรรมการตลาดที่ตอบโจทย์ทุกหมวดใช้จ่ายสำคัญของสมาชิก และเพื่อสร้างการจดจำและผูกพันกับแบรนด์

4) ร่วมมือกับพันธมิตรท้องถิ่นในการจัดแคมเปญการตลาด และกิจกรรมการขยายฐานสมาชิกบัตรในต่างจังหวัด

5) บริหารจัดการการสื่อสารการตลาด (Marketing Communications) ให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด โดยเน้นการทำคอนเทนต์มาร์เก็ตติ้ง (Content Marketing) ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อสร้างการรับรู้แบรนด์เคทีซีให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น

โดยในปี 2566 ตั้งเป้ามีสมาชิกสมัครบัตรใหม่ 180,000 ใบ และคาดว่าจะมียอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเติบโต 10% จากปี 2565 หรือประมาณ 264,000 ล้านบาท

สินเชื่อส่วนบุคคล

ในส่วนของธุรกิจสินเชื่อบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” (KTC PROUD) เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีการพัฒนาต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการใช้สินเชื่อได้ครบทุกฟังก์ชัน จนวันนี้บัตรใบเดียวก็สามารถทำได้ทั้งการเบิกใช้วงเงิน รูด โอน กด ผ่อน และแผนกลยุทธ์ในปี 2566 จะพัฒนาไปในทางออนไลน์มากขึ้น เพื่อตอบรับกับพฤติกรรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป

เริ่มที่การเปิดช่องทางให้ลูกค้าสามารถขอสินเชื่อออนไลน์ได้ด้วยตนเองผ่านโมบายแอปฯ ในรูปแบบของใบสมัครออนไลน์ (Electronic Application) และช่องทางการเบิกถอนเงินสดออนไลน์ผ่านทางแอปฯ KTC Mobile ให้สะดวกขึ้นโดยเพิ่มบัญชีพร้อมเพย์ในการโอนเงิน นอกเหนือจากที่โอนเงินเข้าบัญชีธนาคารได้ 15 แห่ง และเพิ่มช่องทางเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ต้องการใช้สินเชื่อด้วยต้นทุนรับสมัครที่ต่ำแต่ได้ผลดี

รวมทั้งเดินหน้าสร้างความผูกพันระหว่างเคทีซีกับกลุ่มสมาชิก ด้วยการต่อยอดกิจกรรมสัมมนาอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ และการส่งเสริมวินัยในการชำระ ผ่านโครงการเคลียร์หนี้เกลี้ยงซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้า เพราะเป็นความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า จากการศึกษาลูกค้าผ่านการทำ Empathy เราจึงจัดต่อเนื่องและจะครบ 14 ครั้ง ในปี 2566 และคาดว่าเมื่อสิ้นปี 2566 พอร์ตลูกหนี้สินเชื่อบุคคลจะเติบโต 7% และมีสมาชิกใหม่เคทีซี พราว 110,000 ราย

เคทีซี พี่เบิ้ม 

สำหรับแผนกลยุทธ์ของ “เคทีซี พี่เบิ้ม” ในปี 2566 จะเน้นขยายพอร์ตสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง ด้วยจุดแข็งของผลิตภัณฑ์ ทั้งการให้วงเงินใหญ่สูงสุด 1 ล้านบาท อนุมัติใน 1 ชั่วโมง รับเงินทันที และเปิดโอกาสให้ลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ที่มีข้อจำกัดด้านเอกสารและรายได้ สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้มากขึ้น โดยธนาคารกรุงไทยกว่า 900 สาขาทั่วประเทศ จะเป็นช่องทางหลักในการรับสมัคร ซึ่งได้ปรับรูปแบบบริการให้เจ้าหน้าที่ธนาคารฯ สามารถทำรายการผ่านแท็บเล็ตในการรับสมัครสินเชื่อให้กับลูกค้า และอนุมัติแบบครบวงจรภายใน 1 ชั่วโมง พร้อมรับเงินทันที

รวมทั้งจะเน้นการสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ผลิตภัณฑ์สินเชื่อ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” ผ่านช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ไปยังแพลตฟอร์มหลักต่างๆ เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในวงกว้าง โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่อยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัด  สำหรับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของเคทีซี พี่เบิ้ม ตามที่เราวางบทบาทเป็นสินเชื่อทางเลือกคนไม่ท้อ เราจึงเปิดรับทุกกลุ่มอาชีพ โดยเฉพาะคนทำมาหากินที่สู้ชีวิต และผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อก้อนใหญ่จากสถาบันการเงินอื่น โดยคาดว่าสิ้นปี 2566 จะมียอดอนุมัติสินเชื่อ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” เพิ่ม 9,100 ล้านบาท

เคทีซีจะมุ่งบริหารต้นทุนทางการเงินให้มีประสิทธิภาพ ภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้และเหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจโดยจะมีการระดมเงินกู้ยืมระยะยาวประมาณ 15,000 ล้านบาท เพื่อรองรับหุ้นกู้ที่จะครบกำหนดในปี 2566 จำนวน 4,640 ล้านบาท รวมทั้งสนับสนุนการเติบโตของพอร์ตสินเชื่อเคทีซี ทั้งนี้ คาดว่าเมื่อสิ้นปี 2566 เคทีซีจะมีสัดส่วนเงินกู้ยืมระยะสั้นต่อเงินกู้ยืมระยะยาว (Original Term) 20:80 และต้นทุนการเงินอาจเพิ่มขึ้นตามทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจากปี 2565 อยู่ที่ 2.5%-3.0%

]]>
1416828
กลยุทธ์ ‘กรุงศรี คอนซูมเมอร์’ เเข่งตลาดบัตรเครดิตดิจิทัล ลุยบริการ ‘ผ่อนก่อนจ่ายทีหลัง’ https://positioningmag.com/1377445 Tue, 15 Mar 2022 05:31:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1377445 เปิดกลยุทธ์ ‘กรุงศรี คอนซูมเมอร์’ ตั้งเป้ายอดใช้จ่ายผ่านบัตรทะลุ 3.12 แสนล้าน โตกว่า 10% ในปีนี้ ปั๊มลูกค้าบัตรใหม่เเตะ 5 เเสนราย ออกบริการใหม่ “ผ่อนก่อนจ่ายทีหลัง” เอาใจสายช้อป เดินหน้าลุยสินเชื่อบุคคลดิจิทัลหลังได้ใบอนุญาตใหม่ เปิดรับพันธมิตรที่หลากหลาย เข้ารุกเวียดนาม ขยายตลาดอาเซียน 

2564 ปีเเห่งรถไฟเหาะของธุรกิจ

ณญาณี เผือกขำ ประธานกรรมการ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ผู้ให้บริการด้านบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล อันประกอบไปด้วย บัตรเครดิตกรุงศรี, บัตรกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์, บัตรเครดิตเซ็นทรัลเดอะวันและบัตรเครดิตโลตัสเล่าถึงภาพรวมธุรกิจในปีที่ผ่านมาว่า เปรียบเสมือนการทำธุรกิจบนรถไฟเหาะ ที่สถานการณ์ปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ทำให้เเบรนด์ต้องเปลี่ยนเเปลงในทุกๆ ด้าน ปรับตัวให้เข้ากับชีวิตคนยุคใหม่

ผลประกอบการในปี 2564 ของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ถือว่าเติบโตเป็นที่น่าพอใจท่ามกลางความเสี่ยงของวิกฤตโควิดที่ยืดเยื้อกระทบเศรษฐกิจทั่วโลก โดยมียอดใช้จ่ายผ่านบัตร 2.85 แสนล้านบาท ยอดสินเชื่อใหม่ 7.65 หมื่นล้านบาท เเละยอดสินเชื่อคงค้าง 1.39 แสนล้านบาท

บริษัทได้มีบริหารเเละลดค่าใช้จ่ายต่างๆ พร้อมนำเทคโนโลยีมาเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ควบคู่กับการดูแลคุณภาพสินทรัพย์ ด้วยการบริหารความเสี่ยงอย่างรัดกุมและช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง

เหล่านี้ ทำให้อัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ NPL ของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ในไตรมาสที่ 4/2564 อยู่ที่ระดับ 1.1% สำหรับบัตรเครดิต และ 2.8% สำหรับสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อผ่อนชำระนับว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในธุรกิจ

เศรษฐกิจเริมฟื้น เเข่งขัน ‘บัตรเครดิตดิจิทัล’ มากขึ้น 

สำหรับทิศทางธุรกิจในปี 2565 พบว่า ในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ เริ่มมีสัญญาณฟื้นตัว หลังสถานการณ์เริ่มคลี่คลายเเละมีการกระจายวัคซีนเป็นวงกว้าง ข้อจำกัดการเดินทางลดลง ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรมีการเติบโตอยู่ที่ 12.3% เเละสินเชื่อส่วนบุคคลเติบโตมากว่า 8.3% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนให้เห็นเเนวโน้มเศรษฐกิจที่กระเตื้องขึ้น 

“เเม้เศรษฐกิจไทยจะชะลอลงบ้างจากการระบาดของโอมิครอนที่มีต่อเนื่อง รวมทั้งสภาวะเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ยังมีปัจจัยหนุนจากมาตรการพยุงกำลังซื้อประชาชน และกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ ส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้น”

ภาพรวมธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อในปีนี้ คาดว่าการแข่งขันจะสูงขึ้น เเละจะเห็นความร่วมมือระหว่างสถาบันการเงินกับธุรกิจต่างๆ เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์การเงินใหม่ๆ มากขึ้น และผู้ประกอบการมีแนวโน้มจะนำเอาระบบดิจิทัลและข้อมูล มาพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์บัตรเครดิตในรูปแบบดิจิทัล หรือการขอสินเชื่อแบบดิจิทัล เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคใหม่ที่เปิดรับเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม เเม้เศรษฐกิจจะดีขึ้นบ้างเเล้ว แต่กรุงศรี คอนซูมเมอร์ จะยังคงเกณฑ์การอนุมัติไว้ในระดับเดิม เนื่องจากสถานการณ์ยังไม่เข้าไปสู่ระดับก่อนโควิด และยังมีเหตุการณ์ใหม่ๆ เข้ามาอย่างต่อเนื่องอย่างความขัดแย้งรัสเซียและยูเครน เป็นต้น จึงยังคงต้องระมัดระวังอยู่

ใช้จ่ายช้อปออนไลน์ หมวดท่องเที่ยวคัมเเบ็ก 

หมวดใช้จ่ายผ่านบัตรสูงสุด 10 อันดับ เรียงตามยอดใช้จ่าย ได้เเก่

  • ประกันภัย
  • ช้อปปิ้งออนไลน์และกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์
  • ไฮเปอร์มาร์ทและซูเปอร์มาร์เก็ต
  • ตกแต่งบ้านและเครื่องใช้ในครัวเรือน
  • ปั๊มน้ำมัน
  • โรงพยาบาล
  • ห้างสรรพสินค้า
  • ไอทีเเละสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
  • เครื่องเเต่งกายเเละเครื่องประดับ
  • อาหารเเละเครื่องดื่ม

ส่วนหมวดใช้จ่ายที่มีอัตราเติบโตมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่

  • ช้อปปิ้งออนไลน์และกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (+55%)
  • ไอทีและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (+12%)
  • ปั๊มน้ำมัน (+11%)
  • ประกันภัย (+9%)
  • ตกแต่งบ้านและของใช้ในครัวเรือน (+8%)

ข้อมูลดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า ยอดการช้อปปิ้งผ่านออนไลน์แพลตฟอร์มยังคงเติบโตแบบก้าวกระโดด โดยเพิ่มสูงขึ้นถึง 55% เทียบกับปี 2563

“ยอดใช้จ่ายในห้างสรรพสินค้ายังคงทรงตัว แต่ที่น่าสนใจคือ ยอดใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์ของหมวดห้างสรรพสินค้าเติบโตถึง 62% แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการปรับตัวของทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการ ที่ให้ความสำคัญกับช่องทางออนไลน์มากขึ้น มีการปรับรูปแบบเป็นการขายของแบบออมนิแชนเนล คือ ทั้งออนไลน์และหน้าร้าน”

ทั้งนี้ การใช้จ่ายในหมวดการท่องเที่ยวในประเทศเริ่มกลับมาขยายตัวอีกครั้ง โดยเฉพาะการจ่ายเพื่อซื้อตั๋วเครื่องบินเพื่อท่องเที่ยวตามเมืองใหญ่ในช่วงเทศกาลต่างๆ

ชู 3 กลยุทธ์ปั้นธุรกิจให้โต double digit

กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ตั้งเป้ายอดใช้จ่ายผ่านบัตร ในปี 2565 อยู่ที่ 3.12 แสนล้านบาท จะเติบโตกว่า 10% เเละมียอดสินเชื่อใหม่ 8.46 หมื่นล้านบาท เติบโต 11% และมียอดสินเชื่อคงค้าง 1.49 แสนล้านบาท เติบโต 7% พร้อมปั้นยอดสมัครบัตรใหม่ที่ 5 แสนบัญชี จากปีก่อนซึ่งอยู่ที่ราว 3 แสนบัญชี

เพื่อให้ไปธุรกิจเป็นไปตามเป้าหมาย กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ได้วางกลยุทธ์ไว้อยู่ 3 เเนวทาง ได้เเก่

  • ใช้ระบบดิจิทัลและข้อมูลทำธุรกิจแห่งอนาคต

โดยจะมีการขยายแพลตฟอร์ม และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ผ่านช่องทางดิจิทัล เช่น บริการผ่อนก่อนจ่ายทีหลัง (BNPL-Buy Now Pay Later) ผ่านแอปฯ สินเชื่อบุคคลดิจิทัล การเปิดตัวบัตรเครดิตใหม่ๆ อย่าง บัตร XU digital Card หลังเปิดตัว ‘บัตร NOW’ บัตรเครดิตดิจิทัล เพื่อเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ไปเมื่อไม่นานมานี้ เเละได้รับเสียงตอบรับอย่างดี ซึ่งจะทยอยเปิดตัวภายในปีนี้

รวมถึงบริการใหม่ ๆ เช่น การปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล โดยกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ได้ใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจจากธนาคารแห่งประเทศไทย และคาดว่าจะเริ่มให้บริการในครึ่งปีหลังของปี 2565

พร้อมขยายจุดรับบริการยืนยันตัวตนในการสมัครบัตรในเครือกรุงศรี คอนซูมเมอร์ เเละพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ใน  UCHOOSE  เช่น บริการสมัครบัตรใหม่ผ่านแอปฯ บริการ UCASH บริการเบิกเงินสดจากวงเงินบัตรผ่านแอปฯ โดยโอนเข้าบัญชีธนาคาร ที่ปัจจุบันมียอดการใช้วงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท มียอดธุรกรรมกว่า 1.8 ล้านครั้งเเล้ว

นอกจากนี้ จะมุ่งเปิดบริการ ผ่อนก่อนจ่ายทีหลัง หรือ BNPL – Buy Now Pay Later ผ่านแอปฯ ซึ่งสามารถขอทำรายการผ่อนชำระสินค้าด้วยตนเอง รวมถึง การนำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกมาใช้ในการทำการตลาดเฉพาะบุคคล
นำเสนอผลิตภัณฑ์และโปรโมชันที่ตรงใจลูกค้ามากยิ่งขึ้น

  • Krungsri One Retail ลุยจับมือพันธมิตร 

ผสานความร่วมมือกับบริษัทในเครือกรุงศรี และพันธมิตรชั้นนำทางธุรกิจต่าง รวมทั้งการขยายธุรกิจสินเชื่อเพื่อรายย่อยสู่ภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะการทำงานแบบ Krungsri One Retail ซึ่งจะผสานความร่วมมือระหว่างหลายกลุ่มธุรกิจในเครือกรุงศรี

“จะมีปรับโมเดลธุรกิจเพื่อแสวงหาแหล่งรายได้ใหม่ๆ เช่น นำเสนอบริการ Call Center as a Service, Collection as a Service เพื่อให้บริการกับพันธมิตร รวมทั้งขยายธุรกิจสินเชื่อเพื่อรายย่อยสู่ภูมิภาคอาเซียน เช่น ลาว กัมพูชา ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม โดยประสานความร่วมมือกับบริษัทในเครือกรุงศรี ในภูมิภาค” 

  • พัฒนาศักยภาพองค์กร

ฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ก้าวทันโลกธุรกิจยุคใหม่ สร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานแบบยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพ เพื่อดึงดูดบุคลากรที่มีศักยภาพสูง ซึ่งจะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจสู่โลกการเงินแห่งอนาคต

วันนี้ธุรกิจเราต้องปรับตัวอยู่ตลอด การมีผู้เล่นใหม่ๆ เข้ามาในตลาด ถือว่าเป็นเรื่องดีที่จะทำให้เกิดการพัฒนา ไม่หยุดนิ่ง ต้องยกระดับการให้บริการมากขึ้น พร้อมเปิดรับพันธมิตรใหม่ๆ มาทำงานร่วมกันเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าให้ได้มากที่สุด

]]>
1377445
KTC กรุยเส้นทางใหม่ ปั้น MAAI By KTC รุกตลาด “ลอยัลตี้ แพลตฟอร์ม” ครบวงจร https://positioningmag.com/1370794 Tue, 18 Jan 2022 13:53:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1370794 เมื่อไวรัส COVID-19 อยู่กับเราเข้าสู่ปีที่ 3 ภาคธุรกิจมีการปรับตัว พลิกมุมคิดกันหลายตลบ เพื่อความอยู่รอด และรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยที่ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ดูจะมีความท้าทายรอบด้าน แต่ก็ยังมีการเติบโตท่ามกลางวิกฤต ทำให้ KTC มีการปรับตัวครั้งใหญ่ ชู 2 โปรดักต์ฮีโร่ “เคทีซี พี่เบิ้ม” และ “MAAI By KTC” หวังสร้างกำไรที่ยั่งยืน

เดินหน้าสร้างนิวไฮระลอกใหม่!

ในปี 2564 ที่ประเทศไทย และทั่วโลกต้องเจอกับความผันผวน ความไม่แน่นอนต่างๆ รอบตัว แต่ KTC ยังคงสร้างกำไรแบบนิวไฮได้ แต่ก็ต้องบอกว่ายังต้องเจอกับความท้าทายรอบด้าน พร้อมกับมาตรการด้านดอกเบี้ยจากทางภาครัฐ ทำให้ธุรกิจสินเชื่อ และบัตรเครดิตไม่สามารถขยายตัวได้เท่าที่ควร

ทำให้ KTC ต้องสร้างเส้นทางใหม่เพื่อสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนมากขึ้น หวังดันพอร์ตเกินแสนล้านบาท พร้อมกับสร้างกำไรนิวไฮอีกระลอก โดยพระเอกและนางเอกในปีนี้อยู่ที่ 2 โปรดักต์ ได้แก่ “เคทีซี พี่เบิ้ม” ธุรกิจสินเชื่อทะเบียนรถ และ “MAAI By KTC” ให้บริการด้านลอยัลตี้ แพลตฟอร์มแบบครบวงจร

ktc

ระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า

“หลังจากสถานการณ์ COVID-19 คลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น และมีการเปิดประเทศตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2564 เป็นต้นมา ส่งผลให้เศรษฐกิจ และการใช้จ่ายของผู้บริโภคมีแนวโน้มดีขึ้นตามลำดับ ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีกับตลาดสินเชื่อเพื่อผู้บริโภค และเป็นโอกาสที่จะผลักดันธุรกิจเคทีซีให้เติบโต และมีความเป็นไปได้ที่จะสร้างสถิติใหม่ของการทำกำไรสูงสุดมากกว่า 6,000 ล้านบาท กับพอร์ตสินเชื่อที่เกินแสนล้านบาท ด้วยสองโมเดลธุรกิจใหม่ที่เราตั้งใจสร้างขึ้นกับการออกเดินทางครั้งใหม่ เพื่อส่งความสุขเป็นของรับขวัญสมาชิกหลังผ่านความทุกข์จากวิกฤต รวมทั้งการเดินหน้าธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล เพื่อขยายฐานสมาชิกกลุ่มใหม่และดูแลคุณภาพพอร์ตลูกหนี้ตลอดจนคัดสรรสิทธิประโยชน์ที่ทรงคุณค่าตอบสนองทุกความต้องการของสมาชิกกว่า 3.3 ล้านบัญชี”

รู้จัก MAAI BY KTC ยูนิตที่คิดแบบสตาร์ทอัพ

ในปีนี้ KTC ได้ฤกษ์คลอดลูกสาวคนใหม่ได้แตกเป็นอีกหนึ่งธุรกิจภายใต้บัตรเครดิต ก็คือ MAAI BY KTC เป็นบริการลอยัลตี้ แพลตฟอร์มแบบครบวงจร เรียกว่าไม่ได้เป็นการหาลูกค้าในกลุ่มสินเชื่ออีกต่อไป แต่เป็นการหาลูกค้ากลุ่มองค์กร ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นพาร์ตเนอร์ของ KTC อยู่หรือไม่ ก็สามารถใช้บริการได้

ระเฑียรเล่าว่า การเปิดยูนิต MAAI BY KTC เหมือนเป็นการคิด การทำงานแบบ “สตาร์ทอัพ” เป็นครั้งแรก เพราะแต่เดิม KTC จะเป็นองค์กรที่ค่อนข้างจะ Conservative (อนุรักษนิยม) ไม่ค่อยลงทุนในสตาร์ทอัพ เพราะรู้สึกไม่คุ้มกับการเอาเงินไปเผา ถ้าในภาษาธุรกิจ เรียกง่ายๆ ว่า ในการจะออกโปรดักต์แต่ละครั้งต้องมีการวางแผน การคิดที่ถี่ถ้วน กว่าจะลงทุนในแต่ละครั้ง

ktc

แต่ MAAI BY KTC เป็นการคิดแบบสตาร์ทอัพ มีทีมแบบสตาร์ทอัพ ที่ปล่อยให้ทดลองตลาด ดูผลตอบรับ และขยายผลในอนาคต เพื่อเชื่อมต่อเป็นอีโคซิสเท็มของ KTC

ทางด้าน ประณยา นิถานานนท์ ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร – การตลาดบัตรเครดิต ผู้ดูแลโปรเจกต์ MAAI BY KTC เริ่มเล่าว่า

“เริ่มคิดโปรเจกต์นี้ได้ประมาณ 1 ปี คุณระเฑียรให้ไอเดียว่าลองคิดว่าจะ Diversify ธุรกิจอะไรได้บ้าง ลอยัลตี้มันมีโอกาสยังสามารถต่อยอดได้ เราเลยต่อยอดจากจุดแข็งที่เราทำคะแนนสะสม KTC FOREVER มา 25 ปี เราแข็งแกร่งในการทำระบบตรงนี้ จึงนำเสนอเป็นอีโคซิสเท็ม การบริหารจัดการข้อมูลลูกค้า การเก็บข้อมูล ระบบคะแนนสะสม การโอน แลกคะแนน ตั้งเป้าว่าปีนี้จะต้องมี 10 พันธมิตร และมีสมาชิก 1 ล้านราย”

MAAI BY KTC เป็นลอยัลตี้ แพลตฟอร์มแบบครบวงจร เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ให้บริการกับพันธมิตรมีโซลูชันส์ที่สำคัญ คือ

  1. ระบบบริหารจัดการสมาชิก (Membership Management)
  2. ระบบบริหารจัดการคะแนน (Point System Management) ไม่ว่าเป็นคะแนนของพันธมิตรเอง หรือจะใช้คะแนน MAAIPOINT ในการทำ Loyalty Program ก็ทำได้เช่นกัน โดยคะแนน MAAIPOINT นี้ สามารถใช้เป็นคะแนนกลางในการแลกเปลี่ยนกับคะแนนอื่นๆ ในกลุ่มพันธมิตรบน MAAI Platform ได้ด้วย
  3. ระบบบริหารจัดการสิทธิประโยชน์ในรูปแบบคูปองอิเล็กทรอนิกส์ (e-Coupon Management) เพื่อให้การแลกคะแนนมีความหลากหลาย ตรงใจกลุ่มลูกค้าสมาชิก ไม่ว่าจะแลกเป็นอีคูปอง (E-Coupon) หรือแลกสินค้าได้ที่ร้านค้าพันธมิตรทั่วไป ครอบคลุมทุกหมวดการใช้จ่าย อาทิ ร้านค้า โรงภาพยนตร์ ร้านอาหารและบริการเดลิเวอรี่

ktc

ที่มาของคำว่า MAAI (มาย) มาจากคำว่า MAK MAAI (มากมาย) หมายถึงสิทธิประโยชน์ที่มากมาย กับร้านค้าพันธมิตรที่มากมาย และความสะดวกในการใช้ที่มากมาย อีกทั้งยังพ้องเสียงกับคำว่า Mine ที่ต้องการสื่อถึงสิทธิประโยชน์ที่เป็นของผู้ใช้ และเพื่อผู้ใช้

ถ้าถามว่ามีความแตกต่างจาก KTC FOREVER อย่างไร KTC FOREVER เกิดจากการใช้บัตรเครดิตของ KTC อย่างเดียวเท่านั้น แต่ MAAI เป็นธุรกิจ B2B กลุ่มเป้าหมายแรกคือ กลุ่มพันธมิตรธุรกิจ

เริ่มเปิดทดลองระบบในเดือนมกราคม 2565 จะเปิดให้พนักงาน KTC ได้ทดลองใช้ในช่วงเริ่มต้นกับ 16 ร้านค้าและจะขยายพันธมิตรร้านค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้เริ่มใส่คะแนนในระบบ 300 ล้านคะแนน

“เคทีซี พี่เบิ้ม” กับเป้าหมายเบิ้มๆ

KTC ได้ปั้นเคทีซี พี่เบิ้มมาระยะหนึ่งแล้ว เป็นธุรกิจสินเชื่อที่มีหลักประกัน เป็นเซ็กเมนต์ที่มีการเติบโตสูง ที่ผ่านมา KTC ได้เร่งขยายฐานสมาชิกต่อเนื่อง เพื่อผลักดันให้พอร์ตโตแบบก้าวกระโดด และพร้อมตั้งเป้าสินเชื่อที่ 11,500 ล้านบาทในปี 2565

กลยุทธ์สำคัญเน้นการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในแต่ละพื้นที่แบบเชิงรุก ผ่านบริการพี่เบิ้ม เดลิเวอรี่ โดยใช้ทีมขายของ KTC ทั่วประเทศไปให้บริการสินเชื่อถึงบ้านของลูกค้า หรือสถานที่ที่ลูกค้าสะดวกด้วยความรวดเร็ว ผูกไปกับช่องทางของเครือข่ายธนาคารกรุงไทยทั่วประเทศกว่า 900 สาขา และกรุงไทยธุรกิจลีสซิ่ง (KTBL) 11 สาขา ซึ่งเป็นกลยุทธ์หลัก และจะเน้นสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ซึ่งลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเปิดรับเป็นหลัก

ktc

รวมทั้งสร้างผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นบัตรกดเงินสด “เคทีซี พี่เบิ้ม” เป็นครั้งแรกของสินเชื่อทะเบียนรถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์ในรูปแบบของบัตรกดเงินสด ที่ลูกค้าสามารถรูด-โอน-กด-ผ่อน ผ่านบัตรได้ทันที ครอบคลุมถึงธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ (Hire Purchase) ภายใต้ใบอนุญาตของกรุงไทยธุรกิจ ลีสซิ่ง ซึ่งเคทีซีถือหุ้นอยู่ 75.05%

พร้อมพัฒนากระบวนการทำงานด้วยหลักการของดิจิทัล ทวิน (Digital Twin) โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ในการสมัคร และอนุมัติสินเชื่อ เพื่อให้บริการมีความสะดวก รวดเร็วและปลอดภัยมากขึ้น นอกจากนี้ ยังเติมเต็มช่องว่างในตลาด ด้วยจุดแข็งที่แตกต่างจากผู้ประกอบการรายอื่น ด้วยวงเงินใหญ่ที่ขยายถึง 1 ล้านบาท อนุมัติใน 2 ชั่วโมง พร้อมรับเงินทันที รับทุกอาชีพและเอกสารง่าย ไม่ยุ่งยาก

ขยายบัตรเครดิตให้ตรงใจ

สำหรับธุรกิจบัตรเครดิต และสินเชื่อบุคคลในปี 2565 เน้นการเติบโตของพอร์ตลูกหนี้ที่มีคุณภาพดี ขยายกลุ่มเป้าหมายใหม่ ตลอดจนรักษาฐานสมาชิกปัจจุบันด้วยการสร้างประสบการณ์ที่ดีผ่านกิจกรรมส่งเสริมการตลาดที่ตรงใจผู้บริโภค โดยกลยุทธ์ธุรกิจบัตรเครดิต จะเน้นการขยายฐานบัตรร่วมกับพันธมิตรรายใหญ่ ทั้งการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ และพัฒนาปรับปรุง (Relaunch) บัตรเครดิตร่วม (Co-brand) ให้มีสิทธิประโยชน์ตรงใจและผูกสมาชิกกับบัตรในระยะยาวมากขึ้น

จะยังคงใช้คะแนน KTC FOREVER และการผ่อนชำระรายเดือนเป็นแรงขับเคลื่อนกิจกรรมการตลาด และในปี 2565 จะใช้ความแข็งแกร่งของเครือข่ายพันธมิตรขยายไปยังร้านค้ากลุ่มพรีเมียม และไลฟ์สไตล์มากขึ้น เพื่อตอบรับความต้องการของกลุ่มสมาชิกระดับบนที่มีอยู่ และดึงดูดกลุ่มเป้าหมายใหม่เพิ่มขึ้น

โดยคาดว่ายอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในปี 2565 จะเติบโต 10% จากปี 2564 หรือประมาณ 220,000 ล้านบาท

ktc

]]>
1370794