Daniela Cavallo ประธานสภาแรงงาน และกรรมการฝ่ายกำกับดูแลของบริษัทโฟล์คสวาเกน กล่าวว่า การปรับองค์กรในครั้งนี้หมายถึงการนําผลิตภัณฑ์ ปริมาณ กะงาน และไลน์ผลิตในส่วนงานการประกอบชิ้นส่วนทั้งหมดออกไปมากกว่าที่เคยปรับโครงสร้างองค์กรมา
เมื่อเดือนที่แล้ว บริษัทได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์ส่วนต่างของกำไรถึง 2 ครั้งในเวลาไม่ถึง 3 เดือน เนื่องจากผลการ ดําเนินงานที่ลดลงเกินกว่าที่คาดไว้จากแผนกรถยนต์ส่วนบุคคล และในเดือนกันยายน บริษัทฯ ได้แจ้งเตือนพนักงานเกี่ยวกับการปิดโรงงาน และการยกเลิกข้อตกลงแรงงานจํานวนมาก รวมถึงข้อตกลงกับพนักงานที่มีตําแหน่งผู้เชี่ยวชาญหรือตําแหน่งหัวหน้างาน คนงานชั่วคราว และพนักงานฝึกงาน
ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ให้การคุ้มครองแรงงานชาวเยอรมันมาตั้งแต่ปี 1994 ส่งผลให้พนักงานนับหมื่นคนตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะตกงาน โดยมาตรการลดรายจ่ายครั้งใหญ่นี้ เกิดขึ้นหลังจากที่การเจรจากับสหภาพแรงงานก่อนหน้านี้ไม่มีความคืบหน้า ทำให้ต้องมีการปรับองค์กรเพื่อให้บริษัทอยู่ในสถานะที่สามารถแข่งขันได้มากขึ้น ท่ามกลางการต่อต้านอย่างรุนแรงจากสภาโรงงานและสหภาพแรงงานชั้นนําของเยอรมัน
ด้าน Thomas Schäfer ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Volkswagen Passenger Cars ระบุเพิ่มเติมว่า โฟล์คสวาเกนมีแผนที่จะปิดโรงงาน 3 แห่งและลดขนาดโรงงานอื่นๆ ในเยอรมนี เนื่องจากธุรกิจไม่ได้รับรายได้เพียงพอจากการขายรถยนต์ ในขณะที่ต้นทุนพลังงาน วัสดุ และแรงงานเพิ่มขึ้น อีกทั้งโรงงานของเยอรมันมี ประสิทธิผลไม่เพียงพอและมีราคาแพงกว่า เมื่อเทียบกับเป้าหมายของโฟล์คสวาเกนและต้นทุนค่าใช้จ่ายของคู่แข่งที่ลดน้อยลง
นอกจากนั้นสภาโรงงานยังเผยว่า ฝ่ายบริหารของโฟล์คสวาเกนได้นําเสนอแผนหารืออย่างต่อเนื่อง เกี่ยวกับข้อตกลงแรงงานแยกออกมาเป็นอีกหนึ่งวาระการประชุม โดยการเจรจารอบต่อไปจะจัดขึ้นในวันพุธที่ 30 ต.ค. พร้อมกับกําหนดจะเผยแพร่ผลประกอบการรายไตรมาสล่าสุดของบริษัทฯ หลังจากที่เมื่อวันจันทร์ที่ 28 ต.ค. ที่ผ่านมา หุ้นของบริษัทปิดตลาดลดลง 0.46%
ทั้งนี้ บริษัทผู้ผลิตรถยนต์เยอรมันและยุโรปรายอื่น ๆ ก็กำลังเร่งปรับตัวเช่นเดียวกับ โฟล์คสวาเกน ที่กําลังดิ้นรนเอาตัวรอดท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) และเศรษฐกิจโลกที่อ่อนตัวลง
ที่มา : CNBC
]]>KKP Research โดยกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร เปิดเผยว่า ภาคอุตสาหกรรมไทยในปัจจุบันอยู่ในภาวะที่อ่อนแอ ซึ่งสะท้อนจากทั้งดัชนีการผลิตที่หดตัวลงติดต่อกันเกินกว่า 1 ปี ยอดปิดโรงงานที่เพิ่มขึ้น และหนี้เสียในภาคการผลิตที่กำลังเร่งตัว โดยจากการสำรวจผู้ผลิตในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในประเทศไทยเผยแพร่โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่า มีการหดตัวต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2565 จนถึงเดือน มี.ค. 2567 หรือต่อเนื่องกันกว่า 1 ปี 3 เดือน ซึ่งนับเป็นการ โตติดลบติดต่อกันที่ยาวนานมากที่สุด ครั้งหนึ่ง แม้ว่าวัฏจักรการค้าโลกจะเริ่มฟื้นตัวตั้งแต่ปลายปี 2566 แล้วก็ตาม
ข้อมูลการ ปิดโรงงาน ในภาคอุตสาหกรรมที่เร่งตัวขึ้นชัดเจนตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2566 โดยค่าเฉลี่ยการปิดโรงงานของไทยอยู่ที่ 57 โรงงานต่อเดือนในปี 2564 และ 83 โรงงานต่อเดือนในปี 2565 ในขณะที่พุ่งสูงขึ้นถึง 159 โรงงานต่อเดือน ในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 ส่งผลให้หากนับรวมตั้งแต่ต้นปี 2566 มาจนถึงไตรมาสแรกของปี 2567 มีโรงงานปิดตัวลงไปแล้วกว่า 1,700 แห่ง กระทบการจ้างงานกว่า 42,000 ตำแหน่ง
แม้ว่าในภาพรวมยอดเปิดโรงงานจะยังเยอะกว่ายอดปิดโรงงาน แต่ตัวเลขการ เปิดตัวโรงงานใหม่ที่ลดลงกว่าในอดีต ย้ำให้เห็นถึงสถานการณ์ในภาคอุตสาหกรรมไทยที่ไม่ดีนัก โดยยอดการเปิดโรงงานสุทธิ (จำนวนโรงงานเปิดหักลบด้วยโรงงานปิด) ในภาพรวมชะลอตัวลงอย่างมาก ลดลงเหลือเพียง 50 โรงงานต่อเดือน จากค่าเฉลี่ยที่เป็นบวกสุทธิประมาณ 150 โรงงานต่อเดือน
อุตสาหกรรมที่มีทิศทางน่ากังวลเนื่องจากมีการหดตัวของการผลิตและโรงงานปิดตัวเพิ่มขึ้นมาก คือ กลุ่มการผลิตเครื่องหนัง การผลิตยาง อุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมไม้ และการผลิตเครื่องจักร ในขณะที่โรงงานเปิดใหม่ส่วนใหญ่เป็นโรงงานขนาดเล็ก ส่วนการปิดตัวที่เกิดขึ้นจากโรงงานขนาดใหญ่เป็นหลักเป็นภาพสะท้อนว่าปัญหาการปิดตัวโรงงานเกิดจากปัจจัยเชิงโครงสร้างในภาพใหญ่ที่กระทบกับอุตสาหกรรมทั้งอุตสาหกรรม
ข้อมูลอีกหนึ่งชุดที่ตอกย้ำความน่ากังวลของสถานการณ์ในภาคอุตสาหกรรม คือ การเพิ่มขึ้นของหนี้เสียในภาคการผลิต ที่มีสัญญาณเร่งตัวขึ้นอย่างชัดเจนและสะท้อนปัญหาที่รุนแรงในภาคอุตสาหกรรมไทย มากกว่าเป็นการชะลอตัวชั่วคราว ซึ่งนำไปสู่ความจำเป็นต้องปิดโรงงานและกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้
ข้อมูลการเปิด-ปิดโรงงานของอุตสาหกรรมไทยในมุมมองของ KKP Research นับเป็นภาพสะท้อนและผลลัพธ์ของการสูญเสียความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทยที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งจะเป็นปัจจัยลบต่อเศรษฐกิจไทยในภาพรวมที่พึ่งพามูลค่าเพิ่มจากภาคอุตสาหกรรมกว่า 35% ของมูลค่าเศรษฐกิจ โดยตั้งแต่หลังช่วงโควิดมากลับกลายเป็นภาคบริการที่ขยายตัวได้ดี ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมหดตัวลงต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าข้อมูลเดือนล่าสุดของการผลิตภาคอุตสาหกรรมไทยกลับมาเป็นบวกในรอบมากกว่า 1 ปี และหลายฝ่ายยังหวังว่าจากภาวะเศรษฐกิจและการค้าโลกที่ปรับดีขึ้นจะกลับมาช่วยภาคอุตสาหกรรมไทยกลับมาขยายตัวได้ อย่างไรก็ตาม KKP Research กลับมีความกังวลเพิ่มขึ้นอย่างมากต่อสถานการณ์อุตสาหกรรมไทยในระยะยาว ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
ฮอนด้า ได้ปิดโรงงานผลิตรถยนต์ที่มีอายุกว่า 58 ปี ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองซายามะ จังหวัดไซตามะ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของโตเกียวเมื่อปลายปีที่แล้ว โดยโรงงานดังกล่าวถือเป็น 1 ใน 3 โรงงานผลิตรถยนต์ของบริษัทในญี่ปุ่น และถือเป็นโรงงานแม่ที่สามารถผลิตรถได้กว่า 2.5 แสนคัน/ปี นอกจากนี้ฮอนด้ายังได้ประกาศการลดต้นทุนอื่น ๆ ในปีที่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการยกเลิกการแข่งขันรถยนต์ฟอร์มูล่าวัน เป็นต้น
สาเหตุที่บริษัทต้องปิดโรงงานลงเพราะนโยบายในอนาคตที่จะมุ่งสู่รถยนต์ไฟฟ้า โดยบริษัทได้ประกาศเมื่อช่วงเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมาว่า รถยนต์ของฮอนด้าทุกรุ่นจะเป็นรถยนต์ไฟฟ้าภายในปี 2583 อย่างไรก็ตาม โรงงานดังกล่าวจะยังไม่ปิดตัวโดยสมบูรณ์ แต่จะทำหน้าที่ผลิตชิ้นส่วนก่อนจะปิดถาวรภายใน 2-3 ปี สำหรับพนักงานที่เหลือจะถูกโอนย้ายไปที่โรงงานอื่น ๆ ของบริษัท
ก่อนหน้าที่ฮอนด้าจะตัดสินใจปิดโรงงานดังกล่าว บริษัทมีกำลังการผลิตรถยนต์ในประเทศประมาณ 1 ล้านคัน/ปี จากโรงงานทั้งหมด 3 แห่งในญี่ปุ่น โดยตั้งอยู่ในเมืองซายามะ, โยริอิ และซูซูกะ
ด้าน ‘โตโยต้า’ (Toyota Motor) ค่ายรถยนต์อันดับ 1 ของโลกยังไม่มีแผนที่จะลดกำลังการผลิตในญี่ปุ่น ในเร็ว ๆ นี้ โดยยังคงตรึงกำลังการผลิตในประเทศที่ 3 ล้านคัน/ปี ส่วนด้าน ‘นิสสัน’ (Nissan Motor) ในญี่ปุ่นยังคงอยู่ที่ 1.34 ล้านคัน/ปี ตามข้อมูลของ Fourin บริษัทวิจัยที่เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมยานยนต์
สาเหตุที่กำลังผลิตรถยนต์ของฮอนด้ามีน้อยกว่าอีก 2 แบรนด์ เป็นเพราะฮอนด้ามีส่วนแบ่งยอดขายภายในประเทศน้อยกว่าเมื่อเทียบกับคู่แข่ง โดยในปีงบประมาณ 2561 ฮอนด้าขายรถยนต์ได้ 740,000 คันในญี่ปุ่น หรือ 14% ของยอดขายทั่วโลก ขณะที่โตโยต้าขายได้ 2.29 ล้านคัน คิดเป็น 22% ของยอดรวมทั่วโลก
ขณะที่ตลาดต่างประเทศ ฮอนด้าสามารถทำยอดขายได้ดีกว่า อย่างในตลาดสหรัฐฯ ฮอนด้ามียอดขายถึง 1.61 ล้านคัน หรือ 30% ของยอดขายโดยรวม และ 1.46 ล้านคันในจีน หรือ 28% ทำให้ฮอนด้าจึงเน้นไปที่การผลิตในต่างประเทศมากกว่า
ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่า กำลังการผลิตของฮอนด้าทั่วโลกสิ้นสุด ณ ปีงบประมาณ (เดือนมีนาคม) จะเหลือ 5.14 ล้านคัน ลดลงจาก 5.59 ล้านคันในปีก่อนหน้า
]]>Top Glove บริษัทยักษ์ถุงมือยางจากมาเลเซีย มีพนักงานรวมเกือบ 5,800 คน แต่หลังจากโรค COVID-19 ระบาดซ้ำในมาเลเซีย บริษัทตรวจพบว่าพนักงาน 2,453 คนติดเชื้อ
โรงงานและหอพักพนักงานของ Top Glove นั้นอยู่ในย่าน Meru ของมาเลเซีย ซึ่งเป็นศูนย์กลางการระบาดรอบใหม่เมื่อมีพนักงานติดเชื้อมากเกินครึ่ง ส่งผลให้บริษัทต้องปิดสายการผลิต 16 แห่งซึ่งอยู่ในย่านเสี่ยงสูงชั่วคราว ขณะที่อีก 12 แห่งเริ่มลดกำลังผลิตลง และบริษัทมีแผนจะปิดชั่วคราวโรงงานทั้ง 28 แห่งนี้ จากจำนวนโรงงานทั้งหมดที่มีในมาเลย์ 41 แห่ง เพื่อลดความเสี่ยงการแพร่กระจายโรคในหมู่พนักงาน
Top Glove กล่าวว่า บริษัทมีมาร์เก็ตแชร์ในตลาดถุงมือยางทั่วโลกถึง 26% เป็นตัวเลขที่ทำให้บริษัทเป็นเจ้าตลาดอันดับ 1 ผ่านการผลิตถุงมือยางปีละ 9 หมื่นล้านคู่ และมีโรงงานทั้งในมาเลย์ จีน ไทย และเวียดนาม
จนถึงปัจจุบัน จำนวนถุงมือยางในโลกก็ยังแทบไม่เพียงพอหลังจากเกิดโรคระบาด COVID-19 ขึ้น ดีมานด์การใช้งานในโลกพุ่งสูงจนการส่งออกของ Top Glove เติบโตถึง 48% และสมาคมผู้ผลิตถุงมือยางมาเลเซียเคยคาดการณ์ไว้ว่า สภาวะขาดแคลนถุงมือยาง รวมถึงชุด PPE จะเป็นเช่นนี้ไปจนถึงปี 2022 เลยทีเดียว
ดังนั้น การปิดโรงงานกว่าครึ่งหนึ่งของบริษัทรายใหญ่แห่งนี้อาจจะเป็น ‘ข่าวร้าย’ สำหรับคนทั่วโลก เพราะหากย้อนกลับไปในช่วงที่ COVID-19 เริ่มระบาดใหม่ๆ เมื่อบุคลากรการแพทย์ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันตนเองจากเชื้อไวรัส ก็จะทำให้บุคลากรด่านหน้าเหล่านี้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ และเมื่อติดเชื้อแล้วระบบสาธารณสุขก็จะขาดบุคลากรการแพทย์ไว้รับมือโรคในระยะต่อไป
อีกแง่มุมหนึ่งของเรื่องนี้ การติดเชื้อในหมู่พนักงาน Top Glove ทำให้ทั่วโลกหันมาสนใจความเป็นอยู่ของพนักงานโรงงานถุงมือยางมากขึ้น โดยส่วนใหญ่เป็นชาวเนปาล บังกลาเทศ และอื่นๆ ที่อพยพเข้ามาทำงานในมาเลย์ และเมื่อดีมานด์ถุงมือยางในโลกสูงขึ้นจาก COVID-19 พนักงานเหล่านี้จะต้องทำงานถึง 72 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (หรือเฉลี่ยมากกว่า 10 ชั่วโมงต่อวันโดยไม่มีวันหยุด) และนอนแออัดกันในหอพักคนงาน รวมถึงได้ค่าจ้างต่ำ
ก่อนหน้านี้ กรมศุลกากรและป้องกันชายแดน (CBP) ของสหรัฐอเมริกา เคยกักสินค้าจากบริษัทลูกของ Top Glove ไม่ให้เข้าประเทศมาแล้ว เพื่อเป็นการตอบโต้บริษัทที่ต้องสงสัยว่าใช้แรงงานบังคับ โดย Top Glove เป็นหนึ่งในบริษัทที่ถูกรายงานว่า มีการบังคับให้พนักงานจ่ายเงินเพื่อเข้าทำงานในโรงงานถุงมือยาง เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงานใช้หนี้และถูกผูกมัดไว้กับนายจ้าง
ขณะที่ ลิม วี ไช ผู้ก่อตั้ง Top Glove เป็นมหาเศรษฐีอันดับ 14 ของมาเลเซีย ประจำปี 2020 จัดอันดับโดยนิตยสาร Forbes เขามีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิถึง 4.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากราคาหุ้น Top Glove พุ่งทะยาน 280% ในรอบ 4 เดือน (เม.ย.-ก.ค. 63)
อย่างไรก็ตาม ข่าวปิดโรงงานทำให้หุ้นบริษัท Top Glove ตกลง 7.48% ในวันอังคารที่ 24 พ.ย. ที่ผ่านมา
]]>Nikkei Asian Review สื่อใหญ่ญี่ปุ่น รายงานว่า โรงงานของ Panasonic ในไทยเตรียมจะหยุดการผลิตเครื่องซักผ้าในเดือน ก.ย. และหยุดการผลิตตู้เย็นในเดือน ต.ค. ส่วนตัวอาคารโรงงานผลิตจะปิดตัวในเดือน มี.ค. ปี 2021 พร้อมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ใกล้เคียงก็จะปิดตัวลงด้วยเช่นกัน
ปัจจุบัน Panasonic มีพนักงานประมาณ 800 คนที่ทำงานที่โรงงานในกรุงเทพฯ มีความเสี่ยงที่จะเสียตำเเหน่งงานที่เคยทำอยู่เเต่จะได้รับการช่วยเหลือด้วยการหาตำแหน่งงานใหม่ภายในกลุ่มบริษัทให้
การตัดสินใจย้ายฐานการผลิตไปเวียดนามครั้งนี้ เนื่องจากโรงงานของ Panasonic ที่ตั้งอยู่นอกกรุงฮานอย เป็นศูนย์กลางการผลิตตู้เย็นและเครื่องซักผ้าที่ใหญ่ที่สุดของบริษัทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตอนนี้ก็ยังมีกำลังการผลิตส่วนเกินอยู่ ดังนั้นบริษัทจึงต้องการลดต้นทุนผ่านกระบวนการจัดหาจัดซื้อชิ้นส่วนประกอบที่ผนวกรวมของไทยเเละเวียดนามเข้าไปด้วยกัน
โดยโรงงานของ Panasonic ในเวียดนาม มีการจ้างงานราว 8,000 คน นอกจากจะเน้นผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่แล้ว ยังมีการผลิตสินค้าอย่าง ทีวี โทรศัพท์ไร้สาย เครื่องชำระเงินด้วยบัตร และอุปกรณ์เครื่องใช้ในอุตสาหกรรม เป็นต้น
Nikkei Asian Review มองว่าการย้ายฐานการผลิตดังกล่าว สะท้อนถึงบทใหม่ของอุตสาหกรรมภาคการผลิต
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเริ่มขึ้นตั้งเเต่ช่วงทศวรรษ 1970 เป็นต้นมาที่บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของญี่ปุ่นได้โยกย้ายฐานการผลิตในประเทศ ไปยังสิงคโปร์เเละมาเลเซีย เพื่อเลี่ยงผลกระทบจากค่าเงินเยนที่แข็งค่าขึ้น
เเละการผลิตในญี่ปุ่นก็ไม่สามารถเเข่งขันด้านราคาได้
หลังจากนั้นฐานการผลิตก็มีการโยกย้ายเข้าสู่ประเทศอื่นๆ ในอาเซียน เช่น ประเทศไทย เนื่องจากค่าจ้างเเรงงาน
ของสิงคโปร์เเพงขึ้นอย่างมาก โดย Panasonic เริ่มผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนขนาดใหญ่ในไทยมาตั้งแต่ปี 1979
เเละปัจจุบันบริษัทเหล่านี้ กำลังมองหาแหล่งผลิตใหม่ที่มีต้นทุนต่ำลงกว่านี้อีก ประกอบกับต้องการนำสินค้าประเภท
ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เตาไมโครเวฟ เข้าเจาะตลาดประเทศกำลังพัฒนาที่มีประชากรจำนวนมากในอาเซียน อย่าง อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เเละเวียดนาม ที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงเเละค่าเเรงต่ำ
ขณะเดียวกัน Panasonic กำลังอยู่ในระหว่างการปรับโครงสร้างองค์กร มีเป้าหมายพื่อลดค่าใช้จ่ายประมาณ 1 แสนล้านเยน (ราว 930 ล้านเหรียญสหรัฐ) หรือเกือบ 3 หมื่นล้านบาท ให้ได้ภายในปีการเงินที่จะสิ้นสุดในเดือน มี.ค. ปี 2022 โดยกำลังพิจารณาให้มีปรับเปลี่ยนเเละโยกย้ายฐานการผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่อไป
ที่มา : Panasonic to move appliance production from Thailand to Vietnam
]]>
ปี 2019 ถือเป็นปีที่ค่ายรถลุกขึ้นมาปฏิวัติตัวเองหลายด้าน เช่น การลงทุนในเทคโนโลยีเกิดใหม่อย่างรถยนต์ขับเคลื่อนตัวเองอิสระแบบไร้คนขับ และรถยนต์ไฟฟ้า ทั้งหมดถือเป็นความพยายามเพื่อรับมือกับตลาดในสภาพเศรษฐกิจชะลอตัว
ยอดขายรถยนต์ที่ถูกมองว่าชะลอตัวนั้น แม้ประเทศไทยจะมียอดขายปี 61 เพิ่มขึ้น 19.2% เป็น 1,039,158 คัน แต่ในตลาดโลก ยอดขายรถยนต์กลับลดลงเหลือ 80.6 ล้านคัน จากที่ยอดขายรถใหม่ปี 60 เคยอยู่ที่ 81.8 ล้านคัน ปี 60 นั้นถือเป็นปีแรกในรอบ 10 ปีที่ยอดขายรถใหม่โลกหกตัว (นับจากปี 2009) สำหรับปี 62 คาดว่ายอดขายรถใหม่จะหดตัวอีก 4% เหลือแค่ 77.5 ล้านคัน
ยอดขายรถใหม่ในปี 2020 จึงถูกมองว่าจะลดลงเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน ปัจจัยหลักของภาวะนี้คือความต้องการในตลาดจีนที่หดตัว ในปี 2020 มีแนวโน้มว่ายอดขายรถใหม่จะดิ่งลงมากกว่า 17 ล้านคัน เป็นตัวเลขประเมินการลดลงที่สูงที่สุดในรอบ 10 ปีนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินครั้งล่าสุด
แน่นอนว่าค่ายรถผู้ผลิตรถยนต์ได้เรียนรู้บทเรียนจากการถดถอยครั้งที่แล้ว ซึ่งนำไปสู่การล้มละลายของ GM ตามติดมาด้วยคิวถัดไปอย่าง Chrysler ในปี 2009 หลายค่ายใหญ่จึงไม่อายที่จะปรับโครงสร้างการดำเนินงานเชิงรุกในปีนี้ ทำให้มีผลกำไรที่แข็งแกร่งบนยอดขายที่ชะลอตัว
Michelle Krebs นักวิเคราะห์บริหารของ Cox Automotive กล่าวว่า อุตสาหกรรมรถยนต์กำลังเตรียมพร้อมรับมือวิกฤติ และทุกฝ่ายจดจำได้ดีถึงความผิดพลาดในอดีต เพื่อไม่ทำผิดพลาดแบบเดียวกัน หลายบริษัทจึงพยายามลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ในภาวะที่ผลประกอบการยังสวยงาม ถือเป็นจุดที่แตกต่างจากภาวะช่วง 10 ปีที่แล้ว
“ชิ้นพายในตลาดกำลังเล็กลง ค่ายรถจึงวางตัวเองให้พร้อมเพื่อรับมือกับทุกสถานการณ์ รวมถึงอนาคตใหม่ที่กำลังมา…ทุกคนอยู่ในเรือลำเดียวกันในแบบที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน”
ความเคลื่อนไหวที่เห็นได้ชัดคือ GM และ Ford ที่ประกาศเลิกจ้างงานหลายพันตำแหน่ง ขณะเดียวกันก็ปิดหรือประกาศแผนการปิดโรงงานประมาณ 12 แห่งทั่วโลก ในจำนวนนี้ 4 แห่งตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกา
Mary Barra CEO ของ GM เคยกล่าวเมื่อครั้งประกาศการปรับโครงสร้างบริษัทครั้งใหญ่ในเดือนพฤศจิกายน 2018 ว่า บริษัทกำลังดำเนินการเชิงรุกเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพธุรกิจหลักของ GM เพื่อป้องกันการชะลอตัวของบริษัท และสร้างมูลค่าให้ผู้ถือหุ้น การประกาศทำให้ GM ลดจำนวนพนักงานลง 14,000 คนในช่วงปีที่แล้วถึงปีนี้ และปิดโรงงาน 7 แห่งทั่วโลก ซึ่ง 5 แห่งตั้งในอเมริกาเหนือ เวลานั้นผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติดีทรอยต์คาดว่าโครงการนี้จะช่วยให้บริษัทลดต้นทุนได้สูงถึง 6 พันล้านดอลลาร์ต่อปี
Ford เดินหน้ารัดเข็มขัดในทางเดียวกัน ซึ่ง Jim Hackett ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Ford ย้ำว่าเพื่อให้ธุรกิจยังคง “มีชีวิตชีวา” อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่เริ่มเป็น CEO ให้ Ford ในปี 2560 หัวเรือใหญ่อย่าง Hackett ได้ใช้มาตรการประหยัดค่าใช้จ่ายทั่วโลก โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนการปรับโครงสร้างมูลค่า 11,000 ล้านดอลลาร์ที่จะขยายผลถึงช่วงต้นปี 2563
ในเดือนมิถุนายน Ford ประกาศว่าจะลดพนักงานรายชั่วโมงลง 12,000 งานในสายการผลิตที่ยุโรปภายในสิ้นปี 2563 การประกาศนี้เกิดขึ้นในช่วง 1 เดือนหลังจากที่ Ford ประกาศแผนลดพนักงานประจำประมาณ 7,000 ตำแหน่งทั่วโลก ซึ่ง 2,300 คนอยู่ในสหรัฐอเมริกา
ปีนี้ Ford กล่าวว่าจะปิดโรงงานผลิตเครื่องยนต์ในรัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา และเตรียมปิดตัวหรือขายโรงงาน 6 แห่งในยุโรป จากที่มี 24 แห่ง กลายเป็น Ford ที่ผู้บริหารมองว่าผอมกำลังดี และรักษาตัวในจุดยืนตำแหน่งที่ดีมาก
ยังไม่นับ Fiat Chrysler ที่เตรียมยุบรวมกับผู้ผลิตรถสัญชาติฝรั่งเศสอย่าง PSA Group และ Daimler ต้นสังกัด Mercedes-Benz ที่วางแผนลดพนักงาน 10,000 รายทั่วโลกในช่วง 3 ปีนับจากนี้ ยังมีแบรนด์ลูกของ Volkswagen อย่าง Audi ที่เตรียมหั่นทิ้ง 9,500 ตำแหน่งงานหรือ 10.6% ของพนักงานรวมให้ได้ในปี 2025
มองที่ฝั่งญี่ปุ่น Nissan Motor ยังมีแผนปรับโครงสร้างบริษัทครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 10 ปี โดยประกาศเมื่อ ก.ค. 62 ที่ผ่านมาว่าจะเลิกจ้างพนักงานมากกว่า 12,500 รายทั่วโลกภายในมีนาคม 2023 การประกาศนี้ตามหลัง Honda Motor ที่มีแผนปิดโรงงานที่ประเทศอังกฤษ จนคาดว่าจะมีพนักงานถูกลอยแพ 3,500 ตำแหน่ง
ถ้าค่ายรถไม่หน้าเขียว ก็คงเป็นพนักงานที่จะหน้าเขียวแทน.
]]>การประกาศแผนลดจำนวนพนักงานลง 13% ของ Kimberly-Clark ถือเป็นสัญญาณบอกความไม่ปกติของเศรษฐกิจโลก โดย Kimberly-Clark มีแบรนด์ดังในมืออย่างผ้าอ้อม Huggies และกระดาษทิชชู Kleenex จุดนี้ทำให้มีการวิเคราะห์ว่า การลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเป็นไปเพื่อกู้วิกฤติขาลงยอดขายของบริษัท
สำหรับแผนปิดหรือขายสายพานการผลิต 9 แห่งใน 91 โรงงานทั่วโลก Kimberly-Clark หวังว่าจะข่วยให้บริษัทสามารถตัดลดต้นทุนได้มากกว่า 2 พันล้านเหรียญฯ ภายใน 4 ปีนับจากนี้ จุดนี้มีรายละเอียดแจงว่าประมาณ 1.5 พันล้านเหรียญฯ จะมาจากการรัดเข็มขัดภายในธุรกิจ ขณะที่อีก 500 ล้านเหรียญฯ ถึง 550 ล้านเหรียญฯ จะมาจากความพยายามในการปรับปรุงการผลิตและห่วงโซ่อุปทานทั้งระบบ
หลายปีที่ผ่านมา Kimberly-Clark ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคนั้นพยายามต่อสู้เพื่อไม่ให้หุ้นของบริษัทตกต่ำ Kimberly-Clark ไม่ต่างจากบริษัทอื่นที่ต้องพยายามเติบโตเพื่อให้สอดคล้องกับความคาดหวังของนักลงทุน แต่ความพยายามนี้สำเร็จบ้าง ไม่สำเร็จบ้างเพราะการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการช้อปปิ้งของผู้บริโภต และความกดดันด้านการแข่งขันของวงการ
วิกฤติของ Kimberly-Clark เห็นได้ชัดจากส่วนแบ่งการตลาด วันนี้ผู้ค้าปลีกในสหรัฐฯ เช่น Target และ Costco ต้องดึงดูดผู้ซื้อด้วยการลดราคาสินค้าเพื่อจำหน่ายออนไลน์ ในขณะเดียวกันก็ต้องแข่งกับร้านค้าปลีกอื่นเช่น Walmart, Aldi และ Lidl ทั้งหมดนี้รู้จักกันดีเรื่องราคาสินค้าที่ต่ำกว่า และทุกคนยังคงต้องเปิดร้านใหม่และหาทางเพิ่มอิทธิพลของตัวเอง
ตัวอย่างเช่น Procter & Gamble คู่แข่งรายใหญ่ของ Kimberly-Clark ประกาศเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาว่าจะจัดโปรโมชันลดราคามีดโกน Gillette ทั้งหมดนี้ทำให้ฐานะเจ้าพ่อสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ที่สุดพีแอนด์จี ยิ่งแข็งแกร่งขึ้นและโกยส่วนแบ่งตลาดจากคู่แข่งไปได้มากขึ้นต่อเนื่อง
P&G มีหลายแบรนด์ที่แข่งขันกับ Kimberly-Clark โดยตรง โดยเฉพาะตลาดผ้าอ้อมที่แข่งขันรุนแรงในแทบทุกตลาดทั่วโลก ไม่พอ ทั้งคู่ยังได้รับความกดดันจากการที่ Amazon ตัดสินใจเปิดตัวธุรกิจผ้าอ้อมของตัวเอง จุดนี้ถือเป็นการบุกหนักตลาดผ้าอ้อมเด็ก ที่ผู้ซื้ออย่างพ่อแม่ผู้ปกครองต้องเติมเงินเพื่อซื้อเป็นประจำ และมีผู้ซื้อมากขึ้นต่อเนื่อง
รายงานเบื้องต้นระบุว่า Kimberly-Clark กำลังพิจารณาเรื่องการขายธุรกิจกระดาษทิชชูสำหรับผู้บริโภค เซกเมนต์นี้จะรวมแบรนด์กระดาษ Scott และแบรนด์อื่นซึ่งมีจำนวนรวมประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ของยอดขายรวมบริษัท
การตัดสินใจของ Kimberly-Clark เป็นไปในทางเดียวกับ Unilever และ Nestle ที่พยายามตัดธุรกิจที่ไม่โตตามเป้าหมายหรือ underperforming business ทิ้งไป จุดนี้ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Thomas Falk แสดงความเชื่อมั่นว่าการเปลี่ยนแปลงของบริษัทจะทำให้บริษัทมีผลกำไรที่ดีขึ้น และเพิ่มความยืดหยุ่นให้บริษัทสามารถลงทุนในธุรกิจอื่นที่มีการเติบโตมากกว่า แถมยังช่วยให้บริษัทแข่งขันกับคู่แข่งได้ดีขึ้น
หุ้นของ Kimberly-Clark เพิ่มขึ้นไม่ถึง 1% หลังประกาศ สำหรับช่วงไตรมาสที่ 4 ปีการเงิน 2017 Kimberly-Clark รายงานรายได้สุทธิที่ 1.75 เหรียญฯ ต่อหุ้น เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ 1.40 เหรียญฯ ในปีที่ผ่านมา โดยหลังจากหักรายการค่าใช้จ่ายทางบัญชี บริษัทมีรายได้ราว 1.57 เหรียญฯ ต่อหุ้น
ยอดขายสุทธิ Kimberly-Clark เพิ่มขึ้น 1% แตะที่ 4.6 พันล้านเหรียญฯ ในขณะที่ยอดขายในอเมริกาเหนือลดลง 2% ตัวเลขเหล่านี้ใกล้เคียงกับที่นักวิเคราะห์คาดว่า Kimberly-Clark จะทำได้ 1.54 เหรียญฯ ต่อหุ้น จากรายได้ 4.6 พันล้านเหรียญฯ ตามคาดการณ์ของ Thomson Reuters
สิ่งที่น่าสนใจจากตัวเลขผลประกอบการของ Kimberly-Clark คือราคาจำหน่ายสินค้าของบริษัท ลดลง 4% ผลจากการจัดโปรโมชันซึ่งมีความสำคัญมากขึ้นในสินค้าหลายประเภท ทั้งหมดนี้คาดว่ายอดขายสุทธิในปีนี้ 2018 จะเพิ่มขึ้น 1-2% เช่นเดิม
ที่มา : cnbc.com/2018/01/23/kimberly-clark-to-slash-5000-half-in-north-america-close-10-factories.html
]]>