ความสัมพันธ์ของ “มาซาโยชิ ซัน” ประธานเเละผู้ก่อตั้ง SoftBank กับ “เเจ็ค หม่า” นั้นถือว่าเเน่นเเฟ้นมาหลายสิบปี ด้วยการเป็นนายทุนใหญ่ที่ตัดสินใจลงทุนใน Alibaba เมื่อปี 2000 กลายเป็นหนึ่งในดีลที่ประสบความสำเร็จที่สุด
ในโลกธุรกิจ
โดยปัจจุบัน Alibaba เป็นหนึ่งในบริษัทรายใหญ่ ด้วยมูลค่าตลาด 5.46 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 17.5 ล้านล้านบาท) ซึ่งมี SoftBank ร่วมถือหุ้นอยู่ 25%
ก่อนหน้านี้ แจ็ค หม่า ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งในบอร์ดบริหารของ SoftBank Group เป็นระยะเวลา 13 ปีเต็ม
เเละกำลังจะพ้นตำเเหน่งอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 25 พ.ค.นี้เป็นต้นไป อย่างไรก็ตาม ทางบริษัทไม่ได้เปิดเผยสาเหตุการลาออกของเขา โดยปีที่ผ่านมาหม่าได้เกษียณตัวเองจากตำแหน่งประธานบริหารของ Alibaba เพื่อหันมาทำงานการกุศล
ด้าน SoftBank ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นดำรงตำแหน่งในบอร์ดบริหารของบริษัทเพิ่มอีก 3 คน
ได้เเก่ โยชิมิสึ โกโตะ รองประธานอาวุโสของบริษัทและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน SoftBank,
ลิปปู-ตัน ซีอีโอของ Cadence Design Systems และผู้ก่อตั้งบริษัท Walden International และ
ยูโกะ คาวาโมโตะ อาจารย์จาก Waseda Business School
นอกจากนี้ SoftBank ยังได้ประกาศแผนซื้อหุ้นคืนอีก 5 แสนล้านเยน (4.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ภายในเดือนมี.ค.ปีหน้า เพิ่มเติมจากแผนซื้อหุ้นคืนในวงเงิน 4.1 หมื่นล้านเหรียญที่เคยประกาศไว้เมื่อเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา
ขณะเดียวกัน SoftBank กำลังเผชิญภาวะขาดทุนครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของบริษัท สาเหตุหลักๆ มาจากการลงทุนอย่างหนักในธุรกิจสตาร์ทอัพทั่วโลก ซึ่งตอนนี้กำลังเดือดร้อนจากการเเพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 หนึ่งในนั้นคือ WeWork สตาร์ทดาวรุ่งผู้ให้บริการ Co-Working Space
ทั้งนี้ SoftBank Group เปิดเผยว่าบริษัทมียอดขาดทุนสุทธิในปีงบการเงิน 2019 อยู่ที่ 9.6158 แสนล้านเยน
(ราว 9 พันล้านเหรียญสหรัฐ) เป็นการขาดทุนครั้งแรกในรอบ 15 ปี สวนทางกับงบการเงินปี 2018 ที่บริษัทเคยมีกำไรสุทธิถึง 1.41 ล้านล้านเยน
ขณะที่บริษัทมียอดขาดทุนจากการดำเนินงานในปีงบการเงิน 2019 อยู่ที่ระดับ 1.36 ล้านล้านเยน ลดลงจากงบการเงินปี 2018 ที่บริษัทมีกำไรจากการดำเนินงาน 2.07 ล้านล้านเยนจากยอดขาย 6.19 ล้านล้านเยน โดยทาง SoftBank Group ไม่ได้เปิดเผยการคาดการณ์ผลประกอบการในปี 2020 เนื่องจากความไม่แน่นอนของสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจ
ที่มา : softbank , asia.nikkei , kyodonews
]]>แจ็ค หม่า ถือเป็นหน้าเป็นตาของอาลีบาบา แต่หากลองมองให้ลึกลงไปจะเห็นว่านอกจากเขาแล้วยังมีบุคคลสำคัญผู้ร่วมก่อตั้งอีก 17 คน ที่ร่วมเดินเคียงบ่าเคียงไหล่กับเขามาตั้งแต่ยุคแรกเริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2542 คำถามที่ตามมาหลังจากข้อมูลนี้ก็คือ แล้วพวกเขาคือใครกันบ้าง? เป็นเหตุให้ iPrice เริ่มศึกษาข้อมูลบุคคลที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของอาณาจักรอาลีบาบาถึง 18 คน (รวมแจ็ค หม่า) จากนั้นนำมาคิดวิเคราะห์เพื่อจัดทำเป็นอินโฟกราฟิกเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจแก่ผู้อ่าน
จากการศึกษาข้อมูลพบว่า มีข้อมูลเชิงลึกที่น่าสนใจเกี่ยวกับสายอาชีพของกลุ่มผู้ก่อตั้ง พวกเขาไม่ได้จบการศึกษาจากสาขาวิชาใกล้เคียงกัน เช่น การสื่อสารมวลชน, วาณิชธนกิจ (การธนาคารเพื่อการลงทุน), การพัฒนาเว็บไซต์, การศึกษาศาสตร์ และอีกหลากหลายสาขาวิชา
ความสัมพันธ์ระหว่างแจ็ค หม่า และผู้ก่อตั้งมาจากหลายช่องทางด้วยกัน อาทิ อดีตเพื่อนร่วมมหาวิทยาลัย, อดีตเพื่อนร่วมงาน, อดีตนักศึกษา (ช่วงที่เขาเป็นวิทยากร) และกลุ่มบุคคลผู้มีจิตศรัทธาต่อวิสัยทัศน์ของแจ็ค หม่า ในบรรดา 18 ผู้ก่อตั้งอาลีบาบานี้ มี 3 คู่ในกลุ่มสมาชิกที่น่าสนใจ คือ Jack Ma และ Cathy Zhang, Shi Yu Feng และ Jin Yuanying, Toto Sun และ Lucy Peng
ในบรรดาผู้ร่วมก่อตั้งทั้ง 18 รายนั้น มีผู้หญิง 6 คน ที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง เช่น Lucy Peng ที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นซีอีโอของ Lazada เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา นอกเหนือจากนี้ผู้ก่อตั้งเกือบทั้งหมดล้วนมีบทบาทสำคัญในการบริหารอาลีบาบากรุ๊ป และบริษัทในเครือ
อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อมูลเชิงลึกของผู้ร่วมก่อตั้งแต่ละคนที่น่าติดตาม เช่น ภูมิหลัง และความสัมพันธ์ของพวกเขากับแจ็ค หม่า เป็นต้น
Sources: