ผู้บริหารลาออก – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 02 Jun 2022 09:44:41 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “เชอรีล แซนด์เบิร์ก” ซีโอโอ Meta ประกาศ “ลาออก” หลังอยู่กับบริษัทมานานถึง 14 ปี https://positioningmag.com/1387503 Thu, 02 Jun 2022 05:30:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1387503 ถึงจุดอิ่มตัว… “เชอรีล แซนด์เบิร์ก” ซีโอโอ Meta Platforms Inc. บริษัทเจ้าของโซเชียลมีเดีย Facebook ประกาศการ “ลาออก” ของเธอ หลังจากอยู่กับบริษัทมานานถึง 14 ปี และนับได้ว่าเป็นมือขวาที่ร่วมกันสร้างบริษัทนี้กับ “มาร์ก ซักเกอร์เบิร์ก”

เชอรีล แซนด์เบิร์ก ประกาศการลาออกดังกล่าวผ่านทางโพสต์บน Facebook วันที่ 1 มิถุนายน 2022 หลังการประกาศลาออก ราคาหุ้นของ Meta ร่วงทันที 4% แต่หลังจากนั้นราคาหุ้นถือว่ายังทรงตัว

“เมื่อครั้งที่ฉันตอบรับทำงานนี้ในปี 2008 ฉันหวังว่าฉันจะได้อยู่ในตำแหน่งสัก 5 ปี แต่หลังจากนั้น 14 ปี ถึงเวลาแล้วที่ฉันจะต้องเขียนบทใหม่ในชีวิตของตัวเอง” แซนด์เบิร์กเขียนในโพสต์ลาออก

ฮาเวียร์ โอลิแวน ประธานเจ้าหน้าที่ด้านการเติบโต จะขึ้นมาเป็นประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการแทนเธอ อ้างอิงจากโพสต์ของมาร์ก ซักเกอร์เบิร์ก

โอลิแวนเองก็อยู่กับ Meta มานานมากกว่า 14 ปี และเป็นหัวหน้านำทีมที่ดูแลทั้ง Facebook, Instagram, WhatsApp และ Messenger

การลาออกของแซนด์เบิร์กนับได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนของยุคสมัยในบริษัท Meta เพราะบริษัทนี้กำลังเปลี่ยนทิศทางธุรกิจจากซอฟต์แวร์ไปเป็นฮาร์ดแวร์และ “เมตาเวิร์ส” มากขึ้น

 

มือขวาร่วมหัวจมท้ายกับซักเกอร์เบิร์ก

สำหรับประวัติของแซนด์เบิร์ก เธอจบจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ขณะที่ซักเกอร์เบิร์กในวัย 23 ปีมาชักชวนให้เธอเข้าร่วมงานนั้น เธอนั่งตำแหน่งรองประธานฝ่ายขายและปฏิบัติการออนไลน์ทั่วโลกของ Google อยู่ และอดีตเคยเป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ประจำกระทรวงการคลังในยุคประธานาธิบดี บิล คลินตัน

เชอรีล แซนด์เบิร์ก ลาออก
เชอรีล แซนด์เบิร์ก และ มาร์ก ซักเกอร์เบิร์ก เมื่อเดือนกรกฎาคม 2021 (Photo by Kevin Dietsch/Getty Images)

หลังจากเธอเป็นมือขวาของซักเกอร์เบิร์ก ในวันนั้น Facebook ยังทำรายได้เพียง 272 ล้านเหรียญสหรัฐ และขาดทุน 56 ล้านเหรียญ เธอใช้ประสบการณ์ด้านการบริหารและองค์ความรู้ด้านอุตสาหกรรมโฆษณาดิจิทัล มาช่วยปั้น Facebook จากสตาร์ทอัพสู่ยักษ์ใหญ่ที่ทำรายได้มหาศาล เมื่อปี 2021 บริษัท Meta ทำรายได้ 1.18 แสนล้านเหรียญสหรัฐ และทำกำไร 3.94 หมื่นล้านเหรียญ

ในระหว่างการทำงานของแซนด์เบิร์ก เธอถือเป็นศูนย์กลางข้อวิพากษ์วิจารณ์ใดๆ เกี่ยวกับ Facebook ร่วมกับซักเกอร์เบิร์ก โดยเธอเป็นคนออกหน้าในการต่อสู้คำวิจารณ์ว่าบริษัทกำลังเรียนรู้ข้อผิดพลาด และเครื่องมือของแพลตฟอร์มกำลังตรวจสอบคอนเทนต์อันตรายให้ดียิ่งขึ้น เมื่อปีก่อนนี้เอง เธอยอมรับกับ Reuters ว่าตัวเธอและซักเกอร์เบิร์กมีความรับผิดชอบในการแก้ไขระบบเหล่านี้

ข้อวิจารณ์และฟ้องร้องต่อ Facebook นั้นมากมาย ทั้งคดีความการอนุญาตให้ Cambridge Analytica นำข้อมูลชาวอเมริกันไปใช้เพื่อโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งในยุคที่โดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้ง และนักวิจัยพบว่า Facebook คือจุดรวมพลของผู้สนับสนุนทรัมป์ นัดแนะกันบุกรุก The Capitol หรืออาคารรัฐสภา

สนามบินโรนัลด์ เรแกน กรุงวอชิงตัน ดีซี มองเห็นวิวอาคารรัฐสภา (The Capitol) (Photo : Shutterstock)

จนถึงข้อกล่าวหาจากนักสิทธิมนุษยชน สหประชาชาติ (U.N.) ซึ่งพบว่า Facebook คือกุญแจสำคัญที่ช่วยเผยแพร่ข้อความแสดงความเกลียดชัง (hate speech) โหมไฟความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับชาวโรฮิงญาในเมียนมา ข้อครหาเหล่านี้แซนด์เบิร์กล้วนตกเป็นจำเลยหรือถูกเพ่งเล็งร่วมกันกับซักเกอร์เบิร์ก ในฐานะมือขวาวงในของการบริหาร

อย่างไรก็ตาม ในด้านบทบาทการบริหาร เมื่อปีก่อนนี้เธอปฏิเสธว่าตนเองไม่ได้ถูกลดบทบาทลงในบริษัท หลังจากมีข่าวว่าเธอถูกลดบทบาทเพราะความเป็น “ผู้หญิง”

ตัวแซนด์เบิร์กเองเป็น “ผู้บริหารหญิง” แนวหน้าของวงการเทคอเมริกัน โดยวางตัวเองเป็นเฟมินิสต์ในโลกเอกชนของสหรัฐฯ แม้ว่าเธอจะยังอยู่ในคณะกรรมการบริษัท Meta ต่อไป แต่เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงก้าวต่อไปของเธอ แซนด์เบิร์กระบุว่าเธอจะหันไปทำงานการกุศล เพราะนี่เป็น “ห้วงเวลาสำคัญยิ่งของผู้หญิง”

Source

]]>
1387503
ช่อง 3 ผู้บริหารลาออก รายที่ 4 ในรอบปี ท่ามกลางกระแสเลิกจ้างปรับโครงสร้าง https://positioningmag.com/1201122 Mon, 03 Dec 2018 23:08:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1201122 นับเป็นมรสุมต่อเนื่องสำหรับช่อง 3 เมื่อผู้บริหารระดับสูงของกลุ่มช่อง 3 ทยอยลาออก โดยวันที่ 30 พฤศจิกายน 2561 บริษัทบีอีซี เวิลด์ หรือกลุ่มช่อง 3 ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า อรนา ตั๋นเจริญ หัวหน้าคณะผู้บริหาร สายงานวิจัย หรือ Cheif Research Officer ได้ขอลาออกจากตำแหน่ง มีผลตั้งแต่ 30 พฤศจิกายนเป็นต้นมา

ตั้งแต่ต้นปีนี้เป็นต้นมา การลาออกของอรนา นับเป็นผู้บริหารคนที่ 4 จากกลุ่มผู้บริหารระดับสูงในกรุ๊ป Chief executives หรือ C Level ที่มีทั้งหมด 13 คน ได้หลุดจากตำแหน่ง โดยมีทีมาที่แตกต่างกัน ทั้งลาออกเอง หมดสัญญา และการลาออกด้วยเหตุผลส่วนตัว

เริ่มตั้งแต่ อาภัทรา ศฤงคารินกุล ลาออกจากตำแหน่ง Chief Technology and New Media Officer เมื่อ 1 กรกฎาคม 2561 ด้วยเหตุผลที่แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า ลาออกเนื่องจากครบสัญญา แต่มีการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาแทน ซึ่งเมื่อกลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา อาภัทราก็ลาออกจากตำแหน่งที่ปรึกษาไปอย่างเงียบๆ ไปเรียบร้อยแล้ว

ต่อมาวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา ภัทรศักดิ์ อุตตมะโยธิน Chief HR officer การลาออกด้วยเหตุผลส่วนตัว

ตามมาด้วย ธงชัย ชั้นเสวิกุล ลาออกเพราะหมดสัญญา เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน นอกจากนี้ยังมีมีตำแหน่งที่ปรึกษาอีกหลายราย ก็ทยอยหมดสัญญา ลาออกไปเพราะไม่มีการต่อสัญญาตามไปด้วยเช่นกัน

ทำให้ ณ ขณะนี้ ตำแหน่งผู้บริหารในกรุ๊ป C Level จากทั้งหมด 13 คนลดลงเหลือเพียง 9 คน ได้แก่ ประชุม มาลีนนท์ Chief Executive Officer, อัมพร มาลีนนท์ Cheif Operating Officer, พิริยดิส ชูพึ่งอาสน์ Chief Financial Officer, วรุณเทพ วัชราภรณ์ Chief Marketing Officer, รณพงษ์ คำนวณทิพย์ Chief Commercial Officer, ชาคริต ดิเรกวัฒนชัย Chief Corporate Affair Officer, นพดล เขมะโยธิน Chief Investment Officer, น้ำทิพย์ พรหมเชื้อ Chief Strategy Planning Officer และ สมรักษ์ ณรงค์วิชัย Chief Production Officer

ทั้งนี้ ไม่ได้มีการแต่งตั้งผู้บริหารใหม่เข้ามาในตำแหน่งที่ทั้ง 4 คนจากไป เพื่อเป็นการปูทางสู่การปรับโครงสร้างใหม่ของบริษัทครั้งใหญ่ในเร็วๆ นี้

โครงสร้างฝ่ายบริหารชุดปัจจุบันนี้ เป็นชุดที่อยู่ภายใต้การเข้ามาบริหารงานโดย ประชุม มาลีนนท์ น้องชายคนเล็กของตระกูล ที่ดึงเอา สมประสงค์ บุญยะชัย อดีตผู้บริหารจากกลุ่มเอไอเอส ที่ได้นำเอาผู้บริหารกลุ่มเอไอเอสตามมาด้วยหลายคน ที่หวังจะเข้ามาช่วยพลิกฟื้นรายได้และกำไรของกลุ่มช่อง 3 ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง

แต่ด้วยความแตกต่างของธุรกิจ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้รูปแบบโครงสร้างการบริหารงานขนาดใหญ่ในรูปแบบ กรุ๊ป C-Level ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร

ทำให้ช่อง 3 เตรียมปรับโครงสร้างบริษัทครั้งใหญ่อีกครั้ง พร้อมกับการแก้ปัญหาการลดค่าใช้จ่ายของบริษัทในทุกส่วน รวมถึงการปรับลดกำลังคน หลังจากผลประกอบการของกลุ่มช่อง 3 ลดลงต่อเนื่อง.

]]>
1201122
จับตาช่อง 3 จ่อปรับโครงสร้างอีกรอบ หลังผู้บริหารมืออาชีพทยอยลาออก https://positioningmag.com/1195579 Fri, 02 Nov 2018 11:45:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1195579 ดูท่าว่าความพยายามในการปรับโครงสร้างองค์กรด้วยการนำผู้บริหารภายนอกเข้ามาบริหารช่อง 3 มีแนวโน้มจะไปไม่รอด หลังจากที่ผู้บริหารที่เข้ามาเริ่มหมดสัญญาพ้นจากตำแหน่ง และทยอยลาออก โดยรายล่าสุด คือ ธงชัย ชั้นเสวิกุล ลาออกจากตำแหน่ง Chief Creative Officer

โดยเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน บริษัทบีอีซีเวิลด์ ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า นายธงชัย ชั้นเสวิกุล ลาออกจากตำแหน่ง Chief Creative Officer โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน เป็นต้นไป นับเป็นผู้บริหารระดับสูงในกรุ๊ป C ของช่อง 3 คนที่ 3 ที่หลุดจากตำแหน่งในปีนี้

เค้าลางการเปลี่ยนแปลงองค์กรเริ่มมาตั้งแต่ อาภัทรา ศฤงคารินกุล เป็นคนแรกที่ลาออกจากตำแหน่ง Chief Technology and New Media Officer เมื่อ 1 กรกฎาคม ด้วยเหตุผลที่แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า ลาออกเนื่องจากครบสัญญา แต่มีการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาแทน

ต่อมาวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา ภัทรศักดิ์ อุตตมะโยธิน Chief HR Officer ที่ได้รับตำแหน่งพร้อมกับอาภัทรา ลาออก แต่ครั้งนี้เป็นการลาออกด้วยเหตุผลส่วนตัว

ล่าสุดคือ ธงชัย ชั้นเสวิกุล ลาออกเพราะหมดสัญญา นอกจากนี้ยังมีรายงานว่ามีตำแหน่งที่ปรึกษาอีกหลายราย ก็ทยอยหมดสัญญา ลาออกไปเพราะไม่มีการต่อสัญญาตามไปด้วยเช่นกัน

ที่น่าสนใจคือ การลาออกจากตำแหน่งของทั้ง 3 คนในกรุ๊ป C ทั้งหมดนี้ ไม่มีการเสริมทัพหาผู้บริหารเข้ามาทำแทนในตำแหน่งเดิมแล้ว แต่อยู่ในตำแหน่งใหม่ เท่ากับว่าจำนวนผู้บริหารกรุ๊ป C ลดลงเหลือ 10 คน

หรือนี่จะเป็นการส่งสัญญาณว่า อาจจะมีผู้บริหารที่มาจากภายนอกทยอยหมดสัญญาตามออกมาเป็นระลอก และอาจจะมีการปรับโครงสร้างองค์กรใหม่อีกครั้ง หลังจากได้เรียนรู้แล้วว่าธุรกิจนี้จำเป็นต้องพึ่งพาคนในวงการเดียวกัน ที่มีความรู้ประสบการณ์มากกว่าบุคคลภายนอกแล้วก็เป็นได้

ที่มาของผู้บริหารมืออาชีพเหล่านี้ มาจาก ประชุม มาลีนนท์ “น้องชายคนเล็ก” ของตระกูล “มาลีนนท์” ได้ขึ้นมารับตำแหน่ง CEO เมื่อวันที่ 21 มี.ค. 60 ได้มีการปรับโครงสร้างบริหารงาน ด้วยการดึงมืออาชีพจากภายนอกเข้ามาร่วมงาน หรือเรียกว่า  กรุ๊ป C ซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริหารระดับสูง พร้อมๆ กับแต่งตั้ง อัมพร มาลีนนท์ เป็นหัวหน้าคณะผู้บริหารด้านปฏิบัติการ หรือ Chief Operating Officer

ต่อมาวันที่ 27 เมษายน 2560 บอร์ดบีอีซีได้แต่งตั้งให้ สมประสงค์ บุญยะชัย อดีต CEO บริษัท อินทัช ที่เข้ามาเป็นบอร์ดบริษัทตั้งแต่ 18 มกราคม 2560 ให้มาเป็นประธานคณะกรรมการบริหาร หรือ Chairman of Executive Committee พร้อมๆ กับตั้งผู้บริหารอีก 3 คนที่ล้วนแต่เคยทำงานกับสมประสงค์ที่กลุ่มอินทัชมาก่อน ได้แก่ อาภัทรา, ภัทรศักดิ์ และ นพดล เขมะโยธิน ในตำแหน่ง Chief Investment Officer

หลังจากนั้น โครงสร้างผู้บริหารในกรุ๊ป C ขยายมากขึ้นเรื่อยๆ โดยมีอดีตผู้บริหารจากอินทัชและบริษัทในเครืออินทัช อย่าง เอไอเอส เข้ามารับตำแหน่งอีก 2 คน ได้แก่ น้ำทิพย์ พรหมเชื้อ ในตำแหน่ง Chief Strategy Planning เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2560 และ วรุณเทพ วัชราภรณ์ ในตำแหน่ง Chief Marketing Officer ในวันที่ 24 สิงหาคม 2560

นอกจากผู้บริหารจากเอไอเอส และอินทัชแล้ว ช่อง 3 ยังได้ดึงมืออาชีพด้านต่างๆ เข้าร่วมงาน เช่น รณพงษ์ คำนวณทิพย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูนิเวอร์ซัล มิวสิค (ประเทศไทย) มารับตำแหน่ง Chief Commercial Officer, ชาคริต ดิเรกวัฒนชัย รองประธานกรรมการแผนกสื่อสารองค์กรและความยั่งยืน เทสโก้ โลตัส มารับตำแหน่ง Chief Coporate Affair Officer, อรนา ตั๋นเจริญ Chief Research Officer และ Chief Creative Officer ธงชัย ชั้นเสวิกุล ซึ่งผ่านงานในวงการโฆษณาและโทรทัศน์ มารับตำแหน่ง Chief Creative Officer และรายสุดท้ายคือ พิริยดิส ชูพึ่งอาสน์ ในตำแหน่ง CFO

ทั้งหมดนี้เป็นการปรับโครงสร้างองค์กรการทำงานในกลุ่มใหม่ทั้งหมด ภายใต้แนวคิดที่ต้องการฟื้นรายได้ของกลุ่มช่อง 3 ทั้งหมด ที่กำลังเผชิญหน้ากับการแข่งขันอย่างรุนแรงในวงการทีวี จึงจำเป็นต้องดึงผู้บริหารมืออาชีพเข้ามาช่วยฟื้นฟูธุรกิจ

อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารในกรุ๊ป C มีรวมทั้งหมดถึง 13 คน เป็นโครงสร้างองค์กรที่ใหญ่มาก เหมือนองค์กรขนาดใหญ่ มีผู้บริหารหลายระดับขั้น และตั้งที่ปรึกษาด้านต่างๆ อีกมากมาย แตกต่างจากธุรกิจเอนเตอร์เทนเมนต์ ที่ส่วนใหญ่เป็นรูปแบบองคาพยพสั้นๆ แบบขับเคลื่อนเร็ว

เมื่อมีผู้บริหารหลากหลาย ลำดับชั้นมาก การตัดสินใจทำได้ล่าช้า ที่สำคัญรายได้ของกลุ่มก็ยังลดลงเรื่อยๆ จนกระทั่งต้องขาดทุนมาตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ของปีที่แล้ว แม้ว่าละครบางเรื่อง บุพเพสันนิวาส” จะสร้างปรากฏการณ์ทำเรตติ้งสูงสุดของปี แต่ยอดขายโฆษณาก็ยังไม่เป็นไปตามเป้า จึงมีการตั้งคณะทำงานหารายได้ และลดค่าใช้จ่ายขององค์กรอย่างจริงจัง เช่น การประกาศนโยบายสมัครใจลาออกในช่วงเมษายน 2561 พร้อมๆ ไปกับการลาออกของผู้บริหารมืออาชีพเหล่านี้

แผนบริหารศิลปิน เงียบหายไปกับสายลม

ประชุม มาลีนนท์ ในฐานะหัวเรือใหญ่ ประกาศในช่วงที่เข้ามารับตำแหน่งไว้ว่า จะริเริ่มรูปแบบหารายได้จากการบริหารศิลปิน เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับช่อง จากเดิมที่ให้ดาราในสังกัดไปรับงานเอง เช่น พรีเซ็นเตอร์ ออกงานอีเวนต์ โดยช่องไม่มีรายได้ในส่วนนี้

แต่ทันทีที่ประกาศนโยบาย มีแรงกระเพื่อมในกลุ่มศิลปินดาราในสังกัด ที่ส่วนใหญ่จะมีผู้จัดการดาราใหญ่ๆ ดูแล ในที่สุดทำให้ไม่มีความคืบหน้า และค่อยๆ เงียบหายไปในที่สุด

ส่วนเรื่องขายคอนเทนต์ไปต่างประเทศนั้น ช่อง 3 ขายเองในกลุ่ม CLMV ย่านอาเซียน และจีน ที่มีรายงานยอดรายได้จากการขายคอนเทนต์ไปต่างประเทศที่ชัดเจนที่สุดคือในไตรมาส 2 จากละครเรื่อง “ลิขิตรัก The Crown Princess” ให้กับประเทศจีน เพียงเรื่องเดียวเท่านั้น ทำรายได้ 50.2 ล้านบาท ส่วนในประเทศอื่นๆ ทั่วโลกนั้น ช่อง 3 ตกลงให้กลุ่ม เจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย ของ “แอน จักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์ ไปเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

นับเป็นการส่งสัญญาณแล้วว่า ช่อง 3 อาจต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง.

]]>
1195579