พฤติกรรมของผู้บริโภค – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 05 Apr 2024 00:05:00 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ชำแหละพฤติกรรม ‘ผู้บริโภค’ ยุคตื่นจากฝันหันมา ‘พึ่งตัวเอง’ และรายได้ 2 ทางไม่พออีกต่อไป https://positioningmag.com/1469166 Thu, 04 Apr 2024 12:09:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1469166 จากการวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคประจำปี 2567 ภายใต้หัวข้อ “Consumers Untold” ที่เปิดเผยในงาน GroupM FOCAL 2024 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมผู้บริโภคในปี 2024 ที่จำเป็นต้องตื่นจากความฝัน หลังจากที่เริ่มมีหวังในปี 2023 

คุณหลอกดาว! ผู้บริโภคพึ่งได้แค่ตัวเอง

จากปี 2023 หลายคนมองว่าเป็นปีแห่งความหวัง เพราะมีการเลือกตั้ง ภาพของการท่องเที่ยวที่เริ่มฟื้น ทำให้คนคิดว่าปีนี้เศรษฐกิจต้องดีกว่าเดิม แต่กลายเป็นว่าทุกอย่างเป็นแค่ภาพลวงตาในปี 2024 เพราะผู้บริโภคมองว่า รัฐบาลใหม่พึ่งไม่ได้ ในส่วนของ นักท่องเที่ยวมาเยอะจริง แต่รายได้ไม่เพิ่ม สวนทางกับ ค่าครองชีพที่สูงขึ้น ทำให้  ผู้บริโภคต้อง พึ่งพาตัวเอง ใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด

“เขามองว่านักท่องเที่ยวมาเยอะจริง แต่เลือกไปแต่งานอีเวนต์ใหญ่ ๆ หรือจังหวัดใหญ่ ๆ ไม่ไปเมืองรอง และรัฐเขาก็พึ่งไม่ได้ ต้องหาเงินเองให้ได้มากที่สุด ต้องพึ่งพาตัวเอง เพราะเงินมีเท่าเดิม แต่ของแพงขึ้น” 

รายได้ 2 ทางไม่พอ ต้อง 3-4-5 ทาง

ภาพที่สะท้อนให้เห็นคือ คนมองว่า รายได้ทางที่ 2 ไม่เพียงพอ การใช้จ่ายเน้น ความคุ้มค่าที่สุด ดังนั้น จะใช้จ่ายแต่ละครั้งจะมีการ เปรียบเทียบ ทั้งการเปรียบเทียบระหว่างแพลตฟอร์มออนไลน์ และสินค้าหน้าร้าน เพื่อให้คุ้มราคามากที่สุด

การใช้จ่ายที่ลดลง ก็ส่งผลกระทบกับร้านโชห่วยเล็ก ๆ ที่เริ่ม ไม่ไม่สต็อกของเยอะ เพราะขายได้น้อยลง และจะเริ่มเห็น โปรโมชั่นแปลก ๆ ตามพฤติกรรมกลุ่มลูกค้าของร้าน เช่น การจับคู่สินค้าระหว่างขนมกับเครื่องดื่มชูกำลัง นอกจากนี้ ห้างท้องถิ่นจะรับบัตรประชารัฐมากขึ้น

บางชุมชนในต่างจังหวัด เริ่มหันมาผนึกกำลังกันเอง ทั้งขายของกันในชุมชน รวมถึงเริ่มทำกลุ่มออมทรัพย์ของตัวเอง ส่วนคนรุ่นใหม่เริ่มกลับบ้านเกิด ช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ในชุมชน

สายมูที่พึ่งยามยาก 

แต่นอกจากพึ่งพาตัวเองแล้ว อีกสิ่งที่พอจะพึ่งพาก็คือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือ สายมู เพื่อช่วยให้ความสบายใจ โดยคนไทยสามารถมูได้หมดไม่มีขีดจำกัด เช่น วัด, ตำหนัก แม้แต่มูออนไลน์ มูเลขมงคล, สีมงคล และนอกจากจะใช้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ การมูยังกลายเป็น ความเอนเตอร์เทน ได้ด้วย

แน่นอนว่าคนมูก็เพื่ออยากรวย ดังนั้น ต่อให้ไม่มีเงินแค่ไหน ลอตเตอรี่ ยังคงเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคซื้อ และเริ่มนิยมซื้อออนไลน์ เพราะว่าเลือกเลขที่ต้องการง่ายกว่า

คนไทยใช้เทคโนโลยีเก่งขึ้น

การ เสิร์ช ไม่จำกัดแค่ใช้ Google อีกต่อไป แต่ผู้บริโภคเริ่มเก่งในการ ตั้งคำถาม นอกจากนี้มีการใช้ ChatGPT ในการหาข้อมูลเพราะช่วยสรุปมาให้แล้ว ในขณะที่ คอนเทนต์ เริ่มไม่มีเส้นแบ่งระหว่างเอนเตอร์เทนเมนต์ ข่าว และสาระความรู้ 

“อย่างรายการโหนกระแส บางคนก็ดูเพื่อเสพข่าวสาร แต่บางคนดูเพื่อความบันเทิง”

อย่างไรก็ตาม ด้วยความเครียดจากเศษฐกิจ คอนเทนต์ เอนเตอร์เทนเมนต์ ยังคงเป็นคอนเทนต์ยอดนิยม โดยผู้บริโภคยัง นิยมดูคอนเทนต์ทีวี เพียงแต่ไม่ได้ดูผ่านทีวี แต่กระจายไปทุกแพลตฟอร์ม อาทิ YouTube, TikTok และ Netflix

“คอนเทนต์ที่ฉายทีวียังอยู่ แต่คนดูบนออนไลน์ แปลว่าคนยังตามคอนเทนต์อยู่ ดังนั้น ต้องวางแผนการตลาดให้ดี”

แพลตฟอร์มยอดนิยมของคนไทย

  • ข่าวสาร : Facebook, TikTok, YouTube, X (Twitter) 
  • การสื่อสาร : LINE, Messenger, Instagram
  • ความบันเทิง : TikTok, YouTube, Netflix, Pirate App
  • การเงิน : Krungthai, SCB, KBank, True Wallet, MyMo
  • ช้อปปิ้ง : Shopee, LAZADA, Facebook, Instagram, TikTok
  • บริการเดลิเวอรี่ : Grab, LINE MAN, 7-Eleven

แบรนด์จะทำอย่างไรกับผู้บริโภคปี 2024

  • เน้นการ ชนะใจ ไม่ใช่มุ่งไปที่ ยอดขาย มองการเติบโตอย่างยั่งยื่นไม่ใช่แค่เป้าระยะสั้น
  • Consumer Journey ผู้บริโภคมีความซับซ้อนขึ้น อย่ายึดติดกับการตลาดตามตำราเพื่อตอบโจทย์ลูกค้า
  • Data & Tech เป็นของล้ำค่า ต้องเรียนรู้ที่จะใช้เทคโนโลยีและข้อมูล ถ้าทำไม่ได้ให้หาตัวช่วย
  • ออฟไลน์ กับ ออนไลน์ แยกกันไม่ได้แล้ว เพราะทุกสื่อหลอมรวมกันหมดกัน
  • แบรนด์ดิ้ง ยังมีความสำคัญเสมอ เพราะจะช่วยสร้างการจดจำและความสำเร็จในระยะยาว
]]>
1469166
คนภาคตะวันออก “รัดเข็มขัด” หนักสุด! โควิดรอบสามกระทบ “ความต้องการซื้อ” https://positioningmag.com/1334935 Tue, 01 Jun 2021 12:43:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1334935 ฮาคูโฮโดสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภครอบเดือนมิถุนายน’64 พบว่า “ความต้องการซื้อ” สินค้าลดลง โดยกลุ่มที่รัดเข็มขัดมากขึ้นคือ “กลุ่มคนภาคตะวันออก” และ “คนวัย 30-39 ปี” สินค้าอาหารยังมีความต้องการสูงสุด เลี่ยงซื้อของชิ้นใหญ่ ยกเว้นมีประโยชน์กับอาชีพ

ชุติมา วิริยะมหากุล ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจ สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) เปิดเผยผลสำรวจทางออนไลน์ “การคาดการณ์พฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศไทย” ซึ่งเป็นการสำรวจทุกๆ 2 เดือน รอบเดือนมิถุนายน 2564 มีการสำรวจชายหญิงจำนวน 1,200 คนจาก 6 ภูมิภาคทั่วประเทศ พบข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้

1.แนวโน้มความต้องการใช้จ่ายลดลงอีกครั้ง – จาก 100 คะแนน ผู้บริโภคมีความต้องการซื้อเฉลี่ย 54 คะแนน ลดลงจากรอบสำรวจรอบก่อน (เดือนเม.ย.64) ที่อยู่ที่ 56 คะแนน ทั้งนี้ เพศชายมีความต้องการซื้อลดลงมากกว่าเพศหญิง

2.ซื้อของจำเป็น – อาหาร ยังเป็นสินค้าที่คนต้องการซื้อมากที่สุด รองลงมาคือของใช้จำเป็น, เครื่องดื่ม, เสื้อผ้า, ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม โดยกลุ่มบิวตี้นี้ยังมีความต้องการซื้อแม้คนออกนอกบ้านน้อยลง เพราะถือเป็นสิ่งที่ช่วยในด้านจิตใจ3.ซื้อของใหญ่น้อยลง ยกเว้นจำเป็น – ในแง่สินค้าที่มีแนวโน้มการซื้อลดลงคือ เสื้อผ้า, การทานอาหารนอกบ้าน, โทรศัพท์มือถือ, เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน, รองเท้า-กระเป๋า สำหรับสินค้าอย่างมือถือและเครื่องใช้ไฟฟ้า ผู้บริโภคซื้อน้อยลงเพราะมีราคาสูง ต้องการระวังการใช้จ่าย แต่กลุ่มคนที่ซื้อเพราะต้องการนำมาใช้ประกอบอาชีพ เช่น ขายของออนไลน์ ลงทุนหุ้น-บิทคอยน์

4.คนไทยคาดว่าจะมีความสุขลดลง – จากคะแนน 100 คะแนน คนไทยให้คะแนนความสุขขณะนี้ที่ 65 คะแนน แต่อีก 3 เดือนข้างหน้า มีกลุ่มที่มองว่าจะมีความสุขลดลงเป็นสัดส่วน 11% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการสำรวจรอบก่อน

5.คนภาคตะวันออกรัดเข็มขัดหนักสุด – เมื่อแบ่งตามภูมิภาค พบว่า กลุ่มที่มีความต้องการใช้จ่ายลดลงมากและต่ำกว่าค่าเฉลี่ยคือ ภาคตะวันออก ซึ่งมีคะแนนเพียง 51 คะแนน โดยกลุ่มที่สำรวจให้เหตุผลว่าเพราะตนซื้อของตุนไว้เผื่อฤดูท่องเที่ยวแล้ว ทำให้ไม่ต้องการซื้อเพิ่ม และโควิดระลอกสามทำให้ไม่ได้ออกไปไหน ต้องประหยัดมากขึ้น

6.คนวัย 30-39 ปีต้องการประหยัด – กลุ่มวัยที่มีความต้องการใช้จ่ายต่ำลงมากคือวัย 30-39 ปี และรองลงมาคือ 20-29 ปี เนื่องจากรายได้ในวัยนี้ยังไม่มั่นคง จึงมีความกังวลมากกว่า และปกติมักจะใช้จ่ายในการทานข้าวนอกบ้านกับการท่องเที่ยว แต่ขณะนี้ยังต้องหลีกเลี่ยง อย่างไรก็ตาม วัยที่คาดว่าจะใช้จ่ายมากขึ้นกลับเป็นวัย 40-49 ปี

7.ข่าวโควิดกลับมาแรง – จากการสำรวจรอบก่อนที่ข่าวโควิดแม้จะเป็นอันดับ 1 ที่ถูกพูดถึงแต่กระแสเริ่มซาลง มาเดือนนี้ข่าวโควิดกลับมาแรงอีกครั้ง รวมถึงเรื่องวัคซีนก็กลายเป็นข่าวเกี่ยวเนื่องที่คนสนใจมาก ขณะที่ข่าวการเมืองเริ่มซาลงไปแทน อย่างไรก็ตาม มีเทรนด์ข่าวที่คนยังสนใจต่อเนื่องจากรอบก่อนคือ “หุ้นและบิทคอยน์” ซึ่งน่าจะมาจากการหาทางใหม่ในการสร้างรายได้ยุคนี้

ย้อนอ่านผลสำรวจรอบก่อนจากฮาคูโฮโด คลิก >> https://positioningmag.com/1326150

]]>
1334935
ออนไลน์ไม่ใช่ทุกอย่าง! หากทดแทนสัมผัสจริงไม่ได้ ผู้บริโภคจะกลับสู่อีเวนต์ on ground https://positioningmag.com/1285864 Tue, 30 Jun 2020 13:43:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1285864 “เอ็นไวโร” วิจัยอินไซต์ผู้บริโภคช่วงเริ่มคลายล็อกดาวน์ พบว่ากิจกรรมบางส่วนจะกลับไปสู่วิถีชีวิตแบบเดิม เพราะการรับประสบการณ์ผ่านออนไลน์ยังทดแทน on ground ไม่ได้ แต่บางอย่างก็อาจจะถูกแทนที่ด้วยกิจกรรมออนไลน์อื่นๆ ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปถาวร พร้อมชี้แนวคิดผู้บริโภคยุคหลัง COVID-19 ใส่ใจสุขภาพและการเก็บออมสูงขึ้น แบรนด์ควรปรับวิธีสื่อสารใหม่ให้เข้ากับสถานการณ์

“สรินพร จิวานันต์” กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็นไวโร ประเทศไทย จำกัด บริษัทในเครือ อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ ผู้จัดงานอีเวนต์รายใหญ่ เปิดเผยรายงานการวิจัยผู้บริโภคซึ่งสำรวจเมื่อวันที่ 1-15 มิถุนายน 2563 ตั้งคำถามว่า New Normal ที่ทุกคนพูดถึงกันจะเป็นแฟชั่นหรือเกิดขึ้นถาวร?

โดยงานวิจัยมีการสำรวจกลุ่มประชากร 1,161 คน กระจายตัวจากทั่วประเทศ แบ่งกลุ่มเพศ 50% เพศหญิง และ 50% เพศชาย แบ่งช่วงอายุเป็นกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ 14% กลุ่มเจนเอ็กซ์ 48% เจนวาย 30% และเจนซี 8% สรุปผลงานวิจัยผู้บริโภคยุคหลัง COVID-19 ได้ดังนี้

 

ผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่แฮปปี้กับ “อีเวนต์ออนไลน์”

สิ่งหนึ่งที่ถูกพูดถึงในช่วงที่ผ่านมาคือ การจัดอีเวนต์คอนเสิร์ต สัมมนา อบรม การเรียน อาจจะปรับไปเป็นการจัดผ่านช่องทางออนไลน์แทน แต่จากการสำรวจครั้งนี้ เอ็นไวโรพบว่า มีผู้บริโภค 15% เท่านั้นที่เคยเข้าร่วมอีเวนต์ออนไลน์ และ 16% ที่เคยสมัครเรียนออนไลน์

และในกลุ่มที่เคยเข้าร่วมเหล่านี้ มีเพียง 12% ที่พึงพอใจ และ 15% ที่ตอบว่าอีเวนต์ออนไลน์สามารถทดแทนอีเวนต์แบบ onground ได้ ส่วนที่เหลือซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ ไม่พึงพอใจและไม่คิดว่าจะทดแทนได้

(ที่มา : เอ็นไวโร)

สรินพรกล่าวว่า สาเหตุที่ทดแทนไม่ได้เพราะอีเวนต์ออนไลน์ไม่ตอบโจทย์เรื่อง 5 senses หรือรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส การรับประสบการณ์จึงไม่เต็มที่อย่างที่ควรจะเป็น

ดังนั้นหากบริษัทหรือแบรนด์ไหนยังต้องการจะปรับไปทำอีเวนต์ออนไลน์ จึงไม่สามารถทำเพียงยกการจัดงานในรูปแบบเดิมมาถ่ายทอดผ่านหน้าจอ แต่ต้องมีอะไรใหม่ๆ ที่ทำให้งานออนไลน์แตกต่าง คนละรูปแบบกับการจัดงาน on ground ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าเป็นโลกอีกใบหนึ่ง (ทั้งนี้ มุมมองของ Virtual Solution บริษัทจัดอีเวนต์ออนไลน์มองว่า ในระยะยาวอีเวนต์ออนไลน์จะกลายเป็นรูปแบบหลักของการจัดงาน หรือเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ผสมผสานกับการจัดอีเวนต์ on ground สามารถติดตามอ่านได้ที่นี่)

 

ผู้บริโภคจะกลับไปอีเวนต์ on ground แต่ไม่ได้เกิดขึ้นทันที

อย่างไรก็ตาม แม้ผู้บริโภคจะไม่พึงพอใจงานอีเวนต์ออนไลน์ และยังต้องการกลับไปงาน on ground แต่ผู้บริโภคถึง 69% ยังคงกังวลกับสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา ดังนั้นผู้บริโภคจะตัดสินใจกลับไปทำกิจกรรม on ground ต่างๆ ในระยะเวลาที่แตกต่างกัน ดังนี้

  • 70% พร้อม “รับประทานอาหารนอกบ้าน” ทันที
  • 44% พร้อม “ท่องเที่ยวในประเทศ” ทันที
  • 36% พร้อม “เดินงานแฟร์” ภายใน 3-6 เดือน
  • 31% พร้อม “ร่วมกิจกรรมงานวิ่ง” ภายใน 3-6 เดือน
  • 58% ไม่พร้อม “ชมกีฬาในสนาม”
  • 59% ไม่พร้อม “ดูภาพยนตร์ในโรง”
  • 66% ไม่พร้อม “ไปเที่ยวผับบาร์”
  • 66% ไม่พร้อม “ชมคอนเสิร์ต”
  • 70% ไม่พร้อม “ท่องเที่ยวต่างประเทศ”
(ที่มา : เอ็นไวโร)

จะเห็นได้ว่า มีกิจกรรมที่สามารถกลับสู่วิถีชีวิตปกติได้เลยคือ การรับประทานอาหารนอกบ้านและการท่องเที่ยวในประเทศ และงานที่จะทยอยกลับมาเป็นปกติเร็วๆ นี้คือ งานแฟร์สินค้าต่างๆ และงานวิ่ง ส่วนที่เหลือนั้นผู้บริโภคยังไม่พร้อม

ทั้งนี้ สรินพรแนะนำว่าเนื่องจากผู้บริโภคยังกังวลเกี่ยวกับ COVID-19 ดังนั้นงาน on ground ที่จัดควรเป็นงานขนาดเล็กแต่จัดถี่ขึ้น

“ทุกคนในอุตสาหกรรมต้องร่วมมือกันในการปรับโมเดลธุรกิจใหม่ เพราะงานควรจะจัดเล็กลงแต่จัดถี่ขึ้น สถานที่จัดงานอาจจะต้องคำนึงถึงราคาที่เหมาะสมหรือเปลี่ยนมาเป็นโมเดล profit sharing หรือคิดแพ็กเกจใหม่ๆ” สรินพรกล่าว

 

ถ้ากิจกรรมออนไลน์ทดแทนได้ อาจเกิดขึ้นตลอดไป

อย่างไรก็ตาม กิจกรรมออนไลน์บางอย่างก็ทดแทนการไปทำกิจกรรมนอกบ้านได้เช่นกัน โดยอาจจะไม่ใช่การแทนกันโดยตรงก็ได้ แต่ทำให้ผู้บริโภคใช้เวลาทำอย่างอื่นแทนในช่วง COVID-19 จนกลายเป็นวิถีชีวิตใหม่ และละทิ้งการทำกิจกรรมแบบเก่าไป

ตัวอย่างเช่น เกมออนไลน์และการชมอี-สปอร์ตส กลายเป็นกิจกรรมมาแรง มีการดาวน์โหลดเกมใน Google Play Store เพิ่มขึ้น 25% หรือ Twitch มีผู้ชมเพิ่มขึ้นกว่า 30% ในเดือนมีนาคม ขณะที่ Netflix มียอดสมัครสมาชิกเพิ่ม 22% ในไตรมาสแรกของปีนี้ (ทั้งหมดเป็นข้อมูลรวมทั่วโลก)

นอกจากนี้ ยังมี “การช้อปปิ้งออนไลน์” ที่เพิ่มขึ้นทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นเดลิเวอรี่ ออนไลน์มาร์เก็ตเพลซ กลุ่มขายของบนโซเชียล รวมถึงทีวีไดเร็คด้วย สวนทางกับร้านค้าออฟไลน์ เช่น ซูเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์เก็ต ตลาด ร้านของชำ ร้านสะดวกซื้อ ที่ลดลงทั้งหมด

สรินพรมองว่า กิจกรรมเหล่านี้อาจจะทดแทนวิถีชีวิตแบบเก่าได้ถาวร เพราะผู้บริโภคเคยชินกับการทำสิ่งใหม่ไปแล้ว

“สตรีมมิ่งอาจจะกลายเป็นสิ่งทดแทนโรงภาพยนตร์ โดยเฉพาะกลุ่มเจนเอ็กซ์ถึงเบบี้บูมเมอร์ซึ่งติดบ้านมากขึ้น และสตรีมมิ่งแพลตฟอร์มเองก็ปรับตัวเพิ่มความเร็วในการนำหนังใหม่เข้ามาฉาย ดังนั้นโรงภาพยนตร์อาจจะต้องปรับตัวในการดึงดูดผู้บริโภคมาที่โรงด้วยมุมอื่นมากกว่าการดูหนัง เช่น มีกิจกรรมพิเศษ หรือปรับไปจัดอีเวนต์อื่นๆ เพิ่มที่เข้ากับผู้บริโภคยุคนี้ เช่น แข่งขันอี-สปอร์ตส” สรินพรกล่าว

 

“สุขภาพ” + “เก็บเงิน” = ผู้บริโภคสมถะและคิดเยอะขึ้น

เอ็นไวโรยังสำรวจแนวคิดของผู้บริโภค พบว่าหลัง COVID-19 “เป้าหมายในชีวิต” ของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ที่เห็นได้ชัดคือ ความต้องการ “รวย” และ “เที่ยวรอบโลก” ลดลงชัดเจน ขณะที่ความต้องการ “สุขภาพแข็งแรง” เพิ่มมากขึ้น

สิ่งนี้ส่งผลต่อการใช้เงิน โดยผู้บริโภคเพิ่มสัดส่วน “เงินเก็บ” และ “ค่าใช้จ่ายการรักษาตัว/ประกัน” มากขึ้น และไปลดการใช้จ่ายกับ “สินค้าฟุ่มเฟือย” และ “การท่องเที่ยว”

เป้าหมายชีวิตที่เปลี่ยนไปหลัง COVID-19 (ที่มา : เอ็นไวโร)

86% จากที่สำรวจยังบอกด้วยว่าตนเองดู “ความจำเป็น” ก่อนซื้อมากขึ้น และ 65% ดู “ประโยชน์ที่จะได้จากสินค้า” ก่อนซื้อ เห็นได้ว่าผู้บริโภคระมัดระวังการใช้เงิน และต้องการสิ่งที่แสดงฐานะลดน้อยลง

สรินพรกล่าวว่า ดังนั้นแบรนด์และสินค้าที่จะสื่อสารในยุคนี้ต้องเน้นไปที่ความจำเป็น ประโยชน์ใช้งาน มากกว่าการสื่อสารด้วยอารมณ์ โดยเฉพาะโปรโมชันลดราคาต่างๆ จะได้ผลมาก เพราะทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าคุ้มค่า ประหยัด และสินค้าที่เกี่ยวกับสุขภาพจะได้ปัจจัยบวก

 

“เจนวาย-เจนซี” มีแนวโน้มใช้จ่ายมากที่สุด

ทั้งนี้ ไม่ใช่ว่าธุรกิจที่มีแนวโน้มเชิงลบจะไม่มีโอกาสไปเสียหมด เพราะยังมีข้อยกเว้นเมื่อเจาะไปในกลุ่มช่วงวัยต่างๆ เช่น

  • การชมภาพยนตร์ กลุ่มเจนซี 83% และกลุ่มเจนวาย 49% พร้อมกลับไปทันทีหรือกลับไปภายใน 3-6 เดือน
  • เที่ยวผับบาร์ กลุ่มเจนซี 51% และกลุ่มเจนวาย 42% พร้อมจะกลับไปทันทีหรือกลับไปภายใน 3-6 เดือน
  • ชมกีฬา กลุ่มเจนซี 67% พร้อมจะกลับไปทันทีหรือกลับไปภายใน 3-6 เดือน
  • ชมคอนเสิร์ต กลุ่มเจนซี 44% และกลุ่มเจนวาย 49% พร้อมจะกลับไปทันทีหรือกลับไปภายใน 3-6 เดือน

เห็นได้ว่ากลุ่มเจนวายและเจนซีคือผู้บริโภคที่พร้อมจะกลับไปทำกิจกรรม on ground มากกว่ากลุ่มเจนเอ็กซ์และเบบี้บูมเมอร์ ดังนั้น สรินพรแนะนำว่าแบรนด์สินค้าหรือบริการอาจจะเน้นเจาะกลุ่มเป้าหมายนี้ในช่วงที่โรคระบาด COVID-19 ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน

]]>
1285864
ดิอาจิโอ : ในที่สุดแล้ว คนจะยังต้องการ “ประสบการณ์นอกบ้าน” เพื่อพบปะสังสรรค์กัน https://positioningmag.com/1285694 Tue, 30 Jun 2020 03:48:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1285694 “ดิอาจิโอ” บริษัทเจ้าของแบรนด์สุรานอก เช่น Johnnie Walker, Smirnoff, Hennessy ฯลฯ ลงทุนการตลาด 6 แสนบาทประเดิมคลายล็อกดาวน์ผับบาร์ มั่นใจผู้บริโภคยังต้องการ “ประสบการณ์” การดื่มนอกบ้าน โดยการท่องเที่ยวภายในประเทศจะเป็นปัจจัยบวก อย่างไรก็ตาม ด้วยความเข้มงวดการควบคุมการระบาดภายในผับบาร์ ธุรกิจกลุ่มนี้จะฟื้นตัวได้ช้ากว่าร้านอาหารทั่วไป

“อเล็กซานเดอร์ แคร์โรลล์” ผู้อำนวยการด้านผลิตภัณฑ์รีเสิร์ฟ บริษัท ดิอาจิโอ โมเอ็ท เฮนเนสซี่ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยถึงภาพรวมตั้งแต่เกิดสถานการณ์โรคระบาด COVID-19 ว่าเริ่มมีผลกระทบกับบริษัทตั้งแต่ปลายเดือนมกราคม โดยเริ่มจากธุรกิจการท่องเที่ยว ทำให้เกิดผลเป็นโดมิโนต่อร้านอาหารและผับบาร์ จนในที่สุด ร้านอาหารและผับบาร์ต้องปิดชั่วคราวเมื่อประเทศไทยมีมาตรการล็อกดาวน์ดังที่ทราบกันดี

อย่างไรก็ตาม หลังภาครัฐเริ่มผ่อนคลายล็อกดาวน์ ปัจจุบันร้านอาหารสามารถกลับมาจำหน่ายสุราได้แล้ว และร้านประเภทผับบาร์ได้รับอนุญาตให้กลับมาเปิดทำการในวันที่ 1 กรกฎาคมนี้ ทำให้บริษัทต้องการสนับสนุนเพื่อช่วยร้านค้าพันธมิตรผ่านแคมเปญ Welcome Back Offers เป็นโปรโมชันที่จัดผ่านร้านค้าพันธมิตร และแคมเปญที่่ช่วยสนับสนุนบาร์เทนเดอร์ ด้วยการจัดส่งผลิตภัณฑ์สุราให้กับบาร์เทนเดอร์ 100 คน รวมมูลค่าแคมเปญทั้งหมดนี้ประมาณ 6 แสนบาท

แบรนด์บางส่วนในพอร์ตของ ดิอาจิโอ โมเอ็ท เฮนเนสซี่ (ประเทศไทย)

นอกจากนี้ บริษัทยังจัดทำแผ่นพับคำแนะนำสำหรับร้านค้าเกี่ยวกับมาตรการรักษาความปลอดภัยในช่วง COVID-19 โดยเป็นไกด์ไลน์ที่เหมาะกับร้านที่ขายสุราโดยเฉพาะ เพราะจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับการเตรียมเครื่องดื่มที่บาร์ให้ปลอดภัย การจัดจุดสูบบุหรี่ การปรับมาตรการลานจอดรถ เป็นต้น

 

ผลกระทบหนักที่สุดอย่างน้อยในรอบทศวรรษ

อเล็กซานเดอร์กล่าวกับ Positioning ว่า ผลกระทบครั้งนี้หนักที่สุดอย่างน้อยในรอบสิบปีที่เขาอยู่กับบริษัทมา หนักมากกว่าช่วงโรคซาร์สระบาดมาก

แม้จะไม่สามารถเปิดเผยตัวเลขแน่ชัดได้ แต่เขากล่าวว่า ปกติยอดขายของดิอาจิโอ จะมาจากช่องทาง On Premise หรือกลุ่มร้านอาหาร ผับบาร์ ราว 40% ส่วนช่องทาง Off Premise คือซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้า ออนไลน์ มีสัดส่วนราว 60%

“อเล็กซานเดอร์ แคร์โรลล์” ผู้อำนวยการด้านผลิตภัณฑ์รีเสิร์ฟ บริษัท ดิอาจิโอ โมเอ็ท เฮนเนสซี่ (ประเทศไทย) จำกัด

ที่ผ่านมานับตั้งแต่เริ่มล็อกดาวน์ปิดร้านอาหารแบบนั่งทานจนถึงอนุญาตให้ขายสุราแบบนั่งทานภายในร้านอาหารได้ กินเวลายาวนานเกือบ 3 เดือน ในระหว่างนั้นยังมีช่วงที่ภาครัฐงดขายสุราทุกช่องทางในหลายจังหวัดนาน 10-20 วัน การปิดช่องทางขายเช่นนี้ก็พอจะบอกได้ว่า ยอดขายบริษัทเหล้าเบียร์ทุกแห่งจะหล่นไปมากขนาดไหน

ช่องทางที่พอจะดีขึ้นบ้างคือ การขายออนไลน์ โดยอเล็กซานเดอร์กล่าวว่า ช่วงที่ปิดร้านอาหารไป ทำให้ยอดขายออนไลน์เพิ่มขึ้นสูง โดยเฉพาะสุราที่ใช้ในการทำอาหาร เช่น Bailey’s ซึ่งสามารถปรับใช้กับการทำขนม ชงกาแฟได้

 

ร้านอาหารฟื้นแล้ว ผับบาร์ต้องใช้เวลา

มองไปในอนาคตว่าการฟื้นตัวจะกลับมาเป็นปกติเมื่อไหร่ อเล็กซานเดอร์ตอบว่า “บอกยาก” แต่ถ้ายกตัวอย่างในประเทศจีนซึ่งเริ่มคลายล็อกดาวน์ก่อนไทย จะเห็นได้ว่าร้านอาหารแบบ “ร้านนั่งชิล” กลับมาเป็นปกติแล้ว แต่ผับบาร์ยังต้องใช้เวลา

เขามองว่าในเมืองไทยน่าจะคล้ายกัน โดยร้านอาหารที่ขายสุราได้ บรรยากาศจะค่อนข้างคล้ายเดิม เพราะมีโต๊ะเก้าอี้ สามารถจัดระยะห่างได้ แต่สำหรับผับบาร์จะเปลี่ยนไปจากเดิมมากด้วยมาตรการที่เข้มงวด เช่น ต้องมีโต๊ะที่นั่งชัดเจน ห้ามลุกขึ้นเต้น ห้ามส่งเสียงร้องเพลง ห้ามย้ายโต๊ะไปรวมกลุ่มกับโต๊ะอื่น ซึ่งทำให้บรรยากาศไม่เหมือนเดิม จึงอาจจะต้องใช้เวลากว่าที่คนจะต้องการกลับมาเที่ยวอีกครั้ง

แต่ภาพรวมแล้วเขายังมองในแง่บวกว่าสถานการณ์หลังจากนี้จะดีขึ้น แต่แน่นอนว่ายังเป็นปีที่ยากลำบากอยู่

“ในที่สุดแล้ว คนเราต้องการประสบการณ์ การดื่มที่บ้านหรือดื่มผ่านออนไลน์ก็ไม่เหมือนกับการมาพบปะ มีปฏิสัมพันธ์กัน ดังนั้นเชื่อว่าผู้คนต้องการบรรยากาศเหล่านี้อย่างยิ่ง” อเล็กซานเดอร์กล่าว

เจน แก้วยอด บาร์เทนเดอร์จากร้าน Sorrento

เขาเสริมด้วยว่า คาดว่าการเปิดให้ท่องเที่ยวภายในประเทศได้ และมีการทำข้อตกลงให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาได้บางกลุ่ม (Travel Bubble) จะเป็นตัวช่วยสำคัญเช่นกัน เชื่อว่าการเดินทางไปจุดหมายปลายทาง เช่น ภูเก็ต เกาะสมุย นักท่องเที่ยวจะต้องการกินดื่มมากขึ้น

ด้าน “เจน แก้วยอด” บาร์เทนเดอร์จากร้าน Sorrento Sathorn ให้ข้อมูลว่าหลังร้านอาหารสามารถขายสุราได้ทำให้ลูกค้ากลับมาที่ร้านจนเกือบจะเป็นปกติแล้ว จากช่วงก่อนหน้านี้ที่ร้านเปิด 1 เดือนแรกยังค่อนข้างเงียบเหงา

สอดคล้องกับเทรนด์จาก Google Mobility Report รายงานเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 63 พบว่าการเดินทางไปยังสถานที่ในกลุ่มรีเทล เช่น ศูนย์การค้า ร้านอาหาร คาเฟ่ ฯลฯ อยู่ในระดับน้อยกว่าปกติก่อนสถานการณ์ COVID-19 เพียง 11% เท่านั้น เทียบกับช่วงต้นเดือนมิถุนายนซึ่งการเดินทางไปสถานที่เหล่านี้น้อยกว่าปกติราว 20%

อนาคตของธุรกิจสุรายังไม่แน่ชัด ต้องรอดูหลังการเปิดผับบาร์ในวันที่ 1 กรกฎาคมนี้ว่าผู้บริโภคจะให้การตอบรับแค่ไหนภายใต้กฎใหม่ รวมถึงต้องช่วยกันรักษาระเบียบเพื่อไม่ให้เกิดการระบาดรอบสอง ซึ่งจะทำให้ทุกอย่างกลับไปสู่จุดเริ่มต้นอีกครั้งด้วย

]]>
1285694
5 อินไซต์การตลาด 5.0 ยุคที่ต้องสร้างประสบการณ์ไร้รอยต่อ https://positioningmag.com/1205907 Mon, 31 Dec 2018 06:58:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1205907 ต้องยอมรับว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้นักการตลาดต้องเรียนรู้ให้ไว เพื่อรับมือให้ทัน

ถ้าย้อนเวลากลับไปจะพบว่า วันนี้การตลาดได้เข้าสู่ยุคที่ 5.0 แล้ว โดยยุค 1.0 คนส่วนใหญ่รับรู้ผ่านหนังสื่อพิมพ์และนิตยสาร ถัดมา 2.0 เริ่มไม่อยากอ่านเอง จึงให้ความสนใจกับวิทยุและโทรทัศน์ ยุค 3.0 เกิดขึ้นมาพร้อมกับการก่อตัวของยุคดิจิทัล จึงสนใจรับรู้ผ่านคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต หลังจากนั้นยุค 4.0 เริ่มให้ความสนใจกับสิ่งที่อยู่ในมือ ทั้งโทรศัพย์มือถือและโซเชียลมีเดีย

หลายคนยังเข้าใจว่า วันนี้พฤติกรรมของคนส่วนใหญ่ยังอยู่ในยุค 4.0 แต่แท้จริงแล้วปี 2018 เริ่มเห็นทิศทางเข้าสู่ยุค 5.0 ซึ่งเป็นยุคของการใช้สื่อและแพลตฟอร์มหลากหลาย (Omni-Channel) เพื่อสร้างประสบการณ์ไร้รอยต่อ (Customer Experience)

และนี่คือ 5 อินไซต์การตลาด 5.0 กรุงศรี ออโต้ได้เผย 5 อินไซต์ของคนซื้อรถที่จะเป็นหัวใจในการมัดใจลูกค้า และเป็นเทรนด์การตลาดสินเชื่อยานยนต์ที่น่าจับตา ซึ่งยังสามารถนำไปปรับกับผู้บริโภคกลุ่มอื่นๆ ได้เช่นกัน

1. ฉันมีภาพลักษณ์

ด้วยราคาหลักแสนไปจนถึงหลักล้าน หลายคนจึงมองว่าการตัดสินใจซื้อรถยนต์สักหนึ่งคัน ผู้บริโภคต้องใช้เหตุผลเป็นหลัก และอาจลืมไปว่ารถส่วนตัวไม่ได้เป็นแค่ยานพาหนะที่ช่วยให้เดินทางสะดวกสบายขึ้นเท่านั้น แต่ดีไซน์และรูปแบบของรถยังช่วยเสริมภาพลักษณ์ และสะท้อนตัวตนของผู้ขับขี่ได้ด้วย

เช่นดียวกัน ผู้ใช้บริการสินเชื่อยานยนต์ก็ไม่ได้มองหาแค่ แผนการผ่อนชำระที่ตอบโจทย์เท่านั้น แต่ยังมองหาบริการที่ช่วยลดความกังวล และเสริมความมั่นใจว่า สามารถครอบครองรถในฝันที่เข้ากับภาพลักษณ์ของตนเองได้

2. ฉันเลือกเอง

ยุคการตลาด 5.0 ถือเป็นยุคที่ผู้บริโภค มีอำนาจในการตัดสินใจมากขึ้นอย่างชัดเจน เพราะพวกเขาสามารถเข้าถึงข้อมูลมากมายได้ทุกที่ทุกเวลา และหลายครั้งก็ตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าก่อนจะได้เห็นของจริงด้วยซ้ำ

จากการสำรวจของ Bain & Company พบว่า ผู้บริโภคกว่า 60% หาข้อมูลเกี่ยวกับรถบนแพลตฟอร์มออนไลน์ และตัดสินใจเลือกแบรนด์ รุ่น ราคา ก่อนแวะไปโชว์รูม และแน่นอนว่า พวกเขาก็มีแนวโน้มที่จะเลือกผลิตภัณฑ์สินเชื่อยานยนต์ก่อนด้วยเช่นกัน

ดังนั้น บริการด้านสินเชื่อยานยนต์จึงต้องเข้าไปอยู่ในไลฟ์สไตล์ดิจิทัลของลูกค้า รวมถึงให้คำแนะนำที่เหมาะสม และให้ลูกค้าได้เลือกสิ่งที่เหมาะสมที่สุดด้วยตนเอง

3. ฉันจะไม่ทน

ในยุคที่สมาธิของผู้บริโภคลดเหลือเพียง 8.25 วินาที ระยะเวลาในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าต่างๆ จึงยิ่งหดสั้นลงตามไปด้วย ด้วยเหตุนี้ การเน้นให้ข้อมูลดอกเบี้ยและแผนการผ่อนชำระหลังลูกค้าตัดสินใจซื้อรถแล้วจึงอาจไม่เพียงพอ และเสี่ยงต่อการที่ลูกค้าจะเปลี่ยนใจไปเลือกแบรนด์อื่นได้

หากจะมัดใจลูกค้าในยุคการตลาด 5.0 ผู้ให้บริการสินเชื่อยานยนต์ต้องสร้างความผูกพันกับผู้บริโภคตั้งแต่ก่อนเริ่มกระบวนการซื้อรถ รวมถึงสร้างการจดจำ เพื่อให้พวกเขานึกถึงแบรนด์ทุกครั้งที่กำลังมองหารถคันใหม่

4. ฉันมีหลายร่าง

ด้วยโอกาสทางธุรกิจที่เปิดกว้างและไลฟ์สไตล์ที่หลากหลาย ผู้บริโภคในยุคการตลาด 5.0 จึงมีโจทย์ในชีวิตได้มากกว่าหนึ่ง นั่นหมายความว่าเกณฑ์การแบ่งกลุ่มลูกค้าแบบเดิมอาจไม่สามารถเข้าถึงตัวตนแท้จริงของลูกค้าได้อีกต่อไป

ตัวอย่างเช่น สาวออฟฟิศอาจไม่ได้ต้องการใช้สินเชื่อเพื่อคนมีรถ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องในชีวิตประจำวันเสมอไป แต่อาจกำลังมองหาเงินทุนเพื่อขยายกิจการส่วนตัว ดังนั้น คำถามสำคัญที่ผู้ให้บริการสินเชื่อยานยนต์ต้องตอบให้ได้ก็คือ จะหาข้อมูลจากแหล่งใดเพื่อรู้จักลูกค้าให้ชัด และจะนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้อย่างไร เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบรับกับมิติการใช้ชีวิตที่หลากหลายขึ้นได้

5. ไม่ว่าทางไหน ฉันต้องได้มา

แม้ผู้บริโภคในยุคการตลาด 5.0 จะเสพข้อมูลข่าวสารผ่านโซเชียลมีเดียเป็นหลัก แต่ช่องทางออฟไลน์ยังมีความจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประสบการณ์การซื้อรถ ลูกค้าอาจเริ่มจากการหาข้อมูล อ่านรีวิว เปรียบเทียบราคา และหาข้อมูลสินเชื่อผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์

แต่พวกเขาก็ยังคงต้องเดินเข้าโชว์รูมเพื่อทดลองขับ และพูดคุยกับที่ปรึกษาทางการเงินก่อนยื่นเอกสาร ผู้ให้บริการสินเชื่อยานยนต์จึงต้องมีบริการครอบคลุมทั้งช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ รวมทั้งเชื่อมข้อมูลระหว่างกัน เพื่อให้สามารถมอบประสบการณ์ไร้รอยต่อให้กับลูกค้าได้อย่างแท้จริง

ทีนี้เมื่อได้อินไซต์มาแล้ว ก็ขึ้นอยู่กับว่าแบรนด์จะนำไปปรับใช้ได้มากน้อยแค่ไหน แม้ว่าข้อมูลทั้งหมดอาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ทำ แต่อย่างน้อยการเข้าใจผู้บริโภค ก็ทำให้เราก้าวนำคู่แข่งไปหนึ่งก้าวแล้ว.

]]>
1205907