ภาพยนตร์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 28 May 2024 08:07:23 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 CEO ของ Sony เผยทิศทางบริษัทเน้นธุรกิจความบันเทิงเป็นหลัก ไม่เน้นธุรกิจผลิตสินค้าประเภทอุปกรณ์แบบเดิมๆ อีกต่อไป https://positioningmag.com/1475333 Tue, 28 May 2024 07:47:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1475333 CEO ของ ‘โซนี่’ ได้ประกาศถึงทิศทางของบริษัทหลังจากนี้โดยจะเน้นไปยังธุรกิจด้านความบันเทิงเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็น เพลง ภาพยนตร์ อนิเมะ รวมถึงทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันธุรกิจข้างต้นสร้างรายได้ให้บริษัทมากกว่า 60% ของรายได้รวมบริษัทในปีล่าสุด

ในอดีตเราอาจเคยได้ยินชื่อสินค้าของ Sony หลากหลายชนิด อย่างไรก็ดีในช่วงเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา บริษัทได้ปรับเปลี่ยนธุรกิจมาเน้นความบันเทิงมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ขณะเดียวกันผู้บริหารสูงสุดของบริษัทญี่ปุ่นรายนี้ก็ได้ยืนยันทิศทางของบริษัทว่าจะยังเดินหน้าในเรื่องของความบันเทิงต่อ

Kenichiro Yoshida ซึ่งเป็น CEO ของ Sony ได้ประกาศถึงทิศทางบริษัทในอนาคตว่าจะเน้นไปยังอุตสาหกรรมที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์เป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมบันเทิง ไม่ว่าจะเป็น เกม ภาพยนตร์ เพลง อนิเมะ หรือแม้แต่ทรัพย์สินทางปัญญหาที่เกี่ยวข้อง มากกว่าที่จะเน้นไปยังการผลิตอุปกรณ์แบบเดิมๆ

CEO ของ Sony กล่าวว่า บริษัทกำลังกำลังช่วยเหลือพนักงานในการสร้างสรรค์ เพื่อที่จะนำเสนอสิ่งที่เขาเรียกว่า “Kando” ซึ่งมาจากคำศัพท์ญี่ปุ่นที่แปลว่าประสบการณ์ที่น่าประทับใจ มากกว่าการผลิตสินค้าหรืออุปกรณ์แบบเดิมๆ เช่น เครื่องเล่นเพลง Walkman หรือแม้แต่โทรทัศน์

เขายังมองว่าการทำงานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์กับความบันเทิงไม่ได้เกิดขึ้นต่อไปแล้ว แต่มองว่าเกิดจากทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น เกม ภาพยนตร์ เพลง หรือแม้แต่ อนิเมะ และบริษัทจะสนับสนุนในเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ของพนักงาน

นอกจากนี้เขาเองยังกล่าวว่าบริษัทมีแผนที่จะส่งออกอนิเมะญี่ปุ่นไปยังต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น และเขากล่าวว่าบริษัทต้องการที่จะมีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมนี้ด้วยเช่นกัน

ในส่วนสินค้าที่บริษัทจะโฟกัสไปยังการผลิตนั้นมีเพียงเซ็นเซอร์รับภาพ ซึ่งชิ้นส่วนดังกล่าวนั้น Sony เป็นผู้นำในตลาด และผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือหลายรายได้ใช้ชิ้นส่วนของบริษัทอยู่ และมองว่าการโฟกัสไปยังชิ้นส่วนดังกล่าวสอดคล้องกับกลยุทธ์ของบริษัท เนื่องจากเซ็นเซอร์รับภาพเป็นอุปกรณ์สำคัญเกี่ยวกับความบันเทิง

ปัจจุบัน Sony มีสัดส่วนรายได้จากธุรกิจเกมมากถึง 30% ธุรกิจเพลงราวๆ 12% ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความบันเทิงเช่น ภาพยนตร์ 21% ซึ่งจะเห็นว่าสัดส่วนใน 3 ธุรกิจนั้นเกี่ยวข้องกับความบันเทิงสร้างรายได้ให้กับยักษ์ใหญ่จากญี่ปุ่นรายนี้มากกว่า 60% ด้วยซ้ำ

Sony ได้พบกับอุปสรรคทางธุรกิจหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีราคาถูกลง ขณะเดียวกันในอดีตบริษัทเคยถูกมองว่าลงทุนในสิ่งที่อาจไม่สร้างผลกำไร ไม่ว่าจะเป็น การลงทุนในค่ายหนัง ค่ายเพลง หรือแม้แต่ธุรกิจเกม ซึ่งปัจจุบันรายได้ในส่วนดังกล่าวนั้นทำให้บริษัทอยู่รอดจนถึงทุกวันนี้

CEO ของ Sony ยังได้กล่าวทิ้งท้ายว่า “เพื่อให้บริษัทเติบโตและสร้างมูลค่าในระยะยาว เรายังต้องพัฒนาความหลากหลายของธุรกิจและบุคลากรของเราต่อไป”

ที่มา – Sony, ABC, Kyodo News

]]>
1475333
สะเทือนวงการ! ‘นักแสดงฮอลลีวูด’ กว่า 1.6 แสนคน หยุดงานประท้วงในรอบ 60 ปี คาดยืดเยื้อถึงสิ้นปี https://positioningmag.com/1437784 Fri, 14 Jul 2023 04:45:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1437784 ย้อนไปปี 2523 เคยมีเหตุการณ์ที่ นักแสดงฮอลลีวูดหยุดงานประท้วง 60 ปีผ่านไป เกิดการหยุดงานประท้วงอีกครั้ง ตามรอยการหยุดงานประท้วงของ นักเขียนบท เนื่องจากไม่สามารถเจรจากับสตูดิโอยักษ์ใหญ่และบริการสตรีมมิ่งได้

นักแสดงฮอลลีวูด ประมาณ 160,000 คน ที่อยู่ในสหภาพแรงงาน SAG-AFTRA ได้ประท้วง นัดหยุดงาน ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในรอบ 60 ปี ที่สมาชิกของสมาคมหยุดงานผลิตภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์ประท้วงหยุดงานนับตั้งแต่ปี 2523 โดยมีสาเหตุมาจาก 4 ปัญหาหลัก

  • ความเท่าเทียมกันทางรายได้
  • ค่าตอบแทนจากการนำผลงานไปใช้ซ้ำ (residual)
  • การกำกับดูแลการใช้ปัญญาประดิษฐ์
  • ลดภาระของนักแสดงที่ต้องอัดเทปส่งไปออดิชั่นเอง

SAG-AFTRA ระบุว่า สัญญาปัจจุบันนั้นถือว่าล้าหลังเมื่อเทียบกับวิวัฒนาการของธุรกิจสื่อ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนตอนของซีรีส์ที่ลดลง, การเว้นช่วงระหว่างซีซั่นที่นานขึ้น, การมาของสตรีมมิ่งที่ทำให้คอนเทนต์ถูกฉายซ้ำ ๆ ขณะที่ส่วนแบ่งรายได้ของนักแสดงจะได้เพิ่มจากยอดขาย โฆษณา กับยอดขาย DVD ดังนั้น สมาคมจึงต้องการเรียกร้องให้เพิ่มค่าตอบแทน และสวัสดิการณ์อื่น ๆ เช่น สิทธิด้านสุขภาพ, แผนเงินบำนาญหลังเกษียณ

โดย SAG-AFTRA ประเมินว่า สมาชิกกว่าครึ่ง จากทั้งหมด 171,000 คน เคยไม่ได้รับเงินจากการแสดงเลยในบางปี และมีเพียง 5-15% เท่านั้นที่มีรายได้มากพอ ทำประกันสุขภาพ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 26,470 ดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ การต้องอัดเทปส่งไปออดิชั่นเองก็ต้องใช้เงินสูงถึงประมาณ 250 ดอลลาร์ เลยทีเดียว

อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 ฝ่ายเจรจากันไม่ลงตัวในหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการเรียกร้อง ค่าตอบแทนที่เหมาะสม โดย Fran Drescher ประธานสหภาพแรงงาน SAG-AFTRA กล่าวว่า ข้อเสนอของผู้บริหารสตูดิโอนั้น ดูหมิ่นและไม่สุภาพ ขณะที่ ตัวแทนฝ่ายสตูดิโอ ก็กล่าวหาว่า ฝ่ายสหภาพเดินออกจากการเจรจา แม้ว่าพวกเขาเสนอ เพิ่มผลตอบแทนครั้งประวัติศาสตร์ รวมถึงสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ให้แล้ว

“แทนที่จะเจรจากันต่อไป SAG-AFTRA ทำให้เราอยู่ในทางที่จะสร้างผลกระทบทางการเงินให้กับคนในอุตสาหกรรมภาพยนตร์อีกหลายพันคนทำ” แถลงจาก Alliance of Motion Picture and Television Producers (AMPTP)

ไม่ใช่แค่เหล่าสมาชิก SAG-AFTRA ที่หยุดงานประท้วง แต่ช่วง 2 เดือนก่อนหน้านี้เหล่า นักเขียนบท ที่อยู่ใน  สมาคมนักเขียนแห่งอเมริกากว่า 11,000 คน ซึ่งการนัดหยุดงานดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบต่อการผลิตภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์ต้องชะงักตัวลง โดยเฉพาะในส่วนของสตูดิโอใหญ่ และยังไม่มีความคืบหน้าที่ชัดเจนในการยุติการประท้วงดังกล่าว แต่มีการประมาณการว่า การหยุดงานประท้วงของนักแสดงและนักเขียนบท อาจยืดเยื้อไปตลอดไปจนถึง สิ้นปี

Source

]]>
1437784
นักวิเคราะห์คาด ‘Spider-Man: No Way Home’ ว่าที่ภาพยนตร์ ‘พันล้าน’ เรื่องแรกในยุคโควิด https://positioningmag.com/1368481 Thu, 23 Dec 2021 06:05:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1368481 ย้อนไปปี 2019 อุตสาหกรรมภาพยนตร์แทบจะเป็นอุตสาหกรรมที่รุ่งเรืองสุดขีด เพราะมีภาพยนตร์ที่ทำรายได้ทะลุ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐถึง 8 เรื่อง และอันดับ 1 ที่ทำเงินสูงสุดอย่าง Avengers: End Game ทำรายได้ทะลุ 2.7 พันล้านเหรียญฯ ขึ้นแท่นภาพยนตร์ที่รายได้สูงสุดตลอดกาล แต่มาปี 2020 ที่เกิดการระบาดของ COVID-19 อุตสาหกรรมก็เปลี่ยนไป

เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ทำให้หลายคนต้องใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านมากขึ้น หนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบอย่างมากก็คือ โรงภาพยนตร์ ทั่วโลกที่ต้องปิดตัวเกือบครึ่งปี ขณะที่ภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์หลายเรื่องก็ต้องเลื่อนฉายไป หรือไม่ก็ลงใน Streaming แทน

โดยในปี 2019 ภาพรวมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ทั่วโลกทำรายได้สูงสุดตลอดการที่ 4.25 หมื่นล้านเหรียญฯ แต่มาปี 2020 มูลค่าตลาดเหลือเพียง 1.24 หมื่นล้านเหรียญฯ ลดลงถึง 71% อย่างไรก็ตาม ในปี 2022 นี้ที่อุตสาหกรรมเริ่มฟื้นตัวเนื่องจากวัคซีน COVID-19 ทำให้มีการคาดการณ์ว่าภาพรวมของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ทั่วโลกน่าจะแตะที่ 2.02 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ

ปัจจุบัน ภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดในปี 2022 คือ The Battle of Lake Changjin ซึ่งเป็นภาพยนตร์จีนที่เข้าฉายในเดือนพฤศจิกายน และกวาดรายได้ไปทั่วโลก 904.9 ล้านเหรียญฯ ตามข้อมูลของ Comscore ภาพยนตร์จีนเรื่องอื่นเรื่อง Hi, Mom ซึ่งเปิดตัวในเดือนกุมภาพันธ์ ครองอันดับ 2 ด้วยยอดขายตั๋วทั่วโลก 900.4 ล้านเหรียญ

ที่น่าจับตาคือ Spider-Man: No Way Home ที่กำลังฉายในบ้านเราเพิ่งทำลายสถิติบ็อกซ์ออฟฟิศในอเมริกา และในเวลาไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์สามารถทำรายได้ทะลุ 751.3 ล้านเหรียญทั่วโลก ทำให้เป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุด อันดับ 3 ของปี แต่มีการคาดการณ์ว่าอาจจะทำรายได้ทะลุ 1 พันล้านเหรียญ ได้ไม่ยาก

Paul Dergarabedian นักวิเคราะห์สื่ออาวุโสของ Comscore กล่าวว่า No Way Home ยังคงมียอดขายตั๋วที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องในวันจันทร์และวันอังคาร โดยทำเงินได้มากกว่า 150 ล้านดอลลาร์ที่บ็อกซ์ออฟฟิศทั่วโลก เมื่อเข้าสู่ช่วงสุดสัปดาห์ และแนวโน้มนี้คาดว่าจะยังร้อนแรงต่อไป โดยคาดว่าในช่วงสุดสัปดาห์นี้ อาจจะทำให้ No Way Home มีรายได้ทะลุ 1 พันล้านเหรียญฯ แบบชิล ๆ

เนื่องจาก สุดสัปดาห์นี้รวมถึงช่วงสัปดาห์หน้าเป็นช่วง 8 วันระหว่างวันคริสต์มาสอีฟและวันส่งท้ายปีเก่า ซึ่งถือเป็นช่วงที่พีคที่สุดช่วงหนึ่งสำหรับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ โดยทั่วไปรายได้ของภาพยนตร์ในช่วงเวลานี้จะคิดเป็น 4.5% ของรายรับบ็อกซ์ออฟฟิศทั้งปีตามข้อมูลจาก Comscore

อย่างไรก็ตาม Dergarabedian มองว่าอุปสรรคใหญ่ของอุตสาหกรรมในตอนนี้คือ การระบาดของ omicron อาจทำให้ยอดขายตั๋วของภาพยนตร์เรื่องนี้ลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่โรงภาพยนตร์กลับมาปิดตัวลง โดยเริ่มเห็นโรงภาพยนตร์ในควิเบกปิดแล้วทั่วทั้งจังหวัด แต่แนวโน้มดังกล่าวไม่น่าจะเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา

ทั้งนี้ ผู้ชมต่างแห่กันไปที่โรงภาพยนตร์เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาเพื่อรับชม No Way Home ก่อนที่จะโดนสปอยจากโลกออนไลน์ และแฟน ๆ หลายคนก็กำลังกลับมาดูซ้ำ ซึ่งเป็นเรื่องปกติสำหรับภาพยนตร์ Marvel Cinematic Universe (MCU)

“ภาพยนตร์ที่มีรายได้ 1 พันล้านเหรียญฯ ถือเป็นก้าวสำคัญ เพราะหลายคนเชื่อว่ามันเป็นไปไม่ได้ในยุคโควิดนี้ ดังนั้น สิ่งนี้ควรได้รับการเฉลิมฉลองโดยแฟนหนังในวงกว้าง” เจฟฟ์ บ็อค นักวิเคราะห์อาวุโสจาก Exhibitor Relations กล่าว

Source

]]>
1368481
โรงหนัง ‘นิวยอร์ก’ ตลาดใหญ่เบอร์ 2 ของอเมริกาเปิดอีกครั้ง คาดจุดสำคัญฟื้นอุตสาหกรรม https://positioningmag.com/1320629 Tue, 23 Feb 2021 12:13:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320629 หลังจากที่โรงภาพยนตร์ในมหานคร ‘นิวยอร์ก’ ถูกปิดไปตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2020 นับเป็นเวลาเกือบปีทีเดียวที่ไม่ได้ให้บริการ แต่หลังจากที่ผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 ในนิวยอร์กค่อย ๆ ลดลง จนปัจจุบันเฉลี่ยที่สัปดาห์ละ 7,400 ราย ลดลงมากกว่า 13% ทำให้บริการต่าง ๆ เริ่มกลับมาเปิดอีกครั้ง รวมถึงโรงภาพยนตร์ด้วย

การประกาศเปิดโรงภาพยนตร์เป็นความเคลื่อนไหวล่าสุดของผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ก เพื่อเปิดเศรษฐกิจของรัฐอีกครั้ง โดยนอกจากโรงภาพยนตร์แล้วยังมีสนามกีฬาขนาดใหญ่ เช่น Barclays Center และ Madison Square Garden ที่กำลังเตรียมต้อนรับแฟน ๆ จำนวนจำกัดสำหรับเกมบาสเกตบอล รวมไปถึงสวนสนุกต่าง ๆ ก็สามารถเปิดได้อีกครั้ง โดยจะเริ่มเปิดได้ในช่วงเดือนมีนาคม

อย่างไรก็ตาม โรงภาพยนตร์ในนิวยอร์กจะไม่ได้เปิดให้บริการ 100% แต่จะสามารถจุได้ไม่เกิน 25% หรือไม่เกิน 50 คนต่อโรง และจะต้องมีการตรวจคัดกรอง ต้องใส่หน้ากากอนามัย และเว้นระยะห่างของที่นั่ง โดยเจ้าของโรงหนังพอใจกับการประกาศว่าโรงภาพยนตร์ในนครนิวยอร์ก แม้จะมีระเบียบปฏิบัติด้านสุขภาพและความปลอดภัยที่เข้มงวด

“การประกาศของผู้ว่าการคูโม่ว่าโรงภาพยนตร์สามารถเปิดให้บริการอีกครั้งในนิวยอร์กซิตี้ ในสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคม ถือเป็นอีกก้าวสำคัญในการฟื้นฟูสุขภาพของอุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์ และบริษัทของเรา” อดัม อารอน ซีอีโอของ AMC กล่าว

อดัม กล่าวว่า บริษัท AMC จะเปิดโรงภาพยนตร์ทั้ง 13 แห่งในนิวยอร์กซิตี้อีกครั้งในวันที่ 5 มีนาคมนี้ โดยจะได้ฉายภาพยนตร์อนิเมชั่นฟอร์มยักษ์จากดิสนีย์เรื่อง ‘Raya and the Last Dragon’ ที่ฉายพร้อมกับลงสตรีมมิ่ง Disney+ และฉาย ‘Godzilla v. Kong’ จากค่าย Warner Bros. ในเดือนเดียวกันด้วย

ทั้งนี้ มหานครนิวยอร์กเป็นศูนย์กลางสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการขายตั๋วภาพยนตร์ โดยมีโรงภาพยนตร์เกือบ 300 แห่ง ถือเป็นตัวขับเคลื่อนยอดขายตั๋วที่สูงเป็นอันดับสองในสหรัฐอเมริการองจาก Los Angeles ซึ่งคิดเป็น 8.9%

นอกจากนี้ นิวยอร์กซิตี้มีราคาตั๋ว และความหนาแน่นของประชากรสูงกว่าค่าเฉลี่ย ซึ่งหมายความว่าสร้างรายได้ให้กับอุตสาหกรรมมากกว่าพื้นที่อื่น ๆ ของสหรัฐอเมริกา และแคนาดา นั่นเป็นหนึ่งในเหตุผลที่สตูดิโอกระตือรือร้นที่จะผลักดันภาพยนตร์ไปตามไทม์ไลน์ และรอให้โรงภาพยนตร์ในนิวยอร์กเปิดให้คนเข้าชม

“นิวยอร์กซิตี้ถือเป็นตลาดหลักสำหรับการรับชมภาพยนตร์ในสหรัฐอเมริกา การเปิดตัวอีกครั้งทำให้เกิดความมั่นใจแก่ผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์ และเป็นก้าวสำคัญในการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมทั้งหมด”

CNBC / theverge

]]>
1320629
ประคองตัวในแบบ ‘SF’ เมื่อไม่มีหนังใหม่ ก็ต้องทำให้คน ‘คิดถึง’ โรงหนัง https://positioningmag.com/1309314 Mon, 07 Dec 2020 08:57:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1309314 ถือเป็นปีที่ท้าทายที่สุดของ ‘ธุรกิจโรงภาพยนตร์’ โดย ‘เอสเอฟ (SF)’ ระบุว่าตั้งแต่ทำธุรกิจมาไม่เคยมีครั้งไหนที่ต้อง ‘ปิด’ โรงภาพยนตร์นานถึง 75 วันแบบนี้ และไม่ใช่แค่ไทย แต่กระทบกันทั่วโลก และจากที่คาดการณ์ว่าช่วงไตรมาส 4 จะฟื้นมาได้ แต่กลายเป็นว่า ‘ภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์’ กลับเลื่อนฉายไปเพียงหลังจากที่ชิมลางเอา ‘Mulan’ และ ‘TENET’ ลงฉายแล้วไม่เวิร์ก

หนังใหญ่หายรายได้หด

สุวิทย์ ทองร่มโพธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานการตลาด บริษัท เอส เอฟ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า แน่นอนว่าภาพรวมอุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์ปีนี้วิกฤตหนักจาก COVID-19 เพราะไม่ใช่แค่ต้องปิดให้บริการ เพราะแม้จะคลายล็อกดาวน์แต่โรงหนังก็ยังไม่สามารถเปิดให้บริการได้เต็มที่ และปัจจัยสำคัญเลยก็คือ ‘หน้าหนัง’ เพราะเป็นสิ่งเดียวที่จะดึงดูดคนให้มาชมที่โรงภาพยนตร์ อย่างปีที่ผ่านมามีหนังอย่าง ‘Avengers : Endgame’ ขณะที่ปีนี้หนังฟอร์มยักษ์เลื่อนฉายไปปีหน้าถึง 10-20 เรื่อง ดังนั้น ผู้ประกอบการโรงภาพยนตร์จึงต้องอาศัยคอนเทนต์หนังไทยมากขึ้น ส่งผลให้ปีนี้จะเป็นปีที่หนังไทยทำเงินสัดส่วนมากกว่า จากปกติหนังฮอลลีวูดจะครองสัดส่วนมากถึง 80%

“เราไม่ได้ตกใจที่สุดท้ายแล้วหนังเลื่อนเยอะ เพราะเราเข้าใจคนทำที่เขาฉายได้ครั้งเดียว ซึ่งเราเองก็คิดไว้หลายแผนเพื่อรองรับ ขณะที่ฝั่งเอเชียเองยังไม่ได้รับผลกระทบหนักเท่ายุโรปที่มีบริษัทล้มละลาย แต่ที่น่าสนใจคือ หนังไทยสามารถสร้างกระแสดึงคนกลับเข้ามาโรงภาพยนตร์ได้ดี อย่าง อีเรียมซิ่ง หรือ อ้ายคนหล่อลวง ก็น่าจะได้รับการตอบรับที่ดี”

ส่องอุตสาหกรรม ‘โรงภาพยนตร์สหรัฐฯ’ 4.95 แสนล้าน ที่ยังไม่เห็น ‘แสงสว่าง’ ปลายอุโมงค์

ทำอะไรก็ได้ให้คน ‘คิดถึง’ โรงหนัง

ตลอดเวลาที่ผ่านมา บริษัทพยายามฟื้นธุรกิจโรงหนัง มีการปรับกลยุทธ์การตลาดมากมาย เช่น การส่งป๊อปคอร์นเดลิเวอรี่ การเปิดช็อปจำหน่ายสินค้าจากหนังยอดนิยม การพัฒนาแอปพลิเคชันตอบโจทย์คอหนังให้จองได้ทุกที่ทุกเวลา สร้างประสบการณ์ดูหนังในรถยนต์ การใช้พื้นที่จัดทอล์กโชว์ต่าง ๆ และล่าสุดได้ทุ่มงบ 50 ล้านบาทเปิดตัวโรง ‘The Bed Cinema by Omazz’ ที่นำเตียงนอนมาใช้รับชมภาพยนตร์

SF x Omazz ดึงเตียงน้อนเข้าโรงหนัง เปิดตัว “The Bed Experience by Omazz®”

ทั้งนี้ทั้งนั้น ทุกสิ่งที่ SF ไม่ได้ตั้งเป้าในด้านยอดขาย แต่ต้องการเน้นเพิ่มประสบการณ์ใหม่ในการดูหนัง และเพื่อให้คนได้ยินคำว่าโรงหนัง อยากให้คนนึกถึงโรงหนัง เพราะต้องยอมรับว่าตอนนี้ ‘คอนเทนต์’ เรา ‘อ่อน’ ซึ่งปัจจุบันรายได้หลักอันดับ 1 มาจากการขายตั๋ว รองลงมาคือโฆษณา และการขายป๊อปคอร์น ที่เหลือคืออื่น ๆ อาทิ ช็อปขายของพรีเมียม การจัดงานอีเวนต์

“ตอนนี้เราพยายามใช้งานโรงภาพยนตร์ให้เต็มที่เพราะต้องยอมรับว่าคอนเทนต์ปีนี้ไม่พร้อม เช่น จัดงานอีเวนต์ต่าง ๆ แม้บางอย่างก็ไม่ได้ทำรายได้มากมายแต่คนยังนึกถึงโรงหนัง อย่างการนำหนังเก่ามาฉายเราก็เน้นเอาหนังเก่าหาดูยาก ซึ่งก็จะช่วยดึงคนที่ไม่ได้ดูหนังในโรงมานานกลับมาดูอีกครั้ง”  พิมสิริ ทองร่มโพธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เอส เอฟ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวเสริม

ปี 2021 ปีทองแทนปี 2020

จริง ๆ ปี 2020 ถูกวางไว้เป็นปีทองของธุรกิจโรงภาพยนตร์ เพราะโมเมนตั้มกำลังมาจากปี 2019 ที่ขึ้นพีคเพราะภาพยนตร์หลายเรื่อง โดยเฉพาะ ‘Avenger Endgame’ อีกทั้งไลน์อัพหนังที่น่าสนใจ และเมื่อไลน์อัพหนังถูกเลื่อนไปปีหน้า ดังนั้นจึงคาดว่าปี 2021 จะเป็นปีทองของอุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์ เช่น พยัคฆ์ร้าย 007 ตอน No Time to Die, Fast and Furious 9 ฯลฯ บริษัทจึงวางแผนลงทุนขยายโรงภาพยนตร์เพิ่ม 4 สาขา จำนวน 20 โรง จากปัจจุบันมี 64 สาขา จำนวน 400 โรง ส่วนงบการตลาดยังใช้เท่าเดิมคือ 100 ล้านบาท/ปี และในปีหน้ายังใช้เท่าเดิม

อย่างไรก็ตาม จากหน้าหนังที่หายไปจำนวนมากในปีนี้ และโรงหนังก็ยังให้บริการได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้ภาพรวมอุตสาหกรรมที่เคยมีมูลค่า 6-7 พันล้านบาทในปีนี้อาจหายไปเกิน 50% เช่นเดียวกับ SF อย่างไรก็ตาม ในช่วง 1 เดือนสุดท้าย ยังมีหนังฟอร์มยักษ์ที่จะช่วยปลุกตลาดโรงภาพยนตร์ให้ฟื้นตัวบ้าง โดยเฉพาะ Wonder Woman 1984, Monster Hunter ดังนั้นอาจต้องรอดูอีกที

ยังเชื่อว่า สตรีมมิ่ง ทดแทนไม่ได้

สตรีมมิ่งเป็นอีกหนึ่งในหัวข้อความ ‘กังวล’ ของธุรกิจโรงภาพยนตร์ ดังนั้น นี่จึงเป็นสาเหตุที่ SF พยายามพัฒนาประสบการณ์ของการรับชมภาพยนตร์ในโรงมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่อย่างไรก็ตาม ยังมองว่า ‘คอนเทนต์’ เป็นอีกสิ่งที่สร้างความแตกต่างให้สตรีมมิ่งกับโรงภายนตร์ อย่างในสตรีมมิ่งอาจจะเน้น ‘ซีรีส์’ ดังนั้น สำหรับการรับชมภาพยนตร์ให้ได้อรรถรสยังไงก็ต้องรับชมในโรงภาพยนตร์ โดยปัจจุบันราคาตั๋วเฉลี่ยอยู่ที่ 160 บาท โดยในปีนี้ปีหน้ายังไม่มีการปรับ เนื่องจากเห็นว่ากำลังซื้อผู้บริโภคยังไม่ฟื้น ดังนั้นต้องยังประคองกันต่อไป

“เราต้องยอมรับก่อนว่ามันกระทบ เพราะมันเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เราพัฒนาตัวเอง แต่ไม่ใช่แค่สตรีมมิ่ง มันคืออะไรก็ตามที่แย่งความสนใจไป ดังนั้นตอนนี้เราไม่ได้มองว่า Major เป็นคู่แข่ง แต่ต้องร่วมมือกันดึงคนเข้าโรงเพื่อสู้กับทุกอย่าง ทั้งคอนเสิร์ต เกมมิ่ง”

‘Warner Bros’ ประกาศ หนังใหม่ทุกเรื่องปี 2021 จะฉายโรงและลง ‘สตรีมมิ่ง’ พร้อมกัน

เรายังมีความเชื่อว่าถ้าคอนเทนต์ถึงลูกค้าจะกลับมา แต่ก็ขึ้นอยู่กับเราเองว่าจะทำให้เขากลับมาได้แค่ไหน ซึ่งเราก็ต้องทำให้เขาได้ยินคำว่าโรงหนัง และสุดท้าย เรายังต้องอยู่กับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนไปเรื่อย ๆ เราก็ต้องจัดการกับมันให้ได้

]]>
1309314
‘Warner Bros’ ประกาศ หนังใหม่ทุกเรื่องปี 2021 จะฉายโรงและลง ‘สตรีมมิ่ง’ พร้อมกัน https://positioningmag.com/1309097 Fri, 04 Dec 2020 04:22:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1309097 หลังจาก ‘Warner Bros’ สร้างเซอร์ไพรส์ใหญ่ปลายปีโดยการฉายหนัง ‘Wonder Woman 1984’ ในช่วงสิ้นปีนี้ พร้อมกับจะลงใน ‘HBO Max’ แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งไปพร้อมกันด้วย ล่าสุด Warner Bros ก็ประกาศว่าหนังใหม่ในปี 2021 ทุกเรื่องจะฉายโรงพร้อมกับลงใน HBO Max ในวันเดียวกันทั้งหมด

ก่อนหน้านี้ Disney เองก็ได้นำภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์อย่าง ‘Mulan’ เข้าฉายใน ‘Disney+’ แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งที่กำลังโตแบบติดจรวด ส่งผลให้ Warner Bros เองก็เดินตามรอยโดยส่ง ‘Wonder Woman 1984’ ลงฉายในช่วงสิ้นปี พร้อมกับปล่อยลง HBO Max พร้อมกัน และตามมาด้วยหนังใหม่ในปี 2021 ทั้งหมดจะทำตามโมเดลนี้

อย่างไรก็ตาม แม้ภาพยนตร์จะถูกสตรีมบน HBO Max พร้อมกันกับวันที่เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ ทั้งในรูปแบบของ 4K Ultra HD และ HDR แต่การภาพยนตร์เรื่องนั้น ๆ จะมีอายุเพียง 1 เดือน ส่วนภาพยนตร์ที่ฉายโรงก็จะอยู่จนกว่าจะหมดโปรแกรม ซึ่งปัจจุบันค่าแพ็กเกจของ HBO Max อยู่ที่เก็บเงิน 15 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 465 บาทต่อเดือน ในขณะที่ข้อมูลของ National Association of Theatre Owners ระบุว่า ราคาเฉลี่ยของตั๋วภาพยนตร์ 2 ใบในสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 18.32 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 568 บาท ซึ่งแปลว่าการดูผ่านสตรีมมิ่งนั้นประหยัดกว่า

สำหรับรายชื่อภาพยนตร์ในปี 2021 ที่จะลง HBO Max ได้แก่ The Little Things, Judas and the Black Messiah, Tom & Jerry, Godzilla vs. Kong, Mortal Kombat, Those Who Wish Me Dead, The Conjuring: The Devil Made Me Do It, In The Heights, Space Jam: A New Legacy, The Suicide Squad, Reminiscence, Malignant, Dune, The Many Saints of Newark, King Richard, Cry Macho และ Matrix 4

“ไม่มีใครต้องการให้ภาพยนตร์กลับมาฉายบนจอใหญ่ไปมากกว่าเราอีกแล้ว และเราทราบดีว่าภาพยนตร์เรื่องใหม่ ๆ เป็นส่วนสำคัญของธุรกิจโรงภาพยนตร์ แต่เราต้องสร้างสมดุลให้กับความเป็นจริงที่ว่าโรงภาพยนตร์ส่วนใหญ่ในสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะให้บริการได้ไม่เต็มที่ ด้วยมาตรการการเว้นระยะห่างในปี 2021” Ann Sarnoff ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของของ Warner Bros กล่าว

The AMC theatre is pictured during the outbreak of the coronavirus disease (COVID-19), in Burbank, California, U.S., June 30, 2020. Picture taken June 30, 2020. REUTERS/Mario Anzuoni

ทั้งนี้ หลังจากที่ Warner Bros ได้เปิดเผยทิศทางนี้ออกมา หุ้นของ AMC Entertainment เจ้าของโรงภาพยนตร์รายใหญ่ที่สุดของโลกลดลงเกือบ 16% ส่วนคู่แข่งอย่าง Cinemark ลดลงประมาณ 22% โดยซีอีโอของ AMC ก็ได้ออกมาแถลงการณ์ในทันทีว่า “Warner Bros กำลังสละผลกำไรจากโรงภาพยนตร์เพื่อเพิ่มยอดให้กับ HBO Max”

Source

]]>
1309097
วันขอบคุณพระเจ้าไม่ช่วย! ยอดขายตั๋วหนังจาก 250 ล้านเหรียญเหลือไม่ถึง 20 ล้านเหรียญ https://positioningmag.com/1308225 Mon, 30 Nov 2020 05:14:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1308225 โดยปกติแล้วสัปดาห์แห่งวันขอบคุณพระเจ้าเป็นช่วงเวลาที่ดีในบ็อกซ์ออฟฟิศ แต่ในปีนี้การระบาดของไวรัส COVID-19 ได้ทำให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์โคม่าอย่างไม่ต้องสงสัย แม้กระทั่งวันหยุดสำคัญอย่าง ‘วันขอบคุณพระเจ้า’ ในเดือนพฤศจิกายนก็จะประสบชะตากรรมเดียวกันกับครึ่งปีแรก

แม้ภาพยนตร์ใหม่ ๆ ที่เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ในวันขอบคุณพระเจ้าปีนี้จะไม่ได้มีหนังฟอร์มยักษ์เข้าฉายจนได้รับการจัดอันดับให้แย่ที่สุดในรอบหลายทศวรรษ แต่การที่รายได้ยังไม่แตะถึง 20 ล้านเหรียญสหรัฐก็ถือว่าน้อยเกินกว่าที่คาดไว้มาก เพราะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ปกติตลอดวันหยุด 5 วันจะมียอดขายตั๋วได้มากกว่า 250 ล้านเหรียญในแต่ละปี มีเพียงปี 2011 และ 2014 เท่านั้นที่ยอดไม่ถึงแต่สามารถทำได้ที่ 230 ล้านเหรียญสหรัฐ

“การระบาดใหญ่ส่งผลกระทบในทางลบในทุกวันหยุด ดังนั้นจึงไม่แปลกใจเลยที่วันขอบคุณพระเจ้าจะได้รับผลกระทบเช่นกัน ซึ่งปกติแล้วครอบครัวที่มีเด็กเล็ก ๆ จะแห่กันไปที่โรงภาพยนตร์เพื่อฉายภาพยนตร์แอนิเมชั่น ส่วนคนอื่น ๆ จะมองหาภาพยนตร์บล็อกบัสเตอร์ที่สามารถเพลิดเพลินได้ทุกเพศทุกวัย” Paul Dergarabedian นักวิเคราะห์ของ Comscore กล่าว

ปีที่แล้ว ‘Frozen 2’ ‘Knives Out’ และ ‘Ford Vs. Ferrari’ ครองตำแหน่งสูงสุดในบ็อกซ์ออฟฟิศซึ่งทำรายได้ไป 5 วันถึง 263.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพียงแค่ดูที่วันศุกร์เสาร์และอาทิตย์ของสุดสัปดาห์นั้นก็มีรายได้ถึง 181.4 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ในปีนี้ภาพยนตร์หลักเรื่องเดียวที่เข้าฉายในโรงภาพยนตร์คือ ‘The Croods: A New Age’ ของ Dreamwork ความคาดหวังคือภาพยนตร์เรื่องนี้จะดึงดูดผู้ชมบางส่วนเนื่องจากเป็นภาพยนตร์เรื่องใหม่ แต่จะไม่ส่งผลกระทบทางการเงินมากนักในบ็อกซ์ออฟฟิศปี 2020 บทวิจารณ์ยังไม่แจ่มชัดพอว่าจะคุ้มค่าให้ผู้บริโภคบางรายยอมออกมาดูแม้จะเสี่ยงติดเชื้อ COVID-19

ตั้งแต่เดือนสิงหาคมเมื่อเชนโรงหนังรายใหญ่เปิดอีกครั้งจนถึงวันที่ 22 พฤศจิกายน บ็อกซ์ออฟฟิศสามารถเก็บเงินได้เพียง 279 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วบ็อกซ์ออฟฟิศทำรายได้ถึง 2.86 พันล้านดอลลาร์ โดยเมื่อสองสัปดาห์ก่อนมีโรงภาพยนตร์ 2,800 แห่งเปิดให้บริการในสหรัฐอเมริกาสุดสัปดาห์ ล่าสุดนี้ มีโรงภาพยนตร์ประมาณ 2,100 แห่งที่เปิดให้บริการ ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะมีโรงภาพยนตร์เปิดให้บริการในช่วงสุดสัปดาห์วันขอบคุณพระเจ้าจำนวนเท่าใด แต่หากจำนวนดังกล่าวลดลงอีก ก็เป็นไปได้ที่จำนวนโรงภาพยนตร์ก็มีส่วนกับบ็อกซ์ออฟฟิศเช่นกัน

นักวิเคราะห์ประเมินว่าอย่างดีที่สุด ‘The Croods: A New Age’ อาจสามารถทำรายได้ระหว่าง 10-15 ล้านเหรียญสหรัฐในช่วง 5 วันแรก Doug Stone ประธานของ Box Office Analyst กล่าวว่า ยังไม่ชัดเจนว่าตัวเลขดังกล่าวถูกต้องเพียงใดเมื่อพิจารณาว่าตลาดในปีนี้แตกต่างกันมาก วิธีการทำนายแบบดั้งเดิมสำหรับการเข้าร่วมและการขายตั๋วไม่สามารถใช้ได้

Source

]]>
1308225
ต้านไม่ไหว! Netflix ยอมเปิดลิสต์ “Top 10” หนัง-ซีรีส์ “ยอดฮิต” ประจำวันในแต่ละประเทศ https://positioningmag.com/1265755 Tue, 25 Feb 2020 06:21:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1265755 Netflix ประกาศเมื่อวันที่ 24 ก.พ.ที่ผ่านมาว่า บริษัทวางแผนเปิดฟีเจอร์ใหม่ แสดงผล “Top 10” ภาพยนตร์และซีรีส์ยอดนิยมในแต่ละประเทศ จากเดิมที่ Netflix เก็บยอดวิวของหนังหรือซีรีส์แต่ละเรื่องไว้เป็นความลับมาตลอด

คาเมรอน จอห์นสัน ผู้อำนวยการด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ เปิดเผยในหน้าบล็อกของบริษัทว่า Netflix จะแสดงผล Top 10 หนังและซีรีส์แบบรายวัน โดยมีทั้งการจัดอันดับแบบ รวมทุกประเภท (overall) และอันดับแยกเป็นหมวดภาพยนตร์ กับ หมวดซีรีส์ และรายการที่ได้ยอดเข้าชมสูงสุดจะมีตราสัญลักษณ์ Top 10 ติดอยู่

แต่เดิมนั้น การแสดงผลของ Netflix เพื่อแนะนำหนังหรือซีรีส์เรื่องใดให้กับผู้ชม จะแตกต่างกันไปแบบเฉพาะบุคคล เพราะแพลตฟอร์มนี้ใช้อัลกอริธึม ในการคาดเดาว่าผู้ชมรายนั้นๆ จะชอบคอนเทนต์แบบไหนจากประวัติการรับชมที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม วิธีการนี้ก็ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์มาตลอดว่าทำให้ผู้ชมมองหาคอนเทนต์ที่ต้องการดูได้ยาก และทำให้บริษัทผู้ผลิตหนังหรือซีรีส์ไม่มั่นใจในความโปร่งใสของการวัดยอดวิวของ Netflix

ตัวอย่างการติด badge “Top 10” ไว้ที่มุมขวาของโปสเตอร์

แม้ว่าจะมีการจัด Top 10 ให้แล้ว แต่อันดับจะไม่จัดเรียงตามลำดับยอดวิว เพราะ Netflix ยังไม่ยอมทิ้งระบบอัลกอริธึม โดยระบบจะดันคอนเทนต์ในกลุ่ม Top 10 ที่เราน่าจะชื่นชอบขึ้นมาไว้ด้านบน เช่น หากประวัติการชมของเราชื่นชอบหนังสารคดีและไม่ค่อยดูหนังโรแมนติกคอมเมดี้ คอนเทนต์ที่ใกล้เคียงกับความชอบของเราจะขึ้นมาอยู่ด้านบนมากกว่า

ทั้งนี้ Netflix มีการทดลองแสดงผล Top 10 แบบนี้มาแล้วในเม็กซิโกและสหราชอาณาจักรตลอดช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา และเพิ่งเริ่มเปิดฟีเจอร์นี้ในสหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนธันวาคมปีก่อน ปรากฏว่าผู้ชมมีเสียงตอบรับที่ดี ทำให้บริษัทตัดสินใจจะสร้างฟีเจอร์เดียวกันนี้ทั่วโลก

“เมื่อคุณรับชมหนังหรือซีรีส์ที่ยอดเยี่ยม คุณมักจะแบ่งปันให้ครอบครัวหรือเพื่อนได้ดูด้วย หรือพูดถึงหนังเรื่องนั้นในที่ทำงาน เพื่อให้คนอื่นๆ มารับชมด้วยกัน เราหวังว่าลิสต์ Top 10 จะช่วยสร้างให้การแบ่งปันเหล่านั้นเพิ่มมากขึ้น และทำให้เราหาสิ่งที่ต้องการรับชมได้เร็วและง่ายขึ้น” แถลงการณ์ในหน้าบล็อกดังกล่าวเปิดเผยจุดประสงค์ของฟีเจอร์นี้

The Witcher เป็นหนึ่งในซีรีส์ที่ Netflix ยอมประกาศยอดวิวว่ามีผู้รับชมถึง 76 ล้านคน

การเปิดตัวฟีเจอร์ Top 10 เกิดขึ้นท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือดขึ้นในธุรกิจสตรีมมิ่งคอนเทนต์ หลังจากการเติบโตของจำนวนผู้ใช้ Netflix ในสหรัฐฯ เริ่มโตช้าลง และบรรดาผู้ผลิตคอนเทนต์เริ่มดึงคอนเทนต์ไปลงในแพลตฟอร์มคู่แข่ง เช่น Peacock หรือ HBO Max

บริษัท Netflix ถูกตั้งข้อสงสัยเรื่องวิธีนับยอดวิวมาตลอด โดยจะบอกยอดวิวเฉพาะเรื่องที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงเท่านั้น รวมถึงไม่ยอมให้บริษัทบุคคลที่สาม เช่น Nielsen เข้ามาประเมินยอดวิวด้วย อย่างไรก็ตาม Netflix มีการชี้แจงล่าสุดว่าการนับยอดเข้าชมจะนับก็ต่อเมื่อมีการเข้าชมเกิน 2 นาทีต่อตอน

ฟีเจอร์ Top 10 อาจจะยังไม่บอกยอดวิวที่ชัดเจน แต่อย่างน้อยก็ได้เห็นภาพคร่าวๆ ว่าอะไรที่กำลังมาในประเทศของคุณ!

Source: Reuters, Techcrunch

]]>
1265755
หนังมา เพลงก็มา! สตูดิโอ “Ghibli ” ปล่อยสตรีมมิ่งเพลงประกอบแอนิเมชั่น 23 เรื่อง บน 4 แพลตฟอร์ม https://positioningmag.com/1265603 Mon, 24 Feb 2020 06:29:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1265603 ก่อนหน้านี้สตูดิโอ “Ghibli” เพิ่งยอมปล่อยแอนิเมชั่นให้สตรีมมิ่งกันได้บน Netflix และ HBO Max ส่วนสายดนตรีที่ชื่นชอบเพลงประกอบของจิบลิไปโหลดกันได้เลย เพราะจิบลิปล่อยสตรีมมิ่งเพลงออกมาแล้ว 23 เรื่องบน 4 แพลตฟอร์มดนตรี

เพลงประกอบแอนิเมชั่นจากฝีมือสตูดิโอจิบลิเพิ่งปล่อยให้สตรีมมิ่งได้บน 4 แพลตฟอร์ม คือ Spotify, Apple Music, Google Play และ YouTube Music โดยมีเพลงประกอบจาก 23 เรื่องที่จะปล่อยให้สตรีมกันได้ ยกเว้นเรื่อง Grave of the Firefles (สุสานหิ่งห้อย) ที่ลิขสิทธิ์เพลงไม่ได้อยู่ในมือจิบลิทำให้ไม่ร่วมการเปิดสตรีมมิ่งครั้งนี้

อัลบัมเพลงประกอบดังกล่าวจะมีเพลงจากภาพยนตร์ดังของสตูดิโอ ไม่ว่าจะเป็น Spirited Away, Kiki’s Delivery Service, Princess Mononoke, My Neighbor Totoro และอื่นๆ รวมถึงมีเพลง 15 เพลงที่แต่งขึ้นโดยได้รับแรงบันดาลใจจากหนังของจิบลิ เช่น Nausicaä of the Valley of the Wind และ Porco Rosso อยู่ในอัลบัมด้วย รวมทั้งหมดจะมีเพลงถึง 693 เพลงให้แฟนๆ ได้ฟังกัน

การปล่อยสตรีมมิ่งเพลงของจิบลิเกิดขึ้นต่อเนื่องจากเมื่อเดือนตุลาคมปีก่อน ภาพยนตร์ของจิบลิเพิ่งเปิดตัวว่าจะลงฉายใน HBO Max สตรีมมิ่งแพลตฟอร์มใหม่ที่จะเปิดบริการช่วงฤดูใบไม้ผลิปี 2020

ต่อมาในเดือนมกราคมปีนี้ Ghibli ประกาศลงฉายแอนิเมชัน 21 เรื่องบน Netflix (เฉพาะประเทศนอกทวีปอเมริกาเหนือและญี่ปุ่น) โดยล็อตแรกเริ่มทยอยลงแพลตฟอร์มในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2020 ก่อนจะมีล็อตที่ 2-3 ตามมาในเดือนมีนาคมและเมษายนนี้

ก่อนหน้าการลงสตรีมมิ่งแพลตฟอร์มเหล่านี้ สตูดิโอ Ghibli ไม่เคยยอมฉายบนสตรีมมิ่งแพลตฟอร์มใดๆ เลย แฟนๆ ที่ต้องการชมภาพยนตร์จะต้องรับชมในโรงภาพยนตร์หรือซื้อแผ่นเท่านั้น รวมถึงเพลงประกอบด้วย

Source

]]>
1265603
ร้องว้าวหนักมาก Netflix จะฉายแอนิเมชัน 21 เรื่องของสตูดิโอ Ghibli ให้ชมทั่วโลก 1 ก.พ.นี้ https://positioningmag.com/1261320 Mon, 20 Jan 2020 10:20:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1261320 หลังสร้างความประทับใจเป็นตำนานเเห่งวงการภาพยนตร์แอนิเมชันมายาวนานกว่า 35 ปี ล่าสุด “สตูดิโอจิบลิ” (Studio Ghibli) กำลังจะเข้าสู่แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งให้เเฟนๆ ได้รับชมผ่านทางออนไลน์ได้เป็นครั้งแรกบน Netflix ซึ่งจะเริ่มฉายชุดเเรก ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2020 นี้

นับเป็นโอกาสอันดีที่ผลงานของสตูดิโอจิบลิจะเข้าถึงคนทั่วโลก เเม้ก่อนหน้านี้ HBO Max คู่เเข่งของ Netflix จะได้ดีลนี้ไปเช่นกัน เเต่ยังจำกัดการให้บริการไม่กี่ประเทศเเละจะให้บริการในฤดูใบไม้ผลิปีนี้ ขณะที่ Netflix จะฉายทั่วโลก มีซับไตเติล 28 ภาษา และพากย์ 20 ภาษา

สำหรับผลงานของสตูดิโอจิบลิที่จะนำมาฉายใน Netflix มีทั้งหมด 21 เรื่อง ตลอดระยะเวลา 35 ปี ตั้งแต่เรื่องแรกอย่าง Nausicaä of the Valley of the Wind ปี 1984 จนถึงผลงานล่าสุด When Marnie Was There ปี 2014

อย่างไรก็ตาม ขาดไป 1 เรื่องเท่านั้นคือ Grave of the Fireflies สุสานหิ่งห้อย กำกับโดย อิซาโอะ ทาคาฮาตะ ซึ่งเป็นผลงานคลาสสิกครองใจใครหลายคน

Photo : My Neighbor Totoro – Ghibli/Netflix

“นี่เป็นเหมือนฝันที่กลายเป็นจริงสำหรับ Netflix เเละสมาชิกหลายล้านคนของเรา ภาพยนตร์แอนิเมชันของสตูดิโอจิบลิ เป็นตำนานและมีแฟนๆ ทั่วโลก เรารู้สึกตื่นเต้นมากที่จะทำให้พวกเขาสามารถดูได้ในหลายภาษา ทั้งในละตินอเมริกา ยุโรป แอฟริกาและเอเชีย เพื่อให้ผู้คนเพลิดเพลินไปกับความมหัศจรรย์แห่งโลกแห่งแอนิเมชัน” Aram Yacoubian ผู้อำนวยการฝ่ายแอนิเมชันของ Netflix กล่าว

ด้าน Toshio Suzuki โปรดิวเซอร์ ผู้ร่วมก่อตั้งสตูดิโอจิบลิ ให้เหตุผลในการนำผลงานมาฉายบน Netflix ว่า ในยุคนี้ผู้ชมสามารถเข้าถึงภาพยนตร์ได้จากหลายช่องทาง เราทราบถึงเสียงเรียกร้องจากเเฟนๆ จำนวนมาก จึงได้ตัดสินใจเปิดสตรีมผลงานของเรา เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางให้ผู้ชมทั่วโลกได้มีโอกาสค้นพบโลกมหัศจรรย์ของสตูดิโอจิบลิ

สำหรับรายชื่อและช่วงเวลาฉายทั้ง 21 เรื่อง ได้แก่

1 กุมภาพันธ์ : Castle in the Sky (1986), My Neighbor Totoro (1988), Kiki’s Delivery Service (1989), Only Yesterday (1991), Porco Rosso (1992), Ocean Waves (1993), Tales from Earthsea (2006)

1 มีนาคม : Nausicaä of the Valley of the Wind (1984), Princess Mononoke (1997), My Neighbors the Yamadas (1999), Spirited Away (2001), The Cat Returns (2002), Arrietty (2010), The Tale of The Princess Kaguya (2013)

1 เมษายน : Pom Poko (1994), Whisper of the Heart (1995), Howl’s Moving Castle (2004), Ponyo on the Cliff by the Sea (2008), From Up on Poppy Hill (2011), The Wind Rises (2013), When Marnie Was There (2014)

 

ที่มา : hollywoodreporter

]]>
1261320