มหกรรมช้อปปิ้ง – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 17 Aug 2021 09:08:15 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “Virtual Property Expo 2021” ย้ายมหกรรม “อสังหาฯ” มาจัดออนไลน์ แก้เกมการระบาด https://positioningmag.com/1347305 Tue, 17 Aug 2021 08:19:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1347305 สถานการณ์ระบาดทำให้ต้องเปลี่ยนวิธีดำเนินธุรกิจ เมื่ออีเวนต์รวมบูธขายสินค้าจัดแบบออนกราวด์ไม่ได้ จึงต้องหาเทคนิกการขายใหม่ๆ โดยธุรกิจอสังหาฯ กำลังจะจัดงาน Virtual Property Expo 2021 ตั้งบูธออนไลน์ช่วยเร่งยอด ด้าน “ดร.เกษรา” ให้ความเห็นตลาดอสังหาฯ ยังหนักหน่วง แนะผู้ประกอบการรักษาสภาพคล่องประคองตัว

งานอีเวนต์ออนกราวด์ยังจัดไม่ได้ เพราะสถานการณ์การระบาดยังไม่กลับเป็นปกติ แต่ธุรกิจ “ต้องไปต่อ” ทำให้ไร้ท์แมนและวายดีเอ็มร่วมกันจัดงาน Virtual Property Expo 2021 มหกรรมการขายอสังหาริมทรัพย์ออนไลน์เสมือนจริง ซึ่งจะจัดขึ้นวันที่ 14-17 ตุลาคม 2564

“กัมพล นิสิตสุขเจริญ” กรรมการบริหาร บริษัท ไร้ท์แมน จำกัด และผู้ร่วมก่อตั้ง Virtual Solution เปิดเผยว่าการจัดงานรูปแบบเสมือนจริง จะช่วยทดแทนการจัดงานอีเวนต์ออนกราวด์ซึ่งปกติแล้วถือเป็นเครื่องมือการตลาดที่ทรงพลังมาก เพราะเกิดการรวมตัวของทั้งฝั่งดีมานด์และซัพพลาย มูลค่าการขายในงานจะสูงมาก

การจัดรูปแบบเสมือนจริง จะให้ความรู้สึกเหมือนลูกค้าได้เข้ามาเดินดูบูธบริษัทต่างๆ เช่น ชมแกลลอรีภาพในบูธ มีระบบ Video Call กับเซลส์ขายโครงการ ทำให้ต่อรองราคาได้เหมือนไปที่บูธ

โดยงาน Virtual Property Expo 2021 คาดว่าจะมีโครงการเข้าร่วม 300 แห่งจากทั่วประเทศ และผู้เยี่ยมชม 580,000 คนตลอด 4 วัน

“ธนพล ทรัพย์สมบูรณ์” ซีอีโอ บริษัท วายดีเอ็ม (ไทยแลนด์) จำกัด และผู้ร่วมก่อตั้ง Virtual Solution เปิดเผยว่า ปัจจุบันแบรนด์อสังหาฯ ต่างๆ หันมาทำการตลาดบนดิจิทัลมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงนี้ บริษัทมักจะเทงบลงไปที่การ “ยิงแอด” โฆษณาตรงถึงกลุ่มเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนเป็นยอดขาย มากกว่าใช้กับการทำแบรนดิ้งหรือวิดีโอโฆษณา

ผลคือการประมูลหรือ ‘bidding’ ในระบบของ Google และ Facebook ราคาจะสูงขึ้นมาก และไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะธุรกิจอสังหาฯ แต่เกิดขึ้นกับทุกสินค้าเพราะผู้บริโภคหันมาช้อปออนไลน์ นั่นทำให้ต้นทุนการตลาดต่อการเข้าเยี่ยมชมไซต์โครงการหนึ่งครั้ง (cost per visit) สูงตามไปด้วย

แม้ว่าการทุ่มยิงแอดของแบรนด์อสังหาฯ จะสูงขึ้น แต่วายดีเอ็มเก็บข้อมูลจาก Google Search ปรากฏว่าขณะนี้การค้นหาที่อยู่อาศัยลดลง -40% เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2564 ทำให้การจัดมหกรรมออนไลน์ร่วมกันน่าจะตอบโจทย์ในการกระตุ้นดีมานด์ และลดต้นทุนการทำตลาดลง

 

อสังหาฯ ยังหนัก แนะบริษัทรักษาสภาพคล่อง

ด้านสถานการณ์อสังหาฯ ขณะนี้ “ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์” รองซีอีโอ บริษัท เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) มองว่ายังอยู่ในห้วงวิกฤต ไม่เพียงแต่ดีมานด์หดตัว แต่ซัพพลายก็ลดลงเช่นกัน เพราะต้นทุนการทำธุรกิจสูงขึ้นสวนทางที่ควรจะเป็น ด้วยสถานการณ์เฉพาะของ COVID-19 ทำให้ภาครัฐสั่งปิดไซต์ก่อสร้างไป 1 เดือน และธุรกิจต้องรับค่าใช้จ่ายในการดูแลแคมป์คนงานให้ถูกสุขลักษณะต่อไป รวมถึงต้นทุนค่าเหล็กก็สูงขึ้น และต้นทุนที่ดินไม่ลดลงหรือลดเพียงเล็กน้อย

ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์

ดร.เกษรามองในมุมผู้ประกอบการอสังหาฯ ว่า ในช่วงนี้ “การรักษาสภาพคล่อง” คือเรื่องสำคัญที่สุด ต้องประคองตัวจนกว่าวิกฤตจะผ่านพ้นไปให้ได้ก่อน

“ถ้าเรามองแล้วว่าสายป่านเราไม่พอ ต้องยอมลดขนาดบริษัทลง หรือถ้าจำเป็นต้องขาดทุนก่อนเพื่อให้มีกระแสเงินสดก็ต้องทำไปก่อน เพราะวัฏจักรเศรษฐกิจไม่เคยที่จะเป็นขาลงตลอดไป วันหนึ่งก็ต้องกลับเป็นขาขึ้น เราต้องมีสภาพคล่องพอที่จะผ่านไปให้ได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่ไม่ควรลดในระหว่างวิกฤตคือทีมงาน” ดร.เกษรากล่าว

ส่วนอสังหาฯ จะดีขึ้นเมื่อไหร่ก็เป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งสุดท้ายต้องรอการฉีดวัคซีนและตรวจคัดกรองให้ได้มากที่สุดเพื่อควบคุมโรค ดังที่เห็นในบางประเทศเป็นเหมือนแสงสว่างปลายอุโมงค์ว่า เรามีความหวังที่จะกลับไปใช้ชีวิตได้ค่อนข้างปกติ เปิดประเทศ เปิดการท่องเที่ยวได้เช่นกัน

]]>
1347305
“อาลีบาบา” กวาดรายได้ 11.11 ปีนี้ 11 วัน ทะลุ 1.7 ล้านล้านบาท การใช้จ่ายฟื้นตัวหลัง COVID-19 https://positioningmag.com/1305518 Wed, 11 Nov 2020 06:54:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1305518 อาลีบาบา เปิดตัวมหกรรมช้อปปิ้งระดับโลก 11.11 ปี 2563 ในช่วงที่สองเมื่อเวลาเที่ยงคืน ของวันที่ 11 พฤศจิกายน โดยมหกรรม 11.11 ในปีนี้ได้ขยายเวลาจัดงานเป็น 11 วัน ทำยอดขายรวมทะลุ 350,000 ล้านหยวนแล้ว และจัดขึ้นในสภาพเศรษฐกิจ และธุรกิจค้าปลีกของจีนที่กำลังฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง จึงช่วยสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับผู้ขาย และกระตุ้นการบริโภคให้เพิ่มขึ้น

สำหรับอาลีบาบา มหกรรม 11.11 ถือเป็นงานสำคัญที่จะช่วยยกระดับ และเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีของบริษัท รวมทั้งเป็นสนามจริงในการนำความสามารถใหม่ๆ มาทดลองใช้ ในแต่ละปีทั้งแบรนด์ ร้านค้า ผู้บริโภค และพันธมิตรในระบบนิเวศของเศรษฐกิจดิจิทัลของอาลีบาบา ได้มารวมกันในงานนี้เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายที่สูงขึ้น โดยไฮไลต์ของงานในปีนี้ ได้แก่

  • มหกรรม 11.11 ในปีนี้จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นเวลา 11 วัน
  • โดยเมื่อเวลา 00.30 น. ของวันที่ 11 พฤศจิกายน ยอดขายรวมทุกหมวดหมู่ (GMV) ของงานทั้ง 11 วัน ได้ทะลุ 372,300 ล้านหยวน (ราว 1,710,065 ล้านบาท)
  • อาลีบาบาได้ช่วยให้แบรนด์และร้านค้า 250,000 ราย กลับมาฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งหลังจากผลกระทบของ COVID-19 ในประเทศจีน
  • สถิติคำสั่งซื้อสูงสุดต่อวินาที อยู่ที่ 583,000 รายการต่อ 1 วินาที สะท้อนถึงความยืดหยุ่น และแข็งแกร่งของโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของอาลีบาบา ในการรองรับปริมาณคำสั่งซื้อมหาศาลได้เป็นอย่างดี
  • ยอดขายรวมทุกหมวดหมู่ (GMV) ของมหกรรมช้อปปิ้งระดับโลก 11.11 เป็นมูลค่ารวมทั้งหมดของคำสั่งซื้อที่ชำระเงินผ่านอาลีเพย์ ในการซื้อสินค้าจากมาร์เก็ตเพลสของอาลีบาบาในจีน, เคาล่า (Kaola), ลาซาด้า, อาลีเอ็กซ์เพรส, New Retail และแพลตฟอร์มบริการสำหรับผู้บริโภค
  • โดยนับยอดขายตั้งแต่วันที่ 1-11 พฤศจิกายน 2563 ซึ่งรายงานแบบเรียลไทม์ และนับรวมค่าจัดส่ง (ถ้ามี)

 ยังมีตัวเลขที่น่าสนใจเพิ่มเติม ดังนี้

  • 342 แบรนด์ทำยอดขายจากทุกช่องทางทะลุ 100 ล้านหยวน และมี 13 แบรนด์ที่ทำยอดขายจากทุกช่องทางได้เกิน 1,000 ล้านหยวน โดยนับยอดขายระหว่างเวลา 00.00 น วันที่ 1 พฤศจิกายน ถึงเวลา 00.35 น วันที่ 11 พฤศจิกายน
  • แบรนด์ที่มียอดขายเกิน 100 ล้านหยวน เช่น แอปเปิล, ลอรีอัล, ไฮเออร์, เอสเต้ ลอเดอร์, ไนกี้, หัวเว่ย, ลังโคม, เสียวหมี่ และอาดิดาส

สินค้าสุขภาพนำเข้า ได้รับความนิยมสูงเป็นพิเศษ  

  • หมวดหมู่ของสินค้านำเข้าที่ได้รับความนิยมสูงสุด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อุปกรณ์ดูแลผิวหน้า นมผงสำหรับทารกและเด็ก ชุดบำรุงผิวหน้า และแผ่นมาสก์หน้า โดยนับยอดขายระหว่างเวลา 00.00 น วันที่ 1 พฤศจิกายน ถึงเวลา 09.00 น วันที่ 11 พฤศจิกายน
  • แบรนด์สินค้านำเข้าที่มียอดขายสูงสุด 10 อันดับ ได้แก่ YA-MAN, Aptamil, Swisse, KAO, ชิเซโด้, A.H.C, SmoothSkin, a 2, Bio Island และเอ็มโพริโอ อาร์มานี โดยนับยอดขายระหว่างเวลา 00.00 น วันที่ 1 พฤศจิกายน ถึงเวลา 09.00 น วันที่ 11 พฤศจิกายน

สร้างโอกาสให้แบรนด์ใหม่ๆ และสินค้าเกษตร

  • มีแบรนด์ใหม่ 357 แบรนด์ที่ทำยอดขายได้สูงสุดในหมวดหมู่ของตนเอง จากสถิติยอดขายรวมทุกช่องทางตั้งแต่เวลา 00.00 น วันที่ 1 พฤศจิกายน จนถึงปัจจุบัน มีแบรนด์ใหม่ 1,800 แบรนด์ทำยอดขายได้มากกว่ายอดขายรวมที่ทำได้ในงาน 11.11 ปีที่ผ่านมา และมี 94 แบรนด์ใหม่มียอดขายเติบโตเกิน 1,000%
  • ในมหกรรม 11.11 ปีนี้มีร้านค้าและผู้ขายมากกว่า 300,000 รายที่มาจากประเทศยากจน โดยระหว่างวันที่ 1-10 พฤศจิกายน ยอดขายรวมจากทุกช่องทางของผู้ขายเหล่านี้เติบโตขึ้น 74% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ในจำนวนนี้มีผู้ขาย 52 รายที่ทำยอดขายได้สูงกว่าปีที่แล้วถึง 122%
]]>
1305518
เปิดที่มา 11.11 จากวันคนโสด สู่มหกรรมช้อปปิ้งโลก https://positioningmag.com/1196784 Sun, 11 Nov 2018 08:30:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1196784 มาแล้ว เทศกาลช้อปกระหน่ำ สินค้าออนไลน์ของแพลตฟอร์มต่างๆ ในวันที่ 11 เดือน 11 ที่กำลังกลายเป็นกระแสมหกรรมช้อปปิ้งไปทั่วโลก

กระแสถูกโหมโดยอาลีบาบา ไม่เพียงแค่เข้ามาแทนที่วันคนโสดที่เคยเป็นกระแสหลักของวันที่ 11 พฤศจิกายนของทุกปีในจีน หรือ 11.11 เท่านั้น แต่อาลีบาบายังทำให้เทศกาลนี้เติบโตจนคนทั่วโลกรู้จักอาจจะมากกว่า เทศกาลช้อปปิ้งใหญ่ในสหรัฐอเมริกา อย่าง Black Friday ซึ่งเปรียบเสมือนวันช้อปปิ้งแห่งชาติ เพราะทุกห้างร้านทั้งออฟไลน์ออนไลน์จะลดราคาสินค้ากันทั่วทั้งอเมริกา มิหนำซ้ำยังเป็นการเลือกเทศกาลขึ้นมาตัดหน้าล้วงกระเป๋าเงินนักช้อปล่วงหน้าก่อนเทศกาลเก่าแก่ถึงหนึ่งเดือน

ในช่วงแรกเทศกาลช้อปปิ้งออนไลน์ กะจะให้คนโสดที่ใช้ชีวิตโดดเด่นอยู่หน้าคอม มาเป็นลูกค้าหลัก แต่จากผลการสำรวจของนีลเส็นตั้งแต่ปี 2015 พบว่า นักช้อปของเทศกาล 11.11 นั้นเป็นกลุ่มครอบครัวสูงถึง 60% และตอนหลังอาลีบาบาก็เลือกที่จะโฟกัสให้ใหญ่ขึ้นด้วยการย้ำว่า เทศกาลช้อปปิ้งระดับโลก โดยไม่จำกัดรูปแบบ แต่จะกระจายทำโปรโมชั่นลดกระหน่ำและเก็บสถิติยอดขายซึ่งตอนนี้ขยายมาถึง 1 เดือนก่อนถึงเวลาสิ้นสุดของเที่ยงคืนวันที่ 11.11 ในแต่ละปี รวมทั้งทำครบทุกแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของอาลีบาบาที่มีอยู่ทั้งหมด

แต่ที่ถือเป็นการจุดพลุที่ตอกย้ำให้เทศกาลนี้กลายเป็นการช้อปปิ้งระดับโลกอย่างแท้จริงคือ การที่แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซอื่นๆ ทั่วโลกโดยเฉพาะจากฝั่งเอเชียด้วยกันเองรวมถึงในอาเซียน กระโดดเข้ามาร่วมหวังเพื่อหวังชิงส่วนแบ่งยอดขายจากเทศกาลที่อาลีบาบาสร้างให้เป็นปรากฏการณ์ขึ้นนี้

ปี 2018 นี้ เป็นปีที่อาลีบาบาจัดเทศกาล 11.11 มาครบรอบปีที่ 10 แต่ละปีทำยอดขายเพิ่มขึ้น และมีการโชว์สถิติที่เรียกความสนใจให้สื่อทุกแขนงไปนำเสนอถึงความสำเร็จนี้ต่อเนื่อง ทำให้ไม่เพียงแค่การทำยอดขายจำนวนมากจากเทศกาล แต่อาลีบาบายังได้แบรนดิ้งบริการจากธุรกิจในอีโคซิสเต็มทั้งหมดที่มี ผ่านการรายงานผล โดยเฉพาะช่วงการถ่ายทอดสดสลับกับการแสดงต่างๆ ในงานกาลาดินเนอร์ที่จัดขึ้นในคือวันที่ 11.11

ย้อนดูสถิติ จุดเริ่มต้นเทศกาล 11.11

ทั้งนี้หากย้อนไปดูจุดเริ่มต้นของเทศกาล 11.11 ก็ยิ่งเห็นได้ชัดว่า ในเวลาแค่ 10 ปีพัฒนามาได้ไกลแค่ไหน และแน่นอนเกินกว่าการคาดการณ์ที่ประเมินกันไว้มาก

ปี 2009 เป็นปีแรกที่อาลีบาบาเลือกหยิบวันคนโสด หรือ 11.11 มาจัดเทศกาลช้อปปิ้งออนไลน์ ณ ตอนนี้ยอดขายสินค้าออนไลน์จีนเพิ่งทำยอดขายได้เพียง 52 ล้านหยวน คิดแล้วมีสัดส่วนน้อยกว่า 2% ของมูลค่าสินค้าคอนซูเมอร์ทั่วประเทศจีน 

วันคู่ 11 ซึ่งแถมจะไม่เหลือเค้าวันคนโสดแล้วนี้ สะท้อนธุรกิจจีนในตลาดออนไลน์ช้อปปิ้งที่เติบโตขึ้นอย่างมหาศาล เพราะวันคู่ 11 สำหรับเทศกาลช้อปปิ้งออนไลน์เพิ่งเริ่มขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2009 วันที่อาลีบาบาบริษัทแม่ของห้างช้อปปิ้งออนไลน์ยอดนิยมของจีนเพิ่งมีรายได้เพียง 52 ล้านหยวน และออนไลน์ช้อปปิ้งเพิ่งมีสัดส่วนน้อยกว่า 2% ในตลาดสินค้าคอนซูเมอร์จีนทั้งประเทศ 

ผ่านไปเพียง 5 ปี ในปี 2015 เทศกาลนี้ก็ทำให้เห็นแนวโน้มใหม่ ที่ แจ็ค หม่า ประกาศไว้ว่าจีนจะเป็นตลาดแห่งความหวังของธุรกิจขนาดกลางและเล็กจากอเมริกา

ทำให้ในปีนี้นั้น มี 4 ห้างสรรพสินค้าใหญ่ของอเมริกา อย่าง macy’s, Bloomingdale’s, Neiman Marcus และ Saks Fifth Avenue เข้าร่วมกับอาลีบาบา นำสินค้ากว่า 3 หมื่นแบรนด์ มากกว่า 6 แสนรายการ เข้ามานำเสนอขายผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซต่างๆ ในเทศกาล 11.11

ที่สำคัญ จากวันคนโสด หรือมหกรรมช้อปปิ้งออนไลน์โลก ที่เปลี่ยนมาเป็นมหกรรมช้อปปิ้งระดับโลก ทำให้เกิดมูลค่าการซื้อขายในช่วงเทศกาลสูงกว่าปกติถึง 18 เท่า และที่ผ่านมาล่าสุด ยังทำรายได้สูงกว่าเทศกาล Black Friday รวมทั้ง Cyber Monday และ Amazon Prime Day ของ Jeff Bezoes เจ้าพ่ออีคอมเมิร์ซของฝั่งอเมริกาที่ขึ้นเป็นบุคคลที่รวยที่สุดในโลก รวมกัน 2.5 เท่า

ที่มาของ 11.11

เทศกาลคนโสดในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่เรียกว่า กวงกุ่ยเจี๋ย (光棍) กวงกุ่ย หรือการอยู่คนเดียว เจี๋ย คือ วันเทศกาล เกิดจากการนำเอาวันที่มีเลข 1 สี่ตัวในรอบปี ก็คือวันที่ 11 เดือน 11 มาเป็นตัวแทน ทำให้มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า Double 11 ที่แปลมาจากภาษาจีนว่า ซวงสืออี (双十一)

นักศึกษาในมหาวิทยาลัยนานกิงในยุค 90 เป็นคนที่เริ่มต้นกำหนดเทศกาลนี้ขึ้นเป็นเรื่องสนุกเพราะเลข 1 คือตัวแทนของคนคนเดียว แต่ใช้เวลาไม่นานก็ได้รับความนิยมแพร่ระบาดออกไปทั่วประเทศ พอเวลาผ่านไปเรื่อยๆ กลับมีคนจำนวนไม่น้อยหันมานิยมแต่งงานกันในวันนี้ รวมทั้งร้านค้าต่างๆ ก็ถือโอกาสจัดลดราคาครั้งใหญ่ในรอบปี

จนมาถึงยุคช้อปปิ้งออนไลน์ Tmall แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของอาลีบาบาก็เลือกวันนี้มาเป็นวัดจัดโปรโมชั่นลดราคาสินค้าสำหรับนักช้อปออนไลน์ จนพัฒนาเป็นเทศกาลที่ทำยอดขายถล่มทลายในปัจจุบัน

คนจีน ได้ตั้งฉายาใหม่ให้ว่าวันสับมือ (剁手日 หรือ hand-chopping day) เพราะโปรโมชั่น ส่วนลด และสินค้าที่ถูกนำมาเสนอ แทบจะทำให้นักช้อปอดใจไม่ไหวที่จะต้องเสียเงินทันทีที่เห็น 

ไทยลดกระหน่ำ 11.11

ในไทยก็เช่นกัน โดยทำผ่านลาซาด้า กิจการอีคอมเมิร์ซในเครืออาลีบาบามีเครือข่ายในประเทศไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม ผ่านดีลพิเศษกว่า 50 ล้านอย่าง และส่วนลด 90% ในกว่าล้านไอเท็ม ตลอดระเวลาช้อปปิ้ง 24 ชั่วโมง

โดยมีเกมล่าสุด “Wonderland”  ซึ่งเป็นแผนที่แบบอินเทอร์แอคทีฟที่ทำให้ลูกค้าค้นพบดีลพิเศษและรับบัตรกำนัล ซึ่งแบรนด์ที่เข้าร่วมเกมนี้ รวมแบรนด์เช่น L’Oréal, Laneige and Huawei.

ส่วนคู่แข่งในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ อย่าง shopee ไม่พลาดที่ส่งแคมเปญออกมาลุย ด้วยแคมเปญ Shopee 11.11 Big Sale ลดอลัง ปังทุกดีล เริ่มต้นที่ 11 บาท ออกมาสู้ศึกเท่านั้น

ปีนี้ บรรดาค้าปลีก เจ้าของแบรนด์สินค้าต่างๆ ที่ส่งแคมเปญเข้าร่วมในวันช้อปปิ้ง 11.11 อย่าง ยูนิโคล่ ลดราคาสินค้าวันนี้เช่นกัน, วัตสัน ใช้เลข 11 มาลดราคาสินค้า 11 รายการ ล่วงหน้าตั้งแต่  9 – 11 พฤศจิกายน 2561 และลดเพิ่มอีก 11 % อีก 2 วันหลัง

ค่ายเดอะมอลล์ก็เช่นกัน จัดแคมเปญ THE MALL SHOPPING CENTER 11:11 & BLACK SUNDAY ให้คนมาช้อปแล้วรับ M Points และบัตรกำนัลห้างฯ รวมมูลค่า 1.3 ล้านบาท เฉพาะวันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน 2561 และวันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน 2561 ที่ เดอะมอลล์ ช้อปปิ้งเซ็นเตอร์ ทุกสาขา (ยกเว้นสาขารามคำแหง)

เพราะแทนที่จะปล่อยให้อาลีบาบาโกยยอดขายอยู่คนเดียว บรรดาค้าปลีกและเจ้าของแบรนด์สินค้าก็ต้องส่งแคมเปญเข้าสู้ศึกวันช้อปปิ้งที่กลายเป็นกระแสไปแล้ว.

]]>
1196784
ศึกวันคนโสด 11.11 แคมเปญแรงหนุนอาลีบาบาโกยรายได้โตกระฉูด 56% https://positioningmag.com/1155568 Sat, 03 Feb 2018 02:04:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1155568 อาลีบาบา กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด (NYSE: BABA) ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซของจีน ได้รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 3 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 มีรายได้รวม 83,028 ล้านหยวน หรือประมาณ 12,761 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 56% เทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน  

ส่วนปัจจัยบวกที่หนุนธุรกิจให้โตอย่างแข็งแกร่ง มาจากนวัตกรรม และบริการที่หลากหลายที่บริษัทเสนอให้แก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภค และที่สำคัญคือการบริโภคของชาวจีนยังคงมีความแข็งแกร่ง โดยเฉพาะในช่วงที่มีการจัดกิจกรรมการตลาดสุดยิ่งใหญ่ในวันคนโสดหรือ 11.11 กลายเป็นมหกรรมโกยเงินถล่มทลายแบบวินาทีต่อวินาที

ขณะที่กำไรสุทธิของบริษัทอยู่ที่ 23,332 ล้านหยวน หรือ 3,586 ล้านเหรียญสหรัฐ ด้านกระแสเงินสดจากการดำเนินงานอยู่ที่ 55,137 ล้านหยวน หรือ 8,480 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยกระแสเงินสดที่มากมาจากธุรกิจหลัก ซึ่งก็คือค้าปลีก-ค้าส่งถึง 7,100 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้บริษัทสามารถนำเงินไปลงทุนในธุรกิจค้าปลีกยุคใหม่ คลาวด์คอมพิวติ้ง และธุรกิจสื่อดิจิทัลเพื่อความบันเทิง เพื่อตอบรับกับความต้องการของตลาดและผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น

เรารู้สึกตื่นเต้นกับกระแสตอบรับอย่างต่อเนื่องของธุรกิจค้าปลีกยุคใหม่ (New Retail) ซึ่งเกิดขึ้นภายในเทศกาล 11.11 โกลบอล ช้อปปิ้ง เฟสติวัล มหกรรมช้อปปิ้งประจำปีที่ประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้นอีกครั้ง” มร. แดเนียล จาง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของอาลีบาบา กรุ๊ป กล่าว

ไฮไลต์ผลประกอบการอาลีบาบา กรุ๊ป ไตรมาส 3  

• รายได้หลักจากธุรกิจการค้าปลีก-ค้าส่งอยู่ที่ 73,244 ล้านหยวน หรือ 11,257 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโตขึ้น 57% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

• รายได้จากธุรกิจคลาวด์คอมพิวติ้งอยู่ที่ 3,599 ล้านหยวน หรือ 553 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 104% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

• รายได้จากธุรกิจสื่อดิจิทัลและบันเทิงอยู่ที่ 5,413 ล้านหยวน หรือ 832 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 33% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

• รายได้จากกลุ่มธุรกิจเชิงนวัตกรรมอยู่ที่ 772 ล้านหยวน หรือ 119 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

• ผู้บริโภคชาวจีนมีการช้อปปิงสินค้าผ่านช่องทางค้าปลีกของอาลีบาบาอย่างน้อย ครั้งต่อปี รวมทั้งสิ้น 515 ล้านคน เติบโตขึ้นถึง 27 ล้านราย เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า

• เดือนธันวาคมพบว่า ยอดผู้ใช้งานส่วนใหญ่จะเข้าถึงช่องทางค้าปลีกของบริษัทผ่านโทรศัพท์มือถือสูงถึง 580 ล้านคน สูงกว่าเดือนกันยายนถึง 31 ล้านคน 

และจากความสำเร็จด้านยอดขายมหาศาล ทำให้บริษัทขยายโปรเจกต์ต่างๆ ด้านการค้าปลีกยุคใหม่มากขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับประสบการณ์ช้อปปิ้งที่หลอมรวมระหว่างโลกออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกัน ผ่านทางเทคโนโลยีมือถือ และเทคโนโลยีสำหรับองค์กร

อย่างไรก็ตาม จากผลประกอบการที่เติบโตสูง ยังทำให้บริษัทปรับประมาณการรายได้ในปี 2561 จะเติบโต 55-56% จากเดิมอยู่ที่ 53%.

]]>
1155568