มาสคอต – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 25 Dec 2024 07:37:39 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 มัดรวม ‘แบรนด์ร้านอาหารดัง’ ที่ขอใช้ ‘มาสคอต’ เข้าวงการ ‘กล่องสุ่ม’! https://positioningmag.com/1504818 Wed, 25 Dec 2024 04:42:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1504818 จากกระแสมาสคอตมาร์เก็ตติ้ง (Mascot Marketing) ที่ถูกปลุกโดย น้องหมีเนย (Butter bear) ทำให้หลายแบรนด์พยายามจะปั้น มาสคอต ของตัวเองบ้าง ประกอบกับเทรนด์ กล่องสุ่ม ที่ยังไม่แผ่ว ทำให้แบรนด์ร้านอาหารชื่อดังต้องออก กล่องสุ่มตัวมาสคอต ของแบรนด์ ไปดูกันว่ามีแบรนด์ไหนกันบ้าง

กล่องสุ่มน้องชีสโทสต์ จาก Sizzler

ซิซซ์เล่อร์​ (Sizzler) แบรนด์สเต๊กที่ทำตลาดในไทยมานานกว่า 32 ปี โดยมีภาพจำคือ สลัดบาร์ไม่อั้น แต่ด้วยการแข่งขันที่สูงขึ้นจากร้านอาหารสุขภาพ ประกอบกับแบรนด์ที่อยู่มานาน ดังนั้น การรีเฟรชแบรนด์ใหม่ เพื่อเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ที่อายุน้อยลงจึงเป็นสิ่งจำเป็น

ดังนั้น ซิซซ์เล่อร์จึงปั้นมาสคอตใหม่ของแบรนด์ในชื่อ น้องชีสโทสต์ แม้ในระยะแรกอาจไม่เป็นที่รู้จักนัก แต่นับตั้งแต่น้องหมีเนยจุดกระแสมาสคอตมาร์เก็ตติ้ง ทำให้ซิซซ์เล่อร์ได้ยกเครื่องน้องชีสโทสต์ใหม่ ให้น่ารักยิ่งขึ้น สามารถเปลี่ยนชุดเพื่อให้เข้ากับเทศกาลได้

หลังจากที่ยกเครื่องน้องชีสโทสต์ ซิซซ์เล่อร์ก็ไม่รอช้าที่จะออก กล่องสุ่ม Cheese Toast Keychain Blind Box โดยมีทั้งหมด 6 แบบ และ 1 ซีเคร็ท ราคาสมาชิกกล่องละ 199 บาท ราคาปกติ 399 บาท โดยขายหมด 3,000 Box ใน 1 สัปดาห์ จนต้องออกคอลเลกชันที่สองตามมาพร้อมเพิ่มจำนวนอีก 10 เท่า เป็น 30,000 Box 

กล่องสุ่มบาร์บีก้อนจาก บาร์บีคิวพลาซ่า

หากพูดถึงแบรนด์ร้านอาหารที่มี มาสคอตสุดแข็งแรง แน่นอนว่าชื่อของ บาร์บีคิวพลาซ่า ภายใต้การบริหารของ บริษัท ฟู้ดแพชชั่น จำกัด ต้องเป็นชื่อแรก ๆ ที่หลายคนนึกถึง เพราะเจ้า มังกรบาร์บีก้อน แทบจะถูกเรียกแทนชื่อของแบรนด์ และด้วยกระแสของกล่องสุ่มที่มาแรง มีหรือที่บาร์บีคิวพลาซ่า หนึ่งในแบรนด์ที่มีจุดเด่นในเรื่องกลยุทธ์การตลาดจะตกเทรนด์

โดยในเดือนกันยายนที่ผ่านมา แบรนด์ได้ออกกล่องสุ่ม BAR B GON ‘OH MY GON!’ มีให้สะสมทั้งหมด 5 แบบ แต่กลยุทธ์ของบาร์บีคิวพลาซ่าจะต่างจากซิซซ์เล่อร์ที่ไม่ได้ขาย แต่ต้อง สั่งชุดอาหาร ได้แก่ 

  • ชุดหมู OH MY PORK! ราคา 799 บาท
  • ชุดเนื้อ OH MY BEEF! ราคา 849 บาท

เพื่อรับ Figure 1 ตัว เมื่อสั่ง 1 ชุด โดยออก 1 แบบ/สัปดาห์ ดังนั้น ใครอยากสะสมให้ครบจะต้องไปทานบาร์บีคิวพลาซ่าทุกสัปดาห์เพื่อสะสม

กล่องสุ่มน้องเป็ด จาก MK สุกี้

หลังจากที่เปลี่ยน กล่องทิชชู ให้เป็น น้องเป็ด และ น้องผักกาด เพื่อเพิ่มความน่ารักสดใสบนโต๊ะอาหาร ตั้งแต่ช่วง 2554 จนในปี 2559 ทาง MK สุกี้ ก็ใช้น้องเป็ดมาเป็นมาสคอตในการสื่อสารกับลูกค้า ล่าสุด ทาง MK สุกี้ก็ได้ออก กล่องสุ่มน้องเป็ด Duck Collection Kitchen Series โดยมีให้สะสมทั้งหมด 4 แบบ พร้อมตัวซีเคร็ท

สำหรับกล่องสุ่มของ MK สุกี้จะไม่ได้วางขาย แต่ต้อง ทานครบทุก 1,299 บาท และสั่งเป็ดย่างไซส์ใหญ่ ก็จะได้กล่องสุ่ม 1 ตัว

จะเห็นว่าการมีมาสคอตของแบรนด์ นอกจากจะช่วยให้แบรนด์เกิดมีบุคลิกและนิสัยที่ชัดเจนมากขึ้น ใช้เป็นตัวแทนการสื่อสารของแบรนด์ สร้างความสนิทสนม เป็นกันเอง แต่ยังช่วยต่อยอดกลยุทธ์ทางการตลาด ตามแต่เป้าหมายของแต่ละแบรนด์

อย่างเช่น บาร์บีคิวพลาซ่า ที่สามารถใช้กล่องสุ่มช่วยเพิ่ม ความถี่ ดึงให้ลูกค้ามาทานที่สัปดาห์เพื่อสะสมให้ครบทุกตัว หรือ MK สุกี้ ที่เน้นไปที่การ เพิ่มยอดใช้จ่ายต่อครั้ง ส่วน ซิซซ์เล่อร์ ที่ต้องการเพิ่มจำนวน Members เป็นหลัก จึงขายกล่องสุ่มในราคาพิเศษสำหรับ Members

ใครอยากเห็นร้านอาหารร้านไหนมีมาสคอต หรืออยากให้ร้านอาหารร้านไหนออกกล่องสุ่มเพื่อสะสม คอมเมนต์มาคุยกันได้นะ แต่เชื่อว่าอนาคตคงไม่ได้มีแค่ 3 แบรนด์นี้แน่นอน เพราะกระแสกล่องสุ่มในไทยยังแรงดีไม่มีตกแบบนี้

]]>
1504818
กลยุทธ์ร้านอาหารปั้น “มาสคอต” มาช่วย “คุยกับลูกค้า” สร้างภาพลักษณ์ให้เป็นที่จดจำ https://positioningmag.com/1391975 Fri, 08 Jul 2022 12:45:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1391975 หนึ่งในกลยุทธ์สุดคลาสสิกในการสร้างแบรนด์อย่างหนึ่งคือการปั้น “มาสคอต” ขึ้นมาเป็นตัวแทน และอุตสาหกรรมที่มีการนำมาสคอตมาใช้จำนวนมากก็คือ “ร้านอาหาร” ไปดูกันว่ามีร้านใดบ้างในไทยที่ใช้มาสคอตเป็นตัวช่วยสร้างภาพจำ สร้างสีสันให้แบรนด์ และเป็นตัวแทนในการ “คุยกับลูกค้า” ได้สนิทใจมากขึ้น

พูดถึง “มาสคอต” ร้านอาหาร ตัวอย่างของร้านที่ใช้มาสคอตมานานหลายทศวรรษหนีไม่พ้น “แมคโดนัลด์” และ “เคเอฟซี” ที่มีตัวตลกสีแดง-เหลือง “โรนัลด์ แมคโดนัลด์” กับ “ผู้พันแซนเดอร์ส” ในชุดทักซิโดสีขาว ยืนยิ้มอยู่หน้าร้านคอยรับแขก ต้องยอมรับว่าทั้งคู่คือต้นแบบมาสคอตร้านอาหารเชนต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จมาก่อน

ทำไม “มาสคอต” จึงช่วยแบรนด์ได้มาก? มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ลงใน Journal of Marketing Management เมื่อปี 2013 ระบุว่า “มาสคอตของแบรนด์สะท้อนให้เห็นว่า แนวโน้มของมนุษย์ที่จะทำความเข้าใจโลกผ่านทางมานุษยรูปนิยมนั้นหยั่งรากลึก”

แปลไทยเป็นไทยก็คือ คนเรามักจะสวมบุคลิกแบบมนุษย์ให้กับสัตว์และสิ่งของรอบตัว เพราะเราต้องการจะมีความสัมพันธ์ทางอารมณ์กับสิ่งนั้น และรู้สึกว่าเราจะเข้าใจสิ่งนั้นได้มากขึ้นเมื่อมีความ ‘เหมือน’ กันในเชิงความเป็นมนุษย์

มาสคอต ร้านอาหาร
มาสคอตของแมคโดนัลด์และ KFC

เพราะฉะนั้น การมีมาสคอตจึงได้เปรียบการมีเพียงโลโก้เปล่าๆ ที่ไร้ชีวิต หรือการใช้มนุษย์ที่มีตัวตนจริงเป็นพรีเซ็นเตอร์ในหลายด้าน เช่น

  • ทำให้แบรนด์เกิดมีบุคลิกและนิสัยที่ชัดเจนมากขึ้น สามารถผูกพันกับลูกค้าได้ สร้างความสนิทสนม เป็นกันเอง
  • ไม่ใช่แค่เครื่องมือการตลาด แต่สามารถทำให้เป็นตัวแทนการสื่อสารของแบรนด์ เล่าสตอรี่ของแบรนด์ผ่านตัวตนของมาสคอต และลูกค้าสะดวกใจในการตอบโต้กับมาสคอตเหมือนมีชีวิตจริง
  • ได้เปรียบการใช้คนจริงในยุคโซเชียลมีเดีย เพราะมาสคอตสามารถเป็นได้ทุกอย่างที่ไวรัลในโซเชียล เช่น มีม คลิปตลก

มาดูเคสจริงกันบ้าง นอกจากเชนต่างประเทศแล้ว เชนร้านอาหารบริษัทไทยก็มีการปั้น “มาสคอต” ที่น่าสนใจ เช่น

มาสคอต ร้านอาหาร

บาร์บีก้อน แห่ง บาร์บีคิว พลาซ่า

บาร์บีก้อน ถือเป็นเคสที่ประสบความสำเร็จสูงมากของมาสคอตร้านอาหาร จากมาสคอตมังกรสีเขียวหน้าร้านที่ทำให้คนจดจำร้านได้ มาสู่การเป็นตัวตนของร้าน เป็นองค์ประกอบการทำการตลาดแทบทุกอย่างของร้าน

บาร์บีคิว พลาซ่า ภายใต้การบริหารของ บริษัท ฟู้ดแพชชั่น จำกัด มีการใช้งานบาร์บีก้อนในการสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดีย เสมือนว่าบาร์บีก้อนคือแอดมินที่มาพูดคุยกับลูกค้า จะมีการเรียกแทนตัวเองว่า “GON” อยู่เสมอ จนลูกค้าสนิทสนม เมื่อจะพูดคุยกับร้านก็เรียกร้านว่า “พี่ก้อน” เหมือนกัน ทำให้ความรู้สึกระหว่างร้านกับลูกค้ามีความใกล้ชิด เป็นเบาะรองรับเมื่อแบรนด์เกิดวิกฤตหรือเกิดความผิดพลาด ลูกค้าจะมีความเห็นอกเห็นใจมากขึ้นเพราะรู้สึกราวกับว่าเป็นเพื่อนมนุษย์

ความสำเร็จนี้ทำให้ฟู้ดแพชชั่นสามารถดึงบาร์บีก้อนไปสู่ไลน์ธุรกิจใหม่ได้ นั่นคือธุรกิจ License Partnership ให้ยืมตัวมาสคอตบาร์บีก้อนไปช่วยโปรโมตแบรนด์อื่นๆ ทำแคมเปญร่วมกันได้ด้วย เพราะความแข็งแรงในตัวมาสคอตนี้เอง

 

Jones' Salad
ลุงโจนส์ แห่ง Jones’ Salad

ลุงโจนส์แห่งร้าน Jones’ Salad เป็นมาสคอตในสไตล์ลุงใจดีเจ้าของฟาร์มผัก และมักจะมีทิปส์ด้านการดูแลสุขภาพทุกด้านมาฝาก สอดคล้องกับการเป็นร้านสลัด แถมยังแฝงด้วยมุกตลกในการสื่อสาร ทำให้ลูกค้าสะดวกใจที่จะเรียกแอดมินเพจว่า “ลุง” ตามมาสคอตของร้าน

การมีมาสคอตของร้านสลัดเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะในตลาดที่มีร้านสลัดอยู่ไม่น้อย ทุกร้านมีจุดประสงค์เดียวกันคือขายอาหารสุขภาพ ทำให้มาสคอตลุงโจนส์เป็นสิ่งที่สร้างการจดจำ และเมื่อนำมาสคอตมาช่วยสื่อสารเรื่องหนักๆ อย่างการออกกำลังกาย โภชนาการ สุขภาพ ก็ทำให้ลูกค้ารู้สึกเพลิดเพลินมากขึ้น

คาแรกเตอร์ลุงโจนส์ยังถูกร้านนำไปต่อยอดเป็นสินค้าจำหน่ายได้อีก เช่น แพลนเนอร์ ปฏิทิน มีวางขายตามร้านเครื่องเขียน

 

น้องเป็ด MK

น้องเป็ด แห่ง MK สุกี้

แบรนด์คาแรกเตอร์ของ MK สุกี้ นี้ เท่าที่สืบย้อนได้มาจากการเปลี่ยน “กล่องทิชชู่” ในร้าน MK ให้น่ารักสดใสขึ้นราวปี 2554 โดยมีทั้งน้องเป็ดและน้องผักกาดมาอยู่บนโต๊ะอาหาร

แต่ดูเหมือนว่าจะเป็น “น้องเป็ด” ที่ได้ไปต่อกับการเป็นคาแรกเตอร์หลักแห่ง MK มีการใช้กล่องทิชชูน้องเป็ดอยู่ในภาพโปรโมตเมนูอาหารต่างๆ และพูดคุยกับลูกค้า จนกระทั่งปี 2559 ที่กลายมาเป็นมาสคอตแบบจริงจัง มีการออกแบบใหม่เป็นตัวการ์ตูน 2D น่ารักๆ และมาอยู่บนภาพโฆษณาของ MK สุกี้หลายชุด รวมถึงเป็นสติกเกอร์ LINE ให้ดาวน์โหลดด้วย

การมีน้องเป็ดอยู่บนภาพโฆษณาต่างๆ ช่วยเรียกความสนใจได้ดี และสร้างความน่ารัก เป็นมิตร ลูกค้าอยากพูดคุยด้วย ทำให้แบรนด์ MK ที่อยู่มานานมากกว่า 3 ทศวรรษ ยังไม่ดูล้าสมัยในใจคนไทย

 

มาสคอตหน้าใหม่ของร้าน Chick-A-Boom และ On the Table

นอกจากแบรนด์ที่วางตัวมาสคอตมานานเหล่านี้ ยังมีแบรนด์สัญชาติไทยใหม่ๆ ที่ใช้กลยุทธ์เดียวกัน เช่น “Chick-A-Boom” (ชิค อะ บูม) แบรนด์ไก่ทอดใหม่ในเครือไมเนอร์ โดยพ่วงอยู่กับเดอะ พิซซ่า คอมปะนี ตั้งแต่เริ่มต้นแบรนด์ก็มีการตั้งมาสคอตชื่อ “ชิคกีร่า” ขึ้นมาเพื่อสื่อสารแบรนด์ทันที คาแรกเตอร์ของชิคกีร่าจะเป็นแม่ไก่ซูเปอร์ฮีโร่ เป็นผู้หญิงมั่นใจ ขี้เล่น แสบซน

รวมถึงล่าสุดเครือเซ็น ก็สร้างมาสคอตให้กับ “On the Table, Tokyo Café” ในชื่อ “โต๊ะจัง” มาจากโลโก้แบรนด์ที่เป็นรูปโต๊ะ มาสร้างบุคลิกให้สื่อสารการเป็นร้านอาหารญี่ปุ่นผสมตะวันตก โดยให้น้องโต๊ะจังเป็นสาวโสดวัยทำงานที่รักการกิน มีความขี้เล่น หยอกเอินกับลูกค้า และด้วยการออกแบบสุดน่ารักก็ทำให้ลูกค้าให้การตอบรับอย่างดี

น่าติดตามการสร้างคาแรกเตอร์ “มาสคอต” มากขึ้นในวงการ “ร้านอาหาร” จะทำให้การตลาดยิ่งแข่งขันกันได้น่าสนใจมากขึ้นหรือไม่

ที่มาเพิ่มเติม: Bully Zero/Linkedin, Design Drizzle, Visual Content

]]>
1391975
ไม่หยุด! “ดีแทค” เปิดแผนลุย 5G ต้อนรับมาสคอตตัวแรก ท้าชนน้องอุ่นใจ https://positioningmag.com/1264830 Tue, 18 Feb 2020 06:43:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1264830 ดีแทค เปิดบ้านกางแผนลุย 5G ปีนี้ เตรียมลงทุนขยายโครงข่ายบนคลื่น 26 GHz และ 700 MHz ทันทีที่คลื่นพร้อมใช้งาน ประกาศขยายสถานีฐาน 2300 MHz พร้อมลงทุนเทคโนโลยีใหม่ให้ลูกค้าได้ความเร็วเพิ่มขึ้น 3 เท่า โดยไม่ต้องรอดีไวซ์ที่รองรับ 5G พร้อมขยายบริการใหม่อย่าง dtac@Home ในการให้บริการฟิกซ์ไวเลสบรอดแบนด์ภายในครึ่งปีแรก เครือข่ายในองค์กร และการให้บริการคอนเทนต์ร่วมกับพันธมิตร

ให้ลูกค้าใช้งานเร็วขึ้น 3 เท่า

ชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า

“ปัจจุบันดีแทค มีคลื่นความถี่ที่ครอบคลุม และรองรับการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นคลื่นความถี่ต่ำทั้ง 700 MHz และ 900 MHz ที่ให้ความครอบคลุมในการให้บริการ คลื่นความถี่ย่านกลาง 1800 MHz, 2100 MHz และ 2300 MHz ที่ช่วยให้ทำความเร็วในการเชื่อมต่อได้ และคลื่นความถี่สูง 26 GHz ที่จะเข้ามาช่วยขยายปริมาณที่รองรับในการใช้งาน

ในมุมของดีแทค คลื่น 26 GHz จะเป็นคลื่นที่สร้างประสบการณ์ที่แตกต่างมากที่สุดในการให้บริการ 5G ที่จะทำให้ลูกค้าได้ความเร็วในการใช้งานที่แตกต่างจากเดิม เพียงแต่ 5G ถือเป็นเทคโนโลยีที่ยังใหม่ ดีไวซ์ต่างๆ ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนาทำให้ดีแทคจะเร่งพัฒนาโครงข่าย 4G ให้รองรับการใช้งานที่เร็วขึ้นระดับเดียวกับโครงข่าย 5G”

ดีแทค มองว่าการเปิดให้บริการ 5G ไม่ใช่เรื่องสำคัญที่สุดในเวลานี้ เพราะสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการคือประสบการณ์ในการใช้งานเครือข่ายที่ดี เพราะเมื่อเป็นการใช้งาน 5G บนสมาร์ทโฟน สิ่งที่เกิดขึ้นคือแทบไม่มีความแตกต่างจาก 4G ที่ให้ความเร็วได้สูงอยู่แล้ว

ด้วยการลงทุนขยายโครงข่ายที่ให้บริการ TDD 2300 MHz จาก 17,000 สถานีฐาน เป็น 20,000 สถานีฐานภายในปีนี้ และมีแผนที่จะทำให้ลูกค้าได้ความเร็วในการใช้งานได้ดีขึ้น 3 เท่า (บนสมาร์ทโฟนที่รองรับ) ด้วยการนำเทคโนโลยี Ultra-high-capacity Massive MIMO technology มาติดตั้งทั่วไทย

ขณะที่คลื่น 26 GHz และ 700 MHz ดีแทค เตรียมพร้อมให้บริการ 5G ภายในปีนี้ ด้วยการนำคลื่น 26 GHz มาให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในรูปแบบของฟิกซ์บรอดแบนด์ เสริมจาก dtac@home ที่ปัจจุบันให้บริการอยู่บนคลื่น 2300 MHz ส่วนอนาคตจะต้องรออีโคซิสเตมส์ และอุปกรณ์ที่รองรับ ส่วนคลื่น 700 MHz เมื่อคลื่นความถี่พร้อมนำมาให้บริการ ก็พร้อมที่จะลงทุนเพื่อเตรียมพร้อมให้บริการ 5G ทันที

ยืนยันเพียงต่อต่อการใช้งาน

ชารัด กล่าวต่อว่า แต่ละโอเปอเรเตอร์มีแนวทางในการทำตลาด และมีกลยุทธ์ที่เตรียมไว้ ซึ่งดีแทค ยืนยันว่าการพัฒนาโครงข่ายทั้งหมดนี้ เพียงพอที่จะรองรับการเติบโตในแง่การใช้งานของลูกค้าแน่นอน อย่างในแง่ของการประมูลคลื่น 5G ทุกคนรับรู้ว่าคลื่น 26 GHz สามารถทำความเร็วได้สูงสุด โดยเฉพาะช่วงคลื่นที่ดีแทคเลือกคือช่วงที่สูงที่สุด ซึ่งถือว่าตามแผนที่วางไว้เพื่อใช้งานในอนาคต และคลื่นความถี่นี้เป็นมาตรฐานเดียวกับเยอรมนี อังกฤษ สเปน ฝรั่งเศส และประเทศอื่นๆ อีกมากมาย

“26 GHz เป็นคลื่นเดียวที่สามารถขยายความเร็วในการใช้งานได้ไม่แตกต่างจากไฟเบอร์ ทำให้ดีแทคให้ความสำคัญกับคลื่นนี้เป็นพิเศษ และที่ผ่านมาดีแทคได้ปรับเปลี่ยนคอร์เน็ตเวิร์ก ให้รองรับการเชื่อมต่อในระบบเวอร์ชวลไลเซชัน และ 95% ของสถานีฐานในปัจุจบันมีการลากสายไฟเบอร์เข้าถึงทำให้สามารถให้บริการความเร็วสูงได้”

ประกอบกับพฤติกรรมของลูกค้าปัจจุบันต้องการความสะดวกสบาย ความต่อเนื่องของประสบการณ์ในการใช้งาน จนถึงการใช้งานวิดีโอสตรีมมิ่งที่ต้องการความเร็วในการใช้งานดาต้ามากขึ้น โดยปริมาณการใช้งานเฉลี่ยเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจาก 8 GB ต่อเดือน ในปี 2018 มาเป็น 11 GB ต่อเดือนในปี 2019 และคาดว่าในปีนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 16 GB ต่อเดือน หรือเพิ่มขึ้นราว 50%

เปิดตัวมาสคอต รับ 5G

อีกหนึ่งความน่าสนใจในการเปลี่ยนแปลงหลังเข้ามารับตำแหน่ง CEO ของ ชารัด คือเป็นครั้งแรกที่ดีแทค เปิดตัว ‘มาสคอต’ ใหม่ที่จะมาช่วยสื่อให้เห็นถึงความเรียบรง่าย ซื่อตรง เข้าใจลูกค้า โดยจะเปิดให้ทุกคนช่วยตั้งชื่อ มาสคอต ใหม่นี้ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ก่อนประกาศชื่ออย่างเป็นทางการในวันที่ 29 กุมภาพันธ์

Source

]]>
1264830
มาสคอต มาร์เก็ตติ้ง กรณีศึกษา “น้องเกี่ยวก้อย” มาสคอต ทั้งฮาปนน่ากลัว https://positioningmag.com/1148762 Thu, 30 Nov 2017 19:00:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1148762 น้องเกี่ยวก้อย เปิดตัววันเดียวกลบกระแสมารีญาหายวับจากโลกออนไลน์ เป็นไอเดียเด็ดชิ้นใหม่ของรัฐบาล เมื่อกระทรวงกลาโหม เปิดตัวมาสคอตน้องเกี่ยวก้อยมาเป็นตัวแทนกระบวนการปรองดองของประเทศไทย

กระทรวงกลาโหมชี้แจงว่าน้องเกี่ยวก้อย ที่เป็นลักษณะของเด็กผู้หญิงหน้าตายิ้มแย้มนั้น เพื่อแสดงถึงความอ่อนหวาน มีไมตรีจิต ส่วนคนออกแบบมาสคอตตัวนี้ โฆษกกระทรวงกลาโหมบอกว่า เกิดจากไอเดียของอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ฯ เอง ไม่ได้มีการจ้างทำพีอาร์ และไม่ได้ใช้ต้นทุนสูง

ปรากฏว่าเปิดมาได้ไม่ทันไรน้องเกี่ยวก้อยก็เจอกระแสวิจารณ์กระหึ่มโซเชียลว่าค่อนไปทางน่ากลัวมากกว่าน่ารัก แถมหน้าออกจะดูหมองๆ ไม่ค่อยเป็นมิตรเท่าที่ควร แบบนี้แล้วจะได้ผลแค่ไหน

ส่วนชาวเน็ตตาดี ความจำแม่น เอะใจน้องเกี่ยวก้อย น่าจะเคยเป็นทหารหญิง เพราะเคยรับหน้าที่ช่วงคืนความสุข มาก่อนหน้านี้ หรือไม่ก็เป็นฝาแฝดกัน   

อุเหม่..นึกว่าคิดใหม่ทำใหม่กลายเป็นของรียูสเสียอย่างนั้น ชาวเน็ตสมัยนี้ไวสมวัยดิจิทัลเสียจริง

ไม่ใช่ครั้งแรกที่หน่วยงานรัฐนำเอามาสคอตมาเป็นตัวแทนในการส่งเสริมกิจกรรมของหน่วยงานรัฐ ก่อนหน้านี้มีทั้งมาสคอตตาวิเศษ นำออกมารณรงค์ให้ทิ้งขยะเป็นที่เป็นทาง 

หรืออย่าง น้องสุขใจ ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ก็ทำออกมาเพื่อแนะนำท่องเที่ยววิถีไทย

ที่ฮือฮาไม่แพ้กัน ก็ต้องจ่าเฉยหุ่นตำรวจที่ทำออกมาเพื่อทำหน้าที่กวดขันวินัยจราจรให้ผู้ใช้รถไม่กล้าฝ่าฝืนกฎจราจร

มาส่องดูประโยชน์ที่แท้ของมาสคอตในแง่ของการตลาดกันดูบ้าง ซึ่งมาสคอตเป็นเครื่องมือในการตลาดมานานเขาใช้ประโยชน์จากมาสคอตกันอย่างไร

ใช้มาสคอตเพื่ออะไร

สำหรับมาสคอตในวงการตลาด แค่ตลาดไทยที่เดียว ถ้าจะให้ไล่ว่ามีอะไรบ้าง รับรองว่าเอามาเล่นเป็นเกมสลับกันทายชื่อได้นานหลายนาที ทั้งยุคเก่ายุคใหม่ ตัวอย่างเช่น น้องอุ่นใจของเอไอเอส, บาร์บีก้อน มังกรเขียวของบาร์บีคิวพลาซ่า, ก็อตจิของ ปตท. ผู้พันแซนเดอร์สเคเอฟซี, เถ้าแก่น้อย ฯลฯ

ส่วนมาสคอตในต่างประเทศที่คนไทยรู้จักก็มีไม่น้อย เช่น เจ้าหมีคุมะ หรือคุมะมง จากเมืองคุมาโมโตะ ประเทศญี่ปุ่น ที่สร้างความฮือฮาไปทั่วโลก แต่ละตัวมีเอกลักษณ์ให้จดจำและที่สำคัญทำให้นึกถึงแบรนด์ได้ทันที

มาสคอตเหล่านี้ ออกมาในรูปทรง ขนาด สีและลักษณะเฉพาะตามที่แต่ละแบรนด์หรือองค์กรต้องการ แต่ส่วนใหญ่จะเน้นความน่ารัก เหมือนตุ๊กตามีขน รวมทั้งอาจจะเป็นคน หรือสัตว์จริงๆ ก็ได้ และนำไปใช้งานด้วยวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน แต่เป้าหมายหลักๆ มักหนีไม่พ้นเรื่องของ

  • ทำให้ผู้บริโภคคอนเนคกับแบรนด์หรือบริษัทได้ดีขึ้น
  • เพื่อกระตุ้นให้เกิดความต้องการซื้อสินค้าหรือใช้บริการของกลุ่มเป้าหมาย
  • สร้างความผูกพันระหว่างลูกค้าในระยะยาวกับแบรนด์
  • ที่นิยมมากคือใช้เป็นการเปิดตัวโครงการหรือแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก หรือทำให้เป็นที่สนใจ เพราะมาสคอตมักสร้างความสนใจได้ดีกว่าเมื่อปรากฏตัวในที่สาธารณะ รวมถึงการทำให้เว็บไซต์แตกต่างและเป็นที่จดจำได้ง่ายขึ้นด้วยสำหรับยุคดิจิทัล ซึ่งทำให้หลายแบรนด์เลือกใช้มาสคอตในสื่อดิจิทัลและเว็บไซต์ขององค์กรจำนวนมาก

มาสคอตช่วยแบรนด์อย่างไร

มาสคอตแยกอาจจะแยกกว้างๆ ได้เป็น แบรนด์มาสคอต และมาสคอตทั่วไป ซึ่งแบรนด์มาสคอตจะมีความแตกต่างจากมาสคอตทั่วไปตรงที่จะต้องดูว่าภาพลักษณ์ที่เกิดขึ้นสื่อถึงคุณค่า หรือเชื่อมโยงกับผลิตภัณฑ์หรือองค์กรนั้นๆ ด้วย

คนใช้มาสคอตในการตลาดเพราะรู้ดีกว่าสินค้าไม่สามารถพูดด้วยตัวเองได้จึงต้องหาตัวแทนที่จะมาพูดแทน และแบรนด์มาสคอตก็คือตัวแทนที่ดี ซึ่งยังได้ในเรื่องการดึงดูดความสนใจจากคนจำนวนมาก

นักการตลาดถึงขั้นยกย่องให้มาสคอตทำหน้าที่เหล่านี้ได้ดีพอๆ กับการเลือกซูเปอร์ฮีโร่ หรือเซเลบริตี้มาเป็นตัวแทนสินค้าเลยทีเดียว แถมมีข้อดีมากกว่าตรงที่ ช่วยแบรนด์ประหยัด ไม่ต้องจ่ายค่าตัวหรือค่าลิขสิทธิ์แพงๆ ยิ่งถ้ามาสคอตเป็นที่รู้จักด้วยแล้ว มาสคอตของแบรนด์ก็จะยิ่งให้ผลต่อแบรนด์โดยตรงได้ดีกว่า

มิหนำซ้ำ แบรนด์มาสคอตบางตัวที่มีชื่อเสียงมากขึ้น ก็สามารถกลายเป็นเซเลบริตี้ได้อีกด้วย โดยเฉพาะบรรดามาสคอตการ์ตูนที่เด็กๆ และคนทั่วไปชื่นชอบ ตัวอย่างเช่น Bibendum ของมิชลิน Tony the Tiger ของ Kellogg หรือ Bertie Bassett ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม สำหรับในยุคปัจจุบันหลายแบรนด์เริ่มมีมาสคอตรวมถึงคาแร็กเตอร์ของตัวเองจากการทำสติกเกอร์ในแอปพลิเคชั่นไลน์ ซึ่งทำให้ผู้บริโภคใช้ฟรีในการแชตจนจดจำได้เพราะมีความถี่ในการใช้งานสูง อีกทั้งการลงทุนทำสติกเกอร์ไลน์ก็ใช้เงินลงทุนหลักหลายสิบถึงร้อยล้านบาทำให้หลายแบรนด์เลือกนำคาแร็กเตอร์ในสติกเกอร์มาต่อยอดเป็นมาสคอตของแบรนด์ซึ่งให้ผลด้านการผูกพัน และจดจำแบรนด์ของผู้บริโภคจากการใช้ไลน์ไปสู่การมีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ในส่วนอื่นๆ

แต่สำหรับน้องเกี่ยวก้อยมาสคอตตัวล่าสุดแห่งวงการ ณ จุดนี้จากการเปิดตัวด้วยใบหน้าเดิมจะทำให้เธอรับบทบาทได้สำเร็จตามเป้าหมายหรือไม่ต้องติดตามความฮอตฮิตของเธอต่อไป.

ที่มาของมาสคอต

มีกำเนิดเมื่อไรไม่แน่ชัด จะใช้เป็นสิ่งมีชีวิตหรือสิ่งของอะไรก็ได้ แต่ส่วนมากมักใช้เป็นสัตว์หรือการ์ตูนที่เป็นมนุษย์ เพื่อใช้เป็นตัวแทนของแบรนด์หรือสัญลักษณ์ของงานอะไรบางอยู่สู่สาธารณชน เริ่มมีการอ้างถึงว่ามีการใช้ในการแข่งขันกีฬาระดับโรงเรียนและมหาวิทยาลัยประมาณ 200 กว่าปีก่อน หรือราวปี ค.. 1800 ก่อนจะเริ่มแพร่หลายโดยใช้ในกีฬาโอลิมปิกอย่างเป็นทางการเมื่อปี 1972 ที่เมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนีและต่อๆ มาก็มีองค์กรหรือบริษัทต่างๆ เริ่มใช้มาสคอตมาเป็นตัวแทนธุรกิจหรือแบรนด์ของตัวเองมากขึ้น จนกลายเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งที่วงการธุรกิจการตลาดนิยมใช้เพื่อสร้างการจดจำ และเป็นตัวเชื่อมโยงที่สำคัญระหว่างลูกค้ากับแบรนด์

]]>
1148762