ยำยำ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 08 Mar 2023 12:48:54 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “ยำยำ” เลือก BOWKYLION เป็นพรีเซ็นเตอร์ ดันยอดขายบะหมี่กึ่งฯ “พรีเมียม” สินค้าฮิตในหมู่วัยรุ่น https://positioningmag.com/1422405 Wed, 08 Mar 2023 11:59:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1422405 ใครๆ ก็หันมาบุกหนักตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป “พรีเมียม” ปีนี้ “ยำยำ” ทุ่ม 70 ล้านบาทเปิดแคมเปญดัน “ยำยำ สูตรเด็ด โฉมใหม่” ซึ่งเป็นสินค้าในกลุ่มพรีเมียม ให้ครองใจเป้าหมาย New Gen โดยเลือกพรีเซ็นเตอร์ “BOWKYLION” (โบกี้ไลอ้อน) มาช่วยเจาะตลาดซึ่งกำลังเป็นขาขึ้น เติบโตถึง 24% เมื่อปี 2565

1 ปีที่ผ่านมาเป็นช่วงท้าทายของตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป จากสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ทำให้ราคาวัตถุดิบผลิตบะหมี่ผันผวน โดยเฉพาะข้าวสาลีและน้ำมันปาล์มที่ปรับขึ้นสูง ผู้ประกอบการต้องแบกต้นทุนไว้จนในที่สุดปี 2565 ทางกระทรวงพาณิชย์จึงอนุมัติให้ผู้ประกอบการสามารถขึ้นราคาได้ซองละ 1 บาท

อย่างไรก็ตาม ต้นทุนที่ยังคงผันผวนขึ้นลงทำให้ผู้ประกอบการหันหาทางแก้เกมอื่นๆ โดยฝั่ง “ยำยำ” เป็นหนึ่งในแบรนด์ที่เลือกดันตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูประดับ “พรีเมียม” อย่างเต็มที่ เพื่อช่วยถ่วงน้ำหนักทำกำไรให้กับองค์กรได้ดีขึ้น

(จากซ้าย) “ชินานันท์ บุญศิริยะ” ผู้จัดการฝ่ายการตลาด กลุ่มธุรกิจในและต่างประเทศ และ “ยูจิ มิซุตะ” กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท วันไทยอุตสาหกรรมอาหาร จำกัด

“ยูจิ มิซุตะ” กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท วันไทยอุตสาหกรรมอาหาร จำกัด เปิดเผยถึงยอดขายของยำยำเมื่อปี 2565 ภาพรวมทั้งบริษัทยำยำเติบโต 10% แต่กลุ่มที่เติบโตดีกว่าตลาดคือ “ยำยำ สูตรเด็ด” ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าพรีเมียม โตได้ถึง 24.2%

ยำยำ สูตรเด็ด เป็นสินค้าที่ออกจำหน่ายครั้งแรกเมื่อปี 2562 มีทั้งหมด 5 รสชาติ และปีนี้บริษัทกลับมาผลักดันสินค้าพรีเมียมอีกครั้ง ผ่านการปรับโฉมใหม่ทั้งในแง่รสชาติและบรรจุภัณฑ์ รวมถึงออกรสชาติใหม่คือ กลิ่นเห็ดทรัฟเฟิลซอสครีมปู แบบแห้ง

ยำยำ สูตรเด็ด BOWKYLION
“ยำยำ สูตรเด็ด” ราคาขายปัจจุบันซองละ 11 บาท (ปรับขึ้น 1 บาท เมื่อเดือนก.พ.66)

รวมถึงใช้งบ 70 ล้านบาททำแคมเปญการตลาดครบลูป และเปิดตัวพรีเซ็นเตอร์ใหม่ BOWKYLION (โบกี้ไลอ้อน) นักร้องสาวมาแรงของยุคนี้ เพื่อให้ดึงลูกค้าได้ตรงทาร์เก็ตกรุ๊ปเป็นกลุ่ม New Gen วัยรุ่นคนรุ่นใหม่ และเป็นศิลปินที่มีภาพลักษณ์ตรงกับการสื่อสารของยำยำ สูตรเด็ด คือคาแรกเตอร์ที่เผ็ดซี้ด มีความมั่นใจ บุคลิกโดดเด่น และสามารถสร้างกระแสไวรัลได้เสมอ

ยูจิกล่าวต่อว่า ปัจจุบันยอดขายของบริษัทส่วนใหญ่ยังเป็นกลุ่ม “ยำยำ จัมโบ้” ซึ่งเป็นบะหมี่กึ่งฯ ตลาดแมส มีสัดส่วนในยอดขายประมาณ 60-70% รองลงมาคือ “ยำยำ ช้างน้อย” บะหมี่กึ่งฯ เจาะตลาดเด็กวัย 6-12 ปี มีสัดส่วนประมาณ 20-30% ขณะที่กลุ่มพรีเมียมคือ “ยำยำ สูตรเด็ด” และ “ยำยำ คัพ” นั้นมีสัดส่วนประมาณ 10% เท่านั้น

แต่ดังที่กล่าวไปว่า กลุ่มพรีเมียมโตดี ลูกค้านิยมทาน และยังเป็นสินค้าที่มีอัตรากำไรสูงกว่าบะหมี่กึ่งฯ แบบแมส ทำให้ปีนี้บริษัทหันมาผลักดันเต็มที่ โดยเป็นตลาดที่จะต้องมีการสื่อสารการตลาดต่อเนื่องทั้งปี กระตุ้นให้ลูกค้าสนใจและเลือกซื้อบ่อยๆ

ด้านภาพรวมของยำยำ “ชินานันท์ บุญศิริยะ” ผู้จัดการฝ่ายการตลาด กลุ่มธุรกิจในและต่างประเทศ กล่าวว่าในแง่ปริมาณการขาย (Volume) เมื่อปี 2565 ยำยำขึ้นมามีมาร์เก็ตแชร์เป็นอันดับ 2 สำเร็จ ด้วยส่วนแบ่งตลาด 21.4% ซึ่งแต่ละปียำยำจะมีส่วนแบ่งตลาดราว 20-21% สูสีกับแบรนด์ไวไวและผลัดกันขึ้นลงอันดับ 2 กับ 3 มาตลอด

การขึ้นสู่อันดับ 2 อีกครั้งเมื่อปีก่อนก็เกิดจากการเร่งยอดขายในกลุ่มพรีเมียม และได้อานิสงส์การเปิดเมืองกลับมาใช้ชีวิตปกติ ทำให้ยำยำ ช้างน้อยที่เจาะตลาดเด็กประถมกลับมาโตดีด้วย ด้วยลักษณะเป็นของว่างระหว่างมื้ออาหารที่เด็กนิยมซื้อทานนอกบ้าน

ปี 2566 นี้วันไทยอุตสาหกรรมอาหารตั้งเป้ายอดขายรวมทั้งบริษัทจะโต 14% และคาดหวังว่ากลุ่มพรีเมียมจะโตอย่างน้อย 24% เท่ากับปีก่อนหลังอัดงบการตลาดไปเต็มที่

ถ้าเป็นไปได้ก็จะขอยึดหัวหาดอันดับ 2 ของตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไว้ให้นานที่สุดด้วย!

]]>
1422405
อ่านเกม “ยำยำ” ทำไมต้อง “แซ่บ” ขึ้น https://positioningmag.com/1200258 Wed, 28 Nov 2018 15:35:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1200258 การเป็นเบอร์รองในตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมูลค่า 16,000 ล้านบาท ของ “ยำยำ” กำลังเจอความท้าทายอย่างหนักหน่วง เพราะส่วนแบ่งการตลาดที่เคยมีตัวเลข 25% ในปี 2015 ทำท่าลดลงมาเรื่อยๆ จนปีที่ผ่านมาลดเหลือ 24% และตัวเลขล่าสุดในปี 2018 เหลือ 23% นับว่าเป็นตัวเลขไม่น้อยทีเดียว

ยำยำ” ที่ทำตลาดมานาน 45 ปี ยอมรับส่วนแบ่งที่หล่นหายไป มาจากหลากหลายสาเหตุด้วยกัน เริ่มตั้งแต่ภาพใหญ่ของ “ตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” อยู่ในภาวะอิ่มตัว เติบโตไม่ดีเหมือนเคย คาดการณ์ปีนี้เติบโตราว 3.9% เท่านั้น และยังมีแนวโน้มเติบโตต่ำต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ยังต้องจะเจอศึกรอบด้าน เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป หันไปทานอาหารต่างๆ ที่วางขายอยู่ใน “ร้านสะดวกซื้อ” ไม่ว่าจะเป็น อาหารแช่แข็ง ซึ่งปีที่ผ่านมาโตถึง 9% หรืออาหารพร้อมทาน (Ready-To-Eat ) ก็เติบโตได้ดีด้วยตัวเลข 7% จะว่าไปทั้งอาหารแช่แข็งและพร้อมทานต่างก็เติบโตดี เพราะพฤติกรรมของคนยุคนี้ที่ใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบ

ไม่เพียงเท่านั้นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยังถูก “ขนมขบเคี้ยว” เข้ามาเบียด เพราะเดิมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปถูกผู้บริโภคบางส่วนนำมา “กินเล่น” แต่ในระยะหลังขนมขบเคี้ยวมีให้เลือกหลากหลายมากขึ้นทำให้ตลาดขนมขบเคี้ยวมูลค่า 35,182 ล้านบาท ปีที่ผ่านมาเติบโตถึง 5.9%

เทซึโอะ ซูซูกิ ประธานกรรมการ บริษัท วันไทยอุตสาหกรรมการอาหาร จำกัด ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป “ยำยำ” บอกว่า

ทั้งๆ ที่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปและขนมขบเคี้ยว ถูกมองว่าไม่มีคุณค่าทางสารอาหารเหมือนกัน แต่ทำไมขนมขบเคี้ยวกลับเติบโตได้มากกว่า เมื่อยำยำเข้าไปศึกษาเกมจึงพบว่า ปัจจัยสำคัญที่สร้างการเติบโต อยู่ที่การสร้างความแปลกใหม่ให้กับผู้บริโภค”

เพราะเมื่อเทียบกับตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในระยะหลังๆ แทบไม่มีความตื่นเต้นเลยทำให้ผู้บริโภคชินชาและไม่เกิดความต้องการที่จะซื้อ สถานการณ์ดังกล่าวก็ส่งผลต่อยำยำเช่นเดียวกัน ปีที่ผ่านมายอดขายเติบโตเพียง 2% เท่านั้น เทซึโอะ” เชื่อว่าปัญหาหลักเกิดจากผู้บริโภคที่ “ไม่พอใจ” สินค้าของยำยำ

การค้นหาคำตอบของต้นตอปัญหาจึงเริ่มต้นเมื่อราว 1 ปีก่อน ผ่านการสอบถามถึงความต้องการของผู้บริโภค ในที่สุดก็พบว่า “รสชาติ” ของยำยำยังไม่ถูกปากผู้บริโภคเท่าที่ควร

นอกจากนี้ จากข้อมูลของสมาคมผู้ประกอบการบะหมี่สำเร็จรูปโลกรายงานว่า คนไทยบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมากเป็นอันดับ 9 ของโลก เฉลี่ยคนละ 49 ซองต่อปี (อ้างอิง : World Instant Noodle Association) ในประเทศไทย บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสเผ็ดมีส่วนแบ่งการตลาดใหญ่ที่สุดคือมากกว่า 50% เพราะรสเผ็ดเป็นรสชาติที่คนไทยชื่นชอบและคุ้นเคย

ทำให้ปีนี้ยำยำตัดสินใจปรับรสชาติของสินค้าในกลุ่มจับโบ้ซึ่งมีทั้งหมด 5 รสชาติ โดยเริ่มต้นด้วยโฉมใหม่ของ “ยำยำจัมโบ้ หมูสับ” ที่เปิดตัวไปเมื่อกลางปี ก่อนที่ปลายปีนี้จะส่ง “ยำยำจัมโบ้ ต้มยำกุ้ง” สูตรใหม่ลงตลาด

แต่การปรับรสชาติให้จัดจ้านขึ้นยังไม่สร้างความแปลกใหม่ จึงต้องนำกุ้งแท้ๆ เข้ามาเป็นส่วนประกอบ แม้ต้นทุนเพิ่มไปด้วยยำยำยังคงราคาเดิม 6 บาท

เพื่อสร้างการรับรู้ให้ง่ายขึ้น จึงปรับแพ็กเกจจิ้งให้ดึงดูดมากยิ่งขึ้น ตัวหนังสือ “จัมโบ้” ให้มีขนาดใหญ่เพื่อสื่อถึงความคุ้มค่า โดยเริ่มจำหน่ายตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมา

ที่ต้องปรับแพ็กเกจจิ้งด้วย เพราะหากตั้งบนชั้นวางสินค้า ด่านแรกที่ผู้บริโภคเดินเข้าไปจะพบเห็นคือบรรจุภัณฑ์ ซึ่งหากเตะตาก็เปรียบเสมือนเซลล์แมน สามารถขายตัวเองได้ทันที”

งานนี้ ยำยำ ยังได้ดึง “ปู – ไปรยา ลุนด์เบิร์ก” ดาราระดับแม่เหล็กของเมืองไทย มารับหน้าที่เป็นพรีเซ็นเตอร์ ด้วยภาพลักษณ์ที่มีความร้อนแรง เซ็กซี่ และสุขภาพดี ซึ่งสอดคล้องกับสินค้า โดย “ปูไปรยา” เข้ามาแทน “ณเดชน์ ญาญ่า” ที่รับหน้าที่มาตั้งแต่ปี 2015 หลังจากนี้ก็จะยิ่ง TVC โฆษณาในออนไลน์และเดินสายแจกสินค้าทดลองชิม

ในขณะที่ “แบรนด์คู่แข่ง” หันไปเข็น “รสชาติใหม่ๆ” เข้าสู่ตลาดกันครึกโครมด้วยมองว่าสามารถกระตุ้นยอดขายได้สูงถึง 30-40% แต่ยำยำกลับเปลี่ยนเกมมาเข็นรสชาติเก่าแทน เบื้องลึกเบื้องหลังของการตัดสินใจครั้งนี้ มาจากข้อมูลที่ว่า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป “รสเผ็ด” มีส่วนแบ่งการตลาดใหญ่ที่สุด คือมากกว่า 50% เพราะรสเผ็ดเป็นรสชาติที่คนไทยชื่นชอบและคุ้นเคย

ยิ่งไปกว่านั้นยอดขายหลักของยำยำมาจาก “รสเผ็ด” เพราะในจำนวนนี้ “ยำยำ จัมโบ้” ที่วางขายอยู่ทั้ง 8 รสชาติ มีถึง 7 รสชาติที่เป็นรสเผ็ด ได้แก่ ต้มยำกุ้ง ต้มยำกุ้งน้ำข้น เย็นตาโพรสต้มยำ ผัดขี้เมาแห้ง ต้มยำทะเลหม้อไฟ และต้มยำหมูสับ มีเพียง “รสหมูสับ” รสเดียวเท่านั้นที่ไม่เผ็ด ทำให้ยำยำมองว่า ก่อนจะออกไปแข่งกับคนอื่นต้องทำตัวเองให้แข็งแรงก่อน

เกมครั้งนี้ถือเป็นการแย่งชิงกับเจ้าตลาดอย่าง “มาม่า” ซึ่งยังคงเป็น “เจนเนอริกเนม” ที่ผู้บริโภคทั่วไปไว้เรียกขานแทนบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ที่สำคัญยอดขาย “รสเผ็ด” ของมาม่า ยังกินส่วนแบ่งในตลาดรสเผ็ดไปถึง 80% เทียบให้เห็นภาพง่ายๆ ในขณะที่มาม่าขายได้ 5 ซอง แบรนด์อื่นยังขายได้ 1 ซองเท่านั้น

นอกจากนี้ การที่ยำยำเลือกลงสู้ศึกในตลาดรสชาติ อย่าง ต้มยำกุ้ง เพราะเป็นตลาดใหญ่ ที่ผู้บริโภคคุ้นเคยอยู่แล้ว โดยการเพิ่มรสชาติให้จัดจ้าน และใส่ส่วนผสมกุ้งลงไป เพื่อให้รู้สึกถึง “ความคุ้มค่า” ในราคาเดิม น่าจะมีโอกาสแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดมาได้มากกว่า รสชาติใหม่ ที่ต้องใช้สรรพกำลังมกกว่า และยังไม่รู้ว่าจะอยู่ในตลาดนานแค่ไหน เพราะส่วนใหญ่ออกมาเพื่อตอบโจทย์ไม่ให้ลูกค้าเบื่อ

เพราะคู่แข่งเวลานี้ยังไม่นับรวม “บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเกาหลี” ที่ขยันเดินสายเข้ามาทำตลาดในเมืองไทย ด้วยจุดเด่น “รสชาติเผ็ด” ที่ปรี๊ดยิ่งว่าของไทย กระตุ้นให้ผู้บริโภคหันมาซื้อกินมากขึ้น จนกระทบกับเจ้าถิ่นต้องออกมาแข่งบ้าง เช่น เจ้าตลาดก็ออกมาม่าออเรียนทัลคิตเชนเข้ามาแข่ง 2 รสชาติ ได้แก่รสฮอตโคเรียนและรสกุ้งผัดซอสต้มยำ อีกรายก็ “ไวไว” ที่เตรียมออกสินค้าใหม่เพื่อมาชนแบรนด์เกาหลี ภายใต้ซับแบรนด์ “ควิก” โดยบอกว่า จะมีเส้นที่คล้ายๆ กัน และจะเปิดตัวปีหน้า

สำหรับแผนในปีหน้า “ยำยำ” เตรียมเข็นรสชาติเผ็ดเข้าสู่ตลาดอีก แต่ยังอุบข่าวไม่บอกจะเป็นรสชาติใหม่หรือนำรสเดิมมาปรับปรุง โดยสิ่งที่ทำทั้งหมดก็เพื่อเป้าหมายส่วนแบ่ง 27% ที่ยำยำฝันอยากให้เกิดขึ้นภายในปี 2019 ให้จงได้.

]]>
1200258
ตลาดบะหมี่กึ่งฯ หมื่นล้านหืดจับ มาม่า-ไวไว-ยำยำ ขยับลุยบะหมี่ “พรีเมียม” รับเทรนด์เกาหลีแรง https://positioningmag.com/1152669 Fri, 05 Jan 2018 01:00:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1152669 ถ้าดูจากอัตราเติบโตของ ตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ในช่วงหลายปีมานี้ ถือว่าเป็นช่วง “ท้าทาย” ไม่น้อยเลย ด้วยฐานตลาดที่ใหญ่ขึ้น มูลค่าประมาณ 16,000-17,000 ล้านบาท ปี 2560 เติบโต 1-2% เท่านั้น

การจะเติบโต 2 หลัก เหมือน 10 ปีก่อน คงเป็นเรื่องยาก เพราะด้วยปัจจัยเศรษฐกิจ กำลังซื้อที่มีผลต่อบะหมี่ฯ ที่แม้ราคาค่อนข้างต่ำ 5-6 บาทต่อซอง ยังมีตัวแปรอื่นๆ ที่กระทบต่อการเติบโตของตลาด ในกลุ่มลูกค้าฐานรากก็มี ข้าวถุงแบ่งขาย ส่วนผู้บริโภคมีรายได้สูงขึ้น ทำให้หันไปบริโภคสินค้าอื่น มากขึ้น อาหารพร้อมทาน อาหารพร้อมปรุง ล้วนมาแย่งการบริโภคบะหมี่ฯ

ปี 2558 ข้อมูลของสมาคมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปโลก หรือ World Instant Noodle Association : WINA ระบุว่า ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ความต้องการ (ดีมานด์) บริโภคบะหมี่ในประเทศไทย ไม่ได้ขยายตัวมากนัก สอดคล้องกับประเทศอื่นในโลก เช่น จีน เบอร์ 1 ที่ดีมานด์บะหมี่ฯ สูง แต่ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ดีมานด์ก็ลดลงตลอด รวมถึงอินโดนีเซียด้วย

สำหรับความต้องการบะหมี่ฯ ในตลาดประเทศไทยพบว่า

  • ปี 2559 อยู่ที่ 3,360 ล้านซอง
  • ปี 2558 และ 57 ทรงตัวที่ 3,070 ล้านซอง
  • ปี 2556 อยู่ที่ 3,020 ล้านซอง
  • ปี 2555 ความต้องการอยู่ที่ 2,960 ล้านซอง

ขณะที่ปริมาณการบริโภคบะหมี่ฯ เบอร์ 1 ของโลก ยังเป็น เกาหลี เฉลี่ย 76.1 ซองต่อคนต่อปี ตามด้วยเวียดนาม 52.6 ซองต่อคนต่อปี และอินโดนีเซีย 50.5 ซองต่อคนต่อปี ส่วนไทยอยู่อันดับ 5 บริโภคเฉลี่ย 49 ซองต่อคนต่อปี

ดีมานด์ที่โตน้อย อัตรการบริโภคบะหมี่ฯ ที่ไม่สูง นับเป็นความท้าทายและทำให้ผู้ประกอบการในไทยต้องหาทางปรับตัวทำตลาด สร้างการเติบโตให้ธุรกิจให้ได้

เกมการแข่งขันในตลาดบะหมี่ หลักๆ หนีไม่พ้น

1. การออกสินค้าใหม่

ฉีกรสชาติเดิมจากต้มยำกุ้ง หมูสับ เช่น ผู้บริโภคชาวไทยเห่อชีส ก็จะถูกนำมาเป็นขาย ซึ่ง “มาม่า” เบอร์ 1 บะหมี่ฯทำมาแล้ว รวมถึงการหันไปทำสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม ยกระดับให้พรีเมี่ยมขึ้นไปอีกนิด เพราะตลาดนี้ยังเติบโตด้วยฐานตลาดยังเล็กสัดส่วนน้อยเพียง 10%หรือมูลค่า 1,000 ล้านบาท โอกาสจึงมีอีกมาก

การมุ่งทำตลาดแบบคัพของทั้ง 3 แบรนด์หลัก มาม่า ไวไว ยำยำ ยังเป็นอีกกลยุทธ์สำคัญ เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคปัจจุบันต้องการความสะดวกสบายมากขึ้น จึงหันมาบริโภคแบบคัพเพิ่มและทำให้มูลค่าตลาดใกล้ 4,000 ล้านบาทแล้ว

2. การใช้พรีเซ็นเตอร์ในการกระตุ้นยอดขาย และสร้างแบรนด์

มาม่าเคยทุ่มงบก้อนโตใช้อั้ม พัชราภา เป็นพรีเซ็นเตอร์ จนขายดิบขายดี ก็ตามมาด้วยใหม่ ดาวิกา, ส่วนคู่แข่ง ยำยำจัมโบ้ ใช้ ณเดช-ญาญ่า

3. ช่องทางจำหน่าย

นอกจากจะขายผ่านร้านค้าทั่วไป (Traditional trade:TT) ห้างค้าปลีกสมัยใหม่ (Moderntrade:MT) แล้ว ร้านอาหารป็นอีกช่องทางที่เข้าจับไปจองกัน โดยเฉพาะร้านก๋วยเตี๋ยว ซึ่งจะมีแบบแพ็คขาย อย่างไวไว เส้นขาว เจาะร้านค้าอย่างดี

4. โปรโมชั่น ขาดไม่ได้

แม้บะหมี่ฯ จะราคาถูก แต่โปรก็เล่นกันแรง มีทั้งแจกทอง แจกรถ และแจกจักรยาน เรียกว่าช่วงไหนที่พบว่า “ความต้องการของผู้บริโภค” มองหารางวัลอะไร ของสิ่งนั้นก็จะถูกประเคนมาล่อใจทันที

มาม่า – ไวไว ลุยตลาดบะหมี่พรีเมียม

ในปี 2561 ผู้เล่นสำคัญอย่าง “มาม่า” วางกลยุทธ์การทำตลาดหลักๆ ได้แก่ ออกสินค้าใหม่เพื่อขยายฐานตลาดให้โต โดยมุ่งเน้นตลาด พรีเมียม และ รักสุขภาพ และการลงทุนในต่างประเทศเพื่อกระจายตลาดนอกบ้านควบคู่ทำตลาดในประทศ

ปีนี้จะมีทั้งสินค้าใหม่ แบรนด์ใหม่ และรสชาติใหม่ออกสู่ตลาดรวม 3 รายการ สินค้าใหม่ที่จะออกยังโฟกัสไปที่พรีเมียม เพราะมีแนวโน้มการเติบโตดี โดยยอดขายมาม่าพรีเมียมอย่าง แบรนด์ โอเรียนทอลคิ ทเช่น เติบโตถึง 26% และจะทำสินค้าค้าสำหรับคนรักสุขภาพมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาด” พิพัฒ พะเนียงเวทย์  รองประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) กล่าว

นอกจากนี้ ยังเดินหน้าขยายการลงทุนในต่างประเทศ ได้แก่

1. บังกลาเทศ เพื่อเป็นฐานผลิตส่งออกตะวันออกกลาง และอินเดีย ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่น่าสนใจ แม้ว่าการเข้าไปจำหน่ายยังมีอุปสรรคด้านกฎหมายอยู่พอสมควร

2. กัมพูชา ซื้อที่ดินเตรียมไว้ขยายโรงงานและกำลังผลิตในอนาคตไว้เรียบร้อยแล้ว ส่วนการทำตลาดมีทั้งสินค้าที่ผลิตในประเทศและนำเข้าจากไทยไปจำหน่าย เพราะยอมรับว่าพฤตกรรมผู้บริโภคชาวกัมพูชานิยมซื้อสินค้าไทยที่มีภาษาไทยมากกว่าสินค้าที่ผลิตในประเทศ โดยตลาดนี้มียอดขายแบบซอง 80,000 หีบต่อเดือน และแบบถ้วย 140,000 หีบต่อเดือน มาม่ามีส่วนแบ่งตลาด 80% และยอดขายประมาณ 300 ล้านบาท

3. เมียนมา ปีนี้จะลงทุน 100 – 200 ล้านบาท เพื่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ ที่มัณฑะเลย์ พื้นที่ 10 กว่าไร่ เพิ่มกำลังผลิตสินค้าอีกเท่าตัว จากโรงงานเดิมที่ย่างกุ้ง กำลังผลิต 5 ล้านก้อนต่อเดือนเต็มแล้ว เนื่อจากตลาดเติบโตดีมากและทำยอดขายกว่า 650 ล้านบาท มาม่ามีส่วนตลาดมากกว่า 70%

4. ฮังการี ที่บริษัทไปซื้อโรงงาน 4 ปีก่อนเพื่อเป็นฐานผลิตสู่ตลาดยุโรป พร้อมปั้นแบรนด์ “มาม่า”กับ “ ไทยเชฟ” ชิงขุมทรัพย์ตลาดบะหมี่ฯ ที่มีสูงมาก ปัจจุบันยอดขายจากฮังการีอยู่ที่ 250 ล้านบาท

ด้าน “ยศสรัล แต้มคงคา” ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท โรงงานผลิตภัณฑ์อาหารไทย จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ ไวไว และ ควิก มองแนวโน้มตลาดรวมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปปี 61 จะคึกคึกคักกว่า 2 ปีที่ผ่านมา ทั้งการออกสินค้าใหม่ การลดแลกแจกแถมที่ต้องมีปกติ การเปิดช่องทางการขายใหม่ๆ 

แผนของไวไว จะมุ่งเน้น 2 กลยุทธ์  คือ 1. กระตุ้นสินค้าเดิมให้เติบโต และพัฒนาสินค้าใหม่ 2. ขยายตลาดต่างประเทศ

ในด้านของ “สินค้า” รสชาติทั้งแบบซอง และคัพ ออกสินค้ามีมูลค่าเพิ่มที่ราคาขาย 7-10 บาท ขยายฐานลูกค้าระดับบนมากขึ้น จากปีก่อน ที่พอร์ตสินค้าพรีเมียมมี 2 รายการ คือไวไวรสหมูน้ำตก และกระดูกหมูต้มยำ เป็นแบบชาม ราคา 25 บาท และจำหน่ายแบบเอ็กซ์คลูสีพที่เซเว่นอีเลฟเว่นเท่านั้น  แต่ปีนี้จะขยายสู่โมเดิร์นเทรดอื่นด้วย

เมื่อประเมินจากตลาด พรีเมียม ที่ราคามากกว่า 10 บาทขึ้นไปนั้นเติบโตดีมาก  จากการเข้ามากระตุ้นตลาดของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจากต่างประเทศจากเกาหลี ช่วง 2 ปีมานี้พบว่ามีหลายแบรนด์เข้ามาทำตลาด และได้รับความนิยม ส่งผลให้กลุ่มพรีเมียมมีมูลค่ารวมประมาณ 1,000 กว่าล้านบาทแล้ว หรือสัดส่วน 10% จากตลาดรวม

ไวไว จึงต้องขยับมาออกสินค้าในกลุ่มพรีเมียมมากขึ้น เพื่อเป็นไปตามเทรนด์ของตลาด แต่ก็ไม่ทิ้งสินค้าเดิม เพราะทำยอดขายหลักกว่า 90%  ส่วนพรีเมียมมีสัดส่วนรายได้ไม่ถึง 5%

ผลประกอบการของไวไว ปี 2560 มีอัตราเติบโต 2-3% มากกว่าตลาดรวมที่เพียง 1% เท่านั้น และมีแชร์เป็นอันดับสองในตลาด ระหว่าง 22-23% ซึ่งผู้บริหารไวไว ยอมรับว่าการจะเพิ่มส่วนแบ่งเพียงแค่ 1% ในตลาดนี้นั้นยากมาก

ยำยำ บะหมี่ญี่ปุ่นแต่เน้นรสชาติไทยๆ

ด้าน “ยำยำ” ภายใต้บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ จำกัด ซึ่งมีบะหมี่ฯ 3 กลุ่มหลักคือ ยำยำจัมโบ้ ยำยำ และยำยำช้างน้อย จับตลาดผู้ใหญ่จนถึงเด็ก  สินค้าใหม่ที่ออกมา อิงความเป็น “ท้องถิ่น” หรือ Local มากขึ้น เช่น รสต้มแซ่บอีสาน รสหมูย่างกระเทียม เพื่อแข่งกับทุกเจ้าที่หา “รสชาติซิกเนเจอร์” ใหม่ๆออกมาสู้

แม้ยำยำจะไม่ออกมาแถลงข่าว แต่การทำตลาดยิงโฆษณ TVC ก็ไม่เคยด้อยกว่าเบอร์ 1 และ 2 อีกทั้งใช้ซุป’ตาร์ แถวหน้ามาเป็นพรีเซ็นเตอร์ด้วย ส่วนช่องทางจำหน่ายแน่นอนว่า 2 รายแรกไปไหน ก็เห็นยำยำที่นั่นเช่นกัน.

ที่มา : http://www.manager.co.th/ibizchannel/

]]>
1152669