ยูบีเอส – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 22 Apr 2024 04:27:39 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 UBS เตรียมปลดพนักงาน 5 ระลอกในปีนี้ ตามแผนลดต้นทุน นักวิเคราะห์คาดอาจต้องปลดพนักงาน 30,000 คนเป็นอย่างน้อย https://positioningmag.com/1470486 Mon, 22 Apr 2024 01:42:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1470486 ยูบีเอส (UBS) สถาบันการเงินรายใหญ่ของสวิตเซอร์แลนด์มีแผนที่จะปลดพนักงาน 5 ระลอกในปีนี้ เนื่องจากต้องการที่จะลดต้นทุน รวมถึงจำนวนพนักงานที่เพิ่มมามากเกินไปหลังจากที่ได้มีการควบรวมกิจการกับเครดิตสวิส (Credit Suisse) ในปี 2023 ที่ผ่านมา

สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวโดยอ้างอิงหนังสือพิมพ์ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์อย่าง SonntagsZeitung ว่า UBS สถาบันการเงินรายใหญ่สุดของประเทศนั้นกำลังเตรียมที่จะปลดพนักงาน 5 ระลอกในปี 2024 นี้ ซึ่งเป็นผลมาจากการควบรวมกิจการ Credit Suisse

SonntagsZeitung ได้รายงานว่า UBS นั้นมีแผนที่จะปลดพนักงาน 5 ระลอกในปีนี้ โดยจะเริ่มต้นในเดือนมิถุนายนที่จะถึงนี้ และสื่อรายดังกล่าวได้อ้างแหล่งข่าวภายในว่าอดีตพนักงานของ Credit Suisse ประมาณ 50-60% จะถูกปลดภายใต้แผนการดังกล่าว

คาดว่ารอบการปลดพนักงานหลังจากเดือนมิถุนายนคือ สิงหาคม กันยายน ตุลาคม และพฤศจิกายน และพนักงานที่จะได้รับผลกระทบนั้นมีแทบทุกฝ่ายทั่วโลก

ก่อนหน้าที่จะมีการควบรวมกิจการ Credit Suisse เข้ามา UBS มีพนักงานราวๆ 45,000 คน แต่หลังจากควบรวมกิจการแล้วนั้นจำนวนพนักงานมีมากถึง 120,000 คน

แผนการปลดพนักงานของ UBS ครั้งนี้ตามหลังมาจากแผนการลดต้นทุน 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐที่สถาบันการเงินรายนี้ประกาศเมื่อเดือนสิงหาคมปี 2023 ที่ผ่านมา แต่ SonntagsZeitung ได้ชี้ว่าสถาบันการเงินรายใหญ่ของสวิตเซอร์แลนด์อาจประหยัดต้นทุนมากถึง 13,200 ล้านเหรียญจากแผนดังกล่าว

สาเหตุที่ทำให้ UBS ต้องเร่งปลดพนักงานไวขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากหน่วยงานกำกับดูแลภาคการเงินของสวิตเซอร์แลนด์ได้เร่งให้สถาบันการเงินรายนี้ต้องเร่งเพิ่มเงินทุนสำรองจากขนาดธุรกิจที่ใหญ่มากขึ้นหลังการควบรวมกิจการ

นักวิเคราะห์คาดว่าหลังจากการควบรวมกิจการของ Credit Suisse สำเร็จจะทำให้ UBS ต้องปลดพนักงานออกมากถึง 30,000 ถึง 35,000 คนทั่วโลก เพื่อที่จะลดต้นทุนดังกล่าว

]]>
1470486
ยูบีเอสได้รับรางวัลบริษัทหลักทรัพย์ยอดเยี่ยม https://positioningmag.com/50114 Thu, 26 Nov 2009 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=50114

ฯพณฯ นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง มอบรางวัล บริษัทหลักทรัพย์ยอดเยี่ยม เน้นบริการนักลงทุนประเภทสถาบัน แก่คุณวิภารัตน์ มีสิทธิ์สกุล กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ยูบีเอส (ประเทศไทย) จำกัด

]]>
50114
ยูบีเอส เผยการคาดการณ์มุมมองทางเศรษฐกิจในเอเชียในปี 2008 https://positioningmag.com/38310 Tue, 11 Dec 2007 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=38310

มร. ดันแคน วูลริดจ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐกิจประจำภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิกของยูบีเอส กล่าวว่า เศรษฐกิจของเอเชียจะเติบโตช้าลงในปี 2550 ขณะที่ มร. ศักดิ์ ศิวา นักวิเคราะห์ด้านกลยุทธ์การลงทุนของศูนย์วิจัยการลงทุนยูบีเอสเชื่อว่า นักลงทุนต้องเข้าใจถึงกระแสเกี่ยวกับการลงทุน 4 ประการของภูมิภาคนี้ได้แก่ เงินที่มีค่าสูงกว่าพื้นฐานความเป็นจริง สภาพเศรษฐกิจแบบฟองสบู่ในเซี่ยงไฮ้ การเปลี่ยนนโนบายจากการป้องกันเศรษฐกิจภายในประเทศเป็นการส่งเสริมการส่งออก และการผลักดันของภาควัตถุ

มร. ดันแคน วูลริดจ์ กล่าวว่า “เศรษฐกิจในเอเชียจะเติบโตช้าลง แต่จะไม่ถึงกับทำให้เกิดการล่มสลายทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ สิ่งที่จะกระทบต่อภูมิภาคไม่ใช่การชะลอตัวทางการเติบโตในสหรัฐอเมริกา แต่มาจากเศรษฐกิจในทวีปยุโรปที่ชะลอตัวลงมากกว่า”

มร. วูลริดจ์ เชื่อว่า ทั่วทั้งทวีปเอเชียรู้สึกได้ถึงการอ่อนตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา แต่การส่งออกของภูมิภาคไปยังทวีปยุโรปอาจได้รับผลกระทบจากความเชื่อมั่นที่ลดลงอย่างรวดเร็วและดัชนีชี้นำอันเป็นข้อมูลที่สามารถบอกแนวโน้มทางเศรษฐกิจในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม มร. วูลริดจ์ ให้ความเห็นต่อว่า “ผลกระทบจากการชะลอตัวด้านการส่งออกจะส่งผลต่อเอเชียน้อยกว่าช่วงที่เกิดสภาวะการชะลอตัวครั้งล่าสุดในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2544 เนื่องมาจากเมื่อพิจารณาสภาวะทางเศรษฐกิจของเอเชียในวันนี้ พบว่าระดับหนี้ในประเทศต่างๆค่อนข้างต่ำ ตลอดจนไม่มีสภาวะฟองสบู่จากการให้สินเชื่อที่เด่นชัดในภูมิภาค ขณะที่ราคาของอสังหาริมทรัพย์ก็ไม่ได้ลดลงในระยะยาว”

ด้านประเทศจีนดูเหมือนจะได้รับผลกระทบน้อยที่สุดจากการชะลอตัวในสหรัฐอเมริกาและยุโรป และยังคงจะรักษาระดับการเติบโตที่อัตราร้อยละ 10 โดยยูบีเอสเห็นว่าการชะลอตัวในจีนส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการลดลงของการส่งออกสุทธิ เนื่องจากความต้องการในสินค้านำเข้าของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลักเริ่มลดน้อยลง แต่การผลักดันขีดความสามารถในการผลิตให้ไปสู่จุดสูงสุดของจีนก็นำไปสู่การนำเข้าวัตถุดิบที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งหมายความว่าการส่งออกของจีนจะชะลอตัวลงในขณะที่การนำเข้าเพิ่มสูงขึ้น

มร. ศักดิ์ ศิวา กล่าวถึงกลยุทธ์การลงทุนในหลักทรัพย์ในภูมิภาคเอเชียว่า “เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2543 ที่เอเชียจะเข้าสู่ช่วงเริ่มต้นของปีที่จะต้องเผชิญกับการประเมินสภาวะทางเศรษฐกิจและค่าเงินที่สูงกว่าความเป็นจริง ซึ่งเกี่ยวข้องกับทั้งเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาก่อนและสภาวะทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วโลก ซึ่งเรากำลังมองถึงผลตอบแทนในระดับตัวเลขหลักเดียวในปี 2551 ซึ่งผลตอบแทนในระดับดีมาจากภาคการส่งออกและผลตอบแทนที่ติดลบเป็นผลมาจากการดำเนินธุรกิจและระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ”

มร. ศิวา เชื่อว่าในแนวคิดที่สำคัญสำหรับภูมิภาคในปี 2551 ที่ว่า ไม่ว่าสภาวะฟองสบู่ในเซี่ยงไฮ้จะเบาบางและคลี่คลายลงหรือไม่ ประเทศอื่นๆในภูมิภาคเอเชียจะหลุดพ้นจากภาวะค่าเงินที่สูงกว่าพื้นฐานความเป็นจริง เพราะการประเมินค่าเงินนั้นได้ถูกทำให้ถูกต้องตามพื้นฐานความเป็นจริงจากเศรษฐกิจในประเทศจีนแล้ว

นอกจากนั้นแล้ว ความกังวลที่มีต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐอเมริกาที่ลดลง ทำให้ยูบีเอสเชื่อว่าการเปลี่ยนแผนการตลาดแบบป้องกันเศรษฐกิจภายในประเทศ เช่น ในจีนและอินเดีย เป็นการส่งเสริมการส่งออก เช่น ในประเทศเกาหลีและอินโดนีเซีย เป็นการเปลี่ยนแปลงซึ่งนำไปสู่ความแข็งแรงและแข็งแกร่งทางระบบเศรษฐกิจได้

ภาควัตถุดิบยังคงจะรักษาระดับการเติบโตที่ดีไว้ได้ ซึ่ง มร. ศิวาอธิบายไว้ว่า “เหตุผลประการแรก คือ มันยังคงเป็นภาคอุตสาหกรรมที่ราคาถูกที่สุดด้วยส่วนลดร้อยละ 48 ส่วนประการที่สอง เราเชื่อว่าภาคอุตสาหกรรมนี้จะมีการเพิ่มขึ้นร้อยละ 44 ในทุกประเทศทั่วเอเชีย ยกเว้นประเทศญี่ปุ่น เนื่องมาจากการใช้จ่ายในระบบสาธารณูปโภคในอีกห้าปีข้างหน้า และเหตุผลประการสุดท้ายคือการเข้าสู่กลยุทธ์ทางเศรษฐกิจแบบ “Next Billion” ที่หวังเจาะกลุ่มคนจำนวนนับพันล้านที่นำมาจากรัสเชีย”

ในส่วนของประเทศไทย มร. คีธ เนรูดา ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์สำหรับประเทศไทยของยูบีเอส กล่าวว่า “เรามั่นใจและมีมุมมองแบบ Bullish ต่อตลาดหลักทรัพย์ของไทยในปี 2551 และตั้งเป้าดัชนี ณ สิ้นปีของปีไว้ที่ 1,083 จุด เพิ่มจากที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 1,034 จุด โดยการชะลอตัวทั่วโลกซึ่งถูกคาดการณ์ไว้แสดงถึงความเสี่ยงที่มีผลต่อราคาสินค้ามากกว่าภาคธนาคารและภาคอุตสากรรมอื่นๆ ในประเทศ แม้ในปี 2550 ประเทศไทยประสบกับ “สภาวะถดถอย” ในภาคเอกชน แต่ก็มีสัญญาณที่บ่งบอกว่าภาวะดังกล่าวได้เบาบางลงแล้ว นอกจากนั้น เรายังคาดหวังเสถียรภาพทางการเมือง อำนาจการต่อรองราคาที่เพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำและคงที่ ที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการฟื้นตัวของภาคเอกชนทั้งในแง่ของการบริโภคและลงทุนในปี 2551 ซึ่งจะส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุน ทั้งนี้ เราเชื่อว่าการเลือกตั้งในวันที่ 23 ธันวาคมนี้ ส่งผลในแง่ความเสี่ยงทางสภาพเศรษฐกิจหรือตลาดหลักทรัพย์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะไม่ว่ารัฐบาลชุดใหม่จะเป็นใครก็ตาม การเข้ามาแทนที่รัฐบาลชุดปัจจุบันโดยผู้ที่มาจากการเลือกตั้งน่าจะเพิ่มความมั่นคงทางนโยบาย ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชนได้”

ยูบีเอส (UBS) เป็นหนึ่งในสถาบันชั้นนำระดับโลกที่ให้บริการแก่ลูกค้าทุกประเภททั่วโลก ทั้งนี้ในฐานะองค์กร ยูบีเอส ได้ผสานจุดแข็งทางด้านการเงินกับวัฒนธรรมนานาชาติซึ่งพร้อมเสมอสำหรับการเปลี่ยนแปลง นอกจากนั้น ในฐานะบริษัทที่มีการให้บริการแบบครบวงจร ยูบีเอสได้สร้างมูลค่าเพิ่มด้านการให้บริการแก่ลูกค้าด้วยการนำเอาทรัพยากรที่ผสมผสานและความเชี่ยวชาญด้านธุรกิจมาเป็นจุดดึงดูด

ยูบีเอส ถือเป็นผู้จัดการทรัพย์สินรายใหญ่ที่สุดในโลก เป็นบริษัทหลักทรัพย์และผู้ให้บริการด้านวาณิชธนกิจชั้นนำ รวมทั้งเป็นหนึ่งในผู้จัดการสินทรัพย์ (Asset Manager) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ยูบีเอสเป็นผู้ให้บริการทางด้านการเงินชั้นนำสำหรับลูกค้ารายย่อยและเชิงพาณิชย์ทั่วไป

ยูบีเอส ตั้งอยู่ในศูนย์กลางทางด้านการเงินที่สำคัญทั่วโลก โดยมีสำนักงานอยู่ใน 50 ประเทศ และมีพนักงานจำนวน 39% ที่ทำงานในอเมริกา, 36% ในสวิสเซอร์แลนด์, 16% ในยุโรป และอีก 8% ในแถบเอเชีย- แปซิฟิก ทั้งนี้ ยูบีเอสมีพนักงานที่ทำงานด้านการเงินมากกว่า 75,000 คนทั่วโลก หุ้นยูบีเอสได้จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์สวิสเซอร์แลนด์ (SWX) ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE) และตลาดหลักทรัพย์โตเกียว (TSE)

]]>
38310
ยูบีเอสเผยตลาดหุ้นไทยพร้อมแล้วสำหรับการปรับมุมมองใหม่ https://positioningmag.com/37172 Fri, 05 Oct 2007 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=37172

มร. คีธ เนรูดา ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์สำหรับประเทศไทยของยูบีเอส เผยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการซื้อหุ้นของนักลงทุนไทยเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ตลาดหุ้นไทยสามารถปรับมุมมองในระยะยาวเหนือการเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆในปัจจุบันได้ แม้ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจจะยังคงอ่อนตัว แต่ปัจจัยด้านลบจากการเติบโตที่ชะลอตัวลงและความไม่แน่นอนทางการเมืองดูเหมือนจะเริ่มคลี่คลายและไม่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นตลอดช่วงปี 2551

มร. เนรูดา ระบุในรายงานล่าสุดของเขา เรื่อง “ยุทธศาสตร์ในการลงทุนในหลักทรัพย์ไทย” ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 21 กันยายน ที่ผ่านมาว่า นักลงทุนไทยเริ่มหันมาลงทุนในตลาดหุ้นไทยในที่สุด ซึ่งเป็นเหตุผลที่ดีที่จะเชื่อได้ว่าตลาดหุ้นไทยสามารถปรับมุมมองใหม่ให้เหนือกว่าช่วงที่มีการเคลื่อนไหวในการซื้อขายหุ้นอยู่ในกรอบแคบๆ ที่มีค่าเสียโอกาสหรือส่วนลดของราคาตลาดและกำไรสุทธิต่อหุ้นของเอเชียที่ร้อยละ 33 เมื่อไม่นานมานี้ได้

“ตลาดหลักทรัพย์ไทยติดอยู่ในช่วงการซื้อขายในกรอบแคบๆ ตั้งแต่ปี 2547 ภายใต้เป้าหมายดัชนีที่ระหว่างร้อยละ 15 – 30 อันพิจารณาจากดัชนีที่เพิ่มขึ้นและภาพรวมทั้งหมด ซึ่งจากการวิเคราะห์นี้แสดงถึงตลาดหุ้นไทยในปัจจุบันว่าอยู่ในระดับสูงกว่ากรอบการซื้อขายตามทฤษฎีที่ร้อยละ 2.3 นอกจากนั้น ตลาดหุ้นไทยยังอยู่ในภาวะใกล้เคียงกับระดับต่ำสุดของส่วนลดราคาต่อกำไรสุทธิในเอเชีย พิจารณาจากเมื่อต้นปี 2547 ที่ประเทศไทยมีการลดราคาของไทยอยู่ที่ร้อยละ 10 ได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 33 ในปัจจุบัน”

มร.เนรูดา เชื่อว่าตลาดหุ้นไทยอยู่ในสภาวะการปรับมุมมองอย่างเงียบๆ เหนือระดับการซื้อขายในกรอบแคบๆ ที่ผ่านมา และการปรับมุมมองนี้จะดำเนินต่อเนื่องไปถึงปีหน้า ข้อมูลสำคัญที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงในการเคลื่อนไหวของตลาดคือ การที่นักลงทุนภายในประเทศได้ให้การสนับสนุนตลาดแม้ว่าจะมีตัวเลขการถอนทุนของจากต่างชาติก็ตาม ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคมตลาดหุ้นไทยโตขึ้นร้อยละ 5 แม้ยอดการถอนทุนคืนจากต่างชาติสูงจะถึง 7.4 พันล้านบาท ในช่วงเวลาเดียวกัน

มร.เนรูดา กล่าวต่อว่า “อย่างไรก็ตาม การปรับมุมมองตลาดหุ้นไทยนั้นก็ยังคงมีความเสี่ยง เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจนั้นยังคงอ่อนตัว โดยเฉพาะในส่วนของการบริโภคและการลงทุนส่วนบุคคล ซึ่งมีการเติบโตเพียงร้อยละ 1.4 ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550”

มร. เนรูดา ระบุว่า “แม้เราไม่มีหลักฐานที่จะแสดงถึงการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศและสภาพทางการเมืองก็ยังคงมีความวุ่นวายอยู่ อย่างไรก็ตาม การปรับมุมมองโดยรวมของตลาดหลักทรัพย์ไทยได้ทำให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เพิ่มขึ้นจาก 827 จุด ในช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมาเป็น 922 จุดในปัจจุบัน นอกจากนั้น เรายังเห็นสัญญาณที่ค่อนข้างดีของการยอดขายรถยนต์หลังจากมีการลดลงในช่วงปีที่ผ่านมา ซึ่งเรามองว่าข้อมูลนี้นับเป็นตัวบ่งชี้ถึงการฟื้นตัวของการบริโภคและจับจ่ายใช้สอยส่วนบุคคลได้”

ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับอนาคตมีค่อนข้างต่ำ แม้ว่าจะไม่มีความเสี่ยงชัดเจนในประทศไทยในขณะนี้ เมื่อเทียบกับสถานการณ์เมื่อสิบปีที่แล้ว

มร.เนรูดา กล่างเพิ่มเติมว่า “แม้ว่าเราจะไม่แน่ใจในผลการเลือกตั้งที่จะมาถึง เราก็มีความมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่าการเลือกตั้งจะช่วยกระตุ้นตลาด และคาดว่ารัฐบาลชุดใหม่จะได้รับการยอมรับในเชิงบวกมากขึ้น”

ยูบีเอส (UBS) เป็นหนึ่งในสถาบันชั้นนำระดับโลกที่ให้บริการแก่ลูกค้าทุกประเภททั่วโลก ทั้งนี้ในฐานะองค์กร ยูบีเอส ได้ผสานจุดแข็งทางด้านการเงินกับวัฒนธรรมนานาชาติซึ่งพร้อมเสมอสำหรับการเปลี่ยนแปลง นอกจากนั้น ในฐานะบริษัทที่มีการให้บริการแบบครบวงจร ยูบีเอสได้สร้างมูลค่าเพิ่มด้านการให้บริการแก่ลูกค้าด้วยการนำเอาทรัพยากรที่ผสมผสานและความเชี่ยวชาญด้านธุรกิจมาเป็นจุดดึงดูด

ยูบีเอส ถือเป็นผู้จัดการทรัพย์สินรายใหญ่ที่สุดในโลก เป็นบริษัทหลักทรัพย์และผู้ให้บริการด้านวาณิชธนกิจชั้นนำ รวมทั้งเป็นหนึ่งในผู้จัดการสินทรัพย์ (Asset Manager) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ยูบีเอสเป็นผู้ให้บริการทางด้านการเงินชั้นนำสำหรับลูกค้ารายย่อยและเชิงพาณิชย์ทั่วไป

ยูบีเอส ตั้งอยู่ในศูนย์กลางทางด้านการเงินที่สำคัญทั่วโลก โดยมีสำนักงานอยู่ใน 50 ประเทศ และมีพนักงานจำนวน 39% ที่ทำงานในอเมริกา, 36% ในสวิสเซอร์แลนด์, 16% ในยุโรป และอีก 8% ในแถบเอเชีย- แปซิฟิก ทั้งนี้ ยูบีเอสมีพนักงานที่ทำงานด้านการเงินมากกว่า 75,000 คนทั่วโลก หุ้นยูบีเอสได้จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์สวิสเซอร์แลนด์ (SWX) ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE) และตลาดหลักทรัพย์โตเกียว (TSE)

]]>
37172