ร้านค้าออนไลน์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 16 Jul 2020 12:09:20 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Tencent เปิดตัว Minishop ให้ร้านค้าเปิดหน้าร้านออนไลน์ฟรีบน Wechat ท้าชน Alibaba เเละ JD https://positioningmag.com/1288200 Thu, 16 Jul 2020 09:53:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1288200 Tencent ยักษ์ใหญ่จากประเทศจีน เปิดตัว Minishop ช่วยร้านค้าเปิดหน้าร้านออนไลน์บนเเอป Wechat ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ท้าชนเจ้าตลาดอีคอมเมิร์ซอย่าง Alibaba และ JD

ความเคลื่อนไหวของ Tencent ครั้งนี้เป็นไปเพื่อดึงลูกค้าเเละผู้ขายในตลาดอีคอมเมิร์ซจีนให้เข้ามาร่วมในเเพลตฟอร์ม WeChat มากขึ้น

โดย WeChat เป็นแอปพลิเคชันเเชทยอดนิยม ที่มีผู้ใช้งานมากกว่าพันล้านคน นับเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตชาวจีนในปัจจุบัน ซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก นอกจากนี้ WeChat ยังถูกขนานนามว่าเป็น “Super-App” ด้วยฟังก์ชันที่หลากหลาย ครอบคลุมไลฟ์สไตล์ของผู้คน เช่น ผู้ใช้สามารถซื้อเที่ยวบินและทำการชำระเงินต่างๆ ได้ด้วยแอปฯ เดียว

ก่อนหน้านี้ Tencent มีบริการอีคอมเมิร์ซบน WeChat ที่มีชื่อว่า mini-program” มาสักระยะหนึ่งเเล้ว เเต่ WeChat Minishop จะเป็นการให้ร้านค้ามาเปิดหน้าร้านโดยใช้เครื่องมือของ Tencent เเบบไม่ต้องพึ่งพานักพัฒนาซอฟต์แวร์ เเละไม่ต้องลงทุนสร้างเว็บไซต์ของตัวเอง อีกทั้งยังไม่เป็นระบบรวมศูนย์แบบ JD.com หรือ Taobao ของ Alibaba

Tencent หวังว่าจะสามารถดึงดูดธุรกิจขนาดเล็กให้ออกห่างจากแพลตฟอร์มคู่เเข่งเหล่านี้ได้ ด้วยการไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียม สำหรับการเปิดร้านค้าออนไลน์บน WeChat Minishop ขณะที่เเพลตฟอร์มของ Alibaba ยังมีการเก็บค่าธรรมเนียมกับผู้ขายอยู่

ข้อได้เปรียบของ WeChat คือการมีฐานลูกค้าขนาดใหญ่เเละมีการใช้งานทุกวัน ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงลึกที่จะนำมาพัฒนาด้านอีคอมเมิร์ซ นอกจากนี้ยังมีบริการ WeChat Pay เพื่อชำระค่าสินค้าบนเว็บไซต์อื่นๆ เเละฟังก์ชัน “Moments” ให้ผู้ใช้สามารถโพสต์รูปภาพ วิดีโอและลิงก์ไปยังเว็บไซต์ของธุรกิจได้

อย่างไรก็ตาม Tencent ยังต้องเผชิญความท้าทายในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ทั้งคู่เเข่งที่มีความเเข็งเเกร่งเเละติดตลาดเเล้วอย่าง Alibaba และ JD อีกทั้งยังต้องสร้างความเชื่อมั่นกับทางการจีนว่าสินค้าปลอมต่างๆ จะไม่ได้วางขายอยู่มากมายบนเเพลตฟอร์มนี้

 

ที่มา :  CNBC

]]> 1288200 ร้านค้าออนไลน์ต้องรู้ เผยคนไทยช้อปกระจาย “บ่าย 3” ก่อนเลิกงาน พีคสุด “อังคาร-พุธ” https://positioningmag.com/1159791 Sat, 03 Mar 2018 00:15:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1159791 บริษัท iPrice ซึ่งเป็นเว็บ meta search ในตลาดอีคอมเมิร์ซใน 6 ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้จัดทำการศึกษาสภาพตลาดอีคอมเมิร์ซภายใต้การศึกษาที่ชื่อว่า State of eCommerce” โดยการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากร้านค้าพาร์ตเนอร์กว่า 1,000 ร้านค้า

จากการศึกษาพบข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของคนไทย ซึ่งผู้ประกอบการร้านค้าออนไลน์ควรเรียนรู้เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับกลยุทธ์การขายเพื่อเพิ่มยอดการเข้าชมและสั่งซื้อ

คนใน 5 ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซื้อสินค้าออนไลน์สูงสุดช่วงเวลา 11.00 น. และคนไทยนิยมเบราซ์ก่อนเลิกงาน

คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นิยมช้อปออนไลน์ในช่วงเวลาทำงาน กล่าวคือช่วงก่อนพักเที่ยง เวลาประมาณ 11.00 น. เป็นช่วงที่ได้รับความนิยมสูงสุด โดยคนเวียดนามช้อปออนไลน์สูงกว่าปกติกว่า 89% และคนไทยช้อปออนไลน์ในช่วงเวลาดังกล่าวสูงกว่าปกติ 53%

ช่วงเวลาที่ได้รับความนิยมในการช้อปออนไลน์ของคนไทยสูงสุดเป็นช่วง 15.00 น. คือช่วงเตรียมตัวก่อนกลับบ้าน ซึ่งมีการสั่งซื้อสูงกว่าเวลาปกติถึง 69% ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวคนไทยช้อปมากกว่าคนชาติอื่น ๆ ในอีก 5 ประเทศ

โดยยอดการสั่งซื้อจะลดต่ำลงในช่วงเวลา 16.00-19.00 น. ซึ่งเป็นช่วงที่คนเดินทางกลับบ้าน, พักผ่อนกับเพื่อนและครอบครัวหลังเลิกงาน

อีกหนึ่งพฤติกรรมที่น่าสนใจคือคนไทยนิยมช้อปสินค้าออนไลน์สูงกว่าคนในประเทศอื่น ๆ ในช่วงกลางคืน เวลา 21.00 น. คนไทยช้อปสูงกว่าคนในประเทศอื่น ๆ โดยมียอดการสั่งซื้อสูงกว่าปกติ 34%

คนในทุกประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นิยมซื้อสินค้าวันพุธ

หากใช้วันจันทร์เป็นค่าเฉลี่ย เป็นที่น่าแปลกใจอย่างยิ่งที่วันพุธเป็นวันที่มียอดการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์มากที่สุดในสัปดาห์ สำหรับประเทศไทยวันอังคารและพุธมียอดสั่งซื้อมากกว่าวันจันทร์ 7-8% จากข้อมูลข้างต้นสามารถคาดการณ์ได้ว่า คนไทยนิยมเบราซ์หาสินค้าออนไลน์ตั้งแต่วันจันทร์และตัดสินใจซื้อสินค้าวันอังคารและพุธ

วันพุธเป็นวันกลางสัปดาห์ เป็นหนึ่งวันที่คนไม่แอคทีฟกับการทำงาน เนื่องจากจะต้องพยายามดำเนินกิจกรรมของตนเองอย่างต่อเนื่องจากวันจันทร์ที่มีการถาถมของงาน ดังนั้นคนจึงแก้เบื่อในวันอังคารและพุธโดยการเบราซ์และซื้อสินค้าออนไลน์

จำนวนยอดสั่งซื้อลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันพฤหัสบดีไปจนถึงวันหยุดสุดสัปดาห์ โดยยอดสั่งซื้อลดลงสูงสุดในวันเสาร์กว่า 22% เนื่องจากคนนิยมออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน จึงทำให้ยอดการสั่งซื้อสินค้าลดลง อย่างไรก็ตามถึงแม้ยอดสั่งซื้อจะลดลง แต่คนยังให้ความสนใจในการค้นหาสินค้าผ่านทางมือถือในช่วงวันหยุด โดยเปอร์เซ็นต์เพิ่มขึ้นกว่า 10%

ผู้ประกอบการร้านค้าออนไลน์ในประเทศไทย ควรปรับกลยุทธ์เพื่อรับมือการพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์เหล่านี้ เพื่อเพิ่มยอดการเข้าชมและยอดการสั่งซื้อ หนึ่งตัวอย่างเช่นการนำเสนอโปรโมชั่นให้ถูกกับวันที่ได้รับความนิยม ถ้าหากร้านค้าต้องการเพิ่มยอดการสั่งซื้อ การนำเสนอโปรโมชั่นเช่นการจัดส่งฟรี หรือส่วนลดต่าง ๆ ในวันอังคารและวันพุธ ย่อมสามารถกระตุ้นพฤติกรรมให้คนไทยตัดสินใจซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น.

การศึกษาฉบับเต็ม : State of eCommerce

]]>
1159791
เปิดรายรับแอปสโตร์ “1 มกรา” วันเดียวทำเงินได้ 300 ล้านเหรียญสหรัฐ https://positioningmag.com/1152857 Sat, 06 Jan 2018 09:13:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1152857 แอปเปิล (Apple) ทำสถิติยอดขายบนแอปสโตร์ (App Store) ในวันขึ้นปีใหม่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยเพิ่มขึ้นถึง 25 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

เป็นข่าวดีของแอปเปิลท่ามกลางมรสุมข่าวแบตเตอรีได้เลยทีเดียว กับยอดการใช้จ่ายบนแอปสโตร์ในวันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา ที่มีเงินสะพัดบนร้านค้าออนไลน์แห่งนี้ถึง 300 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 9,657 ล้านบาท และเป็นเม็ดเงินที่สูงที่สุดเท่าที่เคยมีมานับตั้งแต่เปิดตัวแอปสโตร์ ในปี 2008 ด้วย

นอกจากนี้ นับตั้งแต่วันคริสต์มาสมาจนถึงวันขึ้นปีใหม่ แอปสโตร์สามารถทำเงินให้แอปเปิลได้แล้วถึง 890 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 28,643 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่นักลงทุนตื่นเต้นกันมากพอสมควร เพราะนั่นหมายถึงแอปเปิลมีกระเป๋าใส่เงินใบใหม่เกิดขึ้นมาทดแทนรายได้จากไอโฟน (iPhone) ที่ประสบภาวะอิ่มตัวอยู่ในปัจจุบันแล้วนั่นเอง

ส่วนหนึ่งที่ทำให้แอปสโตร์ประสบความสำเร็จอาจมาจากการออกแบบเว็บใหม่ที่แอปเปิลลงทุนไปเมื่อปีก่อนหน้า เพื่อให้แอปสโตร์สามารถเป็นช่องทางทำเงินให้กับนักพัฒนาภายนอกได้ดียิ่งขึ้น

ผลก็คือ ในปี 2017 ที่ผ่านมา นักพัฒนาบนแอปสโตร์ทำรายได้ไปถึง 26,500 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นถึง 30 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งเงินจำนวนนี้ แอปเปิลมองว่า สามารถช่วยให้นักพัฒนารายย่อย สามารถสร้างโปรดักต์ใหม่ให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงการพัฒนาโปรดักต์บนแพลตฟอร์มอย่าง เออาร์คิต (ARKit) และแอปเปิลวอตช์ (AppleWatch) 

อย่างไรก็ตาม ในข่าวดีก็มีข่าวร้ายสำหรับแอปเปิลเช่นกัน กับปัญหาช่องโหว่บนชิปคอมพิวเตอร์ที่ส่งผลกระทบต่ออุปกรณ์ของทางค่าย เช่น ไอโฟน ไอแพด และคอมพิวเตอร์แมคอย่าง เมลท์ดาวน์ (Meltdown) และสเป็คเตอร์ (Spectre)

ช่องโหว่ที่พบนั้น ทำให้แฮกเกอร์สามารถขโมยข้อมูลของผู้ใช้งานได้ ซึ่งประเด็นนี้ถือเป็นความเสียหายร้ายแรงกว่า เนื่องจากส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในแบรนด์แอปเปิลที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยมีกรณีเกี่ยวกับซีเคียวริตีมากเท่ากับฟากของแอนดรอยด์ (Android) หรือไมโครซอฟท์วินโดวส์ (Microsoft Windows)

อย่างไรก็ดี ทางแอปเปิลได้มีการส่งแพตช์บางตัวออกมาแล้ว พร้อมระบุด้วยว่า เมลท์ดาวน์นั้นไม่กระทบต่อแอปเปิลวอตช์ (AppleWatch) นาฬิกาอัจฉริยะของทางค่าย

ส่วนแพตช์ที่ออกมาสู้กับสเป็คเตอร์นั้น อยู่ในรูปของอัปเดตเบราเซอร์ซาฟารี (Safari) ที่มีกำหนดจะเปิดตัวออกมาในเร็ว ๆ นี้

ส่วนสถานการณ์ของค่ายอื่น ๆ ก็มีการอัปเดตแพตช์กันไปแล้วเช่นกัน ทั้งกูเกิล (Google) และไมโครซอฟท์ รวมถึงการเตือนให้อัปเดตซอฟต์แวร์ซีเคียวริตีด้วย ขณะที่หน่วยงานด้านไซเบอร์ซีเคียวริตีอย่าง CERT ของสหรัฐอเมริกา ก็ได้เปลี่ยนคำแนะนำจากที่เคยบอกให้เปลี่ยน “โปรเซสเซอร์” ตอนนี้ทาง CERT ได้เปลี่ยนมาแนะนำให้อัปเดตแพตช์แทนแล้ว.

ที่มา : mgronline.com/cyberbiz/detail/9610000001487

]]>
1152857
“ออนไลน์อาเซียน 2018” เดือดจัด อีคอมเมิร์ซ-บริการร่วมเดินทาง ดันตลาดบูม https://positioningmag.com/1152697 Fri, 05 Jan 2018 04:29:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1152697 เพราะปี 2017 ที่ผ่านมา การสำรวจพบว่า ทุกภาคส่วนของธุรกิจออนไลน์ล้วนเติบโตโกยลูกค้าได้มากขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน โดยเฉพาะกลุ่มร้านค้าออนไลน์อีคอมเมิร์ซ จนถึงบริการ “ร่วมเดินทาง” ที่ได้รับความนิยมจากชาวอาเซียน จนทำให้มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีมากที่สุดกว่า 40% 

สำหรับปี 2018 ที่กำลังเริ่มต้น นักวิเคราะห์ต่างฟันธงว่าจะเป็นอีกปีที่การแข่งขันสุดดุเดือด ทำให้อาเซียนเป็นตลาดที่มีเงินสะพัดในโลกออนไลน์เกินเป้า ส่งให้ปี 2025 ธุรกิจออนไลน์อาเซียน จะไม่ได้มีมูลค่าแค่ 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ อย่างที่เคยมีการคาดการณ์ไว้

เม็ดเงิน 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินราว 6.5 ล้านล้านบาท ถือว่ามากกว่าวงเงินงบประมาณรายจ่าย จำนวน 2.9 ล้านล้านบาท ที่รัฐบาลไทยวางไว้สำหรับปีงบประมาณปี 2018 

***Google บอกโตเกินคาด

เฉพาะปี 2017 เงินสะพัดในธุรกิจออนไลน์อาเซียน ถูกบันทึกว่ามีมูลค่าราว 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 1.6 ล้านล้านบาท) เม็ดเงินนี้ถือว่าสูงมากกว่าที่กูเกิล (Google) และเทมาเส็ก (Temasek) เคยคาดการณ์ไว้เมื่อปี 2016 ทำให้กลายเป็นข่าวว่า ทั้งคู่ออกมายอมรับว่า ตลาดออนไลน์อาเซียนนั้น “เติบโตมากกว่าที่คิด”

ทั้ง 2 บริษัทระบุในรายงานเรื่องกูเกิล-เทมาเส็ก อีโคโนมี ซี สปอต์ไลต์ 2017 (Google-Temasek e-Conomy SEA Spotlight 2017) ว่า ธุรกิจออนไลน์ในภูมิภาคนี้เติบโตในสัดส่วน 27% แทนที่จะเติบโต 20% ตามตัวเลขในรายงาน Google-Temasek e-Conomy SEA ฉบับปี 2016 ผลที่เกิดขึ้น คือ ตลาดออนไลน์อาเซียน อาจจะเติบโตเกินหลัก 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2025 ที่เคยมีการคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้

สำหรับปี 2018 รายงานของ Google และ Temasek ไม่ได้คาดการณ์ไว้ละเอียด โดยให้รายละเอียดเพียงว่า ปี 2017 แต่ละธุรกิจมีการเติบโตอย่างไร ผลคือธุรกิจที่เติบโตโดดเด่นที่สุด คือ อีคอมเมิร์ซ เพราะยอดขายในธุรกิจอีคอมเมิร์ซอาเซียนนั้น มีมูลค่าราว 1.09 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจาก 5.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2015

ยอดขายที่ Google นำมาคำนวณ คือ ยอดขายรวมทั้งหมด หรือ Gross Merchandise Value (GMV) ซึ่งยังไม่มีการหักต้นทุน การเติบโตจากยอดขายหลักพันล้านบาทมาเป็นหมื่นล้านบาทนี้ คิดเป็นอัตราเติบโตต่อปี หรือ CAGR ราว 41%

ปี 2018 คาดว่าจะเป็นอีกปีที่อีคอมเมิร์ซจะขยายตัว เพราะผลจากปัจจัยสนับสนุนอย่างความนิยมในตลาดออนไลน์ หรือ marketplace ซึ่งธุรกิจขนาดกลางถึงเล็ก จะลงไปจำหน่ายสินค้าและบริการให้ผู้บริโภคโดยตรงกันมากขึ้น ผ่านระบบตลาดที่มุ่งแสดงผลบนสมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์พกพา ไม่ใช่ระบบตลาดสำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ

มีความเป็นไปได้ว่า ผู้ที่ได้รับอานิสงส์จากภาวะอีคอมเมิร์ซบนสมาร์ทโฟนบูมสุดขีดปี 2018 จะเป็นเจ้าพ่อรายเดิมอย่างลาซาด้า (Lazada), ช็อปปี (Shopee) และโทโคพีเดีย (Tokopedia)

ด้านบริการร่วมเดินทาง หรือ ride-hailing service การสำรวจพบว่า ในปี 2017 ที่ผ่านมา บริการกลุ่มแอปพลิเคชันแชร์รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ เพื่อเดินทางนั้น มียอดขายรวมในอาเซียน มากกว่า 5.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 2 เท่าตัว เมื่อเทียบกับ 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ที่เคยบันทึกได้ในปี 2015

แน่นอนว่า ปี 2018 สัดส่วนการเรียกรถผ่านแอปพลิเคชันเหล่านี้จะเพิ่มมากกว่า 6 ล้านครั้งต่อวัน ซึ่งเป็นสถิติที่ถูกจดไว้ในไตรมาส 3 ปี 2017 ที่ผ่านมา สถิติเฉพาะ 3 เดือนไตรมาส 3 นี้คิดเป็นสัดส่วนเพิ่มขึ้นเกิน 4 เท่าตัวเมื่อเทียบกับปี 2015 โดยแอปพลิเคชันกลุ่มหลักในบริการ ride-hailing ที่ได้รับความนิยมในอาเซียน คือ โกเจ็ก (Go-Jek), แกร็บ (Grab) และอูเบอร์ (Uber)

รายงานของ Google และ Temasek ยังชี้ว่า แบรนด์หลักในกลุ่ม ride-hailing กำลังจะขยายมาให้บริการส่งอาหาร บริการชำระเงินดิจิทัล และบริการอื่นอีกในปี 2018 เนื่องจากฐานผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้นทั้งส่วนของผู้โดยสาร และผู้ขับรถ บริการกลุ่ม ride-hailing จึงมีภาษีที่ดีกว่า ใครในการเป็นเจ้าตลาดบริการส่วนบุคคลแบบครบวงจรของอาเซียน

ประเด็นนี้น่าสนใจ เพราะ นนทวัฒน์ พุ่มชูศรี กรรมการผู้จัดการ และหัวหน้าสายงานบริการทางการเงิน เอคเซนเชอร์ ประเทศไทย ให้ความเห็นว่า ผู้บริโภคยุคใหม่เริ่มไม่เห็นความสำคัญของการซื้อสินทรัพย์ชิ้นใหญ่ พฤติกรรมนี้ทำให้บริการแชร์รถเพื่อร่วมเดินทาง บริการแชร์สำนักงาน หรือบริการแชร์ห้องพักได้รับความนิยมมากขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นจนเห็นได้ชัด และอาจนำไปสู่ภาวะ “คนไม่ซื้อรถ ไม่เช่าสำนักงาน ไม่ซื้อบ้าน” ที่จะทำให้หลายอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบ

***เงินทุนอัดฉีดแน่น

อีกปัจจัยที่ชี้ว่า ปี 2018 จะเป็นจุดเริ่มปีทองของธุรกิจออนไลน์อาเซียน คือ เม็ดเงินทุนที่อัดฉีดเต็มสูบเข้าสู่ตลาดนี้ การสำรวจพบว่า ระหว่างปี 2016 ถึงไตรมาส 3 ปี 2017 บริษัทที่ให้บริการออนไลน์ในเอเชียแปซิฟิก สามารถเพิ่มเงินทุนให้บริษัทได้มากกว่า 1.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3.9 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากที่เคยมีเงินอัดฉีด 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2015 เงินทุนนี้เป็นอีกเดิมพันที่เชื่อว่า อาเซียนจะยังเติบโตต่อไปในระดับสวยงามตลอด 10 ปีนับจากนี้

ก่อนหน้านี้ รายงานของ Google และ Temasek ปี 2016 เคยพยากรณ์ว่า หากจะทำให้อุตสาหกรรมออนไลน์อาเซียน มีเม็ดเงินสะพัด 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2025 จะต้องมีเงินทุนมากกว่า 4-5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ไหลเข้ามาในภูมิภาคนี้ เมื่อคำนวณถึงเงินลงทุน 1.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2017 ที่ผ่านมา และความเป็นไปได้ว่า ปี 2018 ก็จะมีเงินทุนไหลเข้ามาไม่ขาดสายเช่นกัน ก็สะท้อนว่า ตลาดออนไลน์อาเซียนจะยังเติบโตในระดับก้าวกระโดดต่อไป

***ยังต้องปรับที่คน

ความท้าทายหลักที่ทำให้วงการออนไลน์อาเซียนไม่เติบโต คือ การขาดบุคลากรเทคโนโลยีในท้องถิ่น โดยทั้ง Google และ Temasek ระบุในรายงานฉบับปี 2017 ของตัวเองว่า ตลาดอาเซียนยังต้องปรับปรุงเป็นพิเศษในหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องการขาดบุคลากรที่ยังเป็นปัญหาใหญ่ ซึ่งไม่ได้ถูกแก้ไข และหากแก้ไขได้ อาเซียนก็จะสามารถทำโอกาสที่รออยู่ให้ออกดอกออกผลได้เต็มที่ยิ่งขึ้น

สถิติอื่นที่น่าสนใจจากรายงานนี้ คือ ชาวไทยใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือมากที่สุดในโลก เฉลี่ยวันละ 4.2 ชั่วโมง สูงกว่าเพื่อนบ้านในอาเซียน ที่ใช้งานเฉลี่ยวันละ 3.6 ชั่วโมง ชนะชาวอเมริกันที่ออนไลน์บนมือถือเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง ชาวอังกฤษวันละ 1.8 ชั่วโมง และชาวญี่ปุ่นวันละ 1 ชั่วโมง

จำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในอาเซียน ยังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปี 2017 โดยยอดผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในอาเซียน ที่เพิ่มขึ้นจาก 260 ล้านคนในปี 2017 มีโอกาสจะเพิ่มเป็น 480 ล้านคนภายในปี 2020 คิดเป็นอัตราเติบโต 14% ต่อปี สูงกว่าจีนที่อัตราเติบโตผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น 4% ต่อปี

อินโดนีเซีย เป็นประเทศที่จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเร็วที่สุดในอาเซียน คือ 19% ต่อปี โดยผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือในอาเซียน ใช้เวลากับการชอปปิ้งออนไลน์มากที่สุด สูงกว่าชาวอเมริกันถึง 2 เท่าตัว

แน่นอนว่าสถิติเหล่านี้ที่บันทึกได้ในปี 2017 มีโอกาสสูงที่จะถูกทำลายในปี 2018 ปีหมาดุที่เชื่อว่า วงการออนไลน์อาเซียนจะแข่งดุเลือดสาดชนิดใครพลาดอาจไม่ฟื้นคืนมาอีกเลย.

ที่มา : mgronline.com/cyberbiz/detail/9610000001165

]]>
1152697
จีนออกกฎช้อปออนไลน์ ห้ามลบรีวิวลูกค้า เจอค่าปรับอ่วม https://positioningmag.com/1145705 Tue, 07 Nov 2017 09:55:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1145705 จีนออกมาตรการควบคุมอีคอมเมิร์ซหวังสะกัดร้านค้าออนไลน์ที่มีการนำเสนอโฆษณาที่ไม่เป็นความจริง รวมถึงการห้ามไม่ให้ผู้ขายเข้าไปลบรีวิวแง่ลบจากผู้บริโภคในเรื่องที่เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการแล้ว

โดยในกฎหมายใหม่ฉบับนี้จะมีบทลงโทษผู้จัดจำหน่าย หากพบว่ามีการไปโพสต์อวยสินค้าของตัวเองเกินจริงบนโลกออนไลน์ หรือไปลบโพสต์รีวิวในแง่ลบจากบรรดาผู้ที่ซื้อไปทดลองใช้ด้วย ซึ่งธุรกิจที่ทำเช่นนั้นจะเจอกับค่าปรับเริ่มต้นที่ 30,000 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 994,500 บาท

ทั้งนี้ การออกกฎหมายฉบับดังกล่าวมีขึ้นเพื่อควบคุมเว็บไซต์ผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซของจีน โดยเฉพาะในวันคนโสดที่ใกล้จะมาถึงนี้ (11 พฤศจิกายน) เนื่องจากในปีที่ผ่านมา กิจกรรมวันคนโสดสามารถทำยอดขายได้มากถึง 18,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายในเวลาแค่ 24 ชั่วโมงเท่านั้น โดยมีคนจีนเข้าร่วมจับจ่ายใช้สอยในวันดังกล่าวมากถึง 657 ล้านออเดอร์

หรือหากย้อนหลังไปเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา จีนได้มีการเปิดตัว ศาลดิจิตอล เพื่อรับมือกับการเพิ่มขึ้นของคดีความทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่คดีละเมิดลิขสิทธิ์ การก๊อบปี้คอนเทนต์ ไปจนถึงธุรกิจช้อปปิ้งออนไลน์ด้วยเช่นกัน จึงถือว่ามาตรการควบคุมอีคอมเมิร์ซในครั้งนี้จะเป็นมาตรการ “กันไว้ดีกว่าแก้” และช่วยปกป้องสิทธิของผู้บริโภคได้อีกทางหนึ่ง

แน่นอนว่าแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ที่มีการซื้อขายกันอยู่ในจีนก็คืออาลีบาบา (Alibaba) ซึ่งอาลีบาบาก็เป็นผู้ริเริ่มวันคนโสดนี้ขึ้นเองด้วยเมื่อปี 2009 โดยยอดขายในปีดังกล่าวนั้นมีน้อยมาก และมีร้านค้าเข้าร่วมเพียง 27 ร้านเท่านั้น อย่างไรก็ดี เพียง 7 ปีให้หลัง ก็เป็นที่ทราบกันดีว่า วันคนโสดกลายเป็นเครื่องจักรทำเงินให้กับอาลีบาบาไปแล้วอย่างงดงาม.

ที่มา : mgronline.com/cyberbiz/detail/9600000112273

]]>
1145705
ใครใหญ่ ? เทียบฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ไทย-มาเลเซีย-เวียดนาม https://positioningmag.com/1145264 Thu, 02 Nov 2017 18:00:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1145264 ประเทศเพื่อนบ้านที่แข่งขันกันอย่างสูสีกับประเทศไทยในอดีตคงจะหนีไม่พ้นเวียดนามและมาเลเซียที่ในปัจจุบันต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศเทียบเท่าหรือนำหน้าประเทศไทยไปแล้ว โดยบริษัท iPrice ซึ่งเป็นบริษัทอีคอมเมิร์ซใน 7 ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เล็งเห็นถึงการแข่งขันที่ขับเคี่ยวกันอย่างดุเดือดของทั้งสามประเทศในตลาดอีคอมเมิร์ซที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วนี้ จึงได้จัดทำการศึกษาตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย มาเลเซีย และเวียดนาม และได้พบผลการศึกษาที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

ความแตกต่างของตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยมาเลเซีย และเวียดนาม

ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา บริษัทต่างชาติได้เข้ามารุกตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างเข้มข้น เริ่มจากบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Lazada ซึ่งทำให้อัตราการเข้ามาของบริษัทจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดบริษัท 11 Street จากเกาหลีก็ได้เข้าทำตลาดในประเทศไทยและอีกหลายๆประเทศทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2560 นอกจากนี้ยังมี JD.Com ยักใหญ่อันดับสองจากจีน ที่มาจับมือกับเซนทรัลในการลุยธุรกิจออนไลน์ในประเทศไทย

จากผลการศึกษาพบว่าประเทศมาเลเซียมีจำนวนผู้แข่งขันจากต่างประเทศกว่า 24% โดยประเทศไทยมีเพียง 18% และเวียดนาม 14% ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามาเลเซียค่อนข้างเปิดรับการลงทุนจากต่างชาติ และมาเลเซียถือเป็นฮับในการทำตลาดที่น่าสนใจเนื่องจากมาเลเซียมีนโยบาย MSC หรือ Multimedia Super Corridor ที่จะเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีเพื่อดึงดูดนักลงทุนจากทั้งในประเทศและต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศ

ถ้าหากเจาะลึกถึงรูปแบบสินค้าที่ทางร้านค้าอีคอมเมิร์ซในแต่ละประเทศจำหน่ายนั้น ส่วนใหญ่แล้วร้านค้าในประเทศไทยจะเป็นร้านค้ารูปแบบทั่วไป กล่าวคือมีการจำหน่ายสินค้าที่มีความหลากหลายในเว็บไซต์เดียว เช่น Lazada, Central, Shopee, 11Street ที่มีสินค้าทั้งแฟชั่นเทคโนโลยีเครื่องสำอางและอีกมากมาย จากการสำรวจพบว่าร้านค้าประเภทแฟชั่นในประเทศไทยนั้นนิยมใช้โซเชียลมีเดียในการสื่อสารกับผู้บริโภคมากกว่าการใช้เว็บไซต์ เนื่องจากโซเชียลมีเดียสามารถนำเสนอสินค้าได้อย่างรวดเร็วและสามารถปิดการขายได้ด้วยการติดต่อผ่างทาง Message หรือ LINE ที่ค่อนข้างสะดวกและไม่ซับซ้อนเหมือนการใช้เว็บไซต์ จึงทำให้เว็บไซต์ใหญ่ ๆ ไม่นิยมเข้ามาร่วมแข่งขันกับร้านค้าเล็ก ๆ ในตลาดแฟชั่นสักเท่าไรนัก

ในประเทศมาเลเซียซึ่งมีความเป็นเอกลักษณ์ ร้านค้าออนไลน์ส่วนใหญ่ในมาเลเซียจะเป็นสินค้าประเภทแฟชั่น เนื่องจากว่าคนดังหรือเซเลบดาราในประเทศมาเลเซียนั้นหันมาปั้นแบรนด์แฟชั่นของตัวเองจนประสบความสำเร็จ โดยเน้นไปทางเสื้อผ้าแฟชั่นแบบมุสลิมเป็นหลัก จึงทำให้ร้านค้าออนไลน์ส่วนใหญ่เป็นเว็บแฟชั่นนั่นเอง โดยตัวอย่างร้านค้าแฟชั่นในประเทศมาเลเซีย ได้แก่ Zalora, Hermo, Fashion Valet เป็นต้น

Lazada ขึ้นเป็นผู้นำตลาดอีคอมเมิร์ซทั้ง 3 ประเทศ

คงไม่มีใครที่ไม่รู้จัก Lazadaที่ได้เข้ามาทำตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กว่า 5ปีแล้ว ด้วยเงินทุนที่หนาและการสนับสนุนจากยักษ์ใหญ่อย่าง Alibaba ในช่วงต้นปีที่ผ่านมาทำให้ Lazada ขึ้นเป็นเจ้าตลาดทั้ง 3 ประเทศในไม่ช้า อย่างไรก็ตามการศึกษาครั้งนี้พบข้อมูลที่น่าสนใจคือ ถึงแม้ Lazadaจะเป็นเจ้าตลาดในสามประเทศ แต่สำหรับประเทศเวียดนามแล้ว Lazadaคงจะต้องแข่งขันอย่างหนัก เนื่องจากประเทศเวียดนามมีคู่แข่งซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติเวียดนามที่แข็งแกร่งครองตลาดอยู่เช่นกัน จากตารางข้างต้นจะเห็นว่า Lazadaเวียดนามมีส่วนทราฟฟิก 19% และรองอันดับอื่น ๆ เช่น Thếgiớidiđộng มีส่วนแบ่งทราฟฟิก 15% และ Sendo 11% เป็นต้นนอกจากนี้ทราฟฟิกของ Lazadaนั้นเป็นเพียง 1 ใน 4 ของตลาดทั้งหมด หมายความว่ายังมีคู่แข่งอีกมากมายที่แชร์ส่วนแบ่งอยู่ในขณะนี้

ซึ่งต่างจากประเทศไทยและมาเลเซียที่ Lazadaมีส่วนแบ่งทราฟฟิกกว่า 50% หมายความว่าตลาดอีคอมเมิร์ซเวียดนามมีการกระจายผู้บริโภคอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งบริษัทที่กำลังตาม Lazadaในประเทศเวียดนามนั้นอาจจะสามารถขึ้นเทียบเท่าหรือแซงหน้า Lazadaได้ในไม่ช้า

โดยประเทศไทยนั้นอันดับสองในตลาดคงหนีไม่พ้น 11 Street ที่พึ่งเข้ามารุกตลาดประเทศไทยเมื่อต้นปีที่ผ่านมาผ่านการทำการตลาดอย่างหนักทั้งการใช้ Influencer และ Outdoor Advertising ที่ช่วยสร้างให้แบรนด์เป็นที่รู้จักในกลุ่มคนไทยอย่างรวดเร็ว ซึ่งเปอร์เซ็นต์ส่วนแบ่งทราฟฟิกของ 11 Street อยู่ที่ 11% ซึ่งน้อยกว่า Lazadaกว่า 4 เท่า นี่จึงเป็นสัญญาณว่าบริษัทอันดับรอง ๆ เหล่านี้ต้องทำการบ้านหนักขึ้นเพื่อที่จะตามยักษ์ใหญ่ให้ทันเพื่อขึ้นแข่งขันกับเจ้าตลาดอย่าง Lazadaนั่นเอง

บริษัทGoogle และTemasekได้ศึกษาตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบว่าในปี พ.ศ. 2558 ตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยถือเป็นตลาดที่เล็กที่สุดเมื่อเทียบกับมาเลเซียและเวียดนามจากการคาดการณ์ในอีก 8 ปีนับจากนี้ (พ.ศ.2568) ตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยจะโตขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยอัตราเติบโต 29% ต่อปี จนมีขนาดใหญ่กว่าตลาดอีคอมเมิร์ซของประเทศมาเลเซียและเวียดนาม โดยจะขึ้นเป็นที่สองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รองจากประเทศอินโดนีเซียอีกด้วยซึ่งประเทศไทยจะมีขนาดอยู่ที่ 11.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มาเลเซีย 8.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และเวียดนาม 7.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากการคาดการณ์นี้ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งสำหรับนักช้อปออนไลน์ในสามประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทย ตัวเลขการเติบโตนี้แสดงให้เห็นถึงโอกาสในการเข้าถึงตัวเลือกที่มีมากขึ้นและคุณภาพของสินค้าและบริการที่ดีขึ้นด้วยนั่นเอง เนื่องจากร้านค้าในตลาดอีคอมเมิร์ซจะต้องแข่งขันกันมากขึ้นเพื่อขึ้นเป็นหนึ่งในใจของผู้บริโภค

ขั้นตอนการศึกษาเพิ่มเติม: iPrice Insights

กันต์พจน์ สุริวงศ์ : Senior Content Marketing iPrice Group

]]>
1145264