ลดใช้ถุงพลาสติก – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 01 Jul 2020 13:12:31 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ร้านค้าทั่วญี่ปุ่น เริ่มเก็บเงิน “ค่าถุงพลาสติก” แล้ว ราคาขึ้นอยู่กับเเต่ละร้าน https://positioningmag.com/1286131 Wed, 01 Jul 2020 12:37:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1286131 ร้านค้าปลีกทั่วญี่ปุ่น เริ่มเก็บเงินค่าถุงพลาสติกเเล้ว ตั้งเเต่ 1 .. เป็นต้นไป โดยไม่ได้กำหนดราคาตายตัว ขึ้นอยู่กับเเต่ละร้าน

ร้านค้าทั่วไป รวมถึงสะดวกซื้อ สามารถตัดสินใจได้ว่าจะคิดเงินค่าถุงพลาสติกกับลูกค้าราคาเท่าใด ซึ่งสำนักข่าว AFP รายงานว่า ร้านค้าส่วนใหญ่เก็บค่าถุงพลาสติกใบละ 3 เยน (ราว 0.90 บาท)

ลูกค้ารายหนึ่งให้สัมภาษณ์กับ NHK ว่า เธอซื้อของที่ร้านสะดวกซื้อทุกเช้า และวันนี้ก็ได้เตรียมกระเป๋าผ้ามาเอง เพราะรู้ว่าร้านจะเริ่มเก็บค่าถุงพลาสติกแล้ว 

อย่างที่ทราบกันดีว่า ชาวญี่ปุ่นชื่นชอบการห่อบรรจุภัณฑ์ในสินค้าต่างๆ ที่เน้นทั้งความพิถีพิถันและความสวยงาม ร้านสะดวกซื้อส่วนใหญ่ ห่อกล้วยแต่ละลูกด้วยพลาสติก สิ่งเหล่านี้ทำให้ญี่ปุ่นสร้างขยะต่อประชากรสูงกว่าประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ (ยกเว้นสหรัฐฯ) โดยสหประชาชาติเคยวิจารณ์รัฐบาลญี่ปุ่นว่าล่าช้าในเรื่องลดการใช้พลาสติก

รัฐบาลญี่ปุ่นจึงเคลื่อนไหว ด้วยการออกมาตรการล่าสุดเพื่อจำกัดการใช้พลาสติกเกินความจำเป็น และให้ใช้อย่างชาญฉลาด การเก็บค่าถุงพลาสติกทั่วประเทศครั้งนี้ จึงหวังจะกระตุ้นให้ประชาชนคิดให้รอบคอบว่าจำเป็นต้องใช้ถุงพลาสติกหรือไม่

ญี่ปุ่นเคยให้คำมั่นว่า ภายในปี 2030 จะลดขยะพลาสติกลงให้ได้ 1 ใน 4 จากที่ผลิตขยะปีละ 9.4 ล้านตันในปัจจุบัน โดยจากข้อมูลของรัฐบาลระบุว่า ถุงพลาสติกคิดเป็น 2% ของขยะพลาสติกทั้งหมด

ส่วนความเคลื่อนไหวของผู้นำกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ 20 ประเทศ (G20) ได้ตกลงร่วมกันว่าจะลดปริมาณขยะพลาสติกในทะเล เมื่อปีที่ผ่านมา

แม้รัฐบาลญี่ปุ่นจะบอกว่ามีระบบจัดการขยะที่ทันสมัยและนำขยะพลาสติกรีไซเคิลได้กว่าร้อยละ 80 แต่รายงานของ AFP มองว่า การกำจัดขยะของญี่ปุ่นส่วนใหญ่ยังใช้การเผา ซึ่งก่อให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ทำให้เกิดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change)

 

 

]]>
1286131
S&P เอาด้วย! ดีเดย์งดให้ถุงพลาสติก ปี 2563 ช่วงแรกแจกถุงผ้าสปันบอนด์ก่อน https://positioningmag.com/1257474 Fri, 20 Dec 2019 05:16:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1257474 S&P ประกาศตัวร่วมรณรงค์ลดการสร้างขยะพลาสติก ด้วยการประกาศงดแจกถุงพลาสติกในปี 2563 เป็นต้นไป ขานรับมาตรการรัฐลดใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว

มณีสุดา ศิลาอ่อน ผู้อำนวยสำนักพัฒนาความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร บมจ.เอส แอนด์ พี ซินดิเคท กล่าวว่า

“ปัจจุบัน S&P ได้ทำกลยุทธ์แบรนด์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จึงมีนโยบายงดให้บริการถุงพลาสติกหูหิ้ว ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป เพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึกรักษ์โลกให้กับผู้บริโภค ต้องขอความร่วมมือผู้บริโภคในการพกถุงผ้ามาซื้อผลิตภัณฑ์เอส แอนด์ พี ในช่วงเดือนมกราคม 2563 เอส แอนด์ พี จะมีถุงผ้าสปันบอนด์แจกให้กับลูกค้า เพื่อช่วยเหลือในการปรับตัวในระยะแรก และมีถุงผ้านำกลับมาใช้ซ้ำต่อไป”

ก่อนหน้านี้ S&P ได้เปลี่ยนมาใช้หลอดกระดาษ และหลอดพลาสติกแบบช้อนที่ย่อยสลายได้ (ไบโอพลาสติก) ทดแทนการใช้หลอดพลาสติกแบบเดิม มีการเริ่มสั่งผลิตหลอดกระดาษขนาดพิเศษเพื่อทดแทนการใช้หลอดช้อนไบโอพลาสติกแล้ว โดยจะสามารถลดขยะหลอดพลาสติกได้ถึงปีละกว่า 3 ล้านชิ้น

ส่วนบรรจุภัณฑ์อาหาร และขนมหลายรายการได้ใช้บรรจุภัณฑ์ทดแทนพลาสติก หรือบรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายได้ในธรรมชาติ อาทิ บรรจุภัณฑ์ใส่อาหารจากเยื่อกระดาษขึ้นรูป (Pulp Mold) กล่องสแน็คบ็อกซ์กระดาษคราฟท์รักษ์โลก รวมถึงส่งเสริมการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนในองค์กร ทำให้สามารถลดการใช้พลาสติกไปแล้วกว่า 77 ตัน ในปี 2562

]]>
1257474
“ยูนิโคล่” และ 8 แบรนด์ฟาสต์แฟชั่นภายใต้ “ฟาสต์ รีเทลลิ่ง” ประกาศลดใช้ถุงพลาสติกหันมาใข้ “ถุงกระดาษ” ตั้งเป้าลดการใช้ 85% ในปี 2563 https://positioningmag.com/1237809 Fri, 05 Jul 2019 09:00:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1237809 ฟาสต์ รีเทลลิ่งบริษัทฟาสต์แฟชั่นยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น ได้เป็นบริษัทระดับโลกรายล่าสุด ที่ประกาศลดปริมาณพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว และหันมาให้ร้านค้าที่กระจายอยู่ทั่วโลกหันมาใช้ถุงกระดาษแทน ซึ่งตามแผนถูกแบ่งออกเป็น 3 โครงการหลัก ได้แก่

1. ขจัดการใช้ถุงช้อปปิ้งพลาสติกและเปลี่ยนไปใช้ถุงกระดาษที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยนับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2562 เป็นต้นไป ร้านต่างๆ ใน 12 ประเทศทั่วโลกรวมถึงในญี่ปุ่นที่ยังคงใช้ถุงช้อปปิ้งพลาสติกอยู่จะเริ่มเปลี่ยนไปใช้ถุงกระดาษที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเป็นถุงที่ผลิตขึ้นจากกระดาษที่ผ่านการรับรองของสภาพิทักษ์ป่า (Forest Stewardship Council – FSC) หรือกระดาษรีไซเคิล

ส่วนร้านต่างๆ ในประเทศที่ใช้ถุงช้อปปิ้งที่เป็นกระดาษอยู่แล้ว รวมถึงร้านยูนิโคล่ในยุโรป ตลอดจนแบรนด์ต่างๆ ของกลุ่มฯ ได้แก่ Theory, Comptoir des Cotonniers, Princesse tam.tam และ PLST จะเริ่มเปลี่ยนไปใช้ถุงกระดาษที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่เดือนกันยายน 2562 เป็นต้นไป

2. จำหน่ายถุงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและใช้ซ้ำได้ในดีไซน์ออริจินัลของแบรนด์ และคิดเงินค่าถุงช้อปปิ้งในบางประเทศ เพื่อกระตุ้นการใช้ถุงแบบใช้ซ้ำได้ โดยร้านยูนิโคล่และร้าน GU ทั้งในญี่ปุ่นและในต่างประเทศ ตลอดจนร้าน Comptoir des Cotonniers และ Princesse tam.tam ทั่วโลก จะเริ่มจำหน่ายถุงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและใช้ซ้ำได้ของแต่ละแบรนด์ตั้งแต่เดือนกันยายน 2562 เป็นต้นไป

และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ใช้ถุงในรูปแบบที่ใช้ซ้ำได้ ร้านยูนิโคล่และร้าน GU ทุกสาขาในญี่ปุ่นจะเริ่มคิดค่าถุงช้อปปิ้งในราคาถุงละ 10 เยน (บวกภาษี) ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ส่วนร้านยูนิโคล่และร้าน GU ในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรปและเอเชีย รวม 16 ประเทศ จะคิดค่าถุงช้อปปิ้งหลังจากเดือนกันยายน 2562 นี้

สุดท้าย 3. เริ่มกระบวนการทดสอบจำเพาะสำหรับยืนยันผล เพื่อมุ่งขจัดพลาสติกในบรรจุภัณฑ์สินค้าและเปลี่ยนไปใช้วัสดุทดแทน โดยจะขจัดการใช้พลาสติกในบรรจุภัณฑ์ของสินค้าบางรายการ อาทิ รองเท้ายูนิโคล่สำหรับสวมในบ้าน โดยเริ่มตั้งแต่ซีซั่น Fall/Winter 2019 เป็นต้นไป

พร้อมกับเริ่มการทดสอบยืนยันผล (Verification Testing) ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนวัสดุบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ยูนิโคล่และ GU เช่น ฮีทเทค (HEATTECH), แอริซึ่ม (AIRism) และผลิตภัณฑ์ชุดชั้นในอื่นๆ จากพลาสติกไปเป็นวัสดุทางเลือกอื่นๆ โดยเริ่มกระบวนการทดสอบตั้งแต่ฤดูร้อนปี 2562 เป็นต้นไป

ทั้งหมดนี้ตั้งเป้าลดการใช้ลงให้ได้ 85% หรือคิดเป็นปริมาณประมาณ 7,800 ตันต่อปีภายในสิ้นปี 2563

สำหรับฟาสต์ รีเทลลิ่ง เป็นบริษัทโฮลดิ้งสัญชาติญี่ปุ่น และเป็นหนึ่งในบริษัทค้าปลีกสินค้าเครื่องแต่งกายที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมียูนิโคล่เป็นแบรนด์ที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่ม ฟาสต์ รีเทลลิ่งทั้ง 8 แบรนด์ ซึ่งแบรนด์ที่เหลือได้แก่ GU, Theory, Helmut Lang, PLST (Plus T), Comptoir des Cotonniers, Princesse tam.tam และ J Brand 

ในปีงบประมาณ 2561 สิ้นสุด วันที่ 31 สิงหาคม 2561 มียอดจำหน่ายทั่วโลกประมาณ 2.13 ล้านล้านเยน หรือประมาณ 19,170 ล้านดอลลาร์สหรัฐ.

]]>
1237809