วงการโฆษณา – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 13 Jan 2021 11:08:36 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 5 ข้อแนะนำ “นักการตลาด” ลงสื่อให้มีประสิทธิภาพในยุค COVID-19 จาก “มายด์แชร์” https://positioningmag.com/1314018 Wed, 13 Jan 2021 09:25:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1314018 “มายด์แชร์” แนะ 5 ข้อแก่นักการตลาด ช่วงการระบาด COVID-19 รอบใหม่ที่ทำให้สถานการณ์เปลี่ยนอีกครั้ง ต้องปรับตัวตามให้เหมาะสม โดยไม่ควรทิ้งการทำตลาดโดยสิ้นเชิง และมุ่งเน้นการขายผ่านอีคอมเมิร์ซที่มาแรงตั้งแต่ปีก่อน

สถานการณ์ COVID-19 ระบาดรอบใหม่ถาโถมตลาดตั้งแต่ต้นปี ทำให้นักการตลาดต้องปรับแผนกันใหม่ในการลงโฆษณา “ปัทมวรรณ สถาพร” กรรมการผู้จัดการ มายด์แชร์ จึงสรุป 5 ข้อแนะนำถึงนักการตลาดเพื่อให้เม็ดเงินที่ใช้มีประสิทธิภาพ ในช่วงเวลานี้ ดังนี้

1.จัดลำดับความสำคัญ

  • พิจารณาแผนใหม่อีกครั้งว่าแคมเปญใดที่สำคัญกับแบรนด์บ้าง โดยจัดสมดุลระหว่างแคมเปญที่เป็นการโปรโมตคุณค่าหลักของแบรนด์ กับแคมเปญโปรโมชันระยะสั้น
  • บริษัทที่มีสินค้าหลายอย่าง เน้นหนักไปที่แบรนด์เกี่ยวกับสุขภาพ อนามัย เป็นสำคัญก่อน
  • เน้นแคมเปญที่สื่อสารสิ่งที่ “ทำที่บ้าน” ก่อน เช่น สินค้าไอศกรีม จากที่โปรโมตการซื้อชิ้นเล็ก กระตุ้นการตัดสินใจฉับพลัน อาจเปลี่ยนมาเป็นการกระตุ้นให้ซื้อแบบไซส์ใหญ่ เก็บไว้ทานที่บ้าน

2.ผู้รับสาร

  • การลงโฆษณาแบบ Hypertargeting ต้องกลับมาอีกครั้ง เลือกผู้รับสารให้เหมาะทั้งความสนใจและพฤติกรรม
  • ใช้ประโยชน์จากดาต้าผู้บริโภคที่เก็บไว้ให้มากที่สุด
  • เน้นการบอกต่อในกลุ่มผู้บริโภค

3.การใช้สื่อ

  • รักษาความต่อเนื่องในการทำการตลาด ไม่ควรหยุดทำตลาดโดยสิ้นเชิง เพราะการหยุดทำโฆษณาในช่วงวิกฤตและจะกลับมาสร้างการรับรู้ใหม่อีกครั้งเป็นเรื่องที่ยากกว่า และมีโอกาสที่ระหว่างนั้นคู่แข่งจะดึงลูกค้าไปได้ โดยย้ำว่าไม่จำเป็นต้องลงทุนงบประมาณเท่าเดิม สามารถลดงบลงได้ แต่ไม่ควรเงียบหายไปทั้งหมด
  • เนื่องจากการระบาดรอบใหม่มีความรุนแรงต่างกันในแต่ละพื้นที่/ภูมิภาค ดังนั้นควรจะยืดหยุ่นการใช้สื่อในแต่ละภูมิภาค เช่น กลุ่มจังหวัดที่อยู่ในช่วงกึ่งล็อกดาวน์ คนออกจากบ้านน้อย ควรจะลดหรืองดการใช้สื่อนอกบ้านไปก่อน และหันไปใช้เครื่องมือสื่อภายในบ้านแทน

4.ปรับตัวเร็วในการทำคอนเทนต์สื่อสาร

  • คอนเทนต์เน้นการคิดสร้างสรรค์เรื่องการบริโภค “ภายในบ้าน” เป็นหลัก
  • หลีกเลี่ยงไอเดียที่เกี่ยวกับการบริโภค “นอกบ้าน” เช่น ท่องเที่ยว ปาร์ตี้

5.อีคอมเมิร์ซและ Search

  • ปี 2563 ธุรกิจอีคอมเมิร์ซโตสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยมียอดขายเพิ่มขึ้น 2-3 เท่าตัว และได้เห็นเทรนด์ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าใช้ประจำผ่านทางออนไลน์ด้วย
  • ดังนั้น สินค้าทุกอย่างควรมุ่งเน้นกลยุทธ์การตลาดสำหรับค้าออนไลน์โดยเฉพาะด้วย เน้นการเข้าถึงลูกค้าและปิดการขายให้ได้ รวมถึงพิจารณาการจัดแพ็กขนาดสินค้าให้เหมาะกับการขายออนไลน์
  • “Keywords” ในการ Search ออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับสินค้านั้นสำคัญมาก ต้องใช้ประโยชน์จากจุดนี้ให้ได้
“ปัทมวรรณ สถาพร” กรรมการผู้จัดการ มายด์แชร์

ปัทมวรรณกล่าวว่า พฤติกรรมผู้บริโภคในช่วงที่ COVID-19 มีการระบาดจะคล้ายกับปีก่อน แต่สิ่งที่เพิ่มเติมขึ้นมาคือ “คอนเทนต์มีมากขึ้นแต่ผู้บริโภคมีเวลาน้อยลง” ทำให้การทำคอนเทนต์ต้องเจาะไปถึงผู้บริโภคให้ได้ อีกสิ่งหนึ่งที่น่าจับตาคือ “Mobile Payment” ผลโดยตรงจากโครงการคนละครึ่งของรัฐ ทำให้ผู้บริโภคคุ้นชินมากขึ้นในการชำระเงินผ่านมือถือ ดังนั้น การตลาดและการขายควรคำนึงถึงจุดนี้ว่าผู้บริโภคได้เปลี่ยนไปแล้ว

ทิ้งท้ายคือการวางแผนล่วงหน้าในระยะใกล้ ปกติช่วง “ไฮซีซั่น” ของการโฆษณาคือช่วงปิดเทอมหน้าร้อนก่อนถึงเทศกาลสงกรานต์ แต่ปีนี้มีแนวโน้มจะเป็นเหมือนปีก่อน คือ COVID-19 ทำให้เทศกาลสงกรานต์หรือการท่องเที่ยวหน้าร้อนไม่มีหรือมีน้อย เนื่องจากรัฐบาลอาจไม่สนับสนุนให้จัดเทศกาลเพื่อป้องกันการระบาด นักการตลาดอาจจะต้องระมัดระวังการเตรียมแผนงานในส่วนนี้

]]>
1314018
10 ประโยคความท้าทาย Programmatic โลก ที่คนโฆษณาควรรู้ https://positioningmag.com/1165347 Mon, 09 Apr 2018 23:14:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1165347 จากยุคที่การซื้อขายโฆษณาทำด้วยคน ทีมการตลาดของแบรนด์ต้องติดต่อฝ่ายขายของสื่อเพื่อจิ้มเลือกพื้นที่ลงโฆษณาจับจองตำแหน่ง แต่โลกเปลี่ยนจนทำให้วงการโฆษณามี Programmatic ระบบที่ใช้ซอฟต์แวร์มาช่วยให้แบรนด์ซื้อขายพื้นที่โฆษณาได้ตรงกลุ่มเป้าหมายแบบเรียลไทม์

ถามว่าวันนี้ตลาด Programmatic กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางใด คำตอบมีอยู่ชัดเจนใน 10 ประโยคต่อไปนี้ ซึ่งรวบรวมได้จากงานประชุม Programmatic for Publishers Summit เมื่อปลายมีนาคม ที่ลอนดอน

สำนักข่าว Mobile Marketing รวบรวม 10 ประโยคที่ถูกการันตีว่าเป็นประโยคที่ดีที่สุดซึ่งถูกพูดในงานประชุม 2561 ผู้เข้าร่วมงานดังกล่าวมีทั้งตัวแทนจาก media สื่อใหญ่ระดับโลก ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดบนอุปกรณ์มือถือ และอีกหลายส่วนเพื่อหารือว่า publisher ผู้เผยแพร่โฆษณาจะสามารถจัดการกับความท้าทายและโอกาสที่มีอยู่ในตลาด Programmatic ได้อย่างไร

1.การรวมกันของภาพ เสียง และอารมณ์บนหน้าจอมือถือ ทำให้เกิดเป็นเครื่องมือส่งสารที่ทรงประสิทธิภาพมากสำหรับ publisher”

2.มือถือและวิดีโอ ทำให้เกิดการรวมตัวกันของสุดยอด killer ที่พูดแบบนี้ได้เพราะเราเห็น “การชมสื่อดิจิทัลบนอุปกรณ์มือถือเท่านั้นมากขึ้น ซึ่งรวมถึงการชมวิดีโอ ดังนั้นในฐานะที่เป็น publisher คุณต้องลงทุนในแพลตฟอร์มเหล่านั้นเพื่อที่จะจับตลาดได้

ทั้ง 2 ประโยคนี้มาจากปาก Julian Strut ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจของผู้จัดพิมพ์ บริษัท SpotX ซึ่งแสดงให้ผู้เผยแพร่โฆษณารู้ว่าทำไม publisher ทุกคนต้องหาที่ยืนในธุรกิจโฆษณาวิดีโอบนอุปกรณ์เคลื่อนที่อย่างจริงจัง

3.ขณะนี้การใช้งาน ad blocker เครื่องมือป้องกันโฆษณาเพิ่มขึ้นชัดเจน และเราเชื่อว่าทั้งหมดนี้เป็นเพราะโฆษณามีการล่วงล้ำหรือทำให้เกิดผลเสียต่อผู้ใช้ อย่างไรก็ตาม แบรนด์ยังคงต้องโฆษณาต่อไป โดยต้องให้แน่ใจว่ามีการส่งข้อความอย่างจริงจังต่อเนื่อง และต้องให้แน่ใจว่าค่าใช้จ่ายที่เสียไปนั้นมี high impact คุ้มทุน

ประโยคนี้ของ Shez Iqbal หัวหน้าสำนักพิมพ์ในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์ ชื่อ Sublime Skinz ถูกพูดขึ้นมาเพื่อบอกว่าโฆษณาบนมือถือไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุดดังนั้น ผู้เผยแพร่โฆษณาจึงควรใช้รูปแบบโฆษณาที่หลากหลาย เพื่อให้การส่งสารจากแบรนด์ยังมีประสิทธิภาพ โดยที่กลุ่มเป้าหมายไม่รู้สึกแง่ลบ

4.เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องของข้อมูลเท่านั้นแต่ประเด็นคือการใช้งานบริการดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นและการเน้นที่แต่ละบุคคล ข้อมูลประวัติการใช้งาน data footprint ที่คนเหล่านี้ทิ้งไว้กำลังมีผลต่อชีวิตทุกคนมากขึ้น … GDPR จึงเป็นสิ่งที่บอกในขณะนี้ว่าทุกอย่างที่เกี่ยวกับข้อมูลต้องมีความโปร่งใส จะต้องมีการควบคุม และจะต้องมีการ put back หรือส่งกลับเข้าไปในมือของผู้ใช้

Robert Bergmann ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท Teavaro  แนะนำ publisher ที่เข้าร่วมประชุม ซึ่งประโยคนี้บอกชัดถึงแนวคิดที่ publisher จะสามารถดำเนินธุรกิจในยุคที่อียูออกมาตรการ GDPR เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคซึ่งถูกสื่อเก็บข้อมูลประวัติการใช้งานอย่างละเอียด

5.ผมคิดว่าวันนี้ header bidding (ระบบประมูลล่วงหน้า) เริ่มมีจุดผิดคอนเซ็ปต์ โดยเฉพาะประเด็นว่าการประมูลล่วงหน้าฝั่งเซิร์ฟเวอร์จะแก้ปัญหาทั้งหมดของ publisher ได้นั่นไม่ใช่ความจริงทั้งหมด แต่เบื้องต้น การประมูลแบบนี้เริ่มทำให้ publisher ได้ผลดี ซึ่งอาจเป็นไปได้ แต่ก็ต้องรอดูต่อไป

6.ผมคิดว่าจุดผิดคอนเซ็ปต์ คือความเข้าใจผิดว่าการย้ายสิ่งต่างๆไปยังฝั่งเซิร์ฟเวอร์ จะแก้ปัญหาแฝงทั้งหมดของ publisher ได้

7.ยังมีความเข้าใจผิดกันว่า CPM สูงสุดคืออัตราผลตอบแทนที่ดีที่สุด ผมคิดว่าวิธีการเสนอราคาประมูลล่วงหน้าที่ใช้ในวันนี้ คือการตั้งค่าที่สวยหรูของผู้เผยแพร่โฆษณาส่วนใหญ่ แล้วเพียงแค่รอดูว่าใครมี CPM สูงสุด ซึ่งจริงๆ แล้ว ยังมีวิธีการชาญฉลาดอื่นที่สามารถใช้พิจารณาได้อีก

ประโยคที่ 5-7 นี้เป็นของ Martin Hill ผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมโซลูชั่นของ Iponweb ซึ่งตีแผ่วงการ Programmatic วันนี้ว่ายังคงมีความเชื่อที่ไม่ถูกต้องในการเสนอราคาประมูลล่วงหน้า หรือ header bidding

หากไม่มี header bidding ผู้เผยแพร่ที่เป็นสื่อ publisher จะไม่มีทางรู้ได้เลยว่าผู้ลงโฆษณายินดีที่จะจ่ายให้โฆษณาเท่าใด นอกจากนี้ publisher ยังไม่สามารถดูข้อเสนอจากผู้ซื้อหลายรายพร้อมกัน ดังนั้น header bidding หรือการประมูลล่วงหน้าจึงถูกมองว่าจะแก้ปัญหาความไม่มีประสิทธิภาพของระบบซื้อขายโฆษณาผ่านโปรแกรม ทำให้ได้ CPM หรือต้นทุนต่อการเห็นโฆษณาที่ต่ำลง ซึ่งนำไปสู่กำไรของ publisher ที่น้อยลง 

ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ ที่ Martin Hill พูดถึงคือเหล่า publisher ที่เปิดประมูลล่วงหน้า ซึ่งแน่นอนว่าลำพังการย้ายทุกอย่างไปยังฝั่งเซิร์ฟเวอร์ นั้นไม่ได้เป็นทางออกแก้ปัญหาทุกอย่างที่ทำให้ publisher กำไรน้อยลง แต่เพียงขณะนี้ เราเห็นกำไรของ publisher เพิ่มขึ้นเพราะการประมูลล่วงหน้านี้เท่านั้น 

8.ความเชื่อถือไม่เคยเป็นหัวข้อที่สำคัญมากขนาดนี้มาก่อน

9.ในตอนนี้ ถ้าถามว่าเรากำลังดำเนินการเรื่อง GDPR อย่างไร และตอบโจทย์สิ่งต่างๆ ที่กำลังเปลี่ยนแปลงในยุค header bidding อย่างไร? ผมคิดว่าสิ่งสำคัญที่สุดที่จะต้องคำนึงถึงคือสิ่งที่ผู้ชมกำลังสนใจอยู่ และวิธีที่เราจะสามารถเข้าถึงสิ่งนั้นได้

ทั้ง 2 ประโยคนี้ของ Ben Putley ผู้อำนวยการกลยุทธ์เชิงบัญชีของบริษัท Sharethrough มองไปที่ความไว้วางใจ ซึ่งผู้บริโภคส่วนใหญ่เชื่อ publisher มากกว่าจำนวน Like บน Facebook และ Twitter

10.หากคุณเป็นผู้ลงโฆษณา คุณย่อมไม่ต้องการเสียกลุ่มเป้าหมาย 50% ไปเพียงเพราะยังยืนกรานที่จะโฆษณาแบบเดิมต่อไป

Ian Hocking หัวหน้าฝ่ายธุรกิจ Programmatic ที่ News UK ทิ้งท้ายถึง publisher ว่าควรใช้ข้อมูลผู้อ่านเพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสม ด้วยการจับคู่กลุ่มคนอ่านกับโฆษณาที่เข้ากันถูกต้อง ไม่เช่นนั้นก็อาจเสียลูกค้าไป.

]]>
1165347
เมื่อ Native Ad ครองตลาด-โฆษณาล็อกเป้าหมายต้องเข้าถึงอารมณ์ เปิดเทรนด์โฆษณาดิจิทัล ปี 2018 ที่นักการตลาดไม่ควรพลาด https://positioningmag.com/1155702 Mon, 05 Feb 2018 08:17:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1155702 2017 ปีที่สื่อถูก disrupt

ซี เย็น อ็อง รองประธานฝ่ายการตลาด Spotify Asia ได้สรุปถึง สภาพของธุรกิจสื่อในปี 2017 ถือว่าเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในวงการโฆษณาสำหรับทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และแพลตฟอร์มต่างๆ

การปรับตัวจากสื่อสิ่งพิมพ์สู่พื้นที่ดิจิทัลเรียกได้ว่าเกือบจะเสร็จสมบูรณ์แล้ว ทั้งยังมี “การคาดการณ์กันว่างบประมาณโฆษณาของสื่อสิ่งพิมพ์ ยังมีแนวโน้ม “ตกลง” ครั้งใหญ่อีกในปีนี้ ด้านโฆษณาโทรทัศน์เองก็มีการปรับย้ายไปสู่พื้นที่ดิจิทัลในทิศทางเดียวกันเช่นกัน จากการมาของ แอปวิดีโออย่าง Hulu หรือแพลตฟอร์มที่สามารถเข้าถึงผู้ชมจำนวนมากได้ เช่น Facebook YouTube หรือ Snapchat

เว็บไซต์ที่ไม่สามารถนำเสนอประสบการณ์ที่แตกต่างได้ มีโอกาสสูงมากที่เสียทั้งผู้บริโภคและผู้ลงโฆษณาไปให้กับแพลตฟอร์มที่ใหญ่กว่า

ขณะเดียวกัน สื่อวิทยุก็ถูกมองว่ายังอยู่ในขั้นเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้ แต่คาดว่าจะย้ายไปสู่แพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับการฟังเพลงในที่สุด ดังนั้นเมื่อเทคโนโลยียังคงพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง แบรนด์และนักการตลาดจึงจำเป็นจะต้องปรับวิธีการสื่อสารเรื่องราวต่างๆ ให้มีความเกี่ยวข้องกับลูกค้าและอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เป็นที่มาของ 4 เทรนด์การตลาดสำคัญที่ควรให้ความสนใจในปี 2018 และแม้ว่าเทรนด์เหล่านี้อาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับใครหลายๆ คน แต่อย่างน้อยก็เป็นเรื่องไม่เสียหายในการนำเทรนด์ต่อไปนี้มาพิจารณาระหว่างที่ทำแผนการตลาดสำหรับปี 2018

1. ผลิตโฆษณาที่สร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Add)

โฆษณาดิจิทัล ยังเพิ่มความน่าสนใจได้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ที่มักจะไปขัดจังหวะการดูคอนเทนต์โปรดของผู้บริโภค แทนที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประสบการณ์การรับชมและรับฟัง ซึ่ง Facebook และ Google กำลังประสบความสำเร็จ จากการต่อยอดประสบการณ์การรับชมโฆษณาของผู้บริโภค สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับนักการตลาด

โดยแพลตฟอร์มเหล่านี้นำเสนอ ที่สามารถคาดเดาความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างแม่นยำกว่าตัวผู้บริโภคเองเสียอีก แม้ว่าวิธีการดั้งเดิมอย่างการใช้คุกกี้เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ซื้อเพื่อการเข้าถึงผู้บริโภคอย่างเที่ยงตรง อาจถูกมองว่ามีประสิทธิภาพดีกว่าการทำการตลาดแบบสุ่มอย่างไร้ข้อมูล

แต่เมื่อแพลตฟอร์มที่กักเก็บข้อมูลจำนวนมหาศาลไว้เหล่านี้ สามารถตีความช่วงเวลาสำคัญๆ บริบทที่หลากหลาย รวมถึงสัญญาณต่างๆ ที่บ่งบอกถึงความสนใจของผู้ใช้ได้ดียิ่งขึ้น ก็หมายถึงความสามารถในการขับเคลื่อนและเสาะหาคุณค่าในสายตาผู้บริโภคได้อย่างถูกต้องแม่นยำกว่าเดิมเช่นกัน

2. ปูทางสู่ Native Advertising และ Sponsored Content

Business Insider ของอังกฤษ กล่าวว่า การโฆษณาแบบ Native Advertising (โฆษณาแนวเดียวกับเนื้อหาของเว็บจะขับเคลื่อนรายได้จากการโฆษณาได้กว่า 74% ภายในปี 2021

โดย Native Advertising ถูกมองว่าส่งผลดีในแง่ของความยืดหยุ่นที่ทำให้โฆษณาไปถึงทุกช่องทางที่แพลตฟอร์มเข้าถึง รวมไปถึงคุณภาพของโฆษณาที่ดี และเมื่อโฆษณาถูกวางให้เข้ากับรูปแบบและฟังก์ชันของแพลตฟอร์ม ก็จะสร้างการเปิดรับและการมีส่วนร่วมให้กับโฆษณานั้นๆ ได้มากยิ่งขึ้น

งานวิจัยและที่มาต่างๆ ระบุว่า “…การโฆษณาแบบ Native Advertising มียอดการรับชมพอๆ กับคอนเทนต์ที่ไม่ได้ทำเพื่อจุดประสงค์เชิงพาณิชย์…” ซึ่งเป็นจุดสำคัญที่แบรนด์ต่างๆ ควรนำมาพิจารณา เนื่องจากผู้ใช้ในปัจจุบันอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยคอนเทนต์จำนวนมหาศาล โดยนอกจากจะลดการก้าวล้ำพื้นที่ส่วนตัว ทั้งยังน่ารำคาญน้อยกว่าแล้ว Native Advertising ยังสร้างคอนเทนต์ที่ช่วยเติมเต็มประสบการณ์โดยรวมของผู้ใช้ได้อีกด้วย

ข้อมูลจากรายงานของ BI Intelligence อ้างว่า :

  • การโฆษณาแบบ Native-Display Advertisement ซึ่งรวมไปถึง Social Native และ Native Advertisement ที่ปรากฏบนฟีดของเว็บไซต์ จะสร้างรายได้ให้กับการโฆษณาแบบ Native Advertisement ทั้งหมดจากปี 2016 – 2021
  • Sponsored Content จะเป็นรูปแบบการโฆษณาแบบ Native ที่เติบโตเร็วที่สุดใน 5 ปีหลังจากนี้

3. การทำโฆษณาสำหรับแต่ละบุคคล จะต้องไปให้ไกลกว่าการ “ล็อกเป้าหมาย”

มาร์ค พริทชาร์ด ของ P&G เคยกล่าวถึงเรื่องนี้โดยละเอียด เกี่ยวกับปัญหาที่นักการตลาดพบในการลงโฆษณาแบบอัตโนมัติที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Programmatic Ad Placement) โดยที่การเข้าใจว่าควรลงโฆษณา ที่ไหน และ เมื่อไร นั้นมีความสำคัญพอๆ กับการเข้าใจว่าควรลงโฆษณา อะไร และ เพื่อใคร

ยกตัวอย่างเช่น คุณไม่ควรขอให้ผู้ใช้กดเข้าไปดูโฆษณาหากว่าพวกเขากำลังขับรถ หรือพุ่งเป้าไปที่ “คนรักการออกกำลัง” และขอให้กรอกข้อมูลในแบบฟอร์ม ในขณะที่พวกเขากำลังออกกำลังกายอย่างเข้มข้น

ดังนั้น การเข้าใจบริบทและอารมณ์ของผู้บริโภคจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งการที่จะทำความเข้าใจสิ่งเหล่านี้ มีความเป็นไปได้มากขึ้นหากข้อมูลทุกอย่างถูกเชื่อมโยงเข้าไว้ด้วยกัน โดย IHS ระบุว่า จำนวนอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ที่ถูกเชื่อมต่อไว้ด้วยกัน จะพุ่งสูงขึ้นถึง 30.7 พันล้านเครื่อง ภายในปี 2020

4. รับฟังเพลงและสื่อรูปแบบเสียงดิจิทัลกำลังมาแรง

เมื่อผู้คนหันมาบริโภคสื่อบนอุปกรณ์ต่างๆ มากขึ้น ภูมิทัศน์ทางการตลาดก็ปรับตัวไปสู่การทำการตลาดตามบุคคล (People-based Marketing)

งานวิจัยของ Nielsen ระบุว่า ผู้คนรับฟังเพลงและสื่อรูปแบบเสียงในขณะที่กำลังทำกิจกรรมที่ไม่ต้องรับชมสื่ออื่นๆ ด้วยสายตากว่า 79% ไม่ว่าจะเป็นการวิ่งออกกำลังบนลู่หลังเลิกงาน หรือการโชว์อินเนอร์ความเป็นดาราร็อกระหว่างอาบน้ำ ปัจจุบัน สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างแรกคือความสามารถในการเข้าถึงคอนเทนต์ต่างๆ มากกว่าการเป็นเจ้าของคอนเทนต์นั้นๆ อย่าง Spotify ที่ผู้ใช้ฟังเพลงผ่านแพลตฟอร์มของตัวเองกว่า 148 นาทีต่อวัน

นักการตลาดที่เชี่ยวชาญจะสามารถปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงในหมู่ผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่การโฆษณาด้วยเสียงจะถูกพัฒนาผ่านประสบการณ์บนแพลตฟอร์ม ที่แตกต่างจากการรับฟังสื่อวิทยุแบบดั้งเดิม.

]]>
1155702