สนามบินอู่ตะเภา – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 01 Apr 2024 06:01:32 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ไม่รอแล้ว! “BA” วอนรัฐขอเข้าพื้นที่เตรียมก่อสร้าง “เมืองการบิน” หลังลงทุนแล้ว 4,000 ล้านโปรเจ็กต์ยังไม่คืบ https://positioningmag.com/1468420 Mon, 01 Apr 2024 05:31:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1468420 “BA” หนึ่งในกลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส ผู้ชนะประมูลโครงการ “เมืองการบิน” สนามบินอู่ตะเภา วอนรัฐเปิดทางให้เข้าพื้นที่เตรียมก่อสร้าง เนื่องจากลงทุนไปแล้ว 4,000 ล้านบาทหลังชนะประมูล 5 ปีแต่โปรเจ็กต์ไม่คืบหน้า กังวลปัญหาฟาก “ไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน” ที่ต้องลงทุนคู่กัน แต่เชื่อว่ารัฐจัดการได้ และกลุ่มบีบีเอสขอไม่รอเคลียร์ ต้องการเดินหน้าลุยโครงการเมืองการบินไปก่อน

“โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก” เป็นโครงการเมกะโปรเจ็กต์ที่รัฐบาลดำริขึ้นเพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานให้กับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เมื่อสร้างเสร็จแล้วสนามบินอู่ตะเภาจะกลายเป็นสนามบินนานาชาติเชิงพาณิชย์แห่งที่ 3 ของกรุงเทพฯ และเป็น “เมืองการบิน” ของไทย โดยจะมีการเชื่อม 3 สนามบินหลักของกรุงเทพฯ เข้าด้วยกันด้วย “รถไฟความเร็วสูง ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา”

รัฐบาลแยกสัมปทานโครงการนี้ออกเป็น 2 ขา คือ โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาฯ ซึ่ง “กลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส” เป็นผู้ชนะประมูล (*กลุ่มนี้ประกอบด้วย บมจ.การบินกรุงเทพ หรือ BA, บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ และ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น) ส่วนอีกขาหนึ่งคือ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ผู้ชนะประมูลคือ “บริษัท เอเชีย เอราวัณ จำกัด” ในเครือเจริญโภคภัณฑ์

อย่างไรก็ตาม เวลาผ่านไป 5 ปีโครงการสนามบินอู่ตะเภาเมืองการบินดูจะยังไม่คืบหน้ามากนัก ส่วนไฮสปีดเทรน 3 สนามบินก็ยังนิ่ง ติดปัญหาหลายประการที่ทำให้โครงการไม่เริ่มก่อสร้าง

ฟากฝั่งโครงการสนามบินอู่ตะเภาเมืองการบิน “พุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ” กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หนึ่งในพาร์ทเนอร์กลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส ออกมายืนยันว่าโครงการนี้ทางกลุ่มฯ พร้อมเดินหน้าลงทุนต่อเต็มที่ แม้จะมีปัจจัยเรื่องฝั่งไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบินส่อแววปัญหาล่าช้า แต่ฝั่งเมืองการบินจะ “ไม่รอ” ให้ปัญหาคลี่คลาย เพราะเชื่อว่ารัฐบาลจะต้องหาทางผลักดันให้โครงการไฮสปีดเทรนไปต่อได้ในที่สุด เนื่องจากถ้าไม่มีไฮสปีดเทรนเป็นตัวเชื่อมก็จะส่งผลต่อภาพรวมของโครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินทั้งหมด

“คิดว่าคงไม่ต้องรอให้เกิดความชัดเจนเรื่องไฮสปีดเทรน เพราะถ้ารอเราอาจจะไม่ได้สร้าง ตอนนี้เราก็ดำเนินการเรื่องทางการเงินกับพาร์ทเนอร์ของเราไปได้เลย เจรจากับพาร์ทเนอร์ว่าเราจะเริ่มเลยไหม ถ้าเป็นไปได้เราก็อยากเริ่มก่อสร้างเลยในปีนี้” พุฒิพงศ์กล่าว

 

ลงเม็ดเงินแล้ว 4,000 ล้าน ต้องการลุยต่อให้เร็วที่สุด

ด้าน “อนวัช ลีละวัฒน์วัฒนา” รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่อาวุโส สายงานการเงินและบัญชี บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ชี้แจงเพิ่มเติมว่า โครงการนี้ทางกลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอสมีการลงทุนใส่เม็ดเงินไปแล้วกว่า 4,000 ล้านบาท สะสมตั้งแต่ 5 ปีก่อนที่ชนะการประมูล โดยเป็นค่าที่ปรึกษาและค่าออกแบบโครงการ ทำแผนแม่บทมาสเตอร์แพลน ทำให้ทางกลุ่มฯ เองก็ต้องการจะเริ่มลงพื้นที่ก่อสร้างจริงให้ได้เร็วที่สุด

ภาพจาก Unsplash

อย่างไรก็ตาม เหตุที่ยังเข้าพื้นที่ไม่ได้เพราะตามข้อตกลงทางภาครัฐจะต้องดำเนินการตามเงื่อนไขให้เสร็จสิ้นก่อนหลายประการ เช่น เมื่อต้นปี 2567 กองทัพเรือเริ่มดำเนินการเปิดประมูลก่อสร้างทางวิ่ง (รันเวย์) ที่ 2 และยังมีอีกหลายเงื่อนไขที่ภาครัฐจะต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นก่อน

แต่จากความล่าช้าที่ผ่านมาทำให้กลุ่มฯ มีการเจรจากับภาครัฐว่าถ้าหากจะขอให้เอกชนได้เข้าพื้นที่เพื่อเข้าไปเตรียมงานก่อนจะเป็นไปได้หรือไม่ เพราะโครงการมีขนาดใหญ่มาก หากรัฐอนุญาตให้เอกชนเข้าพื้นที่เพื่อไปเตรียมงานก่อสร้าง น่าจะทำให้ประหยัดเวลาได้มากขึ้น

“เรามีการเตรียมตัวอยู่ตลอดเวลา และอยากจะเข้าไปทำเต็มที่แล้ว” อนวัชกล่าว “ถ้าเราย้อนไปดูที่มาของโปรเจ็กต์นี้คือ ต้องการจะเป็นสนามบินนานาชาติเชิงพาณิชย์แห่งที่ 3 ของกรุงเทพฯ และจะเป็นฮับทางการบิน เราเองที่ไปซื้อซองประมูลมาก็เพราะต้องการจะพัฒนาโครงการให้ตอบโจทย์ทั้ง 2 อย่างนี้ เอกชนอยากทำเต็มที่ และเพื่อให้เอกชนทำงานได้อย่างที่ตั้งใจไว้จริงๆ ภาครัฐก็ควรสนับสนุนตามสมควร เราไม่ได้ขออะไรที่เกินเลยเลย”

 

อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม

]]>
1468420
ส่องแผน ‘อู่ตะเภา’ นำ 5G ดันสนามบินอัจฉริยะ ดึงดูดลงทุน-ท่องเที่ยวอีอีซี https://positioningmag.com/1293970 Tue, 25 Aug 2020 10:00:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1293970

เป็นเวลากว่า 30 ปีเลยทีเดียว ที่ประเทศไทยมีแผนการพัฒนาพื้นที่ EEC (Eastern Economic Corridor) หรือพื้นที่ฝั่งตะวันออก 3 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี, ระยอง และ ฉะเชิงเทรา เพื่อดึงดูดนักลงทุนจากชาติต่าง ๆ มาลงที่ไทย เพราะ EEC เป็นหนึ่งจุดยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นแหล่งรวมของระบบนิคมอุตสาหกรรม สามารถเชื่อมต่อระหว่างประเทศไม่ว่าจะเป็น จีน อินเดีย เกาหลี และญี่ปุ่น

อย่างไรก็ตาม หนึ่งในสิ่งที่สำคัญไม่แพ้การพัฒนานิคมอุตสาหกรรมก็คือ โครงการสนามบินอู่ตะเภา ซึ่งถือเป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของเขต EEC ที่เปรียบเสมือนประตูสู่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

โดย พลเรือโท กฤชพล เรียงเล็กจำนงค์ ผู้อำนวยการการท่าอากาศยานอู่ตะเภา ได้อธิบายว่า รัฐบาลมีภารกิจในการยกระดับสนามบินอู่ตะเภาเป็น สนามบินนานาชาติเชิงพาณิชย์หลักแห่งที่ 3 ของกรุงเทพฯ เพราะไม่ใช่แค่เปรียบเสมือนประตูสู่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก แต่ยังเป็นศูนย์กลางของ มหานครการบินภาคตะวันออก อีกทั้งสามารถต่อยอดเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และ Logistics & Aviation ได้อีกด้วย แต่การจะไปถึงจุดนั้น หนึ่งองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ก็คือ ‘เทคโนโลยี’

ปัจจุบัน สนามบินอู่ตะเภา มีพื้นที่ใช้สอยกว่า 6,500 ไร่ มีอาคารพักผู้โดยสารจำนวน 2 อาคาร สามารถรองรับนักเดินทางได้ปีละ 3 ล้านคน มีสายการบินเข้าออก 17 สายการบิน ทั้งนี้ สนามบินอู่ตะเภากำลังก่อสร้างอาคารผู้โดยสาร หลังที่ 3 เมื่อแล้วเสร็จในปี 2598 จะมีขนาดพื้นที่กว่า 450,000 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้โดยสารได้มากกว่า 60 ล้านคนต่อปี โดยภายในอาคารมีแผนติดตั้งระบบอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่ทันสมัย

เบื้องต้น สนามบินอู่ตะเภาได้ประกาศความร่วมมือกับ ‘เอไอเอส’ (AIS) ตั้งแต่ปี 2561 ในการร่วมมือกันศึกษาและพัฒนาระบบแอปพลิเคชันและโซลูชันสำหรับสนามบิน และได้ขยายความร่วมมือจนถึงปี 2565 พร้อมกับนำ ‘5G’ เข้ามาใช้อย่างเต็มรูปแบบ ทั้ง Indoor และ Outdoor ซึ่งถือว่าสนามบินอู่ตะเภากลายเป็น สนามบินแรกที่ใช้ 5G อย่างเต็มรูปแบบ

สำหรับบริการที่นำไปเสริมศักยภาพสนามบินอู่ตะเภา ประกอบด้วย

1.Smart Video Analytics Solution ระบบบริหารจัดการอาคารผู้โดยสารด้วยเทคโนโลยีระบบวิเคราะห์และประมวลผลภาพวิดีโออัจฉริยะ โดยประยุกต์ใช้เป็นระบบตรวจจับและรับรู้ใบหน้าบุคคลและสิ่งของ (Face and Object Recognition) เพื่อเพิ่มระดับความปลอดภัย เช่น กรณีบุคคลหรือวัตถุต้องสงสัย หรือแจ้งเตือนกรณีมีวัตถุถูกวางทิ้งไว้เป็นเวลานานผิดปกติ

2.แอปพลิเคชัน Thailand Smart Airport สำหรับอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสาร ด้วยข้อมูลด้านการบินและสนามบินในแอปเดียว อาทิ สถานะตารางการบิน การแจ้งเตือนการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับไฟล์ทเดินทาง แผนที่บอกทางภายในสนามบิน และรายละเอียดจุดบริการต่าง ๆ ด้วยเทคโนโลยี Augmented Reality (AR)

3.เทคโนโลยี Thermal Scan ที่จะช่วยตรวจวัดอุณหภูมินักท่องเที่ยว และเชื่อมต่อสู่ระบบบริหารจัดการด้านความปลอดภัยของสนามบิน

4.หุ่นยนต์ ROBOT FOR CARE (ROC) หุ่นยนต์อัจฉริยะ ซึ่งพัฒนาโดยทีมวิจัย AIS Robotic Lab ที่ช่วยคัดกรอง ตรวจวัดอุณหภูมิ ดูแลสุขอนามัยนักท่องเที่ยวที่ใช้บริการสนามบินได้อย่างรวดเร็ว มีความแม่นยำสูง ลดการสัมผัสใกล้ชิด และป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19

5.ติดตั้งเครือข่าย 5G ที่มีความรวดเร็วและมีความเสถียรสูง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการผู้โดยสารและประชาชนภายในสนามบิน ตลอดจนรองรับโซลูชันการให้บริการใหม่ ๆ ที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน

6.บริการ Wifi 6 มาตรฐาน WiFi ยุคใหม่ที่มีความเร็วสูงกว่าปกติ 40% พร้อมรองรับการใช้งานมือถือและดีไวซ์ได้จำนวนมาก

แน่นอนว่าเทคโนโลยีที่นำมาใช้ยังเป็นแค่ ‘จุดเริ่มต้น’ โดยเอไอเอสและสนามบินอู่ตะเภาได้จัดตั้งทีมพัฒนาเทคโนโลยีที่ทำงานกันอย่างใกล้ชิด โดยกำลังศึกษาถึง Use Case ใหม่ ๆ เพื่อดูว่าสามารถนำ 5G มาปรับใช้ในภาคส่วนอื่น ๆ ของสนามบินได้อีกบ้าง ไม่ว่าจะเป็น ระบบการ Check-in อัตโนมัติ, ระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ หรือในส่วนการขนส่งสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า, ศูนย์ขนส่งภาคพื้นดินที่ให้การเดินทางในรูปแบบต่างๆ เช่น รถไฟความเร็วสูง รถบัส แท็กซี่ รวมถึงในส่วนของ ร้านค้าและภัตตาคาร โรงแรม ก็สามารถนำเทคโนโลยี 5G มาประยุกต์ใช้ได้เช่นกัน

“เราเชื่อมั่นว่านวัตกรรมต่าง ๆ ที่พัฒนาร่วมกัน จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้สนามบินอู่ตะเภาเป็นมหานครการบินแห่งภูมิภาคอาเซียน ที่จะช่วยดึงดูดนักลงทุน และความเจริญต่าง ๆ เข้ามาในพื้นที่ EEC มากยิ่งขึ้น อันจะเป็นการกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจให้กลับมาคึกคักและขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้กลับมาแข็งแกร่งได้อย่างยั่งยืน”

]]>
1293970
“เซ็นทรัล” อดเปรี้ยวเพื่อกินหวาน ส่งร้านค้าในเครือ ปูพรมสัมปทานรีเทล 10 ปี สนามบินอู่ตะเภา จับมือกองทัพเรือ บูมท่องเที่ยวโลจิสติกส์ ตะวันออก-EEC https://positioningmag.com/1238118 Mon, 08 Jul 2019 14:46:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1238118 แม้จะถอนตัวงานประมูลระดับชาติ อย่างดิวตี้ฟรีสนามบินสุวรรณภูมิและภูมิภาค แต่กลุ่มเซ็นทรัลก็ไม่ได้พลาดหวังซะทีเดียว เพราะบริษัท เซ็นทรัล ดีเอฟเอส จำกัด ได้งานโครงการร้านค้าและบริการจากกองทัพเรือ โดยการท่าอากาศยานอู่ตะเภา เพื่อให้บริการด้านรีเทล ธุรกิจที่ตระกูลจิราธิวัฒน์ถนัด ณ อาคารที่พักผู้โดยสารหลังที่ 2 สนามบินนานาชาติอู่ตะเภา ระยองพัทยา พื้นที่ 1,400.5 ตร.. อายุสัญญา 10 ปี

ยุวดี จิราธิวัฒน์ กรรมการ บริษัท เซ็นทรัล ดีเอฟเอส จำกัด กล่าวเชื่อมั่นว่า สนามบินนานาชาติอู่ตะเภาฯ จะเติบโตตามยุทธศาสตร์ประเทศไทยที่ส่งเสริมเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ถือเป็นสนามบินที่สำคัญในภูมิภาค สามารถรองรับผู้โดยสารได้ปีละ 3 ล้านคน 

โครงการนี้เป็นความร่วมมือของ 2 บิ๊กธุรกิจระดับโลกคือกลุ่มเซ็นทรัลและบริษัท ดีเอฟเอส เวนเจอร์ สิงคโปร์ จำกัด โดยชนะประมูลสัมปทานกิจการโครงการร้านค้าและบริการ (Retail and Services)

กลุ่มเซ็นทรัลมีประสบการณ์ในธุรกิจค้าปลีกกว่า 72 ปี ปัจจุบันขยายธุรกิจครอบคลุมหลายกลุ่มโดยมีจำนวนมากกว่า 3,700 สาขาในไทย และต่างประเทศอีก 17 ประเทศทั่วโลก 

ส่วนกลุ่มดีเอฟเอส เวนเจอร์ สิงคโปร์ ทำธุรกิจค้าปลีกท่องเที่ยวระดับลักชัวรี่มานานกว่า 59 ปี ทั้งยังเป็นผู้บริหารดิวตี้ฟรีและพื้นที่รีเทลในสนามบินและร้านปลอดอากรในเมืองใหญ่รายหนึ่งของโลก โดยดำเนินธุรกิจใน 13 ประเทศ รวม 4 ทวีป อาทิ ท่าอากาศยานนานาชาติชางงี ประเทศสิงคโปร์ ท่าอากาศยานนานาชาติซานฟรานซิสโก และท่าอากาศยานนานาชาติลอสแอนเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา

โดยเซ็นทรัล ดีเอฟเอส จะเป็นผู้บริหารพื้นที่ ประกอบด้วยร้านอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเครือเซ็นทรัล เช่น Auntie Anne’s, KFC, Segafredo, Mr. Cup T, Amazon, Coffee World, New York Deli, Drinks & Quick Bites และศูนย์อาหาร Eatery Gardens ร้านขายสินค้าแบรนด์ดัง อาทิ Central DFS Shop ที่มีสินค้าไทย สินค้าแฟชั่น เครื่องสำอางสินค้าสำหรับเดินทางที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์นักท่องเที่ยวร้าน Thai Favourites รวมผลิตภัณฑ์อาหารไทยและขนมไทยขึ้นชื่อ, B2S, Boots, ร้านขายของที่ระลึก รวมถึงเคาน์เตอร์แลกเปลี่ยนเงินตราและร้านจำหน่ายซิมสมาร์ทโฟน

กระบวนการมีขั้นตอนชัดเจน มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ เพราะเป็นมาตรฐานการประมูลของกองทัพเรือ เซ็นทรัลจึงมีความตั้งใจอยากเข้ามาพัฒนา ผลักดันพื้นที่เชิงพาณิชย์ในสนามบินอู่ตะเภาให้เป็นประตูสู่ภาคตะวันออก ดึงดูดนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจต่างชาติและชาวไทยให้เข้ามาสัมผัสประสบการณ์ที่แตกต่างและน่าประทับใจ” ยุวดีกล่าว

พลเรือตรี กฤษณ์ พิมมานนท์, พลเรือโท ลือชัย ศรีเอี่ยมกูล, ยุวดี จิราธิวัฒน์, นันธิยา วิทวุฒิศักดิ์

พลเรือโท ลือชัย ศรีเอี่ยมกูล ผู้อำนวยการการ ท่าอากาศยานอู่ตะเภา กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายพัฒนาสนามบินนานาชาติอู่ตะเภาฯ ให้เป็นสนามบินเชิงพาณิชย์แห่งที่ 3 ของประเทศ เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมการบินทั้งในและระหว่างประเทศ จึงทำการก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารหลังที่ 2 เพื่อเพิ่มศักยภาพในการรองรับผู้โดยสารได้มากขึ้น จึงจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสาร โดยเปิดประมูลให้สิทธินิติบุคคลไทยในการประกอบกิจการร้านค้าและบริการ (Retail and Services) 

ผลการประมูลได้ให้สิทธิ บริษัท เซ็นทรัล ดีเอฟเอส จำกัด วางแผนลงทุนและพัฒนาพื้นที่ 1,400.5 ตร.เพื่อประกอบกิจการในอาคารที่พักผู้โดยสารหลังที่ 2 

สถิติเดือนมกราคมพฤษภาคม 2562 มี 16 สายการบิน 32 เส้นทางการบินจาก 4 ประเทศ ได้แก่ จีน รัสเซีย มาเลเซีย และอังกฤษ มีผู้โดยสารรวมกว่า 1 ล้านคน ประกอบด้วยผู้โดยสารในประเทศ 45% ผู้โดยสารระหว่างประเทศ 55% (สัญชาติรัสเซีย 50%, จีน 40%, คาซัค 3% มาเลเซีย 3%) โดยนักท่องเที่ยวรัสเซียส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวที่เดินทางมากับบริษัททัวร์ สำหรับผู้เดินทางภายในประเทศเป็นผู้เดินทางท่องเที่ยวแบบอิสระ (Foreign Individual Tourism) คาดปีนี้จะมีนักท่องเที่ยวมากกว่า ล้านคน

กลุ่มเซ็นทรัลตั้งใจจะพัฒนาและช่วยเพิ่มรายได้ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ในพื้นที่ภาคตะวันออก พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนอีกด้วย เพื่อให้สนามบินนานาชาติอู่ตะเภา เป็นศูนย์กลางท่องเที่ยว และระบบโลจิสติกส์ เนื่องจากอยู่ห่างเมืองพัทยา เพียง 30 กิโลเมตร และใกล้นิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งในจังหวัดระยอง และชลบุรี 

กองทัพเรือคาดหวังจะให้อู่ตะเภาก้าวสู่การเป็นสนามบินนานาชาติที่ดีที่สุดอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย.

]]>
1238118
ค้าปลีกบุกสนามบิน! เซ็นทรัล คว้าสัมปทานร้านค้าและบริการในอู่ตะเภา https://positioningmag.com/1197739 Thu, 15 Nov 2018 13:30:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1197739 ในที่สุด กลุ่มเซ็นทรัลก็สามารถขยายธุรกิจค้าปลีกไปยัง “สนามบิน” ได้เสียที เมื่อผู้บริหารเซ็นทรัล ยุวดี จิราธิวัฒน์ ประธาน บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด แจ้งว่า เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2561 จากการที่กลุ่มเซ็นทรัลได้ทราบผลการประมูลการบริหารพื้นที่ในอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 ของสนามบินอู่ตะเภา พื้นที่ 2,000 ตารางเมตร จำนวนสัญญา 2 สัญญา คือ สัญญาโครงการร้านค้าปลอดอากร (Duty Free Shop) และสัญญาโครงการร้านค้าและบริการ (Retail and Services)

โดยผลอย่างไม่เป็นทางการปรากฏว่า เซ็นทรัล ดีเอฟเอส คอนซอร์เตี้ยม (กิจการร่วมทำงานระหว่างบริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด และ ดีเอฟเอสเวนเจอร์ สิงคโปร์) เป็นผู้ได้รับเลือกสำหรับสัมปทานในส่วนของ โครงการร้านค้าและบริการ (Retail and Services) บนพื้นที่ประมาณ 1,400 ตารางเมตร

คณะกรรมการท่าอากาศยานอู่ตะเภากองทัพเรือ ได้เปิดการประมูลอย่างเป็นขั้นตอน โดยมี 3 หลักเกณฑ์ในการพิจารณา ได้แก่ ด้านคุณสมบัติ, ด้านเทคนิค และ ด้านผลประโยชน์ตอบแทน โดยพิจารณาเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่การให้คะแนนด้านคุณสมบัติและเทคนิคก่อน หากผู้ประมูลผ่านเกณฑ์คะแนนที่กำหนด ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนที่ 2 ในการเปิดซองผลประโยชน์ตอบแทน ผู้ชนะคือผู้ที่ให้ผลประโยชน์ตอบแทนแก่ภาครัฐสูงที่สุด

ตามสัญญา ผู้ชนะการประมูลสำหรับโครงการร้านค้าและบริการ (Retail and Services) จะเป็นผู้รับผิดชอบสร้าง Pick-Up Counter ด้วย ซึ่งทางคอนซอร์เตี้ยมยินดีช่วยออกแบบและก่อสร้างให้ได้มาตรฐาน โดยทาง กองทัพเรือจะรับผิดชอบบริหาร และให้ทุกบริษัทมีสิทธิ์ใช้อย่างเท่าเทียมกัน

ยุวดี จิราธิวัฒน์ ประธาน บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด

กลุ่มเซ็นทรัล เชื่อมั่นว่า ในการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งร่วมกับภาครัฐและเอกชนในการผลักดันและส่งเสริมพื้นที่สนามบินอู่ตะเภาในครั้งนี้ จะเป็นการเพิ่มศักยภาพให้ท่าอากาศยานอู่ตะเภาเป็นศูนย์กลางของระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก พร้อมทั้งเป็นท่าอากาศยานเชิงพาณิชย์ และเป็นนิคมอุตสาหกรรมการบิน รวมถึงขยายและรองรับการเติบโตของการขนส่งทุกรูปแบบ

จะว่าไปแล้ว ค้าปลีกในสนามบิน ถือเป็นเป้าหมายของบรรดาเจ้าของศูนย์การค้าที่ต้องการไปเปิดสาขาเพราะผู้ใช้บริการล้วนแต่มีกำลังซื้อ

ก่อนหน้านี้ ในปี 2555 ค่ายเดอะมอลล์ ก็คว้าสัมปทานโครงการบริหารจัดการกิจกรรมเชิงพาณิชย์ประเภทสินค้าและบริการ และประเภทอาหารและเครื่องดื่ม ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. (AOT) โดยบริษัท เดอะมอลล์ฯ เสนอผลตอบแทนเดือนละ 16.7 ล้านบาท หรือปีละประมาณ 200 ล้านบาท.

]]>
1197739