สินค้าบิวตี้ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 16 Mar 2023 08:16:42 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 จับ 5 เทรนด์สำคัญวงการ “บิวตี้-เครื่องสำอาง” 2566 จากพลัง “ดาต้า” ของร้าน “วัตสัน” https://positioningmag.com/1423484 Thu, 16 Mar 2023 08:02:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1423484 ปี 2566 เป็นปีที่ทุกวงการธุรกิจจะกลับมาฟื้นเต็มรูปแบบ รวมถึงธุรกิจ “บิวตี้-เครื่องสำอาง” จากขุมพลัง “ดาต้า” ของร้าน “วัตสัน” ร้านจำหน่ายเครื่องสำอางมัลติแบรนด์ที่มีสาขามากที่สุดในไทย พบเทรนด์สำคัญๆ ในช่วงหลังโควิด-19 ที่ต้องจับตา

“นวลพรรณ ชัยนาม” ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ วัตสัน ประเทศไทย เปิดข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคตลาด “บิวตี้-เครื่องสำอาง” ในช่วงหลังผ่านพ้นโควิด-19 ที่น่าสนใจ จากการเก็บ “ดาต้า” ของวัตสัน (Watsons) ที่มีร้านสาขาอยู่มากกว่า 650 สาขาทั่วประเทศ และมีฐานลูกค้าสมาชิกประมาณ 7 ล้านคน โดยความเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคมีดังนี้

 

1.ลูกค้าช้อปออนไลน์ไม่ลดลงแม้โรคระบาดคลี่คลาย

ในช่วงโควิด-19 วัตสันมีการออกกลยุทธ์ O+O หมายถึง Offline+Online เพื่อดึงให้ลูกค้าเลือกหาสินค้าและช้อปปิ้งได้ทั้งสองช่องทาง ส่งเสริมกันและกัน

“เราคิดว่าหมดโควิด-19 แล้วลูกค้าที่ซื้อออนไลน์คงจะลดลง แต่ปรากฏว่าไม่ลดลงเลย และลูกค้าเข้าหน้าร้านก็กลับมามากขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นเพราะการช้อปออนไลน์กลายเป็น norm ของสังคมไปแล้ว” นวลพรรณกล่าว

อีกส่วนหนึ่งที่ลูกค้าออนไลน์ไม่ลดลง วัตสันศึกษาพบว่าเป็นเพราะยุคก่อนการช้อปออนไลน์เป็นเรื่องของคนรุ่นใหม่ แต่สมัยนี้ทุกวัยมีความรู้ในการซื้อของออนไลน์และเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งหมด

ออนไลน์ยังสำคัญกับการขายผลิตภัณฑ์บิวตี้
2.Search ก่อนช้อป และรู้ลึกรู้จริง

80-90% ของลูกค้าวัตสันยุคนี้มีการค้นหาข้อมูลสินค้าก่อนซื้อ และการค้นหาก็ไม่ใช่เพียงผิวเผิน แต่ต้องการทราบรายละเอียดเชิงลึก

“ลูกค้าต้องการรู้ลึกว่าผลิตภัณฑ์ใส่ส่วนประกอบอะไรบ้าง ส่วนประกอบนั้นมาจากไหน เพราะเดี๋ยวนี้ลูกค้ามีความรู้หมดว่าส่วนประกอบนั้นๆ คืออะไร ใช้ทำอะไร จนกระทั่งรู้ว่าส่วนประกอบชนิดนี้ต้องมาจากแหล่งไหนถึงจะดีที่สุด” นวลพรรณกล่าว

เป็นการบ้านกลับมาที่วัตสันจะต้องฝึกฝนพนักงานร้านให้รู้ลึกรู้จริงเช่นกัน หากลูกค้าสอบถามเข้ามาจะต้องตอบได้ เพื่อคงความเป็นร้านผู้เชี่ยวชาญในผลิตภัณฑ์บิวตี้

 

3.“For Men” สินค้าม้ามืดแห่งยุค

ผลิตภัณฑ์ที่มาแรงมากๆ ในยุคนี้คือ ผลิตภัณฑ์บิวตี้สำหรับผู้ชาย (For Men)

“ผู้ชายที่หันมาใช้ผลิตภัณฑ์บิวตี้จะเริ่มจากพื้นฐานก่อน เช่น โฟมล้างหน้า สกินแคร์บำรุงผิว จนคนที่มั่นใจมากขึ้นก็จะหันมาลงแป้ง คุชชั่น รองพื้น เขียนคิ้ว อายไลเนอร์ เพราะผู้ชายก็ต้องการจะดูดีเหมือนกัน โดยเฉพาะถ้ามีงานสังคมสำคัญๆ” นวลพรรณกล่าว

อย่างไรก็ตาม ผู้ชายหลายคนอาจจะยังใช้ของผู้หญิงทดแทนไปก่อนเพราะผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ชายมีให้เลือกไม่มาก กลุ่มสินค้า For Men ที่วัตสันมีจำหน่ายจะเป็นยี่ห้อ เช่น ศรีจันทร์, in2it, Dermaction Plus by Watsons ซึ่งเป็นกลุ่มที่ออกไลน์สินค้าสำหรับผู้ชาย

ในอนาคตหากมีแบรนด์ที่ออกผลิตภัณฑ์ For Men หลากหลายขึ้น เป็นไปได้ที่วัตสันจะเริ่มจัดโซนบิวตี้สำหรับผู้ชายโดยเฉพาะ เพื่อให้ตอบโจทย์พฤติกรรมผู้ชายที่คิดเร็ว ซื้อเร็ว มีเป้าหมายในการหยิบ ไม่นิยมเดินดูของในร้านเหมือนผู้หญิง

วัตสัน
ไลน์ผลิตภัณฑ์ For Men ของแบรนด์ Dermaction Plus by Watsons
4.การกลับมาของ “Make up”

ช่วงที่เกิดโรคระบาด ไลน์ผลิตภัณฑ์ Make up หรือเครื่องสำอางตกแต่งใบหน้านั้นทำยอดขายได้ลดลง เพราะคนไทยอยู่บ้านมากขึ้น หากออกไปนอกบ้านก็ต้องใส่หน้ากากอนามัย จึงไม่น่าแปลกใจที่สินค้า เช่น ลิปสติก รองพื้น จะขายได้ไม่ดีนัก

แต่เรื่องราวเหล่านั้นเป็นอดีตไปแล้ว นวลพรรณกล่าวว่า ตั้งแต่ไตรมาส 4 ปีก่อน จนถึงไตรมาส 1 ปีนี้ ยอดขายกลุ่ม Make up กลับมาโตแบบดับเบิลดิจิต โดยเฉพาะลิปสติกที่ขายดีสุดๆ สอดคล้องกับห้วงเวลาที่คนไทยเริ่มกล้าที่จะถอดหน้ากากอนามัย

บิวตี้ เครื่องสำอาง
Make up กลับมาขายดี โดยเฉพาะ “ลิปสติก”
5.ตลาดแมสยิ่งประหยัด ตลาดไฮเอนด์แพงไม่ว่าแต่ขอสิ่งที่ดีที่สุด

สุดท้ายคือพฤติกรรมที่มีผลมาจากภาวะเศรษฐกิจ วัตสันพบว่าพฤติกรรมผู้บริโภคแบ่งความเปลี่ยนแปลงได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

ตลาดแมส เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ ทำให้การซื้อสินค้าจะเริ่มลดความถี่ลง เพราะลูกค้าพยายามใช้ผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นให้ได้นานขึ้น ใช้อย่างประหยัด

แต่ในทางกลับกัน ตลาดกลางบนจนถึงไฮเอนด์ แม้ซื้อสินค้าน้อยชิ้นลงแต่จะจ่ายในราคาแพงขึ้นต่อชิ้น หากเล็งเห็นว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆ เป็นของคุณภาพดี เพราะมองว่าคุ้มค่ากว่า

 

พร้อมแชร์ “ดาต้า” จับมือกับพาร์ทเนอร์ดันให้สินค้าขายดี

ดาต้าเหล่านี้วัตสันไม่ได้เก็บไว้คนเดียว แต่เป็นข้อมูลที่แชร์กับพาร์ทเนอร์ผู้ผลิตสินค้าที่ลงจำหน่ายในร้าน เพื่อช่วยกันผลักดันให้สินค้าขายดีขึ้น หรือชี้เทรนด์การออกสินค้าใหม่ต่างๆ เช่น กระแส Make up ที่กลับมา วัตสันจะส่งสัญญาณไปที่เจ้าของแบรนด์ว่าลูกค้ากำลังหาสินค้ากลุ่มนี้มากขึ้น ควรออกสินค้าใหม่ และทำคอนเทนต์การตลาด

วัตสันยังมีการฉลองความสำเร็จให้กับพาร์ทเนอร์ผ่านรางวัล Health Wellness and Beauty Awards (HWB) ด้วย โดยเป็นรางวัลที่มอบให้กับสินค้า 100 ชิ้นจาก 100 หมวดหมู่ที่ขายดีที่สุดในแต่ละปี เพื่อเป็นกำลังใจในการทำงานร่วมกันต่อไป

Eucerin Spotless Brightening Booster Serum 30 ml

โดยรางวัล HWB จะมีรางวัลใหญ่ที่สุดคือ รางวัล Best of the Best สินค้าที่ทำยอดขายสูงสุดกับวัตสัน และปี 2023 รางวัลนี้ตกเป็นของ Eucerin Spotless Brightening Booster Serum 30 ml จาก บริษัท ไบเออร์สด็อฟ (ประเทศไทย)

นวลพรรณกล่าวว่า รางวัล HWB นั้นมีจัดขึ้นมาร่วม 20 ปีแล้ว และมีจัดแยกในทุกๆ ตลาดจำนวน 15 ตลาดที่วัตสันเข้าไปลงทุน สินค้าที่ขายดีที่สุดก็มักจะเป็นภาพสะท้อนตลาดนั้นๆ ด้วย อย่างในประเทศไทยนั้นสินค้าที่เป็น Best of the Best ก็มักจะตกอยู่ในกลุ่มสกินแคร์เกือบทุกปี

“นวลพรรณ ชัยนาม” ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ วัตสัน ประเทศไทย

การทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์นั้นจะสร้างความสัมพันธ์ที่วิน-วิน คือเมื่อพาร์ทเนอร์นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ดี มีคุณภาพ เข้ามาขายในร้าน วัตสันจะใช้ดาต้าจากระบบ CRM ช่วยให้พาร์ทเนอร์หาผู้บริโภคที่เหมาะสมกับลักษณะสินค้า และมีการทำโปรโมชันได้เหมาะสมกับรอบการซื้อ

“ยกตัวอย่างเช่น ลูกค้าประจำรายหนึ่งจะกลับมาที่ร้านทุกๆ 65 วันเพื่อซื้อสกินแคร์ เพราะเป็นรอบเวลาการใช้ผลิตภัณฑ์หนึ่งชิ้นจนหมดของเขา เมื่อใกล้ครบรอบเวลาวัตสันจะส่งโปรฯ พิเศษให้เพื่อดึงให้ลูกค้าเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เดิมและซื้อกับวัตสัน” นวลพรรณอธิบาย

จากสินค้า 5,000 SKUs ในร้าน มีเพียง 100 SKUs เท่านั้นที่จะได้รับรางวัลแต่ละปี สินค้าที่ได้รางวัล HWB จึงการันตีได้ว่าเป็นสินค้าที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยอมรับ โดยร้านยังร่วมกับพาร์ทเนอร์จัดโปรโมชันลดราคาสำหรับสินค้าที่ได้รางวัล HWB ด้วยที่ร้านวัตสัน ระหว่างวันที่ 9-29 มีนาคม 2566 แวะไปเช็กได้ว่ามีสินค้าไหนที่ได้รางวัลนี้บ้างที่นี่

]]>
1423484
2 ยักษ์ค้าปลีก เซ็นทรัล-สยามพิวรรธน์ ชักธงรบสู้ศึก ร้านมัลติแบรนด์ ชิงเค้กความงาม 6 หมื่นล้าน https://positioningmag.com/1185447 Wed, 29 Aug 2018 23:00:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1185447 ตลาดร้านความงามจึงดุเดือดขึ้นมาทันที เมื่อสองค่ายยักษ์ใหญ่ค้าปลีกเปิดเกมรุกเช่นนี้

ผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม  ถือเป็นไม่กี่ธุรกิจที่แทบจะไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ เพราะผู้หญิงไม่ว่าอย่างไรก็ต้องดูดีตลอดเวลา 

ที่สำคัญการใช้ผลิตภัณฑ์ความงามยังซับซ้อนมากขึ้นแม้จะยังไม่ถึงกับสาวๆในประเทศเกาหลีหรือญี่ปุ่นแต่ก็เพิ่มชนิดการใช้เฉพาะแค่ล้างหน้าต่ำๆก็ต้อง 3 ขั้นตอน ยังไม่รวมบำรุงผิว แต่งหน้า

ทำให้สินค้าบิวตี้จึงกลายเป็นตลาดที่หมายตาของบรรดาเจ้าของธุรกิจขายสินค้าความงามประเภทร้านสเปเชียลตี้สโตร์ประเภทมัลติแบรนด์เข้ามาในตลาดนี้เพิ่มขึ้นทั้งอีฟแอนด์บอยเข้าสู่ตลาดมา 10 กว่าปี มีแฟนประจำเป็นสาววัยรุ่นจำนวนมาก, บิวเทรี่ยม ที่กำลังทุ่มงบขยายสาขาทั้งกรุงเทพฯ และหัวเมือง เพื่อรับมือกับการแข่งขัน, เฮ้ สตรีท บิวตี้ ของบริษัท ซีโฟร์ โกลบอล  ล่าสุด หนึ่งสุริยน ศรีอรทัยกุล เจ้าของธุรกิจเพชรชื่อดัง ยังต้องกระโดดลงมาร่วมวงเปิดร้าน บิวตี้24 ย่านสยามสแควร์

ทำให้ห้างสรรพสินค้าหรือแม้แต่ซูเปอร์มาร์เก็ตต้องปรับตัวครั้งใหญ่เพราะประเมินแล้วว่าธุรกิจบิวตี้ไปได้สวยแต่หากปล่อยไว้มีสิทธิ์โดนชิงส่วนแบ่งตลาดไปได้ง่ายๆ

ภัทรพร เพ็ญประพัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายการตลาดและประชาสัมพันธ์ บจ.เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล บอกว่า พฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ทุกเพศทุกวัยให้ความสำคัญต่อการดูแลด้านสุขภาพและความงาม โดยกลุ่มลูกค้าเจเนอเรชันวายมีความถี่ในการซื้อสินค้าเพื่อความงามเพิ่มขึ้น ในขณะที่กลุ่มลูกค้าวัยทำงานซึ่งมีอายุ 35 ปีขึ้นไป ให้ความสำคัญต่อการซื้อสินค้าในกลุ่มดูแลสุขภาพ ส่งผลให้ในปี 2560 ตลาดผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม มีมูลค่ารวมสูงถึง 5.7 หมื่นล้านบาท เติบโต 3.8% (ข้อมูลจากวิจัยชุดตลาดเครื่องสำอางและความงามไทย)

ล่าสุดบริษัทเซ็นทรัลฟู้ดรีเทลจำกัดในเครือเซ็นทรัลจึงทำการปรับโฉมครั้งใหญ่กับโซนสินค้าสุขภาพและความงามใหม่หมดโดยใช้ชื่อว่าลุคส์ (LOOKS)” ซึ่งเป็นชื่อเดียวกับช้อปออนไลน์ความงามของกลุ่มเซ็นทรัล ประเดิมเปิดสาขาแรกที่ ท็อปส์ มาร์เก็ต ชั้นจี เซ็นทรัลพลาซา พระราม 3 เมื่อต้นเดือนนี้

ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้เมื่อปี 2558 ทางท็อปส์ก็รับไลเซนส์บริหารร้านมัทสึโมโตะ คิโยชิ (Matsumoto Kiyoshi ) ร้านความงามและสุขภาพอันดับ 1 ของญี่ปุ่นมาแล้วประเดิมสาขาแรกที่เซ็นทรัลพลาซาลาดพร้าวปัจจุบันมีสาขากระจายไปทั่วในเครือข่ายเซ็นทรัล

ในขณะที่ลุคส์ (LOOKS)” เป็นแฟลกชิปบิวตี้สโตร์ ประเภทมัลติแบรนด์ จำหน่ายสินค้าความงาม, Personal Care จากแบรนด์ทั่วโลกนับหมื่นรายการและกลุ่มสินค้าดูแลผมจากแฮร์ซาลอนชั้นนำหวังขยายกลุ่มลูกค้าสู่เจนวายให้เข้าถึงสินค้าได้ง่ายขึ้น

ตามแผนจะเปิด 10 สาขาภายในสิ้นปีนี้ และคาดว่าจะสามารถเพิ่มยอดขายในกลุ่มสินค้าสุขภาพและความงามได้ 15-20%

หากมองการขยายสาขาของลุคส์แล้วไม่น่าจะยากในเรื่องการหาทำเลสถานที่เพราะอยู่ในเครือข่ายของกลุ่มเซ็นทรัลซึ่งมีพื้นที่มากมายรองรับอยู่แล้ว

แต่ ลุคส์ ต้องสร้างมีทั้งความหลากหลาย แบ่งเป็น 7 โซน ตามประเภทสินค้า และสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง เพิ่มกลุ่มสินค้าที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ผู้บริโภครุ่นใหม่ อาทิ ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก หรือกลุ่มสินค้าที่มีความพรีเมียมมากขึ้น เช่น กลุ่มสินค้าเกี่ยวกับดูแลเส้นผมที่จากแฮร์ซาลอนชั้นนำ หรือผลิตภัณฑ์บิวตี้ที่นำเข้ามาจากเอเชียและยุโรป 

ลุคส์จึงกลายเป็นอีกอาวุธใหม่ของเครือเซ็นทรัลภายใต้การคุมเกมของท็อปส์ ที่จะต่อกรกับคู่แข่งในตลาดรวม

สยามพิวรรธน์ ควงไอสไตล์รุกตลาดความงาม

ไม่ต่างจาก บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ที่มองเห็นโอกาสจากธุรกิจความงามที่ยังมีโอกาสได้อีก โดยเฉพาะร้านมัลติแบรนด์ ซึ่งเป็นที่นิยมของคนรุ่นใหม่มากกว่าเคาน์เตอร์แบรนด์ตามศูนย์การค้า

สยามพิวรรธน์ จึงไปจับมือกับบริษัท istyle Inc. (ไอสไตล์ อิงก์) จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โตเกียวของประเทศญี่ปุ่น เข้ามาร่วมทุนกันจัดตั้ง บริษัท ไอสไตล์ รีเทล (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อรุกตลาดรีเทลและออนไลน์ร้านบิวตี้โดยเฉพาะ ในชื่อว่า @COSME หรือแอดคอสเม่

โดยไอสไตล์ถือหุ้น 70% และกลุ่มบริษัทสยามพิวรรธน์ถือหุ้น 30% จากทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท

อุสรา ยงปิยะกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สยามพิวรรธน์ รีเทล โฮลดิ้ง กล่าวว่ากิจการร่วมทุนครั้งนี้จะสร้างโอกาสใหม่ๆให้กับสยามพิวรรธน์ในการเติบโตจากการแตกไลน์ธุรกิจซึ่งหนึ่งในนั้นคือธุรกิจรีเทลและออนไลน์ความงามที่ตลาดในไทยยังคงมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก

ในประเทศญี่ปุ่น @COSME กระแสเขย่าวงการดูแลความงามมาตั้งแต่ก่อตั้ง โดยในจำนวนผู้หญิงญี่ปุ่นที่มีอายุ 20 – 30 ปี ในทุกๆ 3 คน จะมี  2 คน ที่ใช้บริการเว็บไซต์นี้ในการหาคำแนะนำด้านความงาม ซึ่ง ‘@cosme store’ ได้ใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของเว็บไซต์ @cosme สร้างเป็นจุดขายที่เป็นเอกลักษณ์

“@COSME” ชูไทยตลาดหลักในเซาท์อีสเอเชีย

ฮาจิเมะ เอนโดะ รองประธานอาวุโส กิจการบริการด้านความงามของไอสไตล์ อิงก์ กล่าวว่าการขยายธุรกิจเข้ามาในประเทศไทยครั้งนี้ ผ่านความร่วมมือกับสยามพิวรรธน์ ที่ถือเป็นค้าปลีกที่ได้การยอมรับสูง เป็นผู้ปฏิวัติแนวคิดค้าปลีกรูปแบบใหม่ๆ อยู่เสมอ โดยไทยเป็นประเทศที่ 5ในเอเชียที่ไอสไตล์ อิงก์เข้ามาดำเนินธุรกิจ

โดยเมื่อปีที่แล้ว (2560) เริ่มขยายธุรกิจออกไปยังประเทศอื่นๆ เปิดสาขาแรกในต่างประเทศ ที่เมืองไทเป ประเทศไต้หวัน เดือนพฤษภาคม 2560 และได้เปิดร้าน ‘@cosme store’ เพิ่มอีก 4 สาขา ในช่วง 15 เดือนที่ผ่านมา ในไต้หวัน และฮ่องกง และเกาหลีใต้

แบรนด์ @COSME หรือ แอดคอสเม่ มีเป้าหมาย 3 ปีจากนี้ ต้องเปิดสาขาแบบออฟไลน์ให้ได้ถึง 5 สาขาในไทย ซึ่งนำร่องสาขาแรกที่ไอคอนสยาม พื้นที่ 300 ตารางเมตร  เปิดเดือนพฤศจิกายนนี้ และตามด้วยสยามเซ็นเตอร์ รวมทั้งการบุกช่องทางออนไลน์และเว็บไซต์ด้วย ขายผ่านอีคอมเมิร์ซ มีเดียมาร์เก็ตติ้ง และการเปิดแอปพลิเคชัน ตามโมเดลที่เกิดในญี่ปุ่น แต่จะทยอยรุกตลาดในหลายโมเดล

การรุกตลาดเข้ามาประเทศไทย ถือเป็นตลาดที่ไอสไตล์ให้ความสำคัญและความสนใจอย่างมากซึ่งดูได้จากการที่ไอสไตล์ถือหุ้นมากกว่าสยามพิวรรธน์ และยังเป็นผู้บริหารธุรกิจเองด้วย

ฮาจิเมะ กล่าว

สำหรับจุดเด่นและความแตกต่างของ @COSME เมื่อเทียบกับเชนอื่น คือ มีการจัดอันดับสินค้ายอดนิยมและยอดขายที่สูงที่สุดเพื่อให้ลูกค้าได้รับรู้ จากการมีข้อมูลที่มากมายจากกลุ่มลูกค้าที่มาใช้บริการ ซึ่งจะเป็นการบอกถึงเทรนด์และกระแสในช่วงนั้นอย่างดีว่า สินค้าอะไร แบรนด์อะไร เป็นที่ต้องการของตลาดและกำลังฮิต  ซึ่งบริการจัดอันดับแบบนี้ไม่มีในเชนร้านเครื่องสำอางแบรนด์อื่นในตลาด

จากข้อมูลระบุว่า เว็บไซต์ @cosme มีการรีวิวจากผู้บริโภคแล้วมากกว่า 14 ล้านรีวิว ครอบคลุมเครื่องสำอางมากกว่า 300,000 รายการ จากกว่า 32,000 แบรนด์ เป็นแหล่งข้อมูลที่มีความหลากหลายและเชื่อถือได้สำหรับผู้บริโภคทุกคน และได้นำข้อมูลเหล่านั้นมาจากผู้บริโภคมาต่อยอดสร้างเป็นพื้นที่ขายสินค้า

สำหรับ ‘@cosme store’ คือร้านจำหน่ายเครื่องสำอางยอดนิยมหลากหลายแบรนด์ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งสร้างนิยามใหม่แห่งประสบการณ์การชอปปิ้งเครื่องสำอางที่เหนือกว่า ด้วยบริการจัดอันดับเครื่องสำอางจากฐานข้อมูลที่ใหญ่มากของเว็บไซต์ @cosme นอกจากนั้น ผลิตภัณฑ์เกือบทั้งหมดในร้าน ‘@cosme store’ จะมีสินค้าตัวอย่างเตรียมพร้อมเอาไว้ให้ลูกค้าได้ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ที่ตัวเองสนใจและชื่นชอบ พร้อมคำแนะนำจากที่ปรึกษาความงามมืออาชีพ เพื่อหาเครื่องสำอางที่เหมาะกับตัวเองมากที่สุด ซึ่งนี่คือกระบวนการที่ @cosme เรียกว่า Discover, Experience, Your @cosme”

ทั้งนี้ istyle Inc. มีธุรกิจเว็บไซต์ @cosme สื่อออนไลน์ที่ให้บริการรีวิวและจัดอันดับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใหญ่ที่สุดของประเทศญี่ปุ่น และเป็นเจ้าของเครือข่ายร้านสเปเชียลตี้สโตร์เครื่องสำอางที่ชื่อว่า ‘@cosme store’ ซึ่งมีร้าน ‘@cosme store’ ทั้งหมด 25 สาขาในประเทศญี่ปุ่น

ฮาจิเมะ มองว่า ตลาดความงามในไทย เป็นตลาดที่มีการเติบโตดีและน่าสนใจ ถือเป็นตลาดที่ใหญ่ทีสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งตลาดในไทยขณะนี้เปรียบเหมือนกับตลาดในญี่ปุ่นเมื่อประมาณ 11 ปีที่ผ่านมา ที่จะเติบโตได้อีกมาก จากกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่มีไลฟ์สไตล์ชีวิตที่เปลี่ยนไป ชอบลองสินค้าใหม่ๆ ชอบซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น และค้นหาข้อมูลมากขึ้นก่อนการซื้อสินค้า.

]]>
1185447