สื่อออนไลน์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 20 Jun 2023 09:00:29 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 สื่อบน Facebook กำลังจะตาย? หลังผลสำรวจพบการปรับ ‘อัลกอริทึม’ ทำยอดเข้าชมลด 50% https://positioningmag.com/1434684 Tue, 20 Jun 2023 01:41:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1434684 อย่างที่หลายคนรู้ว่า Facebook แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่มีผู้ใช้กว่า 2.93 พันล้านคนต่อเดือน แทบจะมีการเปลี่ยนแปลง อัลกอริทึม ในการแสดงผลแทบจะตลอดเวลา และในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ผู้ให้บริการด้าน สื่อ กลายเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการปรับอัลกอริทึมใหม่นี้

จากการเผยแพร่ข้อมูลของ Echobox ซึ่งเป็นบริษัทด้านการบริหารจัดการโซเชียลมีเดีย ได้เปิดเผยว่า จากการรวบรวมข้อมูลจากบริษัทด้านสื่อกว่า 2,000 รายทั่วโลก ที่เป็นลูกค้าของ Echobox พบว่า ยอดการเข้าชมที่มาจากแพลตฟอร์ม Facebook ลดลงประมาณ 50% เป็นเวลาประมาณ 1 ปีมาแล้ว และการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนในอัลกอริทึมในเดือนพฤษภาคมทำให้ การเข้าชมเว็บไซต์ข่าวและสื่อลดลงไปอีก

พนักงานคนหนึ่งในเว็บไซต์ข่าวกีฬาและวัฒนธรรมซึ่งมีผู้ติดตาม Facebook หลายล้านคน เปิดเผยว่า ได้สังเกตเห็นการลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงกลางถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ตอนแรกเราคิดว่ามันเป็นเพราะคอนเทนต์ของบริษัทที่อาจไม่ดึงดูด แต่เมื่อเวลาผ่านไปกลับพบว่า สื่ออื่น ๆ ก็เจอปัญหาเดียวกับเรา

“การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเริ่มต้นในเดือนกุมภาพันธ์และแย่ลงในเดือนมีนาคม จากนั้นแนวโน้มก็ยิ่งลดลงอีก สำหรับเราแล้ว Facebook ถือเป็นแพลตฟอร์มที่สำคัญสำหรับเรา เนื่องจากผู้ชมของเราอยู่บน Facebook ซึ่งคิดเป็นประมาณ 25% ของการเข้าชมของเรา และคุณไม่มีทางรู้ว่าอะไรจะเปลี่ยนไป มันทำให้ยากต่อการวางแผนสำหรับอนาคต” Robert Chappell บรรณาธิการบริหารของ Madison 365 ซึ่งเป็นห้องข่าวที่ไม่แสวงหาผลกำไรกล่าว

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวกำลังทำให้ ธุรกิจสื่อดิจิทัลที่ตั้งหลักอยู่บน Facebook กำลังเผชิญความเปราะบางมากขึ้น เพราะหลายบริษัทแทบไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องพึ่งพาช่องทางที่ใหญ่ที่สุดของโซเชียลมีเดีย และเมื่อผู้คนไม่สามารถเข้าถึงโพสต์ของเพจสำนักข่าวเหล่านั้นได้ ซึ่งนั่นก็กลายเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจของบริษัทต้องปิดตัวลง เช่น การยื่นฟ้องล้มละลายที่ Vice Media และการปิดตัวของ BuzzFeed News

“ต้องยอมรับก่อนว่า Facebook ไม่ได้ปิดว่าแพลตฟอร์มจะเน้นที่วิดีโอมากขึ้น ทำให้ไปลดความสำคัญของคอนเทนต์ที่เป็นข้อความและรูปภาพ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการเข้าถึงของคอนเทนต์วิดีโอก็ลดลงเช่นกัน ดังนั้น มันแสดงให้เห็นว่าอัลกอริทึมกำลังมีปัญหา” Antoine Amann CEO Echobox กล่าว

สุดท้าย การที่สื่อจะอยู่ได้อย่างยั่งยืนคงจะต้องลดการพึ่งพาแต่ Facebook หรือสร้างแพลตฟอร์มที่จะสนับสนุนสื่อด้วยกัน ในกรณีที่อัลกอริทึมของ Facebook เลวร้ายลงไปอีก แต่ก็ต้องยอมรับว่า การจะให้เลิกพึ่งพาโซเชียลมีเดียที่มีผู้ใช้เกือบ 3 พันล้านคนคงไม่ใช่เรื่องง่าย ลงได้แต่หวังว่า Facebook จะมีการปรับอัลกอริทึมใหม่ที่สมดุลมากขึ้นในอนาคต

Source

]]>
1434684
รวมกันเราอยู่ ! BuzzFeed ซื้อ HuffPost เสริมพลังสื่อออนไลน์ เเย่งรายได้โฆษณา Google-Facebook https://positioningmag.com/1307043 Fri, 20 Nov 2020 20:40:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1307043 สื่อออนไลน์ชื่อดัง BuzzFeed เข้าซื้อกิจการ HuffPost สื่อดิจิทัลในเครือ Verizon ผนึกกำลังข่าวโซเซียล ขยายฐานลูกค้า เพื่อดึงรายได้โฆษณาเพิ่มขึ้น โดยถือเป็นการควบรวมสื่อออนไลน์ครั้งใหญ่ ที่สะท้อนให้เห็นทางรอดใหม่ในวงการที่มีการเเข่งขันสูง

ข้อตกลงดังกล่าว จะทำให้ BuzzFeed เข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน HuffPost (ชื่อเดิม The Huffington Post) ขณะที่ Verizon Media นั้นจะเป็นผู้ถือหุ้นส่วนน้อยของทั้งสองบริษัท อย่างไรก็ตาม ยังไม่ได้มีการระบุราคาหรือส่วนแบ่งการถือหุ้น ณ ขณะนี้

การรวมตัวกันของยักษ์ใหญ่สื่อดิจิทัลอย่าง BuzzFeed เเละ Huffpost นับเป็นดีลที่เจรจากันกับคนที่คุ้นเคย เพราะ Jonah Peretti ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง BuzzFeed นั้นเคยเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Huffpost ขึ้นมาในปี 2005 ก่อนจะขายกิจการให้ Verizon ในปี 2015 ผ่านดีลซื้อกิจการ AOL มูลค่ากว่า 4.4 พันล้านเหรียญ เเละต่อจากนี้ Peretti จะกลับมาเป็นผู้นำของทั้งสองบริษัทที่เขาร่วมก่อตั้งมาอีกครั้ง

โดยเเนวทางหลักๆ ทั้ง BuzzFeed เเละ Huffpost จะร่วมกันเเชร์ข้อมูลเเละเนื้อหา ซึ่งจะยังคงยึดมั่นในวิสัยทัศน์ รูปเเบบเเละคงสไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์ รวมถึงทีมงานเดิม ขณะเดียวกันก็จะได้พลังเสริมจาก Verizon Media ที่มีสื่อดิจิทัลต่างๆ ในมืออย่าง Techcrunch, Engadget เเละ Yahoo!

การที่ฐานผู้อ่านทั้งสองแพลตฟอร์มต่างกันมาก จึงเป็นการรวมตัวกันเพื่อขยายฐานลูกค้ามุ่งหารายได้จากค่าโฆษณาที่สูงขึ้น เเต่ก็ยังต้องเเข่งขันอย่างดุเดือดกับสื่อออนไลน์ที่ผุดขึ้นมามากมาย ทำให้รายได้ของธุรกิจสื่อลดลง รวมถึงต้องสู้กับเจ้าเทคโนโลยีรายใหญ่ที่โกยรายได้มหาศาลจากโฆษณาอย่าง Google เเละ Facebook ด้วย

ก่อนหน้านี้ Verizon Media เริ่มปรับพอร์ตสื่อในเครือใหม่ โดยพยายามจะขาย Yahoo Finance แต่ไม่สำเร็จ จากนั้นได้ขายแพลตฟอร์ม Tumblr ไปเมื่อปีที่เเล้ว

สำหรับ The Huffington Post เป็นเว็บไซต์ข่าวออนไลน์รายใหญ่ของสหรัฐฯ รีแบรนด์ตัวเองใหม่เป็น HuffPost เมื่อปี 2017 หลังใช้ชื่อเดิมมานาน 12 ปี

ช่วงที่ผ่านมา HuffPost ต้องเผชิญกับปัญหาทางการเงิน จากรายได้โฆษณาที่ลดลง จนถึงใช้มาตรการลดต้นทุนหลายอย่าง เช่น ปลดพนักงาน และพยายามปรับเปลี่ยนโมเดลธุรกิจมาขายสมาชิกรายเดือน แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าไหร่นัก

ความเคลื่อนไหวของสื่อดิจิทัลที่ควบรวมกัน กำลังเป็นเทรนด์ใหม่ในวงการนี้ เพื่อให้มีเครือข่ายที่ครอบคลุม มีฐานผู้อ่านเพิ่มเเละหลากหลายขึ้น มุ่งหารายได้ใหม่ๆ 

ในปีที่ผ่านมา สื่อดิจิทัลอย่าง Vox Media ได้ซื้อกิจการ New York Media สื่อด้านอสังหาริมทรัพย์ออนไลน์ และ Vice Media Group ได้ซื้อสื่อไลฟ์สไตล์ Refinery29 ที่มีฐานผู้อ่านส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง ทั้งหมดนี้ นำไปสู่โอกาสการขยายฐานลูกค้า ทำรายได้จากโฆษณามากขึ้น เพื่อเเข่งขันกับคู่เเข่งรายใหญ่

 

 

ที่มา : Reuters , CNBC 

]]>
1307043
Next Normal วงการสื่อหลังยุค COVID-19 “สิ่งพิมพ์” เร่งตาย คนไม่อยากจับของ แต่สื่อในบ้านจะโตขึ้น https://positioningmag.com/1275800 Tue, 28 Apr 2020 10:02:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1275800 มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ มองภาพวงการสื่อโฆษณาในยุค COVID-19 พายุลูกใหญ่ที่เข้ามาซ้ำเติมให้หนักมากขึ้น “สื่อสิ่งพิมพ์” จะยิ่งเร่งตาย เพราะคนเริ่มไม่อยากจับสิ่งของ ส่วนสื่อในบ้าน ทีวี และออนไลน์ ยังโตขึ้น แต่ยังมีจุดอ่อนที่นักการตลาดต้องกุมขมับ

สื่อโฆษณาส่อติดลบ 15-20% หนักสุดเป็นประวัติการณ์

จากวิกฤต COVID-19 ได้แผลงฤทธิ์ไปทั่วโลก ทำให้ทุกธุรกิจต่างหยุดชะงัก ทำให้สื่อโฆษณาก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน เพราะแบรนด์ก็ใช้งบน้อยลง ส่วนทางผู้บริโภคเองก็ไม่มีกำลังซื้อ เรียกว่าปีนี้เป็นปีแห่งความยากลำบากของวงการสื่อ

จริงๆ วงการสื่อโฆษณาส่อแววหนัหน่วงมาหลายปีแล้ว มียอดการหดตัวอยู่ตลอด พอเจอวิกฤต COVID-19 ยิ่งตอกย้ำภาวะตลาดที่ซบเซามากขึ้นไปอีก เป็นสถานการณ์ที่หนักสุดในรอบประวัติการณ์

มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ ได้เปิดเผยตัวเลขงบสื่อโฆษณาในช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 มีตัวเลขลดลง 6.02% มีมูลค่า 19,892 ล้านบาท มีการคาดการณ์ว่าทั้งปี้จะมีมูลค่างบสื่อโฆษณาทั้งหมด 77,124 ล้านบาท หดลงมากถึง 15-20% จากปีก่อน โดยที่งบโฆษณาทางทีวีจะเหลือเพียงแค่ 40,000 ล้านบาท

ไวรัส… ตัวเร่งตายสื่อสิ่งพิมพ์

คำพูดที่ได้ยินกันเยอะมากที่สุดในตอนนี้คือ New Normal หรือบรรทัดฐาน การใช้ชีวิตแบบใหม่ หลังยุค COVID-19 แน่นอนว่าจะต้องเข้ามาเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างสิ้นเชิง ในวงการสื่อโฆษณาก็เช่นกัน สิ่งที่เปลี่ยนไปมีทั้งพฤติกรรมการเสพสื่อ และแลนด์สเคปของสื่อเองด้วย

ประเด็นนี้ “ภวัต เรืองเดชวรชัย” ผู้อำนวยการธุรกิจ-สายงานการวางแผน และกลยุทธ์สื่อโฆษณา บริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จํากัด หรือ MI ได้ให้คำจำกัดความว่า Next Normal เป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นหลัง COVID-19

“วงการสื่อโฆษณาได้ผ่านจุดยากมาหลายปี โดยที่ COVID-19 เป็นเหมือนพายุลูกใหญ่ ที่ไม่เข้ามาเปลี่ยนสถานการณ์ แต่เข้ามาซ้ำเติม เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้สถานการณ์ยิ่งยากขึ้น”

Next Normal ที่เห็นได้ชัดที่สุด และบาดใจที่สุด “สื่อสิ่งพิมพ์” หนังสือพิมพ์ นิตยสาร จะเร่งตายเร็วขึ้น เพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคจะไม่อยากจับแตะต้องสิ่งของที่เป็น Physical แต่สื่อที่อยู่ในบ้านจะมีการเติบโต ไม่ว่าจะเป็นสื่อทีวี หรือออนไลน์ เพราะคนอยู่บ้านมากขึ้น ทำกิจกรรมบ้านมากขึ้น สื่อที่บ้านมีบทบาทเยอะขึ้น

“สื่อออนไลน์” ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องมาหลายปีก็ยังคงเป็นที่นิยม เพียงแต่จะมีความท้าทายเกิดขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคเริ่มใช้หลายแพลตฟอร์ม นักการตลาดต้องจับพฤติกรรมของผู้บริโภคให้ได้ แล้วทำการสื่อสารให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย

คนอยู่บ้าน กลับมาดูทีวีมากขึ้น

จากจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้มีมาตรการอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ “ทีวี” จึงได้รับอานิสงส์ คนกลับมาดูทีวีมากขึ้น 15% เสพคอนเทนต์ข่าวมากขึ้น เพราะต้องการแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ

ภวัต บอกว่า มาตรการ Social Distancing ทำให้คนอยู่บ้านมากขึ้น มีการดูข่าวมากขึ้น 20% เพราะผู้บริโภคยังชอบดูข่าวผ่านทีวี เพราะอยากได้แหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ ที่ผ่านมาในโลกออนไลน์มี “เฟคนิวส์” เยอะ ไม่ค่อยน่าเชื่อถือ

ปัจจัยเสริมอีกอย่างหนึ่งก็คือ ทีวีมีราคาถูกลง ทั้งสมาร์ททีวี และทีวีจอใหญ่ ทำให้ครอบครัวได้ใช้เวลาอยู่ร่วมกัน

เมื่อผู้บริโภคมีการดูข่าวมากขึ้น สถานีต่างๆ ได้ใช้กลยุทธ์ขยายช่วงเวลาข่าวมากขึ้น แต่ไม่ได้เพิ่มผังรายการ เพื่อให้ได้โฆษณามากขึ้น แต่ไม่ได้ปรับขึ้นราคา แต่การขยายช่วงเวลาข่าว ก็ไม่ได้ทำให้สถานีมีเม็ดเงินเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ เพราะการแข่งขันในวงการก็ยังคงสูงอยู่ โดยที่ 5 ช่องที่มีเรตติ้งรายการข่าวสูงที่สุด ได้แก่ ช่อง 7, ช่อง 3, ช่อง ONE, อัมรินทร์ และไทยรัฐทีวี

ภวัต เสริมว่า ตอนนี้ช่องทีวีเหลืออยู่ 15 ช่อง ยังเป็นตัวเลขที่มากไปอยู่ เมื่อเทียบกับเม็ดเงินโฆษณามูลค่า 4-5 หมื่นล้าน มองว่าการมีเพียงแค่ 6 ช่องเป็นตัวเลขกำลังดี

“ปัจจุบันทั้ง 15 ช่อง เหนื่อยหมด เจ็บตัวหมด ขาดทุนกันมาอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับแต่ละคนจะถอดใจหรือไม่ หรือว่ามีกฎหมายพิเศษออกมา เชื่อว่าต้องมี 4-5 ช่องต้องออกมาอีกแน่ COVID-19 ทำให้ทีวีได้รับความนิยมโดยเฉพาะรายการข่าว แต่ไม่ได้มีโฆษณามากขึ้น แต่กลับกันเม็ดเงินทีวีหดตัวด้วยซ้ำ คิดว่ามีแค่ 6 ช่องน่าเหมาะสมกับเม็ดเงินที่มีอยู่ในตลาด 4-5 หมื่นล้าน”

จากการประเมินของ MI นั้น มองว่า หลังจากที่มีการปลดล็อกดาวน์ต่างๆ สินค้ากลุ่ม Low Involvement หรือกลุ่มของใช้สอยในชีวิตประจำวัน เช่น สบู่ สกินแคร์ เครื่องสำอาง จะกลับมาใช้งบโฆษณามากขึ้น แต่กลุ่ม High Involvement ที่ต้องอาศัยกำลังซื้อของผู้บริโภค อาจจะทำการตลาดเจาะกลุ่มบุคคลไป

ส่วนงาน “อีเวนต์” หรือการทำกิจกรรมออนกรานด์ อาจจะต้องหยุดพักไปจนถึงปลายไตรมาส 3 หรืออาจจะเริ่มได้ในไตรมาส 4 เลยทีเดียว

]]>
1275800
Booking เเชมป์จองโรงแรมในไทย ปี 2019 จับตานักท่องเที่ยว “อินเดีย” มาไทยมากขึ้น https://positioningmag.com/1264425 Fri, 14 Feb 2020 12:38:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1264425 เปิด 12 เเพลตฟอร์มจองโรงเเรมสุดฮิตของคนชอบเที่ยว Booking.com ครองเเชมป์ในไทยในปี 2019 ท่ามกลางการเเข่งขันเดือดทั้งการจองตรงและผู้นำในตลาด จับตา Goibibo คนอินเดียเที่ยวไทยมากขึ้น

SiteMinder เผยผลสำรวจจากรายได้เว็บไซต์การจองที่พัก บ่งชี้ว่ามูลค่าตลาดนักท่องเที่ยวอินเดียและจีนนับเป็นส่วนสำคัญในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย

“ในปี 2019 ประเทศไทยต้อนรับนักท่องเที่ยวถึง 40.7 ล้านคน เพิ่มขึ้นถึง 188% จาก 10 ปีที่ผ่านมา การเติบโตนี้ถือเป็นการเปิดโอกาสอย่างมหาศาลให้กับผู้ประกอบกิจการโรงแรมในประเทศ แต่ในขณะเดียวกันสิ่งที่ผู้ประกอบการไม่ควรมองข้ามคือการติดตามพฤติกรรมการจองที่พักที่เปลี่ยนแปลงไป และมีความเข้าใจปัจจัยที่ผู้บริโภคใช้ในการเลือกจองห้องพัก” แบรด ไฮนส์ รองประธานกรรมการบริษัท SiteMinder ประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก กล่าว

โดยสุดยอด 12 แพลตฟอร์มจองโรงแรมในประเทศไทยประจำปี 2019 เมื่อประเมินจากรายได้รวมที่สร้างให้กับลูกค้าธุรกิจโรงแรมของ SiteMinder ได้แก่

1.Booking.com
2.Agoda
3.Expedia Group
4.เว็บไซต์โรงแรม (การจองตรง)
5.Hotelbeds
6.Trip.com
7.Traveloka
8.Goibibo
9.Fusion Holidays
10.Global Distribution System
11.Flight Centre Travel Group
12.Destinations of the World จาก WebBeds

จาก 12 อันดับช่องทางการจองยอดนิยม รายชื่อที่น่าจับตามองที่สุดคือ Goibibo ซึ่งถือเป็นตัวชี้วัดถึงยอดการเติบโตของนักท่องเที่ยวชาวอินเดีย โดยปัจจุบันอินเดียถือเป็น 1 ใน 5 ตลาดหลักของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาประเทศไทยเลยทีเดียว

โดย 14 จาก 20 จุดหมายปลายทางยอดนิยม ชี้ให้เห็นว่าการจองตรงผ่านเว็บไซต์ของโรงแรม มีการไต่อันดับขึ้นจากปีที่แล้วหรือยังสามารถคงระดับอยู่ใน 5 อันดับแรกไว้ได้ และเฉพาะ Agoda ที่มีสำนักงานใหญ่ในเอเชียเท่านั้นที่มีอัตราการเติบโตที่ดี เช่นเดียวกับช่องทางการจองตรง ซึ่งมีการเติบโตแบบก้าวกระโดดในแถบภูมิภาคยุโรปตะวันออกกลางและแอฟริกา (EMEA)

นอกจากนี้ยังมีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในตลาดการท่องเที่ยวโลก ดังนี้

  • การเปิดตัวของ Airbnb ในตลาด 6 แห่งภายในยุโรป แอฟริกา และอเมริกาเหนือและใต้
  • การขยายสู่ตลาดยุโรปเพิ่มขึ้นในประเทศอิตาลีของ Trip.com เพิ่มเติมจากฝรั่งเศส ถือเป็นบริษัทสัญชาติจีนแห่งแรก ที่ได้เปิดตัวแพลตฟอร์มของตนในประเทศฝั่งตะวันตกเป็นผลสำเร็จเมื่อปี 2018
  • แบรนด์ต่างๆภายใต้ WebBeds อย่าง JacTravel, totalstay, Destinations of the World และ Sunhotels มีชื่อติดอันดับสุดยอด 12 แพลตฟอร์มจองโรงแรมที่จัดขึ้นในรอบครึ่งปีของ 2018
  • การปรากฏชื่ออีกครั้งของ Flight Centre Travel Group ซึ่งติดสุดยอด 12 อันดับของประเทศออสเตรเลีย หลังจากที่ห่างหายไปถึง 4 ปี ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้กลยุทธ์การกระจายธุรกิจและการเข้าซื้อกิจการในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการรวมการจัดการการท่องเที่ยวเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ยังปรากฏชื่อเป็นครั้งแรกในแอฟริกาใต้อีกด้วย
  • การเปิดตัวของ Lastminute.com ในตลาดทวีปยุโรปตะวันออกกลางและแอฟริกาถึง 2 แห่ง
    แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของจำนวนผู้บริโภคที่ตัดสินใจแบบไม่วางแผนล่วงหน้า

เจมส์ บิชอป ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายพันธมิตรของ SiteMinder กล่าวว่า การจองตรงผ่านระบบออนไลน์ยังคงมีส่วนสำคัญในการสร้างรายได้จำนวนมหาศาลให้กับโรงแรมทั่วโลก เห็นได้จากการที่เว็บไซต์ของโรงแรมยังคงอยู่ใน 4 อันดับแรกของช่องทางการจองในตลาดหลัก และในบางตลาดยังกระโดดขึ้นมาในอันดับที่สูงขึ้นด้วย เป็นผลมาจากการที่โรงแรมผลักดันให้คนติดต่อเข้ามาจองห้องพักผ่านของทางหลักของตนเองมากขึ้น ผ่านการโปรโมทและการนำนวัตกรรมมาปรับใช้ รวมถึงการลงทุนเพิ่มในเมตาเสิร์ช (Metasearch)

นอกจากนี้เรายังเห็นผู้ให้บริการทางเทคโนโลยีมีส่วนในการส่งเสริมด้วยการสร้างบริการเสริมร่วมกับช่องทางการจองตรง ซึ่งทำหน้าที่เสมือนเป็นตัวแทนด้านการตลาดในรูปแบบดิจิทัลให้กับโรงแรมด้วย

 

]]>
1264425
ไกด์ไลน์ “คอนเทนต์-โฆษณา” สื่อออนไลน์ ช่วงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก https://positioningmag.com/1223155 Wed, 03 Apr 2019 04:30:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1223155 ตามที่ กสทช. โดยกรมประชาสัมพันธ์ ได้เผยแพร่ข้อมูลแนวทางการออกอากาศในห้วงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ให้แก่ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ผู้ให้บริการโซเชียลมีเดียและผู้ให้บริการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์

“3 สมาคม” ด้านสื่อออนไลน์ ประกอบด้วย สมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) หรือ DAAT สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย และสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ได้แจ้งแนวปฏิบัติในห้วงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 2562 และขอความร่วมมือสมาชิกสมาคมฯ พิจารณาปฏิบัติ จัดการโฆษณา จัดการเนื้อหา ในห้วงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ดังนี้

การเผยแพร่ข้อมูลทางเว็บไซต์ 

ขอความร่วมมือเผยแพร่เนื้อหาพิเศษเกี่ยวกับ การเตรียมงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ และงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยจัดทำเป็นหน้าเว็บเพจขึ้นใหม่ ดังนี้

  • การแสดงตราสัญลักษณ์งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ให้ปรากฏในตำแหน่งมุมบนด้านซ้ายมือของผู้ชม โดยให้คำนึงถึงความเหมาะสมในการแสดงภาพตราสัญลักษณ์บนหน้าจอ เช่น ไม่ควรมีภาพที่ไม่เหมาะสมปรากฏร่วมกับตราสัญลักษณ์ หรือมิให้มีภาพที่อื่นใดบดบังตราสัญลักษณ์ เป็นต้น
  • ให้ยึดถือข้อมูลจากคณะกรรมการประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นหลัก
  • ไม่ให้มีโฆษณาในหน้าเว็บเพจที่ได้จัดทำขึ้นนี้

การโฆษณาประเภท Online Video

ขอความร่วมมือให้งดเว้นการโฆษณาประเภท Online Video ในช่วงวันและเวลาที่มีการถ่ายทอดสดพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 

  • เดือนเมษายน : วันที่ 6, 18 และ 19  
  • เดือนพฤษภาคม : วันที่ 2, 3, 4, 5 และ 6

การโฆษณาประเภท Display และรูปแบบอื่นๆ

ขอให้ระมัดระวังการโฆษณา โดยให้คำนึงความเหมาะสมและให้ปฏิบัติตามกระแส หลักเกณฑ์ ตามที่ กสทช. กำหนด

  • ไม่ให้มีแบนเนอร์หรือโฆษณาอยู่บนหน้าจอเดียวกับเนื้อหางานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
  • สามารถแสดงข้อความการแสดงความจงรักภักดีได้ โดยปรากฏพระฉายาลัักษณ์และใช้ถ้อยคำ ให้มีความเหมาะสมต่อห้วงบรรยากาศพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
  • โฆษณาที่ลงในหน้าเว็บเพจอื่นๆ ขอให้เนื้อหาโฆษณามีความเหมาะสมต่อบรรยากาศห้วงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
]]>
1223155
คนไทยยังดู “ทีวี” อยู่หรือไม่ ในวันที่ออนไลน์ทรงอิทธิพล https://positioningmag.com/1218905 Sun, 10 Mar 2019 23:07:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1218905 อุตสาหกรรมสื่อดั้งเดิม (traditional media) ช่วงที่ผ่านมาต้องถือว่าลำบากจากการกระจายตัว (fragmentation) ของสื่อออนไลน์ที่กลายเป็นสื่อทรงอิทธิพลในวันนี้

หากดูเม็ดเงินโฆษณาในกลุ่มสื่อดั้งเดิม “ส่วนใหญ่” อยู่ในภาวะถดถอย ปี 2014  โฆษณาทีวี มีมูลค่าอยู่ที่ 79,590 ล้านบาท ปี 2018 ลดลงมาอยู่ที่ 70,366 ล้านบาท ทั้งที่มี “ทีวีดิจิทัล” ช่องใหม่เกิดขึ้น 22 ช่อง หันมาดูโฆษณาออนไลน์ ปี 2014 มูลค่าอยู่ที่ 6,115 ล้านบาท ปี 2018 เพิ่มขึ้นมาเป็น 14,973 ล้านบาท เรียกว่าเติบโตกว่า 20% ทุกปี

คนไทยอายุ 35+ ดูทีวีเพิ่มขึ้น

สมวลี ลิมป์รัชตามร กรรมการผู้จัดการ บริษัทนีลเส็น ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมสื่อในช่วงที่ผ่านมา มักมีคำถามเสมอว่า คนไทยยังดูทีวีอยู่หรือไม่ ในยุคที่สื่อออนไลน์เข้ามามีบทบาทสำคัญและเข้าถึงประชากรไทยแล้วว่า 62%

หากดูจากภูมิทัศน์สื่อในประเทศไทยก็ต้องบอกว่า ทีวี ยังเป็นสื่อที่มีความสำคัญและเข้าถึงครัวเรือนไทยได้มากที่สุดเกือบ 100% แม้แต่ในสหรัฐฯ ที่สื่อออนไลน์ขยายตัวสูงก่อนหน้าประเทศไทย อัตราการเข้าถึงและดูทีวียังมีอยู่และไม่ได้ล้มหายตายจากไป เพียงแต่แค่เปลี่ยนรูปแบบการรับชม คอนเทนต์ทีวี สู่แพลตฟอร์มอื่นๆ ตามพฤติกรรมผู้ชม

ในประเทศไทยกลุ่มหลักที่ยังดูทีวีอายุ 35 ปีขึ้นไป พบว่ามีพฤติกรรมใช้เวลาดูทีวีต่อวัน มากขึ้น 

  • ปี 2010 ดูทีวี 3.35 ชั่วโมงต่อวัน
  • ปี 2014 ดูทีวี 4.07 ชั่วโมงต่อวัน
  • ปี 2018 ดูทีวี 4.12  ชั่วโมงต่อวัน

สำหรับกลุ่มที่ดูทีวีและใช้เวลามากขึ้นมาจากปัจจัยการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์สื่อของประเทศไทยที่มีจำนวนช่องทีวีดิจิทัลเพิ่มขึ้น จากยุคแอนะล็อก 6 ช่อง เป็น 22 ช่องในปัจจุบัน ทำให้มี รายการทีวี หลากหลาย ทั้ง ข่าว ละคร วาไรตี้  ซีรีส์ กีฬา สารคดี แต่ละสถานีทีวีมี positioning ชัดเจนว่าเป็นช่องประเภทใด ทั้งช่องหนัง ช่องข่าว หรือไลฟ์ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ทำให้ช่วย Engage ผู้ชมได้มากขึ้น 

คอนเทนต์ที่หลากหลายของทีวีดิจิทัล จึงเป็นปัจจัยสำคัญดึงให้ผู้ชมอยู่หน้าจอทีวีนานขึ้น

ดูคอนเทนต์ผ่านแพลตฟอร์มใดมากสุด

ในยุคดิจิทัลต้องยอมรับว่ามีคนดูคอนเทนต์ทีวีจากแพลตฟอร์มอื่นๆ นอกจากหน้าจอทีวีปัจจุบันมีสัดส่วนผู้ชม ดิจิทัล คอนเทนต์ ในไทยราว 40 ล้านคน จากการสำรวจของ นีลเส็น ช่วงไตรมาส 4 ปี 2018 คนไทยดู วิดีโอ คอนเทนต์ รวมทั้งคอนเทนต์จากทีวี ผ่านจอคอมพิวเตอร์ (พีซี) สัดส่วน 13% จำนวน 3.14 ชั่วโมงต่อวัน ดูผ่านมือถือ สัดส่วน 87% จำนวน 3 ชั่วโมงต่อวัน 

ชัดเจนว่าการทำกลยุทธ์การสื่อสารกับผู้บริโภคไทยวันนี้ ต้องโมบายเฟิร์ส

พฤติกรรมการรับชมวิดีโอคอนเทนต์ทีวีแบ่งเป็นรูปแบบวิดีโอย้อนหลัง 72% และ Live 28% โดยกลุ่มที่ดูคอนเทนต์วิดีโอย้อนหลังสูงสุดคือ ผู้หญิง อายุ 25-29 ปี  ส่วนกลุ่มที่ดูคอนเทนต์แบบ Live สูงสุด คือ ผู้ชาย อายุ 25-29 ปี

สะท้อนให้เห็นว่าคนดูทีวีผ่านจอทีวีเป็นกลุ่มที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป ส่วนกลุ่มอายุต่ำกว่า 30 ปีจะดูทีวีผ่านดิจิทัล แพลตฟอร์ม ที่สะดวกโดยเฉพาะมือถือ

กฎทอง” ลงโฆษณาทีวีย้อนหลัง

สำหรับสินค้าและแบรนด์ที่ต้องการเข้าถึงผู้ชมทีวีย้อนหลังมี กฎทอง การลงโฆษณาเช่นกัน หากต้องการลงโฆษณาในคอนเทนต์ ละคร  Golden rules คือ ผู้ชมจะดูละครย้อนหลัง 9 วันมากที่สุด ซึ่งหมายถึงการซื้อโฆษณาย้อนหลัง 9 วันจะเข้าถึงผู้ชมได้มากที่สุด

ส่วนคอนเทนต์ข่าวและวาไรตี้ ผู้ชมดูย้อนหลัง 3 วัน ก็เช่นกันการลงโฆษณาให้เข้าถึงผู้ชมมากที่สุดมีเวลาแค่ 3 วัน และรายการกีฬาจะดูย้อนหลังมากที่สุด 4 วัน

บทสรุป Media Outlook 2019

มาดูบทสรุปของ นีลเส็น ที่มีต่ออุตสาหกรรมสื่อในปี 2019 

THE NEW FACE OF TV

ทีวียังมีผู้ชมและคนที่ดูทีวีรับชมด้วยระยะเวลาที่นานขึ้น โดยเป็นสื่อที่มีวิวัฒนาการมาตลอด ที่เห็นชัดเจน คือ ทีวี ช้อปปิ้ง ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใช้โฆษณาเพิ่มขึ้น และทำให้เม็ดเงินโฆษณาสื่อทีวีเติบโตในปีที่ผ่านมา โดยทีวียังให้ความสำคัญกับ Multi-Screen Content มากขึ้น นำเสนอคอนเทนต์ในทุกช่องทางสู่แพลตฟอร์ม OTT ที่กำลังเติบโต  สิ่งที่ทีวีกำลังพัฒนาอย่างมาก คือ การสร้าง Original Content ที่ทำให้ผู้ชมมีตัวเลือกมากขึ้น ถือเป็นช่องทางให้ แบรนด์ เลือกคอนเทนต์ที่เหมาะกับ positioning ของแบรนด์ได้ด้วย

VERTIAL ADS &CONTENTS

ปกติโฆษณาและคอนเทนต์ผ่านจอมือถือจะนำเสนอ แนวนอนแต่หากปรับให้นำเสนอ แนวตั้งตามลักษณะการใช้ มือถือ จะทำให้ผู้ชมรับชมได้นานขึ้นและมี engagement ดีขึ้น ส่งผลต่อความคุ้มค่าในการลงทุนโฆษณา

INFLUENCER MARKETING 

เป็นที่แน่นอนว่ากลยุทธ์ Influencer ยังคงการเติบโตที่ชัดเจนมากขึ้นจากความโดดเด่นของผู้บริโภคที่สร้างสรรค์คอนเทนต์ผ่านช่องทางออนไลน์ที่ได้รับความนิยมสูงและผู้บริโภคเลือกที่จะเชื่อผู้บริโภคด้วยกันเองมากขึ้น

AI CUSTOMER EXPERIENCES 

ปัจจุบันแบรนด์ ต่างๆ ใช้ AI มาช่วยสร้างประสบการณ์ให้ผู้บริโภคมากขึ้น โดยนำมาใช้แทนคอลเซ็นเตอร์ โดยให้ แชทบอต ช่วยตอบคำถามพื้นฐานได้อย่างรวดเร็ว จึงตอบโจทย์การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้ผู้บริโภคในยุคนี้ 

นอกจากบทสรุปดังกล่าว นีลเส็น ยังเห็นว่าเทรนด์ของ สื่อที่ยังเติบโตได้ดี คือ สื่อโฆษณานอกบ้าน (Out of Home Media หรือ OOH) เพราะคนใช้ชีวิตนอกบ้านวันละ 10-12 ชั่วโมง และการขยายตัวของเมือง (Urbanization) จากการลงทุนเมกะโปรเจกต์ภาครัฐในพื้นที่หลายจังหวัด รวมทั้งการขยายเส้นทางรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ ทำให้สื่อนอกบ้านมีโอกาสขยายตัว 

ปัจจุบันสื่อนอกบ้านมีการปรับตัวสู่รูปแบบดิจิทัลเช่นป้ายโฆษณาดิจิทัลทำให้มีพื้นที่โฆษณามากขึ้นและสามารถสร้าง Engagement ได้ดี

ไม่ว่าจะเป็นสื่อประเภทใด สิ่งที่ต้องทำคือการก้าวสู่ Omni Channel เข้าถึงผู้บริโภคและสร้างประสบการณ์ที่ดีทั้งออนไลน์และออฟไลน์ โดยสื่อต้องอยู่ในทุกที่ของไลฟ์สไตล์ผู้คนในยุคนี้.

]]>
1218905
สื่อดั้งเดิมซึม! งบโฆษณาเลือกตั้ง 500 ล้าน “ออนไลน์-สื่อนอกบ้าน” กวาดเรียบ https://positioningmag.com/1213666 Tue, 12 Feb 2019 14:42:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1213666 แม้ปีนี้จะมีการเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม 2562 เข้ามาเป็นปัจจัยบวก กระตุ้นการใช้เม็ดเงินในอุตสาหกรรมสื่อมากขึ้น และหากเปรียบเทียบกับการเลือกตั้งครั้งล่าสุดในปี 2554 ที่มีเม็ดเงินเลือกตั้งผ่านสื่อราว 300 ล้านบาท พบว่าหนังสือพิมพ์ ได้งบไปถึง 50% ทีวีรองลงมาอยู่ที่ 46% ตามด้วยวิทยุ 3% และสื่อกลางแจ้ง 1%

แต่การเลือกตั้งปี 2562  กกต.กำหนดหลักเกณฑ์ ห้าม” ซื้อโฆษณาเลือกตั้งทางทีวีและวิทยุ เม็ดเงินจึงไปสะพัดใน สื่อออนไลน์และสื่อนอกบ้าน เป็นหลัก

ภวัต เรืองเดชวรชัย ผู้อำนวยการธุรกิจ สายงานการวางแผนและกลยุทธ์สื่อโฆษณา บริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จํากัด หรือ เอ็มไอ และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มีเดีย อินไซต์ จำกัด ให้มุมมองว่าเม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อในช่วงเลือกตั้งปีนี้ น่าจะอยู่ที่ 300-500 ล้านบาท สื่อที่จะได้งบโฆษณาเลือกตั้งสูงสุด คือ ออนไลน์และสื่อนอกบ้าน เรียกว่าครองงบส่วนใหญ่ (Majority) เลยทีเดียว หรืออาจแตะ 80% ของงบทั้งหมด

สื่อดั้งเดิมหมดลุ้นชิงเค้ก 

การเลือกตั้งปีนี้เม็ดเงินโฆษณาที่กระจายในสื่อจะแตกต่างจากการเลือกตั้งในปี 2554 ที่มี หนังสือพิมพ์และทีวี ยึดไปได้ถึง 96% จากหลักเกณฑ์ กกต. ที่ห้ามโฆษณาทางทีวีและวิทยุ ขณะที่หนังสือพิมพ์ที่เคยได้งบมาเป็นอันดับ 2 ในการเลือกตั้งปี 2554 ซึ่งในปีนั้นสื่อหนังสือพิมพ์ครองเม็ดเงินเป็นอันดับ 2 ของอุตสาหกรรมโฆษณา รองจากทีวี หรือมีมูลค่ากว่า 14,558 ล้านบาท 

แต่หลังจากปี 2557 ภูมิทัศน์สื่อเปลี่ยนจากสื่อออนไลน์ขยายตัวสูง ทำให้การใช้งบโฆษณาผ่านสื่อดั้งเดิม (Traditional Media) โดยเฉพาะกลุ่มสิ่งพิมพ์ถดถอยมาอย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากงบโฆษณาที่รายงานโดยนีลเส็นในปี 2561 หนังสือพิมพ์เหลืออยู่เพียง 6,100 ล้านบาท ติดลบ 20% จากปีก่อนหน้า

จากจำนวน ผู้อ่าน หนังสือพิมพ์ที่ลดลงมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้การเลือกตั้งปีนี้  หนังสือพิมพ์คงได้งบโฆษณาไปไม่มากเหมือนกันเลือกตั้งปี 2554 เพราะหากดูตัวเลขการใช้งบโฆษณาเดือนมกราคมปีนี้ พบว่ามีพรรคการเมืองซื้อโฆษณาหนังสือพิมพ์ไม่กี่ครั้งเท่านั้น

แข่งคอนเทนต์ชิง New Voter

ในศึกเลือกตั้งปีนี้สื่อออนไลน์ถือเป็น พระเอก ใช้งบโฆษณา เพราะวันนี้ต้องเรียกว่าเป็น สื่อแมส ที่เข้าถึงสัดส่วนประชากรไทย 80% ปัจจุบันโซเชียลมีเดีย แพลตฟอร์มหลัก เฟซบุ๊ก มีผู้ใช้งาน 51 ล้านบัญชี, ไลน์ 44 ล้านบัญชี, อินสตาแกรม 14 ล้านบัญชี และทวิตเตอร์ 12 ล้านบัญชี เรียกว่าเข้าถึงคนจำนวนมาก โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ 

ปีนี้มีกลุ่มผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งแรก (New Voter) 7-8 ล้านคน สื่อออนไลน์จึงเป็นสื่อหลักของการสื่อสารกับกลุ่มนี้ ขณะที่วัยอื่นๆ มีพฤติกรรมเสพสื่อออนไลน์มากขึ้นเช่นกัน อีกคุณสมบัติของสื่อออนไลน์คือเป็นสื่อที่สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้ว่าจะเลือกนำเสนอคอนเทนต์กับกลุ่มใดในการเลือกตั้งครั้งนี้ สื่อออนไลน์จึงจะได้เม็ดเงินโฆษณาไปมากที่สุด

รองลงมาคือ สื่อนอกบ้าน (Out of Home Media) โดยเฉพาะ ป้ายโฆษณา ซึ่งเป็นสื่อยอดนิยมในการหาเสียงของพรรคการเมืองและผู้สมัคร พบว่าอัตราการใช้พื้นที่โฆษณาทั้งป้ายนิ่งและป้ายดิจิทัลเพิ่มขึ้นในช่วงนี้ และมีการปรับขึ้นราคาในป้ายโฆษณาที่อยู่ในทำเลกลางเมือง 

กลยุทธ์การหาเสียงของพรรคการเมืองต่างๆ ในการเลือกตั้งครั้งนี้จะใช้ คอนเทนต์ เป็นตัวนำเพื่อสร้างกระแส (ไวรัล) ให้เกิดขึ้นในกลุ่มผู้ใช้โซเชียลมีเดีย นำไปแชร์ต่อ รวมทั้งสื่อต่างๆ ทั้งทีวีและออนไลน์นำคอนเทนต์ไปเสนอต่อผ่านช่องทางต่างๆ เพื่อสร้างความนิยมและการจดจำพรรคและนักการเมืองในการช่วงชิงคะแนนเสียงเลือกตั้งครั้งนี้

กระแสไวรัสที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นกรณีน้องจินนี่ ยศสุดา ลีลาปัญญาเลิศ บุตรสาวของคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ที่ไปช่วยเดินหาเสียงกระทั่งชาวโซเชียลสะดุดตาในความน่ารัก จนเกิดเป็น #พรรคเพื่อเธอ และกระแสล่าสุด #ฟ้ารักพ่อ ที่สื่อธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ล้วนเป็นคอนเทนต์ที่นำไปต่อยอดสร้างการรับรู้เกี่ยวกับพรรคและผู้สมัคร ส.. ได้เป็นอย่างดี

โฆษณาปี 62 โต 5%

สำหรับทิศทางอุตสาหกรรมโฆษณาในปี 2562 มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ ประเมินการเติบโตไว้ที่ 5% หรือมีมูลค่า 91,429 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นแนวโน้มที่ดีขึ้น หลังจากปีก่อนเติบโต 0.8% และหากย้อนหลังไปปี 2557 ถึงปีก่อน อุตสาหกรรมโฆษณา ติดลบ มาต่อเนื่อง

ปี 2562 สื่อทีวียังครองเม็ดเงินโฆษณาสูงสุด ที่ 49,686 ล้านบาท ตามมาด้วยสื่ออินเทอร์เน็ตที่มูลค่า 17,518 ล้านบาท สื่อโฆษณานอกบ้าน 12,498 ล้านบาท  หนังสือพิมพ์ 4,402 ล้านบาท วิทยุในกรุงเทพฯ 4,163 ล้านบาท สื่อในโรงภาพยนตร์ 2,325 ล้านบาท นิตยสาร 838 ล้านบาท   

สื่อที่เติบโตสูงสุดในปี 2562 คือ ออนไลน์ ที่กว่า 20% ตามมาด้วยสื่อนอกบ้านที่เติบโต 7.83% ขณะที่สื่อทีวีเติบโต 3.98% ส่วนหนังสือพิมพ์และนิตยสารยังคงเป็นสื่อที่ติดลบต่อเนื่อง

]]>
1213666
ทำตลาดยุคดิจิทัล ต้องก้าวให้พ้น “กับดัก” ไลก์ เมนต์ แชร์ https://positioningmag.com/1209458 Mon, 21 Jan 2019 14:14:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1209458 Thanatkit

WE ARE SOCIAL เผยผลสำรวจการใช้สื่อออนไลน์ที่แสดงให้เห็นว่า คนไทยเสพติดโลกออกไลน์มากน้อยแค่ไหน ทั้งตัวเลขการใช้งานอินเทอร์เน็ตต่อวัน ที่ 9 ชั่วโมง 38 นาทีต่อวัน หรือโซเชียลเน็ตเวิร์์กที่ชาวไทยใช้งานสูงถึง 3 ชั่วโมง 10 นาทีต่อวัน

ถึงแม้จะมีผู้ใช้งานมากมายแต่ก็ไม่ได้หมายความว่า แบรนด์จะสามารถใช้ช่องทางโซเชียลเน็ตเวิร์กสื่อสารกับผู้บริโภคในยุคนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ เพราะทุก โอกาส ย่อมมาพร้อมกับ ความท้าทาย ที่เลี่ยงไม่ได้

4 ความท้าทายที่ต้องเจอ

ความท้าทายที่ว่าอย่างแรกเลย คือ ผู้บริโภค คนไม่ได้มีแอคเคาต์โซเชียลมีเดียแค่ 1 แอคเคาต์ แต่เฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 5.5 แอคเคาต์ ในทางทฤษฎีอาจบอกได้ว่าจำนวนที่มากขึ้น จะทำให้แบรนด์สามารถเข้าถึงพวกเขาได้มากขึ้น แต่ความเป็นจริงช่องทางที่หลากหลาย กลับทำให้ความสนใจถูกกระจายไปด้วย

2. สิ่งที่แบรนด์กำลังต่อสู้อยู่ในตอนนี้ไม่ได้สู่กับแบรนด์ด้วยกัน แต่อยู่น่านน้ำเดียวกับคอนเทนต์ที่ถูกโพสต์ขึ้นจากคนใกล้ตัว ทั้งเพื่อน ญาติ หรือคนที่ทำงาน จากข้อมูลทั่วโลกพบ อัตราการดูวิดีโอบนเฟซบุ๊ก 8,000 ล้านครั้งต่อวัน คนดูวิดีโอบนยูทูบ 1,000 ชั่วโมงต่อวัน และมีการอัพโหลดรูปภาพบนอินสตาแกรม 95 ล้านรูป

3. การแสดงความเห็นที่ขัดแย้งกันมากขึ้น จากเดิมอาจเป็นเรื่องการเมือง ข้าราชการ ตอนนี้มาจากทุกคน มีการถกเถียงมากขึ้นจนอาจทำให้เกิดความแตกแยกในที่สุด

4. พอผู้บริโภคใช้งานโซเชียลมีเดียเยอะขึ้น แบรนด์ก็แห่ไปทำโฆษณาในช่องทางนี้หมดเลย แต่กลายเป็นว่า คอนเทนต์ที่มาจากแบรนด์คล้ายกันไปหมดเลย โดยเฉลี่ยแล้วแต่ละแบรนด์อัพคอนเทนต์ปีละ 1,300 คอนเทนต์ หรือเฉลี่ย 3.5 คอนเทนต์ต่อวัน

นายไมค์ เคอร์ลีย์ (ซ้าย) นายอาสา ผิวขำ (ขวา)

ไมค์ เคอร์ลีย์ กรรมการผู้จัดการโซเชียล แอนด์ อินโนเวชั่น เฟลชแมน ฮิลลาร์ด และ อาสา ผิวขำ ผู้อำนวยการบริหารสายงานโซเชียล แอนด์ อินโนเวชั่น เฟลชแมน ฮิลลาร์ด ประเทศไทย ร่วมกันบอกว่า

จากการทำวิจัยของเฟลชแมนฮิลลาร์ด เพื่อวิเคราะห์การใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กของแบรนด์ระดับโลก 50 แบรนด์ พบว่า มีแบรนด์เพียงแค่ 2% เท่านั้นที่สามารถสื่อสารผ่านช่องทางนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและโดดเด่น

ซึ่งไม่ได้หมายความว่าอีก 98% ทำคอนเทนต์ไม่มีประสิทธิภาพ เพียงแต่ไม่โดดเด่นจนผู้บริโภคจำได้อย่างแน่ชัดเท่านั้นเอง อีกอย่าง 2% ที่ว่านี้ก็ไม่ได้จะปังเสมอไป ขึ้นอยู่กันคอนเทนต์นั้นๆ ด้วย

นักการตลาดกำลังติดกับดัก

ทั้งคู่อธิบายว่า เหตุที่มีเพียง 2% เท่านั้นก็เพราะนักการตลาดกำลังติดกับดักโซเชียลมีเดียอยู่

จงระวังคำว่า ดิสรัปชั่น นักการตลาดมองว่าตัวแทนคือผู้นำเทรนด์ ที่ไม่มีวันถูกดิสรัปชั่นแน่ๆ หารู้ไม่สิ่งที่กำลังทำอยู่ในวันนี้คือการดิสรัปชั่นตัวเองทั้งนั้น เพราะยังไม่ก้าวพ้นกับดัก

3 ข้อที่ดึงนักการตลาดให้ติดกับดัก ได้แก่

1. ทุกปลายปีจะมีเทรนด์และเทคโนโลยีถูกรายงานออกมา ว่าอันไหนที่กำลังจะเด่นในปีนั้นๆ Augmented Reality (AR), Virtual Reality (VR), Chatbot และ Big Data นักการตลาดก็มักจะหยิบออกมาใช้งานทันที โดยลืมไปว่า นำเทคโนโลยีไปใช้ทำอะไร เพื่ออะไร

เช่น Chatbot นำไปใช้เพื่อตอบคำถามผู้บริโภค หรือนำไปใช้ขายสินค้า 2 อย่างนี้ไม่เหมือนกัน เพราะการวางคำตอบจะต้องเป็นคนละแบบ

2. Me too Syndrome หลายครั้งที่แบรนด์เห็นการทำไวรัลแล้วประสบความสำเร็จ ก็แห่กันไปทำ โดยลืมไปว่า ไวรัล คือการบอกต่อโดยผู้บริโภคเองอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่ใช่ถูกจุดติดโดยแบรนด์ที่จ้างให้ผลิตคอนเทนต์ แล้วใช้เงินปั๊มบูสต์จนเกิดเป็นไวรัล

หรือแบรนด์คู่แข่งมีแอคเคาต์โซเชียลมีเดียหลายแพลตฟอร์มก็ไปทำตาม แต่ความเป็นจริงไม่ใช่ทุกช่องทางที่จะตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย ช่องทางเยอะแล้วคิดว่าจะเข้าหาผู้บริโภคได้เยอะก็จริง แต่ก็มาพร้อมความเสี่ยงหากเกิดปัญหา ในแพลตฟอร์มที่เหลือก็จะโดนไปด้วย กระจายดราม่าเป็นไฟลามทุ่งโดยที่ควบคุมอะไรไม่ได้เลย

แบรนด์ควรทำให้น้อย เพื่อคิดถึงผลลัพธ์ มากกว่าการมีเยอะๆ

3. อย่าใช้ตัวเลขที่แพลตฟอร์มบอกเป็นดัชนีชี้วัดความสำเร็จของแคมเปญการตลาด เพราะตัวเลขไลก์ แชร์ คอมเมนต์ และยอดวิว ไม่ได้การันตียอดขาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกธุรกิจต้องการมากที่สุด แต่ตัวเลขที่เกิดขึ้นต้องนำมาวิเคราะห์ว่าตอบโจทย์แบรนด์หรือไม่

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการติดกับดัก คือ การใช้เงินที่มากเกินความจำเป็นทั้งจ่ายค่าโฆษณา ค่าบูสต์โพสต์ และหลงไปกับยอดคอมเมนต์ ยอดแชร์ อยากได้ยอดการรับชมวิดีโอโอคลิป 1 ล้านวิว เป็นต้น โดยลืมว่าคอมเมนต์เหล่านั้นไม่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ เช่น ขายกาแฟแต่คนชมคลิปสวย

ข้อเสียที่มาจากข้อดีของดิจิทัล คือ ข้อดีสามารถวัดผลได้ทันที แต่ข้อเสียการยึดติดกับตัวเลขที่เกิดขึ้น เพราะวัดผลได้ง่าย มองแค่การ Analytic หรือตัวเลข โดยไม่มอง Analysis ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก

3 คำถามปูทางกลยุทธ์ชนะโซเชียลมีเดีย

อย่างไรก็ตาม หากนักการตลาดต้องการหลุดพ้นจากกับดักต้องตอบคำถาม 3 ข้อให้ได้

1. ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กอย่างไร ใช้เป็นโทรโข่งที่แบรนด์พูดอย่างเดียว หรือใช้เป็นโทรศัพท์ทำหน้าที่ตอบคำถามผู้บริโภคด้วย แต่หลายครั้งแบรนด์วางบทบาทเป็นโทรศัพท์ เมื่อผู้บริโภคมาคอมเมนต์สอบถามข้อมูล กลับไม่เคยตอบสนองใดๆ เลย จากผลสำรวจพบมีเพียง 10% เท่านั้นที่ตอบคำถามผู้บริโภค

2. ใช้ศาสตร์และศิลป์เพิ่มพลังในการทำตลาดบนโซเชียล นั้นคือการนำข้อมูล (Data) และข้อมูลเชิงลึก (Insight) ประกอบ เพื่อนำไปสู่วิธีการวิเคราะห์ เพื่อที่แบรนด์จะได้ข้อมูลที่ถูกต้อง นำมาพัฒนากลยุทธ์และสร้างสรรค์แนวทางการสื่อสารได้ถูกต้อง

3. มองหาผลลัพธ์ของแคมเปญ (Performance) หรือวัตถุประสงค์ (Objective) ที่กว้างขึ้น นอกเหนือจากดัชนีชี้วัดต่างๆ เช่น ยอดวิว ยอดแชร์ ของแคมเปญ เป็นการวัดความสำเร็จและผลการลงทุนบนสื่อออนไลน์ แต่แท้จริงแล้ว ความท้าทายของแบรนด์อยู่ที่ว่า จะทำอย่างไรเพื่อตอบวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ให้ดีที่สุด

ยิ่งกว่านั้น 2 Keyword ที่ขาดไม่ได้คือความกล้าแบรนด์ต้องกล้าพูดในสิ่งที่ตัวเองคิด แล้วนำเสนอไปยังผู้บริโภค เพื่อฉีกกฎ กรอบเดิมๆ เพื่อสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง และ 2. ให้ Commitment หรือคำมั่นสัญญากับผู้บริโภค

แบรนด์ที่อยู่รอดได้ต้องมีแง่มุมกล้าที่จะแตกต่าง และมี Commitment กับผู้บริโภคด้วยใจ

3 เทรนด์ห้ามตกขบวนโซเชียลมีเดีย

ท้ายนี้เทรนด์เป็นสิ่งที่นักการตลาดและแบรนด์ต้องเกาะติดอย่างใกล้ชิด เพื่อให้รู้ว่าผู้บริโภคกำลังไปทางไหน เสพสื่อแพลตฟอร์มไหนมาแรง โดยไมค์และอาสามอง 3 เทรนด์จะมีอิทธิพลต่อการทำตลาดในโลกโซเชียลมีเดียในอนาคต ได้แก่

1. Voice Search หรือ การค้นหาด้วยเสียง ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรม amazon alexa และ Google assistant เป็นต้น เพราะเทรนด์โลกมาแล้วไม่ช้าคงมาถึงไทย

2. Virtual Influencer ผู้ทรงอิทธิพลเสมือนจริงบนโลกออนไลน์ ที่จะเข้ามาอีกหนึ่งทางเลือกแข่งกับ Influencer ที่เป็นมนุษย์จริงๆ ซึ่งในโลกมี “Miquela Sousa” เป็น Virtual Instagram ด้านแฟชั่นคนแรกของโลก มีผู้ติดตามหลักล้านคน

ส่วนใหญ่เมืองไทยยังไม่ถึงกับเป็น Virtual เต็ม 100% แต่เพจดังก็มีความคล้ายกับ Virtual Influencer เช่น อีเจี๊ยบเลียบด่วน หรือ Jaytherabbit เป็นต้น

3. เทรนด์วิดีโอบน YouTube เพราะแต่ละวันมีคนเสพคอนเทนต์วิดีโอผ่านแพลตฟอร์มดังกล่าวมากถึง 50% หรือราว 17 ล้านคนต่อวัน จากจำนวนผู้ใช้งานโซเซียลมีเดียทั้งสิ้น 35-36 ล้านคนต่อวัน

อย่างไรก็ตาม หากนักการตลาดสลัดตัวเองออกจากกับดักตัวเองได้ จะช่วยเพิ่มโอกาสในการคิดฉีกกรอบการทำตลาดแบบเดิมๆ ทำให้แคมเปญมีประสิทธิภาพมากขึ้น และก้าวพ้นจากตัวเลขต่างๆ ที่เกิดขึ้นเพราะในชีวิตจริงมีอะไรมากกว่าตัวเลขเหล่านั้นอีกเยอะ.

]]>
1209458
“เลื่อนเลือกตั้ง” ไม่มีผลโฆษณาพรรคการเมือง คาดทุ่มหนัก “สื่อออนไลน์” เริ่มเห็น Ad บ้างแล้วใน Facebook https://positioningmag.com/1206397 Fri, 04 Jan 2019 02:57:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1206397 Thanatkit

เป็นที่แน่นอนแล้วว่าทีวีและวิทยุเป็น 2 สื่อที่ถูก กกต. หรือคณะกรรมการการเลือกตั้ง ห้ามไม่ให้พรรคการเมืองใช้เป็นช่องทางในการหาเสียงเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นในเร็ววันนี้ ซึ่งการเลือกตั้งครั้งก่อนทั้ง 2 สื่อกวาดเม็ดเงินโฆษณาไปเกือบ 50% จากเม็ดเงินรวมเกือบ 300 ล้านบาท

ด้วยภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนไป การรับรู้สื่อของคนไทยในวันนี้เทียบกับ 7 ปีก่อนไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป สื่อที่ถูกมองว่าจะเข้ามาเป็นตัวแทนของสื่อทั้ง 2 นอกเหนือจากสื่อนอกสถานที่ บิลบอร์ด จอแอลอีดี หรือการจัดกิจกรรมออนกราวด์ ก็คือสื่อออนไลน์ที่จะก้าวขึ้นมาเป็นสื่อที่มีอิทธิพลมากที่สุดในการเลือกตั้งครั้งนี้

จะเข้าถึงคนรุ่นใหม่ ต้องไปสื่อออนไลน์

ทำไมถึงต้องเป็นสื่อออนไลน์? ภวัต เรืองเดชวรชัย ผู้อำนวยการธุรกิจสายงานการวางแผน และกลยุทธ์สื่อโฆษณา บริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จํากัด หรือ MI และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มีเดีย อินไซต์ จำกัด ให้สัมภาษณ์กับ Positioning ว่า เป็นเพราะทุกพรรคการเมืองต่างต้องการเข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่เพิ่งได้มีโอกาสเลือกตั้งระดับประเทศครั้งแรก ซึ่งคาดว่าจะมีราว 7-8 ล้านคนทั่วประเทศ

แน่นอนถ้าจะเข้าถึงคนรุ่นใหม่ การจะออกมาขายฝันเรื่องของนโยบายอย่างเดียว พวกเขาคงไม่ฟังอย่างแน่นอน เมื่อคิดแบบนักการเมืองไม่ได้ก็ต้องคิดแบบนักการตลาด เป้าหมายอยู่ที่ไหนก็ต้องเข้าไปหาที่นั่น จึงเป็นที่มาของการมาบุกหนักในช่องทางออนไลน์

นับตั้งแต่ที่รัฐบาลเริ่มมีทีท่าจะจัดการเลือกตั้ง หลายพรรคจึงเริ่มออกมาเคลื่อนไหวในโลกของออนไลน์อย่างจริงจัง ทั้งใน Facebook หรือ Twitter ซึ่งเป็นการโพสต์แบบทั่วๆ ไป ยังไม่ถึงกับขนาดซื้อโฆษณา

หากสิ่งที่เปลี่ยนไป คือ นับจากช่วยปลายปีที่ผ่านมา เริ่มเห็นพรรการเมืองซื้อ “Boost Post” ใน Facebook บ้างแล้ว

จนถึงวันนี้ทั้ง Facebook และ Youtube ที่ถูกคาดว่าจะเป็น 2 ช่องทางหลักที่พรรคการเมืองจะเลือกใช้ ยังไม่มีความชัดเจนเรื่องของการซื้อโฆษณาเลย ตอนนี้อย่างที่เห็นทุกคนก็ประชาสัมพันธ์ลงไปยังไม่มีข้อห้าม แต่ก็ยังไม่ได้รับคำตอบว่าจะสามารถทำได้มากน้อยแค่ไหน

แม้จะเทเงินให้ออนไลน์ แต่ภาพรวมหล่นหายแน่นอน

แต่ที่แน่ๆ เชื่อว่าการเลือกตั้งครั้งนี้เม็ดเงินของ 3 สื่อดั้งเดิม ทีวี หนังสือพิมพ์ และวิทยุ ที่ครองเม็ดเงินส่วนใหญ่เกือบ 100% จากการเลือกตั้งครั้งก่อน มาครั้งนี้คงหายไปไม่ต่ำกว่า 75% แน่นอน หากเงินที่หายไปจะถูกโยกมาที่สื่อออนไลน์ทั้งหมดไหม? คำตอบคงไม่ใช่ เชื่อว่าในภาพรวมเม็ดเงินอาจหายไป 50% ด้วยซ้ำ

อาจได้เห็นพรรคการเมืองแข่งกันโปรโมตบนโลกออนไลน์ ซึ่งจุดวัดอยู่ที่คอนเทนต์เป็นหลัก อาจมีบ้างที่ใช้เงินซื้อโฆษณา หรือใช้อินฟูเอ็นเซอร์ที่ออกมาช่วยโปรโมต ส่วนในช่องทาง Youtube ก็จะออกมาในรูปแบบของคลิปวิดีโอ ที่จัดทำโดยพรรคหรือแยกมาเป็นตัวบุคคลก็ย่อมได้ ยังไม่รวมของไลน์ทีวี ซึ่งปีที่ผ่านมาเติบโตสูงถึงจะเล็กอยู่มากก็ตาม

ภวัต เรืองเดชวรชัย

ภวัต เชื่อว่าคอนเทนต์ จะเป็นจุดชี้เป็นชี้ตายว่าพรรการเมืองใด จะได้ใจกลุ่มคนรุ่นใหม่มากที่สุด ซึ่งวันนี้อย่างที่รู้กันคอนเทนต์ไม่ได้มีค่ามาตรฐาน ทำแบบไหนถึงประสบความสำเร็จ และตรงใจกลุ่มเป้าหมาย ขณะเดียวกันอาจจะได้เห็นคอนเทนต์ของพรรการเมือง ออกมาในรูปแบบของกระแสข่าว ผ่านสื่อหลัก ไม่ว่าจะเป็นจะเป็นทีวี หนังสือพิมพ์ หรือกระทั่งบนโซเขียลมีเดียเอง

อย่างกรณีไวรัลก่อนหน้านี้ที่ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ พร้อมบุตรสาว จินนี่ยศสุดา ลีลาปัญญาเลิศ ออกมาลงพื้นที่พบปะประชาชนย่านประตูน้ำ ได้เรียกสือฮือฮาให้กับชาวโซเชียลถึงขนาดตั้งแฮชแท็ก#เข้าคูหากาเพื่อเธอ #เข้าคูหากาให้แม่ยายผมด้วยนะครับ ทั้งใน Twitter และ Facebook

ถ้าคนทั่วไปดูไร้สาระขำๆ แต่ในมุมของนักการตลาด เชื่อว่านี่เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ได้ ในเชิงของการโปรโมตบางอย่างที่เป็นกิมมิก สุดท้ายแล้วจะได้ไม่ได้ ไม่รู้ แต่ในเชิงของแบรนด์ อะแวร์เนสถูกส่งออกไปแล้ว ซึ่งจะมีมาหนักขึ้นก่อนช่วงเลือกตั้งอย่างแน่นอน

ภาพจาก : PPTV

หรือกรณีล่าสุดที่มีกระแสข่าวพรรคเพื่อไทยอาจจะเปลี่ยนตัวรายชื่อนายกรัฐมนตรี จากคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ มาเป็นชัชชาติ สิทธิพันธุ์ซึ่งได้รับฉายาจากผู้คนในโลกออนไลน์ว่ารัฐมนตรีที่แข็งเกร่งที่สุดในปฐพีก็ได้รับความสนใจจำนวนมาก จนถึงกับมีคอมเมนต์อาจเปลี่ยนใจมาเลือกพรรคเพื่อไทยเลยก็ได้ ซึ่งนี่ก็เป็นหนึ่งในกระแสข่าวที่ออกมาจากสื่อหลัก

ภาพจาก : เพจ Drama-addict
ภาพจาก : เพจ Drama-addict

คนรุ่นใหม่ไม่ใช่ว่าไม่สนใจการเมือง แต่ต้องอยู่ที่คอนเทตน์หรือวิธีการเล่า จะสื่อสารให้ตรงใจกับพวกเขามากน้อยแค่ไหน การออกมาพูดนโยบายอย่างเดียวไม่ฟังแน่นอน ต้องพูดจาภาษาพวกเขาจะมีขำบ้าง ไร้สาระบ้าง สุดท้ายมีความเชื่อมั่นในพรรคนี้อย่างไร อยู่ที่การรับรู้ในช่วงที่ผ่านมา

ส่วนกรณีของการใช้ KOL (Key Opinion Leader) หรือ Influencer ที่คาดว่าจะเป็นหนึ่งในตัวเลือกโปรโมตของพรรคการเมือง จนถึงตอนนี้ยังไม่มีข้อสรุปว่ารายไหนรับ หรือไม่รับอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งดาราเบอร์ใหญ่ๆ ที่ยังไม่ออกตัวแรงมาก ยกเว้ยบุคคลนั้นชื่นชอบพรรคเป็นการส่วนตัว ก็อาจโปรโมตให้ตามธรรมชาติ

เวลาไม่เป็นอุปสรรค อยู่ที่คอนเทนต์มากกว่า

ขณะเดียวกันจากข่าวที่อาจเลื่อนเลือกตั้งออกไปจากกำหนดเดิมนั้นภวัตให้ความเห็นว่า ตอนนี้แต่พรรคคงยังมีการวางแผนเพื่อปล่อยคอนเทนต์ออกมาเป็นระยะๆ เครื่องมือหลักจะเป็นออนไลน์ ถ้าถามว่าเวลาที่มีน้อยไปไหมสำหรับการโปรโมตหาเสียง คงตอบได้ยาก

แต่ปัจจุบันสื่อโซเชียลมีเดียสามารถดันได้ใน 3 วัน หรือ 5 วัน เชื่อว่ากรอบเวลาในการประชาสัมพันธ์จะไม่เป็นอุปสรรคหลัก แต่หลักๆ อยู่ที่คอนเทนต์มากกว่า ใครจะด้อยจะเด่นกว่าใคร จะยิงได้ปังกว่าใคร โดยช่องทางหลักคงเป็น Facebook ซึ่งถือเป็นประตูด่านหน้าของการเข้าสู่โลกโซเชียลมีเดีย แน่นอนจะมีวัยรุ่นกลุ่มหนึ่งที่หนีไปเล่น Twitter พรรคการเมืองคงตามไปแน่นอน

กระบวนการทำคอนเทนต์ เชื่อว่าหลักๆ จะเป็นทีมในพรรคเองมากกว่า เพราะต้องไวและแก้เกมให้ทันสถานการณ์ อีกทั้งโซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือที่ไม่ยาก สามารถเรียนรู้ได้ ไม่จำเป็นต้องใช้เอเจนซี่ เพราะเจ้าตัวรู้ดีที่สุดว่ากำลังต้องการสื่อสารอะไร อาจมีบ้างที่ดึงเอเจนซี่เข้ามาช่วยวางแผน แต่คงอยู่ในลักษณะของการให้คำปรึกษาเท่านั้น

แต่สุดท้ายเมื่อ Facebook และ Youtube เปิดให้ซื้อโฆษณาอย่างเสรี ก็มีความเป็นไปได้ที่พรรการเมืองจะหันมาหาเอเจนซี่เพื่อให้ซื้อโฆษณา ด้วยมีเครื่องมือและเชี่ยวชาญมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ความถี่ในการมองเห็น เป็นต้น.

]]>
1206397
ทีวี-วิทยุอด กม.ห้ามพรรคการเมืองซื้อโฆษณาช่วงเลือกตั้ง คาดสื่อออนไลน์มาแรง https://positioningmag.com/1204561 Fri, 21 Dec 2018 11:17:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1204561 นักการเมืองและพรรคการเมืองห้ามซื้อสื่อโฆษณาทางทีวีและวิทยุ คาดหันไปซื้อสื่อในช่องทางออนไลน์ และออนกราวด์มากขึ้น หลัง กกต.ชี้แจงทำความเข้าใจสื่อ

หลังจาก กสทช.ได้เรียกประชุมบรรดาผู้ประกอบกิจการวิทยุและทีวี ที่ได้รับใบอนุญาตจาก กสทช.เรื่องทำความเข้าใจสื่อก่อนการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 21 ..ที่ผ่านมา โดยมีณัฏฐ์ เล่าสีห์สวกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการเลือกตั้ง หรือ กกต. เป็นผู้ให้รายละเอียดกับผู้ประกอบกิจการหลายร้อยคน

ในที่ประชุมผู้แทนของ กกต.ได้ชี้แจงว่า การเลือกตั้ง ส.ส.ทั่วประเทศในปี 2562 นี้ ตามกฎหมายการเลือกตั้งไม่สามารถให้บรรดาผู้สมัคร ส.ส.และพรรคการเมืองซื้อสื่อโฆษณาเพื่อหาเสียงในทีวีและวิทยุได้ ด้วยเหตุผลที่ว่า สื่อทีวีและวิทยุเป็นสื่อของรัฐ ที่ได้รับการอนุญาตประกอบกิจการจาก กสทช. เพื่อความเป็นกลางและเท่าเทียมกับของทุกพรรคและผู้สมัครทุกคน แต่สามารถไปลงโฆษณาในช่องทางอื่นๆ เช่น ออนไลน์ ได้

จากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.สวันที่ 12 .. 2561 ข้อ 69 ระบุว่า มาตรา ๖๙ ห้ามผู้สมัคร พรรคการเมือง หรือผู้ใดโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งทางวิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์ เว้นแต่เป็นการดําเนินการตามที่ได้รับการสนับสนุนตามมาตรา ๘๑

มาตรา ๘๑ ให้คณะกรรมการมีหน้าที่สนับสนุนการโฆษณาหาเสียงเลือกต้ังให้แก่ผู้สมัครและ พรรคการเมือง ท้ังนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกําหนด ในการน้ี คณะกรรมการจะขอให้ หน่วยงานอื่นของรัฐเป็นผู้ดําเนินการสนับสนุนด้วยก็ได้

ในการสนับสนุนการโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการอาจจัดเวทีประชัน นโยบายบริหารประเทศสําหรับพรรคการเมืองได้ด้วย

จากข้อมูลของนีลเส็น งบโฆษณาในช่วงการเลือกตั้งครั้งล่าสุดของประเทศไทยในปี 2554 พรรคการเมืองได้ใช้งบโฆษณากันไปทั้งหมดรวมประมาณ 300 ล้านบาท เป็นการใช้สื่อโฆษณาในหนังสือพิมพ์มากที่สุด 50% , ทีวี 46%วิทยุ 3% และสื่อกลางแจ้ง 1% 

พรรคการเมืองที่ใช้งบซื้อสื่อโฆษณามากที่สุดคือ พรรคประชาธิปัตย์ ใช้งบ 127 ล้านบาท พรรคชาติไทยพัฒนา 42 ล้านบาท พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 35 ล้านบาท พรรคภูมิใจไทย 22 ล้านบาท พรรคเพื่อไทย 21 ล้านบาท และพรรคอื่นๆ รวมกัน 44 ล้านบาท

โดยใช้โฆษณาทีวีในช่วงนั้นใช้อยู่ประมาณ 130 ล้านบาท ซึ่งยังเป็นยุคทีวีแอนะล็อก มีเพียง 6 ช่องเท่านั้น และสื่อออนไลน์ยังไม่เติบโตขนาดนี้

เมื่อ กกต.ระบุห้ามการซื้อสื่อทีวี จึงมีการคาดการณ์ว่า งบซื้อสื่อของบรรดาพรรคการเมืองจะหันมาเทลงช่องทาง ออนไลน์, สื่อนอกสถานที่ บิลบอร์ด จอแอลอีดี หรือการจัดกิจกรรมออนกราวด์ และหนังสือพิมพ์มากขึ้น

นอกจากนี้การเลือกตั้งครั้งนี้จะมีกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่จะมีสิทธิ์เลือกตั้งครั้งแรกที่มีประมาณ 7-8 ล้านคน จึงคาดว่าสื่อออนไลน์น่าจะเป็นช่องทางที่มียอดโฆษณาเติบโตสูงสุด

ทั้งนี้ กกต.ได้เปิดให้บรรดาพรรคเมืองและว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ทั้งหมด สามารถเริ่มหาเสียงได้ตั้งแต่วันที่ 2 .. 2562 เป็นต้นไป จนกว่าการเลือกตั้งจะสิ้นสุด ซึ่งเป็นช่วงที่ไม่สามารถซื้อโฆษณาทางทีวีและวิทยุได้

ส่วนการจัดรายการทางทีวีวิทยุ ต้องให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกพรรคการเมือง ซึ่งอีกคำถามที่บรรดาผู้ประกอบการสอบถามมากคือ จะสามารถจัดดีเบท เชิญบรรดาแกนนำพรรคใหญ่บางพรรคมาในรายการทีวีได้หรือไม่ ซึ่งตัวแทน กกต.ชี้แจงว่า จะทำได้ในกรณีที่ มีโพลมาประกอบการดีเบท ซึ่งอ้างอิงตามโพลและเชิญตัวแทนพรรคเหล่านั้นมาร่วมรายการ เพื่อให้เกิดความเป็นกลาง เป็นธรรมมากที่สุด เพราะกฎหมายต้องการให้ทุกพรรคมีโอกาสเท่าเทียมกัน.

]]>
1204561