อีลอน มัสก์ มองว่า เศรษฐกิจโลกได้ผ่านช่วงที่อัตราเงินเฟ้อสูงสุดไปแล้ว ดังนั้น มีแนวโน้มที่จะเห็นภาวะถดถอยแต่จะไม่รุนแรงซึ่งกินเวลาประมาณ 18 เดือน และในส่วนของราคาวัสดุและสินค้าที่จำเป็นสำหรับการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า มัสก์เพียงแต่ระบุว่าเขาได้รับข้อมูลเชิงลึกมาพอสมควรว่าราคาวัสดุต่าง ๆ จะเป็นอย่างไรในอนาคต
นอกจากนี้ มัสก์ได้ตอบคำถามถึงแผนการใช้เงินทุนในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยเขาระบุว่า เทสล่าจะเพิ่มรายจ่ายฝ่ายทุนเป็นหลัก และจะเน้นใช้งบกับการวิจัยและพัฒนา รวมถึงมีโอกาสที่จะ ซื้อคืนหุ้น แต่ขึ้นอยู่กับกระแสเงินสดในอนาคตของบริษัท
ในส่วนของแผนการผลิตรถยนต์ มัสก์ก็ได้ระบุว่า ภายในปี 2573 เขาตั้งเป้าที่จะผลิตรถให้ได้ 20 ล้านคันต่อปี จากโรงงานทั้งหมด 12 แห่ง โดยแต่ละแห่งมีกำลังผลิตที่ 1.5-2 ล้านคันต่อปี โดยปัจจุบันโรงงานประกอบรถยนต์ของเทสล่ามีอยู่ในเซี่ยงไฮ้, ฟรีมอนต์ แคลิฟอร์เนีย, ออสติน เท็กซัส, และนอกกรุงเบอร์ลินในประเทศเยอรมนี และจะประกาศตั้งโรงงานใหม่ในช่วงปลายปีนี้ นอกจากนี้ยังผลิตแบตเตอรี่ที่โรงงานในเมืองสปาร์กส์ รัฐเนวาดา ซึ่งทำงานร่วมกับพานาโซนิค
]]>Jodi Mahardi โฆษกกระทรวงการประสานงานกิจการทางทะเลและการลงทุนอินโดนีเซีย กล่าวกับ AFP ว่า อินโดนีเซียมีพื้นที่หลายแห่งตั้งอยู่ใกล้กับ “เส้นศูนย์สูตร” ซึ่งเหมาะกับการใช้เป็นฐานปล่อยจรวดขึ้นสู่อวกาศ โดยจะทำให้จรวดเดินทางเข้าสู่วงโคจรได้ง่ายกว่าการปล่อยจรวดจากพื้นที่อื่น อีกทั้งยังลดต้นทุนการใช้เชื้อเพลิงซึ่งจะทำให้ค่าใช้จ่ายในการปล่อยจรวดเเต่ละครั้งลดลงไปด้วย
SpaceX เพิ่งทดลองปล่อยจรวด Starship หรือ SN8 ที่ฐานปล่อยจรวดในรัฐเท็กซัสของสหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ก่อน เเม้การทดลองดังกล่าวจะล้มเหลว เเต่มัสก์บอกว่า การทดลองที่เกิดขึ้นเป็นความสำเร็จ เพราะทีมพัฒนาได้เรียนรู้จุดอ่อนและมีข้อมูลเพียงพอในการพัฒนาจรวดรุ่นต่อไปแล้ว
ความร่วมมือของอีลอน มัสก์ กับรัฐบาลอินโดนีเซีย เริ่มเเน่นเเฟ้นขึ้น หลัง Tesla กำลังตามหาเเหล่งขุมทรัพย์
“เเบตเตอรี่” ซึ่งอินโดนีเซีย เป็นประเทศผู้ผลิต “แร่นิกเกิล” มากที่สุดในโลกนั่นเอง
ดังนั้น การร่วมลงทุนกับรัฐบาลอินโดนีเซีย จึงเป็นเหมือนการ “จองวัตถุดิบ” เพื่อผลิตแบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้าจำนวนมหาศาลที่จะเป็นยานยนต์แห่งอนาคต
เเละเมื่อวันที่ 11 ธ.ค. ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโจโค วิโดโด ได้พูดคุยกับอีลอน มัสก์ ถึงความเป็นไปได้ที่ SpaceX จะเข้ามาศึกษาเกี่ยวกับการตั้งฐานยิงจรวดในอินโดนีเซีย
โดยสถาบันอากาศและอวกาศแห่งชาติอินโดนีเซีย หรือ LAPAN ประกาศเมื่อปีที่แล้วว่า มีแผนที่จะสร้างศูนย์อวกาศแห่งแรกของประเทศบนเกาะ Biak นอกชายฝั่งทางเหนือของเกาะนิวกินี ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการเจรจากับพันธมิตรต่างประเทศ
สำหรับศูนย์อวกาศเเห่งนี้ ตั้งเป้าจะพัฒนาจรวดและฐานปล่อยจรวดขึ้นสู่วงโคจรโลก มีกำหนดทดสอบจรวดครั้งแรกในปี 2024
ย้อนกลับไป เมื่อปี 2007 อินโดนีเซียเคยทดสอบปล่อยจรวดขนาดเล็ก RX-250 ซึ่งสามารถทะยานขึ้นไปที่ระดับความสูง 53 กิโลเมตร เรียกได้ว่ามาถึง “ครึ่งทาง” จากระดับความสูงที่ถูกกำหนดให้เป็นเขตพรมแดนอวกาศ (Karman Line) ซึ่งอยู่ที่ 100 กิโลเมตร
ด้านกระเเสข่าวเกี่ยวกับการพัฒนาด้านอวกาศในไทย ตอนนี้ก็คึกคักไม่น้อย หลัง “เอนก เหล่าธรรมทัศน์” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประกาศว่า เร็ว ๆ นี้ ประเทศไทยจะเป็นชาติที่ 5 ของเอเชีย ที่สามารถผลิตยานอวกาศและส่งไปโคจรรอบดวงจันทร์ได้ เเละคาดว่าจะใช้ระยะเวลาดำเนินการไม่เกิน 7 ปี ซึ่งจุดประเด็นให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์อย่างกว้างขวาง ส่วนจะมีความเป็นไปได้มากน้อยเเค่ไหน ก็ต้องติดตามกันต่อไป
ที่มา : AFP
]]>จากเด็กที่ถูกเพื่อนรังแกในโรงเรียน วันนี้ อีลอน มัสก์ (Elon Musk) ถูกยกให้เป็นผู้ชายที่ ”น่าสนใจมากที่สุด” ในวงการเทคโนโลยี
ภาพลักษณ์ของมัสก์ทำให้มีการตั้งคำถามว่า “มีอะไรไหมที่มัสก์ทำไม่ได้?” เพราะชายคนนี้เป็นซีอีโอของบริษัทสเปซเอ็กซ์ (SpaceX) ที่อาสาพาคนทั่วไปเดินทางสู่อวกาศ แถมมัสก์ยังเป็นซีอีโอบริษัทเทสลา (Tesla) ที่กำลังจะแซงหน้าจีเอ็ม (GM) ขึ้นเป็นบริษัทผลิตรถยนต์ที่มีมูลค่าสูงที่สุดของสหรัฐฯ
มัสก์ก่อตั้งบริษัทชื่อบอริ่งคัมปานี (The Boring Company) เจ้าของผลงานขุดอุโมงค์ในสหรัฐฯ สุดทึ่งที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการขนส่งมวลชนแบบใหม่สำหรับผู้ไม่ต้องการติดค้างกับการจราจรคับคั่ง ขณะเดียวกัน มัสก์ยังร่วมก่อตั้งบริษัทโอเพนเอไอ (OpenAI) ซึ่งพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์แบบลึกซึ้ง
ดูเหมือนมัสก์จะแทรกตัวอยู่ในทุกอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ยังไม่นับบริษัทโซลาซิตี้ (SolarCity) ที่พัฒนาเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับใช้ในบ้าน บริษัทนิวรอลลิงก์ (Neuralink) สตาร์ทอัปที่ไปร่วมลงทุนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีที่ทำให้สมองมนุษย์สามารถสั่งการอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้โดยตรง และอีกหลายบริษัทที่มัสก์พยายามผลักดันให้โลกสัมผัสกับเทคโนโลยีใหม่ที่ไม่น่าเชื่อ ทั้งหมดนี้มัสก์เคยเอ่ยปากว่า ตัวเขาจะไม่ “happy” จนกว่าพวกเราชาวโลกจะเดินทางไปอยู่ดาวอังคารด้วยกัน
และมัสก์คนนี้เองที่เป็นแรงบันดาลใจให้ผู้กำกับและนักแสดงภาพยนตร์ดัง “Iron Man” ชีวิตของ Tony Stark ในโลกแห่งความจริงนั้นไม่ง่าย แต่ก็น่าทึ่งไม่ต่างจากในละคร
อีลอน มัสก์ เกิดวันที่ 28 มิถุนายน 1971 ที่แอฟริกาใต้ พ่อของหนุ่มใหญ่หัวใจไอทีวัย 44 ปีบอกว่ามัสก์นั้น “always been an introvert thinker” นักคิดที่เก็บตัวอยู่เสมอ
เออร์รอล มัสก์ (Errol Musk) พ่อของอีลอน มัสก์ผู้เป็นวิศวกรอิเล็กทรอนิกส์เคยให้สัมภาษณ์ว่าในขณะที่คนอื่นไปงานปาร์ตี้ สนุกสนานและดื่มเฮฮา จับกลุ่มคุยเรื่องรักบี้หรือกีฬา หนุ่มน้อยอีลอนจะไปหลบตัวอยู่ที่ห้องสมุด อ่านหนังสือกองโต
เมย์ มัสก์ (Maye Musk) แม่ของอีลอนเป็นนักโภชนาการมืออาชีพและเป็นนางแบบ เธอมีสัญชาติแคนาเดียน เคยมีภาพเธอปรากฏบนกล่องซีรีลยี่ห้อ Special K และบนปกนิตยสาร Time
น่าเสียดายที่ทั้งคู่แยกทางกันเมื่อปี 1979 หนุ่มน้อยอีลอนวัย 9 ชวบและน้องชายคิมบาล (Kimbal) เลือกอยู่กับพ่อ
ปี 1983 ขณะอายุ 12 ชวบ อีลอน มัสก์ขายเกมที่ตัวเองพัฒนาขึ้นชื่อ “Blastar” ให้กับนิตยสารคอมพิวเตอร์ในยุคนั้นได้ราคา 500 เหรียญ ตรงนี้มัสก์เคยพูดถึงเกมนี้ว่าเป็น “a trivial game … but better than Flappy Bird” เรียกว่าเกมเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่สำคัญ แต่ก็เป็นเกมที่ดีกว่า Flappy Bird
ชีวิตวัยเด็กของอีลอนไม่ได้ราบรื่น อีลอนเคยเข้าโรงพยาบาลเพราะถูกเพื่อนอันธพาลโยนจากบันได แล้วชกเขาจนหมดสติ (ข้อมูลจาก Ashlee Vance ในหนังสือ “Elon Musk: Tesla, SpaceX, and the Quest for a Fantastic Future.” เมื่อปี 2016)
หลังจากสำเร็จมัธยมปลาย มัสก์เดินทางไปแคนาดาใช้เวลา 2 ปีเรียนที่มหาวิทยาลัยคิงสตัน (University in Kingston) ในออนแทริโอ ที่นี่ มัสก์ได้อยู่กับแม่และน้องสาวน้องชาย “Tosca และ Kimbal”
แต่สุดท้าย อีลอนก็สำเร็จการศึกษามหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย (University of Pennsylvania) คว้าปริญญาด้านฟิสิก์และเศรษฐศาสตร์กลับบ้าน
ขณะเรียนที่ University of Pennsylvania มัสก์กับเพื่อนร่วมชั้นเช่าบ้านแฟลตขนาด 10 ห้องนอน ทำเป็นไนท์คลับ ถือเป็นอีกหนึ่งในประสบการณ์ “ผู้ประกอบการ” หรือ entrepreneur กิจการแรกในชีวิตของอีลอน มัสก์
หลังได้ปริญญาแล้ว อีลอน มัสก์เดินทางไปมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) เพื่อศึกษาปริญญาเอก แต่พอมาเรียนได้ 2 วันก็ตัดสินใจหยุดเรียนเพื่อเสี่ยงโชคในช่วงดอทคอมบูม
อย่างที่เรารู้กัน อีลอน มัสก์ไม่ได้กลับไปเรียนต่ออีกเลย
พ่อของ 2 พี่น้องมอบเงิน 2.8 หมื่นเหรียญสหรัฐให้มัสก์และน้องชาย คิมบาลเปิดเว็บไซต์ชื่อซิปทู (Zip2) เว็บไซต์นี้ให้บริการข้อมูลท่องเที่ยวกับบริษัทสื่ออย่างนิวยอร์กไทม์ส (New York Times) และชิคาโกทริบูน (Chicago Tribune)
มัสก์ทุ่มเทกับ Zip2 เต็มที่ ไม่กลับบ้านช่องอาศัยนอนในสำนักงานและอาบน้ำที่ศูนย์ YMCA ในบริเวณนั้น การทุ่มเทครั้งนี้เห็นผลเมื่อบริษัทคอมแพค (Compaq) เข้าซื้อ Zip2 ด้วยเงินสดและหุ้นมูลค่า 341 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งให้มัสก์เป็นเศรษฐีมีเงิน 22 ล้านเหรียญสหรัฐ
มัสก์เริ่มโปรเจกต์ใหม่เอ็กซ์ดอทคอม (X.com) บริษัทธนาคารออนไลน์เมื่อปี 1999 ใช้เงิน 10 ล้านเหรียญของตัวเองเป็นทุน 1 ปีหลังจากนั้น X.com ประกาศซื้อบริษัทคอนฟินิตี้ (Confinity) สตาร์ทอัปฟินเทคในยุคนั้นซึ่งร่วมก่อตั้งโดยปีเตอร์ ธีล (Peter Thiel) ทั้งหมดนี้เพื่อปูทางสู่เพย์พาล (PayPal)
มัสก์ขึ้นเป็นซีอีโอของ PayPal แต่กินเวลาไม่นาน ช่วงตุลาคม ปี 2000 มัสก์ต้องสู้กับผู้ก่อตั้ง PayPal รายอื่นในการผลักดันให้ทุกคนเห็นด้วยกับการเปลี่ยนเซิร์ฟเวอร์จากที่ใช้ระบบปฏิบัติการฟรียูนิกส์ (Unix) มาใช้ระบบวินโดวส์ของไมโครซอฟท์ (Microsoft) ผู้ก่อตั้ง PayPal ซึ่งเป็นประธานฝ่ายเทคโนโลยีหรือ CTO อย่างแม็กซ์ เลฟชิน (Max Levchin) ไม่เห็นด้วย
เพื่อพักความขัดแย้ง มัสก์จึงเดินทางไปพักผ่อนชั่วคราวที่ออสเตรเลีย ช่วงเวลานั้นเองที่กรรมการบริหาร PayPal ปลดเขาออกและดึง Thiel ขึ้นเป็นซีอีโอคนใหม่
แม้จะจบไม่สวย แต่มัสก์ก็รับทรัพย์อื้อซ่าจากการตัดสินใจของอีเบย์ (eBay) ที่ซื้อ PayPal เมื่อปี 2002 ในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดรายเดียวของ PayPal มัสก์ได้รับผลตอบแทน 165 ล้านเหรียญ จากราคา 1.5 พันล้านเหรียญที่อีเบย์จ่ายให้
ช่วงก่อนที่ PayPal จะถูกซื้อกิจการ มัสก์เผยว่าเขาวางแผนถึงบริษัทใหม่ หนึ่งในนั้นคือแผนการสุดระห่ำอย่างการส่งหนูหรือพืชไปยังดาวอังคาร
รายงานระบุว่า ผลจากการเป็นแฟนเหนียวแน่นที่ชื่นชอบนิยายวิทยาศาสตร์ ทำให้มัสก์พยายามสั่งซื้อขีปนาวุธโซเวียตที่ปลดประจำการเพื่อทดลอง แต่พ่อค้ารัสเซียตั้งราคาไว้สูงถึง 8 ล้านเหรียญ ทำให้มัสก์คิดว่าเขาสามารถสร้างเองได้ในราคาที่ถูกกว่า
ต้นปี 2002 มัสก์จึงก่อตั้งบริษัทชื่อ Space Exploration Technologies หรือที่รู้จักในชื่อสเปซเอ็กซ์ (SpaceX) เป้าหมายของบริษัทคือเปิดให้บริการเที่ยวบินสู่อวกาศในราคาประหยัด
ยานอวกาศลำแรกของ SpaceX ตั้งชื่อตามสตาร์วอส์ “Millennium Falcon” หลังจากนั้นจึงพัฒนาเป็น Falcon 1 และ 9 ยานอวกาศลำอื่นในช่วงแรกมีชื่อตามเพลง ”Puff the Magic Dragon”
สำหรับภารกิจบนโลก มัสก์ลงทุนครั้งแรกกับเทสลามอเตอร์ส (Tesla Motors) ในปี 2004 ด้วยเงิน 70 ล้านเหรียญ ซึ่งมีมาร์ติน อีเบอร์ฮาร์ด (Martin Eberhard) ร่วมก่อตั้งด้วย มัสก์มีส่วนสำคัญกับการพัฒนารถรุ่นแรกของบริษัทชื่อโร้ดสเตอร์ (Roadster) รถยนต์ไฟฟ้าสมบูรณ์แบบที่เปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี 2006 เวลานั้นมัสก์เป็นประธานบริษัท และขณะนี้เขานั่งแท่นเป็นซีอีโอด้วย
ไอเดียทำสินค้าพลังงานแสงอาทิตย์นั้นเกิดขึ้นช่วงเวลานี้ บริษัทโซลาร์ซิตี้มีผู้ร่วมก่อตั้งคือลินดอน ไรฟ์ (Lyndon Rive) โดยมัสก์เปิดโอกาสให้ญาติอย่างปีเตอร์ (Peter) และ Lyndon Rive รับทุนไปบริหารตั้งแต่ปี 2006
สถานการณ์ Tesla กลับไม่ค่อยดี โดยสูญเงินสดไปสูงมากในช่วงที่ Eberhard นั่งเก้าอี้ซีอีโอ ปี 2008 สถานการณ์ยิ่งแย่ลงจนทำให้มัสก์ตั้งควักเงินตัวเองมาแก้ปัญหาเพื่อป้องกันไม่ให้ Tesla อยู่ในภาวะล้มละลาย
มัสก์เทเงินลงไป 40 ล้านเหรียญก่อนจะกู้เพิ่มอีก 40 ล้านเหรียญ และขึ้นเป็นซีอีโอในปีนั้น
ทั้งหมดนี้ มัสก์เคยเล่าว่าปี 2008 เป็นปีที่ย่ำแย่ที่สุดในชีวิต Tesla ก็เงินหด SpaceX ก็มีปัญหาจากการปล่อยยาน Falcon 1
ในช่วงปีนั้น มัสก์มีปัญหาครอบครัวและหย่าร้างกับอดีตภรรยาคนแรกจัสตีน มัสก์ (Justine Musk) นักเขียนชาวแคนาเดียนซึ่งให้กำเนิดลูกชาย 6 คน จนคริสต์มาส 2008 ทุกอย่างเริ่มดีขึ้น มัสก์ได้รับข่าวดี 2 อย่างคือ SpaceX ได้สัญญามูลค่ากว่า 1.5 พันล้านเหรียญกับองค์การ NASA ให้จัดส่งชิ้นส่วนที่ต้องการสู่อวกาศ ขณะที่ Tesla ได้รับเงินทุนรอบใหม่จากนักลงทุนภายนอก
ปี 2010 บริษัทผลิตรถไฟฟ้า Tesla ตัดสินใจขายหุ้นครั้งแรกหรือ initial public offering จนประสบความสำเร็จ เพิ่มทุนได้มากกว่า 226 ล้านเหรียญสหรัฐในเดือนมิถุนายน กลายเป็นบริษัทรถบริษัทแรกที่ขายหุ้นในตลาดมหาชนหลังจาก Ford ทำไว้เมื่อปี 1956
เมื่อเทสลาขาย IPO มัสก์ถือโอกาสขายหุ้นของตัวเอง เอาเงินมูลค่า 15 ล้านเหรียญเข้ากระเป๋าไปด้วย
อาชีพไม่ธรรมดาของมัสก์นั้นเตะตาคนในวงการฮอลลีวูด ชื่อเสียงของมัสก์ถูกนำไปเป็นแรงบันดาลใจให้การสร้างภาพยนตร์ Iron Man จุดนี้มัสก์มีภาพปรากฏในภาพยนตร์คู่กับกวิเน็ธ พัลโธรล (Gwyneth Paltrow) และโรเบิร์ด ดาวนี จูเนียร์ (Robert Downey Jr.) ในภาพยนตร์ Iron Man 2
หากมองชีวิตรักของมัสก์ หนุ่มใหญ่ชื่อก้องโลกเริ่มเดทกับนักแสดงสาวทาลูลาห์ ไรลีย์ (Talulah Riley) ปี 2008 ก่อนจะแต่งงานกันในปี 2010 ทั้งคู่หย่ากันในปี 2012 กระทั่งกรกฎาคม 2013 ทั้ง 2 กลับมาแต่งงานอีกครั้ง สุดท้ายในวันส่งท้ายปีเก่าธันวาคมปี 2014 มัสก์ยื่นคำร้องขอหย่า ก่อนจะยกเลิกคำร้องใน 7 เดือนต่อมา โดยมีนาคม 2016 สาว Riley เป็นฝ่ายขอหย่าเองและทุกอย่างก็จบลงในตุลาคมปีที่แล้ว
ปลายปี 2015 บริษัท SpaceX ได้รับสัญญาจ้างเพิ่มมากกว่า 24 ฉบับ ประสบความสำเร็จในการลงจอดยาน SpaceX Falcon 9 บนพื้นน้ำ ซึ่งเป็นจรวดที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ทั้งหมด ถึงตอนนี้ มัสก์ยังไม่หยุดไอเดียใหม่ เช่น ไฮเปอร์ลูป (Hyperloop Transportation Technologies) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงที่ผู้โดยสารสามารถเดินทางข้ามรัฐได้ผ่านท่อส่งพิเศษ จุดนี้ในทางทฤษฎี Hyperloop สามารถพาผู้โดยสารเดินทางจากลอสแองเจลิสถึงซานฟรานซิกโกในเวลา 30 นาที แต่ไอเดียนี้ มัสก์เปิดกว้างให้บริษัทอื่นนำแนวคิดไปสร้างได้อย่างเสรี
มัสก์ยังเปิดตัวบริษัทใหม่ The Boring Company ที่มีเป้าหมายน่าสนใจกว่าชื่อบริษัท ปีที่แล้วมัสก์ในนาม Boring Company เปิดเผยภาพเครือข่ายอุโมงค์ยักษ์ใต้ดินเพื่อการเดินทางด้วยความเร็วสูง จุดนี้มัสก์เปิดเผยเพียงว่าได้บอกเล่าแนวคิดกับรัฐบาลสหรัฐฯแล้ว ว่าหากสามารถขุดอุโมงค์เชื่อมระหว่างนิวยอร์กและวอชิงตัน ดี.ซี. ก็จะสามารถพัฒนา Hyperloop ขึ้นมาเชื่อมในเส้นทางนี้ได้
ยังมีกลุ่ม OpenAI ที่มัสก์ร่วมก่อตั้งเมื่อปี 2015 กลุ่มนี้เป็นองค์กรไม่หวังผลกำไรที่เน้นสนับสนุนงานวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ เพื่อให้มั่นใจว่าเทคโนโลยีนี้จะไม่ทำลายมนุษยชาติ
จุดนี้ทำให้มัสก์ถูกวิจารณ์ว่าขัดแย้งในตัวเอง เพราะตัวเขาออกมาประกาศความเสี่ยงของการพัฒนา AI แต่กลับโปรโมทระบบรถขับเคลื่อนตัวเองหรือ self-driving car capabilities ของ Tesla ในเวลาเดียวกัน
ไม่ว่าอย่างไร มัสก์ยังคงก้าวไปไม่หยุด โดยสนับสนุนให้ Tesla ซื้อบริษัท SolarCity สำเร็จเป็นเงิน 2.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ดีลนี้ทำให้มัสก์กลายเป็นเจ้าของชายคาที่ 2 บริษัทเทคโนโลยีเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาอยู่ร่วมกัน
สำหรับปีนี้ ปี 2017 ถือเป็นอีกปีที่”หิน”สำหรับมัสก์ โดยเฉพาะในบทบาทการเมือง มัสก์นั้นเข้าร่วมสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจของประธานาธิบดีทรัมป์ (President Trump) ซึ่งทำให้หลายคนไม่ปลื้ม ทรัมป์ให้เหตุผลว่าเขาจะสามารถใช้ความใกล้ชิดของเขากับทำเนียบขาวเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แต่สุดท้าย มัสก์ก็ลาออกหลังจากที่ทรัมป์ดึงสหรัฐฯออกจากข้อตกลงปารีสหรือ Paris Agreement ที่ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงหรือ climate change
ปีหน้า หากมีความเคลื่อนไหวใหม่ เราคงได้อัปเดทชีวิตของหนุ่มมัสก์กันต่อ.
]]>