อาหารสด – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 04 Feb 2022 11:38:18 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 คนไทยค่าครองชีพ-ต้นทุนสินค้าพุ่ง ttb ประเมิน ‘เงินเฟ้อ’ ไตรมาสแรกปีนี้ แตะสูงสุด 4% https://positioningmag.com/1372884 Fri, 04 Feb 2022 10:11:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1372884 ปัจจัยหลายอย่างยังคงส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั้งปีนี้ อยู่ในระดับสูง ก่อนจะเริ่มแผ่วลงช่วงปลายปี  ttb analytics ประเมินว่า เงินเฟ้อจะเร่งแตะสูงสุด 4% ไตรมาสแรก เฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 2% ประชาชนต้องเเบกรับภาระค่าครองชีพที่แพงขึ้น แรงกดดันราคาน้ำมัน-อาหารสดเเละต้นทุนการขนส่ง

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประเมินว่า แรงกดดันจากหมวดพลังงาน โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงยังเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เงินเฟ้อในปี 2565 ยังคงอยู่ในระดับสูง

โดยในช่วงปลายปี 2564 และต้นปี 2565 มีสภาพภูมิอากาศที่หนาวมากกว่าปกติ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัว ส่งผลให้ทั่วโลกมีปริมาณความต้องการเชื้อเพลิงเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

ขณะเดียวกันประเทศผู้ผลิตน้ำมันไม่สามารถปรับเพิ่มกำลังการผลิตได้เพียงพอกับความต้องการ จึงสร้างแรงกดดันเพิ่มเติมต่อราคาน้ำมันโดยเฉพาะในช่วงต้นปีนี้ แม้ไทยจะได้รับผลดีจากการที่รัฐบาลเข้าตรึงราคาเชื้อเพลิงบางประเภท แต่ไม่เพียงพอที่จะช่วยลดแรงกดดันด้านราคาที่เพิ่มขึ้นเร็ว

“ประเมินว่าหลังเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 ปี 2565 แรงกดดันด้านราคาพลังงานจะคลี่คลายลงบ้าง แต่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องไป จนกว่ากลุ่มผู้ผลิตน้ำมันจะสามารถบริหารจัดการทยอยเพิ่มกำลังการผลิตได้ตามเป้าหมายในช่วงไตรมาส 3 นี้” 

ต้นทุนอาหารสด-ขนส่งพุ่ง 

สำหรับต้นทุนหมวดอาหารสด มีการปรับเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลกที่แพงขึ้น ประกอบกับการเกิดโรคระบาดของสุกรในประเทศไทยในปัจจุบัน ทำให้ต้องใช้มาตรการจำกัดจำนวนการเลี้ยงเพื่อลดความเสี่ยง

ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตสุกรลดลงและราคาเนื้อสุกรในประเทศเพิ่มขึ้นสูง และมีผลกระทบทำให้ราคาเนื้อสัตว์ประเภทอื่น ๆ เช่น เนื้อไก่ เพิ่มขึ้นตามไปด้วย เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเวียดนามซึ่งเคยเกิดปัญหาโรคระบาดเดียวกันในสุกร จึงประเมินได้ว่า ไทยอาจยังต้องใช้ระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือนในการเพิ่มปริมาณการเลี้ยงสุกรและทยอยเพิ่มผลผลิตเข้าสู่ท้องตลาด เป็นสาเหตุทำให้แรงกดดันต่อราคาในหมวดอาหารสดจะคงยังลากยาวไปถึงสิ้นปี 2565

อย่างไรก็ดี แรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (เงินเฟ้อที่ไม่รวมหมวดอาหารสดและพลังงาน) จะแผ่วลงไปในช่วงต้นปี ตามการชะลอตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศ หลังเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนที่กำลังเร่งตัวทั้งในและต่างประเทศ แต่เนื่องจากเป็นเชื้อที่แพร่กระจายเร็วและไม่ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บป่วยรุนแรง จึงประเมินว่าผลกระทบนี้จะอยู่เพียงในไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 เท่านั้น ก่อนที่เศรษฐกิจภายในประเทศและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะทยอยกลับมาเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปจนถึงสิ้นปี

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยกดดันเงินเฟ้อเพิ่มเติมจากปัญหาการตึงตัวในภาคการผลิต (Supply bottleneck) ในบางหมวดอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าที่เชื่อมโยงกับผู้ผลิตในประเทศที่กำลังเกิดการแพร่ระบาดระลอกใหม่ โดยเฉพาะ ยุโรป สหรัฐฯ

หรือปัญหาในการปรับเพิ่มอัตราการจ้างงาน อาทิ สินค้ากลุ่มที่ต้องพี่งพาเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งเห็นผลกระทบได้สูงในปัจจุบัน ประกอบกับต้นทุนค่าขนส่งที่แพงจากปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ตกค้างตามท่าเรือ เนื่องจากระดับกิจกรรมท่าเรือและการจ้างงานในหลายประเทศที่ยังฟื้นตัวไม่เพียงพอรองรับการเร่งตัวของกิจกรรมส่งออก

จึงเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ราคาสินค้านำเข้าและต้นทุนของผู้ผลิตปรับเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย โดยกรณีของไทย ความสัมพันธ์ระหว่างราคาสินค้านำเข้าและราคาผู้ผลิตมีระดับสูงมาก (ค่าความสัมพันธ์อยู่ที่ 0.9)

ในเบื้องต้น ประเมินว่าปัญหาตึงตัวด้านกระบวนการผลิตในหลายสินค้าจะยังมีผลชัดเจนถึงช่วงไตรมาส 3 ขณะที่ปัญหาค่าขนส่งทางเรือที่แพงและได้ทยอยปรับลงมาแล้วนับตั้งแต่ปลายปี 2564 แต่คาดว่าจะใช้เวลานานกว่าจะกลับสู่ระดับราคาปกติได้ราวปลายปี 2567

ดังนั้น ปัญหาการตึงตัวในกระบวนการผลิตและต้นทุนขนส่งทางเรือจะสร้างแรงกดดันต่อราคาสินค้าของหมวดที่อยู่ทั้งในและนอกอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอย่างชัดเจนไปจนถึงไตรมาส 3 ก่อนจะเบาลงในช่วงปลายปี

อย่างไรก็ดี ประเมินว่าระดับการส่งผ่านต้นทุนของผู้ผลิตที่แพงขึ้นไปยังผู้บริโภคในประเทศจะทำได้เพียงบางส่วนเท่านั้น และเป็นลักษณะเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องด้วยกำลังซื้อและการจ้างงานในไทยโดยรวมยังคงเปราะบาง

Photo : Shutterstock

‘ปัจจัยเสี่ยง’ ต่อเงินเฟ้ออี่นๆ ที่ต้องจับตา

ปัจจัยกดดันด้านสูงจากฝั่งอุปทาน (cost-push) ทั้งหมดข้างต้น ประกอบกับเงินบาทที่อ่อนค่าลงจากปี 2564 ทำให้ ttb analytics ประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อของไทยจะเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.7 ไปจนถึงสิ้นไตรมาสที่ 3 ในปี 2565 นี้

โดยเร่งตัวสูงสุดในไตรมาสแรก และจะทยอยลดลงตลอดไปจนถึงปลายปี หลังปัจจัยต่างๆ ทยอยคลี่คลาย อัตราเงินเฟ้อทั่วไปทั้งปีจะเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.0 โดยปัจจัยเสี่ยงต่อเงินเฟ้อด้านสูงยังมีอยู่จากสาเหตุ ดังนี้

  • ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ อาทิ ความขัดแย้งรัศเซีย-ยูเครน ที่อาจทำให้ราคาพลังงานเร่งขึ้นกว่าระดับปัจจุบัน
  • ปัจจัยด้านภูมิอากาศและภัยธรรมชาติที่อาจส่งผลต่อการลดลงของปริมาณผลผลิตการเกษตร
  • ความยืดเยื้อของปัญหาคอขวดในกระบวนการผลิต โดยเฉพาะหากเกิดการแพร่ระบาดจากโรคโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ที่อาจรุนแรงจนทำให้กิจกรรมการผลิตต้องสะดุดลงและกระทบกับภาวะการจ้างงาน

ท่ามกลางภาวะที่เงินเฟ้อเร่งตัวเร็วโดยเฉพาะในช่วงแรกของปี 2565 นี้ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ประชาชนต้องปรับวิธีการใช้จ่ายให้เหมาะสม ในส่วนภาครัฐที่กำกับดูแลเศรษฐกิจ นอกจากการเร่งออกนโยบายลดต้นทุนค่าครองชีพทั้งการตรึงราคาเชื้อเพลิง และการให้ความช่วยเหลือผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐให้แก่ประชาชนแล้ว อาจเข้าไปช่วยจัดการแก้ไขปัญหาด้านปริมาณผลผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการในส่วนที่สามารถทำได้ภายในประเทศ เพื่อลดแรงกดดันจากเงินเฟ้ออีกทางหนึ่ง

 

]]>
1372884
CJ Supermarket ขยายกลุ่ม “อาหารสด” นำร่อง 5 สาขา รับพฤติกรรมซื้อสินค้าร้านใกล้บ้าน https://positioningmag.com/1351559 Mon, 13 Sep 2021 08:31:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1351559 ซีเจ ซูเปอร์มาร์เก็ต เดินหน้ารุกตลาด “อาหารสด” เต็มที่ นำเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ ผลไม้ตัดแต่งพร้อมทาน เข้ามาวางขายในร้าน ตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคยุคโควิด-19 นำร่องแล้ว 5 สาขา

ซีเจ ซูเปอร์มาร์เก็ต ภายใต้แบรนด์ ซีเจ มอร์ โดยการบริหารงานของ บริษัท ซี.เจ.เอ็กซ์เพรส กรุ๊ป จำกัด เดินหน้าขยายเข้าสู่ตลาด “อาหารสด” อย่างเต็มที่ โดยนำเนื้อสัตว์ และผัก ผลไม้ เข้ามาวางจำหน่ายในร้าน เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภค

โดยเฉพาะในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่รุนแรงมากขึ้น ซึ่งทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าจำเป็นเปลี่ยนไป โดยเน้นร้านค้าใกล้บ้าน ที่มีสินค้าให้เลือกซื้อได้อย่างครบครันในที่เดียว เพื่อความสะดวก และลดการเดินทางในสถานการณ์การแพร่ระบาด

ปัจจุบันนำร่องเปิดตัวแบบครบวงจรแล้ว 5 สาขา คือ ซีเจ ซูเปอร์มาร์เก็ต สาขาไทยรามัญ จ.กรุงเทพฯ, ซีเจ ซูเปอร์มาร์เก็ต สาขาพฤกษา 74 จ.สมุทรปราการ, ซีเจ ซูเปอร์มาร์เก็ต สาขาหมู่บ้านคณาทรัพย์ จ.กรุงเทพฯ, ซีเจ ซูเปอร์มาร์เก็ต สาขาจอมทอง 13 จ.กรุงเทพฯ และซีเจ มอร์ สาขาในคลองบางปลากด สุขสวัสดิ์ 76 จ.สมุทรปราการ

นอกจาก 5 สาขาที่มีการเปิดตัวแบบครบวงจรแล้ว ปัจจุบันได้มีการนำเนื้อสัตว์ ผักสด และ ผลไม้สด พร้อมสำหรับประกอบอาหาร เข้าไปวางจำหน่ายในร้านซีเจ ซูเปอร์มาร์เก็ต อีก 25 สาขา และเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคอย่างครบครัน ซีเจยังมีสินค้าอาหารพร้อมทานปรุงสำเร็จวางจำหน่ายแล้วอีกกว่า 340 สาขา อีกทั้งยังมีอาหารแช่แข็งวางจำหน่ายทุกสาขาเพื่อให้ผู้บริโภค

สำหรับ ซีเจ ซูเปอร์มาร์เก็ต เป็นค้าปลีกในรูปแบบใหม่ ภายใต้แบรนด์ ซีเจ มอร์ ปัจจุบันมีสาขาเปิดให้บริการแล้วกว่า 700 สาขา ใน 29 จังหวัด นอกจากซีเจ ซูเปอร์มาร์เก็ตแล้ว ยังมีร้านค้าแบรนด์อื่นๆ ภายในเครือ ได้แก่ ร้านนายน์ บิวตี้ (Nine Beauty) เครื่องสำอาง และความงามมัลติแบรนด์, ร้านบาว คาเฟ่ (Bao Cafe) ร้านกาแฟสดใกล้บ้าน, ร้านอูโนะ (UNO) สินค้าไลฟ์สไตล์ แฟชั่น, ร้านเอ-โฮม (A-Home) สินค้าสำหรับคนรักบ้าน และร้านเพ็ทฮับ (PET HUB) ร้านขายอาหารและอุปกรณ์เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงครบวงจร

]]>
1351559
“ประสบการณ์ช้อปปิ้ง-อาหารสด” จุดเปลี่ยนเกมค้าปลีกแข่งแย่งลูกค้า “กูร์เมต์ มาร์เก็ต” ออกหมัด Fresh First ที่แรกที่เดียว หวังเอาลูกค้าให้อยู่หมัด https://positioningmag.com/1167942 Wed, 02 May 2018 00:08:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1167942 3-4 ปีก่อน หากสำรวจความต้องการผู้บริโภคในการซื้อสินค้าผ่านซูเปอร์มาร์เก็ต จะพบว่า “ความสะดวก” ยังคงเป็นที่ 1 มาโดยตลอด จะช้อปอะไร หากตอบโจทย์ความสะดวกได้ ก็ได้ใจผู้บริโภคไปเปลาะหนึ่ง ถัดมาคือ

“ราคา” เจ้าไหน แบรนด์ไหนมีของดีราคาถูก คนก็จะแห่แหนไปยังร้านนั้นๆ ตามด้วย “โปรโมชั่น” ซึ่งเป็นตัวแปรที่ปรับขึ้นลงกับเรื่องราคา เพราะการจัดโปรโมชั่น หมายถึงการได้สินค้าในราคาที่ลด แลก แจก หรือแถมแน่ๆ ส่วน “ประสบการณ์” ช้อปปิ้ง มาเป็นอันดับ 4 นั่นคือภาพพฤติกรรมผู้บริโภคเดิมๆ แต่ปัจจุบัน “ประสบการณ์” กลายเป็น Factor สำคัญที่ผู้บริโภคตัดสินใจว่าจะไปช้อปปิ้งที่ไหน

“ปัจจุบันผู้บริโภคกังวลเรื่องราคาน้อยลง เพราะเชื่อว่าราคาสินค้าทุกที่ไม่ต่างกัน ดังนั้นสิ่งที่อยากเจอในการช้อปปิ้งที่ซูเปอร์มาร์เก็ตจึงเป็นสิ่งแปลกใหม่ ที่ไม่เจอมาก่อน ทำให้ผู้ประกอบการต้องแข่งขันด้วยไอเดียใหม่ๆ เพื่อเพิ่มประสบการณ์การช้อปปิ้ง” “บุญชัย ปลื้มสืบกุล” ผู้จัดการใหญ่บริหารสินค้าซูเปอร์มาร์เก็ต บ.เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด กล่าว

ขณะที่สินค้าหมวดที่สร้าง “ประสบการณ์ช้อปปิ้ง” ยุคนี้ยังต้องแตกต่างกันด้วย เพราะถ้าเหมือนกันทุกที่ ผู้บริโภคก็เข้าห้างร้านไหนก็ได้ จึงเห็นผู้ประกอบการไม่แค่ซูเปอร์มาร์เก็ต แต่เป็น “ค้าปลีก” เกือบทุกฟอร์แมต ที่หันมาให้น้ำหนักอาหารสด ของกิน กันถ้วนหน้า แทบทุกแบรนด์ ตั้งแต่ไฮเปอร์มาร์เก็ตอย่าง “บิ๊กซี-เทสโก้ โลตัส” ร้านสะดวกซื้อ “เซเว่น อีเลฟเว่น-แฟมิลี่มาร์ท-ลอว์สัน108” ซูเปอร์มาร์เก็ตทั้ง “กูร์เมต์ มาร์เก็ต-ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต”

นายบุญชัย ปลื้มสืบกุล ผู้จัดการใหญ่บริหารสินค้าซูเปอร์มาร์เก็ต The Mall

ยิ่งมาโฟกัสซูเปอร์มาร์เก็ต “บุญชัย” ย้ำเลยว่า ถ้าลูกค้าเดินมาที่ร้าน สิ่งแรกทีนึกถึงอันดับแรกคือ “อาหารสด” กลยุทธ์ของกูร์เมต์ มาร์เก็ตจึงต้องหาสินค้าไฮไลต์ วัตถุดิบที่ขาย “Exclusive” ที่นี่ที่เดียว มาเป็นแม่เหล็กดึงดูดคนเข้าร้านมากที่สุด

จะเห็นว่าปัจจุบันพื้นที่โปรโมชั่น 30-40 ตารางเมตร (ตร.ม.) ของกูร์เมต์ มาร์เก็ต สาขาสยามพารากอน จะมีสินค้าอาหารสด “ไฮไลต์” มาสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนขายทุกๆ 15 วัน ล่าสุด เป็นคิวของ “อาหารทะเล” ซึ่งสภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์หนึ่งในผู้ส่งออกอาหารทะเลรายใหญ่ของโลก จับมือกับบริษัท ธรรมชาติ ซีฟู้ด รีเทล จำกัด ผู้บริหารเคาน์เตอร์อาหารทะเลรายใหญ่ของไทยจัดมหกรรมอาหารทะเล “The Incredible Flavours of Norway” และตราสัญลักษณ์อาหารทะเลนอร์เวย์ : SEAFOOD FROM NORWAY เอาใจคนรักซีฟู้ด

ปลาแซลมอนจากนอร์เวย์

ก่อนหน้านี้ มีการนำทั้งผลไม้เกาหลี จาก “วัชมนฟู้ด” มาจำหน่ายเป็น Exclusive มีอาหารทะเลจากออสเตรเลียเข้ามาขาย เป็นต้น

ปัจจุบันสินค้าอาหารสดมีสัดส่วนยอดขาย 40% และเป็นสินค้า Grocery อื่นๆ สัดส่วน 60% แต่ถ้าเทียบอัตราการเติบโต อาหารสดโตแรงกว่า

“สินค้า Grocery หาซื้อที่ไหนก็ได้ เหมือนกันหมด แต่ของสดทั้งอาหาร ผลไม้ เบเกอรี่ ช้อปคีออสอาหารญี่ปุ่น ที่นั่งทานได้ จะเป็นตัวที่สร้างความแตกต่างได้ ซึ่งเกณฑ์การเลือกสินค้ามาจัดบริเวณพื้นที่โปรโมชั่น จึงต้องเอ็กซ์คลูซีฟ ขายที่นี่ที่เดียว เราเลือก Fresh First หาที่ซื้ออื่นไม่ได้เพื่อดึงให้ลูกค้ามาจับจ่ายใช้สอย”

บุญชัย ย้ำ อีกการขยับตัวของรีเทล นอกจากโฟกัสขายของกิน อาหารสดแล้ว การเปิด “โซนบริการปรุงอาหารสด” ยังมาแรง เพราะได้เห็นทั้งเทสโก้ โลตัส ที่ใช้ชื่อ “You Shop We Cook” ส่วน กูร์เมต์ ใช้ “You Hunt We Cook” นี่เป็นอีกหนึ่งประสบการณ์ที่ห้างพยายามนำมาเสนอลูกค้าให้ได้สัมผัสสิ่งแปลกใหม่กว่าเดิม

ส่วนทิศทางการขยายสาขา แน่นอนว่า “ฟอร์แมต” ใหม่ๆ เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการซูเปอร์มาร์เก็ต พยายามจะขยาย อย่างกลุ่มท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต มีทั้งหมด 4 รูปแบบ ส่วน “กูร์เมต์ มาร์เก็ต” มีประมาณ 3 รูปแบบ คือเปิดในห้างค้าปลีกของเครือเดอะมอลล์ สาขานอกห้างในเครือ เช่น กูร์เมต์ มาร์เก็ต เทอร์มินอล 21, ห้างพรอมมานาด และ เดอะ คริสตัล เอสบี ราชพฤกษ์ เป็นต้น และ “กูร์เมต์ ทูโก” (Gourmet TO-GO) ซึ่งปัจจุบันมี 2 สาขา ที่ MRT ลาดพร้าว และเพชรบุรี ซึ่งยังเป็นสาขาที่ทดลง (Trial) เปิด โดยสินค้าที่จำหน่ายมีกลิ่นอายสะดวกซื้อ แต่พรีเมียมกว่า  

กลุ่มเดอะมอลล์ มีการขยายห้างค้าปลีกอย่างระมัดระวัง (Consernvative) และยังมีสาขาน้อย หากกูร์เมต์ มาร์เก็ตรอแค่ให้บริษัทแม่ลุยลงทุนเปิดห้างเอง ย่อมทำให้เจาะกลุ่มเป้าหมาย “สปีด” ไม่ทันคู่แข่งที่เปิดโครมๆ นอกจากนี้ ยังต้องจับตาการเปิดฟอร์แมตใหม่ๆ ในโครงการ “ดิเอ็มสเฟียร์” และ “แบงค็อกมอลล์” ด้วย

รีเทลจะต้องหาฟอร์แมตใหม่ มาสร้างประสบการณ์ช้อปให้กับลูกค้ามากขึ้น ต้องไม่ยึดติดกับฟอร์แมตเดิมๆ 

สำหรับภาพรวมยอดขายกูร์เมต์ มาร์เก็ต ไตรมาสแรก ยังคงขยายตัวได้ดี ขณะที่ยอดซื้อสินค้าต่อบิลเฉลี่ย 400 บาท สำหรับสาขาหรูใจกลางกรุงอย่างสยามพารากอน ส่วนสาขารอบนอกยอดซื้อต่อบิลฉลี่ย 300-400 บาท หรือต่างกันราว 20-30% นั่นเอง  

ปัจจุบันซูเปอร์มาร์เก็ต เป็นหนึ่งในรีเทลที่เติบโตสูง เพราะผู้บริโภคเน้นซื้อของกิน ของสด และของใช้ เช่นเดียวกับร้านสะดวกซื้อโตพุ่ง เพราะการขยายสาขาแต่ละปีทุกรายรวมกันมากถึงหลายร้อยสาขา อีกทั้งผู้บริโภครักความสะดวกสบาย สาขาเล็กใกล้บ้าน บริการครบ จึงตอบโจทย์ดังกล่าวอย่างดี ส่วนไฮเปอร์มาร์เก็ตเริ่มเอ็นจอยการแห่มาช้อปลดลง.

]]>
1167942
ช้อปออนไลน์ยังโตเร็วและแรง! เปิดกรณีศึกษา “เทสโก้ โลตัส” เจาะ Insight ขายอาหารสดผ่านหน้าจอมือถือ https://positioningmag.com/1165905 Mon, 16 Apr 2018 23:15:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1165905 ปฏิเสธไม่ได้ว่า “ช้อปปิ้งออนไลน์” ยังเป็นเทรนด์ที่มีการเติบโตต่อเนื่อง โดย 5 ปีที่ผ่านมา ตลาดอีคอมเมิร์ซเป็นขาขึ้นแล้ว แนวโน้มในอนาคตอีก 5 ปี เป็นขาขึ้นยิ่งกว่าเดิม ปัจจัยหนุนการโตมีหลายส่วน ทั้งผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาเติมตลาดอยู่เรื่อยๆ จากมีลาซาด้า ก็มีช้อปปี้ อีเลฟเว่นสตรีท และเร็วๆ นี้จะได้เห็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของ “เจดี ดอทคอม” ที่ร่วมทุนกับบิ๊กค้าปลีก “เซ็นทรัล” มีหน้าร้านออนไลน์เป็นของตัวเอง และที่น่าจับตาคือการมาของยักษ์อีคอมเมิร์ซระดับโลก “Amazon” เพราะเวลานี้ปักหมุดในตลาดสิงคโปร์เรียบร้อยแล้ว 

อีกส่วนที่โตมากจากฝั่งผู้บริโภค โดย “จิติรัตน์ สุพรจิรพัฒน์”. Head of FAST Mindshare Thailand บอกว่า ในปี 2560 ผู้บริโภคมีการค้นหาสินค้าผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซโตเร็วและสูงขึ้น โดยแพลตฟอร์มของลาซาด้ามาแรงสุด ยิ่งช่วงที่จัดแคมเปญศึกวันคนโสด ยอดค้นหาพุ่งปรี๊ดทำ New High สุดๆ

กราฟช้อปปิ้งออนไลน์พุ่งปรี๊ด!

แต่พอช้อปปี้เข้ามายอดการค้นหาสินค้าออนไลน์แพลตฟอร์มดังกล่าวก็ไม่เป็นรองใคร นี่เป็นภาพสะท้อนพฤติกรรมผู้บริโภคในการซื้อสินค้าผ่านหน้าจอด้วยปลายนิ้วมาแรง

ปัจจุบันแพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์ มี 3 รูปแบบ ได้แก่ Market Place เช่น ลาซาด้า, อีเลฟเว่นสตรีท, หน้าร้านออนไลน์ของผู้ประกอบการค้าปลีกที่ขยายช่องทางขายเพิ่มจากออฟไลน์ เช่น เซ็นทรัล เดอะมอลล์ บิ๊กซี เทสโก้ โลตัสฯ และแบรนด์ลุกขึ้นมาทำเว็บไซต์หน้าร้านออนไลน์ของตัวเอง เช่น เครื่องสำอาง MAC SAMSUNG NIKE เป็นต้น

อีคอมเมิร์ซของผู้เล่นต่างๆ ในตลาด

สิ่งที่การันตีว่าขายออนไลน์โตวันโตคืนเทสโก้ โลตัสเป็นกรณีศึกษาที่ดี เพราะนับตั้งแต่ปี 2555 ที่บิ๊กค้าปลีกรายนี้บุกหนักออนไลน์ ยอดขายโตไม่ต่ำกว่า 2 หลักต่อเนื่อง

หากเทียบรีเทลด้วยกันการขายออนไลน์ส่วนใหญ่ยังโฟกัสสินค้าอุปโภคบริโภค (FMCG) ซึ่งในเชิงสินค้าเหมือนกันหมด ต่างกันที่ราคาเป็นหลัก แต่เทสโก้เลือกฉีกออกไป เน้นขาย อาหารสดมาครบทั้งหมู เห็ด เป็ด ไก่ ผัก ผลไม้ ซึ่งสอดคล้องกับหน้าร้านออฟไลน์ ที่เทสโก้ให้น้ำหนักกับสินค้าอาหารสดมากขึ้นตลอด 3 ปีที่ผ่านมา มีการใช้เงินหมื่นล้านยกเครื่องหมวดอาหารสดตั้งแต่การผลิต การจัดเก็บ ขนส่งและจัดจำหน่ายไปถึงปลายทางผู้บริโภค แต่แค่นั้นไม่พอ เพราะยังปรับแผนอาหารสดนำร่องที่ โทโก้ โลตัส สุขุมวิท 50 ช่องทางขายออฟไลน์ให้เป็นหมวดหมู่และดูดีน่าช้อปกว่าเดิม

กลยุทธ์ราคาเป็นหมัดเด็ดที่ฮุกคู่ต่อสู้ ทำให้พืชผักของสดที่เทสโก้ต่ำกว่าอาหารสดในซูเปอร์มาร์เก็ตอื่นๆ 20-25%    

ยุทธนา จิตจรุงพร รองประธานกรรมการบริหารฝ่ายธุรกิจออนไลน์ เทสโก้ โลตัส บอกว่า จากการสำรวจความต้องการผู้บริโภคเชิงลึก (Insight) พบว่า “อาหารสด” เป็นที่ต้องการอย่างมาก เพราะเป็นของที่ผู้บริโภคต้องกินทุกวัน ทำให้บริษัทโฟกัสสินค้ากลุ่มนี้ สวนทางกับรีเทลรายอื่นเน้นขายสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นหลัก

เมื่อการขายสินค้าอาหารสดโต นอกจากจุดขายสินค้าที่มีมากมายหลายรายการ เทสโก้ฯ มีรถห้องเย็นช่วยรักษาอุณหภูมิคุมคุณภาพอาหารไปจนถึงมือผู้รับด้วย เพราะของสดถ้าถึงปลายทางแล้วไม่สดย่อมทำให้ผู้บริโภคไม่ซื้อซ้ำอีก 

ด้านโลจิสติกส์ หรือการส่งสินค้าเป็นหัวใจสำคัญมากของอีคอมเมิร์ซ ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคไม่ต้องการรอนานแล้ว เทสโก้ฯ จึงวางสล็อตเวลาต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้รับ เช่นช่วงที่คนช้อปและต้องการให้ส่งสินค้ามากสุดจะเป็น 2 สล็อตคือ 10.00-12.00 . 14.00-16.00 . เวลาที่เหลือผู้บริโภคสามารถนำไปทำอย่างอื่นได้ โดยไม่ต้องมานั่งรอทั้งวันเพื่อรับสินค้า   

สำหรับการขายสินค้าผ่านอีคอมเมิร์ซของเทสโก้ฯ ด้านราคาและโปรโมชั่นไม่ต่างกับหน้าร้าน แต่ปริมาณสินค้า 2 ช่องทางยังต่างกันพอสมควร โดยหน้าร้านออฟไลน์มีสินค้านับเสนรายการ แต่ออนไลน์มีประมาณ 20,000 รายการเท่านั้น

พฤติกรรมที่น่าสนใจในการช้อปออนไลน์ของลูกค้าเทสโก้ฯ ปัจจุบันพบว่าผู้บริโภคต่างจังหวัดหันมาซื้อสินค้าผ่านช่องทางดังกล่าวมากขึ้น ความถี่เฉลี่ย 7-8 สัปดาห์ต่อครั้ง ขณะที่กรุงเทพฯ เฉลี่ยช้อป 6-7 สัปดาห์ต่อครั้ง ส่วนยอดซื้อต่อบิลของภูธรยังต่างจากคนกรุงเทพฯ 30-40% โดยสินค้าที่คนกรุงชอบซื้อส่วนใหญ่จะเป็นของหนักเช่นน้ำดื่มเป็นต้น

คนในกรุงเทพฯ ซื้อของออนไลน์เยอะกว่าคนต่างจังหวัด และการซื้อแต่ละครั้งเป็นบิลที่ใหญ่กว่าช่องทางออฟไลน์ 4 เท่าตัว เพราะเป็นการซื้อของเข้าบ้านทีเดียว คนกรุงยังชอบซื้อสินค้าที่หนัก เพราะไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตอยู่คอนโด ทำให้ต้องการความสะดวกสบายมากขึ้น มีคนมาส่งของ

นอกจากนี้ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่อยู่กับมือถือตลอดเวลา ทำให้พบว่าการสั่งซื้อสินค้าส่วนใหญ่จะผ่านแอปพลิเคชั่นมือถือมาก 4-5 เท่าและคนหนีจากช้อปหน้าจอคอมพิวเตอร์มากขึ้น และนอกจากช่องทางของแบรนด์เองเทสโก้ฯ ยังมีสินค้าขายผ่านมาร์เก็ตเพลสอื่นๆ ด้วย เช่นลาซาด้า

จะเห็นว่าการโตของเทสโก้ฯ เกิดจากความพร้อมด้านเทคโนโลยีช้อปปิ้งออนไลน์รองรับนักช้อปได้หลายอุปกรณ์ ช่องทางหลากหลาย และมีสินค้าที่ตอบโจทย์ผู้บริโภค.

]]>
1165905