“ณัฏฐกิตติ์ ศิริรัตน์” หัวหน้าสายงานการตลาด บมจ.เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยกลยุทธ์การตลาดของ SC Asset ปี 2567 ว่า ปีนี้ต้องใช้กลยุทธ์ที่ต่างออกไปหลังจากสถานการณ์ลูกค้าเข้าเยี่ยมชมโครงการ (Site Visit) น้อยลงกว่าปกติ 20% เนื่องจากลูกค้าบางส่วนลังเลที่จะตัดสินใจซื้อบ้านท่ามกลางเศรษฐกิจผันผวน จึงเลือกที่จะไม่เข้ามาชมไซต์
เมื่อเป็นเช่นนี้ทำให้ทางบริษัทต้องหาทางจูงใจ ด้วยการเปิดแคมเปญ “SC Asset Mart” เดินสาย “ออกบูธ” ตามศูนย์การค้าเพื่อเปิดโอกาสให้ลูกค้าที่กำลังมีแผนจะซื้อบ้านลองแวะมาดูโครงการที่อาจจะสนใจก่อน
รวมถึงภายในบูธจะใช้กลยุทธ์ด้าน “ราคา” จูงใจ คัดแปลงพิเศษทำราคาลดสูงสุด 30% ลดเลยไม่ต้องรอโปรโมชันปลายปี เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจจองล็อกราคา ก่อนจะเข้าเยี่ยมชมไซต์โครงการเพื่อทำสัญญาอีกครั้ง
แคมเปญนี้เริ่มจัดครั้งแรกที่ “เซ็นทรัล ลาดพร้าว” เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคมที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบัน SC Asset เดินสายออกบูธไปแล้ว 4 ครั้ง กวาดยอดขายรวม 3,620 ล้านบาท
หลังจากนี้จะมีการจัดบูธอีก 6 ครั้ง แบ่งเป็นภายในไตรมาส 3 ได้แก่ เซ็นทรัล เวสต์เกต, เอ็มสเฟียร์ และ ไอคอนสยาม ส่วนในไตรมาส 4 จะมีอีก 3 ครั้ง ได้แก่ ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต, ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และ สยามพารากอน
“ปกติเราออกบูธแบบนี้มากที่สุดไม่เกิน 4 ครั้งต่อปี ปีนี้จัดเต็มมากที่จัดถึง 10 ครั้ง” ณัฏฐกิตติ์กล่าว “แน่นอนว่ายอดจองในงานก็อาจจะมี 30-40% ที่ไม่ทำสัญญาจริง มีการเปลี่ยนใจทีหลังหลังจากมาชมไซต์อาจจะยังไม่ถูกใจ แต่ยอดขายที่ได้โอนจริงก็ถือว่าน่าพอใจ ดีกว่าไม่ออกบูธที่อาจจะทำให้เราไม่ถึงเป้าได้”
ด้าน “มงกุฎ เตโชฬาร” หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านพัฒนาทรัพย์สินแนวราบ บมจ.เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยถึงแผนการเปิดตัวโครงการแนวราบของ SC Asset ในปี 2567 ว่า ช่วงครึ่งปีแรกบริษัทมีการเปิดตัวไปแล้ว 9 โครงการ มูลค่ารวม 18,450 ล้านบาท
ส่วนในครึ่งปีหลัง บริษัทจะมีการเปิดตัวอีก 6 โครงการ มูลค่ารวม 8,000 ล้านบาท ทำให้การเปิดตัวกลุ่มโครงการแนวราบของบริษัทครบ 15 โครงการ มูลค่ารวม 26,000 กว่าล้านบาท ตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ในช่วงต้นปี
สำหรับ 6 โครงการแนวราบที่จะเปิดตัวในช่วงครึ่งปีหลังของ SC Asset ได้แก่
ณัฏฐกิตติ์กล่าวต่อว่า เป้าหมายยอดขายแนวราบของ SC Asset ยังคงเป้าที่ 18,000 ล้านบาท ไม่ได้ปรับลด เนื่องจากการเปิดขายโครงการใหม่ยังทำยอดได้ตามเป้า โดยเฉพาะกลุ่มบ้านราคา 10 ล้านบาทขึ้นไปตลาดยังไปได้พอสมควร และเป็นเซ็กเมนต์ที่บริษัทมีฐานลูกค้าที่ชื่นชอบแบรนด์และสไตล์การออกแบบ ทำให้มีการซื้อซ้ำและบอกต่อ
อย่างไรก็ตาม ปีนี้ตลาดบ้านราคา 10 ล้านบาทขึ้นไปของ SC Asset ก็ได้รับผลกระทบจากความเข้มงวดในการให้กู้สินเชื่อบ้านของธนาคารเช่นกัน เพราะเมื่อปี 2566 อัตราปฏิเสธสินเชื่อ (Reject Rate) ของลูกค้ากลุ่มนี้จะอยู่ที่ 7-8% เท่านั้น แต่ปี 2567 ขยับขึ้นมาเป็น 10-14% แล้ว ขณะที่กลุ่มบ้านราคาไม่เกิน 10 ล้านบาทก็ยังถูกปฏิเสธสินเชื่อทรงตัวที่ 19% เท่ากับปีก่อน ทำให้ภาพรวมบริษัทจะต้องหายอดจองให้ได้มากขึ้นเพื่อชดเชยกับลูกค้าบางส่วนที่อาจจะกู้ไม่ผ่าน
ณัฏฐกิตติ์กล่าวปิดท้ายว่า สำหรับตลาดแนวราบในปี 2568 เชื่อว่าการเปิดซัพพลายใหม่ในตลาดโดยเฉพาะกลุ่มบ้านหรูน่าจะเริ่มลดลง เพราะปีนี้ถือว่าหลายบริษัทหันมาเข้าตลาดเซ็กเมนต์นี้กันหมดแล้ว ปีหน้าจึงอาจจะเห็นภาพการชะลอตัวได้
]]>ดร.ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานการตลาด บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา (CPN) เปิดเผยสถานการณ์บริษัท ณ สิ้น Q3/63 ทราฟฟิกลูกค้าเข้าศูนย์การค้าเฉลี่ยทั่วประเทศ (ไม่รวมศูนย์ฯ ในจุดท่องเที่ยว 4 แห่ง ได้แก่ เซ็นทรัลเวิลด์, เกาะสมุย, พัทยา, ภูเก็ต) กลับมาแตะ 85% ของช่วงเดียวกันปีก่อน และมีบางสาขาที่ทราฟฟิกกลับมาถึง 90-100% แล้วคือ มหาชัย, ชลบุรี และระยอง
ที่ผ่านมา CPN มีการจัดโปรโมชันและอีเวนต์เพื่อดึงลูกค้ามาตลอดตั้งแต่ภาครัฐอนุญาตให้ศูนย์ฯ เปิดบริการอีกครั้ง
แม้ว่าจะมีการลดงบการตลาดปี 63 จาก 1,000 ล้านบาทเหลือ 600 ล้านบาทก็ตาม แต่ได้บริหารการใช้งบให้มีประสิทธิภาพ ผ่านการจัดอีเวนต์เล็กแต่ตรงเป้าเฉพาะกลุ่ม เช่น กลุ่มครอบครัวและเด็ก กลุ่มสัตว์เลี้ยง กลุ่มคน ‘Young Old’ กลุ่มคอสเพลเยอร์ เป็นต้น
สำหรับช่วง Q4/63 นั้นปกติจะเป็น “หน้าขาย” ของศูนย์การค้าอยู่แล้ว เพราะเป็นเทศกาลช้อปปิ้งของขวัญ ทำให้บริษัทจะอัดงบการตลาดเฉพาะช่วงนี้ 400 ล้านบาท จัดทั้งอีเวนต์ โปรโมชัน และมุมถ่ายรูปรับเทศกาลคริสต์มาส-ปีใหม่ โดยปีนี้มาในแคมเปญ “The Magical Lights 2021” มหัศจรรย์แสงแห่งความสุข ที่ศูนย์การค้าทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ
ข้ามช็อตไปที่ช่วงเดือนธันวาคมจนถึงเคานต์ดาวน์ปีใหม่ก่อน เมื่อปี 2562 นั้น CPN แจ้งข่าวช็อกวงการคนชอบดื่มไปแล้วนั่นคือ การยกเลิกลานเบียร์เซ็นทรัลเวิลด์ ทำให้ทั้งลานกลายเป็นจุดถ่ายรูปและงานคอนเสิร์ตส่งท้ายปีแทน
สำหรับปีนี้นั้น ดร.ณัฐกิตติ์คอนเฟิร์มว่าจะ “ไม่มีลานเบียร์” แน่นอน เช่นเดียวกับปีที่แล้ว แต่กิจกรรมจะมีอะไรบ้างต้องรอติดตามชม โดยแย้มว่าจะเป็นงาน “รูปแบบใหม่” จัดกิจกรรมเคานต์ดาวน์ในศูนย์ฯ 8 สาขา คือ เซ็นทรัลด์เวิลด์, เซ็นทรัล เวสต์เกต, ศาลายา, พัทยา บีช, พิษณุโลก, โคราช, หาดใหญ่ และเซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่
ส่วนสิ่งที่มีแน่ๆ กับงานเฉลิมฉลองส่งท้ายปีกับ CPN คือสารพัดมุมถ่ายรูป ด้านหน้าศูนย์ฯ ทุกแห่ง ประกอบด้วย 5 แลนด์มาร์ก คือ อุโมงค์ต้นไม้มหัศจรรย์, สายรุ้งดวงดาว, สวนลอยแห่งดวงดาว, น้ำตกสรวงสวรรค์ และโถงทางเดินศักดิ์สิทธิ์ และพิเศษเฉพาะที่เซ็นทรัลเวิลด์ จะมีต้นคริสต์มาสขนาดยักษ์เช่นเคย รวมถึงทุ่งดอกไม้ไฟประดับขนาดใหญ่ให้ถ่ายรูปกันอย่างจุใจ
นอกจากมีกิจกรรมออฟไลน์แล้ว ยังเสริมด้วยกิจกรรมออนไลน์ที่จะปล่อยคอลเลกชันสติกเกอร์ LINE จากฝีมือศิลปินไทย “Painterbell” ต้อนรับคริสต์มาสและปีใหม่โดยเฉพาะ
ดร.ณัฐกิตติ์กล่าวว่า ด้านงานอีเวนต์ของปีนี้ จะยังคงคอนเซ็ปต์เน้นจัดอีเวนต์เล็กแต่ดึงคนเฉพาะกลุ่ม มากกว่าอีเวนต์ขนาดใหญ่ที่เน้นทราฟฟิกมาก เพราะอีเวนต์เล็กที่ตรงเป้านั้นมองว่ามีประสิทธิภาพกว่า และประหยัดงบกว่าด้วย
“ปีนี้ต้องเน้นมาแล้วซื้อของจริงและมาได้บ่อยๆ หรืออยู่ได้นาน มากกว่าอีเวนต์ใหญ่ที่ทราฟฟิกมามากๆ อีเวนต์ปีนี้ต้องเน้นคุณภาพลูกค้า เช่น เซ็นทรัลอีสต์วิลล์ จะมีจัดงานสัตว์เลี้ยงทุกสัปดาห์ ก็จะได้ลูกค้ากลุ่มนี้ที่มาได้ทุกเสาร์-อาทิตย์” ดร.ณัฐกิตติ์กล่าว
ดังนั้น ช่วงไตรมาสสุดท้ายจะได้เห็น CPN จัดอีเวนต์ย่อยกว่า 1,000 งานในศูนย์ฯ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะศูนย์ฯ ในแหล่งท่องเที่ยวจะใช้อีเวนต์เป็นตัวนำ ดึงลูกค้าคนไทยให้เข้ามาแทนต่างชาติ
ปัจจุบันมีศูนย์ฯ 4 แห่งที่อยู่ในแหล่งท่องเที่ยวและได้รับผลกระทบหนักที่สุด มีทราฟฟิกลดเหลือ 50-70% จากปกติ คือ เซ็นทรัลเวิลด์, เกาะสมุย, พัทยา และภูเก็ต สำหรับเซ็นทรัลเวิลด์นั้นแม้จะอยู่กลางเขตออฟฟิศ แต่ขณะนี้หลายออฟฟิศยังให้พนักงานสลับทำงานจากบ้าน จึงมีคนเข้าศูนย์ฯ น้อยลงโดยปริยาย
ปิดท้ายสิ่งสำคัญของการจัดกิจกรรมคือดึงลูกค้าให้มาช้อปที่ศูนย์ฯ ทำให้ต้องจัดสารพัด “โปรโมชัน” ตลอดช่วงโค้งท้ายปีถึงปีใหม่ โดยจะมีแคมเปญใหญ่ 4 รอบ คือ
นอกจากจะมีโปรฯ ลดแลกแจกแถมของร้านค้าเอง แคมเปญร่วมกับบัตรเครดิตต่างๆ และยังมีแคมเปญภาครัฐ “ช้อปดีมีคืน” มา Top Up เข้าไปอีก ปีนี้ยังพิเศษที่ CPN จับมือกับหน่วยธุรกิจดิจิทัลในเครือ คือ The 1, Dolfin และ Grab เข้ามาเสริมซึ่งกันและกันด้วย
โดยลูกค้าที่เป็นสมาชิกแอปฯ The 1 เมื่อเปิดใช้ Dolfin จะได้รับเงินเข้าวอลเล็ตทันที 100 บาท และเมื่อใช้จ่ายผ่าน Dolfin ครบตามมูลค่าที่กำหนด จะได้คูปองคืนในวอลเล็ต สูงสุดที่ 5,000 บาท
ส่วนโปรฯ กับ Grab จะช่วยอำนวยความสะดวกลูกค้าให้ไป-กลับศูนย์ฯ เซ็นทรัลทุกแห่งง่ายขึ้น ผ่านโค้ดพิเศษระหว่างวันที่ 14 ธ.ค. 63 – 10 ม.ค. 64 ผู้ใช้เก่าลดสูงสุด 80 บาทต่อครั้ง และผู้ใช้ใหม่ลดสูงสุด 40 บาทต่อครั้ง
ฐานผู้ใช้ active users ของ Dolfin ปัจจุบันมีมากกว่า 2 ล้านคน เมื่อศูนย์ฯ จัดโปรฯ เร่งการใช้งานน่าจะช่วยทั้งดึงลูกค้ากลุ่มนี้เข้ามาช้อป และทำให้ลูกค้าที่ยังไม่ได้ดาวน์โหลด Dolfin สนใจใช้งานเพิ่มขึ้นด้วย
ดร.ณัฐกิตต์กล่าวว่า คาดหวังว่ากระแสการช้อปปิ้งไตรมาส 4 น่าจะช่วยดึงทราฟฟิกและยอดขายให้กลับมาแตะ 100% เท่ากับช่วงก่อนเกิด COVID-19 ได้ (เฉพาะศูนย์ฯ ที่ไม่อยู่ในแหล่งท่องเที่ยว) โดยเชื่อว่าตลาดกลางบนซึ่งเป็นลูกค้ากลุ่มหลักของศูนย์ฯ ยังมีกำลังซื้อ
“กลุ่มกลางบนกำลังซื้อยังดีอยู่ แต่เขารอ Special Deal” ดร.ณัฐกิตติ์กล่าว “เพราะฉะนั้น ปีนี้ทำอย่างเดียวไม่พอ ต้องมีหลายอย่างพร้อมกัน โปรโมชันก็ต้องมีเยอะหลากหลาย ลูกค้าถึงจะยอมตัดสินใจซื้อ”
]]>โดยทั้งสองบริษัทจะถือหุ้นฝั่งละ 50% ของทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท หุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท
ทั้งนี้บริษัทบีวี มีเดีย แอดส์ จะประกอบธุรกิจให้บริการและบริหารจัดการสื่อโฆษณาและประชาสัมพันธ์ จัดหาดารา นักแสดง หรือผู้มีชื่อเสียงมาร่วมทำกิจกรรมด้านการตลาดและการใช้ข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับจากธุรกิจด้านออนไลน์ประกอบการโฆษณา
วีจีไอ มองว่า การร่วมทุนในครั้งนี้จะเป็นการขยายเครือข่ายสื่อออฟไลน์สู่ออนไลน์ (O2O Solution) ให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น และการทำตลาดร่วมกับบีบีทีวีซื่งทำธุรกิจด้านสื่อวิทยุโทรทัศน์ จะช่วยเพิ่มความหลากหลายทั้งรูปแบบสื่อโฆษณา กลยุทธ์ และวิธีการในการนำเสนอขายสื่อแบบครบวงจรสอดคล้องกับความต้องการของผู้ซื้อสื่อหรือลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น
ในขณะที่ช่อง 7 เองซึ่งมีทั้งสื่อทีวีและวิทยุจะเพิ่มโอกาสและช่องทางในการหารายได้จากโฆษณา และการทำตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์ที่หลากหลายสามารถตอบโจทย์ลูกค้ายุคนี้ และยังสามารถรับมือกับการแข่งขันในสมรภูมิทีวีดิจิทัลได้มากขึ้น.
]]>