อีเวนต์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 03 Sep 2020 10:17:44 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ZAAP Party พลิกเกม! เมื่อ “อีเวนต์” จัดใหญ่เหมือนเดิมไม่ได้ เตรียมขยายรับงาน “ทุกรูปแบบ” https://positioningmag.com/1295320 Thu, 03 Sep 2020 08:29:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1295320 “อีเวนต์” หนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดช่วงสถานการณ์ COVID-19 เพราะไม่สามารถจัดงานได้เลยในช่วงล็อกดาวน์ และปัจจุบันก็ยังต้องรักษาระยะห่างภายในงานอย่างเคร่งครัด กลายเป็นโจทย์ใหญ่ให้ ZAAP Party มือออร์กาไนซ์งานคอนเสิร์ตต้องเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ ทั้งรูปแบบงาน แหล่งรายได้ ไปจนถึงขั้นตอนทำงาน แม้ครึ่งปีแรกรายได้จะลดแรง 70-80% แต่เชื่อว่าทั้งปีจะฟื้นกลับมาเติบโต 29% จากปี 2562

“เทพวรรณ คณินวรพันธุ์” ซีอีโอ บริษัท ZAAP Party จำกัด ผู้จัดงานคอนเสิร์ตและปาร์ตี้ดังๆ ที่เรารู้จักกันดี เช่น S2O, Single Fest หรือเชียงใหญ่เฟส กล่าวถึงสถานการณ์บริษัทช่วงครึ่งปีแรก หลังเผชิญสถานการณ์ COVID-19 รายได้บริษัทลดลง 70-80% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่ามีการล็อกดาวน์งดการพบปะของผู้คนจำนวนมาก จึงไม่น่าแปลกใจที่อีเวนต์ต้องยกเลิกหรือเลื่อนทั้งหมด

แต่ขณะนี้หลังภาครัฐคลายล็อกดาวน์อนุญาตให้จัดอีเวนต์ได้ โดยต้องมีการเว้นระยะห่าง ลดความหนาแน่นของคนภายในงาน ทำให้ ZAAP เริ่มกลับมาจัดงานได้ แถมมองว่ารายได้รวมปี 2563 น่าจะยังเติบโตได้ 29% เทียบปี 2562 ที่มีรายได้เกือบ 500 ล้านบาท

ขณะที่ผู้จัดงานอีเวนต์หลายแห่งต้องรัดเข็มขัดอย่างหนัก และยังคงอยู่ในสถานการณ์วิกฤต ทำไม ZAAP ถึงยังเติบโต? ต้องฟังจากปากเทพวรรณ ซีอีโอของบริษัท

“เทพวรรณ คณินวรพันธุ์” ซีอีโอ บริษัท ZAAP Party จำกัด

 

รูปแบบงานต้องเปลี่ยน เล็กลง ถี่ขึ้น และสร้างสรรค์

ซีอีโอ ZAAP กล่าวว่า ข้อสรุปการทำงานหลังช่วง COVID-19 ของทีมงานประกอบด้วย 3C คือ Creativity – ความคิดสร้างสรรค์ , Collaboration – ความร่วมมือกับองค์กรอื่น และ Consumer Needs – ตอบความต้องการของลูกค้า

เริ่มจากโจทย์แรกที่ต้องปรับตัวคือ “รูปแบบงาน” แน่นอนว่าข้อกำหนดด้านสุขอนามัยทำให้การจัดอีเวนต์ไม่สามารถให้คนเข้างานได้หนาแน่นเท่าเดิม งานจึงต้องจัดเล็กกว่าเดิม แต่จัดให้ถี่ขึ้น และมีไอเดียสร้างสรรค์ มองความต้องการที่เป็นกระแสในหมู่ผู้บริโภคซึ่งจะเป็น “นิชมาร์เก็ต” ยิ่งกว่าที่เคย

“พฤติกรรมคนตอนนี้จะเลือกไปในแบบที่ตัวเองชอบจริงๆ ซึ่งมันจะแยกย่อยมากขึ้น จากเมื่อก่อนงานงานหนึ่งเพื่อนทั้งกลุ่มอาจจะชวนกันไปหมดทุกคน แต่ตอนนี้จะแยกกันไปกลุ่มเล็กๆ ไปเฉพาะที่อยากไปจริงๆ แล้วไปรู้จักเพื่อนใหม่ที่ชอบแบบเดียวกันในงาน” เทพวรรณกล่าว ดังนั้น งานที่จัดจะเล็กลงโดยปริยายเพราะเป็นนิชมาร์เก็ต บริษัทจึงต้องจัดงานให้บ่อยขึ้น และทำงานให้เร็วขึ้น

คอนเสิร์ตผสานการจัดแคมป์ปิ้ง Social This Camping Event ที่ จ.เชียงราย

ยกตัวอย่างงาน Social This Camping Event ที่ The Green-Chayana Resort จ.เชียงราย เป็นคอนเสิร์ตผสมกับการแคมป์ปิ้งท่ามกลางธรรมชาติ มีผู้ร่วมงานหลักร้อยคนเท่านั้น ไอเดียนี้มาจากการมอง Consumer Needs ที่บริษัทเล็งเห็นว่าคนยุคนี้กำลังสนใจแคมป์ปิ้ง ป่าเขา ธรรมชาติ ทำให้นำมาผสานกับอีเวนต์ดนตรี

มุมที่มอง “งานอดิเรก” หรือความสนใจของผู้เข้าร่วมงานยังต้องเปลี่ยนใหม่ เพราะจากเดิมงานอีเวนต์อาจจะมีงานที่ใช้ดึงดูดลูกค้าชาวต่างชาติ เช่น S2O แต่เมื่อลูกค้ากลุ่มนี้ถูกตัดออก จะเหลือเฉพาะลูกค้าคนไทย ทำให้ต้องคิดบนฐานว่าลูกค้าคนไทยชอบอะไร และจะดึงคนไทยให้ยอมลงทุนเดินทางไปงานได้อย่างไร

 

พึ่งรายได้จาก “สปอนเซอร์” มากขึ้น

เมื่อรูปแบบงานเปลี่ยน คอนเสิร์ตต้องเว้นระยะห่าง จำนวนคนเข้างานมีน้อยลง แต่หากจะขายบัตรแพงขึ้นนั้น ซีอีโอ ZAAP บอกว่า “ทำไม่ได้” เพราะกำลังซื้อคนมีน้อยลงด้วยซ้ำ ดังนั้น ถ้าเป็นงานประเภทที่บริษัทเป็นโปรโมเตอร์คือร่วมลงทุนในงานด้วย โมเดลแหล่งรายได้จะเปลี่ยนไป

จากปกติรายได้งานแบบที่บริษัทเป็นโปรโมเตอร์มักจะมาจากค่าบัตร 40% และจากสปอนเซอร์ 60% ตอนนี้ต้องมีสัดส่วนรายได้จากสปอนเซอร์มากกว่าเดิม เพื่อให้ค่าบัตรยังเท่าเดิม หรือบางงานเป็นรายได้จากสปอนเซอร์ “ล้วนๆ” ทำให้บัตรเข้างานแจกฟรีผ่านกิจกรรมของสปอนเซอร์

Amazing Thailand TUK TUK Festival by Chang Music Connection งานคอนเสิร์ตแบบไดรฟ์อิน ไอเดียดัดแปลงจากต่างประเทศโดยใช้รถตุ๊กตุ๊กแทนรถยนต์

ยกตัวอย่างงานแรกที่บริษัทจัดหลังคลายล็อกดาวน์คือ Amazing Thailand TUK TUK Festival by Chang Music Connection ผู้เข้าร่วมงาน 600 คนจะเข้างานได้ต้องร่วมกิจกรรมกับน้ำดื่มตราช้าง

เทพวรรณกล่าวว่า ส่วนนี้คือการ Collaboration กับองค์กรอื่นๆ เพราะต้องคิดแพ็กเกจจูงใจสปอนเซอร์ แน่นอนว่าเศรษฐกิจเช่นนี้ สปอนเซอร์ไม่ได้ออกงบประมาณให้ง่ายๆ บริษัทต้องนำเสนอว่าทำอย่างไรการจัดงานนี้จะคุ้มค่าสำหรับลูกค้า และต้องเข้าให้ถูกอุตสาหกรรมที่ยังต้องการใช้งบประมาณกับธุรกิจอีเวนต์ สำหรับกลุ่มลูกค้าหลักของบริษัทขณะนี้จะเป็นสินค้าเครื่องดื่ม ธุรกิจโทรคมนาคม และหน่วยงานภาครัฐโดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวที่ต้องการใช้อีเวนต์ฟื้นเศรษฐกิจท้องถิ่น

 

ลดต้นทุน เปลี่ยนขั้นตอนการทำงานเป็นเชิงรุก

รายรับลดแล้ว รายจ่ายต้องลดด้วย ส่วนนี้เทพวรรณมองว่าเป็นโชคดีที่ทุกคนในอุตสาหกรรมร่วมมือกันลดราคา ยกตัวอย่างเจ้าของสถานที่แทบทุกแห่งยินดีลดราคาเกิน 50% เพื่อให้ได้จัดงาน หรือซัพพลายเออร์สนับสนุนงานต่างมีส่วนลดให้ ซึ่งทำให้อีเวนต์ตัดต้นทุนไปได้มาก การจัดงานจึงยังคงมีกำไรเหมือนเดิม

Hotel Fest คอนเสิร์ตริมระเบียงที่พัทยา จะจัดขึ้นวันที่ 5-6 ก.ย. 63 ไอเดียจากคลิปนักร้องชาวอิตาลีที่ร้องเพลงริมระเบียงบ้านในช่วงล็อกดาวน์

นอกจากนี้ COVID-19 ยังทำให้บริษัทเปลี่ยนมาทำงานเชิงรุกมากกว่าเดิม โดยให้ครีเอทีฟคิดรูปแบบงานไว้เป็นแคตตาล็อก ถ้ามีคอนเซ็ปต์ไหนเหมาะสมกับลูกค้าสามารถดึงมาใช้ได้ทันที ทำให้การทำงานเร็วขึ้น

“ผมให้ครีเอทีฟคิดงานรอไว้เป็นสิบๆ งานเลย ปกติเราไม่ทำขั้นตอนแบบนี้ เมื่อก่อนเราจะไปรับบรีฟจากลูกค้าก่อน แล้วมาคิดงานอีก 2-3 อาทิตย์ค่อยกลับไปเสนอ ตอนนี้เรามีแบบงานพร้อมใช้ได้เลย” เทพวรรณกล่าว

 

ขยายไปจัดงานที่ไม่เคยทำมาก่อน

ปีนี้ ZAAP ยังพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสด้วย คือโอกาสที่จะทำงานใหม่ๆ ที่ไม่เคยทำมาก่อน จากจุดแข็งเดิมจะเน้นการจัดปาร์ตี้และคอนเสิร์ต ปีนี้สถานการณ์บีบให้ต้องรับงานทุกรูปแบบ ทำให้จะได้เห็นบริษัทออร์กาไนซ์งานวิ่ง ลานเบียร์ เทศกาลอาหาร ไปจนถึงงานเกมมิ่ง โดยอาศัยจ้างฟรีแลนซ์หรือบริษัทที่ถนัดงานรูปแบบนั้นๆ เข้ามาช่วยจัดอีเวนต์ร่วมกัน

“เราอยู่นิ่งไม่ได้แล้ว” เทพวรรณกล่าว “หลายคนบอกว่าต้องรอจนกว่าสถานการณ์จะเป็นปกติ แต่ผมว่ามันรอไม่ได้ เราต้องทำให้เห็นว่าอีเวนต์มันจัดได้และไปได้”

จากสถานการณ์ทั้งหมด ดูเหมือนกับว่า ZAAP จะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่ที่จริงบริษัทได้ผ่านจุดที่ “เหมือนเริ่มนับหนึ่งใหม่” มาแล้ว โดยช่วงที่ไม่มีงานเลยทำให้บริษัทต้องลดขนาดองค์กรลงครึ่งหนึ่ง โชคดีที่พนักงานส่วนใหญ่เป็นฟรีแลนซ์อยู่แล้ว ทำให้การลดและกลับมาเพิ่มคนทำงานยังง่ายกว่าบริษัทที่จ้างพนักงานประจำจำนวนมาก

เมื่อถามว่าถ้าสถานการณ์การจัดอีเวนต์ยังต้อง New Normal แบบนี้ไปจนถึงปีหน้า บริษัทจะยังไหวหรือไม่ เทพวรรณตอบว่า “ถ้าถามผมเมื่อเดือนที่แล้วผมอาจจะยังไม่แน่ใจ แต่ถ้าเป็นตอนนี้เราคิดว่าเรารับมือไหว”

]]>
1295320
เวิร์คพอยท์ปาดเหงื่อ รายได้ธุรกิจทีวีลด กำไรตก 63% แต่อีเวนต์ คอนเสิร์ต ขายเครื่องสำอางโต https://positioningmag.com/1197051 Tue, 13 Nov 2018 04:10:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1197051 ธุรกิจทีวีดิจิทัลกำลังเผชิญหน้ากับการแข่งขันและรายได้จากค่าโฆษณาลดลงต่อเนื่อง รวมถึงเวิร์คพอยท์ ที่เคยเป็นช่องดาวรุ่ง ผ่านการเติบโตสูงสุดมาแล้ว โดยรายการที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคือ The Mask Singer แต่ในปีนี้ยังไม่มีรายการใหม่ๆ ที่สร้างความนิยม ส่งผลต่อผลประกอบการของเวิร์คพอยท์มีตัวเลขรายได้และกำไรของบริษัทที่ลดลงชัดเจน

สำหรับผลประกอบการไตรมาส 3 ของปี 2561 เวิร์คพอยท์ทำรายได้ของบริษัทในไตรมาส 3 ปีนี้อยู่ที่ 1,007.11 ล้านบาท ลดลง 14% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560 ที่มีรายได้อยู่ที่ 1,166.51 ล้านบาท และมีกำไรในไตรมาสที่ 3 ปีนี้อยู่ที่ 141.54ล้านบาท ลดลง 238.44 ล้านบาท หรือ 63% จากกำไรในช่วงเดียวกันของปี 2560 ที่มีกำไรอยู่ที่ 379.98 ล้านบาท

รายได้จากธุรกิจทีวีตก 26%

เวิร์คพอยท์ชี้แจงว่า สาเหตุหลักที่รายได้และกำไรลดลงนั้น มาจากรายได้จากธุรกิจทีวีรวมถึงช่องทางออนไลน์ลดลง โดยรายได้จากค่าโฆษณาและการเช่าเวลา ในไตรมาส 3 ของปีนี้ 769.78 ล้านบาท ลดลง 266.69 ล้านบาท หรือ 26% จากรายได้รวม 1,036. 47 ล้านบาท ของไตรมาสที่ 3 ของปี 60

สำอางแบรนด์ Let Me In Beauty

แต่เวิร์คพอยท์ยังมีรายได้ส่วนอื่นๆ ที่เติบโตขึ้นมา เข้ามาชดเชยรายได้โดยรวมของบริษัท ใน 3 ส่วนคือ รายได้จากอีเวนต์ คอนเสิร์ต และการขายสินค้าบริการโดยเฉพาะธุรกิจเครื่องสำอางแบรนด์ Let Me In Beauty ที่ต่อยอดมาจากรายการวาไรตี้ Let Me In

ในส่วนรายได้จากอีเวนต์ 41.55 ล้านบาท เพิ่มจากไตรมาสเดียวกันปีที่แล้ว ที่ทำรายได้ 22.57 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 84% หรือ 18.98 ล้านบาท

ส่วนการขายสินค้าและบริการอื่นๆ รวมถึงการจัดหานักแสดง การเช่าโรงละคร และ Studio Shop ทำรายได้ 33.40 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.98 ล้านบาท หรือ 43% จาก 23.42 ล้านบาทในปี 2560 แต่รายได้หลักในหมวดนี้ มาจากการขายเครื่องสำอาง Let Me In Beauty ที่แสดงให้เห็นว่าธุรกิจการขายเครื่องสำอางผ่านเครือข่ายของทีวีดิจิทัลมีแนวโน้มการเติบโต

The Rapper

ส่วนสุดท้าย รายได้จากการจัดคอนเสิร์ตและละครเวที โดยมีรายได้ปีนี้รวมอยู่ที่ 161.94 ล้านบาท จากรายได้รวม 84.03 ล้านบาทในปี 2560 ซึ่งเพิ่มขึ้น 93% หรือ 77.91 ล้านบาท โดยมีงานหลักๆ คือ คอนเสิร์ต The Rapper และ คุณพระช่วย และคอนเสิร์ตใหญ่ของ 11 หนุ่มเกาหลี Wanna One ผู้ชนะรายการ Produce101 Season 2 จากเกาหลีในคอนเสิร์ต Wanna One World Tour In Bangkok

เจอต้นทุนสูงจากถ่ายทอดสดกีฬาและคอนเสิร์ต

แม้ว่าจะมีรายได้ส่วนของการจัดคอนเสิร์ตมากขึ้น แต่ต้นทุนการผลิตรายการและคอนเสิร์ตเหล่านี้เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะจากคอนเสิร์ต Wanna One World Tour In Bangkok และต้นทุนจากการถ่ายทอดสดรายการกีฬาเอเชียนเกมส์ 2018 ที่เวิร์คพอยท์ได้ลิขสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว โดยมีต้นทุนในส่วนนี้รวม 608.83 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่อยู่ที่ 468.27 ล้านบาท หรือ 30%

นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายในการบริหารรวม 210.61 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.12 ล้านบาท หรือ 9% จากปี 2560 192.49 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากค่าโปรโมตสินค้าและโฆษณาสินค้า Let Me In Beauty

สำหรับเรตติ้งเฉลี่ยของช่องเวิร์คพอยท์ในรอบ 9 เดือนของปี 2561 นั้น อยู่ที่ 0.803 ลดลงจาก 9 เดือนของปี 2560 ที่อยู่ที่ 1.073

ราคาหุ้นของเวิร์คพอยท์ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2561 ซี่งเป็นวันที่แจ้งผลประกอบการไตรมาส 3 ของปีนี้ของเวิร์คพอยท์ ราคาหุ้นหล่นมาอยู่ที่ราคา 31 บาท โดยมีมูลค่าหลักทรัพย์รวมอยู่ที่ 13,688.34 ล้านบาท ในขณะที่ราคาหุ้น ณ สิ้นปี 2560 นั้นอยู่ที่ 84.25 บาท โดยมีมูลค่าหลักทรัพย์รวมอยู่ที่ 36,973 ล้านบาท.

]]>
1197051
ซัมเมอร์เดือด! เดอะมอลล์ เทงบ 130 ล้านดึงชาช้อป ยุคนี้อีเวนต์ไม่พอ ต้อง One on One เตรียมเปิด “บีเอ็นเค48 คาเฟ่” เอาใจเหล่าโอตะ https://positioningmag.com/1162499 Tue, 20 Mar 2018 15:09:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1162499 เมื่อประเมินแล้วว่า ภาพรวมธุรกิจค้าปลีก 2 เดือนแรก มีสัญญาณการขยายตัวที่ดี ตามภาวะเศรษฐกิจ (จีดีพี) ทั้งช่วงเทศกาลปีใหม่ ตรุษจีน ส่งผลให้การเติบโตของดัชนีค้าปลีกอยู่ที่ 3.8 – 4%

สร้างความมั่นใจให้กับเดอะมอลล์ จนต้องตัดสินใจเทงบ 130 ล้านบาท หรือ 30% ของงบการตลาดทั้งปี  มาใช้ในการทำตลาดช่วงซัมเมอร์ ที่ถือเป็น ไฮซีซั่น ของธุรกิจค้าปลีกว่าทำยอดขายเป็นอันดับ 2 รองจากเทศกาลปีใหม่ 

ด้วยการจัด 8 อีเวนต์ใหญ่ เพื่อจับกลุ่มเป้าหมายทั้งกลุ่มครอบครัวและเด็ก คนรุ่นใหม่ และกลุ่มคนโสดวัยทำงาน

อีเวนต์แม่เหล็กปีนี้ คือกิจกรรมสงกรานต์ ที่ขยายไปจัดในห้างเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน และเดอะมอลล์ บางกะปิ จากปีที่ผ่านมาจัดแค่เดอะมอลล์ นครราชสีมา และเดอะมอลล์ บางแค

การจัดอีเวนต์มีความสำคัญมากสำหรับช้อปปิ้ง เนื่องจากจะเพิ่มความถี่ให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการมากขึ้น จากปกติถ้ามาช้อปเฉย ๆ จะมีความถี่ราวสัปดาห์ละครั้ง “วรลักษณ์ ตุลาภรณ์กรรมการผู้จัดการฝ่ายการตลาด เดอะมอลล์ ช้อปปิ้งเซ็นเตอร์ บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด บอก

แต่ห้างฯ ยุคนี้จัดอีเวนต์อย่างเดียวคงไม่พอที่จะดึงดูดขาช้อปได้มากพอ  เดอะมอลล์จึงต้องใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์ม รวมถึง AI มาใช้วิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคขาช้อป เพื่อรับโจทย์ยากของการทำธุรกิจห้างค้าปลีก คือการต้องเดาใจความต้องการของผู้บริโภคเป็นรายบุคคล (personalize) มากขึ้น 

เมื่อวิเคราะห์พฤติกรรมความค้องการผู้บริโภคได้ จึงทำให้พลิกเกมทำตลาดจากแมสเป็นเสนอโปรโมชั่น ส่วนลดค่าง ๆ เป็นแบบตัวต่อตัว หรือ One on One Marketing เชิงรุกมากขึ้น จากที่เริ่มทดลองทำเมื่อ 3-4 ปีก่อน พ่วงการนำเสนอโปรโมชั่นแบบ Real-time ชนิดที่ผู้บริโภคเดินเข้าห้าง จะต้องได้รับออฟเฟอร์จากแบรนด์ สินค้าต่าง ๆ เพื่อดึงดูดการข้อปปิ้งทันที เพราะยุคนี้มีของล่อตาล่อใจขาข้อปละลานตา

ขณะเดียวกันก็ต้องร่วมมือกับพันธมิตร (collaboration) เพราะผู้บริโภคยุคนี้ หากต้องการข้อปปิ้งห้างและแบรนก็มีโปรโมชั่นให้ฝั่งเดียวไม่พอ แต่ขอให้มีของแถมที่เป็นที่กิน ที่เที่ยว ที่พัก สายการบินถึงจะโดนใจ 

โดยที่ต้องสร้าง Engagement ตั้งแต่เข้าห้าง การ์ด พนักงานเปิดประตู ต้องมีส่วนสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับขาข้อปด้วยการทักทาย เพราะนอกจากสินค้าแฟชั่น เสื้อผ้าแบรนด์เนม บริการที่เหมือนกัน สิ่งที่จะทำให้เดอะมอลล์ต่างจากคู่แข่งได้ คือ การบริการที่ดี (service mind) 

นอกจากอีเวนต์ ส่วนลด ซัมเมอร์นี้ เดอะมอลล์ยังมีแม่เหล็กใหม่โดยเดอะมอลล์ บางกะปิ เตรียมเปิดบีเอ็นเค48 คาเฟ่ ปลายเดือนเมษายนนี้ รวมถึงเธียร์เตอร์ขนาด 1,000 ตารางเมตร (ตร..) ซึ่งคาดว่าเฉพาะส่วนนี้จะดึงโอตะ ให้มาเข้าห้างได้เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 10% ที่สำคัญบีเอ็นเค48” ยังช่วยขยายฐานลูกค้าให้กับเดอะมอลล์บางกะปิด้วย โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น

เดอะมอลล์คาดว่าการจัดกิจกรรมการตลาดช่วงซัมเมอร์จะช่วยเพิ่มจำนวนลูกค้าเข้าช้อปปิ้งเพิ่มขึ้น 10-15% หรือประมาณ 12 ล้านคนต่อเดือน จากปกติทราฟฟิกเฉลี่ย10 ล้านคนต่อเดือน.

]]>
1162499
จับตา JOOX ชวนฟังรายการผี ปักหลัก “ทีวี” เป็น second screen https://positioningmag.com/1158396 Fri, 23 Feb 2018 00:15:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1158396 JOOX บริการเพลงสตรีมมิ่งประกาศชัด จะไม่เป็นแค่แอปฯ ฟังเพลง แต่กำลังลุย 4 ทางหลักเพื่อผันตัวเองเป็นแพลตฟอร์มบันเทิง จัดทัพดึงเนื้อหารายการวิทยุมาสร้างสีสันผุดงานอีเวนต์ใช้คาราโอเกะจุดกระแสโซเชียลลุยโครงการหนุนนักร้องหน้าใหม่เพื่อเนื้อหา exclusive 

JOOX แอปพลิเคชั่นฟังเพลงออนไลน์ในเครือเทนเซ็นต์จากจีน ฉลองครบรอบ 2 ปีที่เปิดให้บริการในไทยไปหมาดๆ ด้วยการประกาศยอดคลิกฟังเพลงปีเดียว 2 พันล้านครั้ง

แต่ความน่าสนใจของ JOOX วันนี้ อยู่ที่ยุทธศาสตร์หลากหลาย เช่น คาราโอเกะซึ่งผู้บริหาร JOOX บอกว่า จะสร้างพฤติกรรมคาราโอเกะใหม่ให้คนไทยสนใจร้องเพลงเดียวกัน โดยคาราโอเกะเป็นเพียง 1 ใน 4 ภารกิจหลักที่ JOOX จะทำในปีนี้เพื่อไม่ให้ตัวเองเป็นแค่ที่ฟังเพลงอย่างเดียว

ภารกิจสร้างพฤติกรรมคาราโอเกะใหม่ของ JOOX ถูกประกาศโดยกฤตธี มโนลีหกุลกรรมการผู้จัดการ บริษัท เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) จำกัด และผู้บริหาร JOOX ประเทศไทย ที่ย้ำว่า JOOX ในอนาคตจะไม่ได้เป็นแหล่งฟังเพลงออนไลน์ แต่จะครบเครื่องเหมือนรายการวิทยุ 

สิ่งที่ JOOX ทำขณะนี้คือการดึงรายการผีมาสร้างสีสัน คู่ไปกับการจัดอีเวนต์ โครงการหนุนนักร้องหน้าใหม่เพื่อสร้างเนื้อหา exclusive และที่สำคัญคือคาราโอเกะที่จะเป็นไพ่เด็ดในการสร้างโซเชียลบน JOOX

ปีนี้ JOOX จะเริ่มทำคาราโอเกะ ให้เป็นเนื้อหาที่เน้นโซเชียลได้ JOOX จะแสดงให้เห็นว่าระบบคาราโอเกะไม่จำเป็นต้องมีเพลงมากมายมหาศาล แต่เราจะบอกว่าเพลงนี้เป็นเทรนด์ จงมาร้องกับเรากฤตธี อธิบายคาราโอเกะสำคัญอย่างไร คำตอบคือคาราโอเกะสามารถเชื่อมระหว่างคนนี้ไปอีกคนหนึ่ง ผู้ร้องคาราโอเกะบน JOOX สามารถแชร์เพลงที่ร้อง สามารถไลก์ ใครได้ใลก์มากก็จะมาอยู่บนชาร์จ นี่สิ่งที่เราพยายามโปรโมต

กฤตธี บอกว่า ฟีเจอร์ใหม่อย่างคาราโอเกะ นั้นเป็นส่วนหนึ่งของแผนเพิ่มคอนเทนต์สำหรับการฟังที่หลากหลายมากขึ้น โดยนับจากที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อเดือนสิงหาคม วันนี้มีผู้ใช้งานร้องราคาโอเกะกับ JOOX เกือบ 20 ล้านครั้งแล้ว คาดว่า JOOX จะโหมโปรโมตในช่วงไตรมาส 2-3 ร่วมกับแบรนด์ใหญ่อย่างช้าง

คาราโอเกะเป็นเพียง 1 ในหลายแผนของ JOOX ที่ต้องการสร้างคอนเทนต์ในรูปแบบเสียงที่หลากหลาย อย่างรายการผีหลอนศาสตร์ by The Shock” ก็จะมี ดีเจป๋องกพล ทองพลับ มาร่วมด้วย ขณะเดียวกัน JOOX ก็ต้องการเป็นพื้นที่สื่อกลางให้ศิลปิน และคนทำงานเพลงได้โปรโมตผลงาน พูดคุยกับแฟนเพลง และสร้างการเติบโตให้กับอุตสาหกรรม

ปี 2561 JOOX ตั้งเป้าเป็น Entertainment Platform สำหรับทุกคน โดยเพิ่มมิติของคอนเทนต์ให้มากขึ้น JOOX จะกลายเป็นมากกว่ามิวสิกแอปพลิเคชั่นที่ใช้ฟังเพลงอย่างเดียว

กฤตธี ระบุว่า JOOX เริ่มโปรโมตศิลปินหน้าใหม่ผ่านแคมเปญ “Spotlight Artist” และเป็นช่องทางให้ศิลปินกับแฟนเพลงได้พูดคุยกันอย่างใกล้ชิดแล้ว และกำลังทำ “Fan Space” ไลฟ์สตรีมมิ่งแบบส่วนตัวผ่าน JOOX Live 

Spotlight Artist ถือเป็นช่องทางสร้างเพลง exclusive ให้ JOOX จุดนี้ผู้บริหาร JOOX อธิบายว่า หน้าที่ของ JOOX คือจะฟังเพลงอินดี้เพื่อมองว่าเพลงใดมีโอกาสโต จากนั้น JOOX จะประสานงานเพื่อให้ศิลปินสร้างงานที่สามารถฟังได้เฉพาะบน JOOX โดยอัตราการฟังเพลงอินดี้บน JOOX ขณะนี้คิดเป็น 6-7% เทียบกับกับการฟังเพลงไทยทั้งหมด

เนื้อหาเพลง JOOX ไม่ได้เป็นเจ้าของ แต่เราทำสัญญาให้ผู้ถือลิขสิทธิ์เพลงแปลงเป็นข้อมูลดิจิทัล แล้วทำสัญญา 1 ปี ศิลปินยังส่งเพลงไปให้บริการที่แพลตฟอร์มอื่นได้ด้วย ทำให้ก่อนหน้านี้ หลายศิลปินไม่มีเนื้อหาเอ็กซ์คลูซีฟกับ JOOX เราจึงตั้งใจจะทำพื้นที่นี้ขึ้นมา

สำหรับ JOOX Live การถ่ายสดงานแสดงดนตรีบางงานจะถูกดึงมาถ่ายทอดทางโทรทัศน์ด้วย บางอีเวนต์ถูกถ่ายทอดทาง Workpoint คู่ไป จุดนี้ JOOX ย้ำว่าปีนี้จะเดินหน้าจัดงานอีเวนต์เพิ่มอีก โดยงานใหญ่ที่กำลังจะเกิดขึ้นคือ JOOX Thailand Music Awards ปี 2018 

เราไม่อยากบอกว่า JOOX จะลุยใช้ทีวีเป็นหน้าจอที่ 2 หรือ second screen แต่เรามองไว้หลายค่าย ไม่ได้ปิดกั้นเฉพาะความร่วมมือกับ Workpoint” แต่ก็ไม่เปิดเผยว่า JOOX จะร่วมมือกันใครเป็นรายต่อไป 

ทั้งหมดนี้ JOOX เชื่อว่าจะทำให้ระยะเวลาที่ผู้ใช้อยู่ในระบบ JOOX ยาวนานขึ้น โดยการศึกษาล่าสุด JOOX พบว่าผู้ใช้อยู่กับ JOOX ประมาณ 90 นาที (สถิติทั่วภูมิภาค) สัดส่วนนี้แม้จะโตขึ้นจากปีที่แล้ว แต่ก็ยังไม่เท่าคู่แข่งอย่าง Spotify ที่ทำสำรวจมาทั่วโลกพบว่า ผู้ใช้มักอยู่กับบริการสตรีมมิ่งเพลงมากกว่า 120 นาที ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสที่ JOOX มองว่ากำลังรออยู่

วันนี้ใครฟัง JOOX?

ในยอดฟังเพลงปีเดียว 2 พันล้านครั้ง JOOX ระบุว่า รายได้ของธุรกิจเพิ่มขึ้น 4 เท่าตัวหรือ 400% แต่ก็ถือว่ายังเล็กอยู่ โดยผู้ใช้ 70% เป็นกลุ่มอายุต่ำกว่า 34 ปี ถือว่ากลุ่มผู้ฟัง JOOX เป็นกลุ่มเด็กมัธยม นักศึกษา และคนเริ่มหางาน 

บริการ JOOX ถือเป็นมิติใหม่ที่ทำให้ผู้ใช้ฟังเพลงได้สะดวก และฟังเพลงได้มากขึ้น ผู้ใช้ JOOX ปัจจุบัน 48% อยู่ใน กทม. ผมมองว่าสัดส่วนผู้ใช้งานระหว่างต่างจังหวัด และ กทม.ไม่ต่างจากสัดส่วนการใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งประเทศไทยอยู่ที่สัดส่วน 50-50 จุดนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นอย่างโครงข่ายอินเทอร์เน็ต หรือบางคนยังใช้ MP3 อยู่ หน้าที่ของเราคือทำอย่างไรให้รู้จัก JOOX”

ขณะนี้ ผู้บริหาร JOOX ยอมรับว่าจำนวน subscriber หรือฐานสมาชิกบริการ JOOX VIP ที่เสียค่าบริการยังน้อยอยู่ โดยอยู่ระดับต่ำกว่าประเทศอื่นในอาเซียน แต่ถึงอย่างนั้น รายได้หลัก JOOX ราว 50-50 ก็ยังมาจากผู้ใช้และโฆษณาในสัดส่วนใกล้เคียงกัน

ในส่วนฐานผู้ใช้อายุเกิน 34 ปี ผู้บริหาร JOOX ยอมรับว่าการเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้ที่อายุมากขึ้นอาจต้องใช้เวลา ดังนั้น JOOX จึงให้ความสำคัญที่กลุ่มเด็กรุ่นใหม่ ซึ่งหากทำได้ กลุ่มนี้จะเติบโตมาแทนที่

สตรีมมิ่งไทยวันนี้แข่งกันที่ไหน?

กฤตธี ยืนยันว่า ตลาดสตรีมมิ่งวันนี้แข่งกันที่ความเป็นโลคอล” สำหรับประเทศไทยคือเพลงไทย โดยคู่แข่งไม่ใช่ปัจจัยสำคัญ และกระแสอย่างเพลงเกาหลี หรือการแข่งขันราคาก็ไม่ใช่หัวใจหลักที่จะดึงลูกค้าได้ในระยะยาว

ในตลาดวันนี้แข่งขันราคากันก็จริง เราก็มีกับ AIS ที่ให้ลูกค้าสมัครใช้ JOOX ได้ในราคาพิเศษ และกำลังคุยกับ DTAC ด้วย แต่ในภาพรวมก็ต้องแข่งกันที่เซอร์วิส เราเป็นโลคอล ทั้งเนื้อหา เรามีเคป็อปชาร์ต แต่สุดท้าย คนไทยก็ฟังเพลงไทย จุดเด่นของพวกเรา ไม่ใช่มีอยู่แค่ค่ายใหญ่ แต่มีเพลงอินดี้ให้ฟังเยอะ วันนี้การฟังเพลง 70-80% บน JOOX เป็นการฟังเพลงไทยล้วนๆ

กฤตธี ยกตัวอย่าง เพลงเกาหลี ที่มีอัตราฟังสูงจริง แต่ก็คิดเป็น 7% ของภาพรวม ขณะที่เพลงลูกทุ่งยังไม่นิยมบน JOOX จุดนี้ JOOX ระบุว่ากำลังคิดหาทางอยู่ว่าจะทำให้เพลงลูกทุ่งแมสขึ้นได้อย่างไร

ตลาดเพลงสตรีมมิ่งไทย ถือว่ายังเล็กมากเมื่อเทียบระดับโลก ตอนนี้มีมูลค่าตลาดเพลงทั่วโลก 17 ล้านดอลล์ ราว 50% มาจากบริการสตรีมมิ่งกฤตธีระบุถามว่าคนที่นิยมฟังเพลงฟรี จะมีแนวโน้มมาใช้สตรีมมิ่งไหม? ผมคิดว่ามี 2 ปัจจัย คือพฤติกรรมคน แต่คือความสะดวก JOOX จึงพยายามทำให้มีช่องทางจ่ายเงินมากขึ้น วันนี้เรามีเซเว่นอีเลฟเว่น, แฟมิลี่มาร์ท และอีกหลายวอลเล็ต หน้าที่เราคือสร้างชาแนลใหม่ให้มีช่องทางจ่ายเงินที่สบายและสะดวก

JOOX ย้ำว่า การเป็นเบอร์ 1 ไม่จำเป็นต้องดูเฉพาะเรื่องรายได้ JOOX จึงต้องการสร้างรูปแบบธุรกิจใหม่ขึ้นมา เพื่อผลักดันให้เกิดพฤติกรรมใหม่ในตลาด

นอกจากนี้ AI และ Cloud ก็เป็นส่วนธุรกิจที่ JOOX กำลังโฟกัส โดยจะนำมาปรับใช้กับผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ของสนุก ที่ผ่านมา สนุกดูแล 2 ส่วนคือเนื้อหาและเว็บไซต์ แต่วันนี้มีให้บริการแอปพลิเคชั่นอื่นร่วมด้วย เป้าหมายคือการทำให้บริการของสนุกรู้จักกับผู้ใช้มากขึ้น.

บทสรุป JOOX ยุคใหม่ และสถิติที่น่าสนใจ

• ถ้าดูตัวเลขธุรกิจเพลงทั่วโลก รายได้ของธุรกิจเพลงลดลงเรื่อยๆ แต่ 2 ปีหลังสุด พบการเติบโตครั้งแรกในรอบ 17 ปี โดยปี 2016 รายได้วงการเพลงเพิ่มขึ้น 17.7% สะท้อนว่ารายได้จากการขายแผ่นซีดีลดลง สวนทางรายได้ดิจิทัลเพิ่มขึ้น ทำให้ปี 2016 ถือเป็นปีแรกที่เม็ดเงินวงการเพลงโลกเติบโต

• เทรนด์เอเชียเหมือนเทรนด์ทั่วโลก ตลาดสตรีมมิ่งโตกว่าดาวน์โหลด เพิ่มขึ้นจาก 12% มาเป็น 53% แสดงว่าเด็กรุ่นใหม่ไม่ดาวน์โหลดแล้ว กดแล้วฟังเพลงเลย ต่างจากก่อนนี้ที่แฟนเพลงคิดว่าต้องเป็นเจ้าของเพลง

• พฤติกรรมผู้บริโภควันนี้ฟังออนไลน์แบบสตรีมมิ่งมากขึ้นถึงเกือบ 100% แถมเป็นการฟังเพลงผ่านสมาร์ทโฟนสูงถึง 71% ในปีที่ผ่านมา

• ตลาดที่ JOOX อยู่ได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฮ่องกง อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ จำนวนผู้ใช้รวมทั้งหมด 64 ล้านคน ยอดดาวน์โหลดแอปเฉพาะในประเทศไทยคือ 50 ล้านครั้ง เพิ่มจาก 25 ล้านครั้งในปีก่อนหน้า ยอดกดฟังเพลงคือ 2 พันล้านเพลง

• 65% ของยูเซอร์ไทย สตรีมเพลงผ่าน JOOX แบบออนไลน์ ที่เหลือเป็นการฟังแบบออฟไลน์ โดย JOOX มี 200 เพลย์ลิสต์ในช่วงแรก วันนี้เพิ่มเป็น 6 ล้านเพลย์ลิสต์ สะท้อนว่าคนรุ่นใหม่ชอบสร้างรายการเพลงแล้วแชร์ให้คนอื่นฟังด้วย

JOOX ยืนยันตลาดเพลงสตรีมมิ่งไทยวันนี้แข่งกันที่เพลงไทยไม่ใช่ราคา และไม่ใช่เกาหลี

 2017 คือปีที่ 2 ที่ JOOX เริ่มจัดอีเวนต์ โดยพยายามเข้าหาคนบนออฟไลน์ โดยปลายปีที่ผ่านมา มีการจัดงานแสดงสดให้ศิลปินท็อป 100 ของ JOOX มาร่วมกันสร้างเสียงเพลง ถือเป็นมิติแรกที่ JOOX เริ่มขายตั๋ว และยอดขายทำได้ระดับดีงานนี้เองที่มีการถ่ายทอดทั้งบน JOOX และ Workpoint 

• JOOX ยังจัดอีเวนต์ที่ 18 จังหวัด 20 โรงเรียนมหาวิทยาลัย เพื่อเข้าถึงนักเรียนนักศึกษาในหัวเมืองใหญ่ จุดนี้ JOOX พยายามสร้างคอมมูนิตี้ และมีการจัดงานการกุศลโดยร่วมมือกับ 50 ศิลปิน โดย JOOX เปลี่ยนวิวเป็นเงิน มอบให้เครือข่ายศิลปะดนตรีคนพิการ

• ปีนี้ JOOX จะออกไปต่างจังหวัดมากขึ้น และจะมีอีเวนต์ใหญ่ 21 มีนาคมนี้ เพื่อจะย้ำให้ศิลปินรู้ว่าทุกคนมีคุณค่ากับสังคม

• สุดท้ายแล้ว JOOX จะเน้นทำคอนเทนต์แนวใหม่ขึ้นมา แล้วนำไปวางบนแพลตฟอร์มอื่นด้วย JOOX เรียกสิ่งที่ทำนี้ว่า O2O คือการจะไปยังโลกออฟไลน์ด้วย โดย JOOX บอกว่าจะเผยแพร่ ทำให้ฟอร์แมตเนื้อหาของ JOOX ไปโชว์ที่รายการอื่น

• JOOX จะดึงรายการวิทยุมาไว้บน JOOX เช่นรายการผี ทำให้ JOOX เป็นมากกว่าการฟังเพลง แต่เป็นแพลตฟอร์ม ให้ศิลปินเชื่อมกับคนฟังได้ โดยศิลปินก็สามารถมาร้องเกะกับแฟนเพลงได้ เป็นอีโคซิสเต็มที่คลุมทั้งออนไลน์และออฟไลน์ได้แท้จริง

]]>
1158396
โชว์เดี่ยว ไม่ปัง ! สยามพิวรรธน์ ชู One Siam ผนึก 3 ศูนย์การค้า ลุย 6 บิ๊กอีเวนต์ทำเงิน ดึงขาช้อป https://positioningmag.com/1155773 Mon, 05 Feb 2018 11:12:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1155773 จัดกิจกรรม ทำแคมเปญตลาด แบบ “โชว์เดี่ยว” ยุคนี้ Impact อาจไม่แรงกระแทกใจผู้บริโภคเท่าที่ควร ทำให้ “สยามพิวรรธน์” จึงต้อง Rebranding แคมเปญการตลาด ภายใต้คอนเซ็ปต์ One Siam ด้วยการผนึกกำลัง 3 ศูนย์การค้า ประกอบด้วย สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ และสยามดิสคัฟเวอรี่ มาร่วมกันจัดกิจกรรมทางการตลาด ในการออกแคมเปญใหญ่ ตามฤดูกาล (Seasonal) หรือเทศกาลสำคัญๆ ที่ทำเงิน เช่น ตรุษจีน สงกรานต์ เป็นต้น โดยต่อยอดมาจากปลายปี 2560 ที่ชิมลางใช้กับช่วงเทศกาลทิ้งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่

ปี 2561 กลยุทธ์ One Siam จะนำไปใช้กับ 6 บิ๊กแคมเปญ ได้แก่ แคมเปญตรุษจีน, สงกรานต์, หมวดสินค้าแฟชั่น, แคมเปญ Summer , แคมเปญสินค้าเด็กและครอบครัว และปลายปีจะเป็นแคมเปญเฉลิมฉลองในช่วงสิ้นปี (Celebrate) เพราะถือเป็นช่วงไฮไลต์ของการช้อปปิ้ง โดยทั้ง 6แคมเปญจะใช้งบประมาณ 1,200 ล้านบาท จากปีก่อนใช้ราว 1,000 ล้านบาท

“เดิมเราจัดแคมเปญ โปรโมชั่นแยกกันในแต่ละศูนย์ แต่จากนี้การจัดแคมเปญอะไรก็ตามจะอยู่ภายใต้ธีมเดียวกันคือ One Siam จากนั้นแต่ละศูนย์จะหาจุดยืนของธีมให้ตรงกับจุดยืนของศูนย์อีกสเต็ป” มยุรี ชัยพรหมประสิทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายงานส่งเสริมการตลาด บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด กล่าว

เธอยกตัวอย่าง เทศกาลตรุษจีน จะชูเรื่องโคมไฟ สยามพารากอนจะเน้นความหรูหรา สยามเซ็นเตอร์จะต้องอาร์ตๆ และสยามดิสคัฟเวอรี่อาจเป็นโคมไฟเหลี่ยมๆ เป็นต้น

กลยุทธ์นี้ ยังช่วยเม็ดเงินโฆษณาประชาสัมพันธ์ ใช้ก้อนเดียวกัน จากเดิมแยกกันใช้ผ่านสื่อทีละครั้ง ตอกย้ำภาพของสยามพิวรรธน์ ในการ One Stop Shopping Destination สร้างอิมแพกต์ได้แรงกว่า ต่างคนต่างๆ ทำ

ขณะที่การประเดิมกลยุทธ์ One Siam กับเทศกาลตรุษจีน “สยาม ดีไลท์ฟูล ไชนีส นิว เยียร์” (Siam Delightful Chinese New Year) เป็นแคมเปญแรกเพราะเป็นเทศกาลที่คนไทยและต่างชาติจับจ่ายใช้สอย ช้อปปิ้งกันเงินสะพัดสูงมากเป็นอันดับ 2 รองจาก Celebrate แคมเปญปลายปีนั่นเอง

การทำโปรโมชั่นจับกลุ่มเป้าหมายไทย-เทศปีนี้ ยังแบ่งตามพฤติกรรมช้อปเชิงลึก (Insight) ของผู้บริโภคด้วย โดยคนไทยจะโฟกัสลูกค้ากระเป๋าหนัก 3 ประเภท ได้แก่

  • เศรษฐี บรรดาผู้มั่งคั่งทั้งหลาย แม้จะมีน้อยแต่กลุ่มนี้ช้อประบิดระเบ้อ
  • ขาช้อปตัวจริง (Shopaholic) เห็นป้ายลดราคา เห็นสินค้าใหม่แล้วอดใจไม่ได้ต้องปรี่เข้าหา
  • ลูกค้าที่มีไลฟ์สไตล์ประจำวัน ช้อปปิ้ง ดูหนัง กินข้าว ซึ่งมีสัดส่วนมากสุดจากทั้ง 3 กลุ่ม

ส่วนลูกค้าชาวต่างชาติจะเลือกประเทศที่เข้ามาใช้จ่ายในศูนย์สูงสุด ได้แก่ จีน ฮ่องกง เกาหลีใต้ มาเลเซีย และสิงคโปร์ ตัวอย่างกลุ่มนี้จะพบว่า ชาวจีนใช้จ่ายเฉลี่ยประมาณ 3,000-4,000 บาท และถ้าแยกเฉพาะใช้จ่ายที่พารากอนจะสูงถึงกว่า 10,000 บาทต่อคน

ส่วนสินค้าที่ช้อปกันในช่วงนี้ หลักๆ จะเป็นสินค้าอาหารและเบ็ดเตล็ดในซูเปอร์มาร์เก็ต, สินค้าหรู แบรนด์เนม, แฟชั่น และนาฬิกาและจิวเวลรี่ และยิ่งปี 2561 ตรุษจีนต่อเนื่องจากวันวาเลนไทน์ ทำให้สินค้าเครื่องประดับเป็นสินค้ายอดฮิตมากขึ้นด้วย

“การจับกลุ่มเป้าหมายต่างชาติ จะให้ความสำคัญกับนักท่องเที่ยวที่เดินทางด้วยตัวเอง (FIT) มากขึ้น เพราะข้อมูลจากสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (ATTA) เผยว่ากลุ่มนี้มีปริมาณและการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ขณะที่การจัดแคมเปญตรุษจีนบริษัทคาดหวังว่าจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาทั้ง 3 ศูนย์การค้าหมุนเวียนเติบโตกว่า 10% จากประมาณ 3 แสนคนต่อวัน ยอดการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 15%”

]]>
1155773