อุตสาหกรรมสื่อ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 19 Jan 2022 08:40:04 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ประเมินทิศทาง ‘เม็ดเงินโฆษณา’ พร้อมอัปเดต ‘5 เทรนด์ดิจิทัล’ ที่ยังมีอิมแพ็คในปี 2022 https://positioningmag.com/1370810 Wed, 19 Jan 2022 08:21:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1370810 หากพูดถึงภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปีที่ผ่านมา (2021) GDP คาดว่าจะเติบโตประมาณ 0.8-1.2% แม้ว่าช่วงไตรมาสสุดท้ายจะเจอกับ ‘โอมิครอน’ ก็ตาม  อย่างไรก็ตาม แม้ภาพรวมเศรษฐกิจจะเติบโตบ้าง แต่ภาพรวมอุตสาหกรรมสื่อเองกลับติดลบ -0.5% มาปี 2022 นี้ ปัทมวรรณ สถาพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มายด์แชร์ (Mindshare) ประเทศไทย ก็ได้ออกมาคาดการณ์ถึงภาพรวมอุตสาหกรรมในปีนี้ว่าจะมีปัจจัยบวกปัจจัยลบอย่างไร และนักการตลาดต้องปรับตัวอย่างไรบ้าง

2021 ติดลบแต่ 2022 จะ +6.4%

แม้ภาพรวมเศรษฐกิจปี 2021 จะไม่ได้เติบโตมากนัก เพราะในส่วนของการท่องเที่ยวยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ โดยภาพรวม นักท่องเที่ยวระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคมมีเพียง 106,117 คน แต่จากโครงการภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์ในช่วงปลายปีคาดว่าจะทำให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งปีอยู่ที่ประมาณ 2-4 แสนคน ขณะที่ความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Sentiment) มีแนวโน้มดีขึ้นโดยจบปีที่ 46.2 ต่ำสุดที่ 39.6 ในช่วงเดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นช่วง COVID-19 กำลังระบาดหนัก

ปัทมวรรณ สถาพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มายด์แชร์ (Mindshare) ประเทศไทย

ในส่วนของภาพรวม Media ปี 2021 มีการใช้เม็ดเงิน 105,528 ล้านบาท ติดลบ -0.5% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่าน อย่างไรก็ตาม การคาดการณ์ ภาพรวมเศรษฐกิจในปี 2022 คาดว่า GDP จะเติบโต +3.9% โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวประมาณ 5 ล้านคน ส่วนความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ประมาณ 50+ และเมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น แน่นอนว่าย่อมส่งผลต่อตลาด Media โดยคาดว่าภาพรวม Ad Spending จะมีเม็ดเงิน 112,250 ล้านบาท เติบโต +6.4% โดยแบ่งได้ ดังนี้

  • TV (64,000 ล้านบาท) +3%
  • Online (26,150 ล้านบาท) +2% 
  • Outdoor (6,200 ล้านบาท) +1.9%
  • In-store (700 ล้านบาท) +3.9%
  • วิทยุ (3,600 ล้านบาท) +11.7%
  • หนังสือพิมพ์ (2,700 ล้านบาท) +8.6%
  • แมกกาซีน (700 ล้านบาท) +20.5%
  • โรงหนัง (4,200 ล้านบาท)+23.3%
  • Transit (4,000 ล้านบาท) +10.8%

แม้จะเห็นว่าทุกสื่อกลับมาเติบโตหมด แต่หากเทียบกับปี 2019 หรือก่อนเกิด COVID-19 สื่อทุกอย่างยังติดลบทุกสื่อ ทั้งนี้ ในเม็ดเงินโฆษณาของ TV กลยุทธ์ TV Commerce เป็นกลยุทธ์ของการช่วยให้สื่อทีวีโตต่อไปได้ นอกจากนี้ การที่คนใช้งาน OTT (บริการสื่อผ่านอินเทอร์เน็ต) ผ่านสมาร์ททีวีจะเริ่มมีการทำโฆษณาที่ตรงใจผู้บริโภคมากขึ้น ส่วน Transit, Outdoor จะเติบโตจากการเปิดประเทศ เริ่มใช้ชีวิตนอกบ้านได้มากขึ้น

5 มุมดิจิทัลที่ยังสำคัญในปี 2022

ปัจจุบัน 82% ของประชากรไทยเข้าถึงอินเทอร์เน็ต, 74% อยู่บนโซเชียลมีเดีย, ค่าเฉลี่ยการใช้อินเทอร์เน็ตอยู่ที่ 9 ชั่วโมง 38 นาที แม้การเติบโตจะชะลอตัวลงแต่ดิจิทัลได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของผู้บริโภคไปแล้ว ดังนั้น ไปดู 5 มิติในมุมดิจิทัลที่ควรรู้ก่อนวางแผนทำแคมเปญการตลาด

  1. Search ยังเป็นเครื่องมือสำคัญ เพราะผู้บริโภคอยากได้อะไรก็ค้นหาสิ่งนั้น ดังนั้น นักการตลาดต้องกลับมาดูในส่วนของการ Search Engine Optimization (SEO), Search Engine Marketing (SEM) ว่าจะทำอย่างไรให้สินค้าและบริการของของแบรนด์เป็นอันดับแรก ๆ ที่คนเห็น
  2. Online Video คนไทยยังชอบวิดีโอไม่ว่าจะอยู่บนแพลตฟอร์มไหน ซึ่งปัจจุบันแพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่งก็ได้รับความนิยมมากไม่ว่าจะเป็นแบบ SVOD (Subscription Video On Demand) รูปแบบวิดีโอที่เสียเงินสมัครสมาชิก, AVOD (Advertising Video On Demand) รูปแบบวิดีโอที่มีโฆษณามาคั่น และ TVOD (Transactional Video On Demand) รูปแบบวิดีโอที่มีการจ่ายต่อการรับชม เลือกให้มีการโฆษณาเฉพาะครั้ง ซึ่งทุกแพลตฟอร์มถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการเข้าถึงผู้บริโภคได้
  3. Influencers ยังเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่สำคัญ สามารถช่วยให้ลูกค้ามีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ได้ แถมยังมีความน่าเชื่อถืออีกด้วย
  4. Commerce ยังคงเติบโตต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น Social Commerce, Live Commerce แต่จากนี้จะยิ่งง่าย, สะดวกทั้งการจัดส่ง การชำระเงิน ดังนั้น ร้านค้าหรือแบรนด์ควรจะทำ Omnichannel เพื่อเข้าถึงผู้บริโภคทั้งออนไลน์และออฟไลน์
  5. Gaming แม้เม็ดเงินโฆษณาในไทยจะยังน้อยเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ อย่างเช่น จีน แต่ไม่ได้แปลว่าคนไทยเล่นเกมน้อย แถมยังใช้เวลาพอ ๆ กับการใช้โซเชียลมีเดียหรือมากกว่า แถมผู้หญิงยังเล่นมากกว่าผู้ชาย ซึ่งอนาคต Gaming เองจะเป็นมิติเดียวกับ Metaverse ดังนั้น Gaming จึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่น่าสนใจ

สิ่งแวดล้อมและความไม่แน่นอน Topic ที่ผู้บริโภคให้ความสนใจ

นอกจากนี้ อีกหนึ่งเรื่องที่ผู้บริโภคในปี 2022 สนใจคือ เรื่องสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะอุทกภัย ภัยแล้ง มีผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันทำให้เรื่องการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นที่เข้าใจในวงกว้างขึ้น และอีกหนึ่งบริบทที่สำคัญกับผู้บริโภคคือการมีมุมมองต่อ ความไม่แน่นอนของอนาคต ซึ่งเป็นตัวผลักดันที่ทำให้ผู้บริโภคประเมินรูปแบบชีวิตและการใช้ชีวิตใหม่ ดังนั้น แบรนด์หรือธุรกิจที่สามารถช่วยสร้างความเชื่อมั่น หรือความสะดวกสบายให้กับพวกเขาได้ก็จะเป็นข้อได้เปรียบทางธุรกิจ

“นักการตลาดต้องคิดให้ได้ว่าแต่ละกลุ่มควรใช้เงินเท่าไหร่ เป้าหมายผู้บริโภคเราอยู่ที่ไหน และมารวบขมวดเป็นการวางแผนสื่อของเราเพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้น แต่การใช้เม็ดเงินสำหรับแบรนด์หรือธุรกิจไม่จำเป็นต้องใช้เยอะให้ดูความคุ้มค่า และควรบาลานซ์ระหว่างการขายและสร้างอะแวร์เนส เพราะการกลับมานั้นยากกว่า

]]>
1370810
Facebook ขู่บล็อกไม่ให้ชาวออสซี่ “แชร์ข่าว” บนแพลตฟอร์ม ปมรัฐบาลเรียกเก็บค่าลิขสิทธิ์ https://positioningmag.com/1294872 Tue, 01 Sep 2020 04:13:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1294872 จากช่วงต้นปีที่รัฐบาลออสเตรเลียยกระดับแรงกดดัน เตรียมออกกฎหมายบีบให้บริษัทเทคยักษ์ใหญ่อย่าง Facebook และ Google ต้องแบ่งส่วนรายได้ค่าโฆษณาให้กับผู้ผลิตคอนเทนต์สื่อท้องถิ่น ล่าสุด Facebook ออกมาเตือนแล้วว่าถ้ารัฐยังไม่ถอย แพลตฟอร์มจะจัดการบล็อกไม่ให้บริษัทสื่อและบุคคลใดในออสเตรเลียโพสต์หรือแชร์ข่าวบน Facebook รวมถึง Instagram

“วิล อีสตัน” กรรมการผู้จัดการ Facebook ประจำประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ แถลงผ่านบล็อกโพสต์เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2563 ว่า คณะกรรมาธิการแข่งขันทางการค้าออสเตรเลีย (ACCC) “ละเลยข้อเท็จจริงที่สำคัญ” ในการดำเนินการออกกฎหมายดังกล่าว ข้อเท็จจริงที่ว่านี้รวมถึงความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างโซเชียลมีเดียกับบริษัทสื่อ

“รัฐบาลออสเตรเลียกำลังร่างกฎระเบียบที่เข้าใจพลวัตของอินเทอร์เน็ตอย่างผิดๆ และจะสร้างความเสียหายให้กับองค์กรสื่อท้องถิ่นที่รัฐพยายามจะปกป้อง” อีสตันกล่าว

“ถ้าหากร่างกฎหมายนี้ถูกบังคับใช้จริง เราจำต้องหยุดการอนุญาตให้บริษัทสื่อและบุคคลใดในออสเตรเลียโพสต์หรือแชร์ข่าว ไม่ว่าจะเป็นข่าวท้องถิ่นหรือข่าวสากล บนแพลตฟอร์ม Facebook และ Instagram” เขากล่าวต่อ “นี่ไม่ใช่ทางเลือกแรกของเรา นี่เป็นทางเลือกสุดท้ายที่เราจะทำ แต่เป็นทางเดียวที่จะป้องกันผลลัพธ์อันไร้ตรรกะ และจะสร้างความเสียหายมากกว่าความช่วยเหลือไปยังบริษัทสื่อออสเตรเลียในระยะยาว”

 

Facebook : เราส่งยอดคลิกเข้าเว็บไซต์ให้ ‘ฟรี’ มาตลอด

ต้นเรื่องของการวางแผนแบนการแชร์ข่าวจากสำนักข่าวบน Facebook นี้ มาจากการที่บริษัทสื่อท้องถิ่นของออสเตรเลียเข้าหารือกับรัฐบาลว่า แพลตฟอร์มอย่าง Facebook และ Google นำคอนเทนต์ของสื่อท้องถิ่นไปใช้งานและได้รับค่าโฆษณามหาศาล แต่สื่อท้องถิ่นกลับได้ส่วนแบ่งกลับมาน้อยมาก สุดท้ายทาง ACCC สั่งการให้กลุ่มบริษัทเทคฯ ร่างระเบียบให้ส่วนแบ่งรายได้อย่างสมัครใจ แต่ก็ไม่เป็นผล ทำให้รัฐบาลเดินหน้าร่างกฎหมายเพื่อ “บังคับ” แทน

ในร่างกฎหมายที่กำลังพิจารณากันอยู่นั้น นอกจากจะมีเรื่องส่วนแบ่งรายได้แล้ว กฎหมายจะกำหนดให้ Google และ Facebook ต้องแจ้งบริษัทสื่อผู้ผลิตคอนเทนต์ทราบถึงนโยบายการเปลี่ยนอัลกอริธึมล่วงหน้าก่อนทุกครั้ง และจะมีบทลงโทษหากไม่ทำตาม ทั้งสองบริษัทต่างต่อต้านในประเด็นนี้อย่างแข็งขัน โดยทาง Facebook กล่าวว่า กฎนี้จะทำให้บริษัทสื่อในออสเตรเลียได้เปรียบบริษัทสื่อประเทศอื่นอย่างไม่ยุติธรรม

(Photo by In Pictures Ltd./Corbis via Getty Images)

อีสตันยังกล่าวอีกว่า “คอนเทนต์ข่าว” เป็นเพียงส่วนเล็กๆ ที่ผู้ใช้ Facebook มองเห็นบน News Feeds และเป็นส่วนที่ “ไม่ใช่แหล่งที่มารายได้ที่สำคัญ” ของบริษัท

ขณะที่ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2020 แพลตฟอร์ม Facebook ได้ส่งจำนวนการคลิกถึง 2,300 ล้านครั้งเข้าไปที่หน้าเว็บไซต์ของบริษัทในอุตสาหกรรมสื่อออสเตรเลีย โดยไม่ได้เก็บค่าบริการใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งที่ทราฟฟิกเข้าเว็บไซต์ จำนวนดังกล่าวจะคิดเป็นมูลค่าสูงถึง 200 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย

 

Google ขึ้นกล่อง pop-up โต้กลับ

เมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา Google มีจดหมายเปิดผนึกออกมาตอบโต้ร่างกฎหมายนี้เช่นกัน โดยการใส่กล่อง pop-up บนหน้าโฮมเพจของเว็บไซต์ตนเองในออสเตรเลีย ข้อความว่า “การใช้งาน Google ของชาวออสซี่กำลังตกอยู่ในความเสี่ยง” และระบุว่าระเบียบข้อบังคับนี้จะสร้างความเสียหายต่อประสบการณ์การค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต

กล่อง pop-up ของ Google เพื่อโต้กลับรัฐบาลออสเตรเลีย

“กฎหมายนี้เป็นการให้สิทธิพิเศษแก่บริษัทสื่อขนาดใหญ่ และส่งเสริมให้พวกเขาสร้างข้อเรียกร้องมหาศาลที่ไร้เหตุผล ทำให้บริการฟรีของเราเกิดความเสี่ยงขึ้น” เป็นถ้อยแถลงโต้กลับของ Google

ACCC ตอบกลับจดหมายของ Google ว่า Google ให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน และเสริมว่า “ภาคธุรกิจสื่อที่แข็งแรงเป็นสิ่งสำคัญต่อกระบวนการประชาธิปไตยที่จะดำเนินไปได้ดี”

ช่วงที่ผ่านมา ธุรกิจสื่อในออสเตรเลียได้รับผลกระทบหนักหน่วงยิ่งขึ้นจาก COVID-19 ทำให้บริษัทสื่อใหญ่หลายๆ แห่งต้องลดเงินเดือนพนักงาน และบริษัทหนังสือพิมพ์บางส่วนต้องหยุดพิมพ์ชั่วคราวเนื่องจากรายได้ค่าโฆษณาที่ร่วงลงอย่างรุนแรง บริษัทดังกล่าวรวมถึง News Corp องค์กรสื่อยักษ์ระดับโลกของเศรษฐี “รูเพิร์ต เมอร์ด็อก” ด้วย

Source

]]>
1294872
PwC ฟันธง! อุตสาหกรรมสื่อ-บันเทิงไทย ปี 66 โกย 6.5 แสนล้าน บริการ OTT มาแรง-แข่งเดือด https://positioningmag.com/1243551 Fri, 23 Aug 2019 06:01:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1243551 จากรายงาน Global entertainment and media outlook 2019 – 2023 ของ PwC ซึ่งสำรวจข้อมูลด้านรายได้และคาดการณ์ทิศทางการเติบโตของ 14 กลุ่มอุตสาหกรรมสื่อและบันเทิงใน 53 อาณาเขตทั่วโลกพบอัตราการเติบโตเฉลี่ย 4.3% ต่อปี

ประเมินว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า ปี 2562 – 2566 จะเห็นรายได้ทั่วโลกของอุตสาหกรรมนี้สูงถึง 85.66 ล้านล้านบาท ในปี 2566 เพิ่มขึ้นจาก 69.5 ล้านล้านบาท ในปี 2561

พิสิฐ ทางธนกุล หุ้นส่วนสายงานตรวจสอบบัญชี และหัวหน้าสายงาน Entertainment & Media บริษัท PwC ประเทศไทย คาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมสื่อและบันเทิงในประเทศไทย จะมีมูลค่า 6.5 แสนล้านบาท ในอีก 5 ปีข้างหน้า หรือในปี 2566 การเติบโตเฉลี่ยต่อปีจะอยู่ที่ 5.05% เป็นไปในทิศทางเดียวกับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกโดยรวมที่ 5.01%

แต่ประเทศไทยก็ยังโตได้ช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่าง อินโดนีเซีย ที่เฉลี่ยต่อปี 9.5%, ฟิลิปปินส์ 6.2% และเวียดนามที่ 7.1% อย่างไรก็ตาม ไทยจะยังเติบโตนำหน้ามาเลเซียที่ 4.7% ส่วนสิงคโปร์รั้งท้ายที่ 3.8%

“ผู้บริโภคชาวไทยต้องการเสพสื่อและบันเทิงแบบส่วนบุคคลมากขึ้น ไม่แตกต่างไปจากผู้บริโภคในประเทศ อื่นๆ ทั่วโลก เป็นผลจากการใช้สมาร์ทโฟนและอุปกรณ์เชื่อมต่อที่เพิ่มขึ้น”

5G หนุนวิดีโอออนไลน์โต

สิ่งที่เป็น “จุดเปลี่ยน” คือ การเข้ามาของเครือข่าย 5G ที่คาดว่าจะเริ่มเปิดประมูลเร็วๆ นี้ ทำให้การเชื่อมต่อและตอบสนองทางออนไลน์รวดเร็วยิ่งกว่า 4G ดังนั้นผู้ประกอบการสื่อและบันเทิง ต้องเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่วันนี้หันมาเลือกเสพสื่อในรูปแบบที่ตัวเองต้องการมากขึ้นไม่ว่าจะ “เสพสื่อไหน อย่างไร หรือเมื่อไหร่”

กระแสของการใช้สื่อดิจิทัลของผู้บริโภคและธุรกิจไทยที่เพิ่มมากขึ้นในที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบให้กับผู้ประกอบการสื่อดั้งเดิม เช่น สื่อสิ่งพิมพ์และโทรทัศน์ ต้องหันมาปรับเปลี่ยนรูปแบบของการให้บริการไปสู่แพลตฟอร์มดิจิทัลมากขึ้น

“ยังมีผู้ประกอบการสื่อดั้งเดิมหลายรายประสบกับความยากลำบากในประคับประคองธุรกิจให้อยู่รอด หรือแม้กระทั่งต้องล้มเลิกกิจการไปในที่สุด”

บริการ OTT ตลาดไทยโตแรง!

รายงานของ PwC คาดการณ์ด้วยว่า บริการวิดีโอผ่านอินเทอร์เน็ต (Over-the-top video: OTT video) จะเป็นตลาดที่เติบโตเร็วที่สุดของประเทศไทยในอีก 5 ปีข้างหน้า จากความต้องเสพคอนเทนต์แบบ Video on demand ที่ขยายตัวมากขึ้น ส่งผลให้ตลาดนี้คึกคักและเห็นการแข่งขันที่รุนแรง จากผู้ประกอบการต่างประเทศและไทย เช่น Netflix, iflix และ HOOQ

มูลค่าการใช้จ่ายบริการรับชมวิดีโอผ่านอินเทอร์เน็ตในไทยเมื่อปี 2561 อยู่ที่ 2,810 ล้านบาท คาดว่าจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าในปี 2566 เป็น 6,080 ล้านบาท โตเฉลี่ยปีละ 16.64% ขณะที่สื่อทีวีและโฮมวิดีโอ โตเฉลี่ยต่อปีเพียง 4.76% จากมูลค่า 19,700 ล้านบาทในปี 2561 เป็น 24,900 ล้านบาทในปี 2566

โฆษณาออนไลน์ไทยโตเร็วสุด

กลุ่มสื่อที่เติบโตต่ำสุดในช่วง 5 ปีจากนี้ คือ หนังสือพิมพ์แและนิตยสาร เฉลี่ยลดลง 3.05% ต่อปี หนังสือเล่ม ลดลง 0.34% ต่อปี และ โฆษณาทีวี เติบโตต่ำที่ 1.8% ต่อปี

ขณะที่โฆษณาทางอินเทอร์เน็ต (Internet advertising) ของไทย จะเป็นตลาดที่เห็นการเติบโตรวดเร็วที่สุดเป็นอันดับที่ 2 เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากความชื่นชอบการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างต่อเนื่องของผู้บริโภคชาวไทย คาดว่าจะมีมูลค่าการใช้จ่าย 32,500 ล้านบาทในปี 2566 โตเฉลี่ยต่อปีที่ 13.62%

โดย Facebook ยังเป็นสื่อออนไลน์ที่ผู้บริโภคชาวไทยนิยมใช้มากที่สุด ตามมาด้วย YouTube และ Line ข้อมูลจากรายงาน Digital 2019 ของ Hootsuite และ We are Social ระบุว่า 74% ของประชากรไทยทั้งหมด เป็นผู้ใช้งานประจำของสื่อสังคมออนไลน์ ใช้เวลาเฉลี่ย 3 ชั่วโมง 11 นาทีในแต่ละวัน

ขณะที่วิดีโอเกมและอีสปอร์ต (Video games and esports) จะกลายเป็นตลาดที่เติบโตเร็วที่สุดเป็นอันดับที่ 3 ของไทย คาดว่ามูลค่า 33,000 ล้านบาท ในปี 2566 โตเฉลี่ยต่อปีที่ 7.7% จากการขยายตัวของสมาร์ทโฟนที่เพิ่มขึ้น ทำให้ฐานลูกค้าของผู้บริโภคเกมบนมือถือเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

]]>
1243551
มายด์แชร์ลุ้นเม็ดเงินโฆษณา “แสนล้านบาท” ฟื้น! ขาขึ้นทีวีดิจิทัล ออนไลน์ สื่อนอกบ้าน คนดูไม่ยึดติดที่ช่องทีวี แต่ติดที่รายการ https://positioningmag.com/1153861 Thu, 18 Jan 2018 12:48:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1153861 ภาพรวมอุตสาหกรรมสื่อในปี 2560 อาจจะอยู่ในภาวะขาลงการใช้เม็ดเงินโฆษณาติดลบ ซึ่งถือว่าผิดจากที่บรรดาเอเยนซี่คาดการณ์ แต่ปี 2561 จะเห็นการคืนชีพของเม็ดเงินที่สะพัดและเติบโตในสื่อเกือบยกแผง

มายด์แชร์เอเยนซี่เครือข่ายด้านการตลาดและการสื่อสารในไทย มองแนวโน้มการใช้จ่ายเม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อปีนี้จะมีมูลค่ากว่า1.19 แสนล้านบาท เติบโต 7.6% เทียบช่วงเดียวกันของปี 2560 ที่มีมูลค่ากว่า 1.1 แสนล้านบาท ติดลบ 5.9% ส่วนปัจจัยบวกที่กระตุ้นให้การใช้เม็ดเงินโฆษณาฟื้นตัวมาจากทุกภาคส่วนพยายามหาทางกระตุ้นเศรษฐกิจตั้งแต่รัฐบาลอนุมัติงบลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์ต่างๆ การประกาศจะมีเลือกตั้งปลายปี ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นมากขึ้น

หากพิจารณาการเติบโตของสื่อแยกย่อยลงไปพบว่า ในปี 2561 สื่อทีวียังคงมีบทบาทต่อผู้บริโภค เพราะอัตราการเข้าถึงครัวเรือนเรียกว่า 100% ทุกบ้านจะต้องมีทีวี เมื่อแบรนด์ทำตลาดและโฆษณาลงไป การกระจายถึงคนหมู่มากทีวีจึงได้ผลอยู่ จึงคาดว่าเม็ดเงินโฆษณาปีนี้สะพัดถึง 71,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 59.6% ของเม็ดเงินทั้งอุตสาหกรรม

คนดูไม่ติดช่องแต่ติดรายการ

ในเม็ดเงินจำนวนนี้ ที่น่าสนใจคือการเติบโตของทีวีดิจิทัลยังมีให้ห็นต่อเนื่อง เมื่อทีวีอนาล็อกช่องเดิมๆ ไม่สามารถตรึงคนดูได้เหมือนอดีตอีกต่อไป ทางเลือกของทีวีดิจิทัล 22 ช่อง มีคอนเทนต์ รายการที่ดึงดูด Eyeball ได้ไม่แพ้กัน ปีนี้จึงเห็นการแบ่งไหลของเม็ดเงินโฆษณามาสู่ทีวีดิจิทัลเป็น 25,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 21% จากปีก่อนอยู่ที่ 21,831.8 ล้านบาท สัดส่วน 19.7% และทีวีอนาล็อกอยู่ที่ 43,000 ล้านบาท สัดส่วน 36.1% จากปีก่อนอยู่ที่ 40,949 ล้านบาท สัดส่วน 37%

ปัจจุบันคนดูไม่ยึดติดที่ช่องทีวีอีกต่อไป แต่ติดที่รายการ และชีวิตประจำวันของผู้บริโภคไม่ดูละครแบบเดิมๆ แต่มีทางเลือกละครใหม่ๆ รายการใหม่ที่ตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น เช่น The Mask Singer มีละครเพื่อสังคม แม้กระทั่งรายการข่าวมีนักข่าวหน้าใหม่ๆ เกิดขึ้นในวงการดึงดูดผู้ชมปัทมวรรณ สถาพร กรรมการผู้จัดการ มายด์แชร์ ให้มุมมอง 

สื่อนอกบ้าน หรือ Out of Home เป็นอีกสื่อที่เม็ดเงินไหลไปมากขึ้น มีมูลค่าประมาณ 21,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 18.1%

ตามด้วยสื่อนอกบ้าน คิดเป็นอัตราส่วน 18.1% หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 2.1 หมื่นล้านบาท และสื่ออินเทอร์เน็ตคิดเป็นอัตราส่วน 10.5% หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 12,465 ล้านบาท เหตุผลหลักเพราะผู้บริโภคกลับมาใช้ชีวิตปกติช้อปปิ้งกินเที่ยวนอกบ้านเมื่อเทียบกับปีก่อนที่มีสถานการณ์ความเศร้าโศก จากไลฟ์สไตล์ดังกล่าวแบรนด์จึงต้องทุ่มเงินซื้อสื่อเพื่อให้คนเหล่านี้เห็นและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น

ขณะที่สื่อดิจิทัล ยังเป็นคำตอบของการทำตลาดในยุคนี้ เพราะสามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายได้แม่นยำ นอกจากจะรู้ลักษณะประชากรศาสตร์ว่าเพศ อายุเท่าไหร่ แต่ยังรู้ลึกเกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคได้ด้วย ซึ่งในปีนี้เม็ดเงินที่สะพัดในสื่อดิจิทัลคาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 12,465 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 10.5%

สิ่งหนึ่งที่ตอกย้ำออนไลน์ยังทรงอิทธิพลคือ ยอดการใช้งานของโซเชียลมีเดียต่างๆ ยังเป็นขาขึ้นคนไทยใช้งาน Facebook ประมาณ 48 ล้านคน Line 44 ล้านคน Youtube 43 ล้านคน ไหนจะเสพสื่อ Kapook Pantip และเว็บไซต์ดังอื่นๆ อีกว่า 30 ล้านคน แต่ละวันจับเจ่ากับโลกออนไลน์มากกว่า 4 ชั่วโมง เป็นต้นข้อมูล” เหล่านี้ช่วยยืนยันว่าเทรนด์ใช้จ่ายเม็ดเงินผ่านสื่อออนไลน์ยังขยายตัวต่อเนื่อง

ผู้บริโภคเข้าถึงโลกออนไลน์มากขึ้นเรื่อยๆ คนต่างจังหวัดมีอินเทอร์เน็ตใช้มากขึ้น แม้กระทั่งการดูทีวี ยังไม่ได้อยู่แค่แพลตฟอร์มจอแก้วเท่านั้น แต่ยังมีทั้งออนไลน์ Live สด ดูย้อนหลัง ความสำคัญดิจิทัลจึงมีมากขึ้น และถือเป็นไฮไลต์ในการทำตลาดด้วย

ส่วนกลุ่มสินค้าที่เริ่มหันกลับมาใช้จ่ายเงินผ่านสื่อมากขึ้น เกือบ 1 เดือนที่ผ่านมา พบว่า กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer) และยานยนต์เริ่มกลับมาอย่างเห็นได้ชัด เทียบกับปีก่อน ยูนิลีเวอร์ซึ่งเป็นผู้นำในการใช้งบโฆษณามีการใช้จ่ายลดลงมากถึง 16.8% ตามด้วยโตโยต้าลดลง 14.4% ส่วนพร็อคเตอร์แอนด์แกมเบิล (P&G) ใช้จ่ายมากขึ้นเพราะก่อนหน้าปี 2559-60 มีการหั่นงบไปล่วงหน้าแล้วจึงกลับมาใช้จ่ายอีกครั้งในปีที่แล้ว

ประเดิมต้นปีเอเยนซี่ยังคงมองบวก เมื่อแลนด์สเคปสื่อเปลี่ยนแปลงไป ปี 2561 จึงเป็นอีกปีที่ต้องจับตาว่าเม็ดเงินโฆษณาแสนล้านจะไหลไปทางไหน และจะเติบโตอย่างที่คาดการณ์ไหม ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด

]]>
1153861