รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจกรรมทางเศรษฐกิจของไต้หวันเปิดเผยว่า คำสั่งดังกล่าวจะมีประกาศอย่างเป็นทางการวันที่ 3 กันยายนนี้ โดยจะสั่งการห้ามองค์กรและบุคคลใดทำงานร่วมกับบริษัทสตรีมมิ่งจากจีนแผ่นดินใหญ่ ทำให้ทั้งสองบริษัทจะให้บริการบนเกาะไต้หวัน “อย่างผิดกฎหมาย” ไม่ได้ แม้แต่การดำเนินการผ่านตัวแทนผู้จัดจำหน่ายหรือเอเย่นต์ก็ไม่สามารถกระทำได้
iQiyi (อ้ายฉีอี้) นั้นเป็นแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งรายใหญ่ในเครือ Baidu โดยมีลักษณะคล้าย Netflix คือเป็นแพลตฟอร์มที่รวบรวมซีรีส์ ภาพยนตร์ รายการวาไรตี้ ที่ผลิตโดยมืออาชีพมาให้สมาชิกได้รับชม แอปฯ iQiyi ยื่นขออนุญาตเปิดบริษัทย่อยในไต้หวันเมื่อปี 2559 แต่ทางการไต้หวันปฏิเสธการเปิดบริษัทไป
เนื่องจากไต้หวันมี “กฎหมายความสัมพันธ์ทางการปกครองระหว่างพื้นที่สาธารณรัฐไต้หวันกับพื้นที่แผ่นดินใหญ่” ซึ่งกำหนดให้บริษัทจีนสามารถลงทุนจำหน่ายสินค้าและให้บริการในไต้หวันได้เป็นบางหมวดเท่านั้น และบริการสตรีมมิ่งไม่อยู่ในรายการที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม แพลตฟอร์ม iQiyi และ WeTV ซึ่งเป็นคู่แข่งประเภทเดียวกันจากเครือ Tencent หลีกเลี่ยงการบังคับใช้กฎหมาย โดยการร่วมเป็นพันธมิตรกับธุกิจสื่อท้องถิ่นและตัวแทนจัดจำหน่ายในไต้หวัน เพื่อโปรโมตและบริการสตรีมมิ่งของตนเอง
สำนักข่าว Taipei Times รายงานเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาว่า iQiyi อาจจะมีสมาชิกถึง 6 ล้านคนบนเกาะไต้หวัน และมีสำนักข่าวท้องถิ่นรายงานเมื่อเดือนธันวาคมปีก่อนว่า แพลตฟอร์มนี้มียอดวิวทะลุ 1,700 ล้านวิวไปแล้ว เนื่องจากซีรีส์สุดฮิต The Legend of Haolan ออกฉาย ส่วนแอปฯ WeTV มียอดดาวน์โหลดมากกว่า 1 ล้านครั้งในไต้หวัน หลังจากเปิดบริการมาไม่ถึง 1 ปี
“โคลาส โยทากะ” โฆษกหญิงรัฐบาลไต้หวัน กล่าวไว้เมื่อเดือนเมษายนว่า การอนุญาตให้แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งจีนให้บริการได้บนช่องว่างทางกฎหมาย ด้วยการไปจับมือกับบริษัทท้องถิ่น เป็นการ “ทำผิดต่อหลักประชาธิปไตย” และไต้หวันซึ่งเป็นเขตปกครองตนเองจะร่างกฎหมายใหม่มาอุดช่องว่างนี้ จากนั้นจึงนำมาสู่การออกกฎหมายห้ามทำงานร่วมกับบริษัทสตรีมมิ่งจากจีน
Tencent ยังไม่มีการให้ข้อมูลใดๆ ส่วน iQiyi กล่าวว่าให้ยึดคำแถลงจาก OTT Entertainment ซึ่งเป็นพันธมิตรธุรกิจท้องถิ่นในไต้หวัน ทาง OTT กล่าวว่า “บริษัทจะยึดมั่นในการปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของสมาชิกผู้ใช้งานอย่างเต็มที่”
สถานการณ์ธุรกิจเทคโนโลยีจีนช่วงนี้กำลังถูกโจมตีอย่างหนัก ด้วยข้อกังวลว่าแอปฯ จีนเหล่านี้ไม่มีการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลผู้ใช้และจะเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ ทำให้สหรัฐอเมริกาและอินเดียเริ่มแบนแอปฯ จีนไปจำนวนมาก เช่น TikTok, WeChat สำหรับ TikTok นั้นถูกสหรัฐฯ สั่งการให้ถอนตัวออกจากตลาดภายใน 90 วัน ส่วนอินเดียมีการแบนแอปฯ จีนไปแล้วถึง 59 ราย หลังเกิดการปะทะของกองทัพจีนกับอินเดียบริเวณชายแดนจนมีผู้เสียชีวิต
“การตรวจสอบแอปฯ จีนในระดับสากลจากข้อกังวลเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลและความมั่นคงของชาติ ประเด็นนี้จะกลายเป็นอุปสรรคสำคัญในการขยายธุรกิจของบริษัทอินเทอร์เน็ตจีน” เวย์-เซิร์น หลิง นักวิเคราะห์จาก Bloomberg Intelligence กล่าว “การแบนแอปฯ เพื่อตอบโต้เอาคืนในเชิงภูมิรัฐศาสตร์เป็นวิธีที่นำมาใช้ได้ง่าย และยังสร้างผลเสียติดตามมาน้อยกว่าหากเทียบกับวิธีการอื่น เช่น ตั้งกำแพงภาษี”
]]>แม้จะมีต้นเหตุจากโฆษณา (อ่านเพิ่มเติมที่ข่าว https://positioningmag.com/1153187) แต่ดูเหมือนกรณีที่เกิดขึ้นจะกลายเป็นเกมการเมืองในแอฟริกา ล่าสุดพรรค Democratic Alliance (DA) ออกมาให้ความเห็นว่าพรรค Economic Freedom Fighters (EFF) ควรจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบการพังร้าน H&M สาขาโจฮันเนสเบิร์กเมื่อวันที่ 13 มกราคมที่ผ่านมา ทำให้ H&M ตัดสินใจปิดทำการหลายสาขาในวันที่ 14 เพื่อความปลอดภัยของพนักงาน
เหตุประท้วงแบรนด์แฟชันระดับโลกสัญชาติสวีเดน H&M นี้เกิดขึ้นเพราะกลุ่มนักเคลื่อนไหวในแอฟริกาใต้ผู้สวม “ชุดแดง” ที่เข้าบุกทำลายข้าวของในร้าน H&M เสียหายมากกว่า 6 สาขา เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องใช้กระสุนยางและแก๊สน้ำตาเพื่อสลายการประท้วงต่อต้านการเหยียดผิว ซึ่งมีรายงานว่ามีการเตรียมการมาอย่างดี ทำให้มีคลิปวิดีโอถูกเผยแพร่ทั่วโลกโซเชียล
ไม่นาน Julius Malema ผู้นำพรรค EFF ออกมาชื่นชมการประท้วงนี้ ขณะที่พนักงาน H&M ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงในการเก็บกวาดสิ่งที่เสียหายจากการประท้วง ทั้งหมดนี้ทำให้โฆษกพรรค DE ออกมาให้ความเห็นว่า Malema นี่เองคือผู้ที่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากวิกฤติประท้วงที่เกิดขึ้น
ในขณะที่เป็นผู้เสียหายและเป็นต้นตอของวิกฤติทั้งหมด H&M ออกแถลงการณ์มืออาชีพที่ยอมรับผิดเพราะความละเลยไม่ดูแลผลงานการออกแบบของพนักงาน H&M จนทำให้เกิดความผิดพลาดที่ “ไม่อาจยอมรับได้” ทั้งหมดนี้ H&M ขออภัยแต่โดยดีและจะระวังไม่ให้เกิดเหตุผิดพลาดเช่นนี้อีก
H&M ใช้คำว่า H&M เชื่อในการต่อต้านการเหยียดผิวและอคติในรูปแบบใดก็ตาม ทั้งที่เจตนาหรือโดยอุบัติเหตุ ว่าเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ แต่ก็ต้องขอย้ำคำขอโทษ และยืนยันว่าได้ลบภาพต้นเหตุออกไปทุกช่องทางแล้ว
สำหรับการปิดร้านค้าในโจฮันเนสเบิร์กและเคปทาวน์เมื่อ 13-14 มกราคมที่ผ่านมา เป็นไปเพื่อความปลอดภัยสำหรับพนักงานและลูกค้า ไม่ให้มีใครได้รับผลจากการประท้วงโดยสมาชิกของ EFF โดยไม่ลืมบอกว่ากำลังอยู่ระหว่างการสอบสวนทางกฏหมาย
มารดาของหนูน้อยในโฆษณาต้นเหตุของ H&M ถูกผู้ประท้วงตั้งสมญานามว่า “ลิง” หลังจากเธอออกมาให้ความเห็นว่าผู้ที่ต่อต้านโฆษณาของ H&M ควรจะ “ก้าวข้ามมันไป” ได้แล้ว
มารดาของหนูน้อยมีชื่อว่า Terry Mango ผู้ส่งลูกชายวัย 5 ขวบคือ Liam Mango มาถ่ายโฆษณาให้ H&M จนทำให้เกิดความไม่พอใจวงกว้าง คุณแม่เชื้อชาติเคนยาซึ่งมีสัญชาติสวีเดนปกป้องโฆษณานี้ด้วยการโพสต์ข้อความไม่ธรรมดา แม้จะยอมรับว่าไม่ได้สนใจเนื้อหาบนเสื้อที่ลูกชายสวมเพื่อถ่ายแบบว่าเกี่ยวกับการหมิ่นเชื้อชาติ
Terry Mango ระบุในโพสต์ Facebook ที่ถูกลบไปแล้ว ว่าเธอเป็นแม่ของ Liam ซึ่งเคยถ่ายแบบสินค้าหลายร้อยชิ้นแล้ว เธอขอให้ทุกคนหยุดใส่ใจกับปัญหานี้ และก้าวข้ามมันไป โดยเธอยกตัวอย่างว่าหากเธอซื้อเสื้อตัวนี้ แล้วให้ลูกชายสวมเพื่อโพสต์บนหน้าเว็บตัวเอง เธอเชื่อว่าเธอจะไม่ถูกมองว่าเธอเป็นคนเหยียดผิว เหมือนที่โฆษณาชิ้นนี้ของ H&M ถูกมอง
Terry Mango ยังบอกว่า ทุกคนมีสิทธิ์ในความคิดเห็นของตัวเอง เพียงแต่เธอไม่เข้าใจเท่านั้น
ล่าสุด คุณแม่ Terry Mango บอกกับสำนักข่าว Gulf News ว่า ผลที่ตามมาในขณะนี้ คือผู้ใช้โซเชียลมีเดียบางคนหันมาเรียกเธออย่างเหยียดผิวแทน โดยเรียกเธอเป็นลิง
“คุณจะต่อสู้กับการแบ่งแยกเชื้อชาติได้อย่างไร ในเมื่อตัวคุณเองก็ยังเขียนคำพูดที่เหยียดผิว” เธอกล่าว “คุณไม่ได้พยายามปกป้องลูกชายของฉัน แต่ใช้คำเดียวกันเพื่อเรียกฉัน“
สรุป งานนี้แม่เจ็บสุดสินะ.
ที่มา :
]]>