เกรย์ฮาวด์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 25 Jun 2024 13:02:36 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “KUBOTA x GREYHOUND” เปลี่ยน “ฟางข้าว” จากท้องนาเป็น “เสื้อผ้า” ช่วยลดมลพิษจากการเผา https://positioningmag.com/1479597 Tue, 25 Jun 2024 10:37:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1479597 “สยามคูโบต้า” จับมือแบรนด์แฟชั่น “เกรย์ฮาว ออริจินัล” เปิดตัวคอลเล็กชัน “KUBOTA x GREYHOUND” เสื้อผ้าที่ผลิตจากเส้นใยฟางข้าว สร้างประโยชน์ให้วัสดุเหลือใช้ จูงใจให้เกษตรกรลดการเผานาที่เป็นบ่อเกิดของมลพิษ PM2.5

“สยามคูโบต้า” เป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องจักรกลการเกษตรที่อยู่ในไทยมานาน 46 ปี มีความใกล้ชิดกับเกษตรกรไทยโดยเฉพาะกลุ่ม “ชาวนา” จึงทราบดีว่าชาวนาใช้วิธี “เผา” ในการจัดการท้องนาหลังเก็บเกี่ยว ต้นเหตุส่วนหนึ่งของปัญหามลพิษฝุ่น PM2.5 ทำให้สยามคูโบต้ามีนโยบายที่จะช่วยจูงใจให้ชาวนาลดการเผานาข้าวมาโดยตลอด เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม

ขณะที่ “เกรย์ฮาวด์ ออริจินัล” เป็นแบรนด์แฟชั่นสัญชาติไทยที่มีนโยบายด้าน Sustainable Fashion ด้วยตระหนักรู้ว่าอุตสาหกรรมแฟชั่นเป็นธุรกิจที่ทำร้ายสิ่งแวดล้อมอย่างมาก ทำให้แบรนด์เริ่มสร้างไลน์สินค้า Green Label มาตั้งแต่ปี 2565 เพื่อผลิตเสื้อผ้าที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม

เกรย์ฮาวด์
KUBOTA x GREYHOUND ORIGINAL PRESENT “Turn Waste to Agri-Wear” ใช้เส้นใยจากฟางข้าวเป็นส่วนผสม 20% ของผืนผ้า

ด้วยเป้าหมายที่ตรงกันทำให้ทั้งสองแบรนด์หันมาจับมือในโปรเจ็กต์คอลเล็กชัน KUBOTA x GREYHOUND ORIGINAL PRESENT “Turn Waste to Agri-Wear” นำเส้นใยจาก “ฟางข้าว” มาใช้ผลิตเสื้อผ้าในคอลเล็กชันนี้ ช่วยเปลี่ยนวัสดุเหลือใช้ให้กลายเป็นวัสดุที่มีประโยชน์ มีราคา จูงใจให้เกษตรกรเปลี่ยนจากการเผามาเก็บอัดฟางข้าวเพื่อนำไปจำหน่าย

โดย เกรย์ฮาวด์ ออริจินัล ออกแบบเสื้อผ้าและของใช้ในคอลเล็กชันนี้มาทั้งหมด 20 SKUs เช่น เสื้อ กางเกง หมวก กระเป๋า เน้นการออกแบบในสไตล์ GREYHOUND ที่ใส่ได้ทั้งหญิงและชาย (Unisex) และเป็นสไตล์สตรีทแวร์ที่แฟนคลับแบรนด์ทุกคนคุ้นเคย คอลเล็กชันนี้ผลิตแบบ Limited Edition แต่ละ SKU จะมีผลิตออกมาเพียง 300-500 ชิ้น จำหน่ายผ่านร้านเกรย์ฮาวด์ ออริจินัล ทั้ง 4 สาขา คือ สยามพารากอน เซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทรัลลาดพร้าว และเมกาบางนา รวมถึงจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์

เกรย์ฮาวด์
รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายของคอลเล็กชันนี้จะมีการนำบริจาคให้กับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย

 

ต่อยอดงานวิจัยมาสู่งานขายจริง

“พิษณุ มิลินทานุช” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้จัดการทั่วไป สายงานขาย การตลาดและบริการ บริษัท สยามคูโบต้า คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของโปรเจ็กต์มาจากทางสยามคูโบต้ามีเป้าหมายที่จะช่วยลดการเผานาด้วยการสร้างประโยชน์ให้กับฟางข้าว ปัจจุบันฟางข้าวจะถูกนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงชีวมวลกับอาหารสัตว์เป็นหลัก แต่เพียงเท่านั้นยังไม่พอที่จะรับซัพพลายฟางข้าวจากนาข้าวทั้งประเทศไทย

ในที่สุดบริษัทค้นคว้าจนได้พบกับงานวิจัยของ คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ ซึ่งมีนวัตกรรมใหม่ “เส้นใยฟางข้าวผสมเส้นใยจากรังไหม” นำมาปั่นและทอเป็นผ้าได้ และมีกลุ่มสตรีทอผ้าฝ้าย ตำบลทับน้อย อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ เป็นผู้ผลิตผืนผ้า สยามคูโบต้าจึงเป็นตัวกลางในการติดต่อนำเสนอผ้านวัตกรรมนี้ให้กับเกรย์ฮาวด์ ออริจินัล เพื่อทดลองนำไปออกแบบเป็นเสื้อผ้าแฟชั่นภายใต้แบรนด์ของตนเอง

เกรย์ฮาวด์
กลุ่มสตรีทอผ้าฝ้าย ตำบลทับน้อย อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์

ด้าน “ภาคิน เพ็ญภาคกุล” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มัด แอนด์ ฮาวด์ จำกัด (มหาชน) เจ้าของแบรนด์เกรย์ฮาวด์ ออริจินัล หลังได้รับการทาบทามก็สนใจทันทีเพราะวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อมตรงกัน จากนั้นใช้เวลา 6 เดือนในการศึกษาผ้าและออกแบบคอลเล็กชันนี้

ภาคินกล่าวว่า ผลการตอบรับจากลูกค้าดีมาก หลายแบบขายหมดแล้วในโควตาช่องทางออนไลน์ เหลือเฉพาะหน้าสาขา เชื่อว่าเกิดจากคนรุ่นใหม่ก็ใส่ใจและสนับสนุนงานด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น รวมถึงมีความเชื่อมั่นในแบรนด์เกรย์ฮาวด์ ออริจินัลว่าออกแบบดี และใช้ผ้าคุณภาพดีในการตัดเย็บ

(ที่ 3 จากซ้าย) “พิษณุ มิลินทานุช” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้จัดการทั่วไป สายงานขาย การตลาดและบริการ บริษัท สยามคูโบต้า คอร์ปอเรชั่น จำกัด (ที่ 2 จากขวา) “ภาคิน เพ็ญภาคกุล” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มัด แอนด์ ฮาวด์ จำกัด (มหาชน)

ส่วนการใช้ผ้าจากเส้นใยฟางข้าวในคอลเล็กชันต่อๆ ไปนั้น ภาคินกล่าวว่าขอรอดูยอดขายของคอลเล็กชันนี้ก่อน แต่ภาพรวมนโยบายบริษัทต้องการสนับสนุนวัสดุเพื่อสิ่งแวดล้อมทุกชนิด โดยปัจจุบันไลน์สินค้า Green Label ของเกรย์ฮาวด์ ออริจินัลมีสัดส่วนประมาณ 10% ของไลน์สินค้าทั้งหมด สินค้าในไลน์นี้จะมุ่งเน้นด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ผ้ารีไซเคิลจากขวดพลาสติก ผ้าคอตตอนออแกนิกส์ คอลเล็กชันจากเศษผ้า เป็นต้น

สำหรับภาพรวมธุรกิจกลุ่มเสื้อผ้าของ มัด แอนด์ ฮาวด์ ภาคินระบุว่า แบรนด์กลับมาเติบโตต่อเนื่อง 3 ปีที่ผ่านมาหลังพ้นวิกฤตโควิด-19 ธุรกิจเสื้อผ้าโตปีละ 10-15% ขณะที่ 5 เดือนแรกปี 2567 ธุรกิจเสื้อผ้าของบริษัทโตประมาณ 5-10%

ปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจเสื้อผ้าของเกรย์ฮาวด์กลับมาโตได้ เกิดจากการปรับตัวให้เข้ากับตลาดมากขึ้น โดยเพิ่มเสื้อผ้าที่มีความเรียบง่ายใส่ได้ทั่วไปมากขึ้น จากเดิมที่เสื้อผ้าเกรย์ฮาวด์จะมีสไตล์ชัดเจนและแฟชั่นมาก รวมถึงปรับมาออกคอลเล็กชันถี่มากขึ้นเพราะคนรุ่นใหม่เปลี่ยนแฟชั่นเร็วขึ้น

]]>
1479597
Greyhound Cafe ถึงเวลารีเฟรชแบรนด์ เตรียมเปิดสแตนด์อโลนขนาด 3 ไร่ที่ “ราชพฤกษ์” https://positioningmag.com/1396852 Sun, 21 Aug 2022 13:16:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1396852 Greyhound Cafe คัมแบ็กโลเคชั่นรัชโยธินอีกครั้ง เปิด Greyhound Ratyo ดีไซน์ และคอนเซ็ปต์ใหม่ เตรียมแผนเปิดโมเดลสแตนด์อโลนสาขาแรกที่ราชพฤกษ์ พื้นที่ 3 ไร่ ยังยึดทำเลในกรุงเทพฯ ไม่ไปต่างจังหวัด แต่กระจายรายได้ไปต่างประเทศมากขึ้น

ต้องรีเฟรชแบรนด์ ดีไซน์ร้านหลายคอนเซ็ปต์

25 ปีทั้งที Greyhound Cafe (เกรย์ฮาวด์ คาเฟ่) ขอรีเฟรชแบรนด์ครั้งใหญ่ แต่ไม่เชิงรีแบรนด์ทั้งหมด เพียงแต่ปรับคอนเซ็ปต์แต่ละสาขาให้ทันสมัยขึ้น ถ้าใครเป็นแฟนๆ ของร้านจะเห็นว่าโดยปกติทุกร้านของ Greyhound จะมีสไตล์ Modern and Contemporary เหมือนกันหมด ที่ให้ความรู้สึกดิบๆ ปนความเท่ เน้นสีดำ ไฟสลัวๆ

แต่ด้วยเทรนด์ของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงมากขึ้น การไปทานอาหาร หรือการไปแฮงค์เอาท์ ต้องการถ่ายรูป หรือหาบรรยากาศใหม่ๆ ทำให้ Greyhound ต้องปรับวิธีคิดใหม่ แต่จะไม่ใช้การรีโนเวตสาขา เพียงแค่สาขาที่เปิดใหม่ จะดีไซน์ในคอนเซ็ปต์ใหม่ทั้งหมด และแต่ละสาขาจะไม่เหมือนกัน

Greyhound Cafe

เริ่มนำร่องที่สาขา Greyhound Ratyo หรือที่ ดิ อเวนิว รัชโยธิน เป็นการคัมแบ็กโลเคชั่นเดิมหลังจากปิดไป 6-7 ปี เนื่องจากก่อนหน้านี้มีการทำอุโมงค์ตรงแยกรัชโยธิน ทำให้ทราฟฟิกหาย จึงเลือกปิดร้าน แต่เมื่อถนนเป็นปกติ และมีรถไฟฟ้า ทำให้ทำเลรัชโยธินเป็นจุดน่าสนใจ เนื่องจากเป็นย่านที่มีกำลังซื้อสูง

Greyhound Ratyo มีการดีไซน์ใหม่ ใช้งบลงทุน 15 ล้านบาท พื้นที่ 250 ตารางเมตร ในคอนเซ็ปต์ Cozy at day, Party at night. เน้นบรรยากาศเป็นกันเองเหมือนอยู่บ้าน และมีการดึงเอาสตรีทฟู้ดมาดีไซน์เป็นเมนูใหม่ของร้าน เช่น ปลาหมึกบด หมูทอด

ภาคิน เพ็ญภาคกุล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท เกรฮาวด์ คาเฟ่ จำกัด เล่าว่า

“2 ปีที่ผ่านมา ได้เปลี่ยนมุมมองการทำธุรกิจคาเฟ่ไปค่อนข้างเยอะ รูปแบบจะเปลี่ยนไป สาขาตามศูนย์จะยังมีอยู่ แต่จะไปคอมมูนิตี้มอลล์มากขึ้น แต่นอกจากอาหารแล้ว ประสบการณ์ก็สำคัญ จึงต้องออกแบบร้านให้ทันสมัยขึ้น ลูกค้าจะมองหาประสบการณ์มากกว่าความอร่อย ความท้าทายคือ ทำให้ลูกค้าไม่เบื่อกับการใช้บริการ” 

ภาคิน เพ็ญภาคกุล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท เกรฮาวด์ คาเฟ่ จำกัด
ภาคิน เพ็ญภาคกุล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท เกรฮาวด์ คาเฟ่ จำกัด

รัชโยธิน เป็นย่านที่มีกำลังซื้อ และเป็นแหล่งรวมไลฟ์สไตล์ ร้านอาหาร คาเฟ่ และช้อปปิ้ง สะดวกสบายง่ายต่อการใช้ชีวิต เนื่องจากติดรถไฟฟ้า และยังเป็นศูนย์กลางการเดินทางที่สามารถไปได้ทุกที่ ไม่ว่าจะเข้าหรือออกนอกเมือง Greyhound จึงกลับมาเปิดสาขาใหม่อีกครั้ง แต่ทำให้มีคาแรกเตอร์ที่สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของผู้คนย่านนี้ มีความแฟชั่นมากขึ้นให้เหมาะกับยุคสมัย

ภาคินบอกถึงไทม์ไลน์ในการทำร้านว่า ใช้เวลาดีไซน์ร้าน 1 เดือน ก่อสร้างร้าน 45 วัน ในขณะที่ทำสัญญากับแลนด์ลอร์ดเพียงแค่ 2 วันเท่านั้น บ่งบอกถึงการตัดสินใจในการบุกโลเคชั่นนี้อย่างแน่วแน่

ผุดสแตนด์อโลสาขาแรก

นอกจากสาขารัชโยธินแล้ว ในครึ่งปีหลังยังเตรียมเปิดอีก 2 สาขา ได้แก่ โรงพยาบาลเมดพาร์ค และสาขาราชพฤกษ์ ทั้ง 2 สาขาจะมีดีไซน์ที่แตกต่างกันอีกเช่นเคย

Greyhound Cafe

ที่โรงพยาบาลเมดพาร์คจะเป็นสไตล์ Cozy เน้นเมนูสุขภาพ และอาหารเช้า ให้ความรู้สึกว่ามาโรงพยาบาลแล้วไม่น่าเบื่อ ไม่อึดอัด เหมือนทานอาหารอยู่บ้าน

ส่วนสาขาที่ราชพฤกษ์จะเป็นโมเดลสแตนด์อโลนสาขาแรกในพื้นที่ขนาด 3 ไร่ สร้างตึกเอง อยู่ติดถนนใหญ่ เป็นอีกหนึ่งคอนเซ็ปต์ด้วยเช่นกัน อาจจะมีโซนบาร์บีคิว รองรับการจัดปาร์ตี้ ฉลองงานต่างๆ และมีห้อง VIP สำหรับสมาชิกของ Greyhound เท่านั้น คาดว่าจะใช้งบลงทุน 40 ล้านบาท เพราะมีพื้นที่ขนาดใหญ่ เตรียมเปิดช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้

ไม่ไปต่างจังหวัด

สำหรับแผนในการขยายสาขาของ Greyhound ทางภาคินยอมรับว่าค่อนข้างท้าทาย เพราะด้วย Positioning ของแบรนด์ ทำให้ต้องเน้นโลเคชั่นอยู่ในกรุงเทพฯ ไม่ขยายไปต่างจังหวัด ก่อนหน้านี้เคยไปมาบ้างแล้วแต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร

Greyhound Cafe

“เรายังคงไม่ขยายไปต่างจังหวัด ก่อนหน้านี้เคยมีไปเปิดที่พัทยา และหัวหิน แต่ปิดให้บริการไปก่อนที่ COVID-19 จะระบาด มองแล้วว่าไม่เข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภค ที่ต่างจังหวัดมีร้านอาหารท้องถิ่นเยอะอยู่แล้ว คนจากกรุงเทพฯ ไปก็ต้องการทานร้านท้องถิ่น ไม่ได้อยากไปเพื่อกินร้านที่มีสาขาในกรุงเทพฯ ทำให้เราไม่พร้อมที่จะไปบุกตลาดต่างจังหวัดอีก”

การเลือกโลเคชั่นอยู่แต่ในกรุงเทพฯ จึงมีความท้าทายตรงที่พื้นที่เริ่มมีจำกัด ศูนย์การค้า หรือคอมมูนิตี้มอลล์ก็ผุดขึ้นจนแน่นไปหมด อีกทั้งคาแรกเตอร์ที่ต้องเลือกโลเคชั่นที่ค่อนข้างพรีเมียมด้วยอีก ทำให้ Greyhound ต้องเน้นยอดขายสาขาเดิมมากขึ้น บวกกับสาขาใหม่ต้องดึงดูดได้ดี

“ยอมรับว่าการขยายสาขายากขึ้น เลยต้องเพิ่มยอดขายจากสาขาเดิม ทำให้ต้องมาเน้นที่เมนูอาหารที่ใช้มานาน 10 กว่าปีแล้ว เมนูที่ไม่ได้ความนิยมก็ตัดออกไป และก็จะมีเมนูโปรโมชันออกทุก 45 วัน จะออกถี่ขึ้น แต่ก่อนออกทุก 3 เดือน ยูนิฟอร์มของพนักงานก็ออกแบบใหม่ อีกส่วนหนึ่งก็คือ มองรายได้จากต่างประเทศสำคัญขึ้น อยากไปเอเชีย และยุโรป ต้องการกระจายรายได้ เพราะในไทยมีโลเคชั่นครอบคลุมในกรุงเทพฯ เกือบหมดแล้ว ด้วยโพสิชั่นทำให้การหาทำเลต้องประณีตหน่อย”

Greyhound Cafe

ที่ต่างประเทศจะเป็นระบบแฟรนไชส์ ยกเว้นที่ลอนดอนที่ลงทุนเปิดเอง เริ่มขยายสู่ตลาดต่างประเทศเมื่อปี 2554 เปิดสาขาแรกที่ IFC mall ฮ่องกง ปัจจุบันมีสาขาในต่างประเทศทั้งหมด 13 สาขา ใน 4 เมืองใหญ่ของเอเชีย คือ ฮ่องกง, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และ 1 สาขาในยุโรป ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในย่าน Fitzrovia ซึ่งเป็นย่านแห่งไลฟ์สไตล์สุดฮิป

สำหรับเมนูอาหาร ได้มีดีไซน์เมนูใหม่ๆ ที่เข้ากับยุคสมัย เมื่อปลายปี 2564 ได้ออกเมนูยำที่ใส่น้ำปลาร้าครั้งแรก และล่าสุดได้ออกเมนูก๋วยเตี๋ยว เป็นเทรนด์ที่หลายแบรนด์เริ่มทำแบรนด์ก๋วยเตี๋ยวน้ำตกแบบพรีเมียมมากขึ้น

ส่วนเมนูยอดนิยมที่ขายดีที่สุดของร้าน ได้แก่ แซลมอนแช่พริก, ปีกไก่ทอด และปูผัดข้าว ยอดการใช้จ่ายเฉลี่ย 650-800 บาท/คน

เมนูใหม่ที่เกรย์ฮาวด์ รัชโย

ปัจจุบัน Greyhound Cafe ได้อยู่ภายในเครือของบริษัท มัดแมน จำกัด (มหาชน) ซึ่งทางมัดแมนได้ซื้อกิจการมาได้ 12 ปีแล้ว แต่ยังคงใช้ทีมบริหารเดิม มีแบรนด์ในเครือ ได้แก่ โอ บอง แปง, บาสกิ้น ร็อบบิ้นส์, ดังกิ้นโดนัท, เกรฮาวด์ คาเฟ่, อนาเธอร์ฮาวด์ คาเฟ่, กินเฮ บาย เกรฮาวด์, ครัวเอ็ม, Le Grand Vefour ร้านอาหารหรูระดับ Michelin สองดาว กรุงปารีส

และล่าสุดได้เปิดตัวแบรนด์น้องใหม่ Beanhound  by Greyhound Café ร้านกาแฟที่มีทั้งสเปเชียลตี้ และระดับแมส รวมไปถึงไซม่อนเซย์ชาบู และฟังก์กี้ ฟรายส์ ภาคินมองว่ายังขาดร้านอาหารในกลุ่มบุฟเฟต์นานาชาติ คาดว่าจะเปิดตัวปีหน้าที่สาขาพระราม 4 ในพื้นที่ 2 ไร่

ปัจจุบัน Greyhound Café มีสาขารวมกว่า 21 สาขาในเมืองไทย ส่วน Another Hound Café มีทั้งหมด 3 สาขา คาดว่าในปีนี้มีการเติบโต 10-15%

Beanhound by Greyhound Café
Beanhound by Greyhound Café
]]>
1396852
เกรย์ฮาวด์โชว์คอลเล็คชั่นสุดเก๋ในงานบางกอกแฟชั่นวีค 2005 https://positioningmag.com/24503 Mon, 22 Aug 2005 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=24503

กรุงเทพฯ – 19 สิงหาคม 2548 – หลังผงาดในวงการแฟชั่นไทยมานานถึง 25 ปี เกรย์ฮาวด์ สร้างความตื่นตาตื่นใจอีกครั้งในงานแสดงสินค้าบางกอกแฟชั่นวีค 2005 ด้วยคอลเล็คชั่นใหม่ “evo-revo-lution” ภายใต้แบรนด์ “เพลย์ฮาวด์”

ภาณุ อิงคะวัต คีรเอทีพ ไดเร็คเตอร์ ของเกรย์ฮาวด์ กล่าวถึงผลงานการออกแบบคอลเล็คชั่น “evo-revo-lution” ที่นำไปแสดงใน Catwalk Show ภายในแฟชั่นโดมในวันเปิดงาน ซึ่งเป็นคอลเล็คชั่นที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดคอลเล็คชั่นหนึ่ง ว่า “คอลเล็คชั่นนี้มีรายละเอียดค่อนข้างมาก รวมถึงการเลือกใช้ผ้าและวัสดุคุณภาพสูง เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าที่ให้ความสำคัญทั้งในแง่รูปแบบและคุณภาพ กลุ่มนี้ยินดีจะซื้อสินค้าในราคาที่สูงกว่า หากสินค้านั้นมีคุณภาพดีและนำสมัย”

คอลเล็คชั่น “evo-revo-lution” ของ “เพลย์ฮาวด์” สำหรับปี 2006 มีทั้งเสื้อผ้าผู้ชายและเสื้อผ้าผู้หญิง ดีไซเนอร์ได้แรงบันดาลใจมาจากกลุ่มคนเมืองที่เป็นกบฏทางความคิดกับสังคมกระแสหลัก โดยคนกลุ่มนี้พยายามต่อสู้เพื่อเสรีภาพและความเชื่อของตนเอง ดังนั้น รูปแบบเสื้อผ้าที่ออกมาจึงเป็นส่วนผสมของเสื้อแจ๊คเก็ตในแบบทหารที่ตัดเย็บจากผ้าฝ้ายและลินิน กับกระดุมและแถบเครื่องหมายต่างๆ ของทหาร เสริมด้วยงานพิมพ์ลายหรืองานปัก แต่ทั้งหมดเน้นนำเสนอแนวทางสันติและต่อต้านสงคราม ส่วนเรื่องการใช้สี ดีไซเนอร์เลือกใช้โทนกลางๆ แต่แฝงความอุ่นอยู่ในตัว ด้วยสีของดินเหลือง ดินเผาสีน้ำตาลเข้ม เสริมบางจุดให้โดดเด่นขึ้นด้วยสีน้ำตาลปนแดง และสีทอง

“เพลย์ฮาวด์” ถือกำเนิดขึ้นเมื่อ 3 ปีก่อน เพื่อตอบสนองกลุ่มลูกค้าวัยรุ่นที่ต้องการเสื้อผ้าในสไตล์ลำลองและสวมใส่สบาย สำหรับคอลเล็คชั่น “evo-revo-lution” ที่นำมาแสดงในงานนี้ นับเป็นผลงานการออกแบบอีกรูปแบบหนึ่งที่สะท้อนการปฏิวัติทางแฟชั่นขนานใหญ่ของเกรย์ฮาวด์

]]>
24503