เขียง – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 04 Aug 2021 11:14:46 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ZEN Group พลิกกระบวนท่า เช่าครัวโรงแรม ตึกแถวนอกห้างฯ หาโมเดลสำรอง “ระยะยาว” https://positioningmag.com/1343358 Tue, 20 Jul 2021 15:42:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1343358 จากประกาศของ ศบค. ล่าสุด ทำให้ร้านอาหารภายในศูนย์การค้าต้องปิดให้บริการทั้งหมด แม้แต่ให้บริการเดลิเวอรี่ก็ไม่ได้ ทำเอาร้านอาหารต่างกุมขมับ แต่บรรดาเชนต่างๆ ปรับตัว สรรหาโมเดลใหม่ๆ ที่อยู่นอกศูนย์การค้า หวังกระจายความเสี่ยงในยามที่ถูกปิดร้านให้มากที่สุด

กระจายความเสี่ยงโมเดลใหม่ “ถาวร”

แน่นอนว่ามาตรการของทางรัฐบาลในครั้งนี้ เป็นยาแรงอย่างที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ภาคเอกชนก็หวังว่าใช้ยาแรง “เจ็บแต่จบ” การปิดร้านอาหารในศูนย์การค้าในครั้งนี้ก็สร้างแรงสั่นสะเทือนอย่างหนัก เพราะแบรนด์ที่มีสาขาแต่ในศูนย์ฯ ก็จำเป็นต้องปรับตัวทั้งหาพื้นที่ใหม่ ระบายสต๊อกให้ไว แต่แบรนด์ที่มีสาขาอยู่นอกศูนย์ฯ บ้าง ก็ยังพอใช้ทำเลในการอยู่รอดไปได้อีก

ZEN Group หนึ่งในเชนร้านอาหารรายใหญ่ในไทย มีแบรนด์ในเครืออย่าง เซ็น เรสเตอร์รอง, ตำมั่ว, ลาวญวน, เขียง, ออนเดอะเทเบิ้ล, อากะ และดินส์ ซึ่งร้านอาหารส่วนใหญ่จะมีสาขาอยู่ในศูนย์การค้าต่างๆ แต่ในช่วงหลายปีให้หลังมานี้ ZEN เริ่มจับทิศทางตลาด “สตรีทฟู้ด” อาหารไทย ขยายแบรนด์ “เขียง” ส่วนใหญ่ทำเลอยู่นอกศูนย์การค้า ในตลาด ชุมชน

แม้มาตรการของรัฐครั้งนี้จะสร้างความตกใจ แต่ก็ไม่ได้สร้างความ “หวาดกลัว” ให้กับ “บุญยง ตันสกุล” แม่ทัพของ ZEN Group มากนัก แต่ก็ต้องใช้เวลานี้ในการมองหาโอกาสใหม่ๆ ให้กับธุรกิจ

บุญยงเริ่มเปิดใจก่อนว่า จริงๆ ไม่ได้คาดคิดเลยว่าจะมีมาตรการปิดร้านอาหารในศูนย์การค้า เพราะเป็นปัจจัย 4 ที่ต่างประเทศก็ยังเปิดให้เดลิเวอรี่ และซื้อกลับบ้านได้เหมือนกัน และธุรกิจนี้มีการจ้างงานเยอะ ส่วนใหญ่มีพนักงานเฉลี่ย 20-30 คน/สาขา พอต้องปิดร้านก็กระทบเยอะ

ปัจจุบัน ZEN Group มีร้านอาหารรวม 350 สาขาทั่วประเทศ ตอนนี้ต้องปิดสาขาในศูนย์การค้า 130 สาขา แต่ก็ยังเหลือสาขาที่ตั้งอยู่นอกศูนย์การค้าได้เยอะ ราวๆ 200 สาขา ส่วนใหญ่เป็นแบรนด์ “เขียง” มาจากการปูพรมขยายสาขา และการอ่านเกมตลาดว่าต้องขยายสาขาเข้าชุมชนมากขึ้น ลดการพึ่งพิงศูนย์การค้า

บุญยงบอกว่า ในครั้งนี้ต้องทำหลายรูปแบบ ทั้งใช้พื้นที่ร้านของตัวเอง การซื้อพื้นที่ครัวกลางสำเร็จรูปที่ตอนนี้มีหลายรูปแบบที่สร้างขึ้นมาเพื่อรองรับตลาดโดยเฉพาะ เช่าพื้นที่ร้านค้าทั่วไป เช่าครัวโรงแรม เช่าครัวโรงเรียนสอนอาหาร ต่อไปอาจจะซื้อตึกแถว แล้วรวมทุกแบรนด์ของ ZEN เลยก็ได้

“ตอนนี้มีเช่าครัวกลางสำเร็จรูป เอาทุกแบรนด์มารวมมีที่สุขุมวิท และวิภาวดีรังสิต มีให้ทีมงานไปสำรวจร้านอาหารนอกศูนย์ฯ ส่วนใหญ่เป็นร้านเล็กๆ เมื่อเจอวิกฤตก็ขาดสภาพคล่อง เราก็ไปขอเช่าพื้นที่เขา เช่าครัวโรงแรม 2 แห่ง รวมถึงโรงเรียนสอนทำอาหาร ส่วนใหญ่เป็นสถานที่ที่ไม่ได้เปิดให้บริการเยอะมาก ก็ไปขอเช่าพื้นที่เขา จะดูทำเลเป็นหลักว่าเสริมกับเดลิเวอรี่ได้หรือไม่ การเช่าโรงแรม กับโรงเรียนสอนอาหารเป็นระยะสั้น แต่ต่อไปจะมีตึกแถวแบบชั้น 1-3 มีแต่แบรนด์ในเครือก็ได้” 

“การไปเช่าพื้นที่โรงแรมถูกกว่าค่าเช่าในศูนย์การค้าเยอะ ตอนนี้เปิดในศูนย์การค้าก็เป็นความเสี่ยง ถ้าไม่เปลี่ยนโมเดลจะเสี่ยง ซึ่งภาครัฐไม่มองการทำธุรกิจที่แท้จริง มองแค่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ทำให้ต้องเปลี่ยนแนวคิดเยอะ”

โมเดลใหม่ๆ ที่เริ่มขยายไปนอกศูนย์การค้านั้น บุญยงบอกว่าถ้าเป็นไปได้อยากทำให้เป็นโมเดล “ถาวร” อย่างครัวกลางที่รวมหลายๆ แบรนด์เหมือนฟู้ดคอร์ท เพราะค่าเช่าถูกกว่าในศูนย์ฯ ไม้ตองมีหน้าร้านก็ได้ แค่รองรับเดลิเวอรี่ เพราะต่อไปการเปิดร้านที่มีการนั่งทานในร้านจะเป็น “ความเสี่ยง” อย่างหนึ่งแล้ว

“ตอนนี้มองหาโมเดลใหม่ๆ ให้อยู่ถาวร ต่อไปรัฐบาลจะออกมาตรการอะไรก็อยู่ได้ กระจายความเสี่ยง มีหลายบริษัทเริ่มทำครัวสำเร็จรูปให้คนไปเช่าเป็นครัวกลาง เหมือนเช่าในศูนย์ฯ แต่ค่าเช่าถูกกว่าเยอะ ตอนนี้ต้องอย่าไปลุ้นกับมาตรการรัฐ ไม่แน่นอน เป็นความเสี่ยงที่บริหารยาก ไม่มองว่าแค่ 14 วันด้วย มองว่าลากยาวเป็นปี ยังไม่รู้จะออกหัว หรือก้อย ไปแสวงหา White Ocean ดีกว่า ผ่านมา 4 เวฟแล้ว เข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ เราต้องกระจายความเสี่ยงกันเอง ต้องตีลังกาคิด ตอนนี้เปิดนั่งทานในร้านเสี่ยงสุด กลายเป็นว่าต้องเปลี่ยนการทานในร้านเป็นตัวเสริม ไม่ใช่ช่องทางหลัก ไม่งั้นจะจมปลัก ต้องมาแก้ปัญหาเรื่อยๆ ไม่มองวิกฤตแล้ว มองหาโอกาสดีกว่า”

ได้ทีขอรีโนเวตไปเลย

ไหนๆ ตอนนี้ร้านอาหารในศูนย์การค้าต้องปิดให้บริการแบบ 100% แล้ว ทำให้ทางศูนย์ฯ ไม่เก็บค่าเช่า ทางบุญยงกลับมองว่าเป็นเรื่องดีกว่าในปีก่อนอีกด้วยซ้ำ ที่ต้องเปิดได้แค่ซื้อกลับบ้านและเดลิเวอรี่ แต่ก็ยังต้องจ่ายค่าเช่าแค่บางส่วนอีก

เมื่อปิดร้านแบบ 100% ค่าเช่าไม่ต้องจ่าย จึงได้ทีในการ “รีโนเวต” ร้านบางสาขาไปในตัว เพราะถ้าในช่วงสถานการณ์ปกติถ้าจะปิดร้านเพื่อรีโนเวตแต่ละที่ ก็ยังต้องจ่ายค่าเช่าอยู่ดี

“ตอนนี้มีโอกาสหลายพอร้านหยุด ค่าเช่าก็หยุดไปด้วย มองว่าดีกว่าปีก่อนๆ สามารถคุมค่าใช้จ่ายได้ เลยถือโอกาสรีโนเวตบางสาขาที่ทำเลดีๆ ยอดขายดีๆ ไปเลย เป็นการลงทุนระยะสั้น รีโนเวตเลย 30-45 วัน เพราะตอนนี้เท่ากับศูนย์อยู่แล้ว บริหารแบบนี้ดีกว่า เพราะเวลาเปิดขายใหม่ ยอดขายจะขึ้นเป็น V Shape อยู่แล้ว อีกอย่างถ้าร้านที่ไปตั้งบูธขายด้านล่าง หรือจุดที่ทางศูนย์ฯ รวมไว้ให้ ก็ต้องเสียค่าส่วนกลางต่างๆ จ่ายค่าแอร์ ค่า รปภ. ไม่ได้วางขายฟรีเลย”

ต้องไปฟู้ดรีเทล

แม้ร้านอาหารต้องปิด หลายๆ ธุรกิจต้องปิดตัวลง แต่ธุรกิจเดียวที่ยังสามารถเปิดได้ในศูนย์การค้าตอนนี้คือ “ซูเปอร์มาร์เก็ต” รวมถึงร้านสะดวกซื้อที่เปิดทั่วไปด้วย นั่นหมายความว่าธุรกิจรีเทลยังไปได้สวย และเติบโตอย่างต่อเนื่อง

อีกกระบวนท่าหนึ่งที่บุญยงจะขยับเข้าไปก็คือ “ฟู้ดรีเทล” ด้วยการออกสินค้ากลุ่มน้ำพริก แจ่ว หรือน้ำปลาร้าให้มากขึ้น ก่อนหน้านี้ได้มีทำออกมาบ้างแล้ว แต่ต้องทำออกมามากขึ้น แล้วขยายช่องทางการขายไปยังซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ

ในอนาคตอาจจะมีพัฒนาเมนูอาหารพร้อมทาน อาจจะเป็นเมนูซิกเนเจอร์ที่นั่งทานในร้าน แต่นำมาทำเป็นอาหารพร้อมทาน เก็บไว้ทานได้นาน หาซื้อได้สะดวก

“จะเห็นว่าแต่ละครั้งซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อไม่เคยปิด เราเลยต้องใช้วิธีมุ่งไปฟู้ดรีเทล เช่น ผลิตน้ำพริกคลุกข้าวเยอะขึ้น แจ่ว เอาไปปรุงอาหารได้ ในเฟส 2 จะเอาซิกเนเจอร์แต่ละแบรนด์มาทำอาหารพร้อมทาน ตอนนี้อุตสาหกรรมอาหารดีขึ้นทำให้รสชาติไม่เพี้ยน ต่อไปต้องไปในทางนี้ เป็นทางที่ไม่สะดุด ตลาดนี้จะโตเป็น 2,000 ล้านได้ ดีกว่าไปจับเทรนด์ร้านอาหารที่น่าจะตก 50%”

ผูกปิ่นโตรายวันไปถึงรายเดือน

อีกหนึ่งบริการที่จะคลอดในสัปดาห์นี้ก็คือ “ปิ่นโต” เป็นเหมือน Subscribe ส่งอาหาร เป็นรายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือน ถ้าเป็นรายวันราคาเริ่มต้น 300 บาท ทางร้านจะส่งให้รอบ 3 มื้อ แล้วลูกค้านำไปอุ่นทานได้ทั้งวัน รายสัปดาห์ และรายเดือนก็จะราคาต่อมื้อถูกลงไปอีก

แนวคิดบริการปิ่นโตเกิดมาจากที่ทาง ZEN Group ได้ช่วยเหลือผู้ป่วยที่ติดเชื้อ COVID-19 แล้วอาการไม่เยอะ ทำ Home Isolation อยู่บ้าน ทางโรงพยาบาลจะมีติดต่อบริษัททำอาหารให้ร่วมโครงการ ให้ช่วยส่งอาหารให้ผู้ป่วยตามบ้านในช่วงกักตัว ที่ผ่านมาได้ทำอาหารส่งวันละ 200 ครัวเรือน

บุญยงจึงมาปรับใช้กับสถานการณ์ในตอนนี้ เน้นจับกลุ่มลูกค้าที่อาศัยอยู่คอนโดฯ เป็นหลัก โดยมองเห็นว่าพฤติกรรมคนกลุ่มนี้มีไมโครเวฟอยู่แล้ว ถ้าส่งอาหารครั้งเดียว แล้วเก็บไว้อุ่นทานได้ 3 มื้อก็น่าจะทำได้ ไม่ต้องเสียเวลาสั่งอาหารหลายรอบ ลดความเสี่ยงในการเจอไรเดอร์

จะเริ่มต้นจากร้านเขียงในกรุงเทพฯ เป็นหลัก เพราะมีสาขา 70 แห่ง ครอบคลุมทำเดลิเวอรี่ได้ จะเริ่มเปิดให้บริการวันศุกร์ที่ 23 ก.ค. นี้ แล้วถ้าร้านอาหารเปิดตามปกติก็จะดูว่าผลตอบรับเป็นอย่างไร อาจจะเป็นบริการถาวรเลยก็ได้

เชื่อว่า… หลังจากนี้ภาพของ ZEN Group จะยิ่งชัดเจนยิ่งขึ้น ในการเน้นขยายสาขานอกศูนย์การค้า เพราะไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงมากนัก เมื่อเจอกับการเปลี่ยนแปลงที่ไม่แน่นอน
]]>
1343358
ZEN แตกแบรนด์ “โต้รุ่ง” รุกโมเดล Ghost Kitchen หน้าร้านไม่มี เดลิเวอรี่ถึง 5 ทุ่ม https://positioningmag.com/1327410 Fri, 09 Apr 2021 08:33:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1327410 ZEN ปล่อยหมัดเด็ดรับสงกรานต์ แบรนด์ใหม่ “โต้รุ่ง” ด้วยโมเดล Ghost Kitchen ไม่มีหน้าร้าน มีแต่ครัว เน้นบริการเดลิเวอรี่ถึง 5 ทุ่ม คอนเซ็ปต์รวมเมนูเด็ดจากร้านดังชาวพื้นบ้านหลากหลายจังหวัดในที่เดียว  

เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป หรือ ZEN เปิดตัวแบรนด์ “โต้รุ่ง” รวมเมนูซิกเนเจอร์จากร้านอาหารดังพื้นบ้านต่างจังหวัด ชูโมเดล Ghost Kitchen ไม่มีหน้าร้าน ให้บริการแบบเดลิเวอรี่ และซื้อกลับ ตั้งแต่ 08.00 – 23.00 น. นำร่องเปิดบริการสาขาแรกปากซอยอ่อนนุช 17 พร้อมเสิร์ฟความอร่อย 6 เมนูเด็ด

บุญยง ตันสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ZEN เปิดเผยว่า

“ภาพรวมธุรกิจร้านอาหารริมทาง หรือ Street Food ยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยประมาณการปี 2564 จะมีมูลค่าตลาดรวมมากกว่า 340,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่มีมูลค่าตลาดรวมประมาณ 270,000 ล้านบาท มีจำนวนร้านค้ามากกว่า 103,000 ร้านทั่วประเทศ ด้วยศักยภาพของธุรกิจร้านอาหารสตรีทฟู้ด บริษัทฯ จึงแตกโมเดลใหม่ แบรนด์โต้รุ่ง โดยรวบรวมเมนูซิกเนเจอร์ร้านอาหารดังพื้นบ้านจังหวัดต่างๆ หลากหลายสไตล์ให้บริการรูปแบบเดลิเวอรี่ และซื้อกลับ”

สำหรับแบรนด์โต้รุ่ง วางคอนเซ็ปต์เป็นร้านอาหารที่มีเฉพาะครัวโดยไม่ต้องมีหน้าร้าน (Ghost Kitchen) โดยช่วงแรกเปิดตัว 6 เมนูเด็ด ได้แก่ เมนูข้าวผัดโบราณ, ปากหม้อนครพนม, ยำปลาร้าหอมสารคาม, ไก่ทอดหาดใหญ่, ต้มเลือดหมูปทุมธานี และโจ๊กปทุมธานี ราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 30 บาท

คัดสรรจากร้านอาหารสตรีทฟู้ดชื่อดัง ภายใต้ราคาที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ พร้อมกับใช้เชฟที่ผ่านการอบรมสูตรอาหารลับเฉพาะกับแต่ละร้านอาหาร และเพิ่มทางเลือกแก่ผู้บริโภคสามารถสั่งเมนูอาหารหลากสไตล์ได้ในครั้งเดียว

นำร่องเปิดสาขาแรกที่ซอยอ่อนนุช 17 และวางแผนเปิดให้บริการสาขาที่ 2 ที่ซอยสุขุมวิท 20 ในรูปแบบเดลิเวอรี่ ตั้งแต่ 08.00 – 23.00 น. โดยประเดิมต้อนรับเทศกาลสงกรานต์ และรองรับความต้องการสั่งอาหารกลับไปรับประทานในช่วงวันหยุดยาว และตอบโจทย์ผู้ที่ไม่ต้องการเดินทาง

สามารถสั่งผ่านแอปพลิเคชัน Grab food, Line man, foodpanda, gojek, Robinhood หรือ โทร.02 331 1722 คาดกระตุ้นยอดขายเติบโต 15-20 %

และในเร็วๆ นี้เตรียมทดลองเปิดเมนูโต้รุ่ง ในรูปแบบนั่งรับประทานภายในร้านเขียง สาขาอาคารเกษรทาวเวอร์ เพื่อขยายสู่โมเดลการนั่งรับประทานที่ร้านในอนาคต

]]>
1327410
ZEN Group รับกระแสกัญชาฟีเวอร์ เตรียมนำร่องใส่ใบกัญชากลุ่มร้านอาหารไทย  https://positioningmag.com/1324145 Fri, 19 Mar 2021 08:08:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1324145 เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป หรือ ZEN จับกระแสกัญชาฟีเวอร์ ขน 4 แบรนด์อาหารไทย “ตำมั่ว – เดอ ตำมั่ว – ลาวญวน และเขียง” เสิร์ฟอาหารไทยใส่ใบกัญชา ประเดิมร้านแรก เดอ ตำมั่ว สาขาเกษร ทาวเวอร์  เปิดตัวเมนูไก่ต้มอารมณ์ดี และยำอารมณ์ดี เจาะลูกค้าใจกลางเมืองรับกระแสกัญชาฟีเวอร์

การเปิดเมนูใหม่นี้หวังเพิ่มปริมาณลูกค้าเข้าร้านอีก 15-20% พร้อมจับมือพันธมิตรอุตสาหกรรมอาหาร วิจัย และพัฒนาน้ำปลาร้าผสมกัญชาแบรนด์ “ตำมั่ว” คาดเปิดตัวครึ่งปีหลัง ปั้นเป็นสินค้าเรือธงตัวใหม่เจาะตลาดร้านอาหารไทย และอาหารอีสาน  

บุญยง ตันสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ZEN เปิดเผยว่า

“จากกระแสกัญชาที่กำลังได้รับความนิยมจากผู้บริโภคทั่วโลก ส่งผลให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องดื่มในประเทศ เร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกัญชาเพื่อสร้างประสบการณ์และความแปลกใหม่แก่ผู้บริโภค ล่าสุดเซ็น กรุ๊ป นำร้านอาหารไทย 4 แบรนด์หลัก ได้แก่ ‘ตำมั่ว’ และ ‘เดอ ตำมั่ว’ ร้านอาหารไทยสไตล์อีสาน ‘เขียง’ ร้านอาหารสตรีทฟู้ด และ ‘ลาวญวน’ ร้านอาหารฟิวชั่นสไตล์อีสานกับเวียดนาม เปิดตัวเมนูอาหารไทยที่มีใบกัญชาเป็นส่วนประกอบ เพื่อสร้างการจดจำเซ็น กรุ๊ป เป็นผู้ประกอบการร้านอาหารรายแรก ที่เปิดตัวเมนูดังกล่าว”  

มีการเลือกเมนูอาหารที่เป็นซิกเนเจอร์ของร้านอาหารมาพัฒนาเป็นเมนูใหม่ โดยนำใบกัญชามาเป็นวัตถุดิบ และตกแต่งอาหาร ทั้งการเสิร์ฟใบกัญชารูปแบบใบสด ต้ม และทอดกรอบ โดยนำร่องที่ ร้านอาหารเดอ ตำมั่ว สาขาเกษร ทาวเวอร์ ชั้น 3 เป็นสาขาแรก เปิดตัวเมนูอาหารไทยใส่ใบกัญชาแล้ว 2 เมนู ได้แก่ ไก่ต้มอารมณ์ดี (ไก่ต้มริมโขง) และยำอารมณ์ดี (ยำผักหวานกุ้งสด)

และมีแผนขยายไปยังร้านตำมั่ว สาขา I AM Chinatown และ ปตท. เมืองทองธานี รวมถึงขยายไปยังแบรนด์ ‘เขียง’ เตรียมเปิดตัวเมนูกะเพราใบกัญชา สาขาแรก ที่เกษร ทาวเวอร์ ชั้นใต้ดิน และ เมืองทองธานี รวมถึงขยายเมนูอาหารไปสู่ร้านอาหารลาวญวนเพิ่มเติม

สำหรับการเปิดตัวเมนูอาหารผสมใบกัญชา บริษัทฯ ดำเนินการอย่างถูกต้อง โดยได้สั่งซื้อใบกัญชาจากรัฐวิสาหกิจชุมชน จ.นครพนม ซึ่งได้ขออนุญาตจัดสร้างโรงเรือนเพื่อเพาะปลูกกัญชาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย พร้อมกับเจรจารับซื้อวัตถุดิบใบกัญชาจากรัฐวิสาหกิจชุมชน และแหล่งเพาะปลูกอื่นๆ เพื่อจัดเตรียมวัตถุดิบให้เพียงพอ

นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจที่เป็นผู้ประกอบการที่มีความเชี่ยวชาญการผลิตเครื่องปรุงรส เพื่อร่วมมือกันวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงที่มีส่วนผสมของกัญชา นำร่องผลิตภัณฑ์น้ำปลาร้าผสมใบกัญชา ภายใต้แบรนด์ ‘ตำมั่ว’ ซึ่งจะดำเนินการขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อย่างถูกต้อง ก่อนพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด คาดว่าจะสามารถเปิดตัวน้ำปลาร้าผสมกัญชาออกจำหน่ายได้ภายในครึ่งปีหลัง ผ่านช่องทางจำหน่ายโมเดิร์นเทรด และร้านตำมั่วทุกสาขา

]]>
1324145
การตลาดกลับหัวในแบบ ‘ZEN’ ไม่ไปแล้วพรีเมียม ‘สตรีทฟู้ด’ คือคำตอบ https://positioningmag.com/1305578 Wed, 11 Nov 2020 13:28:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1305578 เรียกได้ว่าช่วงครึ่งปีแรก บมจ.เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป หรือ ZEN เจ้าของแบรนด์ร้านอาหาร ZEN, ตำมั่ว, เขียง ฯลฯ ต้องเจ็บบาดเจ็บเพราะ COVID-19 อย่างหนัก โดยเฉพาะในไตรมาสที่ 2 ซึ่งถือเป็น ‘จุดต่ำสุด’ เนื่องจากขาดทุนถึง 81 ล้านบาท แต่ในไตรมาส 3 นี้ กลับพลิกฟื้นได้สำเร็จโดยมีกำไรสุทธิ 45.5 ล้านบาท ซึ่งปัจจัยไม่ได้แค่มาจากการกลับมาของผู้บริโภค แต่อีกส่วนก็มาจากการปรับตัวของ ‘บุญยง ตันสกุล’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ที่ระบุว่า “ธุรกิจอาหารต้องมองให้เป็นรีเทลมากที่สุด”

เน้น M&A และขยาย แฟรนไชส์

ในไตรมาส 3 ที่เราสามารถทำกำไรได้ส่วนหนึ่งมาจากมาตรการต่าง ๆ ที่เราออกมาเพื่อปรับตัว ตั้งแต่เริ่มจากการ ‘ปรับโครงสร้างองค์กรใหม่’ โดยควบรวม Back Office เข้าด้วยกัน โดยเฉพาะฝ่ายการตลาดที่เป็นเหมือนกองกลาง ทำให้สามารถใช้งบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังตั้งทีมเพื่อมาดูเรื่องค่าเช่าที่โดยเฉพาะ รวมถึงการปรับโมเดลธุรกิจไปสู่การทำ ‘แฟรนไชส์’ เพื่อกระจายความเสี่ยง และลดการกระจุกตัวของแบรนด์ร้านอาหารในห้างฯ

และจากผลกระทบของ COVID-19 ที่ส่งผลต่อธุรกิจอาหารอย่างหนัก ทำให้เริ่มเห็นธุรกิจอาหาร ทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง เข้ามาหารือเพื่อขายกิจการ ซึ่งถือเป็นโอกาสของกลุ่ม ZEN ในการไปซื้อกิจการหรือควบรวมกิจการ (M&A) ในกลุ่มที่บริษัทยังไม่มีเพื่อต่อยอดรายได้และการเติบโตของบริษัทให้เพิ่มขึ้น โดยวางแผนว่าจะมีประมาณ 1-2 ดีล/ปี ดีลละไม่เกิน 100 ล้านบาท

ปัจจุบัน กลุ่ม ZEN ได้ยุบ 3 แบรนด์รอง ได้แก่ แจ่วฮ้อน (4 สาขา) FOO Flavor (2 สาขา) และ Musha by ZEN (3 สาขา) เพื่อมาเน้นการลงทุนสาขาและการตลาดกับแบรนด์หลัก 7+2 ได้แก่ ร้านอาหารญี่ปุ่น ZEN, ร้านปิ้งย่าง AKA, ร้านอาหารสไตล์ญี่ปุ่น On the table, ร้านอาหารอีสาน ตำมั่ว, ร้านอาหารตามสั่ง เขียง, ร้านอาหารจีน Din’s และร้านอาหารเวียดนาม ลาวญวน ส่วนอีก 2 แบรนด์ เป็นกลุ่มร้านอาหารพรีเมียม คือ Sushi CYU (ซูชิชู) ร้านซูชิแบบโอมากาเสะ กับร้าน Tetsu ร้านเนื้อย่างระดับพรีเมียม

“การทำแฟรนไชส์เป็นการลดการลงทุนของเรา ตอนนี้จะขยายเองเราคิดหนักนะ เพราะแต่ละสาขาใช้ต้นทุน 5-6 ล้านบาท แต่แฟรนไชส์มันทำให้เรามีรายได้จากค่าแลกเข้า ค่าวัตถุดิบ ซึ่งนี่เป็นรายได้ระยะยาว และช่วยให้เราเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะร้านสตรีทฟู้ด”

บุญยง ตันสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ZEN

ไปหมดทั้ง ‘เดลิเวอรี่’ และ ‘ออมนิชาแนล’

จากการระบาดของ COVID-19 ได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคไปอย่างถาวร โดยเชื่อว่าจากนี้จำนวนการทานอาหารที่ร้านในห้างคงไม่เกินแค่ 90% เนื่องจากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคที่โยกไปสั่งออนไลน์ผ่านเดลิเวอรี่ ประกอบกับจำนวนผู้บริโภคที่เดินห้างน้อยลง ดังนั้น เดลิเวอรี่เป็นส่วนสำคัญแม้ว่าต้นทุนจะสูงกว่าหน้าร้านก็ตาม

“มาร์จิ้นของเดลิเวอรี่สูงกว่าแน่นอน แต่ถ้าไม่ทำยอดขายเราหายไป 20-30% ซึ่งตอนนี้เดลิเวอรี่เติบโตจนมีสัดส่วนเกือบ 10% มียอดขายประมาณ 200 กว่าล้านบาท จากเดิมมี 100 กว่าล้านบาท โดยเราคาดว่าปี 64 จะเติบโตเป็น 300 ล้านบาท

ในส่วนของกลยุทธ์ออมนิชาแนลจะเป็นการขาย ‘Gift Voucher’ ผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ซึ่งจะช่วยในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ ที่อาจกลายมาเป็นลูกค้าในอนาคต อีกทั้งยังช่วยให้ได้ข้อมูลลูกค้าที่แม่นยำมากขึ้น เนื่องจากลูกค้าบางรายมีข้อมูลที่เชื่อมกับแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ‘ขายตรง’ อีกโมเดลที่สนใจ เนื่องจากคนที่อายุมากขึ้นแต่เดินห้างน้อยลง ซึ่งกลุ่มคนที่สูงอายุมักมีกำลังซื้อ ดังนั้น การขายตรงผ่านทีวีเป็นอีกโมเดลที่น่าสนใจในการจับกลุ่มผู้สูงวัย

“เราเคยขาย Gift Voucher ผ่านหน้าร้าน ซึ่งสามารถทำรายได้ดีทีเดียว แต่ปัญหาคือต้องรอให้คนมาทานที่ร้านถึงซื้อ ยิ่งตอนนี้คนเดินห้างน้อยลงเพราะไปรอแคมเปญ 11.11 ดังนั้น เราจึงหันมาขาย Voucher ผ่านพันธมิตร ยิ่งตอนนี้ผู้บริโภคชอบความคุ้มค่า ชอบรีดีมบัตรเครดิตต่าง ๆ เชื่อว่าตอบโจทย์”

‘เขียง’ ข้อพิสูจน์ว่าพฤติกรรมคนเปลี่ยน

COVID-19 ทำให้พฤติกรรมคนเปลี่ยน ทั้งไม่เดินห้าง ทั้งกำลังซื้อที่ลดลง ทำให้คนต้องการความคุ้มค่าไม่ใช่ความพรีเมียม คนไม่ต้องการกินบุฟเฟต์ราคาหลายพันบาทเพื่อเนื้อพรีเมียม ดังนั้น ต้องคิดกลับหัว เน้นชูโรงเมนูที่ราคาเข้าถึงได้ ลูกค้าต้องการอะไรให้ลูกค้า Add เพิ่ม ไม่ต้องจัดเต็มตั้งแต่แรกเพราะลูกค้าไม่ต้องการ

พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปส่งผลให้ ‘สตรีทฟู้ด’ ยิ่งเติบโตเพราะได้เดลิเวอรี่มาเป็นตัวช่วย เนื่องจากร้านเหล่านี้ที่จอดรถไม่มี ซึ่ง ‘เขียง’ ถือเป็นตัวอย่างที่ดี เพราะเน้นขายอาหารตามสั่งที่คนทานได้ทุกวัน โดยเฉพาะเมนู ‘ผัดกะเพรา’ ที่มีสัดส่วนถึง 60% ของยอดขาย และบวกกับราคาที่ไม่สูงมากจึงทำให้สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว

COVID-19 ทำอะไรเขียงไม่ได้ เพราะ 70% ของยอดขายมาจากเดลิเวอรี่ แถมยอดขายยังเพิ่มเป็นเท่าตัว ซึ่งเราไม่ต้องการยอดขายเดือนละ 3-4 ล้านบาทเหมือนร้านในห้าง แค่ 3-4 แสนต่อเดือนก็อยู่ได้เพราะเราไม่มีค่าเช่า ซึ่งคิดเป็น 30% ของต้นทุน”

ปัจจุบัน เขียงมีทั้งหมด 70 สาขา โดย 20 สาขา ZEN เป็นผู้บริหาร อีก 50 สาขาเป็นแฟรนไชส์ โดยเราตั้งเป้าที่จะขยายให้ได้เป็น 160 สาขาในปีหน้า เปิดให้ครบทุกจังหวัด โดยเราจะลดราคาแฟรนไชส์จาก 2 ล้านบาทให้เหลือครึ่งเดียวเพื่อให้ลงทุนง่าย โดยอาจเป็นโมเดลแบบ ‘รถเข็น’ และในอนาคตเราจะขายสาขาที่เราถือออกครึ่งหนึ่ง ส่วนอีกครึ่งจะทำเป็นอคาเดมี่

‘เซ็กเมนต์’ และ ‘มาตรฐาน’ สิ่งสำคัญที่ต้องมี

แน่นอนว่าการที่สตรีทฟู้ดเติบโต ยิ่งต้องมีคู่แข่ง ดังนั้น สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยคือ ‘เซ็กเมนต์’ ต้องชัดอย่างเขียงเน้นความจัดจ้านของรสชาติ ดังนั้นนี่คือ เซ็กเมนต์ลูกค้าที่ต้องรักษาไว้ อีกจุดสำคัญคือ ‘มาตรฐานต้องได้’ อย่างค่าเฉลี่ยของคนซื้อแฟรนไชส์เขียงอยู่ที่ 5-10 สาขา สาเหตุที่คนซื้อแฟรนไชส์กลับมาลงทุนเพิ่มเพราะสิ่งนี้ เพราะร้านพิสูจน์แล้วว่าไปได้ และมีมาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นรสชาติ ความสะอาด ความปลอดภัย

“เมื่อก่อนเขียงเรามีเครื่องปรุง 12 ถ้วย แต่ตอนนี้เหลือแค่ 2 ถ้วยและใช้ช้อนตวง ดังนั้นคุณภาพอาหารไม่เพี้ยน แถมมีความสะอาดมีระบบ POS เข้ามาควบคุมซึ่งช่วยยกระดับอาหารตามสั่ง ซึ่ง COVID-19 เข้ามาเปลี่ยนคนไทยให้มองหาร้านอาหารที่สะอาด ปลอดภัย มีมาตรฐาน”

วางเป้าปี 64 โกยรายได้ 3,000 ล้าน กำไร 5%

สำหรับรายได้ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาปี 2563 ของเซ็น อยู่ในภาวะขาดทุนถึง 79.6 ล้านบาท โดยทั้งปีคาดว่ารายได้จะอยู่ที่ 2,300-2,500 ล้านบาท ลดลงจากปี 2562 เนื่องจากผลกระทบของ COVID-19 แต่บริษัทตั้งเป้าที่จะไปสู่ ‘จุดคุ้มทุน’ ให้ได้ และในส่วนปี 2564 บริษัทได้วางงบลงทุนไว้ 220 ล้านบาท โดย 120 ล้านบาทใช้ในส่วนของการขยายสาขารวมถึงการรีโนเวตร้านต่าง ๆ โดยตั้งเป้าที่ 70-100 สาขา ทำให้ยอดสาขารวมมากกว่า 400 สาขา จากปีนี้มีสาขารวม 345 สาขา พร้อมตั้งเป้ารายได้เติบโต 40% หรืออยู่ที่ 3,000 ล้านบาท มีกำไร 4-5%

อย่างไรก็ตาม เป้าหมายระยะยาวที่เคยวางไว้ว่าจะทำรายได้ 10,000 ล้านบาทภายใน 6 ปี อาจต้องทบทวนใหม่ เพราะตอนนี้ตัวแปรสำคัญอย่างท่องเที่ยวยังไม่ฟื้น ดังนั้น ถ้าดูจากฐานเดิมมันเติบโตได้ยากที่จะไปให้ถึง ดังนั้น ในปีหน้าถึงปี 65 ต้องมีรีวิวเป้าหมาย 3-5 ปีกันอีกที

]]>
1305578
“เชสเตอร์” เอาด้วย! ปั้นแบรนด์ “ตะหลิว” ร่วมวงสตรีทฟู้ด ท้าชน “เขียง-อร่อยดี” https://positioningmag.com/1299681 Thu, 01 Oct 2020 16:07:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1299681 กลายเป็นเทรนด์ของเชนร้านอาหารยุคนี้ที่ต้องแตกแบรนด์ใหม่เพื่อจับในทุกๆ เซ็กเมนต์ โดยกลุ่ม “สตรีทฟู้ด” มาแรง ล่าสุด “เชสเตอร์” QSR ในเครือ CPF ได้ปั้นแบรนด์ “ตะหลิว” เริ่มเข้าฟู้ดคอร์ท พร้อมขายแฟรนไชส์ปีหน้า

ขอร่วมวงอาหารตามสั่งขึ้นห้าง

ตลาดสตรีทฟู้ดร้อนแรงขนาดนี้ มีหรือที่ “เชสเตอร์” จะพลาดขบวนในการจับตลาดนี้ด้วย แบรนด์ “ตะหลิว” นี้ จะเป็นเหมือนแบรนด์ลูกในเครือของเชสเตอร์ ต่อยอดจากจุดเด่นของแบรนด์คือข้าว และพริกน้ำปลา

ตะหลิวได้วางจุดยืนเหมือนกับแบรนด์อื่นๆ เน้นที่เมนูอาหารตามสั่ง เมนูอาหารไทยยอดนิยมอย่างข้าวผัดกะเพรา ผัดมาม่า ต้มยำ และเมนูเส้น มีราคาเริ่มต้นที่ 60 บาท

ร้านตะหลิว

เชสเตอร์ได้นำร่องเปิดร้านตะหลิวแบบเงียบๆ ในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เลือกโลเคชั่นเป็นฟู้ดคอร์ทระดับพรีเมียม ได้แก่ อาคาร CP Tower 2 และโรงพยาบาลศิริราช และล่าสุดได้เปิดสาขาใหม่ที่อิมพีเรียล สำโรง เป็นโมเดลแบบร้านมีที่นั่ง

ถ้าถามถึงที่มาที่ไป “รุ่งทิพย์ พรหมชาติ” รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เชสเตอร์ฟู้ด จำกัด เล่าให้ฟังว่า

“จุดเด่นของเชสเตอร์คือ เรื่องข้าว และพริกน้ำปลา เลยมองว่าจะมาต่อยอดอย่างไรได้บ้าง อีกทั้งตลาดสตรีทฟู้ดเป็นฐานใหญ่มากของตลาดร้านอาหารในไทย คิดเป็นสัดส่วน 50% เพียงแต่ส่วนใหญ่เป็นร้านเล็กๆ หรือโลคอลข้างทาง แต่ก็มีลูกค้าเยอะตลอด เราเลยมาปรับรูปแบบให้ร้านแบบนี้ขึ้นห้าง ปรับเมนูให้โดดเด่น เอามาผสมกับจุดเด่นของเรา”

รุ่งทิพย์เสริมอีกว่า แผนการขยายสาขาของตะหลิวในปีนี้ยังอยู่ช่วงทดลองตลาด ดูว่าโลเคชั่นไหนเหมาะ และการตอบรับของผู้บริโภค แรกเริ่มจะเป็นบริษัทลงทุนเองก่อน มองว่าจะมี 3 รูปแบบหลักๆ ได้แก่ ร้านเล็กๆ ในฟู้ดคอร์ท, ร้านแบบมีที่นั่ง และ Cloud Kitchen ที่เน้นเดลิเวอรี่ โดยจะใช้ครัวของเชสเตอร์เป็นหลัก

ซึ่งถ้าผลตอบรับดี จะเริ่มขยายแฟรนไชส์ในช่วงไตรมาสที่ 2 ในปีหน้า จะเป็นอีกหนึ่งโมเดลในการหารายได้เพิ่ม และยังช่วยขยายสาขาได้เร็วขึ้นด้วย

เชนร้านอาหารแห่ลุยสตรีทฟู้ด

เทรนด์ของสตรีทฟู้ดเริ่มเห็นมาได้ 1-2 ปีแล้ว แรกเริ่มกลุ่ม ZEN ได้นำร่องเปิดตลาดด้วยแบรนด์ “เขียง” เป็นสไตล์อาหารตามสั่งยอดนิยม ปัจจุบันได้กลายเป็นแบรนด์ดาวรุ่งของกลุ่ม มีการขยายสาขาอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังเป็นแบรนด์ที่สร้างรายได้จากช่องทางเดลิเวอรี่ได้มากอีกด้วย

ในส่วนของกลุ่ม CRG ก็ร่วมวงด้วยการเปิดตัวแบรนด์ “อร่อยดี” เช่นกัน ปัจจุบันมีทั้งหมด 20 สาขา และยังเตีรยมขยายแฟรนไชส์ในเร็วๆ นี้ด้วย

เชสเตอร์เป็นแบรนด์ล่าสุดที่ไม่พลาดขบวน แม้จะมาช้า แต่ก็ยังไม่หลุดขบวนเท่าไหร่ เพราะผู้บริโภคยังตอบรับกับเซ็กเมนต์นี้ เนื่องจากเป็นอาหารจานด่วน และเป็นอาหารยอดนิยมที่ทานได้ทุกวัน เมื่อเทียบกับเชนร้านอาหารแล้ว จะมีราคาย่อมเยากว่าด้วย

ต้องจับตาต่อไปว่า จะมีเชนร้านอาหารแบรนด์ไหน ลงมาจับตลาด แต่เชื่อว่าตลาดต้องร้อนแรงอย่างแน่นอน

]]>
1299681
เทียบฟอร์ม “เขียง” vs “อร่อยดี”
 2 เชนร้านอาหารสตรีทฟู้ดจากเครือบริษัทใหญ่ https://positioningmag.com/1254636 Sun, 24 Nov 2019 15:47:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1254636 1254636 เปิดแนวคิด “เขียง” สตรีทฟู้ดสายพันธุ์ใหม่ ร้านอาหารดาวรุ่งของ ZEN Group https://positioningmag.com/1249651 Sun, 13 Oct 2019 14:29:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1249651 เปิดแนวคิดการปั้นแบรนด์เขียง” ร้านอาหารน้องใหม่ของ ZEN Group ที่เข้ามาเติมพอร์ตกลุ่มอาหารไทย ปรับไซส์เล็กเพื่อขยายสาขาได้ง่าย แถมลุยตลาดเดลิเวอรี่ เป้าปีนี้รายได้เกือบ 100 ล้าน

รู้จัก “เขียง” แบรนด์ใหม่ที่ประสบความสำเร็จที่สุดของกลุ่ม

หลายๆ คนคงคุ้นเคยกับ ZEN Group ในภาพลักษณ์ร้านอาหารญี่ปุ่นเสียส่วนใหญ่ ซึ่งได้ทำตลาดมาเกือบ 30 ปีแล้ว ในช่วงหลังได้มีการขยายตลาดไปยังร้านอาหารกลุ่มอื่นมากขึ้น เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่กว้างขึ้น ทั้งการซื้อกิจการแบรนด์ “ตำมั่ว” เพื่อเติมพอร์ตกลุ่มร้านอาหารไทยที่ก่อนหน้านี้ยังไม่เคยมี

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาธุรกิจร้านอาหารมีการปรับตัวอย่างต่อเนื่อง มีหลายปัจจัยประกอบด้วยกันทั้งพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน มีทางเลือกมากขึ้น รวมถึงการขยายสาขาที่ไม่ได้เต็มที่เหมือนแต่ก่อน เพราะศูนย์การค้ามีการเปิดน้อยลง ทำให้แต่ละแบรนด์ต้องปรับกลยุทธ์กันยกใหญ่

ZEN เองก็มีการปรับตัวครั้งใหญ่เช่นกัน การที่จะรอให้ศูนย์การค้าเปิดตัวแล้วขยายร้านอาหารเข้าไปนั้นคงไม่ทันใจ ต้องมีการปรับรูปแบบเน้นโมเดล “ไมโคร ฟอร์แมต” ใช้พื้นที่จำนวนเล็กลง เพื่อขยายสาขาได้มากขึ้น มีพื้นที่แค่ 28 – 50 ตารางเมตรก็เปิดร้านได้แล้ว

อีกหนึ่งไฮไลต์สำคัญของปีนี้ก็คือการเปิดแบรนด์ “เขียง” มีการเคลมว่าเป็นการเปิดแบรนด์ใหม่ที่ประสบความสำเร็จที่สุด แถมยังทำให้ ZEN Group มีสีสันมากที่สุดเช่นกัน ซึ่งได้เริ่มเปิดแบรนด์เขียงเมื่อต้นปีที่ผ่านมานี้เอง แต่สามารถทำรายได้ และขยายสาขาได้ทะลุเป้า

ได้วางจุดยืนให้เขียงเป็นร้านอาหารไทยตามสั่งในราคาย่อมเยา จับกลุ่มพรีเมียมแมส ราคาเริ่มต้น 50 บาท เป็นการบุกตลาดสตรีทฟู้ดครั้งแรกด้วยเช่นกัน ได้เปิดสาขาแรกที่ปั๊มน้ำมัน ปตท. เจษฎาบดินทร์ จ.นนทบุรี จากนั้นก็เริ่มขยายในหลายๆ พื้นที่จนในปัจจุบันมีทั้งหมด 40 สาขา คาดว่าสิ้นปีจะมี 50 สาขา

บุญยง ตันสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เล่าว่า

“แบรนด์เขียงที่เกิดขึ้นได้ต้องให้เครดิตทางปั๊ม ปตท. แรกเริ่มนั้นทางปั๊ม ปตท.อยากให้ทาง ZEN ทำอาหารตามสั่งแล้วทดลองขายในปั๊มดู พอเริ่มเปิดสาขาแรกที่เจษฎาบดินทร์ แถมไม่ใช่ใน กทม.ด้วย แต่ก็ได้รับการตอบรับที่ดีมีฟู้ดเดลิเวอรี่เข้ามามากมาย ถือว่าเป็นแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จมากสุดเลย ไม่เคยมีแรนด์ไหนเปิดได้เร็วขยนาดนี้ เปิดเฉลี่ยเดือนละ 5 – 6 สาขา แบรนด์ตำมั่วใช้เวลา 20 ปีเปิด 100 กว่าสาขา แต่เขียงแค่ 8 เดือนเปิดได้ 40 สาขา” 

ในธุรกิจร้านอาหารมูลค่า 800,000 ล้านบาท ที่ผ่านมา ZEN ได้อยู่ในกลุ่มของ Full Restaurant ที่มีมูลค่า 200,000 ล้านบาท มีทั้งกลุ่มอาหารญี่ปุ่น ปิ้งย่าง ซูชิ เวียดนาม อาหารไทย-อีสาน ครั้งนี้จึงบุกตลาดสตรีทฟู้ดที่มีมูลค่าถึง 370,000 ล้านบาท อย่างเต็มตัว

“แต่ก่อน ZEN มีแต่แบรนด์พรีเมียมเป็นร้านอาหารเต็มรูปแบบหมด ไม่มีแบรนด์ Low-end ที่ราคาไม่แพงเลย แต่วันนี้เรามีแบรนด์เขียงที่จะเป็นแบรนด์พรีเมียมแมสในราคาเข้าถึงได้แล้ว เราอยู่มา 30 ปี เรา Conservative มาตลอด ปีนี้เราต้อง Aggressive ในการขยายสาขา ทำตลาดให้มากขึ้น” 

จับจริตช่องทางเดลิเวอรี่

ปัจจุบันร้านเขียงแบ่งเป็น 6 โมเดล จับทุกกลุ่มเป้าหมาย

  1. Full model ที่อยู่ภายในสถานีบริการน้ำมัน PTT Station ของกลุ่ม ปตท. และอาคารพาณิชย์
  2. รูปแบบคีออส (Khiang to go)
  3. รูปแบบบริการในศูนย์อาหาร (Food Court)
  4. รูปแบบบริการภายในศูนย์การค้าชุมชน (Community Mall)
  5. รูปแบบ Fresh food / Counter bar เป็นพาร์ตเนอร์กับทาง Tesco Lotus ขยายฐานลูกค้าที่มาใช้บริการไฮเปอร์มาร์เก็ต นำร่องเปิด 4 สาขา ได้แก่ สาขาพระราม 1, พระราม 4, ศรีนครินทร์ และพัฒนาการ เป็นทำเลที่มีศักยภาพอยู่ในแหล่งชุมชน และย่านพักอาศัยที่มีประชากรหนาแน่น
  6. เขียงทอง (Premium street food) เป็นโมเดลที่ใช้วัตถุดิบพรีเมียม เช่น กุ้งล็อบสเตอร์ ปัจจุบันเปิดให้บริการแล้วที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พัทยา บีช

อีกหนึ่งปัจจัยที่สร้างความสำเร็จให้กับแบรนด์เขียง นอกจากการขยายสาขาได้รวดเร็วแล้ว ยังเป็นเรื่องของ “เดลิเวอรี่” เขียงเป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่สร้างยอดขายจากเดลิเวอรี่ได้ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว ทุกๆ โมเดลมีรายได้จากเดลิเวอรี่ บางสาขามีสัดส่วนถึง 50%

“หลังจากที่ได้ทดลองเปิดเขียงมาสักพักมองว่าการทำโมเดลสตรีทฟู้ดแบบนี้ก็ตอบโจท์ตลาดเดลิเวอรี่ได้ดี ทำพื้นที่ให้เล็กลง ใช้พื้นที่เฉลี่ย 50 ตารางเมตรเท่านั้น ขยายได้หลายฟอร์แมต มีการลงทุนต่ำ อย่างสาขาปั๊ม ปตท.เกษตร-นวมินทร์ มียอดขายจากเดลิเวอรี่ถึง 70% บางสาขาก็ทำสัดส่วนรายได้ 50%”

ZEN ได้พยายามบุกช่องทางเดลิเวอรี่มาสักพักใหญ่แล้ว มีการพัฒนาระบบของตัวเอง และร่วมมือกับพาร์ตเนอร์ฟู้ดเดลิเวอรี่ต่างๆ ต้องบอกว่าเขียงก็ค่อนข้างที่จะได้รับความนิยมจากฟู้ดเดลิเวอรี่ เพราะมีการทำโปรโมชั่นร่วมกัน จึงสร้างการรับรู้ได้เร็ว แถมปั้นรายได้ได้มากขึ้นด้วย

“ตอนแรกไม่เชื่อในช่องทางเดลิเวอรี่เท่าไหร่ แต่พอมีแอพพลิเคชั่นฟู้ดเดลิเวอรี่เข้ามา มีการโปรโมตและทำโปรโมชั่นร่วมกัน ก็เห็นการเติบโตขึ้นเป็นเท่าตัว ในช่วง 4 – 5 เดือนที่ผ่านมามีรายได้จากเดลิเวอรี่แซงหน้าแบรนด์ร้านอาหารญี่ปุ่นไปแล้ว ทำให้ปรับกลยุทธ์ปรับพื้นที่บริการให้น้อยลงได้”

เปิดครัวกลางรองรับเดลิเวอรี่โดยตรง

ตอนนี้บางสาขาได้มีการแยกเป็น 2 ครัวด้วยกัน เป็นครัวสำหรับรองรับลูกค้าที่มาทานในร้าน และครัวสำหรับทำออเดอร์เดลิเวอรี่โดยเฉพาะ เพื่อเป็นการจัดสรรเวลาได้ดีขึ้น ไม่ให้ลูกค้าทั้ง 2 ช่องทางรอนาน

ตอนนี้เขียงได้ผุดโมเดลที่เรียกว่า Delco ขึ้นมาใหม่ เป็นครัวกลางที่ไม่มีพื้นที่ให้บริการ แต่เป็นครัวปรุงอาหารโดยเฉพาะ มีสาขาแรกที่ศาลาแดง มีพื้นที่ 100 – 200 ตารางเมตร เพื่อรองรับออเดอร์จากเดลิเวอรี่ในโซนใจกลางเมือง เพราะโซนสุขุมวิท สาทร และสีลมมีการสั่งเดลิเวอรี่เยอะที่สุด

ในช่วงไตรมาส 4 นี้จะมีการเปิดครัวกลางอีก 2 แห่ง ต้องรอดูโลเคชั่นอีกที และในอนาคต 40 – 50% ของสาขาที่เปิดก็จะเป็นโมเดลครัวกลางแบบนี้เช่นกัน เรียกว่าเป็นการบุกตลาดเดลิเวอรี่โดยตรง

เปิดไม่ถึง 1 ปี ขยาย 40 สาขา ปั๊มรายได้เดือนละ 15 ล้าน

เขียงเปิดให้บริการได้ 8 เดือน ตอนนี้มีทั้งหมด 40 สาขา ภายในสิ้นปีน่าจะเปิดได้อีก 10 สาขา รวมทั้งหมดเป็น 50 สาขา แผนการขยายสาขาในปี 2563 ทั้งหมด 100 สาขา เป็นครัวกลาง 40 สาขา

แต่ละสาขามียอดขายเฉลี่ย 8 แสน – 1 ล้านบาท/เดือน หรือภาพรวมมีรายได้ทั้งหมด 10 – 15 ล้านบาท/เดือน ตั้งเป้าสิ้นปีมีรายได้รวม 70 ล้านบาท

บุญยง บอกว่า เป็นการเริ่มต้นที่น่าพอใจ ต่อไปเขียงจะเป็นแบรนด์ที่มีสาขามากที่สุดของกลุ่ม

สำหรับเป้าหมายภายใน 5 ปี เขียงจะต้องมี 1,000 สาขา พยายามเข้าสู่ชุมชน และต่างจังหวัดมากขึ้น ยังมองหามาสเตอร์แฟรนไชส์ไปแต่ละภาค เป็นการเจาะแต่ละจังหวัด ในอนาคตจะเน้นสาขาที่เป็นแฟรนไชส์ 80% และลงทุนเอง 20%

ปัจจุบัน ZEN Group มีแบรนด์ในเครือรวม 12 แบรนด์ ได้แก่ กลุ่มร้านอาหารญี่ปุ่น 6 แบรนด์ ได้แก่ ZEN, Musha by Zen, On the Table, AKA, Sushi Cyu และ Tetsu กลุ่มร้านอาหารไทย ได้แก่ ตำมั่ว เฝอ เดอตำมั่ว ลาวญวน แจ่วฮ้อน และเขียง

มีสาขาทุกแบรนด์รวมกัน 280 สาขา ในสิ้นปีจะมี 300 สาขา (รวมเขียงแล้ว) ในอนาคตจะใช้เขียงเป็นแบรนด์สำคัญในการขยายสาขา ส่วนแบรนด์อื่นก็สรรหาโมเดลใหม่ๆ

ภาพรวมทั้งกลุ่มของ ZEN Group ตั้งเป้ามีรายได้ 3,000 ล้านบาทในปี 2562 เติบโต 10%

ส่วนภาพรวมรายได้จากเดลิเวอรี่ของทั้งกลุ่ม 15 ล้านบาท/เดือน มาจากแบรนด์เขียง 40% หรือ 5 ล้านบาท เป็นการเติบโตหลายเท่าตัวจากปีก่อนที่มีรายได้จากเดลิเวอรี่เพียงล้านบาทต่อเดือนเท่านั้น ตั้งเป้าทั้งปีมีรายได้ 100 ล้านบาท.

]]>
1249651