เครือข่ายสังคม – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 25 Mar 2024 06:08:33 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 กลยุทธ์ใหม่ของ ‘X’ คือดึงเหล่าครีเอเตอร์เข้ามาในแพลตฟอร์ม ล่าสุดยังประสบความสำเร็จแค่บางส่วนเท่านั้น https://positioningmag.com/1467545 Mon, 25 Mar 2024 05:48:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1467545 X หรือ Twitter ในชื่อเดิม ได้งัดกลยุทธ์ใหม่คือการดึงเหล่าครีเอเตอร์เข้ามาในแพลตฟอร์ม อย่างไรก็ดีแพลตฟอร์มเครือข่ายทางสังคมรายดังกล่าวยังประสบความสำเร็จแค่บางส่วนเท่านั้น และครีเอเตอร์บางคนยังมีข้อสงสัยถึงกลยุทธ์ในการแบ่งรายได้ หรือแม้แต่ความไม่แน่นอนของระบบจ่ายเงิน

X แพลตฟอร์มเครือข่ายสังคม หรือชื่อเดิม Twitter ได้ปรับกลยุทธ์ใหม่เพื่อดึงดูดให้มีผู้ใช้งานเพิ่มมากขึ้น โดยอาศัยดึงเหล่าครีเอเตอร์เข้ามาในแพลตฟอร์มมากขึ้น อย่างไรก็ดีเหล่าครีเอเตอร์กลับกังวลถึงกลยุทธ์ของบริษัท และยังกังวลถึงรายได้จากการแบ่งค่าโฆษณาของบริษัทด้วย

กลยุทธ์ของ Linda Yaccarino ซึ่งเป็น CEO ของ X คือถ้าหากมีเหล่าครีเอเตอร์เข้ามาใช้งานแพลตฟอร์ม หรือใช้แพลตฟอร์มในการปล่อยคอนเทนต์ต่างๆ นั้นจะทำให้ผู้ใช้งานเพิ่มมากขึ้น และส่งผลไปยังรายได้โฆษณาที่กลับมาเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยพลิกฟื้นกิจการให้กลับมามีกำไรได้

ก่อนหน้านี้ X ได้ชวนครีเอเตอร์หลายราย ไม่ว่าจะเป็น Tucker Carlson ยกตัวอย่างเช่นการสัมภาษณ์พิเศษ วลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีของรัสเซีย ที่ได้มีการลงวิดีโอฉบับเต็มลงใน X ซึ่งสร้างความฮือฮาไม่น้อย หรือแม้แต่ Don Lemon ซึ่งเป็นพิธีกรรวมถึงเป็นผู้ประกาศชื่อดัง ก็มีการลงวิดีโอรายการบน X ด้วยเช่นกัน

Elon Musk ได้ซื้อกิจการของ Twitter มาเป็นมูลค่ามากถึง 44,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์หลายอย่างของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นลดการพึ่งพารายได้จากโฆษณาด้วยการหันมาหารายได้จากค่าสมัครสมาชิก การปลดพนักงานเพื่อลดรายจ่าย เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยน CEO จากเดิมที่เป็นตัวของ Elon Musk เอง มาเป็น Linda Yaccarino ซึ่งเธอได้ตั้งเป้าที่จะปรับกลยุทธ์มาเน้นวิดีโอมากขึ้น และยังรวมถึงเตรียมที่จะหารายได้จากบริการทางการเงินอย่างเช่น การโอนเงิน เพิ่มมากขึ้น รวมถึงมีการรีแบรนด์จาก Twitter มาเป็น X ด้วย

Samir Chaudry ซึ่งเป็นเจ้าของรายการพอดคาสต์ ซึ่งเขาเป็น 1 ในครีเอเตอร์ที่ถูก X ชักชวนเข้ามาร่วมแพลตฟอร์มนั้นกล่าวว่ากลยุทธ์ของ X ยังไม่มีความชัดเจนมากนัก

ขณะเดียวกันครีเอเตอร์บางรายกับประสบปัญหาความไม่แน่นอนของระบบจ่ายเงินให้กับครีเอเตอร์ของ X ซึ่งบางรายได้กล่าวกับสื่ออย่าง Business Insider พบว่าเขาได้เงินราวๆ 20 ดอลลาร์ต่อสัปดาห์ แต่ก็ไม่ได้รับเงินตรงตามเวลาด้วยซ้ำ

ปัจจุบัน X มีคู่แข่งรายสำคัญคือ Youtube ซึ่งเป็นชุมชนหลัก และ TikTok ที่กำลังมาแรง หรือแม้แต่ Facebook รวมถึง Instagram ซึ่งทั้งแพลตฟอร์มข้างต้นนั้นมีการจ่ายเงินให้เหล่าครีเอเตอร์มากกว่า X เนื่องจากรายได้จากโฆษณาที่มากกว่าในระดับหลายเท่า

X ได้กล่าวว่าได้จ่ายเงินให้กับครีเอเตอร์มากกว่า 150,000 ราย เป็นเงินมากกว่า 45 ล้านเหรียญสหรัฐ นับตั้งแต่มีการเปิดโปรแกรมแชร์รายได้ในปี 2023 ที่ผ่านมา

ครีเอเตอร์หลายคนที่ได้กล่าวกับ Wall Street Journal ได้กล่าวว่า X ยังคงห่างไกลจากการเป็นแหล่งรายได้สำคัญสำหรับพวกเขา แต่แพลตฟอร์มนั้นประสบความสำเร็จกับเหล่าครีเอเตอร์กลุ่มเฉพาะ เช่น สายการเงิน เป็นต้น ซึ่งแพลตฟอร์มดังกล่าวอาจต้องใช้เวลาพักใหญ่ที่จะสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจต่อเหล่าครีเอเตอร์ทั่วโลก

ที่มา – Wall Street Journal, Business Insider

]]>
1467545
Facebook ปิดบริการ Partner Categories ไม่ให้พาร์ตเนอร์นำข้อมูลไปกำหนดกลุ่มเป้าหมายโฆษณาแล้ว https://positioningmag.com/1163896 Thu, 29 Mar 2018 08:27:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1163896 เฟซบุ๊ก (Facebook) เครือข่ายสังคมเบอร์ 1 ของโลก กำลังเร่งกำจัดจุดอ่อนของตัวเองเพื่ออุดช่องโหว่ป้องกันข้อมูลผู้ใช้รั่วไหล ล่าสุดประกาศ “ปิด” บริการ “พาร์ตเนอร์แคทิกอรีส์” (Partner Categories) ที่ให้บริษัทอื่นที่เป็นพันธมิตร ผสมข้อมูลออฟไลน์เข้ากับข้อมูลผู้ใช้ Facebook เพื่อนำไปทำกิจกรรมทางการตลาด โดยเฉพาะการกำหนดกลุ่มเป้าหมายโฆษณา 

Facebook ยังปรับใหม่หน้าตั้งค่า หรือ Setting ของตัวเองเพื่อให้ผู้ใช้สามารถกำหนดความเป็นส่วนตัวได้ง่ายขึ้น ท่ามกลางรายงานข่าวของสื่อสหรัฐฯ ที่มองว่า Facebook ได้ปรับให้ผู้ใช้ลบทิ้งบัญชีของตัวเองได้ง่ายขึ้นด้วย

*** หน้าใหม่ง่ายกว่าเดิม

โจทย์ใหญ่ของ Facebook ที่ต้องเผชิญในเวลานี้ คือ การถูกเพ่งเล็งอย่างหนักในเรื่องข้อมูลผู้ใช้รั่วไหล ล่าสุด Facebook ประกาศปรับปรุงหน้าการตั้งค่าผู้ใช้งาน 4 ด้าน เพื่อแก้ปัญหาผู้ใช้บางส่วนสับสน หาทางเข้าไปตั้งค่าความเป็นส่วนตัวไม่พบหรือพบได้ยาก

การปรับปรุง 4 ด้านของ Facebook ประกอบด้วย การยุบรวมเมนูการตั้งค่า Settings ทั้งหมดให้ค้นหาได้จากหน้าเดียว, การเพิ่มเมนูทางลัดให้ผู้ใช้ค้นหาและจัดการง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังเพิ่มเมนูใหม่ให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลของตัวเอง (Access Your Information) ซึ่งผู้ใช้สามารถค้นหา จัดการ ดาวน์โหลด และลบ ข้อมูลที่เคยแชร์ใน Facebook ได้

เปรียบเทียบระหว่างอินเทอร์เฟสของเครื่องมือเพื่อความเป็นส่วนตัว รูปแบบเดิม (ซ้าย) และเวอร์ชั่นที่ออกแบบขึ้นใหม่ (ขวา)

นอกเหนือจากการเพิ่มเมนูใหม่และการแสดงผลให้ดูเข้าใจง่ายขึ้น การปรับปรุงที่ 4 คือคือเนื้อหาข้อตกลงในการใช้งาน ซึ่ง Facebook เพิ่มรายละเอียดมากขึ้น ด้วยการระบุว่าเก็บข้อมูลใดบ้าง และนำไปใช้งานอย่างไร ทั้งหมดนี้ ผู้ใช้ Facebook ทั่วโลกจะได้สัมผัสในเดือนหน้า

*** ไฟแดงหยุดพันธมิตร

ไม่เพียงปรับใหม่หน้า Setting เจ้าพ่อ Facebook ยังประกาศปิดบริการ Partner Categories ซึ่ง Facebook เคยอนุญาตให้บริษัทอื่นผู้รวบรวมข้อมูล หรือ third-party ผสมข้อมูลออฟไลน์ของผู้ใช้เพื่อนำไปใช้ในการกำหนดเป้าหมายโฆษณา (ad targeting) ถือเป็นอีกความเคลื่อนไหวท่ามกลางปัญหาเรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวข้อมูลส่วนบุคคล

อย่างไรก็ตาม สำนักข่าวรีโค้ด (Recode) ชี้ว่า Partner Categories ไม่ใช่ช่องโหว่ที่ Cambridge Analytica ใช้เพื่อเข้าถึงบัญชีส่วนตัว Facebook ได้ถึง 50 ล้านบัญชี เนื่องจากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าข้อมูลที่รั่วไหลไปนั้นเป็นไปโดยละเมิดข้อกำหนดในการให้บริการของ Facebook และโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ใช้ แต่ที่ผ่านมา Partner Categories จะทำให้บริษัทอื่นสามารถรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเสริมให้การทำแคมเปญบน Facebook สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้แคมเปญได้ดียิ่งขึ้น

ตัวอย่างเช่น Partner Categories ช่วยให้บริษัทเช่น Pepsi สามารถโฆษณาบน Facebook ได้โดยใช้ข้อมูลจากโปรไฟล์ Facebook ร่วมกับข้อมูลที่แบรนด์มีอยู่เอง เช่น อีเมล และข้อมูลที่ซื้อจากบริษัท third-party อื่น ๆ เช่น Experian ซึ่งรวบรวมข้อมูลประวัติการซื้อและข้อมูลที่มีประโยชน์อื่น 

เพื่อป้องกันภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น Facebook กำลังใช้มาตรการที่สามารถป้องกันตัวเองได้ในขณะนี้เพื่อป้องกันไม่มีช่องละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลได้อีก อย่างน้อยก็เพื่อป้องกันไม่ให้ซ้ำรอยกรณี Cambridge Analytica

เบื้องต้น Facebook แถลงว่าการปิดบริการ Partner Categories จะทำให้โฆษณาจากบริการนี้ทยอยลดลงในช่วง 6 เดือนข้างหน้า ซึ่งจะช่วยยกระดับความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ Facebook ได้อีกทาง.

ที่มา : mgronline.com/cyberbiz/detail/9610000031256

]]>
1163896
เปิดมุมควรรู้-เคล็ดลับ “การตลาด LinkedIn” ปีล่าสุด https://positioningmag.com/1159002 Mon, 26 Feb 2018 23:15:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1159002 วันนี้นักการตลาดหลายคนยอมรับว่าโดน Facebook กดดัน เพราะการเปลี่ยนระบบที่ทำให้ปริมาณ organic reach หรือจำนวนผู้ชมที่คลิกอ่านเพจเองโดยไม่ต้องเสียเงินโฆษณานั้นยิ่งลดน้อยลงทุกที ภาวะนี้ทำให้นักการตลาด B2B หลายคนหันมาเน้นกลยุทธ์การตลาดบน LinkedIn ของตัวเองให้มากขึ้น คาดว่าการตลาดบน LinkedIn จะฮอตขึ้นอีกตลอดปีนี้ หลังจากที่การสำรวจล่าสุดพบว่า 80% ของการตลาดแบบ B2B (Business to Business) ที่เกิดบนโซเชียลมีเดีย นั้นมาจาก LinkedIn

***ต้นตอความฮอต

LinkedIn เป็นเครือข่ายสังคมคนทำงานที่คนไทยบางคนไม่เคยใช้งาน แต่หลายปีที่ผ่านมา LinkedIn มีอิทธิพลมากขึ้นในวงการมืออาชีพและองค์กรธุรกิจทั่วโลก จนทำให้มีการเปรียบเทียบว่าถึงแม้จะมีหรือไม่มี Facebook ยักษ์เล็กอย่าง LinkedIn ก็จะครองโลก B2B อยู่ดี” 

แม้ Facebook จะหยิบยกสถิติว่า ผู้บริหารที่มีสิทธิ์ตัดสินใจทางธุรกิจจะใช้เวลาบน Facebook มากกว่าเครือข่ายอื่นถึง 74% และยังมีภาพลักษณ์ชัดเจนว่า Facebook เป็นแชมป์เหนือแพลตฟอร์มโซเชียลอื่น จนทำให้นักการตลาดลังเลเนื่องจากขนาดของกลุ่มเป้าหมาย แต่ทั้งหมดนี้ Joe LaSala รองประธานฝ่ายการตลาดของบริษัท Analytics Partners ในนิวยอร์ก ระบุว่า Facebook และ LinkedIn มีลักษณะที่ไม่เหมือนกัน ทำให้นักการตลาดต้องคำนึงปัจจัยหลายส่วนร่วมกันก่อนวางกลยุทธ์

แต่สำหรับปีนี้ LaSala บอกว่านักการตลาดแบบ B2B ควรให้ความสนใจกับ LinkedIn เพื่อให้สามารถปรับตัวได้ในยุคที่อัลกอริธึมของ Facebook เปลี่ยนแปลงบ่อย โดยย้ำให้นักการตลาด B2B เน้นทำการตลาดบน LinkedIn แบบจ่ายโฆษณา

LaSala ให้เหตุผลว่า ถึงแม้อัลกอริทึมของ Facebook จะไม่เปลี่ยนไปมา แต่ LinkedIn จะยังเป็นสถานที่ที่ยอดเยี่ยมในการเข้าถึงผู้บริหารระดับสูงขององค์กร และในขณะเดียวกัน LinkedIn ที่มีตัวเลข CPC หรือต้นทุน cost per click มากกว่า ก็มีประสิทธิภาพในการเข้าถึงคนที่เหมาะสม

บน LinkedIn ผู้ใช้จะมี mindset (ความคิดทางธุรกิจ) อยู่แล้ว ทำให้เปิดกว้างมากขึ้นกับข้อความที่มีเนื้อหา B2B ที่เน้นส่งถึงธุรกิจ

แต่สำหรับข้อความถึงตลาดมวลชน LaSala ยกให้ Facebook เป็นผู้ชนะ เพราะตัวเลขการเข้าถึงที่มากกว่า และวิธีการสร้างสรรค์ที่นักการตลาดจะทำได้หลากหลายกว่าในการดึงความสนใจให้แบรนด์เชื่อมต่อกับกลุ่มเป้าหมาย

David Richter หัวหน้าฝ่ายการตลาด บริษัท Ciphr ในกรุงลอนดอน เห็นด้วยกับเรื่องนี้ โดยบอกว่านักการตลาด B2B ควรเน้น LinkedIn มากกว่า Facebook 

ในโลกของการตลาด ช่องทางถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อความด้วย ดังนั้นการที่ Facebook เป็นที่ที่ผู้คนออกไปแฮงเอาต์ และมีปฏิสัมพันธ์กับครอบครัวเพื่อนฝูง ดังนั้นการทำกิจกรรมทางการตลาดสำหรับบริการ B2B บนแพลตฟอร์ม B2C จึงไม่เหมาะ

แนวคิดนี้สอดคล้องกับตัวเลขการสำรวจล่าสุด โดยบริษัท HubSpot พบว่าการเปิดอ่านเนื้อหาบน LinkedIn นั้นเพิ่มขึ้น 21% ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา (ระหว่างปี 2014 และ 2016) และคาดว่าสมาชิก LinkedIn จะใช้เวลาอยู่บนแพลตฟอร์มนานขึ้นอีกตลอดปีนี้ นอกจากนี้ LinkedIn ยังเป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่มีผู้ใช้งานเป็นพนักงานบริษัทใหญ่ระดับ Fortune 500 มากที่สุดในโลก 

ในจำนวนผู้ใช้รวมทั้ง 500 ล้านราย การสำรวจพบว่าราว 61 ล้านรายเป็นผู้มีอิทธิพล หรือ influencer ในระดับอาวุโส ขณะที่ 40 ล้านรายเป็นผู้มีอำนาจในการตัดสินใจทางธุรกิจ

***3 เคล็ดทำการตลาด B2B บน LinkedIn ให้เห็นผล

หากใครต้องการเสริมกลยุทธ์การตลาดแบบ B2B บน LinkedIn สำหรับปีนี้ ทั้ง 3 เคล็ดลับนี้อาจช่วยได้

1. อัปเดตโพสต์เป็นประจำ

แบรนด์และบุคคลทั่วไปสามารถอัปเดตและเผยแพร่บล็อกโพสต์บน LinkedIn ได้เสรีเช่นเดียวกับบน Facebook แต่ความแตกต่างชัดเจนคือ Reach หรือสถิติการเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้

ถ้าคุณโพสต์บ่อย ราว 20 ครั้งต่อเดือน (หรือมากกว่านั้น) เราพบว่าการเข้าถึงแบบ organic reach จะเพิ่มขึ้นได้ถึง 60% เทียบกับ Facebook ที่เพิ่มขึ้นเพียง 2-3%” Merridew Smith บรรณาธิการบริการของ Vendasta Technologies กล่าว

2. จ่ายเงินโฆษณาใน LinkedIn

Smith บอกว่าแม้ว่าโฆษณาบน Facebook จะถูกยืนยันว่ามีกำไรและมีประสิทธิภาพมากกว่า เนื่องจากโฆษณาบน LinkedIn มีต้นทุนแพงกว่า แต่ในทางปฏิบัติแล้ว โฆษณาบน LinkedIn มีคุณภาพไม่เป็นรองใคร 

Smith เล่าว่าบริษัท Vendasta Technologies ของเขาใช้จ่ายเงินมากกว่า 1 แสนเหรียญสหรัฐบน LinkedIn ในช่วง 1 ปีครึ่งที่ผ่านมา พบว่าสามารถสร้างโอกาสในการขายได้สูงมาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะอัลกอริทึมของ Microsoft ต้นสังกัด LinkedIn ที่ต้องการดึงดูดนักการตลาดให้เข้าสู่แพลตฟอร์ม LinkedIn มากขึ้น

โฆษณาบน LinkedIn ยังมีจุดแข็งเรื่องการกำหนดกลุ่มเป้าหมายโดยใช้ชื่อบริษัท สถานที่ภูมิศาสตร์ ฯลฯ ทำให้เป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการแสดงเนื้อหาต่อกลุ่มเป้าหมาย แคมเปญที่ดีจะดึงผู้ใช้เข้าไปหาเนื้อหาคุณภาพดี ดังนั้นนักการตลาด B2B จึงควรคิดว่าใครเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก รวมถึงประเภทของบริษัท ตำแหน่งงาน ความอาวุโส จากนั้นจงทำความเข้าใจกับสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายต้องการ และป้อนกลุ่มเป้าหมายเหล่านั้นด้วยเนื้อหาที่มีคุณค่า

นอกจากนี้ แบรนด์ควรจะผลิตเนื้อหาที่ควรค่าแก่การคลิกโดยโฆษณาที่เน้นขายหรือโปรโมตแบรนด์อย่างเดียว ไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดในการเพิ่มประสิทธิภาพแคมเปญโฆษณาบน LinkedIn

3. เผยแพร่บทความบน LinkedIn Pulse

อีกวิธีหนึ่งที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าในการทำการตลาด B2B บน LinkedIn คือการเผยแพร่บทความบน LinkedIn ที่ผ่านมา LinkedIn ทำเครื่องมือให้บริษัทเขียนบล็อกได้ผ่านบริการ LinkedIn Pulse ซึ่งช่วยให้ publisher สามารถเขียน เผยแพร่ และแชร์เนื้อหาของตัวเองบน LinkedIn และภายนอก LinkedIn ภายใต้ชื่อหรือแบรนด์ของตน

Daniel Buchuk ผู้อำนวยการฝ่ายการสื่อสาร บริษัท Bringg ในกรุงลอนดอน ยกให้ LinkedIn Pulse เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับถ่ายทอดสุดยอดความคิดบนเครือข่ายทางสังคม

การเขียนบทความบน LinkedIn เป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการออกเสียง แสดงตัวตนบนแพลตฟอร์ม ด้วยอัลกอริทึมของ Linkedin ที่จัดลำดับความสำคัญเนื้อหา จะยังทำให้ LinkedIn Pulse เป็นวิธีทรงประสิทธิภาพเรื่องการเข้าถึงผู้ชม โดยไม่ต้องมีการแบ่งปันลิงก์จากสิ่งพิมพ์หรือบล็อกนอก LinkedIn 

อีกจุดคือการใช้เครื่องมือฟรีเช่น Lusha.co จะช่วยเสริมภาพผู้นำและสร้างโอกาสในการขาย รวมถึงการดึงข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้แบรนด์สามารถติดต่อลูกค้าได้ทันทีทางโทรศัพท์หรืออีเมล

ถึงบรรทัดนี้ นักการตลาด B2B คนไหนที่ยังไม่สนใจ LinkedIn จะเริ่มคิดใหม่ตอนนี้ก็ยังไม่สาย.

ที่มาhttps://www.cmswire.com/content-marketing/3-tips-to-improve-your-linkedin-marketing-strategy/

]]>
1159002
เซ็นเซอร์คอมเมนต์ Facebook เปิดทดสอบปุ่ม Downvote https://positioningmag.com/1156455 Sat, 10 Feb 2018 11:08:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1156455 มีรายงานว่า เฟซบุ๊ก (Facebook) เจ้าพ่อเครือข่ายสังคมเริ่มแล้วกับการทดสอบปุ่มดาวน์โหวต (Downvote) ซึ่งทางบริษัทได้ออกมายืนยันเสียงแข็งว่า มันไม่ใช่ปุ่ม Dislike แน่นอน และการทดสอบนั้น ก็ทำกับผู้ใช้งานแค่กลุ่มเล็ก ๆ ในสหรัฐอเมริกาเท่านั้นด้วย

หน้าที่ของปุ่มดาวน์โหวต ตามการเปิดเผยของเฟซบุ๊กคือการซ่อนคอมเมนต์ที่ไม่เหมาะสมจากโพสต์นั้น ๆ และจะมีตัวเลือกปรากฏขึ้นมาว่า คอมเมนต์นั้น ๆ ไม่เหมาะสมอย่างไรถึง 3 สามตัวเลือกได้แก่ เป็นความเห็นที่รุนแรง, ทำให้เกิดการเข้าใจผิด หรือเป็นข่าวปลอม 

สิ่งที่ตามมาคือความสงสัยว่าเฟซบุ๊กกำลังจะทำตัวเป็น กบว. คอยเซ็นเซอร์คอนเทนต์ต่าง ๆ หรือไม่

อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้เฟซบุ๊กก็มีปุ่มให้ซ่อนคอมเมนต์ต่าง ๆ เช่นกัน (ปุ่ม Hide) แต่ปุ่ม Hide นั้นไม่ได้ปรากฏตัวอยู่ในสถานที่ดี ๆ อย่างที่ปุ่ม Downvote อยู่ในวันนี้แต่อย่างใด

เฟซบุ๊กเองยังบอกด้วยว่า การทดสอบปุ่มดาวน์โหวตนี้จะทดสอบแค่ช่วงสั้น ๆ ซึ่งจะไม่กระทบกับการจัดอันดับคอมเมนต์ โพสต์ หรือเพจ เป็นเพียงเครื่องมือส่งฟีดแบ็กกลับเข้าเฟซบุ๊ก โดยมีเพียงผู้ใช้งานแอนดรอยด์ 5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ได้รับโอกาสทดสอบปุ่มดังกล่าว (รองรับเฉพาะคนที่ตั้งค่าระบบเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้นด้วย)

ปุ่มดาวน์โหวตจะปรากฏแค่ในหน้าสาธารณะของเพจ แต่ในกรุ๊ป (Groups) จะไม่พบว่ามีฟีเจอร์นี้ให้ใช้งานแต่อย่างใด

สนับสนุนข่าวโดย : mgronline.com/cyberbiz/detail/9610000013696

]]>
1156455
3 วิกฤต Facebook ต้องซ่อม เป้าหมาย “มาร์ก ซักเกอร์เบิร์ก” ปี 2018 https://positioningmag.com/1152758 Fri, 05 Jan 2018 07:13:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1152758 1 ในเรื่องที่ Mark Zuckerberg ชี้ว่าเป็นเรื่องที่ต้อง “ซ่อม” บน Facebook คือวิกฤต hate speech

เมื่อ มาร์ก ซักเกอร์เบิร์ก ซีอีโอเฟซบุ๊ก (Facebook Inc) เครือข่ายสังคมอันดับ 1 ของโลก ประกาศเป้าหมายสำหรับปี 2018 ว่า เป้าหมายของเขาไม่ใช่เป้าหมายอย่างการ กินเนื้อที่ตัวเองฆ่าเท่านั้น (ปี 2011 เขาได้ประกาศ จะรับประทานเนื้อจากสัตว์ที่ได้ลงมือฆ่าด้วยตัวเองเท่านั้น ตามแนวคิดกินด้วยสติ) การสร้างผู้ช่วยปัญญาประดิษฐ์  (เป้าหมายปี 2016) แต่เป็นเป้าหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจ ซึ่งเข้าข่ายงานที่ตัวเขาเองต้องทำอยู่แล้ว นั่นคือ การแก้ไขปัญหาบน Facebook 

สื่ออเมริกันวิเคราะห์ว่า เป้าหมายประจำปี 2018 ของมาร์ก ซักเกอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberg) สะท้อนว่า ซีอีโอหนุ่มวัย 33 ปี ต้องการทำให้ธุรกิจที่เขาร่วมก่อตั้งขึ้น มีฐานรากที่มั่นคงมากยิ่งขึ้น แตกต่างจากเป้าหมายทุกปีที่ถูกประกาศออกมาตั้งแต่ปี 2009 ซึ่งล้วนเป็นเป้าหมายประจำปีที่มุ่งพัฒนาตัว Zuckerberg เอง

อย่างไรก็ตาม Zuckerberg ให้เหตุผลว่า เป้าหมายนี้เกิดขึ้นเพื่อชาวโลก โดยบอกว่า วันนี้โลกมีทั้ง ความกระวนกระวาย และความแตกแยก เฟซบุ๊กจึงมีภารกิจที่ต้องทำมากมาย 

แฟ้มภาพจากรอยเตอร์

Zuckerberg อธิบายว่า สถานการณ์ขณะนี้ของ Facebook เหมือนกำลังยืนอยู่บนทางแยก ตัวเขาจึงต้องให้ความสนใจที่ Facebook เป็นพิเศษ โดยเรื่องที่ต้องซ่อมบน Facebook มาจาก 3 เรื่องหลักๆ

  • ต้องการแก้วิกฤต hate speech หรือการแพร่กระจายของคำพูดแสดงความเกลียดชังบนสื่อสังคม
  • การใช้ Facebook โดยรัสเซียและประเทศอื่นเพื่อเผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อ
  • เสียงวิจารณ์ว่า แพลตฟอร์มนี้สามารถทำให้เสียเวลา หรือเสพติดได้

ประเด็น hate speech นั้น ถือว่าร้อนแรง เพราะล่าสุด มีกฎหมายใหม่ในเยอรมนี ที่ต้องการให้เครือข่ายสังคม เช่น Facebook และ Twitter Inc ลบ hate speech คำพูดแสดงความเกลียดชังที่ถูกเผยแพร่ออนไลน์ ซึ่งหากไม่ดำเนินการจะถูกปรับเป็นเงินมหาศาลสุดโหด 

ด้านสหรัฐอเมริกา ฝ่ายนิติบัญญัติเมืองลุงแซมนั้น ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ Facebook เรื่องไม่สามารถป้องกันไม่ให้ผู้ปฏิบัติการรัสเซียใช้แพลตฟอร์ม Facebook เข้าแทรกแซงในการเลือกตั้งสหรัฐฯ ปี 2016

นอกจากนี้ Facebook ยังถูกสาธารณชนตั้งคำถามว่า การใช้ Facebook มีความเสี่ยง ทำให้ผู้ใช้มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะกับสุขภาพกายและจิตหรือไม่ ทั้งหมดนี้ทำให้ Zuckerberg บอกว่าความท้าทายส่วนตัวสำหรับ 2018 คือ การมุ่งเน้นไปที่การแก้ไขปัญหาที่สำคัญเหล่านี้

เจ้าพ่อ Facebook ยอมรับว่า เป้าหมายปีนี้อาจดูไม่เหมือนเป็นการท้าทายส่วนตัว แต่เขาก็จะได้เรียนรู้อย่างมากจากเป้าหมายปีนี้ แม้จะยังไม่มีการเปิดเผยแนวทางแก้ปัญหาที่กำลังจะทำ

“Facebook จะไม่ป้องกันความผิดพลาด หรือการละเมิดทั้งหมด Zuckerberg กล่าวแต่ปัจจุบัน เรามีข้อผิดพลาดในการบังคับใช้นโยบายของ Facebook มากเกินไปรวมถึงการป้องกันการใช้ Facebook เป็นเครื่องมือในทางที่ผิด ซึ่งเจ้าพ่อ Facebook มองว่ายังมีช่องโหว่ 

ทั้ง 3 ประเด็นที่ Zuckerberg กล่าวถึง ล้วนมีผลกระทบโดยตรงกับสาธารณชน นำไปสู่ความท้าทายให้ภาครัฐของหลายประเทศต้องออกกฎหมายกำกับดูแล แต่ทั้งหมดไม่ได้มีผลกับรายได้ Facebook มากนัก เพราะสถิติล่าสุด คือ Facebook มีรายได้สุทธิ 1.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐบนยอดขาย 3.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วง 12 เดือนที่สิ้นสุดในวันที่ 30 กันยายน

สำหรับ Zuckerberg นั้นเป็นบุคคลร่ำรวยอันดับ 4 ของโลกประจำปี 2017 มีมูลค่าทรัพย์สินรวมกว่า 7.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 2.4 ล้านล้านบาท ในปีก่อนหน้านี้ Zuckerberg ตั้งเป้าหมายท้าทายตัวเองด้วยการเรียนรู้ภาษาจีนกลาง การอ่านหนังสือ 2 เล่มต่อเดือน และการเดินทางไปยังพื้นที่ในสหรัฐฯ ที่เขาไม่เคยเข้าไปมาก่อน ทุกเป้าหมายท้าทายตัวเองล้วนทำให้ Zuckerberg พัฒนาตัวเอง เป็นแรงบันดาลใจให้หลายคนบนโลกลุกขึ้นมาท้าทายตัวเอง ด้วยการกำหนดเป้าหมายประจำปีบ้าง.

ที่มา : mgronline.com/cyberbiz/detail/9610000001171

]]>
1152758
เกมใหม่ “Facebook” จู่ ๆ ก็ออกยอมรับว่า “โซเชียล” ทำลายสุขภาพผู้ใช้ หวังปั้นภาพลักษณ์ “ทำดี” ดันธุรกิจโฆษณามูลค่ามหาศาลให้เดินหน้าต่อแบบไม่ต้องมีดราม่า https://positioningmag.com/1150674 Sun, 17 Dec 2017 23:55:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1150674 กลายเป็นเรื่องที่หลายคนบอกว่าน่าแปลกใจ เมื่อเฟซบุ๊ก (Facebook) ออกแถลงการณ์แบบมีนัยยอมรับว่า การใช้งานเครือข่ายสังคมอาจทำให้ผู้ใช้บางกลุ่ม “รู้สึกแย่” ทั้งแง่สุขภาพกาย และสุขภาพใจ โดยล่าสุด Facebook ลงมือเปิดงานวิจัยเพื่อบอกโลกว่า ทุกคนควรใช้เครือข่ายสังคมอย่างไรให้เกิดผลดีที่สุด 

ทั้งหมดนี้ส่งให้สื่ออเมริกันวิจารณ์ว่า แถลงการณ์นี้คือ การ “encapsulation” หรือการรวมจุดประสงค์หลายอย่างไว้ในแคปซูลเม็ดเดียวให้ผู้ใช้รับไป โดยที่ Facebook สามารถสร้างภาพลักษณ์ “ทำดี” ร่วมกับการทำธุรกิจโฆษณาที่มีมูลค่ามหาศาลต่อไปได้อย่างชอบธรรม

สื่อที่วิจารณ์ Facebook เช่นนี้ คือ รีโค้ด (Recode) ซึ่งวิเคราะห์กรณีเหตุผลที่ทำให้ Facebook ยอมรับว่า การใช้งานเครือข่ายสังคมอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพผู้ใช้ว่า เป็นเพราะ Facebook กำลังพยายามเดินคาบเส้นระหว่างการทำความดีให้สังคม โดยที่ยังสร้างธุรกิจโฆษณาให้ยิ่งใหญ่ได้ต่อไป

ทำไมถึงยอมรับ?

สำนักข่าวอเมริกันมองว่า แม้จะรู้ว่าเครือข่ายสังคมเป็นดาบสองคม แต่ Facebook ไม่อาจทิ้งธุรกิจนี้ไปได้ เพราะ Facebook สามารถสร้างธุรกิจหลายพันล้านเหรียญสหรัฐ บนฐานะเครือข่ายสังคมรายใหญ่ที่สุด ซึ่งฐานะนี้เองที่ทำให้การยอมรับว่า “เครือข่ายสังคมอาจทำลายสุขภาพ” ครั้งนี้สร้างความประหลาดใจให้ชาวโลก

แต่ทั้งหมดทั้งมวล Facebook พยายามอ้างว่า ความรู้สึกแย่ของผู้ใช้จะมาจากการ “อ่านอย่างเดียว ไม่ตอบโต้กับผู้คน” เท่านั้น โดยอ้างผลจากงานวิจัยของตัวเองว่า การมีส่วนร่วมกับเนื้อหาบนโซเชียลทั้งการเขียนหรือส่งต่อข้อความ โพสต์ และความเห็นกับเพื่อนฝูงเกี่ยวกับเรื่องราวในอดีตนั้น ทำให้ผู้ใช้ส่วนใหญ่มีความรู้สึกที่ดีขึ้น

สรุป คือ Facebook พยายามย้ำว่า การเลื่อนฟีดข่าวเพื่อดูข้อมูลไปเรื่อย ๆ (อย่างไม่เจตนา) เป็นเรื่องไม่ดี แต่การเลื่อนดูฟีดข่าว และการคลิกไลก์ รวมถึงการออกความคิดเห็น ล้วนเป็น “สิ่งที่ดี”

บทสรุปที่ Facebook มอบให้โลกในแถลงการณ์นี้ฟังแล้วไม่น่าแปลกใจ เนื่องจากที่ผ่านมา นักวิจัยหลายคนพยายามจุดประกายให้ชาวโลกรู้ตัวเรื่องการใช้งานโซเชียลมีเดียอย่างผิดวิธี อาจทำให้ผู้ใช้รู้สึกไม่ดีทั้งอารมณ์อิจฉา หรืออารมณ์ซึมเศร้า ที่อาจเพิ่มขึ้น ตรงนี้สื่ออเมริกันวิจารณ์ว่า ทางออกที่ Facebook เสนอมานั้น ไม่ได้แหวกแนว เพราะเป็นทางออกที่แก้ปัญหาสื่อโซเชียลด้วยการบอกให้ผู้ใช้ใช้งานระบบอย่างมีความ “โซเชียล” ยิ่งกว่าเดิม

แต่สิ่งที่แหวกแนว คือ อยู่ดี ๆ Facebook ก็ยอมรับโดยดี แถมยังให้น้ำหนักเรื่องความกังวลด้านสุขภาพ และสุขภาพจิต ที่เกี่ยวกับการใช้งาน Facebook โดยตรง

สิ่งที่ Facebook ทำในขณะนี้ คือ การโพสต์เรื่อง “Hard Questions” หรือคำถามประเด็นร้อนที่ Facebook เริ่มโพสต์เป็นบทความซีรีส์ต่อเนื่อง เพื่อจุดกระแสให้ชาว Facebook ร่วมออกความเห็นกรณีปัญหาใหญ่ระดับโลก เช่น เรื่องก่อการร้ายออนไลน์ หรือ hate speech ข้อความที่ก่อให้เกิดความเกลียดชัง

โพสต์ล่าสุดในซีรีส์นี้ ซึ่งเผยแพร่เมื่อสุดสัปดาห์นี้จึงถูกมองว่าเป็นการ “หยิบทุกอย่างมาใส่แคปซูลเม็ด” ที่สมบูรณ์แบบในปีนี้ของ Facebook เพราะสามารถสานต่อเส้นภารกิจทำความดีเพื่อสังคมเข้ากับเรื่องปากท้องอย่างการสร้างธุรกิจโฆษณาออนไลน์ให้ยืนหยัดอยู่ได้ต่อไปแบบไม่ดราม่า (หรือดราม่าน้อยลง)

เหรียญสองด้าน ดาบสองคมท้ายที่สุดแล้ว การที่ Facebook เป็นผลิตภัณฑ์ดาบสองคม จิตสำนึก และความรับผิดชอบ ทำให้งานใหญ่ตกอยู่ที่ Mark Zuckerberg ผู้ที่โลกให้การยอมรับในระดับสากล

Mark Zuckerberg

สื่ออเมริกันวิเคราะห์ว่า ในด้านหนึ่ง Facebook รู้สึกกดดันมากขึ้นกว่าที่เคย ทำให้ต้องแสดงความโปร่งใสเกี่ยวกับธุรกิจ และรับผิดชอบต่อการให้บริการของตัวเอง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะวิกฤติข่าวลือรัสเซีย และข่าวลวงที่เชื่อกันว่ามีผลในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ครั้งล่าสุด ซึ่งทั้งหมดนี้ Facebook ถูกมองว่ากำลังตกเป็นเครื่องมือสำหรับนักโฆษณาชวนเชื่อชาวรัสเซีย ที่พยายามเอาชนะการเลือกตั้ง วิกฤตเหล่านี้ทำให้หลายฝ่ายตระหนักถึงผลกระทบของ Facebook ต่อโลกมากขึ้น จุดนี้ทำให้ Facebook พยายามสุดขีดที่จะบอกให้ทุกคนรู้ว่า Facebook ทราบแล้วถึงผลกระทบของ Facebook ต่อโลกใบนี้

ความจริงด้านนี้อธิบายได้ชัดเจนจากโพสต์ของมาร์ก ซัคเกอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberg) ซีอีโอผู้ก่อตั้ง Facebook ที่พยายามเขียนบรรยายบทบาท และพันธกิจของ Facebook ในการช่วยเหลือสังคมมาตลอด

แต่อีกด้านหนึ่ง Facebook ยังคงเป็นธุรกิจที่มีผู้ถือหุ้น และมีความคาดหวังสูงในเรื่องรายได้ผลกำไร การบอกทุกคนว่า “การใช้สื่อโซเชียลจะทำให้คนรู้สึกไม่ดี” อาจเป็นบ่อนทำลายธุรกิจที่น่ากลัว นี่จึงเป็นเหตุผลที่ Facebook ออกมายอมรับ พร้อมกับผลักดันให้โลกแก้ปัญหาด้วยการใช้ Facebook ในทางที่ถูกกันเถอะ 

และอย่าลืมใช้ให้มากขึ้นด้วยนะจ๊ะ.

ที่มา : mgronline.com/cyberbiz/detail/9600000126685

]]>
1150674