เครื่องบินพาณิชย์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 09 Dec 2022 11:54:22 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 บินจริงแล้ว! ‘C919’ เครื่องบินพาณิชย์สัญชาติจีน พร้อมท้าชิงตลาดจาก Airbus และ Boeing https://positioningmag.com/1411876 Fri, 09 Dec 2022 09:14:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1411876 เครื่องบินพาณิชย์รุ่น ‘C919’ จากบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินของรัฐบาลจีน ‘Comac’ (The Commercial Aircraft Corporation of China) ขึ้นบินจริงในเที่ยวบินปฐมฤกษ์กับสายการบิน China Eastern Airlines ลูกค้าที่สั่งจองเครื่องเป็นเจ้าแรก

เที่ยวบินแรกของ C919 นั้นใช้เลขไฟลท์ MU919 บินเพียง 15 นาทีจาก สนามบินนานาชาติผู่ตง เมืองเซี่ยงไฮ้ ออกเดินทางเวลา 11:40 น. และลงจอดที่สนามบิงหงเฉียว เมืองเซี่ยงไฮ้ เวลา 12:02 น.

เครื่องบินรุ่นนี้เป็นเครื่องบินลำตัวแคบ เห็นได้ชัดว่าออกแบบมาเพื่อสู้ในตลาดกับเครื่องบิน A320 ของ Airbus และ 737 ของ Boeing โดยตรง

เที่ยวบินนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ C919 ได้บินจริงในนามของสายการบินพาณิชย์ หลังจากนี้ China Eastern จะนำมาบินทดลองอีกกว่า 100 ชั่วโมง โดยจะมีการบินข้ามไปยังเมืองต่างๆ ทั่วประเทศจีน เช่น ปักกิ่ง ซีอาน คุนหมิง กวางโจว เฉิงตู ฯลฯ

เมื่อได้รับการรับรองแล้วว่ามีความปลอดภัยในการให้บริการ คาดว่า China Eastern จะเริ่มนำมาบินจริงในเที่ยวบินพาณิชย์ปกติตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิปี 2023

ทั้งนี้ China Eastern มีการสั่งเครื่องบิน C919 ไปทั้งหมด 4 ลำตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ในราคาลำละ 99 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งทาง Comac จะทยอยส่งมอบให้ครบภายใน 2 ปี

นอกจาก China Eastern แล้ว บริษัท Comac ยืนยันในงานแสดงการบินจูไห่เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาว่า  บริษัทได้รับคำสั่งซื้อจากบริษัทให้เช่าช่วงเครื่องบิน 7 แห่ง รวมจำนวนเครื่องบินที่จอง 300 ลำ โดยลูกค้าต้องการให้ออกแบบมีที่นั่งโดยสารระหว่าง 158-192 ที่นั่ง

เครื่องบิน C919 นั้นใช้เวลาถึง 14 ปี นับตั้งแต่การเริ่มต้นออกแบบพัฒนา และใช้เวลา 5 ปีกว่าจะผลิตออกมาบินจริงในเชิงพาณิชย์ได้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะโควิด-19 ทำให้ดีเลย์ไปมาก อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา เครื่องบินรุ่นนี้ก็ได้รับการรับรองจากหน่วยงานกำกับดูแลการบินพาณิชย์แห่งประเทศจีน (CAAC) เป็นที่เรียบร้อย

จีนหวังอย่างยิ่งว่า C919 จะเป็นจุดเริ่มต้นให้จีนไม่ต้องพึ่งพิงเครื่องบินพาณิชย์และเทคโนโลยีการบินจากต่างประเทศอีก เพื่อให้เป็นอิสระจากตะวันตกมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันชิ้นส่วนสำคัญของ C919 ก็ยังต้องนำเข้าจากโรงงานในต่างประเทศ เช่น เครื่องยนต์ ระบบควบคุม ระบบสื่อสาร และอุปกรณ์การลงจอด ซึ่งจะกลายเป็นความท้าทายสำคัญในอนาคตของ Comac เพราะความตึงเครียดระหว่างจีน-สหรัฐฯ ทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ จะบีบให้การส่งออกเทคโนโลยีที่สุ่มเสี่ยงในด้านการทหารและความมั่นคงแบบนี้ส่งออกไปจีนได้ยากขึ้น

ที่มา: South China Morning Post

 

อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม

]]>
1411876
Airbus ออกคอนเซ็ปต์ “เครื่องบินพลังงานไฮโดรเจน” ไร้มลพิษ ตั้งเป้าใช้จริงปี 2035 https://positioningmag.com/1298206 Tue, 22 Sep 2020 10:05:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1298206 บริษัทผู้ผลิตเครื่องบิน Airbus ออกงานคอนเซ็ปต์ดีไซน์เครื่องบินปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ โดยเป็น “เครื่องบินพลังงานไฮโดรเจน” เป้าหมายใช้งานได้จริงปี 2035 ขอเป็นเจ้าแรกที่ผลิตเครื่องบินพลังงานไฮโดรเจนสำเร็จ

Airbus ประกาศเปิดตัวคอนเซ็ปต์เครื่องบินพลังงานไฮโดรเจน ZEROe แบ่งออกเป็น 3 แบบย่อย ได้แก่ เครื่องบินเครื่องยนต์เทอร์โบแฟน เครื่องบินเครื่องยนต์เทอร์โบพร็อป และเครื่องบินแบบตัวถังกับปีกผสานเป็นชิ้นเดียวกัน โดยคาดว่าจะสามารถนำมาใช้ได้จริงปี 2035

ยกตัวอย่างนวัตกรรมที่จะใช้ในคอนเซ็ปต์เครื่องบินขณะนี้ เช่น เครื่องบินเครื่องยนต์เทอร์โบแฟน จะจุผู้โดยสารได้ 120-200 ที่นั่ง บินได้ไกล 2,000 ไมล์ทะเล บริษัทอธิบายว่าพลังงานที่ใช้จะมาจาก “เครื่องยนต์กังหันก๊าซแบบดัดแปลงโดยใช้ไฮโดรเจนผ่านการสันดาปแทนน้ำมันเครื่องบิน” โดยไฮโดรเจนเหลวจะถูกกักเก็บไว้ด้านหลังผนังกั้นแรงดันท้ายซึ่งอยู่ด้านท้ายเครื่องบิน

“แนวคิดเหล่านี้จะช่วยให้เราคิดค้นและพัฒนาการออกแบบและรูปแบบของเครื่องบินพาณิชย์ที่ไม่ปล่อยมลภาวะในสภาพอากาศเป็นครั้งแรกของโลก” กิลโยม โฟว์รี่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Airbus กล่าว

 

ศักยภาพเครื่องยนต์พลังงานไฮโดรเจน

ปัจจุบันการใช้พลังงานไฮโดรเจนในอากาศยานยังไม่เป็นที่นิยม แต่สำหรับการขนส่งทางบกเริ่มมีการใช้เทคโนโลยีนี้แล้ว แม้จะยังเป็นตลาดขนาดเล็กอยู่ ยกตัวอย่างเช่น รถประจำทางพลังงานไฮโดรเจนเริ่มทดลองใช้งานแล้วที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

หรือบริษัท Alstom ในยุโรป ได้พัฒนารถไฟชื่อ Coradia iLint เป็นรถไฟที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิง (fuel cell) เพื่อแปลงออกซิเจนและไฮโดรเจนเป็นพลังงานไฟฟ้า ตามที่บริษัทระบุ รถไฟขบวนนี้วิ่งด้วยความเร็วสูงสุดที่ 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เดินขบวนได้เงียบ และปล่อยของเสียเพียงแค่ไอน้ำและน้ำเท่านั้น

ในกลุ่มอากาศยาน มีอากาศยานที่ใช้เทคโนโลยีปลอดการปล่อยคาร์บอนหรือลดการปล่อยคาร์บอนแล้วเช่นกัน ตัวอย่างเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มีการทดลองเครื่องบินพลังงานไฟฟ้าบินข้ามประเทศอังกฤษ และเป็นเที่ยวบินพาณิชย์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นครั้งแรกด้วย

ย้อนไปเดือนพฤษภาคม เครื่องบิน Cessna 208B Grand Caravan ขนาดเครื่องยนต์ 750 แรงม้า และเป็นเครื่องบินพลังงานไฟฟ้า ก็ได้ขึ้นบินเป็นครั้งแรกที่รัฐวอชิงตัน

ย้อนไปไกลกว่านั้น เมื่อปี 2016 มีการขึ้นบินเครื่องบินพลังงานแสงอาทิตย์ Solar Impulse 2 และบินไปรอบโลกสำเร็จโดยไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงน้ำมันเลย แต่เป็นการบินที่แบ่งรอบบินขึ้นลงเป็น 17 ช่วง ไม่ได้บินจบในรอบเดียว

Source

]]>
1298206
ขายไม่ออก!! แอร์บัสส่อเลิกผลิตเครื่องบินพาณิชย์ใหญ่สุดในโลก ‘A380’ https://positioningmag.com/1152034 Thu, 28 Dec 2017 07:52:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1152034 รอยเตอร์ – แอร์บัสกำลังร่างแผนในความเป็นไปได้ที่จะค่อยๆยุติผลิตเครื่องบินโดยสารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก “ซูเปอร์จัมโบ A380” หากไม่ได้รับคำสั่งซื้อจากสายการบินเอมิเรตส์ ตามการเปิดเผยของแหล่งข่าวใกล้ชิดในเรื่องนี้เมื่อวันพุธ (27ธ.ค.)

เค้ารางแห่งข้อเท็จจริงของเครื่องบินยอดขายต่ำปรากฎขึ้นมา ทั้งที่มันเพิ่งเข้าสู่การบริการได้เพียง 10 ปี และทำให้อนาคตของแอร์บัส A380 ซึ่งเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ความเป็นสากลที่จับต้องได้มากที่สุดของยุโรปแขวนอยู่บนเส้นด้าย

“ถ้าไม่ได้สัญญาจากเอมิเรตส์ แอร์บัสจะเริ่มกระบวนการยุติผลิต A380” บุคคลที่เข้าร่วมรับฟังสรุปเกี่ยวกับแผนดังกล่าวเปิดเผยกับรอยเตอร์ ขณะที่ซัพพลายเออร์เจ้าหนึ่งเสริมว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวสมเหตุสมผล เนื่องจากอุปสงค์อ่อนแอ

ทั้งแอร์บัสและเอมิเรตส์ ปฏิเสธแสดงความคิดเห็นต่อคำกล่าวอ้างดังกล่าว 

แหล่งข่าวเปิดเผยต่อว่าการยุติผลิตใดๆจะเป็นไปแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อเปิดทางให้ แอร์บัส ผลิตเครื่องบินเพื่อส่งมอบตามคำสั่งซื้อทีมีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่ก็มาจากสายการบินเอมิเรตส์ โดยรอยเตอร์คาดหมายว่าตามกำลังผลิตในปัจจุบัน อาจกินเวลาไปจนถึงทศวรรษหน้า

แอร์บัส A380 ซึ่งมีต้นทุนการพัฒนาถึง 11,000 ล้านยูโร สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ราว 500 คนและมีจุดประสงค์เพื่อท้าทายความยิ่งใหญ่ของโบอิ้ง747 แต่อุปสงค์ของเครื่องบิน 4 เครื่องยนต์นี้กลับดำดิ่ง เนื่องจากสายการบินต่างๆมักเลือกเครื่องบิน 2 เครื่องยนต์ที่มีขนาดเล็กกว่า ซึ่งสะดวกต่อการหาผู้โดยสารและมีค่าบำรุงรักษาถูกกว่า

อย่างไรก็ตามเอมิเรตส์ยังคงเป็นสายการบินที่เชื่อมั่นใน A380 โดยเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สุด ด้วยคำสั่งซื้อรวม 142 ลำ แต่เพิ่งได้รับมอบราวๆ 100 ลำ

การเจรจาระหว่างแอร์บัสและเอมิเรตส์ เกี่ยวกับคำสั่งซื้อใหม่ซูเปอร์จัมโบอีก 36 ลำ มูลค่า 16,000 ล้านดอลลาร์ พังครืนลงที่งานดูไบ แอร์โชว์เมื่อเดือนที่แล้ว ซึ่งนับตั้งแต่นั้นทั้งสองฝ่ายได้ฟื้นการเจรจาขึ้นมาอีกครั้ง แต่จนถึงตอนนี้ยังไม่พบเห็นสัญญาณที่ชัดเจนว่าจะตกลงกันได้

แม้ว่าสายการบินต่างๆอย่างเช่น บริติช แอร์เวย์ส แสดงความสนใจใน A380 แต่ แอร์บัส ลังเลที่จะเปิดโรงงานต่อ หากปราศจากคำสั่งซื้อที่แน่นอนจากเอมิเรตส์ ในขณะที่ทางฝั่งของเอมิเรตส์เอง ก็ต้องการคำรับประกันจาก แอร์บัส ว่าจะยังเดินหน้าผลิตต่อไปอีกสักทศวรรษ เพื่อปกป้องการลงทุนของพวกเขา

การตัดสินใจยกเลิกผลิตอาจกลายเป็นจุดแตกหักระหว่างแอร์บัสกับหนึ่งในลูกค้ารายใหญ่ที่สุดของพวกเขา และในอนาคตอาจผลักให้ เอมิเรตส์ หันไปสั่งซื้อเครื่องบินจากโบอิ้งมากขึ้น ขณะที่แหล่งข่าวยุโรป ตั้งข้อสังเกตว่ามันสะท้อนถึงการขยายอิทธิพลในอ่าวเปอร์เซียของอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แต่แหล่งข่าวอุตสาหกรรมของทั้งสหรัฐฯและยูเออี ยืนยันว่าประเด็นการเมืองไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้.

ที่มา : mgronline.com/around/detail/9600000130507

]]>
1152034