เงินบาทแข็งค่า – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 07 Jul 2020 09:08:48 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เหตุผลที่ “เศรษฐกิจไทย” อาจเลวร้ายที่สุดใน SEA จากผลกระทบของ COVID-19 https://positioningmag.com/1286690 Tue, 07 Jul 2020 09:00:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1286690 ประเทศไทยเป็นตัวอย่างของความสำเร็จในการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา โดยผ่านระยะเวลามามากกว่า 40 วันแล้วที่ไม่มีผู้ติดเชื้อภายในประเทศเลย แต่สำหรับมุมมองด้านเศรษฐกิจ ประเทศไทยอาจจะตกอยู่ในอันดับที่เลวร้ายที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานคาดการณ์จีดีพีไทยปี 2563 ที่ระดับ -8.1% ซึ่งเป็นการคาดการณ์จีดีพีติดลบที่มากที่สุดเทียบกับประเทศหลักอื่นๆ ในเอเชีย รวมถึงเป็นอัตราการติดลบของจีดีพีไทยที่หนักที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540

“ประเทศไทยเป็นฮับการท่องเที่ยวซึ่งคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 15% ของจีดีพีประเทศ รวมถึงมีสัดส่วนเศรษฐกิจขนาดใหญ่จากภาคการส่งออกด้วย ทำให้เหตุการณ์นี้ส่งผลอย่างรุนแรงต่อจีดีพี” เกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสสำหรับประเทศไทย ประจำธนาคารโลก กล่าว

การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เคอร์ฟิวยามค่ำคืน และคำสั่งปิดการดำเนินธุรกิจบางประเภททั่วประเทศเพื่อต่อสู้กับการระบาดของโรค COVID-19 เป็นการทำลายการลงทุนและการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งอยู่ในช่วงขาลงอยู่แล้วมาตั้งแต่ปีก่อน

สำหรับกำลังซื้อนั้นคาดการณ์กันว่าจะดีขึ้นหลังผ่อนคลายล็อกดาวน์ และภาครัฐมีแพ็กเกจกระตุ้นเศรษฐกิจออกมา แต่ส่วนของการลงทุนภาคเอกชนน่าจะยังชะลอตัวเนื่องจากการคาดการณ์อนาคตที่ยังหม่นมัว

การท่องเที่ยวดิ่งรุนแรง

ประเทศไทยไม่เปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติมาแล้ว 3 เดือนติดต่อกันเพื่อควบคุมการระบาดของโรค ทำให้ ธปท. ออกคาดการณ์ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวปี 2563 จะลดลงเหลือเพียง 8 ล้านคน คิดเป็นเพียง 1 ใน 5 ของจำนวนนักท่องเที่ยวปี 2562 และปี 2564 น่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นแต่ไม่สูงเท่าช่วงก่อน COVID-19 โดยอยู่ที่ราว 16.2 ล้านคนเท่านั้น

แม้ว่าจะมีแผนการทำ Travel Bubble กับบางประเทศ แต่แนวโน้มเจ้าหน้าที่รัฐบาลไทยน่าจะยอมให้การเปิดประเทศเป็นไปอย่างช้าๆ และระมัดระวังอย่างยิ่ง ส่วนความพยายามกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศเพื่อแทนที่นักท่องเที่ยวต่างชาติที่หายไป ไม่อาจแทนที่ความสูญเสียขั้นวิกฤตของอุตสาหกรรมนี้ได้ทั้งหมด

ภาพนักท่องเที่ยวคลาคล่ำน่าจะไม่ได้เห็นไปอย่างน้อยจนถึงปี 2564

ภาพลวงตาจากยอดส่งออก “ทองคำ”

เมื่อดูชุดข้อมูลการส่งออกจากกรมศุลกากร ดูเหมือนว่าการส่งออกของไทยยังไม่แย่มากเพราะมีแค่ 2 เดือนจาก 5 เดือนแรกที่การส่งออกไทยติดลบ แต่ที่จริงเป็นภาพลวงตาจากการส่งออกทองคำ

เนื่องจากราคาทองคำพุ่งสูงขึ้นในช่วง COVID-19 ทำให้นักลงทุนไทยเร่งขายทองคำ ส่งให้มูลค่าการส่งออกดีขึ้น แต่ถ้าหักทองคำออกไป การส่งออกสินค้าอื่นๆ กลับลดลงอย่างรุนแรง เนื่องจากดีมานด์โลกที่อ่อนแอลง และซัพพลายเชนการผลิตที่มีปัญหา

(Photo by Michael Steinberg from Pexels)

ค่าเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่อง

3 เดือนที่ผ่านมา ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น 6% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ถือเป็นค่าเงินที่แข็งขึ้นมากที่สุดอันดับ 2 ของเอเชีย แม้ว่า ธปท. จะพยายามลดอัตราดอกเบี้ยมาแล้ว 3 ครั้ง จนปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายเหลือเพียง 0.5% ต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์ แต่เพราะสถานการณ์ควบคุมการระบาดได้ดีนี้เอง ทำให้ค่าเงินบาทยังแข็งค่าต่อเนื่อง

ค่าเงินบาทที่แข็งเกินไปจะเป็นปัญหาทุบซ้ำภาคการส่งออก และส่งผลต่อเนื่องถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งขณะนี้รัฐบาลกำลังหารือถึงก้าวต่อไปในการดึงเงินบาทให้อ่อนค่าลงอีกหากจำเป็น

อาการหนักที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จากปัญหาภาคการส่งออกและการท่องเที่ยว ทำให้ทั้ง ธปท. และอีกหลายหน่วยงานคาดการณ์จีดีพีไทยปี 2563 ในทิศทางเดียวกันคือ “ติดลบ” อย่างแน่นอน แบงก์ชาติประเมินว่าจีดีพีไทยปีนี้จะติดลบ -8.1% ขณะที่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ประเมินไว้รุนแรงถึง -10.3% ธนาคารกรุงเทพ ประเมิน -9.7% ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมิน -7.5% ขณะที่สถาบันการเงินจากต่างประเทศดูจะมองในแง่ดีกว่า เช่น เมย์แบงก์ ประเมินที่ -5.5% สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ประเมินที่ -5.0%

ด้านการสำรวจของ Bloomberg Economics ใน 6 ประเทศหลักของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบว่า ไทยจัดอยู่ในอันดับท้ายสุดในการคาดการณ์จีดีพีปี 2563 โดยมีรายละเอียดดังนี้

อันดับ 1 เวียดนาม จีดีพี +2.8%
อันดับ 2 อินโดนีเซีย จีดีพี -1.0%
อันดับ 3 ฟิลิปปินส์ จีดีพี -3.5%
อันดับ 4 มาเลเซีย จีดีพี -3.9%
อันดับ 5 สิงคโปร์ จีดีพี -5.7%
อันดับ 6 ไทย จีดีพี -6.0%

Source

]]>
1286690
เงินบาทไทยแข็งสุดในรอบ 6 ปี แตะ 30.30 บาท/ดอลลาร์ หวั่นกระทบส่งออก-ท่องเที่ยว
 https://positioningmag.com/1249439 Thu, 10 Oct 2019 09:32:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1249439 เงินบาทขยับแข็งค่าทดสอบแนว 30.30 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับที่แข็งค่าที่สุดในรอบกว่า 6 ปี ครั้งใหม่ (นับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2556) และเมื่อเทียบกับความเคลื่อนไหวของสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียแล้ว เงินบาทยังคงเป็นสกุลเงินที่มีอัตราการแข็งค่ามากที่สุด 

โดยแข็งค่าขึ้นแล้วในปีนี้ประมาณ 7.4% เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ และค่อนข้างจะทิ้งห่างสกุลเงินของประเทศเพื่อนบ้านที่ตามมาเป็นอันดับ 2 และอันดับ 3 อย่างเงินรูเปียห์ และเงินเปโซ ที่แข็งค่าขึ้นในปีนี้เพียง 2.8% และ 1.8% เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ ตามลำดับ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าทิศทางการแข็งค่าของเงินบาทน่าจะถูกอธิบายโดยฐานะการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด และมุมมองของนักลงทุนที่ว่า เงินบาทเป็นสกุลเงินที่ปลอดภัย มากกว่าการเคลื่อนย้ายเงินทุนจากต่างประเทศ 

โดยอาจกล่าวได้ว่า นอกเหนือจากการคาดการณ์เรื่องการลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ และปัจจัยพื้นฐานของเงินบาท (เช่น สถานะการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด และทุนสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับสูง) แล้ว อีกปัจจัยสำคัญที่หนุนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นในลักษณะที่เป็นการสวนทางสกุลเงินเอเชียอื่นๆ นั้น น่าจะเป็น “มุมมอง” ของตลาดที่ประเมินว่าเงินบาทเป็นสกุลเงินปลอดภัยในยามที่ต้องการหลีกเลี่ยงความเสี่ยง 

โดยเฉพาะในช่วงภายในเดือน ต.ค. นี้ ที่มี 2 ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ 1. การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าทั้ง 2 ประเทศ น่าจะยังไม่สามารถหาข้อสรุปร่วมกันได้ ขณะที่อัตราภาษีของสหรัฐฯ ที่เก็บจากวงเงินสินค้านำเข้าจากจีน 2.5 แสนล้านดอลลาร์ กำลังจะขยับขึ้นไปที่ 30% จาก 25% ในวันที่ 15 ต.ค. 2562 ที่จะถึงนี้ 

และ 2. ความเสี่ยงจากกรณี BREXIT แบบไร้ข้อตกลง ขณะที่อังกฤษกำลังนับถอยหลังเข้าใกล้เส้นตายสิ้นเดือน ต.ค. 2562 นี้ ทั้งนี้ สัญญาณความกังวลเพิ่มสูงขึ้นก่อนการประชุม EU summit ระหว่างวันที่ 17 – 18 ต.ค. นี้ เนื่องจากสหภาพยุโรปและอังกฤษยังคงมีความเห็นในรายละเอียดของหลายประเด็นที่แตกต่างกัน

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การแข็งค่าของเงินบาท ทำให้ไทยเสียเปรียบเรื่องความสามารถในการแข่งขันของภาคการส่งออกและท่องเที่ยว และอาจเพิ่มแรงกดดันต่อเศรษฐกิจไทย 

เพราะนอกจากเงินบาทจะขยับแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์มากกว่าสกุลเงินอื่นๆ เช่น เงินรูเปียห์อินโดนีเซีย เงินเยนญี่ปุ่น และเงินเปโซฟิลิปปินส์แล้ว เงินบาทยังแข็งค่าสวนทางเงินเอเชียอีกหลายสกุลที่ปรับตัวในทิศทางที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ เช่น เงินวอนเกาหลีใต้ เงินหยวนจีน เงินรูปีอินเดีย เงินริงกิตมาเลเซีย และเงินดอลลาร์สิงคโปร์ด้วยเช่นกัน

ขณะที่ทิศทางของค่าเงินดอลลาร์ และแนวโน้มดอกเบี้ยของสหรัฐฯ จะยังคงมีบทบาทสำคัญต่อความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในระยะข้างหน้า ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าทิศทางค่าเงินบาทอาจผันผวนได้ทั้ง 2 ด้านในระยะ 6 – 12 เดือนข้างหน้า ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของ 3 ปัจจัยสำคัญ ได้แก่ แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน และสถานการณ์ของการเมืองภายในสหรัฐฯ ในช่วงก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีเดือน พ.ย. 2563 

โดยแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะมีผลในการกำหนดทิศทางดอกเบี้ยของเฟด โดยในกรณีที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ไม่เผชิญต่อภาวะถดถอย มองว่าแรงกดดันให้เงินบาทแข็งค่าน่าจะทยอยลดน้อยลง โดยเฉพาะในช่วงหลังจากที่เฟดสามารถยุติการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นราวช่วงครึ่งแรกของปีหน้า 

อย่างไรก็ดี หากเศรษฐกิจสหรัฐฯ เผชิญต่อภาวะถดถอย ความเป็นไปได้ที่เฟดจะลดอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องในขนาดและจำนวนครั้งที่มากกว่าไทย อาจส่งผลทำให้เงินบาทยังคงมีโอกาสเคลื่อนไหวในกรอบที่แข็งค่าได้อย่างต่อเนื่อง ขณะที่ปมปัญหาของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน และสถานการณ์ของการเมืองภายในสหรัฐฯ อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เงินบาทยังคงได้รับแรงหนุนในฐานะที่เป็นสกุลเงินปลอดภัย

ทั้งนี้ ประเมินว่าในกรณีเลวร้ายที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ อ่อนแอลงมากกว่าที่คาดในปีหน้า จนทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงไปมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ เงินบาทก็อาจถูกกดดันให้แข็งค่าขึ้นได้ต่อเนื่องจากการที่ไทยยังคงมีดุลการค้า ดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุล 

และมุมมองของนักลงทุนที่ว่า เงินบาทเป็นสกุลเงินปลอดภัยที่มีปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่งรองรับ ซึ่งจะส่งผลให้การส่งออกของไทยอาจจะยังคงเผชิญความท้าทายต่อเนื่องไปจนถึงปีหน้า.

Source

]]>
1249439