เจดีเซ็นทรัล – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 30 Jan 2023 09:40:34 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ย้อนรอย ‘JD Central’ ยักษ์ใหญ่ที่กำลังโบกมือลาอีคอมเมิร์ซไทยตามรอย ‘11Street’ https://positioningmag.com/1417229 Mon, 30 Jan 2023 09:27:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1417229 หากพูดว่าตลาด อีคอมเมิร์ซ ไม่หมูก็คงไม่เกินจริงนัก เพราะมองจากข้างนอกก็คงจะเห็นว่าแต่ละแพลตฟอร์มนั้นเผาเงินทำการตลาดรวมถึงโปรโมชันต่าง ๆ กันหนักมาก นับเฉพาะแค่ ดับเบิลเดย์ ที่มีให้เห็นแทบทุกเดือนนักช้อปเคยชินกันไปแล้ว ดังนั้น สายป่าน ไม่ยาวจริงก็คงต้องยกธงขาวยอมแพ้ไป เหมือนที่ 11Street เคย และ JD Central ที่กำลังจะไป

ก่อนมี JD Central เคยมี 11Street มาก่อน

ย้อนไปเมื่อปี 2012 ผู้เล่นอีคอมเมิร์ซรายแรกสุดที่เข้ามาทำตลาดในไทยก็คือ ลาซาด้า (Lazada) แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ทำตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนกระทั่งในปี 2014 ลาซาด้าก็ได้ถูก อาลีบาบา (Alibaba) บริษัทอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ของจีนมาซื้อไป ซึ่งนั่นก็ยิ่งเสริมความแข็งแกร่งให้กับแพลตฟอร์มในการที่จะ เผาเงิน ทำโปรโมชันในตลาดอีคอมเมิร์ซไทย

หลังจากที่ลาซาด้าทำตลาดได้ 2 ปี ช้อปปี้ (Shopee) แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของ ซี กรุ๊ป (Sea Group) สตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นของภูมิภาคที่เป็นเจ้าของแพลตฟอร์ม Garena ที่คอเกมบ้านเราน่าจะคุ้นเคยกันดี อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ถือหุ้นใหญ่ใน Sea Group ก็คือ เทนเซ็นต์ (Tencent) บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของจีน พูดง่าย ๆ ว่า 2 แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ต่างมีแบ็กจากจีนทั้งหมด

ถัดมาในปี 2016 ก็มีอีคอมเมิร์ซสัญชาติเกาหลีใต้ลองของเข้ามาทำตลาดในไทยโดยใช้ชื่อว่า อีเลฟเว่น สตรีท (11Street) ที่มี เอสเคเพลนเน็ท ถือหุ้นใหญ่ภายใต้กลุ่ม เอสเค เทลเลคอม ช่วงแรกใช้เงินกว่า 1,000 ล้านบาทในการลงทุน ในจำนวนนี้เป็นงบการตลาดมากถึง 300 ล้านบาท ถึงขนาดดึงซุปตาร์จากเกาหลี ซงจุงกิ ประกบนักแสดงสาว มิว–นิษฐา จิรยั่งยืน มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ แต่ที่สุดก็ต้อง ม้วนสื่อกลับบ้าน หลังเข้ามาเปิดธุรกิจเพียงสองปีเศษเท่านั้น

5 ปีในตลาดของ JD Central ยังห่างชั้นผู้นำ

หลังจากที่อีเลฟเว่น สตรีท ต้องยอมแพ้ มาปี 2018 ก็มีผู้เล่นคนใหม่เข้ามาในตลาดอีคอมเมิร์ซไทยซึ่งก็คือ JD Central (เจดี เซ็นทรัล) โดยที่หลายคนเชื่อว่าจะมาสามารถแข่งกับ 2 แพลตฟอร์มเจ้าตลาดได้ เพราะเป็นการร่วมทุนของ JD.Com อีคอมเมิร์ซเบอร์ 2 ของจีนที่อยู่ในตลาดนานกว่า 20 ปี และ เซ็นทรัล กรุ๊ป โดยการร่วมทุนครั้งนี้มีวงเงินกว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 17,500 ล้านบาท ทำให้ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยกลายเป็นพื้นที่ขับเคี่ยวของทุนยักษ์ใหญ่จากจีน

แน่นอนว่าการแข่งขันของตลาดอีคอมเมิร์ซไทยนั้นดุเดือดมาก อย่างลาซาด้าเองก็ขาดทุนมาโดยตลอด หากนับเฉพาะปี 2017-2019 ลาซาด้า ขาดทุนสะสมถึง 6,920 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน ลาซาด้านับเป็นอีคอมเมิร์ซรายเดียวที่สามารถทำกำไร โดยในปี 2020 มีกำไรที่ 226.9 ล้านบาท และในปี 2022 มีกำไรประมาณ 3,200 ล้านบาท จากรายได้รวม 38,000 กว่าล้านบาท ส่วนตัว ช้อปปี้ เองเฉพาะปี 2021 ขาดทุนประมาณ 4,900 กว่าล้านบาท จากรายได้ทั้งกลุ่มอยู่ที่เกือบ 43,000 ล้านบาท

ตัดมาที่ JD Central ที่เรียกได้ว่ายังห่างชั้นกับ 2 เจ้าใหญ่อย่างมาก แม้ว่าในปี 2021 แพลตฟอร์มพยายามจะรีแบรนด์ แถมยังได้ ก่อลาภ สุวัชรังกูร ผู้บุกเบิกตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่ประเทศไทยทั้ง LINE MAN และ Gojek มานั่งตำแหน่งประธานบริหารฝ่ายการตลาดคนใหม่แทนที่ รวิศรา จิราธิวัฒน์ ที่ไปดำรงตำแหน่งประธานบริหารฝ่ายการตลาด บจก.สรรพสินค้าเซ็นทรัลแทน

แต่จากข้อมูลจากเว็บไซต์ ipricethailand.com ระบุว่า ในช่วง Q1/2022 JD Central มีผู้เข้าชมเว็บไซต์เพียง 2 ล้านกว่าราย ขณะที่ช้อปปี้มีอยู่ที่ 56 ล้านราย และลาซาด้าอยู่ในระดับ 36 ล้านราย ขณะที่ปี 2021 มีรายได้รวม 7,443 ล้านบาท ขาดทุน 1,930 ล้านบาท โดยปัจจุบัน ก่อลาภได้ย้ายไปเป็นประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารที่บริษัท โอ ช้อปปิ้ง จำกัด หลังจากที่ร่วมงานกับ JD CENTRAL ได้ประมาณ 1 ปี

เปิดใจ ‘ก่อลาภ’ กับภารกิจดัน ‘JD CENTRAL’ เทียบชั้น 2 เจ้าตลาด

2022 เริ่มเห็นสัญญาณไม่ดี

มาปี 2022 หลายคนน่าจะสังเกตว่าตลาดอีคอมเมิร์ซไทยไม่ค่อยคึกคัก หลังจากที่ตลาดอีคอมเมิร์ซเติบโตอย่างมากในช่วงที่ COVID-19 ระบาด แต่ในปี 2022 ที่ผ่านมา เศรษฐกิจทั่วโลกก็เจอกับปัญหาเงินเฟ้อ ดังนั้น จะเห็นว่าบริษัทเทคโนโลยีหลายรายได้รับผลกระทบ อย่าง Sea Group ก็ต้องปลดคนงาน พร้อมกับยุติการขยายธุรกิจอีคอมเมิร์ซใน 4 ประเทศ ได้แก่ ชิลี โคลอมเบีย เม็กซิโก และอาร์เจนตินา

ขณะที่ JD.com เองก็มีข่าวว่าบริษัทได้เลิกจ้างพนักงานกว่า 200 คน เพื่อลดค่าใช้จ่าย และได้เรียกผู้บริหารระดับสูงในไทยกลับประเทศจีนหลายราย หลังจากธุรกิจในไทยนั้นโตไม่ได้ตามเป้า โดยรวมแล้ว JD.Com ขาดทุนสูงถึง 5 หมื่นล้านบาท จากการทำตลาดในประเทศไทยและอินโดนีเซีย

ส่งผลให้ในช่วงช่วงปลายปี 2022 มีข่าวว่า JD.com เตรียม ถอนตัวจากไทยและอินโดนีเซีย เพื่อขอกลับไปเน้นธุรกิจในจีนเป็นหลักจากเดิมที่เคยต้องการบุกตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนกระทั่งล่าสุด JD Central ได้ประกาศยุติกิจการในไทยโดยมีผล 3 มี.ค. 2023 เป็นต้นไป ปิดฉาก 5 ปีในตลาดอีคอมเมิร์ซไทย

JD.com เตรียมถอนตัวจากไทยและอินโดนีเซีย หลังจากนี้เน้นธุรกิจในจีนเป็นหลัก

ทิศทางออนไลน์ของเซ็นทรัลจากนี้

ที่ผ่านมา กลุ่มเซ็นทรัลได้วางโรดแมปในการเข้าสู่อีคอมเมิร์ซเต็มตัว โดยก่อนที่จะร่วมทุนกับ JD.Com บริษัทได้เข้าซื้อ ออฟฟิศเมท ในปี 2012 แล้วเปลี่ยนโฉมออฟฟิศเมทเป็นบริษัท ซีโอแอล จำกัด (มหาชน) ในปี 2015 จากนั้นก็ล้างภาพจำออฟฟิศเมทที่จำหน่ายของใช้ในสำนักงานจนกลายเป็นแพลตฟอร์ม เซ็นทรัล ออนไลน์ (Central Online) อย่างเต็มตัว ซึ่งจำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ใน Q1/2022 นั้นอยู่ที่ 2.5 ล้านราย นับเป็น อันดับ 3 ซึ่งสูงกว่า JD CENTRAL แพลตฟอร์มที่ร่วมทุนกับ JD.Com เสียอีก

และในส่วนของ Central App ก็มีอัตราการเติบโตของยอดดาวน์โหลดเพิ่มมากกว่า 60% จากปี 2021 และคาดว่าในปี 2022 จะมีสมาชิกมากกว่า 5 ล้านคน โดยในฝั่งของแพลตฟอร์มเซ็นทรัล ออนไลน์นี้ ทางเซ็นทรัลก็ได้วางตัวว่าจะเน้นจับ กลุ่มสินค้าพรีเมียม ซึ่งจะแตกต่างจากแพลตฟอร์มใหญ่ ๆ ที่เน้นขายสินค้าแมสมากกว่า

สรุป คงไม่ใช่แค่เรื่องการแข่งขันที่ทำให้ JD.Com ตัดสินใจถอนตัวออกจากไทย แต่ภาพรวมเศรษฐกิจทั่วโลกที่ส่งผลกระทบต่อตัวบริษัทแม่เอง รวมถึงตลาดอีคอมเมิร์ซไทยก็ชะลอการเติบโตลงหลังจากที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงที่ COVID-19 ระบาด โดยศูนย์วิจัยกสิกรฯ คาดว่า ในปี 2023 ภาพรวมของตลาดอีคอมเมิร์ซแบบ B2C คาดว่าตลาดอาจขยายตัวราว 4-6% ซึ่งต่ำสุดเมื่อเทียบกับ 3 ปีที่ผ่านมาที่ขยายตัวเฉลี่ย 26% ต่อปี ดังนั้น หากยื้อต่อไปก็จะยิ่งเจ็บตัวเปล่า ๆ

]]>
1417229
รู้จัก ‘Dolfin’ น้องใหม่ตลาด ‘e-payment’ กับแนวคิดมาก่อนหรือหลังไม่สำคัญ เพราะศัตรูเดียวกันคือ ‘เงินสด’ https://positioningmag.com/1286997 Wed, 08 Jul 2020 13:26:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1286997 ถือว่าเป็นน้องใหม่ในตลาด ‘e-payment’ ไทย เพราะ ‘ดอลฟิน’ (Dolfin) เพิ่งให้บริการได้เพียง 8 เดือนเท่านั้น แต่ปัจจุบันมีผู้ใช้งานกว่า 1 ล้านราย และมีการทำธุรกรรมกว่า 100 ล้านทรานแซกชั่นต่อเดือน อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้เติบโตได้อย่างรวดเร็ว จุดยืนของ Dolfin ก้าวต่อไปในตลาด รวมถึงมุมมองของตลาด e-payment ไทยจากนี้ คุณรุ่งเรือง สุขเกิดกิจพิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เซ็นทรัล เจดี ฟินเทค โฮลดิ้ง จะมาไขข้อสงสัยให้ฟัง

พ่อ-แม่ใหญ่ได้เปรียบ

Dolfin เกิดจากการร่วมทุนสองบริษัท คือ กลุ่มเซ็นทรัล และกลุ่มเจดี ดอทคอม (JD.com) บริษัทอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของจีน ซึ่งมีบริษัทเจดี ดิจิทส์ (JD Digits) ที่ทำด้านเทคโนโลยีฟินเทคมาช่วยหนุนด้านเทคโนโลยี โดยมีทุนจดทะเบียน 8,000 ล้านบาท และแน่นอนว่าที่ยอดใช้งานของ Dolfin เติบโตได้เร็วส่วนหนึ่งก็มาจากอีโคซิสเต็มส์ในเครือเซ็นทรัล ที่ทำให้มีจุดรับชำระที่มหาศาล ไม่ว่าจะเป็นห้างเซ็นทรัล, ท็อปส์ซูเปอร์มาร์เก็ต, ร้านอาหารในเครือซีอาร์จี และแฟมิลี่มาร์ท มีจุดเติมเงินผ่านเคาน์เตอร์เซ็นเพย์ (CenPay) กว่า 1,900 สาขาทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นพันธมิตรกับ ‘พร้อมเพย์’ ที่มีจุดรับชำระกว่า 4.5 ล้านจุด

“จุดสำคัญที่ทำให้คนใช้คือ เน็ตเวิร์กของจุดรับชำระและเน็ตเวิร์กของคนใช้ ต้องเติบโตอยู่ในลักษณะที่สมดุลกัน อะไรมาเร็วเกินก็ไม่ได้ ต้องก้าวไปพร้อม ๆ กัน แต่ Covid-19 หรือบรรยากาศแบบนี้ก็เป็นจังหวะที่ทำให้คนเปิดใจทั้งร้านค้าทั้งลูกค้า แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้คนมาสมัครใช้งานอย่างง่ายดาย เราก็จะต้องมี marketing promotion”

มาช้ามาก่อนไม่สำคัญ เพราะ เงินสด คือศัตรูตัวจริง

เราไม่ได้มองใครเป็นศัตรู เพราะศัตรูที่เราแข่งอยู่คือ ‘เงินสด’ ตอนนี้ไทยมีการใช้ e-payment ไม่ถึง 3% ขณะที่จีนไปเกือบ 100% ดังนั้น ผู้เล่นในตลาดทุกรายยังต้องวิ่งตามหาความฝัน แต่ข้อดีของการเป็นแพลตฟอร์มคือ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมี 1 ราย อาจจะมี 2 wallet ในโทรศัพท์เดียวกันก็ได้ ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นอย่างนั้น แต่วันที่ไทยกลายเป็นสังคมไร้เงินสด จากนี้ถึงจะเป็นช่วงต้องแข่งขัน เพราะถ้าลูกค้าชินกับแอปไหน ก็จะใช้แอปนั้น น้อยครั้งที่จะข้ามกัน แต่โจทย์แรกคือ ต้องชนะเงินสด ขณะที่เราธนาคารก็ไม่ได้ไปแข่ง แต่เป็นพันธมิตรกันในการช่วยเชื่อมต่อเน็ตเวิร์กต่าง ๆ แลกกับการส่งต่อเทคโนโลยี เช่น Biomatrices, Facial Recognition เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม คงไม่สามารถประเมินได้ว่าการจะไปจุดนั้นจะใช้เวลานานแค่ไหน อาจจะ 3 ปี หรือ 10 ปี เพราะมีหลายปัจจัยไม่ใช่แค่ผู้บริโภค เช่น หากธนาคารแห่งประเทศลดการผลิตธนบัตรหรือเลิกพิมพ์ธนบัตร แน่นอนว่าสังคมไร้เงินสดเกิดขึ้นทันที ซึ่งปัจจุบันภาครัฐก็ผลักดันเต็มที่ อย่างการมีพร้อมเพย์ หรือแอปเป๋าตัง ซึ่งมันผลักดันให้ประชาชนไม่ต้องกลัวดิจิทัล

“ตอนนี้คนยังมีความเขินในการใช้คิวอาร์โค้ดอยู่ ซึ่งมันยังห่างไกล ดังนั้น การมาก่อนไม่ได้แปลว่าผู้ชนะ เพราะศัตรูตัวฉกาจของเราคือ เงินสด เพราะตอนนี้มันยังไม่ใช่ New Normal ตอนนี้โจทย์ของผู้เล่นทุกรายคือ ต้องทำให้เขาใช้แบบไม่เขิน เพราะมันยังดูเป็นของที่พิเศษ ตอนนี้เขาเริ่มเปิดใจแล้ว และเขาก็มองว่ามาแน่นอน”

เพย์เมนต์แค่จุดเริ่ม ของจริงจะมาอีก 6 เดือน

เพย์เมนต์ เป็นเครื่องมือทำให้เรารู้จักลูกค้า และมีรายได้มาจากค่าธรรมเนียมของร้านค้า แต่ไม่ได้คิดจะทำเป็นรายได้หลัก เพราะ Dolfin วาง Position ตัวเองเป็น Digital Financial Platform โดยเตรียมจะเข้าเปิดบริการอีก 3 รูปแบบ ได้แก่ ปล่อยเงินกู้ (loan), ขายประกัน (insurance) และ การจัดการสินทรัพย์ (Asset Management) โดยใน 6 เดือนจากนี้จะเริ่มปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคล โดยใช้ ‘Data’ สามารถทำได้ผ่านมือถือ ไม่ต้องใช้เอกสารหรือเดินทางไปธนาคาร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ลูกค้าต้องยินยอมให้ใช้ข้อมูล อย่างไรก็ตาม การจะต่อยอดไปสู่การปล่อยกู้ให้กับร้านค้าพาร์ตเนอร์ยังต้องใช้เวลา แต่ระบบพร้อมแล้ว

“ในไทยมีผู้เล่นรายใหญ่ 5 ราย ไม่รวมรายเล็ก และทุกคนคงมีแนวคิดการเป็น Digital Financial Platform แต่มองว่าคงไม่ใช่ทุกคนที่ทำได้ครบ เพราะผู้เล่นอื่นอาจจะยังโฟกัสที่เพย์เมนต์ บางรายอาจจะทำเป็นระบบปิด ใช้ในเฉพาะแพลตฟอร์มตัวเอง แต่เราวางตัวตั้งแต่ต้นว่าจะเป็นระบบเปิด”

สิ้นปีโต 2 เท่า คืนทุนใน 5 ปี

ภายในสิ้นปีนี้ เราเพิ่มร้านค้านอกเครือเซ็นทรัลเป็น 15,000 ร้านค้า จากปัจจุบันมี 2,000 ร้านค้า และตั้งเป้าเพิ่มผู้ใช้เป็น 2 เท่า หรือ 2 ล้านราย ซึ่งจะโฟกัสไปที่คนรุ่นใหม่เป็นหลัก เพราะเข้าถึงได้ง่าย โดยปัจจุบันผู้ใช้งาน Dolfin เฉลี่ยอายุที่ 18-40 ปี แต่ภายใน 3-5 ปีจากนี้ Dolfin ตั้งเป้าทำรายได้ให้คืนทุน และมั่นใจว่าลูกค้าที่ใช้งานจะมาจากทุกช่วงอายุ

“สินค้าเทคโนโลยีราคาจะถูกลงเรื่อย ๆ เพื่อให้สเกลได้ เหมือนกับการสร้างแพลตฟอร์ม ดังนั้นถ้าเราจะคืนทุน ก็ต้องเมื่อมันสเกลได้ อย่างที่จีนคนใช้ e-wallet ทุกช่วงอายุ เหมือนกับเงินสดที่ใช้ได้ตั้งแต่เด็กจนผู้ใหญ่ และเราเองต้องการสู้กับเงินสด ดังนั้นเราต้องออกแบบให้กับทุกกลุ่มใช้ได้”

ความเชื่อมั่น หัวใจสำคัญที่ท้าทาย

ในสมัยหนึ่งเราไม่กล้าใช้บัตรเครดิต เพราะกลัวคนเอาไปใช้รูด หากบัตรหาย แต่ตอนนี้คนไม่กลัวแล้ว เพราะอยากสะดวกมากกว่า เช่นเดียวกับ e-payment คนยังกังวลว่าปลอดภัยไหม ดังนั้น การให้ความรู้เป็นสิ่งสำคัญ เพราะมันจะนำพาซึ่งความเชื่อมั่น อย่าไปกลัว เพราะมันหนีไม่ได้ มันมาแน่ แต่ต้องใช้ประโยชน์จากมันให้มากที่สุด เพราะทุกอย่างมันมีกฎหมายกำกับอย่างชัดเจน และไม่มีผู้ให้บริการคนไหนอยากให้เกิดข้อผิดพลาด

]]>
1286997
“ทุเรียน” พระเอกเปิดตัว “เจดี เซ็นทรัล” นำร่องส่งออกสินค้าไทยเจาะตลาดจีน มั่นใจโกยยอดขายทุบสถิติ “อาลีบาบา” ได้สบายหายห่วง https://positioningmag.com/1168147 Wed, 02 May 2018 13:01:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1168147 สาวิตรี รินวงษ์

ทุเรียนทำให้เกิดแจ็ค หม่าเอฟเฟกต์ ทุบสถิติขายราชาผลไม้ใน 1 นาที ได้ตั้ง 130,000 ลูก (รวมทุกสายพันธุ์) คราวนี้ถึงคิวเจดี ดอทคอมบ้าง มาช้าแต่ก็ยังดีกว่าไม่มา มาทั้งทีนอกจากจัดหนักรับออเดอร์ ทุเรียนจากไทยไม่อั้น ยังปล่อยวาทะเด็ดในการทำตลาดทุเรียนด้วย 

และทุเรียนยังเป็นสินค้าของสด (Fresh food) ที่เป็นไฮไลต์ “ตัวแรก จากบริษัทร่วมทุนเจดี เซ็นทรัลของเจดี ดอทคอม และกลุ่มเซ็นทรัล จะนำสินค้าไปขายและทำตลาดในประเทศจีน ผ่านมาร์เก็ตเพลสเจดี ดอทคอมเพราะล่าสุดบริษัท Beijing Jingdong Century Trade ในเครือเจดี ดอทคอมได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับบริษัท ควีน โฟรเซ่น ฟรุต จำกัด 1 ใน 3 ผู้นำเข้าและส่งออกผลไม้รายใหญ่ของไทย เพื่อสั่งซื้อ ทุเรียนและผลไม้อื่นๆ ไปขายแบบไม่อั้นและไม่มีสะดุด เพราะมีสินค้าในสต๊อกเพียงพอขายทั้งปี จากปลายปี 2560 ทั้งคู่เริ่มค้าขายทุเรียนแช่แข็ง (ปอกเปลือกขายเป็นพูไปแล้วราว 100 ตู้คอนเทนเนอร์ หรือราว 2,500 ตัน พบผลตอบรับจากตลาดและผู้บริโภคดีมาก มีเท่าไหร่ก็ขายหมดเกลี้ยง

เราเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยสักระยะแล้ว ส่วนการนำทุเรียนไปขายในจีนก่อนหรือหลังอาลีบาบา ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ และไม่ใช่เราสู้อาลีบาบาไม่ได้ แต่เราต้องการโฟกัสเรื่องให้บริการลูกค้ามากกว่า แต่ถ้าจะเน้นปริมาณ ศักยภาพของเราสามารถขายได้มากกว่าที่คู่แข่งทำแน่นอนเย่ เว่ย (Ye Wei) ประธานกรรมการบริษัท เจดี เฟรช (JD Fresh) กล่าวและขายความจุดแข็งในการขายทุเรียนของบริษัท คือการส่งสินค้าถึงมือผู้บริโภคภายใน 3 ชั่วโมง เทียบกับคู่แข่งที่ยังใช้เวลานานกว่า 2-3 วัน นั่นหมายความว่าผู้บริโภคคลิกปลายนิ้วซื้อสินค้าปุ๊บ ตั้งตารอแป๊บเดียว ก็ได้กินทุเรียนสมใจอยากแล้ว สปีดที่เร็วกว่าทำให้การค้าขายทำยอดได้มากกว่าโดยปริยาย 

3 ปีที่ผ่านมา ทุเรียนผลสด (ทั้งลูกแช่แข็งส่งออกจากไทยบูมมาก! เพราะต้องยอมรับว่าคนจีนชื่นชอบผลไม้ไทยสุดๆ ทำให้ประเมินว่าโอกาสโกยเงินจากผู้บริโภคชาวจีนยังมีอีกมาก โดยคาดการณ์ 5 ปีข้างหน้าทุเรียนจะโตได้อีก 100 เท่า เพราะแค่บริษัทขายทุเรียนไป 3-4 เดือน พบว่ายอดขายโต 1 เท่าตัวแล้ว ส่วนปี 2560 ยอดขายโตราว 4 เท่าตัว 

ทุเรียนสดแช่แข็งที่ส่งไปทำตลาดในจีนมีสัดส่วนน้อยไม่ถึง 2% เมื่อเทียบกับทุเรียนสดเป็นลูกที่นำเข้าไปขาย แต่แนวโน้วตลาดมองว่าจะโตขึ้นอีกทุกๆ ปี 

เพราะดีมานด์สูง ทำให้การแข่งขันทำตลาดทุเรียนในจีนผ่านช่องทางออนไลน์เดือด! โดยเจดี ดอทคอม และอาลีบาบา จะจัดโปรโมชั่นซื้อ 1 แถม 1 ซื้อ 4 แถม 2 มาสู้กันเพื่อดึงลูกค้า (Traffic) ให้เข้ามาจับจ่ายใช้จ่ายในมาร์เก็ตเพลส กระตุ้นยอดขายกันถี่ยิบ แบบไม่มีใครยอมใคร

นอกจากทุเรียน ยังมีผลไม้อื่นๆ ที่เตรียมส่งออกไปยังตลาดจีน ได้แก่ มังคุด ลำไย มะพร้าว เป็นต้น ทุกอย่างที่เป็นผลไม้ไทยคนจีนชอบหมด! และหลังจากส่งออกของสดหมวดผลไม้แล้วเจดี เซ็นทรัลเตรียมส่งออกข้าว” บุกแดนมังกรเพิ่มด้วย เพราะเป้าหมายของการเป็นพาร์ตเนอร์กับกลุ่มเซ็นทรัล และเข้ามา MOU ซื้อสินค้าจากไทย บริษัทต้องการเพิ่มสัดส่วนทางการค้าระหว่างไทยจีน มาขายบนแพลตฟอร์มเจดี ดอทคอมให้ได้ 25% เมื่อเทียบมูลค่าการค้า ทั้งหมดระหว่าง 2 ประเทศ 

ด้านกาญจนา แย้มพราย ประธานกรรมการ บริษัท ควีน โฟรเซ่น ฟรุต จำกัด กล่าวว่า จีนมีความต้องการทุเรียนจากไทยสูงขึ้นทุกปี ทั้งผลสด ผลสดแช่แข็ง ทุเรียนแปรรูป ทำให้ปีที่ผ่านมาบริษัทลงทุนราว 700-800 ล้านบาท

เพื่อขยายการผลิตทุเรียนสดแช่แข็ง และล่าสุดเตรียมลงทุนอีก 700-800 ล้านบาท สร้างโรงงานทุเรียนแปรรูปและทุเรียนแช่แข็ง ประเภทต่างๆ เช่น ไอศกรีมทุเรียน ทุเรียนสติก ลาซานญ่าทุเรียน ทาร์ตทุเรียน  

ทั้งนี้ โรงงานดังกล่าวสามารถรับซื้อวัตถุดิบทุเรียนได้ 200 ตันต่อวัน ต่ำกว่ากำลังการผลิตเต็มที่รับได้ 400-500 ตันต่อวัน เนื่องจาก 3 ปีที่ผ่านมา ทุเรียนสดแช่แข็งส่งออกไปจีนบูมมากๆ จนทำให้ค่อนข้างขาดแคลนวัตถุดิบ และราคาทุเรียนหน้าสวนก็ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องเฉลี่ย 10% 

ความต้องการทุเรียนมีสูงมาก ทำให้สินค้าที่ผลิตสู่ตลาดจีน ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องเช่นกัน อย่างทุเรียนแช่แข็งปีก่อนเราขาย 270 บาท เพิ่มเป็น 380 บาท หรือเฉลี่ยเพิ่ม 40-50% ต่อปี”  

สำหรับทุเรียนยอดฮิตในหมู่ชาวจีนเติบโตไม่ต่ำกว่า 20% ส่วนสายพันธุ์ที่ถูกใจอันดับ 1 คือพวงมณี แต่ปริมาณในตลาดมีน้อย ตามด้วยหมอนทอง นอกจากทุเรียนป๊อปปูลาร์ มังคุด มะพร้าว ก็โตแรงไม่แพ้กันด้วย เรียกว่าถ้าแปะยี่ห้อผลไม้ไทยใครๆ ก็อยากกินแน่นอน 

การร่วมมือกับเจดี ทำให้บริษัทได้วอลุ่มยอดขายมากขึ้น ส่วนเจดีก็จะได้ทุเรียนไว้ขายตลอดทั้งปี จากที่ผ่านมามีช่วงขาดแคลนทุเรียนบ้าง

นอกจากร่วมมือกับเจดี บริษัทเตรียมร่วมทุนกับ “SunMoon Distribution & Trading” ในเครือของอาลีบาบา และ Xing Ye Yaun(XYY) ในสัดส่วนการถือหุ้นราว 33% เท่ากัน เพื่อสร้างแบรนด์สินค้าทุเรียนไปจำหน่ายในตลาดจีนเพิ่มด้วย จะทำให้บริษัทมีสินค้าขายผ่านทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ เนื่องจาก XYY เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าที่มีเครือข่ายร้านค้าปลีกกว่า 680 แห่งทั่วประเทศ ได้แก่ Walmart, Carefour, CenturyMart Tesco และอีก 8 แบรนด์ค้าปลีก 

เราขายทุเรียนให้กับทั้งอาลีบาบา และจดี ดอทคอม ซึ่งการส่งออกทุเรียนไปจีนของบริษัทคิดเป็นสัดส่วน 80% จากที่ส่งออกราว 30 ประเทศทั่วโลก

อย่างไรก็ตาม ในปี 2561 บริษัทตั้งเป้าส่งออกทุเรียนผลสดแช่แข็งไปยังตลาดจีน 3,000 ตู้คอนเทนเนอร์ ส่วนทุเรียนแช่แข็งประมาณ 400 ตู้คอนเทนเนอร์ เพิ่มจากปีก่อนเท่าตัว ขณะที่ภาพรวมการส่งออกทุเรียนของไทย เฉพาะวันที่

21-27 เม..ที่ผ่านมา มีมากถึง 3,000 ตู้คอนเทนเนอร์ เติบโตสูงขึ้นต่อเนื่อง และแนวโน้มส่งออกทุเรียนยังโตต่อเนื่อง ทำให้บริษัทวางแผนไปลงทุนสร้างศูนย์ตรวจสอบคุณภาพและศูนย์กระจายสินค้า (DC) ที่จังหวัดจันทบุรี เนื้อที่่ 34 ไร่ และที่ชุมพร 10 ไร่ รองรับการเติบโตด้วย  

สำหรับ ควีน โฟรเซ่น ฟรุต เป็น 1 ใน 3 ผู้ผลิตทุเรียนแช่แข็งรายใหญ่ในประเทศไทย และมีการนำเข้าส่งออกผลไม้มานานกว่า 20 ปี ที่ผ่านมาสินค้าส่งออกหลักเป็นมะขามหวาน และบริษัทมีโรงงานผลิตสินค้าที่จังหวัดเพชรบูรณ์ 2 แห่ง

โดยรายได้บริษัทส่วนใหญ่มาจากการนำเข้า แต่หลังจากขายทุเรียนให้ 2 ยักษ์ใหญ่จีน ทำให้ยอดส่งออกรวมมากกว่านำเข้า อีกทั้งกำไรดีกว่าด้วย.

]]>
1168147