เบียร์สด – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sat, 09 May 2020 10:14:29 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 กรมควบคุมโรค-กรมสรรพสามิต ลงพื้นที่ตรวจสอบ “เบียร์สดกระป๋อง” ฟันผิด 2 กระทง https://positioningmag.com/1277668 Sat, 09 May 2020 10:14:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1277668 กรมควบคุมโรค ร่วมกับกรมสรรพสามิต พบเรื่องร้องเรียนกรณีที่มีการแชร์ข้อมูลทางโซเชียลมีเดียถึงประเด็นการจำหน่ายเบียร์สดบรรจุใส่บรรจุภัณฑ์แบบใส พร้อมติดฉลากยี่ห้อเบียร์ต่างๆ จำหน่ายผ่านทางออนไลน์ พร้อมการจัดส่งแบบเดลิเวอรี่

ฟันธงแล้ว เบียร์สดกระป๋องผิด 2 กระทง

หลังจากที่เป็นกระแสบนโลกออนไลน์ ถึง “เบียร์สดกระป๋อง” ที่เอเยนต์รายใหญ่ที่จำหน่ายเบียร์สดได้หัวใส นำมาเอาเบียร์สดในสต็อกมาบรรจุใหม่ใส่แพ็คเกจจิ้งกระป๋องใส จนมีหลายกระแสได้ออกมาบอกว่าไม่สามารถทำได้ เพราะนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว ยังทำให้เบียร์ไม่ได้คุณภาพ ไม่ถูกสุขอนามัยในการบรรจุอีกด้วย

ล่าสุดกรมควบคุมโรค และกรมสรรพสามิตได้ลงพื้นที่ตรวจสอบด้วยตนเอง พร้อมกับฟันความผิด 2 กระทงด้วยกัน

นายแพทย์ขจรศักดิ์ แก้วจรัส รองอธิบดีกรมควบคุมโรค มอบหมายให้นายแพทย์นิพนธ์ ชินานนท์เวช ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (สคอ.) กรมควบคุมโรค ตรวจสอบเรื่องร้องเรียนจากกรณีดังกล่าว และลงพื้นที่ร่วมกับกรมสรรพสามิต ตรวจสอบสถานที่บรรจุย่านลาดพร้าว

พบการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ตามมาตรา 32 ห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

นอกจากนี้ยังพบความผิดตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560 มาตรา 157 ห้ามมิให้ผู้ใดเปลี่ยนแปลงภาชนะบรรจุสุราเพื่อการค้า มีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท ซึ่งเจ้าหน้าที่กำลังรวบรวมข้อมูลพยานหลักฐาน เพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด

ตามที่ได้มีกระแสโพสต์เชิญชวนดื่มเหล้าที่บ้าน พร้อมโชว์รูปผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งจากการตรวจสอบข้อมูลพบว่า เว็บไซต์ที่เชื่อมโยงกิจกรรมดังกล่าว มีการแสดงภาพผลิตภัณฑ์เบียร์ และจัดโปรโมชั่นในช่วงที่ประเทศไทยมีวิกฤตโรค COVID-19 เชิญชวนให้ประชาชนซื้อผลิตภัณฑ์เบียร์

ซึ่งการกระทำดังกล่าวเข้าข่ายการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ตามมาตรา 32 เช่นกัน โดยทาง สคอ. ได้รับเรื่องร้องเรียนและกำลังดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมายต่อไป

นายแพทย์นิพนธ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมควบคุมโรค โดย สคอ. ได้มีการเฝ้าระวังการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจากการตรวจสอบที่ผ่านมาพบว่า มีการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผ่านช่องทางออนไลน์เป็นจำนวนมาก และมักจะพบว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 หลายประการด้วยกัน เช่น การโฆษณา การลดราคา การแจกแถม ให้สินค้าอื่น เป็นต้น

อีกทั้งการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านช่องทางดังกล่าว ไม่สามารถควบคุมอายุของผู้ซื้อได้ จึงอยากเน้นย้ำให้ผู้ปกครองดูแลบุตรหลานที่เป็นเยาวชนให้ทั่วถึง และขอความร่วมมือผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายแบบออนไลน์หรือออฟไลน์ ให้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด

ทั้งนี้ หากประชาชนต้องการแจ้งเรื่องร้องเรียนการกระทำผิดเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สามารถเข้าใช้งานผ่านเว็บไซต์ http://TAS.go.th หรือค้นหาคำว่า “ระบบแจ้งร้องเรียนการกระทำผิดเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ” และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โทร. 02 590 3342 หรือสายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422

]]>
1277668
สรุปดราม่า “เบียร์สดกระป๋อง” จากโอกาสสู่วิกฤต เสี่ยงผิดกฎหมาย แถมเบียร์ไม่ได้คุณภาพ https://positioningmag.com/1277515 Fri, 08 May 2020 09:20:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1277515 ดูเหมือนจะเป็นทางรอดของร้านขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่นำเอาเบียร์สดมาบรรจุใส่แพ็กเกจจิ้งใหม่ “กระป๋องใส” พร้อมกับเปิดรับพรีออเดอร์ว่อนโลกโซเชียล แต่เกมพลิกเพราะเสี่ยงต่อการผิดกฎหมายเข้าอย่างจัง และสินค้าอาจจะไม่ได้คุณภาพ เพราะเบียร์สดเมื่อโดนแสงทำให้รสชาติเปลี่ยน

ไอเดียบรรเจิด ยอดแชร์กระฉูด

ในช่วงหลายวันที่ผ่านมาในบนโลกโซเชียลเต็มไปด้วยการแชร์ต่อกันถึงภาพ “เบียร์สดกระป๋อง” เป็นอีกหนึ่งไอเดียทางรอดของเหล่าบรรดาเอเย่นต์ขายเบียร์ แม้ว่าตอนนี้ทางรัฐบาลจะปลดล็อกให้ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้แล้ว แต่สินค้ากลุ่ม “เบียร์สด” ยังคงค้างสต็อก เพราะร้านเหล้า หรือสถานบันเทิงยังไม่เปิดให้บริการ

ทีนี้ร้านเหล่านี้จึงต้องหาทางออกด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการขายออนไลน์ เดลิเวอรี่ หรือการเล่นแร่แปรธาตุให้เบียร์สดอยู่ในแพ็กเกจจิ้งอื่นๆ ซึ่งใครที่เป็นคอเบียร์จะทราบอยู่แล้วว่าเบียร์สดเป็นอะไรที่ละเอียดอ่อนมาก มีกระบวนการเยอะ ทางที่ดีควรที่จะดื่มที่ร้าน หรือสถานที่ที่มีอุปกรณ์ครบ มิเช่นนั้นทำให้รสชาติผิดเพี๊ยนแน่นอน

แต่ “ว.มาร์ทเบียร์สด” เป็นเอเย่นต์รายใหญ่ในการขายเบียร์สดของผู้ผลิตเบียร์เจ้าใหญ่ๆ ในไทย ได้เริ่มไอเดียในการเอาเบียร์สดมาลงกระป๋องใส ปริมาณ 650 มิลลิลิตร พร้อมกับติดโลโก้แบรนด์เบียร์ต่างๆ เตรียมการจัดส่งเดลิเวอรี่ถึงบ้านลูกค้า เริ่มต้นในพื้นที่กรุงเทพฯ ก่อน

ว.มาร์ทได้ซุ่มเริ่มต้นบริการนี้ตั้งแต่ปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมาแล้ว โดยมีเบียร์สดเกือบทุกยี่ห้อ ราคาเริ่มต้นที่ 85 บาท ไปจนถึง 230 บาท พร้อมกับคิดค่าส่งตามระยะทาง แพงกว่าเบียร์ที่ขายตามท้องตลาด และอ้างว่าเก็บไว้ได้นาน 4-7 วัน

ว.มาร์ทเบียร์สด

แต่ในช่วงไม่กี่วันมานี้เริ่มเป็นประเด็นมากขึ้นเพราะมีคนแชร์ต่อๆ กัน ทั้งในส่วนของผู้บริโภคเองที่ต้องการดื่มเบียร์สด และมองว่าเป็นอีกหนึ่งไอเดียที่ดี มีแพ็กเกจจิ้งใหม่ที่ทันสมัย แถมยังส่งถึงบ้าน อีกส่วนหนึ่งก็คือฝั่งผู้ขาย พบว่ามีตัวแทนจำหน่ายว่อนโลกโซเชียล ไม่ว่าจะเป็นทางเอเย่นต์เอง และบุคคลทั่วไป เปิดรับพรีออเดอร์กันสนุกสนาน บางเจ้ามีการอัพราคาขึ้นไปถึงหลักร้อย!

จากโอกาสสู่วิกฤต เสี่ยงผิดกฎหมายเต็มๆ

ดูเหมือนว่าเคสนี้จะเป็นกรณีศึกษาในยุค COVID-19 ได้เช่นกัน จากตอนแรกที่ดูเหมือนว่าเป็นการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส แต่จริงๆ แล้วเป็นการพลิกโอกาสสู่วิกฤตเสียมากกว่า

เพราะมีหลายประเด็นที่ดูแล้วจะผิดกฎหมาย และผิดหลักโภชนาการอยู่มากมาย โดยที่มีหลายเพจ หลายคนได้ตั้งข้อสงสัยทั้งเรื่องลิขสิทธิ์ แพ็กเกจจิ้ง กฎหมายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยที่ผู้ใช้เฟซบุ๊ก “ลลิตา มีสุข” ได้ตั้งคำถามถึงเรื่องนี้ ได้แก่

  1. แพ็กเกจจิ้งไม่ได้การรับรองจากเจ้าของผลิตภัณฑ์โดยตรง ผิดเรื่องละเมิดลิขสิทธิ์
  2. การแยกแอลกอฮอล์บรรจุขาย ต้องผ่านกรมสรรพสามิต (เช่นเดียวกับร้านขายยาดอง)
  3. ผิด พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ในการนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จ หรือ โฆษณาอันเป็นเท็จ (เพราะในกรณีนี้ ผู้ขายไม่ใช่เจ้าของแบรนด์ และสร้างแพ็กเกจจิ้งขึ้นมาเองโดยเจ้าของแบรนด์ไม่รับทราบ
  4. กฎหมายการฟอกเงิน เพราะไม่ได้เสียภาษีสรรพสามิต เจ้าหน้าที่ ปปง. มีสิทธิ์อายัดเงินในบัญชีเจ้าของเอาไว้ตรวจสอบแหล่งที่มาของรายได้

พบว่าเบียร์สดกระป๋องเหล่านี้มีการแปลงบรรจุภัณฑ์ ไม่มีอากรแสตมป์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เรื่องใบขออนุญาตในการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงการโฆษณาบนโลกออนไลน์

เมื่อดูตามข้อกฎหมาย พบว่า การแบ่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บรรจุขาย ผิดกฎหมายพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 มาตรา 157 ซึ่งห้ามเปลี่ยนแปลงภาชนะบรรจุสุราเพื่อการค้า เว้นแต่ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้ผลิตสุรา หรือผู้ได้รับใบอนุญาตขายสุราประเภทที่ 2 (ร้านค้าที่จำหน่ายสุราต่ำกว่า 10 ลิตร) เฉพาะกรณีผู้ซื้อได้ร้องขอให้เปลี่ยนแปลงภาชนะบรรจุสุราเพื่อดื่มในขณะนั้น

ซึ่งจากการที่หลายๆ คนได้สอบถามไปยังเจ้าของแบรนด์เบียร์ พบว่าเจ้าของไม่ได้รู้เรื่องราวในการขายครั้งนี้ เป็นไอเดียของตัวแทนจำหน่าย แต่ในตอนนี้ยังไม่ได้มีการออกแถลงการณ์ใดๆ ถึงประเด็นดังกล่าว

แต่ก็พบว่าหลายๆ โพสต์ที่มีการโพสต์ขาย หรือพรีออเดอร์ หรือแม้แต่ของว.มาร์ทเอง ก็ได้ทำการลบโพสต์ขายออกไปแล้วเรียบร้อย

เบียร์ไม่ได้คุณภาพ

อีกหนึ่งประเด็นสำคัญนอกจากเรื่องทางกฎหมาย คือ คุณภาพของสินค้า หรือคุณภาพของเบียร์สดนั่นเอง หลายคนได้แชร์ความเห็นทางเทคนิคมากมาย การบรรจุเบียร์ต้องละเอียดอ่อนมากๆ ต้องบรรจุในกระป๋อง หรือขวดสีทึบ เพื่อหลีกเลี่ยงแสงแดด และรักษารสชาติและสีของเบียร์ รวมทั้งต้องเก็บในที่เย็น

การที่นำเบียร์สดมาบรรจุในกระป๋องใสแบบนี้ อาจจะทำให้คุณภาพเบียร์เสื่อมลงอย่างแน่นอน บางคนบอกว่ารสชาติจะไม่นุ่ม ไม่ซ่า รสชาติเหมือเบียร์สดแบบค้างคืน

บางคนก็มองว่าเป็นการนำของค้างสต็อกมาเร่ขายให้ผู้บริโภค รสชาติคงจะไม่ได้มาตรฐานอย่างแน่นอน

จริงๆ แล้ววิกฤต COVID-19 ทำให้เห็นความทุข์ร้อนของหลายๆ ธุรกิจ และการปรับตัวของหลายๆ คนเช่นกัน แต่ไอเดียและความรับผิดชอบต่อสังคมก็ยังคงเป็นสิ่งที่สำคัญอยู่ แต่ตอนนี้ยังไม่มีคำตอบจากผู้เกี่ยวข้องถึงประเด็นนี้ ต้องติดตามกันต่อไปว่าจะจบลงเช่นไร

]]>
1277515
ไม่ง้อร้านสะดวกซื้อ “ไฮเนเก้น” ดีลิเวอรี่ปาร์ตี้เบียร์สดถึงบ้าน https://positioningmag.com/1146706 Tue, 14 Nov 2017 19:11:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1146706 แม้ “เบียร์สด” จะมีมูลค่า 1,500 ล้านบาท ถือเป็นสัดส่วนไม่มากเมื่อเทียบกับตลาดเบียร์โดยรวมที่มีมูลค่าสูงถึง 107,000 ล้านบาท แต่ด้วยตัวเลขเติบโตถึง 2 หลัก ยิ่งเป็นช่วงเทศกาลส่งท้ายปี ที่ถือเป็นช่วงขายของเบียร์ด้วยแล้ว ทำให้ค่ายเบียร์ต้องคิดหาช่องทางขายใหม่ๆ ไม่จำกัดเฉพาะร้านอาหาร ผับ บาร์ สถานบันเทิง และเทศกาลลานเบียร์

ที่สร้างความฮือฮาไปก่อนหน้านี้ คือ ค่ายเบียร์ ลีโอ และช้าง ใช้วิธีตั้งตู้ขายเบียร์สดขายในร้านสะดวกซื้อ แต่สร้างความฮือฮาได้พักเดียว ก็โดนกระแสต่อต้านจนต้องล้มเลิกไป

คราวนี้มาถึงคิวของ “ไฮเนเก้น” แก้โจทย์ใหม่ ไม่พึ่งช่องทางขายที่ไหน  แต่ใช้วิธี ดีลิเวอรี่”ส่งถึงบ้านลูกค้า ภายใต้แคมเปญ Heineken Open your celebration 2017” เรียกโปรเจกต์พิเศษนี้ว่า “Star Delivery Service” แทนที่จะขายเบียร์อย่างเดียว ยังพ่วงเอา เกรฮาวด์ คาเฟ่ พันธมิตรคู่ใจ เสิร์ฟเบียร์ไฮเนเก้นพร้อมกับแกล้มถึงบ้าน พร้อมกับอุปกรณ์ปาร์ตี้ถึงบ้าน ในรูปแบบปาร์ตี้ส่วนตัว (Private Party Provider)

แพ็กเกจขายเบียร์พ่วงอาหาร มี 3 ไซส์ 1.ขนาดกลาง (M) ราคา 6,500 บาท สำหรับ 8 – 10 คน 2.ขนาดใหญ่ (L) ราคา 8,900 บาท สำหรับ 10-12 คน และ 3.ขนาดใหญ่พิเศษ (XL) ราคา 10,500 บาท สำหรับ 15 คนขึ้นไป

ใช้รถที่ใช้ส่งเบียร์สดมี 3 คัน เป็นรถทรัก 1 คัน และจักรยานยนต์ 2 คัน ติดโลโก้ไฮเนเก้นเด่นชัด เรียกว่าสร้างแบรนด์ไปในตัว โดยเริ่มวันที่ 13 พ.ย. 60 – 31 ม.ค. 61 และส่งลูกค้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเท่านั้น เนื่องจากมีข้อจำกัดจากสาขาของร้านอาหาร รับออเดอร์ต่อวันทำได้เต็มที่ 30-50 ออเดอร์

ภัททภาณี เอกะหิตานนท์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ผลิตภัณฑ์ไฮเนเก้นและสตรองโบว์ ในกลุ่มบริษัททีเอพี บอกว่า ไม่คาดหวัง “ยอดขาย” เพราะต้นทุนโดยรวมสูง และมีความเสี่ยงอุปกรณ์เบียร์สดที่นำไปเสิร์ฟลูกค้า แต่ต้องการเพิ่มช่องทางจำหน่ายใหม่ๆ และสร้างการจดจำแบรนด์

ด้วยขายรูปแบบนี้ เปิดให้สั่งเบียร์พร้อมอาหารได้ตลอดตั้งแต่ 10.00-22.00 น. โดยไม่ติดข้อกำหนดที่ให้ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ แค่ 2 ช่วง คือ11.00-14.00 กับ 17.00-24.00 ผู้บริหารระบุว่า ไม่ติดข้อกฎหมายแล้ว สร้างโอกาสในการดื่มเพิ่มขึ้น สอดรับกับเทรนด์ ดีลิเวอรี่” ที่กำลังได้รับความนิยมในเวลานี้ด้วย

งานนี้ต้องดูว่า กลยุทธ์ ดีลิเวอรี่”แก้โจทย์ช่องทางขายของ “ไฮเนเก้น” จะสร้างปรากฏการณ์ใหม่ๆ ให้ตลาดเบียร์สดได้แค่ไหน ต้องลุ้น!.

]]>
1146706