เวียดนาม – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 14 Nov 2024 08:47:33 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “เวียดนาม” ส่งออกชาแซงหน้าญี่ปุ่น 9 เดือนแรกส่งออกชาไปแล้วกว่า 189 ล้านเหรียญสหรัฐ https://positioningmag.com/1498531 Tue, 12 Nov 2024 08:09:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1498531 เวียดนาม” ถือเป็นประเทศที่มีการผลิตใบชาและมีความนิยมในการดื่มชาเป็นจำนวนมาก ทำให้ตลาดใบชาเวียดนามได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยภายในสิ้นเดือนกันยายนปี 2024 มีการส่งออกใบชาเวียดนามไปแล้วประมาณ 108,000 ตัน เพิ่มขึ้น 31.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีมูลค่าการซื้อขายกว่า 189 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 34.2% เทียบกับช่วงปลายเดือนกรกฎาคม ที่เวียดนามเป็นผู้ส่งออกชาอันดับ 8 ของโลก และมีรายได้ 135 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการส่งออกชาประมาณ 78,000 ตัน

Hoang Vinh long ประธานสมาคมใบชาเวียดนาม (Vietnamese Tea Associatio) กล่าวว่า เวียดนาม มีจังหวัดที่มีชื่อเสียงในการเพาะปลูกใบชา อย่าง Yen Bai, Ha Giang และ Son La (จังหวัดในภาคเหนือของเวียดนาม) ซึ่งถือเป็นจุดแข็งในการเพาะปลูกใบชาเนื่องจากสภาพอากาศและดินเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นชา ทำให้ได้ผลผลิตในปริมาณที่เยอะแม้จะมีพื้นที่เพาะปลูกที่ลดลง

อีกทั้งมีผู้เชี่ยวชาญและผู้บริโภคจากต่างประเทศที่ชื่นชมคุณภาพใบชา และเชื่อมั่นว่าใบชาเวียดนามสามารถแข่งขันกับใบชาประเทศอื่น ๆ ได้ ทำให้ใบชาเวียดนามมีการส่งออกไปกว่า 100 ประเทศ โดยมีตลาดหลักได้แก่ ปากีสถาน ไต้หวัน รัสเซีย จีน สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป นอกจากนั้นยังมีการแปรรูปชาประมาณ 15 ประเภท โดยสินค้าหลักคือ ชาดำและชาเขียว

เมื่อเปรียบเทียบการบริโภคชาระหว่างประเทศและในประเทศในปี 2022 พบว่า ภายในประเทศมีการขายใบชาไป 48,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 325 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่ด้านการส่งออกมีการส่งออกใบชาไปกว่า 146,000 ตัน สร้างมูลค่าประมาณ 237 ล้านเหรียญสหรัฐ

เนื่องจากใบชาเวียดนามมีราคาส่งออกยังไม่สูงมาก โดยมีราคาส่งออกเฉลี่ยน้อยกว่า ราคาของประเทศอื่น ๆ เช่น อินเดียและศรีลังกาที่มีราคาสูงกว่าเวียดนามเฉลี่ย 35% และ 55 % จึงทำให้เวียดนามกลายเป็นผู้ผลิตและส่งออกชารายใหญ่อันดับที่ 5 ของโลก

จากข้อมูลของ TradelMax เผยว่าในปี 2022 เวียดนามอยู่ในอันดับที่ 8 ของผู้ส่งออกชา โดยอันดับ 1 คือ จีน มีมูลค่าการส่งออก 3.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ อันดับ 2 คือ เคนย่า มูลค่า 1.39 พันล้านเหรียญสหรัฐ อันดับ 3 คือ ศรีลังกา มูลค่า 1.24 พันล้านเหรียญสหรัฐ อันดับ 4 อินเดีย มูลค่า 752 ล้านเหรียญสหรัฐ อันดับ 5 UAE มูลค่า 440 ล้านเหรียญสหรัฐ อันดับ 6 โปแลนด์ มูลค่า 253 ล้านเหรียญสหรัฐ อันดับ 7 เยอรมัน มูลค่า 235 ล้านเหรียญสหรัฐ อันดับ 8 เวียดนาม มูลค่า 223 ล้านเหรียญสหรัฐ อันดับ 9 ญี่ปุ่น มูลค่า 170 ล้านเหรียญสหรัฐ และ อันดับ 10 อังกฤษ มูลค่า 123 ล้านเหรียญสหรัฐ

ในขณะที่ประเทศไทย สินค้าในกลุ่มชาและผลิตภัณฑ์ชาที่ไทยส่งออกมากที่สุด คือ สินค้าชาสำเร็จรูป โดยในช่วงปี 2560 – 2564 ไทยส่งออกสินค้าชาสด ชาหมักและชาผงสำเร็จรูปเฉลี่ย 47.31 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี

ทั้งนี้ Nguyen Quoc Manh รองผู้อํานวยการกรมการผลิตพืชผลของเวียดนาม กล่าวว่า ปริมาณชาที่บริโภคในประเทศมีเพียงหนึ่งในสามของปริมาณการส่งออกชา แต่มูลค่าของการบริโภคภายในประเทศนั้นสูงกว่า เวียดนามจึงต้องหาวิธีเพิ่มมูลค่าการส่งออก ซึ่งยังคงเป็นเรื่องที่มีความท้าทายสําหรับอุตสาหกรรมชาของเวียดนามอย่างมาก

ที่มา : VietnamPlus

]]>
1498531
“เวียดนาม” เตรียมบล็อก “Temu” และ “Shein” หากไม่จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ ภายในเดือนพ.ย. นี้ https://positioningmag.com/1498425 Mon, 11 Nov 2024 11:38:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1498425 รัฐบาลเวียดนาม ประกาศเตรียมบล็อกโดเมนและแอปพลิเคชันอีคอมเมิร์ซของจีนอย่าง “Temu” และ “Shein” หากบริษัทอีคอมเมิร์ซดังกล่าว ไม่มีการจดทะเบียนการดําเนินงานอย่างถูกต้องกับกระทรวงการค้าของเวียดนาม ภายในสิ้นเดือนพฤศจิกายนนี้

ประกาศดังกล่าว เกิดขึ้นท่ามกลางความวิตกกังวลของผู้ค้าท้องถิ่น เกี่ยวกับแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซจีน ที่สร้างผลกระทบทางการค้าโดยการลดราคาอย่างหนักทำให้ขาดดุลทางการค้า รวมถึงคุณภาพของสินค้าที่วางขายบนแพลตฟอร์มที่อาจมีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน

ซึ่ง Shein ผู้ค้าปลีกฟาสต์แฟชั่นได้ขายสินค้าให้ผู้ใช้ในเวียดนามมาระยะหนึ่งแล้ว รวมถึง Temu อีคอมเมิร์ซของจีน ซึ่งเป็นเจ้าของโดย PDD Holdings ก็ได้มีการเริ่มอนุญาตให้ผู้ใช้ในเวียดนามซื้อสินค้าเมื่อเดือนที่แล้วเช่นกัน

โดย Nguyen Hoang Long รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการค้าเวียดนาม กล่าวว่า ทางกระทรวงฯ ได้มีการทำงานร่วมกับแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของจีนทั้ง Temu และ Shein ในเรื่องการขอใบอนุญาตในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งหลังจากที่ได้แจ้งเตือนว่า หากแพลตฟอร์มเหล่านี้ไม่ปฏิบัติตามกฎและขั้นตอนในการดำเนินธุรกิจในประเทศเวียดนาม ทางกระทรวงฯ จะประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการใช้มาตรการทางเทคนิค เช่น การบล็อกแอปพลิเคชันและโดเมนของแพลตฟอร์มไม่ให้ดำเนินการได้ในเวียดนาม 

ที่มา : Reuters

]]>
1498425
“SpaceX” จ่อลงทุน 1.5 พันล้านเหรียญใน “เวียดนาม” เห็นโอกาสเปิดบริการ “Starlink” https://positioningmag.com/1491986 Thu, 26 Sep 2024 11:58:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1491986 “เวียดนาม” กลับมาสานต่อการเจรจากับ “SpaceX” ชวนลงทุนมูลค่า 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 4.87 หมื่นล้านบาท) เพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตดาวเทียม “Starlink”

สำนักข่าว Reuters รายงานข้อมูลจากแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า จากการพูดคุยเพื่อชักชวนการลงทุนของ SpaceX ใน “เวียดนาม” ที่เริ่มต้นขึ้นช่วงปลายปี 2023 และมีการหยุดชะงักการเจรจาไป

ล่าสุดรัฐบาลเวียดนามเริ่มกลับมาพูดคุยกับบริษัทของ “อีลอน มัสก์” อีกครั้ง หลังจาก “โต เลิม” ประธานาธิบดีเวียดนาม มีโอกาสได้พบปะกับ “ทิม ฮิวจส์” รองประธานอาวุโสด้านรัฐกิจสัมพันธ์และธุรกิจสากลของบริษัท SpaceX ที่นิวยอร์ก

ทั้งนี้ รัฐบาลเวียดนามยังไม่ได้เปิดเผยว่า SpaceX สนใจจะลงทุนในภูมิภาคหรือจังหวัดใดของเวียดนาม หรือมีกำหนดการชัดเจนว่าจะตกลงในรายละเอียดกันเมื่อไหร่ รวมถึงทั้ง SpaceX และ กระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม ยังไม่ให้ความเห็นตอบกลับทางสำนักข่าวอย่างเป็นทางการ

ความน่าสนใจของตลาดเวียดนามต่อ SpaceX คือ จำนวนประชากรที่เติบโตทะลุ 100 ล้านคน และชาวเวียดนามเป็นผู้ใช้งานโปรดักส์ของบริษัทเทคอเมริกันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น Meta หรือ Alphabet แต่ด้วยภูมิศาสตร์ของเวียดนามเป็นแนวยาวและมีภูเขากั้น อีกทั้งอุปกรณ์ไฟเบอร์ออพติกที่ใช้อยู่ขณะนี้ค่อนข้างจะเก่า จนทำให้เกิดปัญหาการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอยู่บ่อยครั้ง

นั่นทำให้การให้บริการอินเทอร์เน็ตดาวเทียม Starlink ของบริษัทน่าจะเข้ามาตอบโจทย์ในส่วนนี้ได้ รวมถึงจะเป็นประโยชน์กับรัฐบาลเวียดนามในการสอดส่องดูแลชายฝั่งทะเลจีนใต้ตามเขตชายแดนทางทะเลของตนได้ดีขึ้นด้วย

ขณะที่ปัญหาที่ทำให้การเจรจาซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อปลายปีก่อนต้องหยุดชะงักไป เป็นเพราะกฎหมายของเวียดนามไม่อนุญาตให้บริษัทหรือบุคคลต่างชาติถือหุ้นในบริษัทในเวียดนามเกินกึ่งหนึ่ง แต่ SpaceX ต้องการจะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทที่จะตั้งในเวียดนามเพื่อมีสิทธิควบคุมบริษัทได้

ขณะนี้ยังไม่แน่ชัดว่าปัญหาดังกล่าวได้คลี่คลายไปหรือยัง และหากคลี่คลายแล้วจะเป็นไปในทิศทางใด

นอกจากเรื่องกฎหมายการถือหุ้นของต่างชาติแล้ว อีกหนึ่งประเด็นที่รัฐบาลเวียดนามเรียกร้องคือ ดาต้าของบริษัท SpaceX จะต้องเก็บรักษาไว้ในประเทศ และจะต้องมีการควบคุมเข้มงวดว่าอะไรที่สามารถเผยแพร่ออนไลน์ได้บ้าง

Source

]]>
1491986
ซัมซุง ทุ่มงบลงทุนเพิ่มอีก 1.8 พันล้านดอลลาร์ ตั้งโรงงานผลิตจอ OLED แห่งใหม่ ในภาคเหนือของเวียดนาม https://positioningmag.com/1491533 Tue, 24 Sep 2024 09:39:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1491533 รัฐบาลเวียดนาม เผย บริษัท ซัมซุง ดิสเพลย์ ผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เครือของ ซัมซุง กรุ๊ป แห่งเกาหลีใต้ มีแผนทุ่มงบลงทุนเพิ่ม มูลค่า 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 59,000 ล้านบาท ในการตั้งโรงงานผลิตจอ OLED แห่งใหม่ในจังหวัด Bac Ninh ทางเหนือของประเทศเวียดนาม 

ซึ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เวียดนาม ถือเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการผลิต ที่ดึงดูดบริษัทผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ให้เข้ามาลงทุนมากที่สุดแห่งหนึ่ง โดย ซัมซุง ได้สร้างโรงงานผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ไปแล้วกว่า 6 แห่ง ศูนย์การพัฒนาและวิจัย 1 แห่งและศูนย์ขาย 1 แห่ง รวมมูลค่าการลงทุนทั้งหมด 22,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 738,000 ล้านบาท ทำให้ฐานการผลิตของซัมซุงในเวียดนาม สามารถสร้างรายได้ทั่วโลกได้กว่า 30%  

ทำให้การลงทุนในโครงการใหม่นี้จะทำให้มูลค่าลงทุนรวมของ ซัมซุง กรุ๊ป ในจังหวัด Bac Ninh เพิ่มเป็น 8.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 274,000 ล้านบาท จากมูลค่าปัจจุบัน 6.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 214,000 ล้านบาท 

สอดคล้องกับความตั้งใจของรัฐบาลเวียดนาม ที่พยายามทําให้จังหวัด Bac Ninh เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมแบบไดนามิกของภาคเหนือที่เชื่อมโยงกับจังหวัด Ha Noi และตั้งเป้าภายในปี 2050 จังหวัด Bac Ninh จะเป็นหนึ่งในผู้นําทางเศรษฐกิจของเวียดนาม และจะกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางอุตสาหกรรมไฮเทค การวิจัยและพัฒนา และการผลิตอัจฉริยะระดับโลก ในอนาคต

ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ รัฐบาลเวียดนามก็ได้อนุมัติการลงทุนจากต่างประเทศ มูลค่า 5.5 พันล้านดอลลาร์ ในโครงการต่างๆ ในจังหวัด Bac Ninh อาทิ Foxconn และ GoerTek ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์ของ Apple เช่นกัน

]]>
1491533
ไปต่อไม่ไหว ‘Gojek’ ประกาศยุติบริการใน ‘เวียดนาม’ ขอกลับไปโฟกัสที่ตลาดบ้านเกิด https://positioningmag.com/1489043 Fri, 06 Sep 2024 09:07:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1489043 หากพูดถึงชื่อ Gojek เชื่อว่าลูกค้าบริการฟู้ดเดลิเวอรี่ในไทยน่าจะยังพอจำกันได้ เพราะเพิ่งถอนตัวออกจากไทยไปได้ไม่นาน และล่าสุด บริษัทก็ถอนตัวออกจากประเทศ เวียดนาม หลังจากไม่สามารถฟาดฟันกับตลาดที่แข่งขันดุเดือดได้

Gojek สตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นรายแรกของอินโดนีเซีย ดูเหมือนจะไปไม่ค่อยรุ่งกับการรุกต่างประเทศสักเท่าไหร่ เพราะล่าสุด บริษัทแม่ได้ตัดสินใจที่จะ ยุติการให้บริการทั้งหมดในตลาดเวียดนาม ไม่ว่าจะเป็นบริการเรียกรถ  หรือส่งอาหาร ภายในวันที่ 16 ก.ย. นี้ เนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรง ปิดฉากการให้บริการนาน 6 ปี 

ที่ผ่านมา Gojek มีส่วนแบ่งในตลาดเวียดนามเพียง 3% เท่านั้น ขณะที่คู่แข่งอย่าง Grab สามารถครองส่วนแบ่งตลาดได้ถึง 47% ตามด้วย Shopee Food ที่มีส่วนแบ่งตลาด 45% ดังนั้น การถอนตัวออกจากเวียดนามนี้ จะช่วยให้ GoTo Group เจ้าของแพลตฟอร์ม Gojek ไปโฟกัสในประเทศหลักที่ยังสามารถสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนได้ ซึ่งก็คือ ตลาดอินโดนีเซีย และสิงคโปร์ 2 ประเทศที่บริษัทยังทำตลาดอยู่

อย่างไรก็ตาม อ้างอิงจากไตรมาส 2 รายได้ของ Gojek ในเวียดนามคิดเป็นสัดส่วน ไม่ถึง 1% ของผลประกอบการ ดังนั้น การถอนตัวออกจากตลาดเวียดนามจึง ไม่ส่งผลกับภาพรวมบริษัท ซึ่งหลักจากที่ Gojek ประกาศถอนตัว หุ้นของ GoTo Group เจ้าของแพลตฟอร์ม Gojek พุ่งขึ้น +1.92% แตะ 53 รูเปียห์ แม้ว่าหุ้นของ GoTo จะพุ่งขึ้น แต่ก็ถือว่ายังคงต่ำกว่าราคา IPO ที่ระดับ 338 รูเปียห์ เป็นอย่างมาก ปัจจุบัน GoTo มีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 62.47 ล้านล้านรูเปียห์ (ราว 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) 

สำหรับแพลตฟอร์ม Gojek ได้เข้าไปเปิดตลาดเวียดนามภายในชื่อ Go-Viet ในปี 2018 ก่อนที่จะเปลี่ยนไปใช้ชื่อ Gojek ในปี 2020 และการถอนตัวออกจากตลาดเวียดนาม ถือเป็น ประเทศที่ 2 ที่ Gojek ถอนตัว โดยประเทศแรกที่ Gojek ยุติการให้บริการก็คือ ประเทศไทย ในปี 2021 โดยขายให้กับ AirAsia Super Apps ซึ่งปัจจุบัน ได้ยุติบริการไปแล้วเช่นกัน

ปัจจุบัน ตลาดบริการเรียกรถโดยสารของเวียดนามคาดว่าจะมีมูลค่า 880 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2024 และคาดว่าจะสามารถเติบโตเป็น 2,160 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2029

Source

]]>
1489043
“SCGD” บุกหนักตลาด “แผ่นปูพื้น SPC” เดินเครื่องโรงงานสระบุรี ชิงตลาดอาเซียนมูลค่ากว่า 8,000 ล้านบาท https://positioningmag.com/1481064 Wed, 03 Jul 2024 12:08:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1481064
  • SCGD บุกตลาด “แผ่นปูพื้น SPC” เต็มตัว เริ่มเดินเครื่องโรงงานหินกอง จ.สระบุรี กำลังผลิต 1.8 ล้านตารางเมตร ส่งออกทั่วอาเซียน คาดมูลค่าตลาดมีกว่า 8,000 ล้านบาท
  • ด้านตลาดกระเบื้องเซรามิกส์ สนใจลงทุนโรงงานเพิ่มใน “เวียดนามใต้” ซุ่มเจรจาควบรวมกิจการ
  • “นำพล มลิชัย” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสซีจี เดคคอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGD เปิดเผยความคืบหน้าล่าสุดของ “โรงงานแผ่นปูพื้น SPC LT by COTTO” ของบริษัทที่ อ.หินกอง จ.สระบุรี ปัจจุบันเดินเครื่องแล้วตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยโรงงานนี้ใช้เงินลงทุนไปทั้งหมด 138 ล้านบาท มีกำลังการผลิต 1.8 ล้านตารางเมตรต่อปี  

    SCGD มีการทำตลาด “แผ่นปูพื้น SPC” มานาน แต่เดิมใช้วิธีการสั่งผลิตจากซัพพลายเออร์ในต่างประเทศ แต่หลังจากพบว่าตลาดเติบโตเร็วขึ้น โดยเมื่อปี 2566 ทำยอดขายมากกว่า 350 ล้านบาท โต 2 เท่าจากปี 2564 และคาดการณ์ว่าปี 2567 จะทำยอดขายทะลุ 500 ล้านบาท

    บริษัทจึงตัดสินใจลงทุนสร้างไลน์ผลิตแผ่นปูพื้น SPC LT by COTTO ของตนเอง และถือเป็นโรงงานผลิตแผ่นปูพื้น SPC/LT แห่งแรกและแห่งเดียวในไทย จึงน่าจะใช้จุดแข็งนี้เป็นข้อได้เปรียบในการบริหารซัพพลายเชน สามารถผลิตและจัดส่งสินค้าได้เร็วกว่าการสั่งผลิต ลูกค้ารอสินค้าสั้นลง และบริษัทสามารถควบคุมคุณภาพได้ดีกว่า

    นอกจากการตอบสนองตลาดในประเทศแล้ว นำพลคาดว่าตลาดสินค้าแผ่นปูพื้น SPC ในประเทศอาเซียนก็จะเติบโตมากขึ้นในอนาคต คาดมูลค่าตลาดแผ่นปูพื้นไวนิล SPC นี้ทั้งในไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์จะมีมูลค่ารวมกันกว่า 8,000 ล้านบาท

    แผ่นปูพื้น SPC
    แผ่นปูพื้น SPC ติดตั้งง่ายด้วยระบบ Clicklock ทำให้ได้รับความนิยม

    แผ่นปูพื้น SPC ถือเป็นหนึ่งใน “สินค้ากลุ่มนวัตกรรมเพิ่มมูลค่า” ของ SCGD ร่วมกับสินค้าอื่นๆ เช่น กระเบื้องฟอกอากาศ กระเบื้องสำหรับสัตว์เลี้ยง แผ่นหินวีเนียร์ดัดโค้งได้ สินค้าเหล่านี้ถือเป็นสินค้าที่สร้างกำไรมากกว่าสินค้าปกติประมาณ 10% ทำให้บริษัทจะมุ่งเน้นผลักดันมากขึ้น

    ปัจจุบันสัดส่วนรายได้จากกลุ่มสินค้านวัตกรรมมีประมาณ 20-25% ในรายได้รวมของ SCGD นำพลกล่าวว่าในอนาคตจะรักษาระดับสัดส่วนให้อยู่ที่ 25-30% ส่วนใหญ่น่าจะได้ยอดขายจากตลาดไทยมากกว่า แต่มีสินค้าบางตัวที่เริ่มนำไปทำตลาดอาเซียนแล้วเช่นกัน

     

    เล็งลงทุนโรงงานกระเบื้องเซรามิกส์เพิ่มใน “เวียดนามใต้”

    ในแง่การลงทุนของบริษัท นำพลมองตลาดที่จะมาแรงในอนาคตคือ “เวียดนาม” เนื่องจากจำนวนประชากรที่เติบโตทะลุ 100 ล้านคน และโครงสร้างประชากรส่วนใหญ่เป็นวัยหนุ่มสาว จะมีความต้องการซื้อบ้านเพิ่มขึ้นอีกในระยะยาว ทำให้ SCGD ให้น้ำหนักการลงทุนไปที่เวียดนามมากขึ้น

    ปัจจุบันเฉพาะโรงงานผลิตกระเบื้องและวัสดุปิดผิวจากเซรามิกส์ของ SCGD ในไทยมีกำลังผลิต 80 ล้านตารางเมตรต่อปี ในเวียดนามมีกำลังผลิต 83 ล้านตารางเมตรต่อปี ฟิลิปปินส์มีกำลังผลิต 12.6 ล้านตารางเมตรต่อปี และอินโดนีเซียมีกำลังผลิต 11.6 ล้านตารางเมตรต่อปี

    “นำพล มลิชัย” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสซีจี เดคคอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGD

    เห็นได้ว่ากำลังผลิตวัสดุปิดผิวเซรามิกส์ของบริษัทในเวียดนามโตแซงประเทศไทยแล้ว และนำพลระบุว่าบริษัทยังสนใจจะลงทุนเพิ่มอีกด้วย เนื่องจากขณะนี้บริษัทมีโรงงานใหญ่ในภาคเหนือและภาคกลางของเวียดนาม แต่ด้วยภูมิประเทศของเวียดนามเป็นเส้นยาว การขนส่งข้ามภาคมีค่าใช้จ่ายสูง จึงต้องการจะตั้งโรงงานเพิ่มในเขต “เวียดนามใต้” ด้วยเพื่อให้ครอบคลุมและแข่งขันได้ทั่วประเทศ

    ในตลาดเวียดนามใต้นั้นมีกำลังซื้อกระเบื้องเซรามิกส์ราว 60 ล้านตารางเมตรต่อปี ทำให้ SCGD วางแผนจะลงโรงงานกำลังผลิตอย่างน้อย 10 ล้านตารางเมตรต่อปีในภูมิภาคนี้ อย่างไรก็ตาม หากเป็นไปได้บริษัทจะใช้วิธีควบรวมกิจการ (M&A) มากกว่าการลงทุนสร้างใหม่เพราะจะได้เดินเครื่องได้เร็วกว่า ขณะนี้กำลังเจรจาดีลโดยตั้งงบไว้ 1,000-2,000 ล้านบาท

    แผนการเติบโตของ SCGD ในระยะยาวนั้นต้องการจะโต 2 เท่าภายในปี 2573 มุ่งสู่รายได้ 58,000 ล้านบาทต่อปี และเมื่อถึงเวลานั้นตลาดจะแตกต่างจากปัจจุบันที่แหล่งรายได้ใหญ่ 65% ยังคงอยู่ในไทย แต่ในอีก 6 ปีคาดว่าสัดส่วนรายได้จะพลิกกลายเป็นจากในประเทศไทย 45% และจากต่างประเทศ 55%

    ]]>
    1481064
    กรุงศรีฯ คาดสินเชื่อธุรกิจลูกค้าญี่ปุ่น-บรรษัทข้ามชาติ โต 7% ในปีนี้ มองกลุ่ม อสังหาฯ อิเล็กทรอนิกส์ ต้องการลงทุนมากขึ้น https://positioningmag.com/1471329 Sun, 28 Apr 2024 10:51:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1471329 กรุงศรีฯ คาดสินเชื่อธุรกิจลูกค้าญี่ปุ่น-บรรษัทข้ามชาติ โต 7% ในปีนี้ โดยมองว่าอาเซียนได้ปัจจัยบวกจากการย้ายฐานการผลิต หรือแม้แต่ปัจจัยการเติบโตทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันมองว่าลูกค้ากลุ่มอสังหาฯ หรืออิเล็กทรอนิกส์ ต้องการขยายธุรกิจมากขึ้น นอกจากนี้ยังชักชวนให้ผู้ประกอบการขยายธุรกิจออกไปในภูมิภาคเพิ่มเติม

    บุนเซอิ โอคุโบะ ประธานกลุ่มธุรกิจธนกิจพาณิชย์เกี่ยวกับญี่ปุ่นและบรรษัทข้ามชาติ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวถึง กลุ่มธุรกิจธนกิจพาณิชย์เกี่ยวกับญี่ปุ่น (JPC) และบรรษัทข้ามชาติ (MNC) ในปีที่ผ่านมาถือว่าเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งพอร์ตสินเชื่อเหล่านี้ บุนเซอิ ได้กล่าวว่า NPL สำหรับกลุ่มลูกค้านี้ถือว่าน้อยมาก

    ผู้บริหารรายนี้ยังได้กล่าวว่า ปัจจุบันกลุ่มลูกค้าของทางกลุ่มมีตั้งแต่อุตสาหกรรมหนักอย่างธุรกิจพลังงาน โลหะ ผลิตภัณฑ์เคมี ไปจนถึงอุตสาหกรรมเบาอย่างผู้ให้บริการทางการเงิน แพลตฟอร์มการบริการจัดส่งพัสดุ สินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น

    สำหรับกลยุทธ์ที่ทางธนาคารจะนำมาใช้ในปีนี้ ประกอบไปด้วย

    1. เร่งส่งเสริมระบบนิเวศด้านความยั่งยืนให้กับสังคมไทย โดยอาศัยจุดแข็งในการมีความรู้ ความชำนาญในด้าน ESG ผ่านความร่วมมือกับ MUFG เพื่อนำเสนอโซลูชันทางการเงินเพื่อความยั่งยืนที่ตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายของลูกค้
    2. ต่อยอดความร่วมมือเพื่อส่งเสริมระบบนิเวศของสตาร์ทอัพ โดยจะขยายความร่วมมือเพิ่มเติมกับ ลาว และเวียดนาม เพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัลที่เอื้อต่อสังคม ชุมชน ทั้งในประเทศไทยและอาเซียน
    3. ขยายฐานลูกค้าบรรษัทข้ามชาติจากกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก (East Asian Economies) ด้วยพื้นฐานและปัจจัยที่เอื้อต่อการลงทุนในประเทศไทย ทั้งความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ รวมถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่ดึงดูดการลงทุนจากกลุ่มประเทศดังกล่าว โดยเฉพาะจีน ไต้หวัน ฮ่องกง และเกาหลี กรุงศรีจะใช้โอกาสนี้ทำงานร่วมกับ MUFG ในการให้คำปรึกษา ช่วยเหลือลูกค้าธุรกิจจากกลุ่มประเทศที่ต้องการเข้ามาลงทุนและขยายการเติบโตของธุรกิจในประเทศไทย
    4. ยกระดับบริการที่ปรึกษาด้านธุรกิจ Krungsri ASEAN LINK เชื่อมทุกความต้องการทำธุรกิจในภูมิภาคอาเซียน โดยกรุงศรีพร้อมใช้ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสานพลังเครือข่ายธุรกิจของธนาคาร และ MUFG ที่ครอบคลุม 9 ใน 10 ประเทศในอาเซียน อาทิ Danamon Bank ในอินโดนีเซีย VietinBank ในเวียดนาม และ Security Bank ในฟิลิปปินส์ เพื่อต่อยอดบริการที่ปรึกษาด้านธุรกิจสำหรับลูกค้าที่ต้องการขยายธุรกิจสู่อาเซียน ตั้งแต่ในขั้นตอนเริ่มแรก เช่น การสำรวจแปลงที่ดิน การรวบรวมข้อมูลและกฎระเบียบ จนถึงการจัดตั้งและดำเนินการทางธุรกิจในต่างประเทศ

    ปัจจัยที่ทำให้การลงทุนในอาเซียนเพิ่มมากขึ้นในมุมของผู้บริหารรายนี้ ได้แก่ ปัญหาเรื่องของภูมิรัฐศาสตร์ หรือแม้แต่เรื่องการกระจายความเสี่ยงในเรื่อง Supply Chain

    ประธานกลุ่มธุรกิจธนกิจพาณิชย์เกี่ยวกับญี่ปุ่นและบรรษัทข้ามชาติฯ ยังได้กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมา อัตราการปล่อยสินเชื่อกลับติดลบเนื่องจากกลุ่มยานยนต์มีผลประกอบการไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากปัญหาหนี้ครัวเรือนของประเทศไทย แต่เขายังมองว่าอุตสาหกรรมอื่น เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อสังหาริมทรัพย์  ดูเหมือนจะมีการลงทุนมากขึ้น

    นอกจากนี้ผู้ประกอบการจากประเทศญี่ปุ่นเองได้เข้ามาร่วมทุนหรือลงทุนในประเทศไทย ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละอุตสาหกรรม เนื่องจากมีข้อกำหนดจากหน่วยงานกำกับดูแลว่าสามารถถือหุ้นได้สัดส่วนเท่าใด เช่น ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของญี่ปุ่นได้มาร่วมทุนในประเทศไทย เป็นต้น

    สำหรับมุมมองการลงทุนในอาเซียน เขาได้ชี้ว่าในช่วงที่ผ่านมาบริษัทจากจีนและญี่ปุ่นต่างเข้าไปลงทุนในเวียดนาม โดยอุตสาหกรรมเด่นๆ เช่น พลังงานทดแทน ภาคการผลิต หรือแม้แต่กลุ่มขนส่ง Logistics ขณะที่อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์เองก็มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูง และต้องการให้ลูกค้าขยายการลงทุนในภูมิภาคนี้ด้วย

    ในส่วนของเศรษฐกิจไทย เขามองว่าตัวเลขอัตราการเติบโตของสินเชื่อในช่วง 2-3 ปีนี้น่าจะอยู่ในระดับเดียวกับ GDP ของไทย

    ประธานกลุ่มธุรกิจธนกิจพาณิชย์เกี่ยวกับญี่ปุ่นและบรรษัทข้ามชาติฯ ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา ยังตั้งเป้าว่าสินเชื่อในกลุ่มธุรกิจฯ จะสามารถเติบโตได้ถึง 7% ในปีนี้ และเขาเองยอมรับว่ามีความท้าทาย แต่ลูกค้าหลายธุรกิจเองต้องการที่จะขยายธุรกิจเพิ่มมากขึ้น

    ]]>
    1471329
    ‘ทิม คุก’ ซีอีโอ Apple ประกาศเดินหน้าลงทุนใน ‘เวียดนาม’ เพื่อเดินหน้ากระจายซัพพลายเชนของบริษัทออกจากจีน https://positioningmag.com/1470181 Wed, 17 Apr 2024 03:57:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1470181 นอกจากประเทศอินเดียแล้ว เวียดนาม ก็เป็นอีกประเทศที่มีความสำคัญต่อ Apple มากขึ้น เนื่องจากบริษัทพยายามที่จะกระจายซัพพลายเชนออกจากจีน โดยล่าสุด ทิม คุก (Tim Cook) ซีอีโอของ Apple ก็ได้ไปเยือนเวียดนาม พร้อมประกาศว่าต้องการเพิ่มบทบาทของซัพพลายเชนเวียดนาม

    เนื่องจากการหยุดชะงักของซัพพลายเชนในจีนช่วงที่ COVID-19 ระบาด รวมถึงความขัดแย้งกับรัฐบาลสหรัฐฯ ทำให้ Apple เริ่มมองหาการย้ายการผลิตไปยังประเทศต่าง ๆ เช่น อินเดีย และ เวียดนาม โดย Apple ได้เพิ่มการลงทุนในเวียดนามเป็น 2 เท่า นับตั้งแต่ปี 2019 คิดเป็นเงินลงทุนกว่า 16,000 ล้านดอลลาร์ ช่วยสร้างงานกว่า 2 แสนตำแหน่ง

    นับตั้งแต่ปี 2022 Apple มีซัพพลายเออร์ 26 รายและมีโรงงาน 28 แห่งในเวียดนาม โดยส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในจังหวัดทางตอนเหนือของประเทศ ซึ่งช่วยให้สามารถเชื่อมต่อกับซัพพลายเชนที่มีอยู่ในจีนตอนใต้ได้อย่างง่ายดาย ปัจจุบัน เวียดนามตอนเหนือยังเป็นศูนย์กลางในการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

    ล่าสุด Tim Cook ซีอีโอของ Apple ได้ไปเยือนเวียดนามเป็นเวลา 2 วัน โดย ตามรายงานของสื่อทางการ Voice of Vietnam ระบุว่า เขาได้หารือกับ ฝั่ม มิญ จิ๊ญ นายกรัฐมนตรีเวียดนาม และได้เปิดเผยว่า Apple ต้องการ เพิ่มบทบาทของซับพลายเชนในเวียดนาม อย่างไรก็ตาม ไม่มีการเปิดเผยถึงรายระเอียดแผนการลงทุนว่าจะใช้เงินจำนวนเท่าไหร่และจะใช้หรือจะเน้นไปที่ส่วนใด

    ทั้งนี้ การเดินทางเยือนเวียดนามของทิม คุก เกิดขึ้นในช่วงเดียวกับที่รัฐบาลสหรัฐฯ พยายามสนับสนุนการดำเนินบทบาทเป็นซัพพลายเชนระดับโลกของเวียดนาม เพื่อพยายามลดการพึ่งพาจากจีน

    AP / VOV

    ]]>
    1470181
    15 บริษัทสหรัฐฯ สนใจเข้าลงทุนในเวียดนาม ทั้งผลิตชิป พลังงานสะอาด ฯลฯ มูลค่ารวมกัน 285,000 ล้านบาท https://positioningmag.com/1460519 Sun, 28 Jan 2024 08:25:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1460519 15 บริษัทสหรัฐฯ สนใจเข้าลงทุนในเวียดนาม ทั้งผลิตชิป พลังงานสะอาด ฯลฯ มูลค่ารวมกัน 285,000 ล้านบาท ความเคลื่อนไหวดังกล่าวตามมาจากการเข้าพบปะพูดคุยระหว่างนายกรัฐมนตรีเวียดนามกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลสหรัฐฯ เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา

    สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวโดยอ้างอิงเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า 15 บริษัทในสหรัฐฯ ได้สนใจเข้าลงทุนในประเทศเวียดนามในหลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิตชิป พลังงานสะอาด โดยมูลค่ารวมกันมากถึง 8,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 285,000 ล้านบาท

    Jose Fernandez เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลสหรัฐฯ ได้กล่าวว่า 15 บริษัทเหล่านี้ได้ประกาศลงทุนรวมกันมากถึง 8,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อที่จะทำให้เศรษฐกิจเติบโตจากอุตสาหกรรมการผลิตชิป หรือแม้แต่การรักษาสิ่งแวดล้อมจากพลังงานสะอาด

    อย่างไรก็ดีเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ รายดังกล่าวไม่ได้กล่าวว่า 15 บริษัทที่จะมาลงทุนในเวียดนามนั้นมีบริษัทอะไรบ้าง แต่ได้กล่าวถึงการให้คำมั่นสัญญาของบริษัทหลายแห่งที่จะลงทุนในเวียดนาม

    สหรัฐฯ ได้พัฒนาความสัมพันธ์กับเวียดนามเพิ่มมากขึ้นในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นในการลงทุนจากบริษัทต่างๆ ที่ต้องการกระจายการลงทุนออกจากประเทศจีน เพื่อความยืดหยุ่นด้าน Supply Chain ขณะเดียวกันเวียดนามเองก็เพิ่มความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ ในเชิงความมั่งคงเพื่อจะคานอำนาจกับจีนในทะเลจีนใต้

    ในส่วนของภาคเอกชนนั้น บริษัทใหญ่ๆ ที่สำคัญเช่น Apple ได้ตัดสินใจย้ายกำลังการผลิตออกจากประเทศจีนเพิ่มมากขึ้น หรีอแม้แต่บริษัทอื่นๆ เช่น Dell Google และ Microsoft ก็มีการลงทุนในเวียดนามแล้วเช่นกัน ล่าสุดบริษัทอย่าง Nvidia ก็ประกาศที่จะลงทุนในเวียดนามด้วย 

    เศรษฐกิจเวียดนามที่กำลังเติบโต และสัดส่วนประชากรวัยทำงานที่สูง กำลังซื้อของประชากรรวมถึงการเพิ่มจำนวนของชนชั้นกลางที่เพิ่มมากขึ้น ยังทำให้ส่งผลดีต่อภาคเอกชนจากหลายประเทศที่เข้าไปลงทุนสามารถขายสินค้าของตัวเองในเวียดนามได้เพิ่มขึ้นอีกทาง

    ในส่วนของเวียดนามได้มีการแก้กฎหมายต่างๆ เพื่อเอื้อแก่การลงทุนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านพลังงานสะอาดที่กำหนดพื้นที่สำหรับทำฟาร์มกังหันลมนอกชายฝั่ง หรือแม้แต่ภาคอุตสาหกรรมสามารถต่อรองการซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าได้ เพื่อจะเอื้อให้เอกชนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุน

    ]]>
    1460519
    Reuters รายงาน KBank กำลังพูดคุยเพื่อซื้อกิจการ Home Credit ในประเทศเวียดนาม สูงถึง 35,000 ล้านบาท เพื่อขยายธุรกิจ https://positioningmag.com/1441957 Tue, 22 Aug 2023 10:44:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1441957 Reuters รายงานข่าวโดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า ธนาคารกสิกรไทยกำลังอยู่ระหว่างการพูดคุยเพื่อเข้าซื้อกิจการของ Home Credit สถาบันการเงินในประเทศเวียดนาม ด้วยมูลค่าสูงถึง 35,000 ล้านบาท เพื่อที่จะขยายธุรกิจไปในเวียดนามได้รวดเร็วขึ้น

    สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวโดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า ธนาคารกสิกรไทย (KBank) ได้กำลังอยู่ระหว่างการพูดคุยเพื่อซื้อกิจการของ Home Credit Vietnam เป็นมูลค่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 35,000 ล้านบาท

    สถานการณ์ล่าสุดในตอนนี้ทาง KBank ได้พูดคุยกับที่ปรึกษาทางการเงินเพื่อที่จะเข้าซื้อกิจการ และข่าวดังกล่าวมาในช่วงที่เศรษฐกิจเวียดนามกำลังประสบสภาวะชะลอตัว รวมถึงปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวได้กระทบต่อสถาบันการเงินในประเทศเวียดนามด้วย

    ถ้าหากดีลดังกล่าวกลายเป็นความจริงแล้วนั้น จะทำให้ดีลนี้กลายเป็นการซื้อกิจการสถาบันการเงินใหญ่อันดับ 2 ของประเทศเวียดนามในปีนี้ รองจากดีลที่ Sumitomo Mitsui ซื้อกิจการของ VPBank ด้วยมูลค่ามากถึง 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 52,500 ล้านบาท

    แหล่งข่าวของ Reuters ได้ชี้ว่าการพูดคุยเพื่อซื้อกิจการดังกล่าวเนื่องจาก KBank ต้องการที่จะเป็นผู้เล่น 1 ใน 20 ของธนาคารรายใหญ่ในเวียดนามในแง่ทรัพย์สินภายในปี 2027

    ก่อนหน้านี้ Home Credit Group ซึ่งเป็นผู้เล่นในตลาดสินเชื่อรายย่อยในหลายประเทศ และมีผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นบริษัทลงทุนจากสาธารณรัฐเช็ก ได้ขายกิจการในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่ว่าจะเป็นในอินโดนีเซีย หรือแม้แต่ฟิลิปปินส์ให้กับธนาคารกรุงศรีอยุธยามาแล้ว เนื่องจากผลขาดทุนจากการที่ต้องถอนตัวจากรัสเซีย

    Home Credit Vietnam ปัจจุบันได้ให้บริการลูกค้าในเวียดนามมากถึง 12 ล้านราย และมีพนักงานมากถึง 6,000 ราย ทำให้การซื้อกิจการดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อ KBank ในการขยายธุรกิจได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

    ล่าสุด KBank ได้ชี้แจงกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในประเด็นข่าวดังกล่าวว่า ธนาคารแสวงหาโอกาสทางธุรกิจต่างๆ ในสาธารณัฐสังคมนิยมเวียดนามอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจจะส่งผลหรืออาจจะไม่ได้ส่งผลให้มีธุรกรรมเกิดขึ้นแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม หากมีธุรกรรมเกิดขึ้น ธนาคารจะเปิดเผยข้อมูลตามเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในเวลาที่เหมาะสม

    Note: อัพเดต 23 สิงหาคม หลัง KBank ชี้แจงข้อมูลต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

    ]]>
    1441957