แบรนด์ช็อกโกแลต – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 09 Feb 2024 07:06:33 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 สายช็อกโกแลตปาดน้ำตา! ราคา ‘โกโก้’ พุ่งขึ้น 40% ทำสถิติสูงสุดตลอดกาลที่ 2 แสนบาท/ตัน https://positioningmag.com/1462164 Fri, 09 Feb 2024 05:58:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1462164 หากนับตั้งแต่ปี 2022 ราคาของ โกโก้ ในปี 2022 เพิ่มขึ้นถึง 47% และในปี 2023 ก็ได้ทำลายสถิติสูงสุดในรอบ 46 ปี แน่นอนว่าราคาโกโก้ที่สูงขึ้นนี้ส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตขนมโดยเฉพาะขนมช็อกโกแลตแน่นอน

ล่าสุด ราคาโกโก้ก็พุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยราคาซื้อขายล่วงหน้าพุ่งขึ้นมากกว่า 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือเกือบ 40% โดยนับตั้งแต่ต้นปีจนถึงตอนนี้ ราคาโกโก้อยู่ที่ 5,874 ดอลลาร์สหรัฐต่อเมตริกตัน หรือกว่า 200,000 บาท

ปัจจัยที่ทำให้ราคาโกโก้พุ่งสูงเป็นเพราะสภาพอากาศเลวร้ายส่งผลกระทบต่อผลผลิตพืชผลในแถบแอฟริกาตะวันตก ซึ่งคิดเป็น 3 ใน 4 ของผลผลิตโก้โก้ทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศ กานาและไอวอรีโคสต์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตถั่วรายใหญ่ที่สุดสองราย

“สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงหมายความว่าผลผลิตโกโก้อาจลดลงอย่างถาวรในปีนี้” Humza Hussain นักวิเคราะห์สินค้าโภคภัณฑ์จาก TD Asset Management กล่าว

Michele Buck ซีอีโอของ Hershey กล่าวว่า กำไรของบริษัทปีนี้คาดว่าจะทรงตัว โดยในช่วงไตรมาส 4/2023 ที่ผ่านมากำไรสุทธิของ Hershey อยู่ที่ 349 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงเกือบ 12% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม Buck ไม่ยืนยันหรือปฏิเสธเมื่อถามถึง การขึ้นราคาในอนาคต 

“ในขณะที่เราเห็นราคาโกโก้ที่สูงเป็นประวัติการณ์ แต่เราเคยผ่านความผันผวนของตลาดและความผันผวนของต้นทุนวัตถุดิบมาก่อน ดังนั้น เรามั่นใจว่าเรามีมีกลยุทธ์การป้องกันความเสี่ยงที่ดี” Buck กล่าว

นอกจากนี้ เมื่อเดือนที่แล้ว Mondelez บริษัทผู้ผลิตขนมรายใหญ่ยอมรับว่า ต้นทุนส่วนผสมที่เพิ่มขึ้นเป็นหนึ่งในความท้าทายที่เผชิญในปีหน้า

อย่างไรก็ตาม ราคาโกโก้อาจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่เป็นความท้าทายของบริษัทผู้ผลิตขนม เพราะราคา น้ำตาล ก็พุ่งสูงขึ้นตั้งแต่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตที่ตกต่ำเพราะสภาพอากาศ อินเดีย ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกรายใหญ่ที่จะลดโควตาการส่งออกน้ำตาลลงอีกในฤดูกาลผลิตหน้า ซึ่งจะส่งผลให้ราคาน้ำตาลโลกในปีนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 26.1 เซนต์ต่อปอนด์ 

Source

]]>
1462164
สายหวานเตรียมตัว! ช็อกโกแลตเครือ Hershey กำลังจะขึ้นราคายกแผง https://positioningmag.com/1372897 Fri, 04 Feb 2022 11:33:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1372897 ปีนี้ขนมและช็อกโกแลตในเครือ Hershey ทั้งหมดจะปรับขึ้นราคา เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบและค่าแรงที่สูงขึ้น รวมถึงแผนการเติบโตเชิงรายได้ของบริษัทด้วย

“การปรับราคาจะเป็นประโยชน์สำคัญกับเรามากในปีนี้ และคาดว่าจะเป็นแรงขับเคลื่อนหลักต่อการเติบโตของเรา” มิเชล บั๊ก ซีอีโอ Hershey กล่าวในงานแถลงผลประกอบการบริษัท เมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2022

จากการคาดการณ์รายได้ปี 2022 ของบริษัท Hershey จะมีการปรับราคาขนมขึ้นในทุกๆ เซ็กเมนต์ เพื่อดันการเติบโตของตัวเลขยอดขาย

การขึ้นราคายังจะช่วยให้เกิดสมดุลกับต้นทุนที่สูงขึ้น ทั้งต้นทุนวัตถุดิบและค่าแรง โดยวัตถุดิบที่ขึ้นราคาแล้วมีทั้งน้ำตาล ผลิตภัณฑ์นม วัสดุแพ็กเกจ และวัตถุดิบพิเศษที่บริษัทใช้

ทั้งนี้ Hershey เป็นเจ้าของแบรนด์หลากหลาย เช่น Reese’s, Hershey’s, Kisses, Kit Kat (*), Cadbury (*) เป็นต้น

(*Hershey ผลิต Kit Kat เฉพาะที่จำหน่ายในสหรัฐฯ สำหรับประเทศอื่นทั่วโลก Nestle เป็นผู้ผลิต เช่นเดียวกับ Cadbury ที่ Hershey เป็นผู้ผลิตในสหรัฐฯ ส่วนประเทศอื่นๆ Cadbury ยังเป็นผู้ผลิตอยู่)

แบรนด์ในเครือ Hershey

แม้ว่าจะเตรียมปรับขึ้นราคา แต่ที่จริงแล้วในช่วงโรคระบาด 2 ปีที่ผ่านมา Hershey ได้รับอานิสงส์เชิงบวก เพราะดีมานด์ขนมและของหวานพุ่งสูงขึ้น จากการที่ผู้บริโภคต้องการ “ทานของหวานแก้เครียด” เมื่อต้องอยู่แต่ในบ้าน ตัวอย่างเช่น ขนมแบรนด์ Reese’s ทำยอดขายสูงขึ้น 25% ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

ยอดขายของแบรนด์กลุ่มนำของบริษัทเติบโตเฉลี่ย 12% เมื่อปี 2021 และยอดขายทั้งบริษัทโต 10.1% เมื่อปีก่อน

บั๊กมองว่า พฤติกรรมผู้บริโภคที่ซื้อขนมติดบ้านมากขึ้นน่าจะเป็นพฤติกรรมถาวร เพราะที่ทำงานหลายแห่งเริ่มอนุญาตให้ทำงานระยะไกลได้แล้ว เท่ากับคนจะอยู่บ้านมากขึ้นไปอีกยาวนาน

ส่วนการขึ้นราคาขนมนั้น ที่จริงมีการปรับขึ้นไปบ้างแล้วเมื่อไตรมาส 4 ปีก่อน โดยบั๊กกล่าวว่า ตลอดประวัติศาสตร์บริษัทมีการปรับขึ้นราคาต่อเนื่อง และผู้บริโภคยอมรับได้เพราะมีลอยัลตี้ต่อแบรนด์ “พวกเขาไม่ต้องการเปลี่ยนไปทานยี่ห้ออื่น” บั๊กกล่าว “แต่เราก็จะระมัดระวังในการขึ้นราคา เพราะอาจจะมีผลกระทบร่วมจากปัญหาเงินเฟ้อในภาพรวมที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภค”

เฉพาะในสหรัฐอเมริกา อัตราเงินเฟ้อขึ้นมาแล้ว 7% เมื่อปีก่อน และทำให้สารพัดแบรนด์กำลังขึ้นราคาสินค้า เช่น Starbucks ที่เพิ่งประกาศว่าจะมีการขึ้นราคาอีกปีนี้ ขณะที่ McDonald’s ปรับราคาขึ้นไปแล้ว 6% เมื่อปีก่อน เพราะต้นทุนวัตถุดิบ แพ็กเกจ และค่าแรงขึ้น

Source

]]>
1372897
Nestle ขายทิ้งธุรกิจลูกกวาดในสหรัฐฯ มูลค่า 8.9 หมื่นล้านบาท ให้ Ferrero ปรับโหมดสู่ธุรกิจสุขภาพ https://positioningmag.com/1153795 Thu, 18 Jan 2018 01:15:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1153795 ภาพจาก : http://fortune.com/

กระหึ่มดีลใหญ่แห่งตลาดขนมหวานอเมริกันรับต้นปี เมื่อแบรนด์สินค้ากลุ่มธุรกิจอาหารสัญชาติสวิส Nestle ประกาศตกลงขายธุรกิจขนมหวานลูกกวาดของบริษัทให้กับ Ferrero แบรนด์สัญชาติอิตาลีด้วยมูลค่า 2.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 8.9 หมื่นล้านบาท ถือเป็นการขายหน่วยธุรกิจครั้งใหญ่ครั้งแรกของซีอีโอ Mark Schneider และเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้ Nestle เตรียมย้ายฐานจากแบรนด์ช็อกโกแลตเป็นแบรนด์วิตามิน เพื่อเดินบนเส้นทางแบรนด์สินค้าสุขภาพเต็มตัว

เหตุที่ทำให้ดีลนี้ได้รับความสนใจคือ Nestle เป็นบริษัทจำหน่ายอาหารบรรจุหีบห่อที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก่อนหน้านี้ Nestle ยอมรับว่าตัวเองมีจุดยืนที่อ่อนแอในตลาดขนมหวานอเมริกัน ซึ่งตลอดนี้มี Hershey, Mars และ Lindt ครองแชมป์ท็อป 3 อยู่

ภาพจาก : facebook.com/hersheys

สำหรับ Ferrero ดีลนี้ถือเป็นโอกาสให้บริษัทสัญชาติอิตาเลียนสามารถขยายตลาดได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในตลาดหลักอย่างสหรัฐอเมริกา ซึ่ง Ferrero เคยประกาศดีลซื้อกิจการมากกว่า 2 ครั้งในปีที่ผ่านมา

ผลจากดีลนี้ Ferrero ซึ่งเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ทาขนมปัง Nutella และ Ferrero Rocher ขนมพราลีนสอดไส้เฮเซลนัต จะกลายเป็นบริษัทช็อกโกแลตขนาดใหญ่อันดับ 3 ในสหรัฐฯ และทั่วโลก 

การขายกิจการครั้งนี้ถือเป็นการปรับตัวครั้งใหญ่สำหรับ Nestle ซึ่งขายช็อกโกแลตนมครั้งแรกเมื่อปี 1880 เวลาผ่านไปร้อยกว่าปี ผู้บริโภควันนี้หันหลังให้อาหารขยะและขนมหวาน ทำให้ Nestle มุ่งเน้นพัฒนาสินค้าโภชนาการ สุขภาพ และความงามแม้ว่าจะยังทำธุรกิจขนมหวานนอกสหรัฐฯ ต่อไปก็ตาม

ก่อนหน้านี้นักวิเคราะห์เคยเชื่อว่า Nestle จะสามารถกำจัดแบรนด์ที่อ่อนแอออกไป และสามารถหาทางออกให้ธุรกิจลูกอมด้วยการจัดตั้งกิจการร่วมค้า เช่นเดียวกับที่ทำในไอศกรีมเมื่อไม่นานมานี้ ครั้งนั้นมีการคาดกันว่า Hershey ซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์ KitKat ของ Nestle ในสหรัฐอเมริกาอาจจะเป็นหุ้นส่วนเบอร์ต้น

อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงซื้อขายกิจการลูกกวาดขนมหวานครั้งล่าสุดนี้คิดเป็นเม็ดเงินเพียงประมาณ 1% ของยอดขายของ Nestle รวม แต่เป็นส่วนหนึ่งของการปรับโครงสร้างใหญ่โดยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Schneider ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านในอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพที่เข้ารับตำแหน่งใน Nestle เพียง 1 ปีเท่านั้น

รายงานชี้ว่า Schneider ได้รับมอบหมายให้ดำเนินกลยุทธ์ผลักดันให้ Nestle เติบโตในสภาพแวดล้อมที่ยากลำบากมากขึ้นสำหรับบริษัทอาหารข้ามชาติ เนื่องจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นจากแบรนด์เฉพาะกลุ่มที่โดดเด่น

ผลคือขนมช็อกโกแลตบาร์ของ Nestle ที่เป็นแบรนด์แมส เช่น แบรนด์ BabyRuth, Butterfinger และ Crunch นั้นทำยอดขายต่ำกว่าคู่แข่งเป็นเวลาหลายปี เนื่องจากผู้บริโภคหันมารับประทานอาหารว่างที่เน้นสุขภาพ เช่น ผลไม้แห้งอัดแท่งหรือฟรุ้ตบาร์ และแบรนด์ช็อกโกแลตระดับพรีเมียมเช่น Lindt

ก่อนการประกาศดีลนี้ Nestle เคยกล่าวเมื่อต้นมกราคมที่ผ่านมา ว่ากำลังอยู่ระหว่างการขายแบรนด์ช็อกโกแลตบาร์ Violet Crumble ในออสเตรเลีย เนื่องจากบริษัทต้องการขยายตลาดสู่สินค้ากลุ่มสุขภาพ โดยกำลังอยู่ระหว่างประมูลธุรกิจวิตามินและอาหารเสริม ที่ถูกขายโดยบริษัท Merck สัญชาติเยอรมนี หลังจากได้ข้อสรุปดีลเมื่อเดือนธันวาคมเพื่อซื้อกิจการบริษัท Atrium Innovations ผู้ผลิตวิตามินรายใหญ่

การเปลี่ยนฐานันดรจากบริษัทผลิตช็อกโกแลตมาเป็นบริษัทผลิตวิตามินของ Nestle นั้นน่าสนใจ จุดนี้นักวิเคราะห์ Jean-Philippe Bertschy จากบริษัท Vontobel มองว่าการซื้อขายเปลี่ยนแปลงหน่วยธุรกิจของ Nestle นั้นเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เพราะ Nestle กำลังจะออกจากธุรกิจที่อ่อนแอในแง่ของการเงิน เพื่อเข้าสู่ตลาดที่มีการเติบโตที่แข็งแกร่งและอัตรากำไรที่สูงขึ้น

รายงานระบุว่า Nestle จ่ายเงิน 2.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 7.3 หมื่นล้านบาท เพื่อซื้อ Atrium บริษัทซึ่งมียอดขายประมาณ 700 ล้านเหรียญต่อปี ขณะที่ธุรกิจช็อกโกแลตซึ่ง Nestle ขายไป 2.8 พันล้านเหรียญในครั้งนี้ ทำยอดขายประมาณ 900 ล้านเหรียญต่อปี

สิ่งที่เราได้รับจากข่าวการขายกิจการครั้งนี้ คือแนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นในตลาดอื่นนอกสหรัฐอเมริกา นั้นคือแบรนด์ขนมกลุ่มแมสเริ่มไม่เติบโตเพราะพฤติกรรมของชาวอเมริกันวันนี้เปลี่ยนเป็นการหันมาเลือกซื้อขนมพรีเมียมที่มีราคาแพงกว่า เห็นได้ชัดเมื่อ Nestle สูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สวนทางกับแบรนด์ที่เพิ่งเริ่มต้นทำธุรกิจเช่น Kind ที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว

แม้แต่ Lindt ซึ่งเป็นขนมช็อกโกแลตราคาไม่ธรรมดา ยังพบว่ายอดขายในปี 2017 เพิ่มขึ้นเพียง 3.7% ต่ำกว่าเป้าหมายระยะยาวที่ 6% ถึง 8% โดยยอดขายในอเมริกาเหนือลดลง 1.6%

สถิติล่าสุดบันทึกว่าแดนลุงแซมเป็นประเทศครองส่วนแบ่งตลาดค้าปลีกช็อกโกแลตเกือบ 19% ของตลาดช็อกโกแลตทั่วโลกซึ่งมีมูลค่า 1.02 แสนล้านเหรียญสหรัฐ.

ที่มา :

]]>
1153795