แผ่นเสียง – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 25 Jun 2023 08:11:56 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ตลาด ‘เพลง’ ทั่วโลกโตสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ‘จีน’ จ่อแซง ‘ญี่ปุ่น’ ขึ้นเบอร์ 2 ภายในปี 2030 https://positioningmag.com/1435239 Sun, 25 Jun 2023 02:14:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1435239 ยอดขาย เพลง ทั่วโลก ซึ่งรวมทั้งยอดขายแบบ Digital และแบบ Physical เช่น แผ่นเสียง ทำสถิติสูงเป็นประวัติการณ์ในปีนี้ โดย จีน กำลังเป็นตลาดมาแรงจ่อแซงผู้นำที่อยู่มานาน จาก อันดับ 5 กำลังจะกลายเป็นอันดับ 2 ภายในไม่ถึง 10 ปี

ตามข้อมูลที่เผยแพร่โดย Omdia เปิดเผยว่า ยอดขายเพลงโดยรวมในทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็น Digital และ Physical เติบโตขึ้น 7.8% เป็น 4.1 หมื่นล้านดอลลาร์ จากปีที่ผ่านมามีมูลค่า 3.81 หมื่นล้านดอลลาร์ และคาดว่าจะยังเติบโตต่อเนื่องไปจนถึง ปี 2027 โดยมีมูลค่าสูงถึง 4.98 หมื่นล้านดอลลาร์

การเติบโตส่วนใหญ่ในปีนี้และปีต่อ ๆ ไปมาจาก การสมัครสมาชิกและการสตรีมมิ่ง โดยเม็ดเงินจากการสมัครสมาชิกบริการมิวสิคสตรีมมิ่งปีนี้เติบโตขึ้น 10.1% คิดเป็นมูลค่า 2.44 หมื่นล้านดอลลาร์ และในปี 2027 การใช้จ่ายจะสูงถึง 3.1 หมื่นล้านดอลลาร์

“การเติบโตของมิวสิค สตรีมมิ่งนั้นชัดเจน ผู้บริโภคจำนวนมากขึ้นยินดีที่จะสมัครใช้งาน Spotify และ Apple Music และเม็ดเงินของมิวสิคสตรีมมิ่งจะยังคงเติบโตต่อไปในอีก 5 ปี” ไซมอน ไดสัน นักวิเคราะห์หลักอาวุโสของ Omdia กล่าว

ปัจจุบัน สหรัฐอเมริกา ยังคงเป็น อันดับ 1 ที่มีตลาดเพลงที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตามมาด้วย ญี่ปุ่น แต่ที่น่าสนใจคือ ในปีที่ผ่านมา จีน ได้แซงหน้า ฝรั่งเศส ขึ้นเป็นประเทศที่มีตลาดเพลงใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก โดย Omdia คาดการณ์ว่า ประเทศจีนที่มีประชากรมากที่สุดในโลกจะแซงอันดับ 4 อย่าง เยอรมัน และอันดับ 3 อย่าง สหราชอาณาจักร ได้ภายในปี 2025

โดยในปี 2026 จีนตลาดเพลงของจีนจะมีมูลค่าอยู่ที่ 3 พันล้านดอลลาร์ มีส่วนแบ่งในตลาดโลก 6.7% และจะ แซงญี่ปุ่นได้ภายในปี 2030

]]>
1435239
กลับมาในรอบ 35 ปี! “แผ่นเสียง” ขายดีแซงหน้า “ซีดี” ในสหรัฐฯ หวนคืนความฮิตในหมู่ Gen Z https://positioningmag.com/1422874 Sat, 11 Mar 2023 12:20:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1422874 โลกอนาล็อกกลายเป็นเสน่ห์ใหม่ เมื่อยอดขาย “แผ่นเสียง” ในสหรัฐฯ สูงขึ้นแซงหน้า “ซีดี” ในปี 2022 แม้ว่ารายได้จากสตรีมมิ่งยังคงมีสัดส่วนสูงสุด แต่ยอดขายสินค้าจับต้องได้เริ่มเห็นการหวนคืนสู่ความนิยมได้อย่างชัดเจน โดยแผ่นเสียงไวนิลที่ขายดีที่สุด 3 อันดับแรกมาจากศิลปินอย่าง Taylor Swift, Harry Styles และ Olivia Rodrigo

สมาคมอุตสาหกรรมการบันทึกเสียงแห่งสหรัฐอเมริกา (RIAA) รายงานรายได้ประจำปี 2022 ของอุตสาหกรรม และพบสถิติใหม่ในรอบกว่า 3 ทศวรรษ เพราะแผ่นเสียงไวนิลทำยอดขายได้มากกว่าแผ่นซีดี

เมื่อปี 2022 แผ่นเสียงทำยอดขายรวม 41 ล้านชิ้น เทียบกับแผ่นซีดีที่ทำยอดขาย 33 ล้านชิ้น ถือเป็นการ “หวนคืนกลับมาอย่างชัดเจน” ของกลุ่มสินค้าทางดนตรีที่จับต้องได้

แผ่นเสียงไวนิลคิดเป็นสัดส่วน 70% ของยอดขายสินค้าดนตรีที่จับต้องได้เมื่อปีก่อน โดยทำรายได้ให้วงการถึง 1,200 ล้านเหรียญ (ประมาณ 41,700 ล้านบาท)

ตั้งแต่ปี 1987 เป็นต้นมา แผ่นเสียงไม่ใช่สินค้านำในตลาดดนตรีอีกต่อไป หลังจากแผ่นซีดีหรือ ‘compact disc’ ปฏิวัติวงการและเข้ามาแทนที่ในสังคมอเมริกัน ในยุคต่อมา ทั้งซีดีและแผ่นเสียงต่างต้องเผชิญความเปลี่ยนแปลงอีกครั้งเพราะแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งดนตรี ก่อนที่จะหวนคืนกลับมาอย่างน่าแปลกใจเมื่อไม่กี่ปีมานี้

มีหลายปัจจัยที่ทำให้ “แผ่นเสียง” คืนกลับสู่ความนิยม ส่วนหนึ่งมาจากคน Gen Z และ Gen Y ที่กลับมาให้ความสนใจแผ่นเสียง ตามรายงานของ Luminate เมื่อปี 2022 พบว่าผู้ฟังดนตรี Gen Z ในสหรัฐฯ มีแนวโน้มจะซื้อแผ่นเสียงมากกว่าคนเจนเนอเรชันอื่นๆ ถึง 25%

อีกส่วนหนึ่งต้องขอบคุณช่วงที่เกิดโรคระบาด เพราะทำให้คนอเมริกันเริ่มมองหางานอดิเรกใหม่ๆ ที่ทำได้ที่บ้าน Jason McGuire ผู้จัดการทั่วไปของค่ายเพลง Stones Throw เคยให้สัมภาษณ์กับ Los Angeles Times ไว้เมื่อเดือนมกราคมปีก่อนว่า หลายคนติดอยู่ที่บ้าน ไปไหนไม่ได้ ทำให้พวกเขาเริ่มเปลี่ยนการใช้เงินมาลงทุนกับพื้นที่ในบ้าน และส่วนหนึ่งนั้นก็ลงไปกับการทำห้องฟังเพลงคุณภาพสูง ซึ่งทำให้เครื่องเล่นแผ่นเสียงกลับมามีบทบาทอีกครั้ง จากนั้นเทรนด์ก็ยังคงแรงต่อเนื่องแม้จะพ้นช่วงโรคระบาดมาแล้ว

แผ่นเสียง
อัลบัม Midnights ของ Taylor Swift ทำยอดขายแผ่นเสียงได้สูงที่สุดในปี 2022

แม้ว่าแผ่นเสียงจะกลับมาฮิต แต่แน่นอนว่ารายได้ส่วนใหญ่ 84% ก็ยังมาจากการสตรีมมิ่ง ตามข้อมูลของ RIAA แต่เทรนด์ยอดขายแผ่นเสียงไวนิลก็ยังพุ่งขึ้นอยู่

สำหรับศิลปินที่เป็นผู้นำตลาดแผ่นเสียงเมื่อปี 2022 ได้แก่ Taylor Swift, Harry Styles และ Olivia Rodrigo ซึ่งเป็น 3 อันดับแรกศิลปินที่ขายแผ่นเสียงได้มากที่สุด ตามข้อมูลจาก Luminate อย่างไรก็ตาม ในกลุ่ม Top 10 ศิลปินที่ขายแผ่นเสียงได้มากที่สุดยังคงมีชื่อศิลปินร็อคคลาสสิคติดอันดับอยู่ เช่น The Beatles หรือ Fleetwood Mac

Luminate ยังรายงานด้วยว่า เมื่อเดือนตุลาคมปี 2022 Taylor Swift เปิดขาย “Midnights” อัลบัมใหม่ของเธอโดยออกมาหลายเวอร์ชัน ทำให้เธอขายแผ่นบันทึกเสียงรวมทุกรูปแบบได้ 1.58 ล้านชิ้น ภายในเวลาเพียงสัปดาห์เดียว และถือเป็นการขายอัลบัมในช่วงเปิดตัวได้สูงที่สุดในรอบ 7 ปี

Source

]]>
1422874
“แผ่นเสียง” คืนชีพ โซนี่เตรียมผลิตแผ่น พานาโซนิคกลับมาผลิตเครื่องเล่นแล้ว https://positioningmag.com/1133526 Thu, 20 Jul 2017 04:08:55 +0000 http://positioningmag.com/?p=1133526 บริษัทโซนี ค่ายเพลงชื่อดังในญี่ปุ่น ประกาศจะรื้อฟื้นการผลิตแผ่นเสียงอีกครั้ง หลังยุติการผลิตไปนานกว่า 30 ปี เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

บริษัท Sony Music Entertainment (Japan) Inc. ติดตั้งแท่นผลิตแผ่นเสียงไวนิลในโรงงานที่ประเทศญี่ปุ่นอีกครั้ง รวมทั้งติดตั้งระบบบันทึกต้นฉบับแผ่นเสียงในสตูดิโอด้วย พร้อมประกาศว่าจะเริ่มต้นผลิตแผ่นเสียงอีกครั้งหนึ่งในเดือนมีนาคม ปีหน้า หลังจากยุติการผลิตไปนานกว่า 30 ปี

ในโลกปัจจุบันที่ผู้คนส่วนใหญ่หันไปฟังเพลงในรูปแบบออนไลน์ ทำให้แผ่นเสียง, เทป หรือแม้แต่แผ่น CD กลายเป็นของตกยุคพ้นสมัย ในประเทศญี่ปุ่น โซนีซึ่งเคยเป็นผู้ผลิตแผ่นเสียงรายใหญ่ยุติการผลิตในปี 1989 โดยทุกวันนี้มีเพียงบริษัทโตโยคาเซ เพียงรายเดียวเท่านั้นที่ยังยืนหยัดผลิตแผ่นเสียงอยู่ในญี่ปุ่น

แต่ไม่น่าเชื่อว่า แผ่นเสียงไวนิลได้กลับมาฮิตอีกครั้ง ความต้องการเพิ่มขึ้นถึง 8 เท่าตัวในรอบ 6 ปีที่ผ่านมา ในปี 2016 มีการผลิตแผ่นเสียงในญี่ปุ่นมากถึง 799,000 แผ่น ผู้ฟังเพลงส่วนใหญ่บอกว่าแผ่นเสียงถึงแม้จะไม่มีความคมชัดของเนื้อเสียงแบบไฟล์ดิจิตอล แต่มี “เสน่ห์” อยู่ในเสียงและความสุขในการเล่นและฟังเพลงมากกว่า

นอกจากโซนีที่กลับมาบันทึกเพลงลงแผ่นเสียงแล้ว พานาโซนิกก็ได้หันกลับมาผลิตเครื่องเล่นแผ่นเสียงอีกครั้ง โดยใช้ชื่อแบรนด์ Technics หลังจากยุติการผลิตไป 6 ปี ขณะที่โซนีก็จะผลิตเครื่องเล่นแผ่นเสียงด้วยเทคโนโลยีใหม่เช่นเดียวกัน โดยมีคุณสมบัติพิเศษ คือสามารถแปลงเสียงจากแผ่นเสียงให้เป็นไฟล์ดิจิตอลความคมชัดสูงได้


ที่มา : http://www.manager.co.th/Japan/ViewNews.aspx?NewsID=9600000073389

]]>
1133526